เพลงฉ่อยชาววัง

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สองนายกของคนจน












 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 ก.ค. นายพานทองแท้ ชินวัตร หรือ โอ๊ค บุตรชายของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์รูปในอินสตาแกรม ที่ท่าอากาศยานชาร์ลส์ เดอ โกล ประเทศฝรั่งเศส ขณะที่พ.ต.ท.ทักษิณเข้าสวมกอดน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้เป็นน้องสาว ทันทีที่เดินทางถึงประเทศฝรั่งเศสพร้อมกับ“น้องไปป์” ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร บุตรชาย และน.ส.แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวคนเล็กของพ.ต.ทักษิณ ที่เดินทางไปร่วมฉลองและอวยพรเนื่องในวันคล้ายวันเกิดของพ.ต.ท.ทักษิณวันที่ 26 ก.ค.  

 รายงานข่าวแจ้งว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ไปรอรับน้องสาวด้วยใจจดจ่อ และเมื่อน.ส.ยิ่งลักษณ์เดินออกมาก็ได้โผเข้าสวมกอดอย่างแน่นด้วยความยินดี ซึ่งสองพี่น้องถึงกับน้ำตาซึมด้วยความคิดถึงกัน ก่อนจะสอบถามถึงสารทุกข์สุขดิบจากนั้นได้ พากันเดินทางไปยังที่พัก

 ทั้งนี้ นายพานทองแท้ ระบุข้อความพร้อมรูปดังกล่าวว่า “ตัดผมอยู่ดีๆ ก็มีคนส่งรูปพ่อกับสาวมา”  โดยทันทีที่โพสต์รูปและข้อความประมาณ 30 นาที มีคนเข้าไปดูและกดไลน์จำนวนมาก


26.7.14 วันเกิดท่านทักษิณ
"โอ๊ค-พานทองแท้" FB ว่า หากได้พ่อกลับคืนมาเป็นครอบครัว จะไม่ให้ยุ่งกับการเมืองอีก
นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Oak Panthongtae Shinawatra" อวยพรวันเกิดพ่อ ในโอกาสครบรอบ 65 ปี ในวันนี้ ว่า Happy Birthday ครับพ่อ ขอให้พ่อมีความสุขมาก ๆ เนื่องในวันคล้ายวันเกิดปีนี้

"แม่ โอ๊ค เอม พงศ์ รวมถึงญาติพี่น้อง และคนไทยอีกหลายล้านคนที่รักพ่อทุกคนอยากไปร่วมงานวันเกิดพ่อ แต่ไม่สามารถจะไปได้ เนื่องจากสภาวะปัจจุบันไม่เอื้ออำนวย อวยพรพ่อผ่านตัวหนังสือมา 7-8 ปีแล้ว หวังมาทุกปีว่าครั้งต่อไป น่าจะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งครอบครัว พวกเราทุกคนต่างก็รอวันนั้น เรายังยืนยันคำเดิม หากได้พ่อกลับคืนมาเป็นครอบครัวที่อบอุ่นดังเดิม พวกเราทุกคน (รวมถึง "หลานตา" สมาชิกใหม่ในอนาคต) จะดึงพ่อให้ออกไปให้ไกล ๆ ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกเลย ขอความสุขที่แท้จริงจงกลับคืนมาสู่ พ่อ ครอบครัว และพี่น้องคนไทยทุกคน"

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แผ่นดินกำลังร่ำไห้ทุกข์ระทม ได้โปรดหยุดเถอะค่ะ

มันเหมือนทัวร์เขาวงกตค่ะ
หลักการประชาธิปไตยคือประชาชนทุกคนมีหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงเท่ากัน ทุกประเทศก็ถือเอาหลักการนี้คือเอาเสียงข้างมากเป็นหลักในการชี้ขาดทุกอย่างในประเทศ โดยเฉพาะการจัดตั้งรัฐบาล ให้เคารพฉันทามติจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ หลักการนี้ไม่ได้อุปโลกน์ขึ้นมาลอย ๆ แต่ประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกเขาก็บัญญัติเอาไว้ในรัฐธรรมนูญชัดเจนแม้แต่ในประเทศเราก็เขียนเอาไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับเช่นกัน

ที่ผ่านมาสังคมไทยได้ยึดมั่นหลักการประชาธิปไตยมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นนายชวน นายบรรหาร พล.อ. ชวลิต ต่างก็ยอมรับหลักการนี้ รัฐธรรมนูญทั่วโลกจะไม่มีฉบับไหน เขียนให้เสียงข้างน้อย ได้รับอภิสิทธิ์ บริหารประเทศแน่นอน แต่ตอนนี้ยิ่งกว่าอีก... นอกจากจะไม่ใช่เสียงข้างน้อยแล้ว ยังเป็นการปล้นเอาซึ่ง ๆ หน้า เป็นที่ขบขันของชาวโลกไปตลอดกาล


ถึงได้บอกว่ามันเหมือนคนไทยกำลังเดินอยู่ในเขาวงกตจริง ๆ นั่นแหละ  เหตุเพราะคนไทยชอบใช้อารมณ์แก้ปัญหามากกว่าการใช้เหตุผล เริ่มจากเสียงส่วนน้อยของประเทศไม่พอใจการบริหารงานของรบ.ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ และเครือข่ายหรือจะเรียกว่า “ระบอบทักษิณ” ก็ว่าไป เลยเป็นเหยื่อของ นักการเมืองแบบสุเทพและประชาธิปัตย์ ที่ฉวยโอกาสเอาอารมณ์ของประชาชนเสียงส่วนน้อย ออกมาประท้วง (ส่วนจะเรียกตัวเองว่า “มวลมหาประชาชน” อะไรก็ว่าไป มันเป็นขบวนการสร้างกระแส ปลุกพลังม็อบเท่านั้น ประชาชนเป็นเหยื่อ ไม่ทันเกมนักการเมือง (ที่มีอำนาจมืดหรือมือที่มองไม่เห็น อยู่เบื้องหลัง)

ในที่สุด แทนที่จะแก้ปัญหาโดยการ ไม่ใจเร็วด่วนได้ ควรพยายามอธิบายให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่า รัฐบาลทักษิณไม่เหมาะที่จะบริหารประเทศพร้อมกับพิสูจน์ด้วยหลักฐาน โต้แย้งกันในสภา (ไม่ใช่ใช้อารมณ์ ขว้างปา เก้าอี้ หรือแฟ้มกัน) ต่อจากนั้นก็รอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในคูหาเลือกตั้ง ไม่ใช่ผลีผลามไปยกกำลังทหารซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติออกมายึดอำนาจ แบบไร้สติปัญญา ถึง สอง สามครั้งเช่นนี้

จริง ๆ ถ้าเดินตามแนวประชาธิปไตย ยึดหลักการเลือกตั้งเหมือนชาวโลกเขามันก็จะไปได้ด้วยดี  จะก้าวหน้าไปอย่างมหาศาล สามารถขึ้นเป็นผู้นำอาเซียนได้อย่างง่ายดาย เหมือนที่รบ.ทักษิณเคยทำมาแล้ว  รบ.ใหม่ พรรคไหนก็สามารถทำได้ ถ้ามาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทุกฝ่ายย่อมสนับสนุน ทั้งโลกก็สนับสนุน


แต่เพียงเพราะการใช้อารมณ์เป็นใหญ่ของฝ่ายยึดอำนาจ ทำให้บ้านเมืองล้าหลังไป 30 ปี ครั้งนี้ ยิ่งล้าหลังไปอีกเป็น 40-50 ปี ด้วยกระแสของสังคมที่อยู่ด้วยเทคโนโลยี จะไปข้างหน้าหรือถอยหลังก็จะ เป็นไปด้วยความเร็วสูงกว่าปรกติ  มันจึงเหมือน คณะรัฐประหารกำลังพาคนไทย ไปทัวร์เขาวงกตอีกแล้ว โปรแกรมทัวร์ก็เดินจากที่หนึ่ง ไปที่หนึ่งแล้วย้อนกลับมาที่เดิม ซ้ำไปซ้ำมาไม่มีอะไรใหม่ วันแล้ววันเล่า
พูดง่าย ๆ คือปฏิวัติยึดอำนาจรบ.เสียงข้างมากมา(โดยอ้างว่า) เพื่อจะจัดการเลือกตั้งหารบ.เสียงข้างมาก(ตามแบบฉบับของตน) ด้วยกติกาใหม่ เรียกว่าปฏิรูป แต่มันคือการพยายามเกลี่ยผลประโยชน์ให้ลงตัวกันทุกฝ่าย ทั้งนักการเมืองและอำมาตย์ นายทุนทั้งหลาย)โดยไม่เคยหันมาดูชาวรากหญ้า ประชาชนที่เดินตามท่าน(จะเต็มใจหรือไม่ ก็ต้องเดินตามเพราะท่านบังคับให้เข้าแถว ด้วยปืน ด้วยกำลังบังคับ)ไม่เรียกว่าพาไปทัวร์เขาวงกต” แล้วมันคืออะไรคะ

ตอนนี้แผ่นดินกำลังร่ำไห้ทุกข์ระทม ได้โปรดหยุดเถอะค่ะ

เจ้าของคอกม้าส่งสัญญาณหลายครั้ง...ทักษิณไม่ยอม..

ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย



ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย
'กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร' โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า 'ปฏิวัติ' แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า 'กบฏ'

จาก พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2534 มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง ทั้งที่เป็น การปฏิวัติ และเป็น กบฏ มีดังนี้

พ.ศ. เหตุการณ์ หัวหน้าก่อการ รัฐบาล
2475 ปฏิวัติ 24 มิถุนายน พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ
2476 รัฐประหาร พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
2476 กบฎบวรเดช พล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2478 กบฎนายสิบ ส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2481 กบฎพระยาสุรเดช พ.อ.พระยาสุรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2490 รัฐประหาร พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
2491 กบฎแบ่งแยกดินแดน ส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่ง นายควง อภัยวงศ์
2491 รัฐประหาร คณะนายทหารบก นายควง อภัยวงศ์
2491 กบฏเสนาธิการ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2492 กบฎวังหลวง นายปรีดี พนมยงค์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2494 กบฎแมนฮัตตัน น.อ.อานน บุณฑริกธาดา จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2494 รัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2497 กบฎสันติภาพ นายกุหราบ สายประสิทธิ์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2500 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2501 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ถนอม กิตติขจร
2514 รัฐประหาร จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ถนอม กิตติขจร
2516 ปฏิวัติ 14 ตุลาคม ประชาชน จอมพล ถนอม กิตติขจร
2519 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
2520 กบฎ 26 มีนาคม พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
2520 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
2524 กบฎ 1 เมษายน พล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
2528 การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน พ.อ.มนูญ รูปขจร * พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
2534 รัฐประหาร พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
* คณะบุคคลกลุ่มนี้ อ้างว่า พลเอก เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า แต่หัวหน้าก่อการจริงคือ พ.อ. มนูญ รูปขจร

ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย (2475 - 2534)

การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475

" คณะราษฎร " ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน 99 นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงยินยอมตามคำร้องขอของคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติในครั้งนั้น

รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476
พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเอง
ในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯ

กบฏบวชเดช 11 ตุลาคม 2476
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ

กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม 2478
ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา

กบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481
ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน

รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490
คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย

กบฏแบ่งแยกดินแดน 28 กุมภาพันธ์ 2491
จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง

รัฐประหาร 6 เมษายน 2491คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป

กบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม 2491พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ

กบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง

กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494
นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ

รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มาใช้อีกครั้งหนึ่ง

กบฏสันติภาพ 8 พฤศจิกายน 2497

นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปี

รัฐประหาร 16 กันยายน 2500
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ

รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501
เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง

รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514

จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี

ปฏิวัติโดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516

การเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ

ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519

พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520

พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว

กบฎ 26 มีนาคม 2520 

พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520

กบฎ 1 เมษายน 2524
พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้

การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน 2528

พันเอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน 4 ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534
โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

We will never give up!


การเมือง.. เรื่องเงินๆ


ทำความเข้าใจกับ งบประมาณ 2558 กันครับตัวขับเคลื่อนหลักทางเศรษฐกิจของประเทศเราอย่างหนึ่งคือการใช้จ่ายภาครัฐ และในกรณีนี้คือการใช้จ่ายผ่านพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ซึ่งจะเริ่มปีงบประมาณทุกวันที่ 1 ตุลาคมของปี ซึ่งจำนวนเงินคิดเป็นมูลค่าของประเทศไทยเราอยู่ที่หลัก 2 ล้านล้านกว่าบาท มาเป็นเวลาหลายปีแล้วสำหรับปีงบประมาณรายจ่าย 2558 ตอนแรกเป็นไปด้วยข้อกังวลมากมายในช่วงก่อนรัฐประหาร เพราะตอนนั้น เต็มไปด้วยความมืดมนในหนทาง รัฐบาลรักษาการไม่ได้มีอำนาจเต็มในการทำอะไร ข้าราชการกระทรวงการคลังที่พร้อมชงเรื่องให้ฝ่ายบริหาร ก็ทำเสร็จไว้นานแล้ว เพียงรอเสนอและอนุมัติ แต่เมื่อตอนนั้น ผู้อนุมัติมันมีปัญหา ความกังวลที่ส่งผลไปยังความเชื่อมั่นก็ตามมา เพราะหากไม่มีใครอนุมัติได้ขึ้นมาล่ะก็ เศรษฐกิจไทยอาจถึงขั้นชะงักงัน เพราะการลงทุนปี 57 ที่ค้างอยู่ ก็จะเบิกจ่ายได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย หลายโครงการไม่สามารถทำได้ด้วยแค่หน่วยงานราชการ และงบน 58 หากไม่ออกก็จะกระทบต่องบนลงทุน ลามไปถึงภาคเอกชนที่จะต้องมีแผนระยะสั้น- กลาง-ยาว ต่างๆนานาอีกมากมายในการนำปัจจัยภาครัฐมาเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ

หากจะให้สรุปแผนในงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 สั้นๆ เทียบกับของปีก่อน รัฐบาลก่อนได้ตามนี้เลยครับ1.วงเงินงบรายจ่าย 2.575 ล้านล้านบาท มากกว่าปีก่อนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 5 หมื่นล้าน- แบ่งเป็นรายจ่ายประจำสำหรับหน่วยราชการ 2.02 ล้านล้านบาท หรือ 78% ของงบรายจ่ายรวม แปลว่า ในงบรายจ่ายปีหนึ่งๆ เหลือไปทำอะไรอื่นๆได้เพียง 22% เท่านั้น

หากจะให้แทรกความเห็นตรงนี้เลย สัดส่วนงบประจำมีมากเกินไป เงินจมไปกับส่วนนี้เยอะ กรณีนี้หากจะมีการปฏิรูปต้องมีการปฏิรูประบบการใช้เงินงบประมาณภาครัฐผนวกไปกับ ปฏิรูประบบราชการไทยด้วยครับ- จำนวนเงินที่เหลือจากงบฯประจำ 22% นั้นเอาไปทำอะไร คำตอบคือ จ่ายชดเชยเงินคงคลัง จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ จ่ายต้นเงินกู้ และนอกเหนือจากนั้นก็คืองบฯลงทุนครับ

- ส่วนสำคัญของงบรายจ่ายที่แต่ละรัฐบาลจะต้องดูอย่างละเอียดคือ "งบฯลงทุน"นี่แหละ ที่ทางการคลังระบุว่า ในปีงบประมาณหนึ่งๆ ควรจะมีงบลงทุนภาครัฐอย่างน้อยๆ 17.5% ของงบรายจ่าย ทั้งหมด หากรัฐบาลไหนอยากลงทุนมาก แต่ยืนยันมั่นใจได้ว่า การลงทุนนั้นมีประโยชน์อย่างแท้จริง คุ้มค่าการลงทุนจริง แผนลงทุนนั้นผ่านการทำประชาพิจารณ์มาอย่างรอบคอบแล้ว หรือมีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว จะมีแผนลงทุนมากกว่า 17.5% ก็ยังทำได้สบายๆ และจุดนี้คือ กึ๋นของแต่ละผู้บริหารในคณะรัฐบาลนี่เองล่ะครับ- คสช.ไม่ใช่คณะบริหาร จึงคงสัดส่วนงบลงทุนให้อยู่ในเกณฑ์ 17.5% ที่มูลค่า 4.5 แสนล้าน เพิ่มมากกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ 9 พันล้าน ส่วนรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นนิดเดียวแค่ 0.5% เทียบปีก่อน

อย่างหนึ่งที่อยากฝากไว้ให้เป็นข้อสังเกตคือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ทำงบปี 57 นั้น งบประจำบานเบอะ งบลงทุนลดลง- สาเหตุที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำงบลงทุนลดลง ก็อย่างที่รู้กันครับว่า รัฐบาลนี้นิยมการลงทุนด้วยเงินนอกระบบงบประมาณ ที่รั่วไหลง่าย ตรวจสอบยาก เจ๊แดงชอบ ทั้งสองล้านล้าน และ 3.5 แสนล้าน คือ แผนนอกระบบทั้งสิ้น และการค้านของหลายฝ่ายที่สำเร็จจนพรบ.เงินกู้ต้องตกไป ก็เพราะการออกกฎหมายขอกู้นอกระบบนั้น มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

2.ประมาณการรายได้ 2.325 ล้านล้านบาท มีการประมาณการรายได้ไว้ มากกว่าปีก่อนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 5 หมื่นล้าน ในสมมติฐานที่ว่า เศรษฐกิจจะโตได้ 6.3% ส่วนการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่ต้องพูดถึงนะครับ รู้ๆ กันอยู่ว่าตัวเลขเน่าเฟะแค่ไหน

3.งบประมาณขาดดุล 2.5 แสนล้านบาท ตัวเลขนี้เอามาจากการหักลบกันระหว่าง ประมาณการรายได้ว่าประเทศจะมีเงินเข้าเท่าไหร่ ลบกับ งบประมาณรายจ่ายว่าประเทศจะต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ ซึ่งจำนวนนี้เท่ากับปีก่อนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งเป็นตัวเลขปกติที่ไม่ได้สูงนัก

4.จำนวนเงินสำหรับการชำระต้นเงินกู้สูงกว่าของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ภาษาชาวบ้านคือ จะจ่ายหนี้มากกว่ารัฐบาลก่อน ข้อนี้เขียนแล้วก็มีอารมณ์ร่วมนิดนึงครับ พรรคเพื่อไทยสมัยเป็นฝ่ายค้านตราหน้า กล่าวหารัฐบาลอภิสิทธิ์ในสมัยนั้น ตอนกู้พรก.ไทยเข้มแข็งมาลงทุนกู้ชาติในช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์จนสำเร็จ ไทยฟื้นวิกฤติเป็นอันดับ 2 ของโลก โตพุ่ง ส่งออกทะลุเป้าในปีถัดมา แต่กลับถูกหาว่า"ดีแต่กู้" แต่สมัยพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลเอง กู้มาทำอะไรดีๆไม่ได้สักอย่าง ทั้ง 3.5 แสนล้าน งบหมดอายุแล้ว ยังเบิกจ่ายลงทุนน้ำไม่ทันได้ตามจริง เงินกู้ 2 ล้านล้านก็แท้งเพราะโกงในข้อกฎหมายตั้งแต่ยังไม่คลอด ไม่ว่าจะกดบัตรแทนกัน หรือจ้องใช้เงินนอกระบบงบประมาณให้นักกฎหมายเล่นแร่แปรธาตุกับนิยามคำว่า”เงินแผ่นดิน” ทั้งหมดนี้ 2 ปี 9 เดือน 2 วัน เอาแต่ก่อหนี้ จนหนี้สาธารณะพุ่ง 1 ล้านล้านกว่าบาทในระยะเวลาบริหาร แต่ดันตั้งงบจ่ายคืนหนี้ให้น้อยเหลือเกิน

5.งบในการชดเชยภาระเงินคงคลัง อันนี้เข้าใจกันได้ไม่ยากครับ ถ้าจะให้เขียนให้ชาวบ้านเข้าใจง่ายสุดคือ งบประมาณที่จะต้องตั้งขึ้นมาเพื่อชดใช้เช็ดขี้เยี่ยวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พุ่งไปกว่า 2.8 หมื่นล้านบาท หรือ 212% เทียบกับปีก่อน ไม่ว่าจะงบตั้งจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้จำนำข้าว งบจ่ายให้โครงการรถคันแรกที่ค้าง งบต่างๆนานาที่อ่านตามข่าวแล้วชวนอารมณ์เสีย พูดถึงงบฯตรงนี้ ขอขยายความสรุปไว้จากการคำนวณของกระทรวงการคลังถึงเม็ดเงินที่ต้องให้รัฐบาลสมัยถัดๆไป มาชดเชยให้ ขอเรียกมันว่า งบล้างหนี้จำนำข้าวงบล้างหนี้จำนำข้าวมูลค่าประมาณ 5 แสนล้าน กว่าจะชดเชยหมดใช้เวลา 6 ปี คิดเป็นดอกเบี้ยปีละ 2 หมื่นล้าน ดันหนี้สาธารณะเพิ่ม 6% 

จากผลกรรมแห่งการทำโครงการจำนำข้าว 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ยังไม่นับรวมผลขาดทุน ที่ผลาญใช้งบประมาณอย่างต่ำ 7.3 แสนล้านภาระหนี้จำนำข้าวนี้ เป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มหนี้สาธารณะในช่วง 2 ปี ตอนรัฐบาลยิ่งลักษณ์รับตำแหน่ง หนี้สาธารณะอยู่ระดับปกติที่ 40.78% ผ่านไป 2 ปี 9 เดือน 2 วัน หนี้สาธารณะเพิ่มเป็น 46.78% หรือเพิ่มกว่า 1 ล้านล้านบาท ปัญหาทั้งหมดนี้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่ได้มีการวางแผนรับมือต่อภาระหนี้ และภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้นเลยแต่อย่างใด จึงเป็นปัญหาให้ข้าราชการในกระทรวงการคลังต้องมาคอยตามจัดการภายหลัง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเป็นภาระให้รัฐบาลในสมัยถัดๆไปต้องเข้ามาทยอยตั้งงบชดใช้ภาระแทนขอจบส่งท้ายไว้นิดเดียวหรือ

ตัวเลข 3 ล้านล้าน ที่เป็นข่าวในสื่อบางกระแส และตอนนี้ก็มีคำสัมภาษณ์จากหัวหน้าคสช.ยืนยันแล้วว่า ยังไม่ได้มีการอนุมัติโครงการหรือแผนใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขนี้ จากสมมติฐานตัวเลขน่าจะมาจากการที่ สนข.หน่วยงานในกระทรวงคมนาคม ที่เคยบอกตอนรัฐบาลยิ่งลักษณ์จะกู้ 2 ล้านล้านว่า แผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานนั้นทั้งหมดมีมูลค่ารวม 4 ล้านล้าน ตัวเลขนี้ย้ำมีมาตั้งแต่ตอนรัฐบาลยิ่งลักษณ์แล้ว แต่ยิ่งลักษณ์ตอนนั้นจะกู้รวดเดียว 2 ล้านล้านเพื่อเอาบางส่วนใน 4 ล้านล้านนี้มาลงทุน เอาแผนเก่าที่เขาคิดกันมาเป็นสิบๆ ปีแล้วนั่นแหละครับ แต่จะเอามาสร้างด้วยเงินนอกระบบแบบจิ้มเลือกเมนูเฉยๆ อันไหนศึกษาไม่เสร็จ โกงง่ายดี ดูโม้ได้สวย ก็เลือกๆเอามาใส่ แถมเร่งสร้างไปพื้นที่การเมืองของตัวเองก่อนด้วย ดังนั้น 3 ล้านล้านที่เป็นข่าวนี้ คงมาจากการเอา 4 ล้านล้านที่ลบ 1 ล้านล้านของรถไฟความเร็วสูงออกไป เพราะคสช.บอกชัดว่าไม่เอารถไฟความเร็วสูงแล้วทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่มาจากการจัดเก็บจากภาษีของพี่น้องประชาชน ทุกคนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมด้วยกันหมด ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ อธิบายได้ ชี้แจงได้คือสิ่งที่ทุกคนทุกกลุ่มต้องการ 

ขอเอาใจช่วยให้แผนใดๆ ก็แล้วแต่ที่จะออกมา มีระบบการตรวจสอบที่โปร่งใสยุติธรรมโดยดูเอาสิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำพลาดไว้เป็นอุทาหรณ์ครับCr:พัสณช เหาตะวานิช

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เบน-อากฤษณ์” บก.ThaiPad Digital Magazine เพื่อคนทั้งโลก


          แทบไม่เชื่อสายตาว่าชายหนุ่มวัย 30 ต้นๆ ตรงหน้าคือ “บรรณาธิการ” อาจเพราะที่ผ่านมาบุคคลที่ได้พบหน้าในฐานะบรรณาธิการ หรือ บก.หนังสือสักเล่ม ล้วนมีวัยวุฒิมากกว่าคนที่ยืนอยู่ตรงหน้า

          “อากฤษณ์ บุญใหญ่” หรือ “เบน” บรรณาธิการ ThaiPad Digital Magazine นิตยสารที่นำเสนอตัวเองผ่าน iPad เครื่องมือสื่อสารที่ได้ชื่อว่าเป็นนวัตกรรมของโลกถึงกับหัวเราะเมื่อถูกทักว่าหนุ่มว่าที่คิดไว้มาก

          หนุ่มลูกครึ่งไทย-อังกฤษพาหลบออกมาหามุมสงบภายในสำนักงานของ Bangkok Post องค์กรที่เบนสังกัดอยู่ เพื่อสนทนาถึงหน้าที่ที่เขารับผิดชอบ แววตามุ่งมั่นกับความกระตือรือผ่านท่าทีของเขา ทำให้เราสัมผัสได้ถึงพลังจากผู้ชายตรงหน้า 

          “ตำแหน่งของผมคือ Multimedia Editor ดูแลบริหารกองบรรณาธิการ ThaiPad ซึ่งเป็น application ใน iPad ดูแลทั้งเนื้อหา ภาพ วิดิโอ โซเชี่ยลมีเดีย การนำเสนอในหน้า ThaiPad ทั้งหมด รวมไปถึงการบริหารทีมงานด้วย”เบนเริ่มบอกเล่าถึง “งาน”ที่เขาทำอยู่ในปัจจุบัน หลังศึกษาจบสาขา Music Production,Media & Business Studies จาก University of Manchester จากประเทศอังกฤษ พร้อมพกประสบการณ์การทำ Music Production ทำโชว์และทำหน้าที่พิธีกรภาคสนามมาที่เมืองไทย

          “ผมได้ทำงานเป็นผู้ประกาศข่าวภาคภาษาอังกฤษของสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย เป็นบรรณาธิการข่าวเช้า ตอนนั้นต้องทำหน้าที่ทั้งเลือกข่าว และเขียนสคริปต์ข่าวภาษาอังกฤษ หลังจากนั้นก็ย้ายมาเป็นผู้สื่อข่าวที่ Bangkok Post ทำนิตยสารกูรู ทำอยู่ประมาณ 2 ปีกว่า ก็ได้ปรับตำแหน่งขึ้นเป็น บก.ของเล่มกูรู หลังจากนั้นผมก็ได้ย้ายมาอยู่แผนกใหม่ ทำหน้าที่ Multimedia Editor ถึงทุกวันนี้”

          เส้นทางสายสื่อมวลชนของเบนถ้าจะนับเขาเป็นหนึ่งในคนที่ประสบความสำเร็จในงานด้านนี้ก็คงไม่เกินไปนัก ขณะที่เจ้าตัวเองกลับออกตัวว่า นั่นเป็นเพราะเขาอยู่ถูกที่ ถูกเวลา และเพราะมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ซึ่ง Bangkok Post ผลิตสื่อภาษาอังกฤษ ประกอบกับสามารถเขียนข่าว เขียนสคริปต์ และสามารถบริหารงานได้ ผู้ใหญ่คงเห็นศักยภาพว่าพัฒนาได้ นั่นอาจเป็นเหตุผลให้เขาได้รับความไว้วางใจให้นั่งเก้าอี้บรรณาธิการ แต่เมื่อฟังแนวคิดที่เบนมีให้กับการทำ ThaiPad ไม่ใช่แค่เขาอยู่ถูกที่ ถูกเวลา แต่เขามีสิ่งที่มากกว่านั้น
ThaiPad application สำหรับคนทั้งโลก 

          “ Thaipad เราทำโปรเจกต์นี้ เพราะเ ห็นว่า iPad มาแรง เราต้องทำอะไรสักอย่างสำหรับ iPad ผมก็เลยมาลองดูว่าสิ่งที่เราควรทำ กับสิ่งที่เราทำได้ มันไปกันได้ขนาดไหน ผมคิดว่ามันควรมี app พาไปแนะนำที่กิน ที่เที่ยว มี Braking News อัพเดททุกชั่วโมง แต่ตอนนั้นเราทำไม่ได้ ก็คิดว่าต้องเป็นนิตยสารอยู่บน iPad แต่ตอนนั้นเราก็ศึกษานิตยสาร และหนังสือพิมพ์ในตลาด ไม่ว่าจะเป็นนิ ตยสารที่มีชื่อหรือไม่มีชื่อ เขาแค่เอาเนื้อหาในปริ๊นต์มาอยู่ใน iPad เขาแค่เปลี่ยนรูปนิดหนึ่ง  เนื้อหาน้อยลง แต่มันเป็นการทำเพราะเทคโนโลยีมันมาแล้วทุกคนเลยต้องทำ แต่เราต้องทำให้ดีกว่า ไม่ใช่เพราะมันมาแล้วเลยต้องทำ แต่ต้องทำให้มันดีที่สุด

          ผมมองผู้บริโภคในเมืองไทยมีอยู่น้อยมาก เพราะเราเป็นสื่อภาษาอังกฤษ ต้องมองกลุ่มคนที่อ่านภาษาอังกฤษ สมมติมีคนอ่านภาษาอังกฤษ 1 ล้านคน ก็อาจจะมีคนที่อ่านบางกอกโพสต์สัก 7 แสนคน และใน 7 แสนคนนั้น ก็อาจจะมี iPad อยู่แค่ 3 แสนคน เห็นว่าตลาดเล็กมาก เราไม่ควรคิดว่า ThaiPad เป็นหนังสือที่ไปซื้อตามแผงในประเทศไทยอย่างเดียว แต่เรามองว่าเป็นแม็กกาซีนที่อยู่บน iPad ที่ใครก็สามารถดาวโหลดได้ ก็เสนอว่าเราทำแมกกาซีนสำหรับคนที่อ่านภาษาอังกฤษได้และมี iPad เขาอาจจะอยากรู้เรื่องเมืองไทย หรือจะมาเที่ยวเมืองไทย หรืออาจจะเป็นคนที่มาเมืองไทยแล้วชอบ อยากจะอ่านเรื่องเมืองไทย แค่เขาพิมพ์คำว่า Thailand เท่านั้น เขาจะเจอ ThaiPad ขึ้นมาให้ดาวน์โหลด แต่เราก็ไม่ลืมคนที่อยู่ในเมืองไทย เราเลือกคอนเทนต์สำหรับคนกลุ่มแรกที่ชอบเมืองไทย แต่ก็มีข้อมูลที่คนไทยไม่รู้ หรือไม่เคยมีมาก่อนเพื่อรองรับผู้บริโภคที่อยู่เมืองไทยด้วย”

          ด้วยแนวคิดที่ว่าทำให้ ThaiPad เป็น application แมกกาซีนสำหรับคนทั่วโลก ที่นำเสนอผ่านทั้งวิดิโอ และ Graphic interactive ที่ครบครันทั้งเนื้อหา และการนำเสนอที่น่าตื่นตาตื่นใจ ซึ่งผู้ชายตรงหน้ายังยืนยันว่าสามารถพัฒนาได้อีก และเขาพร้อมทีมงานจะพยายามทำให้ดีที่สุดต่อไป
ในทางสายนี้ เบนบอกว่า การทำนิตยสารจะแตกต่างจากการทำข่าวที่ต้องดูกระแสและวาระของสังคม แต่นิตยสารจะดูว่าอะไรน่าสนใจและเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน ยิ่งการพัฒนาของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว คนอ่านมีพลังในการเลือกเสพสื่อได้มากกว่าในอดีตมากมายนัก

          “Digital Magazine ยังเติบโตได้อีกเยอะ เพราะในเมืองไทยโดยเฉพาะในเมืองหลวงคนให้ความสนใจเยอะมาก หนังสือพิมพ์ นิตยสารทุกเล่มต้องแปลงมาอยู่ในออนไลน์ เพราะมันขายได้ และผู้บริโภคเขามีอำนาจในการเลือกอย่างแท้จริง แต่ก่อนผู้อ่านไม่มีทางเลือก และเขาก็ให้ความเชื่อใจบรรณาธิการ บรรณาธิการบอกว่าเรื่องนี้น่าสนใจเลือกมานำเสนอ เขาก็จะอ่านตามนั้น แต่ปัจจุบันมันไม่ใช่ ถ้าเรื่องที่ลงในหนังสือ หรือหนังสือพิมพ์ไม่น่าสนใจ เขาก็จะไปอ่านในอินเตอร์เน็ต หรือเข้าไปดูยูทูป เขาเลือกแค่สิ่งที่เขาสนใจ ดังนั้น สื่อใหม่ๆ จึงเป็นทางเลือกที่ดี และโอกาสในการพัฒนายังมีอีกเยอะ”

Digital Magazine งานหนักของคนทำสื่อ

แทบทันที วิธีการเขียนเนื้อหาในปริ๊นต์อาจจะมีพื้นที่ยาวๆ ลงรูป และเรื่อง แต่สำหรับ Digital Magazine สิ่งที่เป็นตัวหนั งสืออาจจะน้อยลง เบนยกตัวอย่าง

          “เราอาจจะทำเรื่องท่องเที่ยว หากอยู่ในปริ๊นต์เราจะเขียนว่าเราไปบุกป่า ตกปลา ไปท่องเที่ยว เราก็เขียนเรื่องที่เราไปเจอมา แต่หากอยู่มันมาอยู่ใน iPad เราอาจจะไม่ได้ต้องเขียนว่าเราบุกเข้าไปในป่าอย่างไร เราบันทึกมาเป็นวิดิโอ  ให้ผู้อ่านได้เห็น ดังนั้น คนทำ Digital Magazine ต้องมีความรู้เรื่องการนำเสนอในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งนักข่าว นักเขียนต้องพัฒนาเยอะ แต่ก่อนแค่คิดว่าจะเขียนเรื่องราวที่ไปเจอมาอย่างไร แต่ตอนนี้ต้องคิดเรื่องที่จะเขียน และต้องคิดว่าจะนำเสนอด้วยอะไร มีสื่อแบบไหนที่เหมาะกับสิ่งที่เราจะเล่า เช่น ประวัติประเทศไทยอาจจะเขียนได้เพราะมีแต่ข้อมูล แต่บางเรื่องมันต้องมีวิดิโอด้วย หรือเป็นแกลเลอรี่ หรือทำเป็น interactive ใส่กราฟ ใส่รูป 360 องศา หรือมีรูป 3 มิติ ทำรูป time lap ให้ผู้อ่านได้เล่นกับเรื่องราว ซึ่งมันเยอะแยะมากมาย คนทำสื่อจึงต้องเรียนรู้ news media ให้ครอบคลุม”

          หน้าที่ของคนทำสื่อยังไม่หมดแค่นั้น หลังจากนั้นยังต้องคิดว่า จะต้องเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียด้วยหรือไม่ ต้องทวีตลงในทวีตเตอร์ไหม หรือไปเชิญชวนคนมาอ่านผ่านทางเฟซบุ๊ค อาจต้องเขียนบล็อกเพิ่มเติม ซึ่งเบนบอกว่า “หยุดนิ่งไม่ได้” ต้องดูทั้งผลตอบรับและสร้างมูลค่าให้กับงานที่ทำไปแล้ว ซึ่งต้องเหนื่อยมากขึ้น เพราะหากไม่ทำ เรื่องราวที่ลงแรงผลิตออกมาก็อาจจะจมหายไปในโลกออนไลน์อย่างรวดเร็ว

          “เทคโนโลยีมันมี 2 ด้าน ด้านหนึ่งทำให้เราต้องทำงานหนักขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งมันก็ช่วยเราทำงาน ทำให้คนทำสื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านมากขึ้น เช่น เราอาจจะถามผู้อ่านผ่านทางเฟซบุ๊คไปว่า อาทิตย์นี้เราควรเขียนเรื่องแฟชั่น หรือเรื่องอะไรดี ผู้อ่านจะตอบกลับเรามา คนทำสื่อก็รู้ความต้องการผู้อ่าน คนอ่านก็รู้สึกใกล้ชิดเรามากขึ้น และเขาอาจจะไปบอกต่อว่า เรื่องนี้เขาแนะนำนะ ก็จะมีผู้อ่านติดตามอ่านเรื่องของเรามากขึ้นเรื่อยๆ”
พัฒนาให้ทันเทคโนโลยีโอกาสเปิดกว้าง

          “เหตุผล คือ เทคโนโลยีด้านนี้มันเปลี่ยนเร็วมาก พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนเร็วมาก ดูสิในเวลาไม่กี่ปีจาก Mp3 มาเป็น iPod จาก iPod เป็น iPhone เดี๋ยวนี้เรามี iPad มันเร็วมากจนการเรียนการสอนในสถานศึกษาตามไม่ทัน พอเรียนจบสิ่งที่นักศึกษาเรียนมันตกยุคไปแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเราสนใจเรียนรู้จนมีความสามารถและพัฒนาตัวเองให้ทันการเปลี่ยนแปลง โอกาสในการทำงานสายนี้มีเสมอ”
อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้คือภาษาอังกฤษเพราะ เบนมองว่า ในอนาคตภาษาอังกฤษจะจำเป็นมาก และเมื่อเปิดเสรีอาเซียน หากสื่อเมืองไทยอยากแข่งกับสื่อเมืองนอกก็จำเป็นต้องรู้ภาษาอังกฤษ

          “เราอยู่เมืองไทยเราอาจจะคิดว่าเรื่องที่เราสัมผัสมันธรรมดา แต่ชาวต่างชาติเขาไม่เคยเห็น พอเราทำออกไปเป็นภาษาอังกฤษ สื่อของเราจะกระจายไปทั่วโลก มันคือโอกาสที่เราจะขายสินค้าเราออกไปได้มากขึ้น และกว้างขึ้น” 

          อะไรคือสิ่งที่ทำให้ เบน-อากฤษณ์ คิด และทำจนมาสู่จุดนี้ เบนหัวเราะคล้ายกับจะบอกว่า เขาเองก็ไม่รู้เหมือนกัน ว่าเขามีใครเป็นต้นแบบ แต่ลักษณะของเขาอย่างหนึ่งคือ “ขี้บ่น” หากเห็นอะไรที่ไม่เห็นด้วยก็มักจะตั้งคำถามว่าทำไม มีเหตุผลอย่างไร อะไรที่เหมาะกว่า ดีกว่า

          “ผมว่ามันเหมาะกับสิ่งที่ผมทำอยู่ เพราะสื่อตรงนี้มันใหม่มาก และผมได้มาทำตรงนี้ มันยังไม่มีสูตรสำเร็จ การตั้งคำถามของผม มันนำไปสู่คำตอบหลายๆ อย่างที่มันยังไม่เคยมี”

           หากใครมี iPad ลองสัมผัสความคิดของ บก.หนุ่ม “อากฤษณ์ บุญใหญ่”ได้ผ่าน ThaiPad แอฟฟลิเคชั่นสำหรับคนทั้งโลกที่ให้โหลดฟรีโดยไม่คิดเงิน

           พูดคุยกับเบนได้ที่  AglitBoonyai@twitter.com



Tag: เบน-อากฤษณ์, ThaiPad, บก.ThaiPad, บรรณาธิการ, บก









-ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.m2fjob.com

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด


รูปแบบการปกครองของรัฐ: แนวคิดของอริสโตเติล
         อริสโตเติล ได้จำแนกลักษณะการปกครองของรัฐต่างๆ โดยใช้ คุณภาพของการปกครองและจำนวนผู้ปกครองเป็นเกณฑ์ 
แบ่งโดยเกณฑ์คุณภาพ
1. รูปแบบการปกครองที่ดี
2. รูปแบบการปกครองที่ไม่ดี

แบ่งโดยเกณฑ์จำนวนผู้ปกครอง
เป็นการปกครองโดยคนเดียว ( The one  )
1.1  ราชาธิปไตย  (Monarchy)
ทรราชย์  (Tyranny)
เป็นการปกครองโดยคนหลายคน  ( The  many )
             เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
        2.1  อภิชนาธิปไตย (Aristocracy)
คณาธิปไตย (Oligarchy)
         เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก
        2.3  โพลิตี้ (Polity)
        2.4 ประชาธิปไตย (Democracy)

สรุปได้เป็น 6 รูปแบบการปกครองของรัฐ ดังนี้
รูปแบบการปกครองที่ดี   เรียงตามลำดับจากดีมากไปยังดีน้อย
1.1. ราชาธิปไตย (Monarchy) เป็นการปกครองโดยคนเดียว
1.2. อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
1.3. โพลิตี้ (Polity) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก
2. รูปแบบการปกครองที่ไม่ดี  เรียงตามลำดับจากเลวน้อยไปยังเลวมาก
2.1. ทรราชย์ (Tyranny) เป็นการปกครองโดยคนเดียว
2.2. คณาธิปไตย (Oligarchy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
2.3. ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก
              อริสโตเติลได้อธิบายว่า รูปแบบการปกครองใดก็ตาม ที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ถือเป็นรูปแบบที่ดี ในขณะเดียวกัน รูปแบบการปกครองที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนวจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก นั้น เป็นรูปแบบที่ไม่ดี
               ระบบการปกครองที่ดีที่สุดตามทรรศนะของเขา คือ ระบบ โพลิตี้  เป็นการผสมผสานระหว่างระบบคณาธิปไตย และระบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแนวทางสายกลางระหว่างการปกครองโดยคนร่ำรวย(คณาธิปไตย) กับการปกครองโดยคนจน(ประชาธิปไตย) ซึ่งจะให้โอกาสแก่ราษฎรทุกคนได้มีส่วนร่วม ในการปกครองโดยยุติธรรม โดยยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลัก  

รัฐแบบ
Polity ประกอบด้วยชนชั้นใหญ่ๆ 3 กลุ่มคือ คนร่ำรวย คนชั้นกลาง และ คนจน โดยเสถียรภาพของรัฐแปรตามชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่   อริสโตเติล เชื่อว่า ชนชั้นกลางจะรับฟังเหตุผลมากที่สุด เป็นกลุ่มที่มีความสุขุมเยือกเย็น มีความอุตสาหะ และ เป็นผู้คอยเฝ้าดูการบริหารของรัฐ
อริสโตเติลใช้ชนชั้นกลางเป็นกันชน ของโครงสร้างชนชั้นทางสังคมระหว่างคนร่ำรวยและคนจน    คนร่ำรวยมีความรู้ว่าจะปกครองอย่างไร แต่จะไม่ยอมรับในระเบียบข้อบังคับอีกทั้งยังมีความได้เปรียบกว่าชนชั้นอื่น และ ยังมีความละโมบในเรื่องทรัพย์สิน ในขณะที่คนจนมีความเข้าใจยอมรับและเชื่อฟังในระเบียบข้อบังคับ หากแต่ขาดน้ำใจ อิจฉาในทรัพย์สมบัติของคนรวย และยอมฟังการปลุกระดมที่สัญญาว่าจะมีการแบ่งทรัพย์สิน คน2 ชนชั้นนี้มักจะแตกแยกและขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
         ระบบการปกครองที่เลวที่สุดตามทรรศนะของเขา คือระบบ คณาธิปไตย อริสโตเติลอธิบายว่าเป็นการปกครองโดยคนกลุ่มน้อยที่ปกครองเพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้องตัวเองลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดของคณาธิปไตย  คือ การปกครองอยู่ในมือของกลุ่มคนที่มีอำนาจครอบงำทางเศรษฐกิจ เป็นกลุ่มคนที่มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย เขามีอคติต่อผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองรัฐ ซึ่งมาจากชนชั้นเศรษฐี
มุมมองของผู้เขียน
        รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดในมุมมองของผู้เขียนคือ ระบบการปกครองโดยคนส่วนใหญ่ แบบ  โพลิตี้  โดยมีความเห็นสอดคล้องกับอริสโตเติล ในแง่ของระดับของชนชั้น ชึ่งข้าพเจ้ายอมรับและเชื่อมั่นในชนชั้นกลางมากที่สุด โดยเชื่อว่าชนชั้นกลางเป็นกลุ่มคนที่มีการศึกษา มีเหตุผล ฉะนั้นถ้าอำนาจหรือเสียงข้างมากส่วนใหญ่อยู่ในมือของชนชั้นกลาง ผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติจะ ได้รับการปกป้อง หรืออาจกล่าวในมุมมองของข้าพเจ้าได้ว่าเป็นระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยชนชั้นกลางนั่นเอง  แต่ในความเป็นจริง  ระบบการปกครองแบบ โพลิตี้เป็นระบบในอุดมคติเนื่องจากเป็นการยากที่จะมีสังคมใดมีคนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง  เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วคนส่วนใหญ่ในสังคมมักจะเป็นคนยากจน
        ปัจจุบันประเทศไทยปกครองโดยระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งไม่ใช่ระบบประชาธิปไตยในมุมมองของอริสโตเติล เนื่องจากเป็นระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนซึ่งต้องมีการเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่   ไม่ใช่ประชาธิปไตยทางตรงซึ่งใช้วิธีการจับฉลากให้พลเมืองเอเธนส์หมุนเวียนเข้าไปใช้สิทธิทางการเมืองอย่างเสมอหน้ากัน ซึ่งในมุมมองของข้าพเจ้าระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนนี้จะดีที่สุด ถ้าบุคคลที่เสนอตัวเพื่อรับเลือกตั้ง มีคุณธรรมและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ฉะนั้น ในรูปแบบนี้ จึงอาจเป็นการผสมผสานระหว่างอภิชนาธิปไตยกับระบบตัวแทน หรือถ้าบุคคลที่เสนอตัวเพื่อรับเลือกตั้ง ไม่มีคุณธรรมและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องก็อาจเป็นรูปแบบการผสมผสานระหว่าง คณาธิปไตยกับระบบตัวแทน

        ส่วนรูปแบบการปกครองที่เลวที่สุดในมุมมองของผู้เขียนคือ  ระบบการปกครองโดยคนเพียงคนเดียวโดยใช้อำนาจโดยไม่ชอบเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องและไม่มีศีลธรรมซึ่งก็คือระบบ ทรราชย์  นั่นเอง
ที่มา: 
http://chawana9988.exteen.com/20100810/entry

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ไอซิสประกาศตั้งรัฐอิสลามคุมอิรัก-ซีเรีย

กลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักและลีแวนต์ประกาศตั้งรัฐอิสลามครอบคลุมพื้นที่อิรักและซีเรีย
วันนี้ (30 มิ.ย. 57) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า รายงานว่า กลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักและลีแวนต์ (ไอซิส) ได้เผยแพร่คลิปเสียงผ่านทางอินเทอร์เน็ตว่า ไอซิสประกาศตั้งรัฐอิสลาม โดยมีพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่เมืองอะเลปโป ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของซีเรียไปจนถึงเมืองดิลายา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของอิรัก และมีนายอาบู บาการ์ อัลแบกดาดี ผู้นำกลุ่มติดอาวุธไอซิสเป็นกาหลิบและผู้นำของมุสลิมที่อยู่ในทุกหนแห่งโดยมีชื่อเรียกว่า กาหลิบอิบราฮิม ทั้งยังเปลี่ยนชื่อกลุ่มจากรัฐอิสลามแห่งอิรักและลีแวนต์เป็นกลุ่มรัฐอิสลาม นอกจากนี้ จากคลิปเสียงดังกล่าว กลุ่มติดอาวุธยังเรียกร้องให้ชาวมุสลิมเคารพผู้นำคนใหม่ รวมถึงปฏิเสธระบอบประชาธิปไตยตามแบบตะวันตกอีกด้วย
ทั้งนี้ กองทัพอิรักยังคงเดินหน้ายึดเมืองทิกริต ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศและถูกกลุ่มไอซิสยึดไปเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. คืนมา ขณะที่นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอล ได้กล่าวสนับสนุนการประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากอิรักของเคอร์ดิสถาน แต่ตุรกีและสหรัฐฯ คัดค้านการแบ่งแยกนี้