โครงการบันทึก 6 ตุลา: พวงทอง ภวัครพันธุ์
43 ปี 6 ตุลา สังคมไทยกับความรุนแรงที่ไม่เคยคลี่คลาย
ช่วงปี 2559 ทีมงานโครงการบันทึก 6 ตุลา ค้นพบว่า ผู้เสียชีวิตที่ถูกแขวนคอในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มีอย่างน้อย 5 คน
รศ.ดร.พวงทอง มองว่าสาเหตุหนึ่งที่รัฐพยายามกลบฝังเหตุการณ์ 6 ตุลาจากการรับรู้ของสังคม เพราะเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความอิหลักอิเหลื่อให้กับผู้มีอำนาจหรือสถาบันทางอำนาจที่เคยเกี่ยวข้องกับ 6 ตุลา เช่น กองทัพ หรือ กอ.รมน. (กองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร) ซึ่งต่างก็ไม่อยากให้สังคมมองว่ามีส่วนในการใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนผู้บริสุทธิ์
บรรยากาศความเกลียดชังระหว่างผู้คนในสังคมปัจจุบันกับช่วง 6 ตุลา 2519 มีความรุนแรงพอกัน เห็นได้จากกรณีการปราบปรามกลุ่มคนเสื้อแดงในเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว หากส่วนหนึ่งมาจากแรงกดดันของชนชั้นกลางที่ทำให้รัฐบาลใช้ความรุนแรง
สาเหตุสำคัญสองประการที่ทำให้สังคมไทยเป็นสังคม ‘ขี้กลัว’ คือการสมยอมต่ออำนาจรัฐ และวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด
หากไม่ต้องการให้สังคมไทยเดินหน้าสู่ความรุนแรง ฝ่ายชนชั้นนำที่ครองอำนาจตั้งแต่หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ต้องยอมถอยทางการเมือง เพื่อเปิดพื้นที่ให้ฝ่ายประชาธิปไตย
☆🍁.‿.·⁀☆ขอบคุณมากมายค่ะ☆⁀⋱‿.🍁☆
รายการเอ็กซ์-อ๊อก talk ทุกเรื่อง สนทนา รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่หมดหวังรวมคดี ม.112 พร้อมคำถามถึงพรรคเพื่อไทยในฐานะรัฐบาล จะไม่นึกถึงม็อบเยาวชนเลยหรือ รวมถึงสิ่งที่อยากฝากถึงคนเดือนตุลาที่มีอำนาจ
☆🍁.‿.·⁀☆ช็อตโดนใจค่ะ☆⁀⋱‿.🍁☆
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น