เพลงฉ่อยชาววัง
- หน้าแรก
- About Admin
- FB Page
- Our Mission
- Videos
- Veerapat
- ๋JAKRAPOP
- กฏของมัวร์
- บทความทั้งหมด
- ฟังไว้จะได้หายโง่
- BBC.Articles
- วีดีโอเกี่ยวกับ การยุบพรรค
- Yingluck Shinawatra : This is unlawful
- โรงเรียนการเมือง Democraticregime
- แด่นักสู้ธุลีดินชาวไทย
- สงครามเวียดนาม สู่ตำนานเมียเช่า
- ฉีกหน้ากากผู้มากบารมี 2557
- อะไรคือระบอบทักษิณ (ฉบับเต็ม)
- เสียงบนบัตรเลือกตั้ง
- ลั่นกลองรบ
- วาทะกรรมเผาบ้าน เผาเมือง
- ยุทธการ "รุมยิงนกในกรง"
- เวทีดีเบตไทยรัฐทีวี "เลือกตั้ง 62
- คลิปเกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ
- จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เปลี่ยนแปลงมาสู่ระบอบประชาธิปไตย
- สุทิน คลังแสง( แก้ไข)
- ตลาดวิชา อนาคตใหม่
- My Man
- ช่อ สุดยอดถล่ม "ไวรัส รัฐประหาร
- ใครฆ่าร.8
- สถาบัน กับการเมืองในปัจจุบัน
- ตาสว่าง
- ยึดทรัพย์ทักษิณ
- ธงชัย วินิจจะกูล
- ศสจ. ผูผลักดัน เพดานเสรีภาพมาทั้งชีวิต!
- Netiwit talk to Time
- เพลงปีศาจ
- ปืนปิดปาก ประหารชีวิต ที่สุดของเผด็จการ
- interview the king no.10
- ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี
- เพลงฉ่อยชาววัง
- คุณรู้จัก "สลิ่ม" ไหม??
- ประชุมสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ
- น้อง อั่งอั๊ง
- เสวนา“ รัฐไทยจะอยู่อย่างไรเมื่อมีรัฐสวัสดิการ
- WHAT HAVE I DONE WRONG
- โบว์คือใครคะ
- 🌺 Politics Gossip for admin
- โหด ซาดิสม์
- ความจริง สองด้าน ระหว่าง พี่น้อง "ตู่-เต้น
- ถนอมบวชเณรกลับไทย สาเหตุ 6 ต.ค. 19
- ขบวนการสกัดกั้นพิธาด้วยหุ้น ITV
- ธนาธร
- ธนาธร สอนบัญชี
- 🌹🌹ดร.ปวิน
- ธนาธร "ประเทศไทยควรได้อะไร"
- 14 ตุลา มหาวิปโยค
- PIYABUTR
- 6ตุลา19 'เหี้ยมอย่างสัตว์'
- ปู่แอ๊ด
- Piyabutr Saengkanokkul
- สมยศ พฤกษาเกษมสุข ชีวิตของนักโทษ ม.112
- 🌹🌹How to Start a Revolution
- 🌹🌹ก้าวไกลส่งต่อรุ่นสาม
- อ. ลอย สัมภาษณ์ หนูหริ่ง
- 🌹🌹ปราศรัยเดือด! 4 แกนนำ อนาคตใหม่
- 🌹🌹พวงทอง ภวัครพันธุ์
- 🌹🌹ชีวิตของ บรรยง พงษ์พานิช
วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
การเมือง.. เรื่องเงินๆ
ทำความเข้าใจกับ งบประมาณ 2558 กันครับตัวขับเคลื่อนหลักทางเศรษฐกิจของประเทศเราอย่างหนึ่งคือการใช้จ่ายภาครัฐ และในกรณีนี้คือการใช้จ่ายผ่านพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ซึ่งจะเริ่มปีงบประมาณทุกวันที่ 1 ตุลาคมของปี ซึ่งจำนวนเงินคิดเป็นมูลค่าของประเทศไทยเราอยู่ที่หลัก 2 ล้านล้านกว่าบาท มาเป็นเวลาหลายปีแล้วสำหรับปีงบประมาณรายจ่าย 2558 ตอนแรกเป็นไปด้วยข้อกังวลมากมายในช่วงก่อนรัฐประหาร เพราะตอนนั้น เต็มไปด้วยความมืดมนในหนทาง รัฐบาลรักษาการไม่ได้มีอำนาจเต็มในการทำอะไร ข้าราชการกระทรวงการคลังที่พร้อมชงเรื่องให้ฝ่ายบริหาร ก็ทำเสร็จไว้นานแล้ว เพียงรอเสนอและอนุมัติ แต่เมื่อตอนนั้น ผู้อนุมัติมันมีปัญหา ความกังวลที่ส่งผลไปยังความเชื่อมั่นก็ตามมา เพราะหากไม่มีใครอนุมัติได้ขึ้นมาล่ะก็ เศรษฐกิจไทยอาจถึงขั้นชะงักงัน เพราะการลงทุนปี 57 ที่ค้างอยู่ ก็จะเบิกจ่ายได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย หลายโครงการไม่สามารถทำได้ด้วยแค่หน่วยงานราชการ และงบน 58 หากไม่ออกก็จะกระทบต่องบนลงทุน ลามไปถึงภาคเอกชนที่จะต้องมีแผนระยะสั้น- กลาง-ยาว ต่างๆนานาอีกมากมายในการนำปัจจัยภาครัฐมาเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ
หากจะให้สรุปแผนในงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 สั้นๆ เทียบกับของปีก่อน รัฐบาลก่อนได้ตามนี้เลยครับ1.วงเงินงบรายจ่าย 2.575 ล้านล้านบาท มากกว่าปีก่อนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 5 หมื่นล้าน- แบ่งเป็นรายจ่ายประจำสำหรับหน่วยราชการ 2.02 ล้านล้านบาท หรือ 78% ของงบรายจ่ายรวม แปลว่า ในงบรายจ่ายปีหนึ่งๆ เหลือไปทำอะไรอื่นๆได้เพียง 22% เท่านั้น
หากจะให้แทรกความเห็นตรงนี้เลย สัดส่วนงบประจำมีมากเกินไป เงินจมไปกับส่วนนี้เยอะ กรณีนี้หากจะมีการปฏิรูปต้องมีการปฏิรูประบบการใช้เงินงบประมาณภาครัฐผนวกไปกับ ปฏิรูประบบราชการไทยด้วยครับ- จำนวนเงินที่เหลือจากงบฯประจำ 22% นั้นเอาไปทำอะไร คำตอบคือ จ่ายชดเชยเงินคงคลัง จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ จ่ายต้นเงินกู้ และนอกเหนือจากนั้นก็คืองบฯลงทุนครับ
- ส่วนสำคัญของงบรายจ่ายที่แต่ละรัฐบาลจะต้องดูอย่างละเอียดคือ "งบฯลงทุน"นี่แหละ ที่ทางการคลังระบุว่า ในปีงบประมาณหนึ่งๆ ควรจะมีงบลงทุนภาครัฐอย่างน้อยๆ 17.5% ของงบรายจ่าย ทั้งหมด หากรัฐบาลไหนอยากลงทุนมาก แต่ยืนยันมั่นใจได้ว่า การลงทุนนั้นมีประโยชน์อย่างแท้จริง คุ้มค่าการลงทุนจริง แผนลงทุนนั้นผ่านการทำประชาพิจารณ์มาอย่างรอบคอบแล้ว หรือมีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว จะมีแผนลงทุนมากกว่า 17.5% ก็ยังทำได้สบายๆ และจุดนี้คือ กึ๋นของแต่ละผู้บริหารในคณะรัฐบาลนี่เองล่ะครับ- คสช.ไม่ใช่คณะบริหาร จึงคงสัดส่วนงบลงทุนให้อยู่ในเกณฑ์ 17.5% ที่มูลค่า 4.5 แสนล้าน เพิ่มมากกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ 9 พันล้าน ส่วนรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นนิดเดียวแค่ 0.5% เทียบปีก่อน
อย่างหนึ่งที่อยากฝากไว้ให้เป็นข้อสังเกตคือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ทำงบปี 57 นั้น งบประจำบานเบอะ งบลงทุนลดลง- สาเหตุที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำงบลงทุนลดลง ก็อย่างที่รู้กันครับว่า รัฐบาลนี้นิยมการลงทุนด้วยเงินนอกระบบงบประมาณ ที่รั่วไหลง่าย ตรวจสอบยาก เจ๊แดงชอบ ทั้งสองล้านล้าน และ 3.5 แสนล้าน คือ แผนนอกระบบทั้งสิ้น และการค้านของหลายฝ่ายที่สำเร็จจนพรบ.เงินกู้ต้องตกไป ก็เพราะการออกกฎหมายขอกู้นอกระบบนั้น มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
2.ประมาณการรายได้ 2.325 ล้านล้านบาท มีการประมาณการรายได้ไว้ มากกว่าปีก่อนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 5 หมื่นล้าน ในสมมติฐานที่ว่า เศรษฐกิจจะโตได้ 6.3% ส่วนการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่ต้องพูดถึงนะครับ รู้ๆ กันอยู่ว่าตัวเลขเน่าเฟะแค่ไหน
3.งบประมาณขาดดุล 2.5 แสนล้านบาท ตัวเลขนี้เอามาจากการหักลบกันระหว่าง ประมาณการรายได้ว่าประเทศจะมีเงินเข้าเท่าไหร่ ลบกับ งบประมาณรายจ่ายว่าประเทศจะต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ ซึ่งจำนวนนี้เท่ากับปีก่อนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งเป็นตัวเลขปกติที่ไม่ได้สูงนัก
4.จำนวนเงินสำหรับการชำระต้นเงินกู้สูงกว่าของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ภาษาชาวบ้านคือ จะจ่ายหนี้มากกว่ารัฐบาลก่อน ข้อนี้เขียนแล้วก็มีอารมณ์ร่วมนิดนึงครับ พรรคเพื่อไทยสมัยเป็นฝ่ายค้านตราหน้า กล่าวหารัฐบาลอภิสิทธิ์ในสมัยนั้น ตอนกู้พรก.ไทยเข้มแข็งมาลงทุนกู้ชาติในช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์จนสำเร็จ ไทยฟื้นวิกฤติเป็นอันดับ 2 ของโลก โตพุ่ง ส่งออกทะลุเป้าในปีถัดมา แต่กลับถูกหาว่า"ดีแต่กู้" แต่สมัยพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลเอง กู้มาทำอะไรดีๆไม่ได้สักอย่าง ทั้ง 3.5 แสนล้าน งบหมดอายุแล้ว ยังเบิกจ่ายลงทุนน้ำไม่ทันได้ตามจริง เงินกู้ 2 ล้านล้านก็แท้งเพราะโกงในข้อกฎหมายตั้งแต่ยังไม่คลอด ไม่ว่าจะกดบัตรแทนกัน หรือจ้องใช้เงินนอกระบบงบประมาณให้นักกฎหมายเล่นแร่แปรธาตุกับนิยามคำว่า”เงินแผ่นดิน” ทั้งหมดนี้ 2 ปี 9 เดือน 2 วัน เอาแต่ก่อหนี้ จนหนี้สาธารณะพุ่ง 1 ล้านล้านกว่าบาทในระยะเวลาบริหาร แต่ดันตั้งงบจ่ายคืนหนี้ให้น้อยเหลือเกิน
5.งบในการชดเชยภาระเงินคงคลัง อันนี้เข้าใจกันได้ไม่ยากครับ ถ้าจะให้เขียนให้ชาวบ้านเข้าใจง่ายสุดคือ งบประมาณที่จะต้องตั้งขึ้นมาเพื่อชดใช้เช็ดขี้เยี่ยวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พุ่งไปกว่า 2.8 หมื่นล้านบาท หรือ 212% เทียบกับปีก่อน ไม่ว่าจะงบตั้งจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้จำนำข้าว งบจ่ายให้โครงการรถคันแรกที่ค้าง งบต่างๆนานาที่อ่านตามข่าวแล้วชวนอารมณ์เสีย พูดถึงงบฯตรงนี้ ขอขยายความสรุปไว้จากการคำนวณของกระทรวงการคลังถึงเม็ดเงินที่ต้องให้รัฐบาลสมัยถัดๆไป มาชดเชยให้ ขอเรียกมันว่า งบล้างหนี้จำนำข้าวงบล้างหนี้จำนำข้าวมูลค่าประมาณ 5 แสนล้าน กว่าจะชดเชยหมดใช้เวลา 6 ปี คิดเป็นดอกเบี้ยปีละ 2 หมื่นล้าน ดันหนี้สาธารณะเพิ่ม 6%
จากผลกรรมแห่งการทำโครงการจำนำข้าว 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ยังไม่นับรวมผลขาดทุน ที่ผลาญใช้งบประมาณอย่างต่ำ 7.3 แสนล้านภาระหนี้จำนำข้าวนี้ เป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มหนี้สาธารณะในช่วง 2 ปี ตอนรัฐบาลยิ่งลักษณ์รับตำแหน่ง หนี้สาธารณะอยู่ระดับปกติที่ 40.78% ผ่านไป 2 ปี 9 เดือน 2 วัน หนี้สาธารณะเพิ่มเป็น 46.78% หรือเพิ่มกว่า 1 ล้านล้านบาท ปัญหาทั้งหมดนี้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่ได้มีการวางแผนรับมือต่อภาระหนี้ และภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้นเลยแต่อย่างใด จึงเป็นปัญหาให้ข้าราชการในกระทรวงการคลังต้องมาคอยตามจัดการภายหลัง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเป็นภาระให้รัฐบาลในสมัยถัดๆไปต้องเข้ามาทยอยตั้งงบชดใช้ภาระแทนขอจบส่งท้ายไว้นิดเดียวหรือ
ตัวเลข 3 ล้านล้าน ที่เป็นข่าวในสื่อบางกระแส และตอนนี้ก็มีคำสัมภาษณ์จากหัวหน้าคสช.ยืนยันแล้วว่า ยังไม่ได้มีการอนุมัติโครงการหรือแผนใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขนี้ จากสมมติฐานตัวเลขน่าจะมาจากการที่ สนข.หน่วยงานในกระทรวงคมนาคม ที่เคยบอกตอนรัฐบาลยิ่งลักษณ์จะกู้ 2 ล้านล้านว่า แผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานนั้นทั้งหมดมีมูลค่ารวม 4 ล้านล้าน ตัวเลขนี้ย้ำมีมาตั้งแต่ตอนรัฐบาลยิ่งลักษณ์แล้ว แต่ยิ่งลักษณ์ตอนนั้นจะกู้รวดเดียว 2 ล้านล้านเพื่อเอาบางส่วนใน 4 ล้านล้านนี้มาลงทุน เอาแผนเก่าที่เขาคิดกันมาเป็นสิบๆ ปีแล้วนั่นแหละครับ แต่จะเอามาสร้างด้วยเงินนอกระบบแบบจิ้มเลือกเมนูเฉยๆ อันไหนศึกษาไม่เสร็จ โกงง่ายดี ดูโม้ได้สวย ก็เลือกๆเอามาใส่ แถมเร่งสร้างไปพื้นที่การเมืองของตัวเองก่อนด้วย ดังนั้น 3 ล้านล้านที่เป็นข่าวนี้ คงมาจากการเอา 4 ล้านล้านที่ลบ 1 ล้านล้านของรถไฟความเร็วสูงออกไป เพราะคสช.บอกชัดว่าไม่เอารถไฟความเร็วสูงแล้วทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่มาจากการจัดเก็บจากภาษีของพี่น้องประชาชน ทุกคนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมด้วยกันหมด ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ อธิบายได้ ชี้แจงได้คือสิ่งที่ทุกคนทุกกลุ่มต้องการ
ขอเอาใจช่วยให้แผนใดๆ ก็แล้วแต่ที่จะออกมา มีระบบการตรวจสอบที่โปร่งใสยุติธรรมโดยดูเอาสิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำพลาดไว้เป็นอุทาหรณ์ครับCr:พัสณช เหาตะวานิช
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น