เพลงฉ่อยชาววัง

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567

กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่

ลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่

ชาติพันธุ์ไทใหญ่ หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นฐานดั้งเดิม อยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง เลยไปถึงลุ่มน้ำสาละวิน อิระวดี และพรหมบุตร 


เอกลักษณ์ของตระกูลชาติพันธ์ไทใหญ่ คือมีระบบการปลูกบ้านสร้างเรือนที่ซับซ้อนกว่าไทน้อย โดยบ้านมักจะมีการกั้นห้องแบ่งระดับยกหลังคาที่สลับซับซ้อนกว่า นอกจากนี้ในสถาปัตยกรรมขั้นสูง มักจะมีการประดับตกแต่งมากกว่า  วัดของชาวไทใหญ่มีลักษณะแตกต่าง คือ กุฏิกับวิหารอยู่ด้วยกัน  โดยกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลนี้ ได้แก่ พวกไทใหญ่ (โทใหญ่เรียกตัวเองว่าไตหรือไตโหลง (ไทหลวง) ส่วนคำว่าไทใหญ่นั้นเป็นชื่อในภาษาไทยเท่านั้น ไม่ใช่ชื่อที่เขาเรียกตัวเอง

ชาวไทใหญ่ในจีนมักจะเรียกตนเองว่า ไทใหญ่เหนือ ด้วยอยู่ทางเหนือของแม่น้ำคงคา(สาขาของแม่น้ำสาละวิน) และจะเรียกชาวไทใหญ่ในพม่า ว่าเป็นไทใหญ่ใต้ เพราะอยู่ใต้แม่น้ำคง การแต่งกายของไทใหญ่ใต้ไม่นิยมโพกผ้า ในขณะที่ชาวไทใหญ่เหนือโพกผ้าด้วยสีขาวหรือสีดำ หรือใช้หมวกทรงกระบอกสีดำ  ชาวไทใหญ่เมืองมาว จะถูกเรียกว่าเป็นชาวไทใหญ่มาว  มีปฐมกษัตริย์ชื่อว่า ขุนไล และมีวีรกษัตริย์ชื่อว่า เจ้าเสือข่วนฟ้า 

ชาวไทใหญ่ส่วนมากทั้งในประเทศพม่า อินเดีย จีน และไทย นับถือศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้า มีวัฒนธรรมที่ชัดเจน จะเห็นได้จากศิลปะการแสดง ฟ้อนก้าลาย (ฟ้อนเจิง)  ฟ้อนนกกิ่งกะหล่า โดยในสมัยโบราณ เชื่อว่า ผู้ที่แสดงเป็นนกกิ่งกะหล่า จะต้องบริสุทธิ์ ถือศีล ๘ 

นอกจากนี้ยังมีภาษาไทใหญ่ที่ใช้เรียกทางศาสนา เช่น

–  จองพารา คือ  ปราสาทพระ
–  ตะลา คือ พระธรรม
–  สังขะ คือ พระสงฆ์
–  ตำข่อน คือ ตุง

ชาวไทใหญ่ได้เข้ามาอาศัยทำไร่ปลูกพืชตามฤดูกาล  เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วก็เดินทางกลับเข้าไปในดินแดนรัฐฉานดังเดิม ทำเช่นนี้จวบจนราว พ.ศ. ๒๔๙๓ จึงอพยพมาปักหลักตั้งถิ่นฐาน ที่บ้านปางหมู ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบอาชีพด้วยการปลูกพืช ทำไร่ ทำนา และในปีพ.ศ. ๒๓๙๓ เมืองเชียงใหม่ได้ส่งเจ้าแก้วเมืองมาให้มาจับช้างป่าและนำไปฝึกสอนเพื่อนำไปใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมาได้รวบรวมชาวไทใหญ่ที่ยังอยู่กระจัดกระจายให้มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณที่ตั้งเป็นเมืองแม่ฮ่องสอนปัจจุบัน  

จากระยะเวลาอันนานร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนก็ยังดำรงชีวิตอยู่  โดยยึดเอาวัฒนธรรมประเพณี  ตลอดจนความเชื่อและวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่าง “ไทใหญ่” ตลอดมาและขณะเดียวกันก็ยังคงมีความผูกพันฉันท์พี่น้องกับชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า  มีการติดต่อค้าขาย ไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนกันตลอดมาแม้ว่าในบางครั้งจะเกิดเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองบ้าง ก็ยังคงมีการติดต่อกันอยู่เสมอ เดิมชาวไทใหญ่ได้อาศัยในรัฐฉานประเทศพม่าและบางส่วนได้อพยพอาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน อีกกลุ่มหนึ่งลงไปตามน้ำ “คง” หรือแม่น้ำสาละวินและได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ ๒ ฝั่งแม่น้ำอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่าในแถบรัฐฉานโดยได้สร้างวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมาใหม่มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกับศิลปวัฒนธรรมพม่า แต่ก็แตกต่างไปจากวัฒนธรรมอื่นๆ โดยเฉพาะในภาคเหนือของประเทศไทยที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบล้านนา   นอกจากนั้นบทบาทของพ่อค้าวัวต่างชาวไทใหญ่ ก็มีส่วนอย่างมากต่อความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างรัฐไทใหญ่และล้านนาในช่วงคริสศตวรรษที่ ๑๙-๒๐

กลุ่มชาติพันธ์  “ไทใหญ่”  คนไต  ไตโหลง – ไตหลวง  ฉาน/ฌาน

ถิ่นฐาน-ประวัติศาสตร์

  • กลุ่มใหญ่เป็นอันดับ ๒ อยู่ในเขตรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์
  • บางส่วนอยู่บริเวณดอยไตแหลง ชายแดนไทย พม่า
  • พศว. ๒๔-๒๕ เกิดการแบ่งเขตแดนในช่วงล่าอาณานิคมโดยชาวตะวันตก ทำให้บ้านเมืองของชาวไทใหญ่ถูกแบ่งแยก
  • ผู้คนอพยพ กระจัดกระจายไปหลายประเทศ
  • ตำนาน “เมืองเมา” เมืองแสนหวี เมืองปง

พม่า   –  รัฐฉาน  รัฐกะเหรี่ยง  รัฐคะฉิ่น  มัณฑะเลย์
ไทย  –  เชียงใหม่   แม่ฮ่องสอน  เชียงราย

ภาษา

  • ตระกูลภาษาไท – กะได
  • เป็นภาษาที่มีระบบเสียงวรรณยุกต์ ๕ เสียง
  • ภาษาไทใหญ่ / ภาษาฉาน / ความไท (กว๊ามไต๊)
  • ไม่มีข้อมูลภาษาพูดที่แน่ชัด
  • มีอักษรของตนเอง ๒ ชนิด คือ ไทใหญ่ (ใช้ในพม่า) และไทใต้คง (ใช้ในจีน)
  • มีการใช้คำไทใหญ่ ปน “ม่าน”

การแต่งกาย

ชาย

  • สวมเสื้อคอกลมแขนยาว ผ่าหน้า ติดกระดุมผ้า คล้ายไส้ไก่ขมวดเป็นปมพร้อมตกแต่งลวดลาย
  • สวมกางเกงขาก๊วยเป้าต่ำ

หญิง

  • สวมเสื้อผ่าหน้าหรือเสื้อป้าย แขนกระบอก เอวสั้น ตกแต่งลวดลายสวยงามด้วยการปักหรือ
    ฉลุผ้าตามขอบ
  • กระดุม ที่กลัดเสื้ออาจจะใช้กระดุมผ้าหรือพลอยกลัดกับหูกระดุม
  • ซิ่นที่นุ่งนั้นมีการต่ดหัวซิ่นด้วยผ้าเนื้อนิ่มสีดำ พับแล้วเหน็บที่หัวซิ่น ใช้เข็มขัดเงินคาดทับ
  • โพกหัวพันผ้าห้อย

 ประเพณีสำคัญ

ปอยส่างลอง   (ปอย แปลว่า พิธี ,  ส่างลอง แปลว่า คนที่จะบวชเป็นเณร)

วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2567

ดีเบต ดิจิตอล วอลเล็ต กรรมกรข่าว คุยนอกจอ" 11 เมษายน 2567

 



เหนื่อยแทนคุณไหม ที่ต้องมาฟังมาเถียงกับพวกรัฐบาลแก๊งคอลเซ็นเตอร์นี้  เพื่อไทยส่งคนมากี่รอบกลับกลอกวิธีการทุกรอบ โทษทุกอย่างยกเว้นตัวเอง

เผ่าภูมิคะ เสถียรภาพของแบงค์คือเงินค่ะ แล้วแผนการคืนเงินที่รัฐบาลไปยืมมาแจกแบบชัดเจนก็ยังไม่มีไงคะ รัฐบาลเพื่อไทยสร้างแต่หนี้ไม่จบไม่สิ้น


เพื่อไทยทำไปคิดไป เห็นใจครับ ที่มีความสามารถเพียงแค่นั้น และอย่าให้รู้ไปเอาระบบปฏิบัติการหลังบ้าน Ping an Insurance นะครับ "มีอำนาจ แต่ไม่มีความชอบธรรม ทำอะไรเสียงบไปเปล่าๆ "


เผ่าภูมิมโนไปเรื่อย มีแต่น้ำ ไม่ชัดเจนซักอย่าง คุณไหมตอบชัดเจนตรงประเด็น 

รัฐบาลไม่ได้มีแผนอะไรชัดเจน คิดไปทำไป แค่นโยบายซื้อเสียงแค่นั้น


เป็นเทปที่ดีครับ เห็นชัดเลยระหว่าง เทคโนแครต กับ ทักษิโณมิกส์


ยังคงชื่นชอบการทำงานเพื่อไทย ที่คิดเรื่องใหม่ๆไม่อิงแต่ตัวเลขในกระดาษ ถึงแม้เหตุการณ์ที่ผ่านมา มีการเมืองที่ต้องรับบทเป็นตัวร้ายก็ตาม


ชื่นชมก้าวไกลนะ จะเลือกจนกว่าจะมีโอกาสเป็นรัฐบาล เพราะอยากดูผลงาน


เพื่อไทยถ้าไม่มีเผ่าภูมินี่ลำบากเลยนะ



การพูดคุยแบบ civilization จากทั้งสองฝ่าย ดีค่ะ มีประโยชน์มากกับปชช

พิธีกรดำเนินรายการได้น่าฟัง น่าชม แขกรับเชิญทั้งสองท่านพูดคุยกันอย่างสร้างสรรค์ ดีมากๆเลยค่ะ 


ดีคะเอาคนรู้เรื่องมาคุย อธิบายให้ประชาชนฟัง


คุณไหม กับคุณเผ่าภูมิ ทำงานร่วมกันได้ ประเทศไทยเจริญไปแล้ว


เผ่าภูมิบอกว่าเดี๋ยวร้านค้าจะมาสมัครเอง เพราะเห็นคนมีเงินหมื่น มันไม่รู้หรอว่าถ้าร้านสายป่านไม่ยาว ไม่มีเงินหมุนเขาไม่อยากสมัคร


เขาดักทางถูกก็ดิ้นใหญ่เพื่อไทยนี่ชอบส่งคนมาให้โดนเชือดตลอดเลยเนอะ


เงินชาวนา อยู่บนความเสี่ยง รัฐจะใช้คืนเมื่อไรไม่รู้


เพื่อไทย เพื่อใคร เหนื่อยใจ

คุณไหม ศิริกัญญา ตลอดรายการน่าจะอธิบายแทรกเพิ่ม ทำไม ต้องนโยบายเศรษฐกิจก้าวไกลมากกว่านี้ และอธิบายทำแล้วจะดียังไง พร้อมชักชวนมาร่วมกันบรรเลง Symphony เชิงเศรษฐกิจอันเพื่อสร้างสังคมที่ดีกว่า จะดีมากเลย แต่ตลอดรายการแถบไม่มีการแทรกเรื่องเหล่านั้นเลย น่าเสียดาย  


มันต้องแบบนี้ ถกกันเดียวข้อมูล


ดีแล้วคับ ฝั่งรัฐบาล คือ ต้อง ทำนโยบายที่ออกมาหาเสียงลงมือทำ ฝ่ายค้านมีหน้าที่ตรวจสอบ แนะนำ ดีแล้วคับ ถ้าฝ่ายค้าน ปล่อยให้ทำ โดยไม่มีคำถาม แบบเก่าๆ 


ประโยชน์ คนที่ได้คือประชาชน  การถาม ในข้อสงสัย มันดี ถัามีคำตอบ ที่ตอบได้ตรงประเด็นยิ่งดี  ยิ่งถามเยอะ เจอจุดสงสัยยิ่งดี 

รัฐบาลได้ ทำนโยบายได้ ดีที่สุด

ธนาคาร ธกส เขาให้กู้เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ไม่ใช่ให้ใช้สำหรับอุปโภคบริโภค มันผิดวัตถุประสงค์การใช้เงินไหมครับ แน่ใจนะครับว่าไม่ถามกฤษฎีกา ผมชอบคุณเผ่าภูมินะครับ แต่ไม่อยากให้เป็นแพะรับบาป เหมือนคดีจำนำข้าว เหมือนคุณบุญทรง


วนไป วนมา ก็คือกู้

กระตุ้นเศรษฐกิจ ได้ไหม ไม่รู้

คนไทย เป็นหนี้เพิ่ม อันนี้100%

งานนี้เพื่อไทยสูญพันธุ์แน่นอน


รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ดร.เผ่าภูมิ️️


อยากเอาไปใช้หนี้ทั้งการศึกษาก็ไม่ได้ โอ๊ยคนจน


จากที่ฟัง ทางก้าวไกล ตอบตรงไปตรงมาเข้าใจง่านส่วยทางเพื่อไทย ก็ยังยกเเม่น้ำทั้ง5มาเหมือน เดิม สาระที่ได้ก็ได้จากคุณศิริกัญญา ส่วน ทางเผ่าถูมิ แบบเดิม ก็วาทกรรม


เพื่อไทย ไม่มีแผนงาน ส่วนมากคิดไปทำไป ไม่ทำตามแผนงานนโยบายตามที่หาเสียง ไว้


เหมาะสมกันมาก


ผู้ชายไม่ทันคุมไหม ตอบประชดแต่ไม่ใช้หลักวิชาการ


พี่โต๋ดีลคุณไหมกะคุณพิธาไปออก piano&i ทีครับบ


เป็นหนี้อีกแล้ว .. ดิ้น หาทาง รีดเงิน จากตรงนั้นที ตรงนี้ที .. อนาถ พท เสียจริง  เวลาหาเสียง ไม่คิดก่อนว่า ทำได้ง่าย หรือ ยาก ขนาดไหน?  สุดท้าย ปชช ต้องมาลุ้น จะมีเงินมาคืนไหม ?


พักคนดีดี้..ยังไม่ได้รับรายงาน


เป็นแค่คนฟังยังเหนื่อยเลย… คนตรวจสอบจะเหนื่อยขนาดไหน


จบน่ารัก

ฝ่ายค้านถูกรัฐบาลห้ามถามแบบละมุนละม่อม ถ้าไม่มีข้อมูลห้ามสร้างความแตกตื่น แต่รัฐบาลก็กั๊กไม่ให้ข้อมูลสักที ในฐานะประชาชนไม่เข้าใจค่ะ


ธกส ดอกเบี้ยบ้านผมขึ้นอีกเจริญรัดบาน


พยายามทุกอย่างเพื่อ blockchain เอ๊ะๆๆๆๆๆๆๆๆ


สรุปยิมเงินประชาชนมาแจกประชาชน แต่ประชาชนบางส่วนไม่ได้


งบ5แสนล้าน ใช่ว่าจะหมดหลังจากการแจก 

..ต้องรอครบ6เดือน ถึงจะสรุปได้ว่ามีจำนวนวอเลท... ผู้ใช้... นั้นก็คือเงินที่ต้องสำรองเตรียมไว้เผื่อมีคนนำวอเลทมาขึ้นเงินครับ


หากคนคิดว่าลำบากยุ่งยากไม่อยากจะใช้ มันก็ดีในแบบของคุณไม่ใช่หรอ คนไม่ใช้ จำนวนวอเลทที่ใช้ได้ก็คงอยู่ งบเงินที่ต้องมาใช้หรือสำรองก็ลดลงหนิ ป่วยปะเนี่ยพูดเอาสนุกปากอย่างเดียว


เผ่าภูมิบอก can do จริงๆแค่ ฝันไกลถึงดวงดาวแต่ไปได้แค่ยอดมะพร้าว


สำหรับผมโครงการให้เงินแบบนี้เป็นเป็นโครงการสิ้นคิดโดยประชาชนคนธรรมดาทั่วไปคนที่ทำงานใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้เขาก็มีเงินเหลือเก็บกันทุกคนแต่มันแค่น้อยซึ่งมันจะใช้เวลาเก็บนานมากเพื่อทำให้ชีวิตมั่นคงเพราะค่าครองชีพมันสูงสิ่งที่อยากได้ ถึงรัฐบาลก็คือการทำค่าครองชีพของประชาชนให้มันถูกเขาทำงานเขาจะได้มีเงินเหลือมากไม่ใช่ทำโครงการช่วยเหลือเป็นช่วงเวลาสั้นๆมันไม่มีประโยชน์เช่นรถราคาน้ำมัน 3 เดือนลดค่าไฟ 3 เดือนเป็นต้นประชาชนไม่มีความมั่นคงถ้าคิดแบบคนโง่ๆเลยก็คือค่าครองชีพที่รัฐบาลกำหนดมาขั้นต่ำกฎหมายแรงงานเท่าไหร่คุณลองคิดคำนวณดูต่อวันเลยนะค่ารถเท่าไหร่ค่าอาหาร 3 มื้อเท่าไหร่ค่าไฟเท่าไหร่ค่ารถเท่าไหร่แล้วเงินที่จะเหลือต่อวันเป็นเงินเท่าไหร่ไม่ได้คิดแบบคนประหยัดนะคิดแบบคนทั่วไปที่ต้องมีมีบ้าน 1 หลังมีรถที่ต้องผ่อน 1 คันมีมอเตอร์ไซค์มีเงินเลี้ยงลูกถ้าจะให้พิมพ์จริงๆยาว

สมมุติ เงินแบงค์ของธนาคาร มี1ล้าน แต่บช.ทั้งหมดของธ.มีตัวเลขในแอพ2ล้าน แบบเนี้ย คนไม่ได้ถือเงินสดซะหน่อยหรือจะถอนก็คงไม่ได้ถอนหมดหนิ


เผ่าภูมิ ตอบไม่ตรงคำถาม อ้างแต่กระทรวงการคลัง

เหมือนว่าถ้ามีอะไรผิดพลาดอีก กระทรวงการคลังก็คือแพะ

ฟังแล้วจะคอยดูครับ  ว่าฝันเปียกหรือเปล่า  ถ้าไม่สำเร็จ  พท.กว่าจะได้โครตยาก .แอ็ฟใหม่อยุ่ไหน...กำลังดำเนินการ   รอๆๆๆๆๆๆๆๆไม่มีแผนเลย


ประเด็นคือ หนี้รัฐถิอเป็นหนี้สาธารณะหรือไม่ ใครรับชดใช้หนี้


ถามชัดตอบคลุมเครือ555


ทำได้แต่บอกไม่ได้แล้วมาพูดเพื่ออะไร


คุณไหมอย่าเหลี่ยมตาใส่พี่ยุทธ สิครับ 5555


ปลาเน่าหนึ่งตัว ย่อมเหม็นเน่าทั้งค้อง ยากจะแก้ไข แต่ง่ายจะแก้ตัว


รัฐคือผุ้ควบคุมดูแลระบบ แต่ถ้าปชช.อยากทราบก็คงให้ทราบได้แค่ว่า ยอดรวมดิจิตอลวอเลทขณะนี้... อยู่โซนพื้นที่จังหวัด... และมีการนำวอเลทมาขึ้นเงิน... แต่ไม่สามารถและมันไม่ควรอยู่แล้วที่จะเข้าไปเช็คข้อมูลส่วนบุคคลว่า นายก. นางข. ชื่อนี้เลขบัตร มีวอเลทคงเหลือหรือใช้ยังไงใครมีมากสุด(ส่วนนี้จึงสมควรมีแค่รัฐหรือแค่หน่วยเกี่ยวข้องนะคุณ)


ฟังแล้วดูหรูหราพญาลอยจริงๆครับแล้วถ้าไม่ได้ตามที่ขวัญน่ะทำยังไง


เมื่อไรครับหรือเดียวก็ลืม   เอาตัวรอดอย่างเดียว


อย่างแถถถถถ


ฟังดูเหมือนคุณเผ่าภูมิ กำลังขิงคุณไหม ว่าไม่ได้นั่งในครม ไม่ต้องรู้เยอะ 


จำไว้  สมัยปี 40 รัฐบาลชวน กู้ IMF  มา ...แต่ รัฐบาลทักษิณ ใช้หนี้ปีเดียวหมด ..นั้นละ การบริหารทางเศรษฐกิจ ที่ทำแบบนอกกรอบ .. ก้าวไกล ได้แค่พูด จะสรรหา คำพูดวิเศษขนาดไหนก็ได้


ก็ต้องให้เค้าค้านอะ


จะหมกเม็ดอะแหละ ทำเพื่อปชช.จิงๆหล๋อ


ด้อมส้มพากันตาค้าง.. เจอของจริง.. ใหม้ขาด.! 


จิ้นช่วงท้าย มีบรรยากาศแบบนี้ก็ดีเหมือนกันนะ ตบจูบ555


มีวิธีการที่บอกไม้ได้  ขอไปคิดก่อน

สวัสดีปีใหม่ไทยนะคะพี่ยุทธน้องไบร์ท พี่ยุทธใส่เสื้อลายดอกทองเต็มตัวเลยนะค๊าาาา


ฟังแล้วมีความรู้สึก เบื่อหน่าย


เผ่าภูมิ ไม่ต้องมาอีกแล้วช่องนี้โดนทั้งฝ่ายแค้นทั้งพิธีกรรุม


ท่านไหมห่วงนายทุนมากเลยนะคะ43.00 


เข้าใจไหมนะ แต่หน้าไหม ยิ้มๆแหยๆทั้งรายการใครๆก็มองออก

Looser attitude แบบรัฐมนตรีเว่านี่ไม่ไหวจริง ๆ พยายามจะเข้าใจว่าเป็นฝ่ายค้าน ถึงพยายามค้านทุกเรื่อง

บวชชี  บวชชี บวชชี ยัง

เผ่าภูมิ ไม่พูดเหน็บแนมจะเป็นไรมะ

สิริกัญญา พูดให้้เกียรติดีอยู่


แต่ต้องยอมรับว่า คุณไหม ตอบช้า คิดเฉพาะหน้าไม่ค่อยเก่ง ผิดกับคุณเผ่าภูมิ พูดจาดี ดูเหมือนมีเหตุผล แต่จริงๆไม่มี


กาเม กามา ไม่เข้าใครออกใครจริงๆ

เซ็ง... แล้วจะคอยว่าเก่งหรือเป่ลาครับ  โกหกมาตลอด  หาตังไม่เป็น


เผ่าภูมิ​ นักบริหารมืออาชีพ​, น้องไหม​ นักค้าน​ที่ไม่เคยบริหารงาน


ฝ่ายค้าน พูดเอามันเอาดีขนาดไหนก็ได้


เวลาเป็นเครื่องตัดสิน...เรื่องใหญ่ ก้าวไกลมี 3 เรื่อง

1 แก้ ม.112

2.ยกเลิกเกณฑ์ทหาร

3.ด้อยค่าการทำงานรัฐบาล 

..ก้าวไกลเคย มีทำพืชผลทางการเกษตรราคาดีมั้ย ..มีแต่ ..สุราก้าวหน้า...จำไว้ เรื่องสุรา ..เพื่อไทยทำมาก่อน "สุราพื้นบ้าน"  ..


35% ของประชากร ของประเทศ คือเกษตรกร ..เพื่อไทยทำราคาพืชผลทางการเกษตรดี ..ครั้งหน้า เพื่อไทยกลับมาที่ 1 เหมือนเดิม.


วันนี้ท่านเผ่าภูมิ MVP ข้อมูลแน่นนึกว่าเป็นAI ตอบคำถามได้สง่างามมีวุฒิภาวะตามสไตล์นักเรียนนอก เคลียร์หมดเป็นฉากๆๆๆ ตอกหน้าศิริกัญญาหงายแทบมุดปี๊บหนีเลย


วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2567

สนามศุภชลาศัย ในนิทรรศการ เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม

 สนามศุภชลาศัย ในนิทรรศการ เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม



ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม-30 มิถุนายน 2567 (ปิดวันจันทร์ อังคาร) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ ที่ติดกับธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์มีนิทรรศการ “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” จัดแสดงเอกสารต้นฉบับ 41 ชุด กว่า 200 รายการ ที่เกี่ยวเนื่องกับหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของไทยในยุคต่างๆ
นิทรรศการแบ่งเนื้อหาของเอกสารและจารึกออกเป็น 6 ประเภทตามยุคสมัย
- “จารจารึกบันทึกสยาม” ภาพรัฐจารีตถึงรัฐสมัยใหม่ก่อนปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5
เริ่มจากเอกสารโบราณที่บันทึกอยู่ในรูปของศิลาจารึก หนังสือสมุดไทย และเอกสารใบลาน ได้แก่ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ นันโทปนันทสูตรคำหลวง คัมภีร์อัลกุรอาน ไตรภูมิฉบับพระมหาช่วยจารที่วัดปากน้ำ จินดามณี จุลศักราช 1144 รามเกียรติ์ บทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 หนังสือสมุดไทย เรื่อง สามก๊ก มหาชาติคำหลวง และอุรังคธาตุ
.
- “แผนภูมิของแผ่นดิน” การจัดทำแผนที่ยุคต่างๆ และสัญลักษณ์ของเมือง
ว่าด้วยแผนที่โบราณของประเทศไทย ตราประจำจังหวัด อันนี้น่าตื่นเต้นเมื่อหาเห็นเอกสารขนาดใหญ่ และมุมมองที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน
- “นิติสารเมื่อเพรงกาลเล่าขานประวัติศาสตร์ไทย” เรื่องกระบวนการยุติธรรมและการต่างประเทศ
ห้ามพลาดกับเอกสารด้านกฎหมายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตัวจริง อาทิ กฎหมายตราสามดวง สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง เอกสารเกี่ยวกับการเลิกทาส
- “เมื่อแรกมีการพิมพ์” การเข้ามาของเทคโนโลยีการพิมพ์แบบตะวันตก
มาสู่ยุคที่ประเทศไทยเริ่มมีเทคโนโลยีด้านการพิมพ์ จัดแสดงชุดเอกสารกลุ่มแรก ๆ ในสังคมไทยที่เปลี่ยนจากการจดจารด้วยวัสดุและเทคนิคแบบโบราณ มาเป็นการบันทึกด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบตะวันตก เช่น หนังสือจดหมายเหตุบางกอกรีคอร์เดอร์ คัมภีร์ครรภ์ทรักษา ราชกิจจานุเบกษา รัชกาลที่ 4
- “ต้นร่างสร้างเมือง เรืองรองศิลปกรรม” การออกแบบก่อสร้างอาคารสมัยใหม่
จัดแสดงเอกสารการออกแบบก่อสร้างอาคารสำคัญตามรูปแบบตะวันตก เช่น แบบแปลนวังพญาไท แบบหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบบก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
“ด้วยความทรงจำอันงดงามและความคิดถึง” ย้อนระลึกถึงวันวานกับของสะสมในความทรงจำ
เอกสารที่บันทึกในรูปแบบของการเขียนจดหมาย และการส่งไปรษณียบัตร
(2)
เรื่องอื่น ๆ คงมีผู้รู้เขียนไว้มากมายแล้ว
แต่ผมคิดว่ามีเรื่องหนึ่งที่อยากจะบันทึกไว้คือกรณี สนามศุภชลาศัย ซึ่งก่อนหน้านั้นมีดรามาเรื่องคณะราษฎรทุบวังวินเซอร์
84 ปีที่สาบสูญ คณะราษฎรสั่งทุบ "วังวินด์เซอร์" สร้างสนามกีฬาชื่อตัวเอง
จนต้องมีบทความ “คณะราษฎร วังวินด์เซอร์ ศาลสนามสถิตยุติธรรม” โดย ชาตรี ประกิตนนทการ เคยเขียนไว้ ขอยกตัวอย่างมา
การรื้อวังวินด์เซอร์
วังแห่งนี้ รัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างขึ้นโดยตั้งใจให้เป็นที่ประทับของเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (มกุฎราชกุมาร) โดยวังนี้ตั้งอยู่บริเวณทุ่งปทุมวัน แต่สุดท้ายเจ้านายพระองค์นี้ได้เสด็จทิวงคตเสียก่อนที่วังจะสร้างเสร็จ วังดังกล่าวถูกทิ้งร้าง ต่อมาถูกใช้เป็นโรงเรียนและสถานที่ราชการเรื่อยมา จนสุดท้ายถูกรื้อลงเพื่อสร้างเป็น “สนามศุภชลาศัย” (สนามกีฬาแห่งชาติ)
ข้อเท็จจริงนี้เป็นที่รับรู้มายาวนานโดยมิได้มีประเด็นทางการเมืองแต่อย่างใด จนเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา การรื้อวังดังกล่าวได้ถูกยกมาเป็นประเด็นดราม่าอย่างมากในโลกออนไลน์
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นภายใต้การรื้อถอนอนุสาวรีย์และวัตถุสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับคณะราษฎรอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 เรื่อยมาจนปัจจุบัน ซึ่งทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจอย่างกว้างขวางในมวลชนฝ่ายที่มีแนวคิดต่อต้านการรัฐประหาร เพราะหลายชิ้นมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และบางแห่งมีคุณค่าสูงมากในระดับที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานของชาติ
แต่ในทางตรงข้าม มวลชนฝ่ายสนับสนุนรัฐประหารต่างออกมาโต้ว่า สมควรแล้วที่สิ่งเหล่านั้นถูกรื้อไป
และบางส่วนยังได้กล่าวว่า การรื้อเช่นนี้ เมื่อครั้งที่คณะราษฎรมีอำนาจก็ทำแบบเดียวกัน โดยยกกรณีการรื้อ “วังวินด์เซอร์” ขึ้นมาเป็นตัวอย่างประกอบ
ความเห็นนี้ยกระดับไปไกลมากขึ้นจนถึงขนาดพูดกันว่า การรื้อวังวินด์เซอร์เป็นเพราะคณะราษฎรเกลียดเจ้า
การรื้อในสองกรณีนี้ ผมคิดว่าเราไม่สามารถนำมาเทียบเคียงกันได้เลยนะครับ เพราะการรื้ออนุสาวรีย์ยุคคณะราษฎรเกิดขึ้นด้วยเหตุผลทางการเมืองอย่างชัดเจน โดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และกฎหมาย (กรณีรื้ออนุสาวรีย์ปราบกบฏคือตัวอย่าง) ส่วนกรณีรื้อวังวินด์เซอร์ เกิดขึ้นจากเหตุผลทางด้านประโยชน์ใช้สอยโดยตรง
ควรกล่าวไว้ก่อนว่า ผมไม่ปฏิเสธเรื่องการต่อสู้ทางการเมืองผ่านงานสถาปัตยกรรมนะครับ การรื้อ การย้าย การสร้างทับ การสร้างอนุสาวรีย์แข่ง การเปลี่ยนชื่อ ฯลฯ ล้วนถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่สำคัญในทุกสังคม
คณะราษฎรก็ใช้เครื่องมือเหล่านี้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาถนนราชดำเนินกลางที่ทับลงไปบนถนนราชดำเนินที่ตัดโดยรัชกาลที่ 5, การเปลี่ยนพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นอาคารรัฐสภา และการฝังหมุดคณะราษฎรลงบนลานพระบรมรูปทรงม้า
แต่ทั้งหมดนี้ ถ้าศึกษาอย่างละเอียดจริงก็จะพบว่า คณะราษฎรไม่เคยต่อสู้ทางการเมืองกับระบอบเก่าโดยใช้วิธีรื้อวัตถุสัญลักษณ์ของระบอบเก่าเลย
ยิ่งหากเราพิจารณาวังวินด์เซอร์ให้ดีก็จะพบว่า อาคารหลังนี้ก็มิได้มีนัยยะสำคัญทางการเมืองอะไรเลยนะครับ ตัวอาคารไม่เคยมีสถานะวัง (เป็นอาคารราชการธรรมดาๆ มาโดยตลอด) ไม่เคยมีเจ้านายประทับ และไกลห่างจากพื้นที่ศูนย์กลางอำนาจมากเกินไป
แต่ที่วังวินด์เซอร์ถูกรื้อเป็นเพราะตั้งอยู่ในโลเกชั่นที่เหมาะสมต่อการสร้างสนามกีฬาแห่งชาติในบริบทยุคนั้น ด้วยการมีพื้นที่ขนาดใหญ่มากพอ แต่ก็ไม่ได้ไกลปืนเที่ยงจนเกินไป อีกทั้งยังใกล้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ พื้นที่บางส่วนก็ปรับสภาพเรียบร้อยแล้ว มิได้เป็นทุ่ง เป็นไร่ เป็นสวนแต่อย่างใด ซึ่งคงประหยัดงบประมาณในการเปลี่ยนมาเป็นสนามกีฬาแห่งชาติได้ไม่มากก็น้อย
ที่สำคัญคือ ทัศนะว่าด้วยการอนุรักษ์ “สถาปัตยกรรมตะวันตก” เพราะมีคุณค่าสูง ก็เป็นแนวคิดใหม่ที่เพิ่งเกิดแค่ราว 50 ปีเท่านั้น (ไม่เก่าเกินกว่าทศวรรษ 2510 แน่) ก่อนหน้านั้น อาคารกลุ่มนี้มิได้ถูกมองว่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อะไรนะครับ และก็ถูกรื้อลงมากมาย การรื้อวังบูรพาภิรมย์ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน
ด้วยเหตุนี้ กรณีรื้อวังวินด์เซอร์ จากหลักฐานและบริบทแวดล้อมที่มีอยู่ ผมจึงคิดว่าเราไม่สามารถประเมินการรื้อด้วยเหตุผลที่ต้องการทำลายสัญลักษณ์ทางอุดมการณ์ของระบอบเก่าได้เลย
(3)
การได้มาชมนิทรรศการ“เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” และมาเห็นแปลนก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติที่เป็นมรดกของคณะราษฎรชิ้นสำคัญในการสร้างประเทศไทยขึ้นมาใหม่ นั้นเห็นได้ชัดเจนว่าเป้าหมายของ “ราชสำนัก” กับ“คณะราษฎร” นั้นแตกต่างกันอย่างไร
ถึงแม้ในนิทรรศการภาพกิจกรรมของสนามศุภชลาศัย ในนิทรรศการชุดนี้ที่เลือกมาจะเป็นกิจกรรมของราชสำนักก็ตามที เลยทำให้นึกย้อนกลับ ไปว่าเพราะมีมรดกคณะราษฎรนี่แหละ ทำให้ราชสำนักได้มีพื้นที่ในการจัด มรสพ เพื่อจูงใจอาณาประชาราษฎร
ปล.ในนิทรรศการนี้ไม่มีการอาลัยอาวรณ์ต่อวังวินเซอร์เลย เพราะคนทำก็ตระหนักดีว่ามันไม่ได้มีนัยยะที่ก่อให้เกิดดรามาได้

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567

เปิด “บันทึกไว้กันลืม” ไดอารี่ “มีชัย ฤชุพันธุ์” กว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ’60

 เปิด “บันทึกไว้กันลืม” ไดอารี่ “มีชัย ฤชุพันธุ์” กว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ’60

4 ปี ครบรอบการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2560

รัฐธรรมนูญฉบับถูกร่างขึ้นในช่วงที่คสช.มีอำนาจ บริหารประเทศ หลังยึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ก่อนประกาศใช้ในวันที่ 6 เมษายน จนนำไปสู่การแปลงรูป เปลี่ยนร่างคสช.ไปสู่การฟื้นระบบราชการ วางกลไกสืบทอดอำนาจ จน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังสามารถครองอำนาจอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน

แม้ระยะเวลา 2 ปี หลังจากการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ จะมีความพยายามในการรื้อทิ้งแก้ไข แต่ด้วยกลไกตามบทบัญญัติที่ถูกวางไว้อย่างแน่นหนา รัดกุม การจะฝ่าด่านเสียงเห็นด้วยแบบมี “เอกภาพ” ของสมาชิกรัฐสภา จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยในสังคมที่มีความคิดต่างหลากหลายเช่นนี้

แน่นอนทั้งหมด เป็นประสบการณ์ล้วนๆของ นายมีชัย ฤชุพันธ์ุ เนติบริกรคนสำคัญ ผู้ที่ถูกมอบหมาย ให้มารับหน้าที่นี้อีกครั้ง ในวัยเกือบๆ 80 ปี

จาก “นักกฎหมายหนุ่ม” ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้ที่ถูก นายสมภพ โหตระกิตย์ ซึ่งขณะนั้นเป็นเลขาธิการกฤษฎีกา สั่งให้ติดสอยห้อยตามเข้าไปในสนามเสือป่า เพื่อเข้าไปร่างแถลงการณ์เตรียมการสำหรับการยึดอำนาจโค่นล้ม รัฐบาล ธานินทร์ กรัยวิเชียร ในเดือนตุลาคม 2520 เรื่อยมาจนมาถึงรัฐธรรมนูญ 2560 นายมีชัย ถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องทั้งออกหน้า และลับหลังกับรัฐธรรมนูญหลังรัฐประหารเกือบทุกฉบับ

เช่นเดียวกับ รัฐธรรมนูญนี้

ใน “บันทึกไว้กันลืม” ที่ นายมีชัย เขียนไว้ในหนังสือ ความในใจของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2560″ บันทึกความทรงจำ ของ 21 กรรมการกรธ. ยอมรับแต่ย่อหน้าแรกๆว่า มีส่วนเป็นผู้การันตี อ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ว่า มีบารมีพอที่จะเป็นผู้ทำหน้าที่นี้ หลังจากอ้างเรื่องอายุ ปฏิเสธการรับตำแหน่ง

แต่พอเกิดเหตุหักกันเองสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไม่เห็นชอบ ร่างฉบับบวรศักดิ์ ท่ามกลางกระแสข่าวว่า มีคือ “ใบสั่ง” จากผู้มีอำนาจ จนเกิดวลีอมตะที่ว่า “เขาอยากอยู่ยาว” จึงทำให้ต้องมีชุดใหม่มารับไม้ต่อ

“เคราะห์กรรมมาถึงตัวเราอีกแล้วหรือนี่” เป็นประโยคแรกที่ นายมีชัย ระบุว่า แวบขึ้นมาในใจทันที เมื่อมีผู้ใหญ่ของคสช.โทรมาบอกว่า อยากให้รับหน้าที่เป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญ รับไม้ต่อจากชุดอ.บววรศักดิ์

“ผมได้ตอบผู้ใหญ่ท่านนั้นไปว่า ผมขอคุยกับนายกฯ ก่อน และเมื่อนายกฯ กลับจากต่างประเทศ ก็เชิญผมไปพบเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2558 พร้อมกับบอกว่า ขอให้ไปช่วยเป็นประธาน กรธ. ผมถามท่านว่ามีความจำเป็นขนาดไหนที่ผมจะต้องไปทำ ท่านตอบว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจหลีกเลี่ยง เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ เมื่อท่านตอบเช่นนั้น ผมก็หมดทางเลี่ยง ในฐานะคนไทยผมจะปฏิเสธได้อย่างไร ที่มีความรู้เป็นตัวเป็นตนอยู่ทุกวันนี้ก็ได้อาศัยทุนรัฐบาลไปเล่าเรียนมา บุญคุณนั้น ผูกพันอยู่ชั่วชีวิตที่จะต้องทดแทนต่อแผ่นดิน”

ถือเป็นการตอบรับ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ ขอร้อง พร้อมๆ “ตีกรอบ” ให้นายมีชัยไว้ 5 เรื่อง นอกเหนือไปบัญญัติ 10 ประการ ที่ถูกระบุไว้ใน มาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 ดังนี้

1.สากลยอมรับ แต่ต้องเป็นไทย 2. กลไกปฏิรูปและปรองดอง 3. ป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบ 4. ปราบโกง และ 5.กลไกการมีประชาชนมีส่วนร่วม

กรธ.เริ่มต้นทำงานวันแรกในวันที่ 6 ตุลาคม 2558 จากนั้น 3 เดือนเศษ ร่างเบื้องต้นก็ทำเสร็จ ในวันที่ 29 มกราคม 2559 ก่อนส่งให้ทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องให้ความเห็น

ร่างแรกที่ออกมา “ไม่ถูกใจคสช.” เพราะ “บิ๊กหมู” พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. เลขาธิการคสช. ได้ทำจดหมายเสนอปรับปรุงบทเฉพาะกาล บีบกรธ.ให้เปิดทางนายกฯคนนอกในช่วงเปลี่ยนผ่าน-ล็อคเก้าอี้ 6 ส.ว.ให้ผบ.เหล่าทัพ

“ข้อเสนอแนะจากคสช. มีข้อเสนอและข้อห่วงใยหลายประการ บางประการก็เสนอให้เปลี่ยนหลักการใหม่ในร่างที่จัดทำไปแล้ว กรธ.แต่ละคนก็หน้าหมองคล้ำ หวั่นวิตกกันไปต่างๆนานา เกรงว่าผมจะมาบังคับ กรธ.ให้ต้องแก้ไขไปตามข้อเสนอของคสช.ทั้งหมด ผมได้อธิบายให้กรธ. ฟังว่าคสช. ในฐานะที่มีอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ย่อมมีความเป็นห่วงกังวลถึงอนาคตของประเทศ และมีสิทธิเช่นเดียวกับองค์กรอื่นๆ

“เรื่องใดที่กรธ. เห็นว่า มีเหตุมีผลอันสมควร และเป็นประโยชน์ก็ไม่มีเหตุอะไรที่จะปฏิเสธ แต่ถ้าเรื่องใดที่กรธ.คิดว่า แก้ไขแล้วก่อให้เกิดผลเสีย หรือขัดต่อระบบโดยรวมที่กรธ.วางไว้ หรือกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชน กรธ.ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไข และชี้แจงให้คสช.เข้าใจ ผมเชื่อว่า คสช.พร้อมที่รับฟังเหตุผล” 

แฟ้มภาพ

แน่นอน กรธ.ยอม 2-3 ประเด็น แต่ได้แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว เปิดทางให้สนช. แม่น้ำอีกสายของคสช. ตั้ง “คำถามพ่วง” ในการประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ถามประชาชนในสิ่งที่คสช.ขอมาแทน

นี่จึงเป็นที่มาทำให้ เสียงส.ว.เป็นปัจจัยสำคัญของการตั้งรัฐบาล เพราะซีกพรรคเพื่อไทย ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นอันดับ 1 พ่ายแพ้พรรคพลังประชารัฐ พรรคอันดับ 2 ในเกมรวมเสียง ทำให้ได้ พล.อ.ประยุทธ์ กลับมาเป็นนายกฯอีกครั้ง

นายมีชัย เล่าว่า เดิมตอนแรกที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเพื่อร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ หลังชุดนายบวรศักดิ์ถูกคว่ำ ได้เสนอให้มีการทำ “ประชามติ” ด้วย

แต่ คสช.ลังเล เพราะมองว่า เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก และสิ้นเปลือง แต่คณะผู้จัดทำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวได้พยายามอธิบายถึงความคุ้มกับการดำเนินการ เพราะจะไม่มีใครมากล่าวหาในภายหลังว่า คสช.เป็นผู้ทำเอง การทำประชามติจะได้ไปอธิบายให้ประชาชน หากเข้าใจเขาก็จะเป็นเกราะให้แก่ผู้ร่างและคสช.ได้

จนในที่สุด คสช.จึงเห็นดีเห็นงามด้วย แม้จะมีความกังวลอยู่บ้างก็ตาม

แต่ นายมีชัย ก็ยอมรับเช่นกันว่า ได้มาพบภายหลังว่า ข้อเสนอการทำประชามติ ได้สร้างความยากลำบาก เหนื่อยยากแสนสาหัสให้แก่ กรธ.เป็นอย่างมาก แต่ยังเคราะห์ดีที่องค์ประกอบของ กรธ.ได้ช่วยทำให้ความลำบากและเหนื่อยยากนั้น ผ่านพ้นมาได้ วันที่ 7 สิงหาคม 2559 เมื่อผลประชามติมีผู้เห็นชอบกว่า 16 ล้านเสียง กรธ.ทุกคนจึงดีใจ โล่งใจ เสมือนยกภูเขาออกจากอก

จากนั้น ระหว่างเตรียมการลงมือทำกฎหมายลูก วันที่ 13 ตุลาคม 2559 ได้รับโทรศัพท์จากผู้ที่เชื่อถือได้บอกว่า รัชกาลที่ 9 สวรรคตแล้ว

“เหมือนฟ้าผ่าลงกลางใจ

“ผมนั่งสะอื้นอยู่พักใหญ่ จึงสามารถเล่าให้ที่ประชุมฟังได้อย่างกระท่อนกระแท่น พวกเราทุกคนต่างคนต่างก็นั่งนิ่งก้มหน้า สมองว่างเปล่า ขาวโพลน หมดปัญหาที่จะคิดอ่านอะไรได้ต่อไป จึงบอกเลิกประชุม”

นายมีชัย เล่าว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแผ่นดินขึ้น ทำให้เกิดปัญหาขึ้น 2 เรื่อง คือ “คำปรารภ” ในร่างรัฐธรรมนูญไม่สอดรับกับแผ่นดินใหม่ กับ หมวดที่ 2 พระมหากษัตริย์นั้น ร่างตามประเพณีที่อยู่ในรัชกาลที่ 9

“กรธ.หลีกเลี่ยงการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 2 อย่างที่สุด นานๆ จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมเล็กๆน้อยๆ แต่การแก้ไขเพิ่มเติม มิใช่เกิดจากความคิดขึ้นเองของผู้ร่าง หากแต่เกิดจากการบอกเล่าของท่านราชเลขาธิการ หรือองคมนตรี และเมื่อแก้ไขก็จะต้องส่งกลับไปให้ท่านราชเลขาธิการ หรือองคมนตรีได้ตรวจทานว่า ตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่”

“แต่มีการผลัดแผ่นดินก่อนที่ขบวนการตรารัฐธรรมนูญจะแล้วเสร็จ บทบัญญัติทั้งปวงในหมวด 2 จึงเป็นการร่างตามประเพณีที่มีอยู่ในรัชกาลที่ 9 ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับประเพณีที่จะเกิดขึ้นใหม่ในรัชกาลใหม่ แต่กระบวนการได้ล่วงเลยไปถึงขั้นนายกฯได้นำร่างทูลเกล้าฯ จึงไม่มีช่องทางดำเนินการอย่างใดได้”

จึงต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อหาทางออกในเรื่องนี้

โดย สนช.มีมติ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2560 เห็นชอบกับมาตรา 39/1 ใจความว่า “หากกรณีที่พระมหากษัตริย์พระราชทานข้อสังเกตว่าสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความใดภายในเก้าสิบวันให้นายกรัฐมนตรีขอรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญนั้นคืนมาเพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะประเด็นตามข้อสังเกตนั้นและประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง และแก้ไขเพิ่มเติมคำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกัน”

“การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวดังกล่าวนับเป็นทางออกที่แก้ไขปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนไปได้

“ที่สำคัญได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของนายกฯ เป็นผู้ดำเนินการแก้ไข เพราะก่อนจะขอรับร่างคืนมา นายกฯ จะต้องเป็นผู้เข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชข้องสังเกตว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความใด จึงเป็นผู้รู้ดีว่า จะต้องแก้ไขอย่างไร” นายมีชัย ระบุ

นายมีชัย ยังเล่าด้วยว่า ก่อนหน้านั้นนั้นระหว่างร่างรัฐธรรมนูญ ได้พบกับ ฟองสนาน จามรจันทร์ หรือ แม่หมอสมัครเล่น เธอพบหน้าแล้วบอกว่า การทำประชามติจะผ่านอย่างน่าแปลกใจ แต่เมื่อผ่านแล้วจะต้องแก้ไขถึง 3 หน จึงจะใช้ได้

“ผมฟังคุณฟองสนานแล้วก็นึกขำอยู่ในใจว่าผ่านประชามติแล้ว จะมาแก้ไขอะไรกันได้อีก ถ้าจะแก้ไขต้องแก้ไขเมื่อประกาศใช้แล้ว”

แต่เมื่อผ่านประชามติแล้ว นายมีชัย บอกว่า มีการแก้ไขถึง 3 ครั้งจริงๆ ครั้งแรก เป็นการแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับคำถามพ่วง ครั้งที่สอง เป็นการแก้ไขคำปรารภเพื่อให้เป็นปัจจุบัน ครั้งที่สาม เป็นการแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามข้อสังเกตที่พระราชทานมา

“เราได้ทราบข่าวด้วยความปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณให้ประกอบพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต ในวันที่ 6 เมษายน 2560 ซึ่งตรงกับวันจักรี” 

นายมีชัย บอกว่า ในรัฐธรรมนูญ 20 ฉบับ มีการประกอบพระราชพิธีอย่างใหญ่เพียงแค่ 5 ครั้ง โดยรัฐธรรมนูญ 2560 เป็นครั้งที่ 5 เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20 และเป็นฉบับเดียวที่ผ่าน 2 รัชกาล โดยร่างในรัชกาลที่ 9 และมาประกาศใช้ในรัชกาลที่ 10

ทั้งยังเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของรัชกาลที่ 10 ด้วย

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2567

GDP คือ อะไร? ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจที่นักลงทุนควรรู้จัก

 GDP คือ อะไร? ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจที่นักลงทุนควรรู้จัก







ดูเศรษฐกิจโลกแบบง่ายๆ เริ่มจากอะไร – รู้จัก GDP

หากพูดถึงภาพรวมเศรษฐกิจในภาพรวม มักจะดูที่ GDP กัน คงจะได้ยินคำนี้กันบ่อยๆ แต่ GDP คืออะไร สำคัญยังไง เราจะเล่าให้ฟังค่ะ


















GDP คือ อะไร?

GDP ย่อมาจาก Gross Domestic Product หรือแปลเป็นไทยว่าผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ แปลจากไทยเป็นไทยอีกที คือ การที่นับรายได้ที่เกิดขึ้นจากในประเทศเท่านั้น ไม่ว่าจะสัญชาติใดก็ตาม โดย GDP ประเทศไทย จะนับการคำนวณเฉพาะรายได้ที่เกิดขึ้นในไทยเท่านั้น แต่ถ้าเป็นคนไทย แล้วมีรายได้ที่ต่างประเทศ ไม่นับนะจ๊ะ อันนั้นเรียก GNP : Gross National Product ที่จะนับเฉพาะรายได้จากคนไทยเท่านั้น ไม่ว่าจะอยู่ประเทศใดในโลกนี้ก็ตาม

แล้ว GDP เอาไว้ทำอะไร ? GDP เป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจในการศึกษาเปรียบเทียบถึงอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาเปรียบเทียบในการวางแผนและกำหนดนโยบายต่าง ๆ สำหรับพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ 

 

GDP คือ อะไร? ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจที่นักลงทุนควรรู้จัก

การคำนวณ GDP มีกี่วิธี ?

การคำนวณ GDP จะมี 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่

  • ด้านรายได้: เป็นการคำนวณ GDP โดยการรวมรายได้ประเภทต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับในฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
  • ด้านรายจ่าย: เป็นการคำนวณ GDP โดยการนำรายจ่ายของครัวเรือนในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายรวมกันในระยะเวลา 1 ปี
  • ด้านผลผลิต: เป็นการคำนวณ GDP โดยการรวมมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจจะเป็นตัววัดมูลค่าของสินค้าและบริการ

GDP คือ อะไร? ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจที่นักลงทุนควรรู้จัก

GDP ด้านรายจ่ายประกอบด้วยอะไรบ้าง?

C = Consumption คือ การบริโภคของภาคเอกชนและประชาชน เป็นการจับจ่ายใช้สอยทั่วไป เช่น ค่าอาหาร สาธาณูปโภค เป็นต้น

I = Investment คือ การลงทุนของภาคเอกชน ในการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ ถนนทางเดิน รถไฟฟ้า ฯลฯ

G = Government Spending คือ การใช้จ่ายของรัฐบาล หรือ การลงทุนภาครัฐ ตามนโยบายต่างๆ

X = Export คือ การส่งออก (ขายสินค้าให้กับต่างประเทศ)

M = Import คือ การนำเข้า (รับสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย)

มีสมการด้วยนะ

GDP = C+I+G+(X-M)

GDP คือ อะไร? ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจที่นักลงทุนควรรู้จัก

ทำไมต้องเขียนว่า X-M?

การเขียนแบบนี้หมายถึง Net Export เป็นการดูมูลค่าการส่งออกสุทธิ เปรียบเหมือนการส่งออกคือรายได้ การนำเข้าคือรายจ่าย เราอยากรู้ว่าตัวเองเหลือเงินเท่าไหร่ เป็นบวกหรือไม่ ต้องนำรายได้หักรายจ่ายออก

GDP คือ อะไร? ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจที่นักลงทุนควรรู้จัก

GDP คือ อะไร? ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจที่นักลงทุนควรรู้จัก

ค่า GDP เป็นบวก / เป็นลบ

ถ้าค่า GDP เป็นบวก แสดงถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่มีการเติบโตขึ้น มีเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น แต่สิ่งที่อาจตามมาได้ คือ อัตราเงินเฟ้อที่จะสูงขึ้นได้เช่นกัน เพราะเมื่อคนมีความต้องการซื้อกันมากขึ้น สามารถดันให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นมาได้



ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ

เวลาที่ยี่ห้อโทรศัพท์มือถือดังๆ ประกาศว่าจะมีรุ่นใหม่ออกมา สื่อออนไลน์ต่างๆ จะพร้อมใจกันออกข่าวเกี่ยวก

 

ถ้าค่า GDP เป็นลบ แสดงถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัวเลง มีเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศลดลง เกิดจากกอะไร ขอกลับไปที่ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือยี่ห้อดังอีกครั้งค่ะ


 

ในจังหวะที่โทรศัพท์มือถือรุ่นนั้นเป็นที่ต้องการมาก คนก็จะแห่กันไปต่อแถวซื้อ เพราะอยากได้กลับมาครอบครอง แต่ในโลกความเป็นจริง ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่มีอยู่อย่างจำกัด คนที่ต้องการโทรศัพท์รุ่นนี้ก็มีจำกัดเช่นกัน ดังนั้นพอเลยจุดพีคไป จำนวนคนที่จะซื้อโทรศัพท์รุ่นนี้ก็จะค่อยๆ ลดลงไป รวมถึงราคาสินค้าก็จะลดลงด้วยเช่นกัน

หากเพื่อนๆ สนใจอยากรู้ว่า GDP ของแต่ละประเทศ รวมถึงของไทยในที่ผ่านมาเป็นอย่างไร สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://tradingeconomics.com/country-list/gdp-annual-growth-rate ค่ะ