วันเวลาที่มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์การเมืองไทย !!!14 ตุลาคม 2516 “วันมหาวิปโยค” นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมทั้งประชาชนกว่าครึ่งล้าน รวมตัวประท้วงเรียกร้องรัฐธรรมนูญโดยมีนักศึกษาเป็นแนวร่วมสำคัญ เพราะช่วงนั้นเกิดการใช้อำนาจเผด็จการ โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ปฏิวัติยึดอำนาจตัวเองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกา ยน 2514 ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ปี 2511 จัดตั้งรัฐบาลคณะปฏิวัติขึ้นปกครองประเทศ
วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2516
ธีรยุทธ บุญมี อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยสมาชิกประมาณ 10 คน เปิดแถลงข่าวที่บริเวณสนามหญ้าท้องสนามหลวง ด้านอนุสาวรีย์ทหารอาสา โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
1. เรียกร้องให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญโดยเร็ว
2. จัดหลักสูตรสอนอบรมรัฐธรรมนูญสำหรับประชาชน
3. กระตุ้นประชาชนให้สำนึก และหวงแหนในสิทธิเสรีภาพ
ธีรยุทธ บุญมี นำรายชื่อผู้ลงนามเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 100 คนแรก ประกอบด้วยบุคคลต่าง ๆ มาเปิดเผย เช่น พล.ต.ต สง่ากิตตขจร นายเลียง ไชยกาล นายพิชัย รัตตกุล นายไขแสง สุกใส นายประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร รวมทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัยเช่น ดร.เขียน ธีรวิทย์ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ดร.ชัยอนันต์ สมุทรทวณิช อาจารย์ทวี หมื่นนิกร เป็นต้น รวมทั้งจดหมายเรียกร้องจากนักเรียนไทยในนิวยอร์ค
ทันทีที่ข่าวนี้ออกมา พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร รองเลขาธิการคณะกรรมการติดตามผลการปฏิบัติราชการ บุตรชายของจอมพลถนอม กิตติขจร และบุตรเขยของจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้ให้สัมภาษณ์ว่า มีอาจารย์ในมหาวิทยาลัยบางคน กำลังดำเนินการให้นิสิตนักศึกษาเดินขบวน และหากมีการเดินขบวนแล้วไม่ผิดกฏหมายอีกก็จะนำทหารมาเดินขบวนบ้าง เพราะทหารก็ไม่อยากจะไปรบเหมือนกัน
วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
สมาชิกของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญประมาณ 20 คน เดินแจกใบปลิวและหนังสือ ซึ่งอัญเชิญพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้บนปก “ข้าพเจ้า มีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิม ให้แก่ราษฎร โดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาด และโดยไม่ ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร”
ผู้เรียกร้องถือป้ายโปสเตอร์ 10 กว่าแผ่น มีใจความเช่น น้ำตาตกใน เมื่อเราใช้ รัฐธรรมนูญ , จงปลดปล่อย ประชาชน , ประชาชนต้องการรัฐธรรมนูญ เป็นต้น กลุ่มเรียก ร้องออกเดินจากบริเวณตลาดนัดสนามหลวง ไปบางลำภู ผ่านสยามแสควร์ และเมื่อถึงประตูน้ำ เวลาประมาณ 14.00 น. ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล และ สันติบาล จับกุมไปทั้งหมด 11 คน ซึ่งมีทั้งอาจารย์ นิสิตนักศึกษา นักหนังสือพิมพ์ และนักการเมือง ทั้งหมดถูกแจ้งข้อหา มั่วสุมชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมือง ผิดประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 4 ที่ห้ามชุมนุมเกินกว่า 5 คน ผู้ต้องหาถูกนำไป ไว้ที่กองบังคับการตำรวจสันติบาลกอง 2 จนกระทั่งเวลาเที่ยงคืน จึงย้ายไป คุมขังที่โรงเรียนตำรวจนครบาล บางเขน ทางตำรวจปฏิเสธ ไม่ยอมให้เยี่ยมและห้ามประกัน
วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖
ตลอดช่วงบ่าย และค่ำของวันที่ 6 ถึงเช้าวันที่ 7 ตุลาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการ ตรวจค้นสำนักงานตลอดจนบ้านพักของผู้ต้องหาและเกี่ยวข้อง และได้จับ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงเพิ่มขึ้นอีก 1 คน รวมเป็น 12 คน ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ตัวแทนของนิสิตนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ พยายามวิ่งเต้นที่จะเข้าเยี่ยม และประกันเพื่อนของตน
คำประกาศเชิญชวนร่วมเรียกร้องรัฐธรรมนูญประเทศไทย เป็นของชาวไทยทุกคน อันหมายความว่า บรรดาทรัพยากรทั้งมวล การจัดสรรผลประโยชน์จากทรัพยากร อำนาจอธิปไตยในการปกครอง การบริหาร การป้องกันประเทศ การจัดระบบสังคม เพื่อให้เกิด และรักษาไว้ซึ่งความสงบ เสรีภาพ เสมอภาค และความยุติธรรม เป็นของประชาชนชาวไทยทุกคนโดยเท่าเทียมกัน หลักการเช่นนี้ว่า ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน เพื่อรวมกันกำหนดความเป็นไปของชาติ การสร้างสรรค์ความสมบูรณ์สันติสุขให้เกิดขึ้นในชุมนุมชนชาวไทย
แต่ปรากฏว่าหลักการดังกล่าวต้องล้มเลิกไปเมื่อ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 มีผลให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภา เลิกพรรคการเมือง ทำให้การปกครองประเทศขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน ผู้ปกครองไม่ได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชน สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนถูกจำกัด การบริหารบ้านเมืองขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่าหลักการ สภาพเศรษฐกิจการเมืองและสังคมขมวดปมแห่งความยุ่งยากขึ้น ความยุติธรรมในสังคมลดน้อยลงทุกที สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดผลร้ายต่อความอยู่รอดของชาติในระยะยาวต่อไป
การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องระดมสรรพกำลังความคิด ของประชาชนให้มีส่วนร่วมในการกำหนด ชะตากรรมของประเทศชาติและของตัวเอง ส่งเสริมให้ประชาชนมีสำนึกร่วมในการต่อสู้ เพื่อสร้างสรรค์ประเทศชาติ นั่นคือการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีสิทธิ เสรีภาพในการกำหนดควบคุมเป้าหมาย และนโยบาย ในการบริหารประเทศ ให้ประชาชนเป็นผู้ร่วมกำอนาคต ดังนั้นจะต้องมีกติกาทางการเมือง หรือรัฐธรรมนูญกำหนดเงื่อนไขแห่งการใช้สิทธิ และเสรีภาพของประชาชน กำหนดการเข้ารับภาระหน้าที่เกี่ยว กับอำนาจอธิปไตยของปวงชน ทั้งทางด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เพื่อให้ผู้เข้าปฏิบัติหน้าที่ต้อง กระทำการโดยยึดผลประโยชน์ของชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ
13.00 น ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์ มีใจความตอนหนึ่งว่า จาก การกระทำของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เป็นการดำเนินการโดยเปิดเผยและสันติวิธี เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย แต่รัฐบาลได้สั่งจับบุคคลกลุ่มนี้แล้วสร้างสถานการณ์ขึ้นเพื่อยัดเยียดข้อหา ร้ายแรงแก่ประชาชนกลุ่มนี้ เป็นการส่อเจตนารมณ์ที่แท้จริงของรัฐบาล ที่ไม่ต้องการให้ประชาชนได้เข้าใจถึงสิทธิ และเสรีภาพอันชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อตนจะได้ครองอำนาจไปตลอดกาล และไม่มีรัฐบาลที่ไหนในโลกที่จะปราบปรามประชนชน ที่เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ นอกจากรัฐบาล ของพวกเผด็จการฟาสซิสต์ และคอมมิวนิสต์เท่านั้น
ในขณะเดียวกันองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ อมธ. ก็มีการเคลื่อนไหวเรียกประชุมด่วน มีมติให้ศึกษาสถานการณ์ ติดโปสเตอร์ชี้แจงข้อเท็จจริง
วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
ตอนเช้า วันแรกของการสอบประจำภาคมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีโปสเตอร์โจมตีรัฐบาลปิดทั่วบริเวณ ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) นักศึกษาชุมนุมอภิปรายโจมตีรัฐบาลเรียกร้องให้ปล่อยผู้ถูกจับกุมทั้งหมด ให้รัฐบาลชี้แจงเรื่องรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน พร้อม ๆ กันนี้นักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ก็เข้าชื่อถึงนายกรัฐมนตรี ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกจับกุม
วันเดียวกันนี้ พล.ต.ต.ชัย สุวรรณศร ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล ได้ออกหมายจับนายไขแสง สุกใส อดีตนักการเมืองในข้อหาว่า อยู่เบื้องหลังกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ส่วนจอมพลประภาส จารุเสถียร ผู้ดำรงตำแหน่งทั้งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรักษาการอธิบดีกรมตำรวจ ให้สัมภาษณ์ด้วยข้อความที่เสมือนระเบิดลูกใหญ่ว่า กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญมีแผนจะล้มรัฐบาล และกล่าวว่ามีการค้นพบเอกสารคอมมิวนิสต์ทั้งภาษาไทย จีน และอังกฤษ เป็นจำนวนมาก
อนึ่งจากบันทึกรายงานการประชุมกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 28/2516 วันจันทร์ ที่ 8 ตุลาคม 2516 ซึ่งมีจอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นประธานนั้นที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และมีความเห็นว่าทางราชการอาจกระทำการปราบปรามผู้เรียกร้อง ทั้งยัง เชื่อว่านิสิตนักศึกษาจะเสียไปราว 2 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนเป็นแสนคน โดยอ้างว่า จำต้องเสียสละ เพื่อความอยู่รอดของบ้านเมือง ซึ่งก็หมายความว่า ทางราชการเตรียมพร้อมที่จะใช้ความรุนแรงในการปราบปราม
บ่ายวันนั้น นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดอภิปรายที่หน้าหอประชุมใหญ่ และขึ้นรถไปเยี่ยมเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนตำรวจนครบาลบางเขน ต่อมาคณาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่ง ตัวแทนประมาณ 60 คน ไปเยี่นมอาจารย์ทวี หมื่นนิกร 1 ใน 12 ผู้ต้องหา แต่ถูกปฏิเสธการเข้าเยี่ยม อาจารย์ทั้งหมดจึงลงชื่อ พร้อมเขียนข้อความไว้ว่า ” We Shall Overcome “ ค่ำวันนั้น อมธ. ประชุม ลับ และมีมติให้เลื่อนการสอบไล่โดยไม่มีกำหนด นักศึกษากิจกรรมแยกย้ายกันเอาโซ่ล่ามประตู เอาปูนปลาสเตอร์อุดรูกุญแจห้องสอบ ตัดสายไฟฟ้าเพื่อให้ลิฟท์ใช้การไม่ได้
วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
เช้าตรู่ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ …….
ปรากฏธงดำครึ่งเสาเหนือยอดโดม ประตูทาง เข้ามีประกาศ งดสอบ ด้านท่าพระจันทร์มีผ้าผืนใหญ่ข้อความว่า เอาประชาชนคืนมา.. ส่วนอีกผืนว่า เราเรียกร้องรัฐธรรมนูญเป็นกบฎหรือ… นักศึกษาที่เข้า ห้องสอบไม่ได้ต่าง ทยอยไปชุมนุม และฟังการอภิปราย โจมตีรัฐบาลอย่างเผ็ดร้อน ณ บริเวณลานโพธิ์ ซึ่งนำโดยสองนักศึกษาชายหญิง เสกสรร ประเสริฐกุล( ดูวีดีโอท่านปราศัยล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2556 ด้านล่างบทความค่ะ) และเสาวนีย์ ลิมมานนท์
มีนักศึกษา แพทย์ศิริราชค่อย ๆ ข้ามฝากมาสมทบ ส่วนที่วิทยาลัย วิชาการศึกษา ประสานมิตรชุมนุมเป็นวันที่สอง ออกแถลงการณ์ให้ปล่อยผู้ต้องหาภายในวันที่ 15 ตุลาคม และให้ประกาศรัฐธรรมนูญในวันที่ 10 ธันวาคม ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง นักศึกษาเริ่มชุมนุมอภิปรายเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ถูกจับกุม และให้มหาวิทยาลัยเลื่อนการสอบ บ่ายวันนั้นฝนตกโปรยปราย สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประชุมฉุกเฉินมีมติ ให้ทำหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 13 คน ให้อธิการบดีเลื่อน การสอบออกไป ให้ต่อสู้ด้วยวิธีอหิงสา
ประท้วงตลอดวันตลอดคืน หากไม่ได้ผล ให้ใช้วิธีรุนแรง บ่ายวันเดียวกันนั้น อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 205 คน ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีขอให้ พิจารณาปล่อยบุคคลเหล่านี้ เพื่อป้องกันมิให้ สถานการณ์ ลุกลามและรุนแรงยิ่งขึ้น
รัฐบาลตอบโต้ด้วยการที่จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ประกาศใช้มาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญปกครองกับผู้ต้องหา ซึ่งให้อำนาจเบ็ดเสร็จ กับนายกรัฐมนตรีโดย ไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมทางกฏหมาย แต่อย่างใด พร้อมกันนั้นทบวง มหาวิทยาลัยของรัฐ ก็ประกาศให้นิสิตนักศึกษาปฏิบัติตามกำหนดการสอบอย่างเคร่งครัด คืนนั้นฝนตกหนาเม็ด ผู้ร่วมชุมนุมหาร่วมถอยหนีไม่ บ้างกางร่ม บ้างเอา หนังสือ พิมพ์คลุมหัว ฟังการอภิปรายโจมตีรัฐบาล สลับกับการแสดงละครเสียดสีการเมือง เกือบเที่ยงคืนฝนตกหนัก อากาศหนาวผู้ร่วมชุมนุม จึงย้ายจาก ลานโพธ์เข้าไป ในหอประชุมใหญ่
วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
สายวันนั้น ฝนหยุดตก นักศึกษาทยอยกลับมาชุมนุมที่ลานโพธิ์ พร้อมกับนำคำแถลง การณ์มาอ่านเผยแพร่ เช่น
**** คณาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหงคัดค้านการกระทำของรัฐบาล
**** อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอให้รัฐบาลรอบคอบ
**** สภาอาจารย์ธรรมศาสตร์เห็น ว่าการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตใจ เพื่อประโยชน์แก่สังคมเป็นส่วนรวม เป็นสิทธิขั้นมูลฐาน ของ ประชาชนทุกคนในอารยะประเทศ
**** สโมสรเนติบัณฑิต แถลงว่าการกล่าวหาบุคคลทั้ง 13 คน เป็นการจงใจใส่ความอันเป็นเท็จ
**** สโมสร นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลแถลงว่าบุคคลใดที่กระทำการต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจแห่งปวงชนแล้ว ถือว่ากลุ่มบุคคลนั้นกระทำเพื่อชาติ เพื่อประชาชน
ทางองค์นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวว่า จะดำเนินการ ประท้วงจนกว่า จะประสบความสำเร็จ ในขณะเดียวกันศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ก็ก้าวเข้ามา รับช่วงงานชุมนุมอย่างเป็นทางการจาก อมธ. พร้อมทั้งออก แถลงการณ์วิงวอน ให้ประชาชนร่วมต่อสู้ มิฉะนั้นแล้ว ประเทศไทยก็ยังคง อยู่ในอำนาจมืดของอำนาจอธรรม ไม่มีทางที่จะเห็นแสงสว่างแห่งคุณธรรมไปได้เลย
วันพุธที่ 10 ตุลาคม ลานโพธิ์ได้กลายเป็นศูนย์กลางของการชุมนุม นับแต่เที่ยงวัน นักศึกษาวิทยาลัยครูพระนคร วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และวิทยาลัยครูธนบุรี (ปัจจุบันวิทยาลัยครูได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันราชภัฎ) ประมาณ 1 พันคนก็มาถึง ติดตามด้วยนักศึกษาวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ในช่วงบ่าย พร้อมทั้งมีข่าวว่า วิทยาลัยวิชาการศึกษา 8 แห่งทั่วประเทศ จะหยุดเรียนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ที่สำคัญก็คือ นักเรียนมัธยม และนักเรียนอาชีวะ ทั้งจากวิทยาลัยและสถาบันในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ต่างก็ส่งตัวแทนขึ้นมาประกาศงดสอบ งดเรียน ผู้แทนนักเรียน อาชีวะประกาศร่วมต่อสู้ นักเรียนช่างกลคนหนึ่งตะโกนว่า ถ้าต้องการเครื่องทุ่นแรง ก็ขอให้บอกมา วันนั้นการชุมนุมแน่นขนัดเป็นหมื่นเต็มลานโพธิ์ และระเบียงคณะ ศิลปศาสตร์ จนต้องมีมติให้ย้ายการชุมนุมไปยังสนามฟุตบอล ในวันเดียวกันนี้รัฐบาลได้เพิ่มความตึงเครียดของสถานการณ์ขึ้น โดยที่จอมพลถนอม กิตติขจรให้สัมภาษณ์ว่า พบหลักฐานฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงตั้งข้อหา คอมมิวนิสต์อีกกระทงหนึ่ง
วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
เช้า ตรู่ วันที่ 11 ตุลาคม นิสิตนักศึกษานิมนต์ พระประมาณ 200 รูป ทำบุญ ตักบาตรท ี่สนามฟุตบอล อภิปรายโจมตีรัฐบาลต่อ ตั้งแต่ช่วงเช้า นักเรียนนิสิตนักศึกษา จากสถาบันต่าง ๆ ทยอยเข้าเป็นทิวแถวอย่างมีระเบียบ นิสิต เกษตรฯ งดสอบ เช่ารถ 70 คัน ประมาณ 4 พันคนมุ่ งสู่ธรรมศาสตร์ นักศึกษา วิทยาลัย ครูจันทรเกษ มตามมา สมทบอีก 33 คัน นักเรียนช่างกล นักศึกษารามคำแหง นักศึกษาวิทยาลัยครูต่าง ๆ มาถึงในเวลาต่อมา จนทำให้มีผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 5 หมื่นคน
โฆษกบนเวทีด้านตึก อมธ. ด้านแท้งค์น้ำกล่าวว่า พรุ่งนี้นักเรียนอนุบาล จะมาร่วมชุมนุมด้วย
ตอนสายวันนั้น จอมพลประภาส จารุเสถียร เริ่มเจรจาด้วยการให้นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยและคณะเข้าพบ ทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ ฝ่ายนิสิตนักศึกษายืนยันให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 13 คน แต่รัฐบาลยืนกรานจะดำเนินการตามมาตรา 17 ในคืนนั้นก็มีการประชุมรัฐมนตรีโดยด่วน ตั้งศูนย์ปราบปรามจลาจลขึ้นที่สวนรื่นฤดี มีจอมพลประภาส จารุเสถียรเป็นผู้อำนวยการ
คืนวันนั้นเช่นกัน การชุมนุมดำเนินไปอย่างเผ็ดร้อน และแน่นขนัด นักเรียนนิสิตนักศึกษาได้รับการสนับสนุนจากหลายทิศหลายทาง มีทั้งเงินบริจาคหลายแสนบาท มีทั้งอาหารและผลไม้หลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย นักเรียนไทยจากสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และออสเตรเลีย ส่งจดหมายสนับสนุนการต่อสู้ พร้อมส่งเงินมาบริจาคสมทบ
วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
หลังการชุมนุมติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน 3 คืนเต็ม ถนนทุกสายของ ผู้ฝักใฝ่หาเสรีภาพ และประชาธิไตย ก็มุ่งสู่ธรรมศาสตร์ การจราจรบนถนนในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะสายที่จะไปธรรมสาสตร์ติดขัดขนาดหนัก คลาคล่ำไปด้วยขบวน นักเรียนนิสิตนักศึกษาที่ถือป้าย และโปสเตอร์เดินมุ่งสู่ธรรมศาสตร์ขบวนแล้วขบวนเล่า มีทั้งจากกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ตั้งแต่ระดับประถม ไปจนสูงกว่าปริญญาตรี ภาครัฐบาลและภาคเอกชน
ยิ่งสายคนยิ่งแน่น ในสนามฟุตบอลมีคนร่วมชุมนุม เป็นจำนวนกว่าแสนคน
12.00 น. ของวันนั้น ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ออกคำแถลงการณ์ ยื่นคำขาดว่า ให้รัฐบาลปลดปล่อยบุคคลเหล่านั้นภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 12 ตุลาคม 2516 เป็นต้นไป หากในเวลา 12.00 น. ของวันที่ 13 ตุลาคม 2516 ทางศูนย์กลางนิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย ยังมิได้รับคำตอบอันเป็นที่พอใจ ศูนย์กลาง นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จะได้พิจารณาใช้มาตรการในขั้นเด็ดขาดต่อไป
ตอนบ่าย พลตรีประกอบ จารุมณี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เรียกผู้แทนหนังสือพิมพ์เข้า ไปกำชับเกี่ยวกับรายงายข่าวปรามมิให้ใช้คำว่า หวั่นจะนองเลือด ไม่ให้ใช้คำว่าคนมาชุมนุมเป็น แสน บ้าง ทั้งนี้สืบเนื่อง จากการที่หนังสือ พิมพ์รายวันทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เช่น ประชาธิปไตย ไทยรัฐ เดลินิวส์ สยามรัฐ ตลอดจน The Nation และ Bangkok Post ได้ติดตามรายงานข่าว อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ เป็นที่รับรู้ในคนหมู่มาก อย่างไม่เคยปรากฏมา ก่อนทั่วประเทศ ทำให้นักเรียนนิสิต นักศึกษาของสถาบันการ ศึกษาในต่างจังหวัด มีการเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วง สอดคล้องกันไปกับปรากฏการณ์ในกรุงเทพฯ เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จากการชุมนุมที่เข้มแข็ง และจำนวนมากมายมหาศาลหลายแสนนี้ ทำให้รัฐบาลจำต้องยอม ให้มีการประกันตัวผู้ต้องหา มีผู้เสนอประกันตัวให้ แต่ผู้ต้องหาทั้ง 13 ไม่ยอม รับการประกัน เนื่องจากไม่รู้จักผู้ค้ำประกันแต่อย่างใด ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ แถลงว่า การที่รัฐบาลยอมให้ประกันตัว และดูเหมือน จะอุปโหลกตัว ผู้ค้ำประกันนั้นเป็น การบ่ายเบี่ยงเจตนารมณ์ ศูนย์ฯ ยืนยันที่จะให้ปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไขคืนนั้น การชุมนุมประท้วงดำเนินต่อไป
คลื่นมนุษย์เบียดเสียดยัดเยียดกันอยู่กว่า 2 แสนคน
คืนนั้นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่วนหนึ่งนำตัวแทนนักศึกษา 2 คน เข้าไปรายงาน ณ พระตำหนักจิตรลดาเพื่อขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ สถานการณ์ และการกระทำของนิสิตนักศึกษาต่อไป คืนวันนั้นเช่นกันวิทยุกรม ประชาสัมพันธ์ได้ ประกาศเตือนพ่อแม่ผู้ปกครอง มิให้ปล่อยลูกหลาน มาร่วมชุมนุมโดยอ้างว่ามีนักเรียน หรือบุคคลกลุ่มหนึ่ง เตรียมการที่จะใช้อาวุธ
อย่างไรก็ตามฝ่ายข่าวของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาได้รับข่าวว่ามีการเสริม กำลังทหาร อย่างแน่นหนาบริเวณสวนรื่นฤดี บางแห่งมีการนำรถหุ้มเกราะ รถดับเพลิงทหาร รถถังออกมาตั้ง ทางตำรวจโรงพักชนะสงคราม มีตำรวจหนาแน่น มีการจ่ายอาวุธ และกระสุนเต็มอัตรา และได้ร่วมกับตำรวจสายตรวจนครบาล โดยจะใช้ ทหารราบรักษาพระองค์ ทหารพลร่มจากศูนย์สงครามพิเศษ และรถถังจากกองพันทหารม้าที่ 4 มีกำลังหนุนจากกองพลทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ และทหารจากกองพล ปตอ. ส่วนทางด้าน ตำรวจนั้นจะใช้กำลังจากศูนย์ปราบปรามพิเศษนครบาล บางเขน
วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
วันนี้เป็นวันแห่งคำขาดของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เป็นวันที่ทุกคนรอคอยด้วยใจระทึก การประท้วง ชุมนุม อภิปราย สลับการร้องเพลง การแสดงละคร การอ่านบทกวีดำเนินไปตลอดคืน จนกระทั่งฟ้าสาง เมื่อเวลาประมาณตี 5 นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ พร้อมด้วยกรรมการศูนย์ฯ ได้นำการร้องเพลง ชาติและกล่าวสาบานต่อที่ชุมชน ที่จะเทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ เช้าวันนั้น นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนแน่น ขนัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนกระทั่งล้นทะลึกออกไปบริเวณรอบนอก ทุกคนต่างรอคอยเวลา 12.00 น.
และแล้ว เสกสรร ประเสริฐกุลผู้นำนักศึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งเฉพาะกิจ เป็นหัวหน้า ปฏิบัติการเดินขบวน ก็ประกาศว่า พี่น้องชาวไทยที่รักทั้งหลาย เราได้ให้โอกาส รัฐบาลมานานแล้ว 5 วัน 5 คืน ที่เราได้นั่งอดตาหลับขับตานอน ตากแดดตากน้ำค้าง เพื่อเรียกร้องสิทธิของเรา ได้รับการเพิกเฉย ความไม่แยแสจากรัฐบาล 24 ชั่วโมงที่เรายื่นคำขาดใกล้จะมาถึงแล้ว ท่าน พร้อมแล้วใช่ไหม ที่จะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดกับสองตระกูลกินเมืองเหล่านั้น ในที่สุด?เที่ยงตรงของวัน (เสาร์) ที่ 13 ตุลาคม ทุกคนยืนขึ้นพร้อม จะออกไปเผชิญ กับทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจจะเกิดขึ้น
กรรมการศูนย์ฯ นำมวลชนสวดมนต์ ร้องเพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี ตามด้วยเสียงไชโยโห่ร้องอย่างสนั่นหวั่นไหวรูปขบวนซึ่งได้รับการเตรียมไว้ อย่างดี ? ก็เริ่มทะลักออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์…
หน่วยคอมมานโดทะลวงฝ่าฝูงชนเป็นรูปหัวหอก ตามด้วยทัพธง ซึ่งเป็นนักศึกษาหญิงล้วน 12.30 น. รถบัญชาการ เริ่มตีวงกลับ ? กองอาสาสมัครหญิงถือธงไตรรงค์จัดแถว และเริ่มเดินออก ติดตามด้วยแถวอาสาสมัครหญิงถือธงธรรมจักร และอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ ? หน่วยหมีและหน่วยกล้าตายรวมพล ? มีกระสอบข้าวและ พริกไทยไว้สู้กับสุนัขตำรวจ มีตะขอและ เชือกพลาสติกไว้จัดการกับเครื่องกีดขวาง ? ท้ายขบวนมีรถบรรทุกน้ำและถุงพลาสติก กระดาษเช็ดหน้าไว้ป้องกันแก็สน้ำตา ตอนนี้รถบัญชาการกลับตัวออกมา หน่วยกนก 50 ออกมาอารักขา มวลชนทะลักตัวออกมาจากสนามฟุตบอล ผู้คนระบายออกจากสนามฟุตบอลทีละข้าง ระหว่างแถวซ้ายของทางลอดใต้ตึกโดมกับแถบขวาสลับกัน ประมาณบ่าย 2 โมงกว่า ฝูงชนออกไม่ถึงครึ่งสนาม คลื่นมนุษย์ไหลมาอย่างกับน้ำป่าไหลท่วมธรรมศาสตร์
ฝูงชนเคลื่อนตัวออกจากสนามฟุตบอลมาอออยู่เต็มปากทางลอดตึกโดม แล้วก็ไหลลอดตึกโดยเลี้ยวขวาไปตามถนนเป็นแนวยาวเหยียดระลอกแล้วระลอกเล่าจาก 12.00 น. จนถึง 15.30 น. ลอดใต้ตึกห้องสมุดทางด้านประตูท่าพระอาทิตย์ เลียบเชิงสะพานปิ่นเกล้าแล้วเข้าถนนราชดำเนิน ข้ามสะพานผ่านพิภพลีลามุ่งสู่อนุสาวรีประชาธิปไตย ประมาณกันว่าวันนั้นมีนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนเข้าร่วมเดินขบวนถึงกว่า 5 แสนคน
มีการถ่ายทอด ออกอากาศทางช่อง 4 และช่อง 7 การจัดรูปขบวนของนักเรียนนิสิตนักศึกษาในวันนั้น จัดเป็นแถว รูปหน้ากระดาน 5 ขบวนอย่างเป็นระเบียบ พร้อมด้วยสัญลักษณ์ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่นำมาใช้ใน การเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และมีขบวนรถบรรทุกขนาดเล็ก จำนวน 13 คัน ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่รถบัญชาการ ตามด้วยรถพยาบาล รถสวัสดิการ รถเสบียง รถพัสดุแสงเสียงและไฟฟ้า และรถระวังหลัง
การเดินขบวนครั้งยิ่งใหญ่นี้ มีการเตรียมการป้องกันรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ทั้งนี้เพราะกระแสข่าวว่า อาจจะมีการปราบปรามจากทหารและ ตำรวจเล็ดลอด ออกมาเป็นระยะ ๆ ดังนั้นนักเรียนอาชีวะที่ประกอบกันเข้าเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัย จึงกระจายออกเป็นถึง 10 เท่าด้วยกัน คือ หน่วยคอมมานโด หน่วยหมี หน่วยเฟืองป่า หน่วยฟันเฟือง หน่วยเซฟ หน่วยกนก 50 หน่วยวิษณุ หน่วยช้าง หน่วยเสือเหลือง และหน่วยจ๊อด
วันนั้น ตลอดวันของเสาร์ที่ 13 ตุลาคม ในขณะที่การเดินขบวนคลาคล่ำถนนราชดำเนิน ตัวแทนของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ได้เข้าพบ เจรจาขั้นสุดท้ายกับจอมพลประภาส จารุเสถียร เมื่อได้รับคำตอบว่าจะปล่อยผู้ต้องหาทั้ง 13 คน และจะร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 1 ปี จากนั้นตัวแทนของทางศูนย์ฯ ก็ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อเวลา 16.20 – 17.30 น. เสกสรร ประเสริฐกุล, เจ้าของตำนานการต่อสู้ที่ยังมีลมหายใจ( ดูวีดีโอท่านปราศัยล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2556 ด้านล่างบทความค่ะ) หัวหน้าปฏิบัติการเดินขบวน สั่งเคลื่อนขบวนจาก อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มุ่งสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า พร้อม ๆ กับการที่กรรมการศูนย์ฯ กลับเข้าพบจอมพลประภาส จารุเสถียร อีกครั้งระหว่าง 17.40 – 18.30 น. เพื่อทำหนังสือสัญญาตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร 20.00 น. วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ประกาศว่ารัฐบาลยอม รับข้อเสนอ ของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา ยอมปล่อยผู้ต้องหา และจะประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญใหม่ในปีถัดไป
ตัวแทนของนิสิตนักศึกษา และผู้แทนพระองค์พยายาม ดำเนินการให้มีการสลายตัว ของฝูงชนที่ยังคง ชุมนุมอยู่ เป็นเรือนแสน บรรยากาศทั่วไปเต็มไปด้วย ปัญหาการติดต่อ ประสานงาน ความตึงเครียด และข่าวลือต่าง ๆ นานาในทางร้ายต่อผู้นำนิสิตนักศึกษา กรมประชาสัมพัน ธ์ออกแถลงการณ์ว่า ได้มีนักเรียนหรือกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง เตรียมการที่จะ ใช้อาวุธร้ายแรงต่าง ๆ ในวันที่ 13 ตุลาคม 2516 และเมื่อ 22.00 น. ก็มีแถลงการณ์อีกว่า บัดนี้ ปรากฏว่าได้มีบุคคลบางคน ที่มีใช่นักศึกษา ถือโอกาสอภิปราย โจมตีรัฐบาล และยุยงส่งเสริมให้เกิดความวุ่นวายต่อไป
23.30 น. นายพีรพล ตริยะเกษม นายก อมธ. กระซิบกับเสกสรรค์ว่า บัดนี้กรรมการศูนย์ฯ ที่ไปเข้าเฝ้าชะตาขาดหมดแล้ว ทำให้เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เคลื่อนขบวนจากลาน พระบรมรูปทรงม้าไปยังสวนจิตรลดา เพื่อหวัง เอาพระบารมีเป็นที่พึ่งเมื่อเวลาใกล้จะเที่ยงคืน
วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
นับแต่หลังเที่ยงคืนของวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่ชุมนุมประท้วงกันมาหลายวันหลายคืนก็มารวมกันอยู่ที่บริเวณ หน้าสวนจิตรลดาอย่างแน่นขนัด เพื่อหวังพระบารมีเป็นที่พึ่ง เวลาประมาณตี 5 ขณะที่มีการเริ่มสลายตัวของฝูงชน ก็เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น เชิด สกุล เมฆศรีวรรณ นักหนังสือพิมพ์ที่ทั้งเห็นเหตุการณ์วิกฤต และสูญเสียดวงตาไปหนึ่งดวงในวันนั้น เล่าเป็นประจักษ์พยานว่าที่บริเวณหน้าสวนจิตรลดา ช่วงถนนพระราม 5 ใกล้กับถนนราชวิถี พ.ต.อ.วสิษฐ์ เดชกุญชร ผู้แทนพระองค์ ได้อ่านพระบรมราโชวาทให้ฝูงชนฟัง จบแล้วฝูงชนก็เริ่มสลายตัวตามพระราชประสงค์
กลุ่มนักเรียนอาชีวะถือว่าเป็นหน่วยกล้าตายที่มีอาวุธพวกไม้ แป๊ปน้ำกันเกือบทุกคน ต่างได้ทิ้งอาวุธ พร้อมกับทำลายระเบิดขวด ฝูงชนที่จะกลับทางถนนราชวิถี (กลับ) ถูกสกัดกั้นด้วยตำรวจคอมมานโด ตำรวจเหล่านี้มีไม้พลอง โล่ หวาย และปืนยิงแก๊สน้ำตา ภายใต้การบัญชาการของ พล.ต.ท.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น และพล.ต.ต.ณรงค์ มหานนท์ ฝูงชนเมื่อรู้แน่ว่าไม่ได้รับการอนุญาตให้ผ่านออกไป ก็เริ่มมีปฏิกริยาด้วยการใช้ ข้าวห่อขว้างปาใส่ตำรวจ ฝูงชนที่ถูกสกัดกั้นรายหนึ่งได้ใช้ท่อนไม้ ขว้างใส่ถูกตำรวจ ได้รับบาดเจ็บนายหนึ่ง
หลังจากนั้น ให้หลังไม่ถึงสิบนาที รถตำรวจที่ใช้ ปราบจลาจลติดไซเรนสองคัน ก็พุ่งเข้าใส่กลุ่มฝูงชน โดยมีตำรวจคอมมานโด สวมหมวกกันน็อค ทั้งนครบาล และกองปราบ พร้อมด้วยสอง นายตำรวจผู้อื้อฉาว จากคดีทุ่งใหญ่ ก็ตามเข้าไปใช้กระบองหวดเข้าฝูงชนทันที ไม่ว่าเด็กหรือผู้หญิง การนองเลือดได้เริ่ม จากจุดนี้ สร้างความเคียดแค้นให้ฝูงชนมากขึ้น เมื่อเห็นเด็กนักเรียนหญิงอีกคนหนึ่งถูกแก๊สน้ำตาจนล้มฟุบ ฝูงชนที่หนีได้ก็ปีน ป่ายกำแพงเข้าไปในสวนสัตว์ และใช้ก้อนหินขว้างปาใส่ตำรวจ อีกส่วนหนึ่งก็กรูกันเข้า วังสวนจิตรฯ โดยมีมหาดเล็กเป็นคนเปิดให้เข้าไป การปะทะใช้เวลาประมาณ 15 นาที คือเริ่มตั้งแต่เวลา 6.30 – 6.45 น.
จากจุดปะทะเล็ก ๆ ณ บริเวณหน้าสวนจิตรลดาฯ เหตุการณ์ก็บานปลายลุกลาม ไปอย่างไม่มีใครคาดคิดไว้ รัฐบาลใช้กำลังทหาร และตำรวจปราบปรามผู้ชุมนุม ประท้วงอย่างรุนแรง ในขณะที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ตอบโต้ด้วยการก่อความวุ่นวาย บุกเข้ายึดและทำลายสถานที่บางแห่งที่เป็นสัญลักษณ์ของ อำนาจเผด็จการคณาธิปไตย พยายามยึดกรมประชาสัมพันธ์ ที่ให้ข้อมูลข่าวสารที่ บิดเบือนตลอดจนสถานีตำรวจ
นับตั้งแต่ 10.00 น. เป็นต้นไป รัฐบาลได้ออกแถลงการณ์เป็นระยะ ๆ กล่าวหาว่ามีกลุ่มนักเรียนบุกรุกเข้าไปในพระราชฐานสวนจิตรลดา และก่อวินาศกรรม ในขณะเดียวกันก็เกิดข่าวลือแพร่สะพัดว่า นักศึกษาหญิงที่ถือธงไตรรงค์ ในวันเดินขบวนถูกตำรวจตีตาย เด็กผู้ชายถูกถีบเตะตกคูน้ำจนตาย สร้างความโกรธแค้น ให้กับผู้ร่วมชุมนุมเป็นอย่างยิ่ง สถานการณ์รุนแรงหนักขึ้น
รัฐบาลส่งทหารและตำรวจออกปราบ มีทั้งรถถังและเฮลิคอปเตอร์ จุดปะทะและนองเลือดมีตลอดสายถนนราชดำเนิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บางลำพู เป็นเวลาถึง 10 ชั่วโมง พร้อม ๆ กับมีคำสั่งห้ามประชาชนออกนอกบ้านระหว่าง 22.00 – 05.30 น. ประกาศปิดโรงเรียน และสถาบันการศึกษาในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ และกำหนดให้บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศิลปากรเป็นเขตอันตราย เตรียมพร้อมที่จะทำการกวาดล้างใหญ่
14.00 น. สำนักงานกองสลากกินแบ่ง และตึก กตป.ถูกไฟเผา นักเรียนและประชาชนต่อสู้อย่างทรหด ยึดรถเมล์ใช้วิ่งชนรถถัง แต่ก็ถูกยิงเสียชีวิต ผู้บาดเจ็บถูกหามเข้าส่งโรงพยาบาลสิริราชตลอดเวลา
18.00 น. จอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
19.15 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสทางวิทยุและโทรทัศน์ ความตอนหนึ่งว่า วันนี้เป็นวันมหาวิปโยค เกิดการปะทะกัน และมีคนได้รับบาดเจ็บ
ความรุนแรงได้ทวีขึ้นทั้งพระนคร ถึงขั้นจลาจล มีคนไทยด้วยกันต้องเสียชีวิต ทรงขอให้ทุกฝ่ายระงับเหตุแห่งความรุนแรง และทรงแต่งตั้งศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ องคมนตรี และนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นนายกรัฐมนตรีแทน สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี มีพระราชดำรัส ทางโทรทัศน์แสดงความห่วงใย และ 23.30 น. ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ปราศรัยทาง โทรทัศน์ขอให้ทุกฝ่ายคืนสู่ความสงบ และประกาศ จะใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือน
อย่างไรก็ตาม 24.00 น. ของคืนวันนั้น จอมพล ถนอม กิตติขจร ในตำแหน่งของผู้บัญชาการทหารสูงสุด ยังคงออกแถลงการณ์ว่ามีผู้ที่ พยายามนำลัทธิการปกครองอื่นที่เลวร้ายมาล้มล้างการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงขอให้เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่จนสุดความสามารถ ซึ่งก็คือการปราบปรามนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนก็ยังคงดำเนินไป ตลอดคืนนั้น มีการต่อสู้ระหว่างนักเรียน ประชาชน และตำรวจ ที่กองบัญชาการ ตำรวจนครบาลผ่านฟ้า ฝ่ายนักเรียนและ ประชาชนปักหลักสู้จาก ตึกบริษัทเดินอากาศไทย และป้อมพระกาฬ
ส่วนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีการชุมนุมอยู่อีกเป็นจำนวนหมื่น ผู้นำศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ขาดการติดต่อ ซ้ำมีข่าวลือว่าบางคนเสียชีวิต เช่น เสกสรร ประเสริฐกุล และเสาวณีย์ ลิมมานนท์ จึงมีการจัดตั้ง ศูนย์ปวงชนชาวไทย ขึ้นชั่วคราวเพื่อประสานงาน และคลี่คลายสถานการณ์ มีจีรนันท์ พิตรปรีชา เป็นหนึ่งในแถบถนนราชดำเนินเป็นสีแดง มีไฟควันพวยพุ่งอยู่เป็นหย่อม ๆ การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ และประชาธิปไตยดำเนินไปตลอดคืน
วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
ตลอดคืนที่ผ่านมา นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนยังคงยืนหยัด ชุมนุมกันหนาแน่นที่อนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย คำประกาศเตือนและ ขู่ของรัฐบาลหาเป็นผลไม่ กลับมีคนออกจากบ้านมาร่วมชุมนุมไม่ขาดระยะ รัฐบาลมีประกาศหยุดราชการในวันนี้เป็นกรณีพิเศษ และมีประกาศปิดธนาคารทุกแห่ง ในขณะเดียวกันนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนก็ยืนหยัดต่อ สู้อย่างเด็ดเดี่ยว มีการลุกฮือเป็นจุด ๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร และในบางท้องที่ในต่างจังหวัด โดยเฉพาะที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า และสถานีตำรวจนางเลิ้ง นักเรียน และประชาชนพยายามต่อสู้บุกเข้ายึด และเผาตลอดคืนจนรุ่งเช้า
จากข้อเท็จจริงที่ว่า แม้จอมพลถนอม กิตติขจร จะลาออกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอยู่ และก็ยังปรากฏว่า การปราบปรามนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนยังดำเนินอยู่ต่อไป พร้อมกับมีแถลงการณ์ว่า มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ส่งพลพรรคมีอาวุธร้ายแรงสวมรอยเข้ามา ยิ่งทำให้เห็นว่าเป็น การสร้างความเท็จ สร้างความโกรธแค้น และเกลียดชังยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนเกิดพลังในการต่อสู้ต่อไป แม้จะบาดเจ็บล้มตาย เป็นจำนวนมากก็ตามจากการปราบปรามอย่างรุนแรง และไร้มนุษยธรรม ใช้ทั้งรถถัง เฮลิคอปเตอร์ อาวุธสงครามหนัก ทหาร และตำรวจจำนวนร้อย ทำให้เกิดความขัดแย้ง ในวงการ รัฐบาลอย่างหนัก
มีทหาร และตำรวจที่ไม่เห็นด้วย พลเอก กฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบกเอง ก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีการรุนแรงนี้ ทางด้านทหารอากาศ และทหารเรือ ก็ไม่เห็นด้วยกับผู้บัญชาการทหารบก กลายเป็นแรงผลักดันให้จอมพล ถนอม กิตติขจร ต้องลาออกจากตำแหน่ง และในที่สุดคณาธิปไตยทั้งสาม ถนอม ประภาส ณรงค์ ก็ต้องเดินทางออกนอกประเทศไทยไป
เหตุการณ์ทั้งหมด จึงสงบลงพลันทันที ที่มี การประกาศว่าบุคคลทั้ง 3 ได้เดินทางออกนอกประเทศไปแล้ว เวลา 18.40 น. เมื่อเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2516
เยาวชนคนหนุ่มสาวหลายคนออกจากบ้าน ไปร่วมกับความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ หลายคนไม่ได้กลับบ้านอีกเลย บางคนกลับ ไปด้วยร่างกายพิการ บางคนกลับไปด้วยความรู้สึกใหม่…..
เหตุการณ์ 14 – 15 ตุลาคม มีผู้เสียชีวิต 77 คน บาดเจ็บ 857 คน
วันที่ 14 – 15 ตุลาคม 2516 วีรชนคนหนุ่มสาวเดินออกจากบ้าน และเข้าสู่ดินแดน แห่งประวัติศาสตร์ และตำนานที่จะจดจำกันไว้ในแผ่นดินนี้ชั่วกาลนาน
12.00 น. ของวันนั้น ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ออกคำแถลงการณ์ ยื่นคำขาดว่า ให้รัฐบาลปลดปล่อยบุคคลเหล่านั้นภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 12 ตุลาคม 2516 เป็นต้นไป หากในเวลา 12.00 น. ของวันที่ 13 ตุลาคม 2516 ทางศูนย์กลางนิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย ยังมิได้รับคำตอบอันเป็นที่พอใจ ศูนย์กลาง นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จะได้พิจารณาใช้มาตรการในขั้นเด็ดขาดต่อไป
ตอนบ่าย พลตรีประกอบ จารุมณี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เรียกผู้แทนหนังสือพิมพ์เข้า ไปกำชับเกี่ยวกับรายงายข่าวปรามมิให้ใช้คำว่า หวั่นจะนองเลือด ไม่ให้ใช้คำว่าคนมาชุมนุมเป็น แสน บ้าง ทั้งนี้สืบเนื่อง จากการที่หนังสือ พิมพ์รายวันทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เช่น ประชาธิปไตย ไทยรัฐ เดลินิวส์ สยามรัฐ ตลอดจน The Nation และ Bangkok Post ได้ติดตามรายงานข่าว อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ เป็นที่รับรู้ในคนหมู่มาก อย่างไม่เคยปรากฏมา ก่อนทั่วประเทศ ทำให้นักเรียนนิสิต นักศึกษาของสถาบันการ ศึกษาในต่างจังหวัด มีการเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วง สอดคล้องกันไปกับปรากฏการณ์ในกรุงเทพฯ เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จากการชุมนุมที่เข้มแข็ง และจำนวนมากมายมหาศาลหลายแสนนี้ ทำให้รัฐบาลจำต้องยอม ให้มีการประกันตัวผู้ต้องหา มีผู้เสนอประกันตัวให้ แต่ผู้ต้องหาทั้ง 13 ไม่ยอม รับการประกัน เนื่องจากไม่รู้จักผู้ค้ำประกันแต่อย่างใด ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ แถลงว่า การที่รัฐบาลยอมให้ประกันตัว และดูเหมือน จะอุปโหลกตัว ผู้ค้ำประกันนั้นเป็น การบ่ายเบี่ยงเจตนารมณ์ ศูนย์ฯ ยืนยันที่จะให้ปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไขคืนนั้น การชุมนุมประท้วงดำเนินต่อไป
คลื่นมนุษย์เบียดเสียดยัดเยียดกันอยู่กว่า 2 แสนคน
คืนนั้นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่วนหนึ่งนำตัวแทนนักศึกษา 2 คน เข้าไปรายงาน ณ พระตำหนักจิตรลดาเพื่อขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ สถานการณ์ และการกระทำของนิสิตนักศึกษาต่อไป คืนวันนั้นเช่นกันวิทยุกรม ประชาสัมพันธ์ได้ ประกาศเตือนพ่อแม่ผู้ปกครอง มิให้ปล่อยลูกหลาน มาร่วมชุมนุมโดยอ้างว่ามีนักเรียน หรือบุคคลกลุ่มหนึ่ง เตรียมการที่จะใช้อาวุธ
อย่างไรก็ตามฝ่ายข่าวของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาได้รับข่าวว่ามีการเสริม กำลังทหาร อย่างแน่นหนาบริเวณสวนรื่นฤดี บางแห่งมีการนำรถหุ้มเกราะ รถดับเพลิงทหาร รถถังออกมาตั้ง ทางตำรวจโรงพักชนะสงคราม มีตำรวจหนาแน่น มีการจ่ายอาวุธ และกระสุนเต็มอัตรา และได้ร่วมกับตำรวจสายตรวจนครบาล โดยจะใช้ ทหารราบรักษาพระองค์ ทหารพลร่มจากศูนย์สงครามพิเศษ และรถถังจากกองพันทหารม้าที่ 4 มีกำลังหนุนจากกองพลทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ และทหารจากกองพล ปตอ. ส่วนทางด้าน ตำรวจนั้นจะใช้กำลังจากศูนย์ปราบปรามพิเศษนครบาล บางเขน
วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
วันนี้เป็นวันแห่งคำขาดของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เป็นวันที่ทุกคนรอคอยด้วยใจระทึก การประท้วง ชุมนุม อภิปราย สลับการร้องเพลง การแสดงละคร การอ่านบทกวีดำเนินไปตลอดคืน จนกระทั่งฟ้าสาง เมื่อเวลาประมาณตี 5 นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ พร้อมด้วยกรรมการศูนย์ฯ ได้นำการร้องเพลง ชาติและกล่าวสาบานต่อที่ชุมชน ที่จะเทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ เช้าวันนั้น นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนแน่น ขนัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนกระทั่งล้นทะลึกออกไปบริเวณรอบนอก ทุกคนต่างรอคอยเวลา 12.00 น.
และแล้ว เสกสรร ประเสริฐกุลผู้นำนักศึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งเฉพาะกิจ เป็นหัวหน้า ปฏิบัติการเดินขบวน ก็ประกาศว่า พี่น้องชาวไทยที่รักทั้งหลาย เราได้ให้โอกาส รัฐบาลมานานแล้ว 5 วัน 5 คืน ที่เราได้นั่งอดตาหลับขับตานอน ตากแดดตากน้ำค้าง เพื่อเรียกร้องสิทธิของเรา ได้รับการเพิกเฉย ความไม่แยแสจากรัฐบาล 24 ชั่วโมงที่เรายื่นคำขาดใกล้จะมาถึงแล้ว ท่าน พร้อมแล้วใช่ไหม ที่จะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดกับสองตระกูลกินเมืองเหล่านั้น ในที่สุด?เที่ยงตรงของวัน (เสาร์) ที่ 13 ตุลาคม ทุกคนยืนขึ้นพร้อม จะออกไปเผชิญ กับทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจจะเกิดขึ้น
กรรมการศูนย์ฯ นำมวลชนสวดมนต์ ร้องเพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี ตามด้วยเสียงไชโยโห่ร้องอย่างสนั่นหวั่นไหวรูปขบวนซึ่งได้รับการเตรียมไว้ อย่างดี ? ก็เริ่มทะลักออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์…
หน่วยคอมมานโดทะลวงฝ่าฝูงชนเป็นรูปหัวหอก ตามด้วยทัพธง ซึ่งเป็นนักศึกษาหญิงล้วน 12.30 น. รถบัญชาการ เริ่มตีวงกลับ ? กองอาสาสมัครหญิงถือธงไตรรงค์จัดแถว และเริ่มเดินออก ติดตามด้วยแถวอาสาสมัครหญิงถือธงธรรมจักร และอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ ? หน่วยหมีและหน่วยกล้าตายรวมพล ? มีกระสอบข้าวและ พริกไทยไว้สู้กับสุนัขตำรวจ มีตะขอและ เชือกพลาสติกไว้จัดการกับเครื่องกีดขวาง ? ท้ายขบวนมีรถบรรทุกน้ำและถุงพลาสติก กระดาษเช็ดหน้าไว้ป้องกันแก็สน้ำตา ตอนนี้รถบัญชาการกลับตัวออกมา หน่วยกนก 50 ออกมาอารักขา มวลชนทะลักตัวออกมาจากสนามฟุตบอล ผู้คนระบายออกจากสนามฟุตบอลทีละข้าง ระหว่างแถวซ้ายของทางลอดใต้ตึกโดมกับแถบขวาสลับกัน ประมาณบ่าย 2 โมงกว่า ฝูงชนออกไม่ถึงครึ่งสนาม คลื่นมนุษย์ไหลมาอย่างกับน้ำป่าไหลท่วมธรรมศาสตร์
ฝูงชนเคลื่อนตัวออกจากสนามฟุตบอลมาอออยู่เต็มปากทางลอดตึกโดม แล้วก็ไหลลอดตึกโดยเลี้ยวขวาไปตามถนนเป็นแนวยาวเหยียดระลอกแล้วระลอกเล่าจาก 12.00 น. จนถึง 15.30 น. ลอดใต้ตึกห้องสมุดทางด้านประตูท่าพระอาทิตย์ เลียบเชิงสะพานปิ่นเกล้าแล้วเข้าถนนราชดำเนิน ข้ามสะพานผ่านพิภพลีลามุ่งสู่อนุสาวรีประชาธิปไตย ประมาณกันว่าวันนั้นมีนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนเข้าร่วมเดินขบวนถึงกว่า 5 แสนคน
มีการถ่ายทอด ออกอากาศทางช่อง 4 และช่อง 7 การจัดรูปขบวนของนักเรียนนิสิตนักศึกษาในวันนั้น จัดเป็นแถว รูปหน้ากระดาน 5 ขบวนอย่างเป็นระเบียบ พร้อมด้วยสัญลักษณ์ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่นำมาใช้ใน การเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และมีขบวนรถบรรทุกขนาดเล็ก จำนวน 13 คัน ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่รถบัญชาการ ตามด้วยรถพยาบาล รถสวัสดิการ รถเสบียง รถพัสดุแสงเสียงและไฟฟ้า และรถระวังหลัง
การเดินขบวนครั้งยิ่งใหญ่นี้ มีการเตรียมการป้องกันรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ทั้งนี้เพราะกระแสข่าวว่า อาจจะมีการปราบปรามจากทหารและ ตำรวจเล็ดลอด ออกมาเป็นระยะ ๆ ดังนั้นนักเรียนอาชีวะที่ประกอบกันเข้าเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัย จึงกระจายออกเป็นถึง 10 เท่าด้วยกัน คือ หน่วยคอมมานโด หน่วยหมี หน่วยเฟืองป่า หน่วยฟันเฟือง หน่วยเซฟ หน่วยกนก 50 หน่วยวิษณุ หน่วยช้าง หน่วยเสือเหลือง และหน่วยจ๊อด
วันนั้น ตลอดวันของเสาร์ที่ 13 ตุลาคม ในขณะที่การเดินขบวนคลาคล่ำถนนราชดำเนิน ตัวแทนของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ได้เข้าพบ เจรจาขั้นสุดท้ายกับจอมพลประภาส จารุเสถียร เมื่อได้รับคำตอบว่าจะปล่อยผู้ต้องหาทั้ง 13 คน และจะร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 1 ปี จากนั้นตัวแทนของทางศูนย์ฯ ก็ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อเวลา 16.20 – 17.30 น. เสกสรร ประเสริฐกุล, เจ้าของตำนานการต่อสู้ที่ยังมีลมหายใจ( ดูวีดีโอท่านปราศัยล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2556 ด้านล่างบทความค่ะ) หัวหน้าปฏิบัติการเดินขบวน สั่งเคลื่อนขบวนจาก อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มุ่งสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า พร้อม ๆ กับการที่กรรมการศูนย์ฯ กลับเข้าพบจอมพลประภาส จารุเสถียร อีกครั้งระหว่าง 17.40 – 18.30 น. เพื่อทำหนังสือสัญญาตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร 20.00 น. วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ประกาศว่ารัฐบาลยอม รับข้อเสนอ ของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา ยอมปล่อยผู้ต้องหา และจะประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญใหม่ในปีถัดไป
ตัวแทนของนิสิตนักศึกษา และผู้แทนพระองค์พยายาม ดำเนินการให้มีการสลายตัว ของฝูงชนที่ยังคง ชุมนุมอยู่ เป็นเรือนแสน บรรยากาศทั่วไปเต็มไปด้วย ปัญหาการติดต่อ ประสานงาน ความตึงเครียด และข่าวลือต่าง ๆ นานาในทางร้ายต่อผู้นำนิสิตนักศึกษา กรมประชาสัมพัน ธ์ออกแถลงการณ์ว่า ได้มีนักเรียนหรือกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง เตรียมการที่จะ ใช้อาวุธร้ายแรงต่าง ๆ ในวันที่ 13 ตุลาคม 2516 และเมื่อ 22.00 น. ก็มีแถลงการณ์อีกว่า บัดนี้ ปรากฏว่าได้มีบุคคลบางคน ที่มีใช่นักศึกษา ถือโอกาสอภิปราย โจมตีรัฐบาล และยุยงส่งเสริมให้เกิดความวุ่นวายต่อไป
23.30 น. นายพีรพล ตริยะเกษม นายก อมธ. กระซิบกับเสกสรรค์ว่า บัดนี้กรรมการศูนย์ฯ ที่ไปเข้าเฝ้าชะตาขาดหมดแล้ว ทำให้เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เคลื่อนขบวนจากลาน พระบรมรูปทรงม้าไปยังสวนจิตรลดา เพื่อหวัง เอาพระบารมีเป็นที่พึ่งเมื่อเวลาใกล้จะเที่ยงคืน
วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
นับแต่หลังเที่ยงคืนของวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่ชุมนุมประท้วงกันมาหลายวันหลายคืนก็มารวมกันอยู่ที่บริเวณ หน้าสวนจิตรลดาอย่างแน่นขนัด เพื่อหวังพระบารมีเป็นที่พึ่ง เวลาประมาณตี 5 ขณะที่มีการเริ่มสลายตัวของฝูงชน ก็เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น เชิด สกุล เมฆศรีวรรณ นักหนังสือพิมพ์ที่ทั้งเห็นเหตุการณ์วิกฤต และสูญเสียดวงตาไปหนึ่งดวงในวันนั้น เล่าเป็นประจักษ์พยานว่าที่บริเวณหน้าสวนจิตรลดา ช่วงถนนพระราม 5 ใกล้กับถนนราชวิถี พ.ต.อ.วสิษฐ์ เดชกุญชร ผู้แทนพระองค์ ได้อ่านพระบรมราโชวาทให้ฝูงชนฟัง จบแล้วฝูงชนก็เริ่มสลายตัวตามพระราชประสงค์
กลุ่มนักเรียนอาชีวะถือว่าเป็นหน่วยกล้าตายที่มีอาวุธพวกไม้ แป๊ปน้ำกันเกือบทุกคน ต่างได้ทิ้งอาวุธ พร้อมกับทำลายระเบิดขวด ฝูงชนที่จะกลับทางถนนราชวิถี (กลับ) ถูกสกัดกั้นด้วยตำรวจคอมมานโด ตำรวจเหล่านี้มีไม้พลอง โล่ หวาย และปืนยิงแก๊สน้ำตา ภายใต้การบัญชาการของ พล.ต.ท.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น และพล.ต.ต.ณรงค์ มหานนท์ ฝูงชนเมื่อรู้แน่ว่าไม่ได้รับการอนุญาตให้ผ่านออกไป ก็เริ่มมีปฏิกริยาด้วยการใช้ ข้าวห่อขว้างปาใส่ตำรวจ ฝูงชนที่ถูกสกัดกั้นรายหนึ่งได้ใช้ท่อนไม้ ขว้างใส่ถูกตำรวจ ได้รับบาดเจ็บนายหนึ่ง
หลังจากนั้น ให้หลังไม่ถึงสิบนาที รถตำรวจที่ใช้ ปราบจลาจลติดไซเรนสองคัน ก็พุ่งเข้าใส่กลุ่มฝูงชน โดยมีตำรวจคอมมานโด สวมหมวกกันน็อค ทั้งนครบาล และกองปราบ พร้อมด้วยสอง นายตำรวจผู้อื้อฉาว จากคดีทุ่งใหญ่ ก็ตามเข้าไปใช้กระบองหวดเข้าฝูงชนทันที ไม่ว่าเด็กหรือผู้หญิง การนองเลือดได้เริ่ม จากจุดนี้ สร้างความเคียดแค้นให้ฝูงชนมากขึ้น เมื่อเห็นเด็กนักเรียนหญิงอีกคนหนึ่งถูกแก๊สน้ำตาจนล้มฟุบ ฝูงชนที่หนีได้ก็ปีน ป่ายกำแพงเข้าไปในสวนสัตว์ และใช้ก้อนหินขว้างปาใส่ตำรวจ อีกส่วนหนึ่งก็กรูกันเข้า วังสวนจิตรฯ โดยมีมหาดเล็กเป็นคนเปิดให้เข้าไป การปะทะใช้เวลาประมาณ 15 นาที คือเริ่มตั้งแต่เวลา 6.30 – 6.45 น.
จากจุดปะทะเล็ก ๆ ณ บริเวณหน้าสวนจิตรลดาฯ เหตุการณ์ก็บานปลายลุกลาม ไปอย่างไม่มีใครคาดคิดไว้ รัฐบาลใช้กำลังทหาร และตำรวจปราบปรามผู้ชุมนุม ประท้วงอย่างรุนแรง ในขณะที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ตอบโต้ด้วยการก่อความวุ่นวาย บุกเข้ายึดและทำลายสถานที่บางแห่งที่เป็นสัญลักษณ์ของ อำนาจเผด็จการคณาธิปไตย พยายามยึดกรมประชาสัมพันธ์ ที่ให้ข้อมูลข่าวสารที่ บิดเบือนตลอดจนสถานีตำรวจ
นับตั้งแต่ 10.00 น. เป็นต้นไป รัฐบาลได้ออกแถลงการณ์เป็นระยะ ๆ กล่าวหาว่ามีกลุ่มนักเรียนบุกรุกเข้าไปในพระราชฐานสวนจิตรลดา และก่อวินาศกรรม ในขณะเดียวกันก็เกิดข่าวลือแพร่สะพัดว่า นักศึกษาหญิงที่ถือธงไตรรงค์ ในวันเดินขบวนถูกตำรวจตีตาย เด็กผู้ชายถูกถีบเตะตกคูน้ำจนตาย สร้างความโกรธแค้น ให้กับผู้ร่วมชุมนุมเป็นอย่างยิ่ง สถานการณ์รุนแรงหนักขึ้น
รัฐบาลส่งทหารและตำรวจออกปราบ มีทั้งรถถังและเฮลิคอปเตอร์ จุดปะทะและนองเลือดมีตลอดสายถนนราชดำเนิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บางลำพู เป็นเวลาถึง 10 ชั่วโมง พร้อม ๆ กับมีคำสั่งห้ามประชาชนออกนอกบ้านระหว่าง 22.00 – 05.30 น. ประกาศปิดโรงเรียน และสถาบันการศึกษาในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ และกำหนดให้บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศิลปากรเป็นเขตอันตราย เตรียมพร้อมที่จะทำการกวาดล้างใหญ่
14.00 น. สำนักงานกองสลากกินแบ่ง และตึก กตป.ถูกไฟเผา นักเรียนและประชาชนต่อสู้อย่างทรหด ยึดรถเมล์ใช้วิ่งชนรถถัง แต่ก็ถูกยิงเสียชีวิต ผู้บาดเจ็บถูกหามเข้าส่งโรงพยาบาลสิริราชตลอดเวลา
18.00 น. จอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
19.15 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสทางวิทยุและโทรทัศน์ ความตอนหนึ่งว่า วันนี้เป็นวันมหาวิปโยค เกิดการปะทะกัน และมีคนได้รับบาดเจ็บ
ความรุนแรงได้ทวีขึ้นทั้งพระนคร ถึงขั้นจลาจล มีคนไทยด้วยกันต้องเสียชีวิต ทรงขอให้ทุกฝ่ายระงับเหตุแห่งความรุนแรง และทรงแต่งตั้งศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ องคมนตรี และนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นนายกรัฐมนตรีแทน สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี มีพระราชดำรัส ทางโทรทัศน์แสดงความห่วงใย และ 23.30 น. ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ปราศรัยทาง โทรทัศน์ขอให้ทุกฝ่ายคืนสู่ความสงบ และประกาศ จะใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือน
อย่างไรก็ตาม 24.00 น. ของคืนวันนั้น จอมพล ถนอม กิตติขจร ในตำแหน่งของผู้บัญชาการทหารสูงสุด ยังคงออกแถลงการณ์ว่ามีผู้ที่ พยายามนำลัทธิการปกครองอื่นที่เลวร้ายมาล้มล้างการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงขอให้เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่จนสุดความสามารถ ซึ่งก็คือการปราบปรามนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนก็ยังคงดำเนินไป ตลอดคืนนั้น มีการต่อสู้ระหว่างนักเรียน ประชาชน และตำรวจ ที่กองบัญชาการ ตำรวจนครบาลผ่านฟ้า ฝ่ายนักเรียนและ ประชาชนปักหลักสู้จาก ตึกบริษัทเดินอากาศไทย และป้อมพระกาฬ
ส่วนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีการชุมนุมอยู่อีกเป็นจำนวนหมื่น ผู้นำศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ขาดการติดต่อ ซ้ำมีข่าวลือว่าบางคนเสียชีวิต เช่น เสกสรร ประเสริฐกุล และเสาวณีย์ ลิมมานนท์ จึงมีการจัดตั้ง ศูนย์ปวงชนชาวไทย ขึ้นชั่วคราวเพื่อประสานงาน และคลี่คลายสถานการณ์ มีจีรนันท์ พิตรปรีชา เป็นหนึ่งในแถบถนนราชดำเนินเป็นสีแดง มีไฟควันพวยพุ่งอยู่เป็นหย่อม ๆ การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ และประชาธิปไตยดำเนินไปตลอดคืน
วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
ตลอดคืนที่ผ่านมา นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนยังคงยืนหยัด ชุมนุมกันหนาแน่นที่อนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย คำประกาศเตือนและ ขู่ของรัฐบาลหาเป็นผลไม่ กลับมีคนออกจากบ้านมาร่วมชุมนุมไม่ขาดระยะ รัฐบาลมีประกาศหยุดราชการในวันนี้เป็นกรณีพิเศษ และมีประกาศปิดธนาคารทุกแห่ง ในขณะเดียวกันนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนก็ยืนหยัดต่อ สู้อย่างเด็ดเดี่ยว มีการลุกฮือเป็นจุด ๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร และในบางท้องที่ในต่างจังหวัด โดยเฉพาะที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า และสถานีตำรวจนางเลิ้ง นักเรียน และประชาชนพยายามต่อสู้บุกเข้ายึด และเผาตลอดคืนจนรุ่งเช้า
จากข้อเท็จจริงที่ว่า แม้จอมพลถนอม กิตติขจร จะลาออกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอยู่ และก็ยังปรากฏว่า การปราบปรามนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนยังดำเนินอยู่ต่อไป พร้อมกับมีแถลงการณ์ว่า มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ส่งพลพรรคมีอาวุธร้ายแรงสวมรอยเข้ามา ยิ่งทำให้เห็นว่าเป็น การสร้างความเท็จ สร้างความโกรธแค้น และเกลียดชังยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนเกิดพลังในการต่อสู้ต่อไป แม้จะบาดเจ็บล้มตาย เป็นจำนวนมากก็ตามจากการปราบปรามอย่างรุนแรง และไร้มนุษยธรรม ใช้ทั้งรถถัง เฮลิคอปเตอร์ อาวุธสงครามหนัก ทหาร และตำรวจจำนวนร้อย ทำให้เกิดความขัดแย้ง ในวงการ รัฐบาลอย่างหนัก
มีทหาร และตำรวจที่ไม่เห็นด้วย พลเอก กฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบกเอง ก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีการรุนแรงนี้ ทางด้านทหารอากาศ และทหารเรือ ก็ไม่เห็นด้วยกับผู้บัญชาการทหารบก กลายเป็นแรงผลักดันให้จอมพล ถนอม กิตติขจร ต้องลาออกจากตำแหน่ง และในที่สุดคณาธิปไตยทั้งสาม ถนอม ประภาส ณรงค์ ก็ต้องเดินทางออกนอกประเทศไทยไป
เหตุการณ์ทั้งหมด จึงสงบลงพลันทันที ที่มี การประกาศว่าบุคคลทั้ง 3 ได้เดินทางออกนอกประเทศไปแล้ว เวลา 18.40 น. เมื่อเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2516
เยาวชนคนหนุ่มสาวหลายคนออกจากบ้าน ไปร่วมกับความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ หลายคนไม่ได้กลับบ้านอีกเลย บางคนกลับ ไปด้วยร่างกายพิการ บางคนกลับไปด้วยความรู้สึกใหม่…..
เหตุการณ์ 14 – 15 ตุลาคม มีผู้เสียชีวิต 77 คน บาดเจ็บ 857 คน
วันที่ 14 – 15 ตุลาคม 2516 วีรชนคนหนุ่มสาวเดินออกจากบ้าน และเข้าสู่ดินแดน แห่งประวัติศาสตร์ และตำนานที่จะจดจำกันไว้ในแผ่นดินนี้ชั่วกาลนาน
เพื่อลบรอยคราบน้ำตาประชาราษฎร์
สักพันชาติจักสู้ม้วยด้วยหฤหรรษ์
แม้นชีพใหม่มีเหมือนหวังอีกครั้งครัน
จักน้อมพลีชีพนั้นเพื่อมวลชน …….
วารีนา ปุญญาวัณน์ ( เจ้าของและบรรณาธิการ)
เรียบเรียงไว้ใน พัทยาเดลินิวส์
อ่านอีกรอบ: จม.เล่าเหตุการณ์เช้ามืด 6 ตุลา จากหนังสือ'เราคือผู้บริสุทธิ์'
Fri, 2012-10-05 23:35
บทบันทึกเหตุการณ์วันนั้น ซึ่งเขียนโดย ชวลิต วินิจจะกูล เป็นตอนหนึ่งจากหนังสือ ‘เสียงจากอดีตจำเลยคดี 6 ตุลา เราคือผู้บริสุทธิ์’ แม้หนังสือเล่มนี้จะเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วในฐานะบทบันทึกประวัติศาสตร์ แรงบันดาลใจทางการเมือง หรืออะไรก็ตาม แต่เมื่อเวลาผ่านเลยไป คนอีกรุ่นอาจไม่ได้มีโอกาสสัมผัสกับงานเหล่านี้ จึงขออนุญาตหยิบยกมาปัดฝุ่นใหม่ โดยเริ่มต้นจากสิ่งพื้นฐานที่สุดนั่นคือ เกิดอะไรขึ้นบ้างในวันนั้น ทั้งในแง่เหตุการณ์และอารมณ์ความรู้สึก
จดหมายจากชวลิต วินิจจะกูล ฉบับที่ 1
เขียนที่บ้าน
...กันยายน 2520
...ที่รัก
ขอบคุณมากครับที่ห่วงใยผม จม.ของคุณผมอ่านด้วยความรู้สึกดีใจที่เพื่อนๆ ยังรักและเอาใจใส่อยู่เสมอ จนถึงวันนี้ก็เพิ่งประมาณเดือนเดียวเท่านั้นที่ผมได้ออกมาสัมผัสความสับสน วุ่นวายของสังคมเมือง แต่ก็มีอิสระ มีชีวิตชีวามากกว่าในคุกเมื่อ 10 เดือนก่อน
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา คุณได้ไปที่ศาลทหารกลาโหมหรือเปล่า ผมไปให้กำลังใจแก่เพื่อนๆ ที่ถูกฟ้อง เขายังยิ้มแย้มแจ่มใสดีจริงๆ ทั้งที่ผมจำได้ว่า เราเคยพูดกันว่า ถูกฟ้องเมื่อไรก็แน่ชัดว่าอีกนานหลายปีกว่าคดีจะสิ้นสุด กำลังใจพวกเขาดีจริงๆ ทั้งๆ ที่รู้อนาคตเช่นนั้น
ผมเห็นเพื่อนๆ แค่ 6 คนจากบางขวาง ไม่ได้พบเพื่อนๆ ที่อยู่มาด้วยกัน 10 เดือน เพราะผู้คุมพาเขาหลบออกทางประตูหลัง วันนั้นผมคิดถึงหลายๆ อย่าง สับสนไปหมด ผมคิดถึงเพื่อนๆ มาก แม้ผมเคยอยู่กับเขามา รู้สึกว่าสำหรับพวกเราแล้วไม่ทุกข์ยากนักหรอก แต่ผมก็อดเป็นห่วงไม่ได้ บางทีนึกถามตัวเองว่าเราจะช่วยเขาได้ยังไง เราจะช่วยเร่งการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของเพื่อนๆ ได้ยังไง ผมอยากจะทำอะไรก็ได้ให้ความจริงเปิดเผยสักที แต่ในภาวะการเมืองอย่างนี้ ดูเหมือนเขาจะห้ามพูดความจริงใช่ไหม
จม.ของคุณทำให้ผมพอเห็นทางออกเล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยเหลือพวกเขาได้ และต่อตัวผมเองก็ช่วยให้ผมคลายความไม่สบายใจลงไปได้บ้าง
คุณอยากให้ผมเล่าความจริงที่ผมประสบ ผมดีใจที่จะได้เล่าให้ผู้อื่นฟัง แม้จะแค่ 1-2 คนก็ตาม และจะให้ผมเล่าสักร้อยพันหนก็ได้ ผมมีสิ่งที่อยากขอความช่วยเหลือคุณเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือว่า ถ้าคุณมีโอกาสให้คนอื่นอ่านด้วยก็ดี ผมเขียนไม่เก่งนัก แต่ผมขอให้ความจริงปรากฏต่อคนมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งผมคงไม่มีโอกาสทำได้ถนัดนัก จม.นี้เหมือนกับผมเขียนฝากถึงทุกๆ คนที่รักความจริง รักความเป็นธรรม ผมเองยังหวังถึงกับว่า สักวันหนึ่งสิ่งที่ผมเขียนอาจเปิดเผยต่อสาธารณชนได้
10 เดือนที่บางเขน ไม่ได้ทำให้ผมลืมความเจ็บปวดลงได้สักนิดเดียว ตรงกันข้าม ผมได้พบคนที่ถูกถีบกลิ้งลงมาจากชั้น 3 ตึกบัญชี ผมได้ฟังเหตุการณ์บางอย่างจากคนที่ตึกวารสารฯ ตึกอมธ. ผมได้คุยกับคนที่เห็นเหตุการณ์หน้าหอฯ ใหญ่ มีโอกาสได้ทราบเหตุการณ์มากมายหลายแง่มุมที่เกิดขึ้นจริงเมื่อปีก่อน
ที่จริงเพื่อนในคุกคงอยากเล่าเองยิ่งกว่าผมเสียอีก ฉะนั้นเพื่อเขาผู้อยู่ข้างความจริงแต่พูดไม่ได้ ผมจะขอเขียนจม.นี้แทนเขา ด้วยความปรารถนาจะช่วยเพื่อนในคุกอย่างจริงใจ ตอบแทนจิตใจที่ยืนหยัดอดทนของเขา จนกว่าสักวันหนึ่งพวกเขาจะได้ออกมายืนประกาศเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดด้วยตนเอง ต่อหน้าประชาชนมหาศาล
ผมจะเริ่มเล่าตั้งแต่เย็นวันที่ 5 ตุลา 2519...
ผมเห็นใบปลิวกระดาษปอนด์ลงรูปถ่ายที่กล่าวหาว่าพวกเราแสดงละครหมิ่นฯ องค์รัชทายาท ตั้งแต่ตอนประมาณ 18 น. วันที่ 5 ต.ค. ต่อจากนั้นผมได้ดู น.ส.พ. ดาวสยาม (มายืนขายหน้า มธ.ด้วย) ผมเห็นแล้วแค้นมากที่กล่าวหาเราเช่นนั้น คนนับพันเมื่อวันที่ 4 เป็นพยานได้ เราไม่เคยแสดงละครแล้วตบแต่งรูปร่างหน้าตาดังรูปที่พิมพ์ออกแจกนั้นเลย นศ.ปี 1 มธ. ดูตั้งนานไม่เห็นมีปฏิกิริยาอะไร กลับมาเป็นเรื่องราวก็ต่อเมื่อลงใบปลิวและลง น.ส.พ. นี่แหละ ตอนนั้นผมไม่เข้าใจชัดนักว่า เขากล่าวหาเราเช่นนี้ทำไม คิดว่าคงใส่ร้ายป้ายสีกันตามเคย แต่ผมก็รู้สึกเหมือนคนอื่นๆ ว่าเหตุการณ์ตึงเครียดขึ้นทุกที
ต่อมามีใบปลิวนัดว่า วันที่ 6 ต.ค. เวลา 9 น. นัดลูกเสือชาวบ้าน (ลส.ชบ.) และ "ผู้รักชาติ" ทุกกลุ่มไปที่พระบรมรูปทรงม้า ในใบปลิวยังบอกว่า ให้เวลาพวกเราที่ชุมนุมใน มธ.ถึงแค่บ่าย 2 ของวันที่ 6 ให้สลายตัวและเอาตัวผู้แสดงละครมาลงโทษ
ประมาณ 21.30 น. วันที่ 5 ต.ค. ศูนย์ฯ นัดสื่อมวลชนครั้งใหญ่และด่วนที่สุด แสดงหลักฐานและเหตุผลหลายอย่างตอบโต้ข้อกล่าวหาที่ปราศจากมูลความจริงนั้น ให้ผู้แสดงละครเล่าเรื่องราวความจริงทั้งหมด ให้ผู้สื่อข่าวดูใบหน้าและถ่ายภาพผู้แสดงตัวจริงคือ อภินันท์ ว่าไม่เหมือนรูปถ่ายในใบปลิวเลย กรรมการศูนย์ฯ วันนั้นคือ ประยูร ยังแถลงว่าศูนย์ฯ ไม่ใช่ผู้จัด และผู้จัดไม่เคยมีความคิดเช่นที่ใบปลิวกล่าวหา ผู้ทำใบปลิวบิดเบือนจุดหมายการชุมนุมคัดค้านเผด็จการให้กลายเป็นอื่นไปเสีย ตั้งใจจะบิดเบือนความบริสุทธิ์ใจให้กลายเป็นความรุนแรง
สื่อมวลชนซักถามจนหมดข้อข้องใจ ไม่ว่าเรื่องทางการเมืองหรือเทคนิคการแสดงละคร ซึ่งผู้แสดงทำให้ชม
แต่วันต่อมา ความจริงเหล่านี้ไม่มีโอกาสจะตอบโต้เรื่องโกหกได้ เขาใช้วิทยุ 200 สถานีกรอกหูปิดตาประชาชน แล้วเย็นวันที่ 6 ก็เกิดรับประหารเสียก่อนที่ความจริงจะเปิดเผย พวกเขากลัวความจริงเหมือนปิศาจกลัวแสงสว่าง เราอยู่ข้างความจริงเราจึงไม่กลัว ให้โอกาสเราโต้สิ
ค่ำลงทุกที คนที่ชุมนุมอยู่รู้เรื่องราวกันทั่วแล้ว บางคนฟังยานเกราะอยู่ด้วย ทุกคนแค้นและพูดกันโจมตีพวกที่บิดเบือนสร้างสถานการณ์ ความแค้นของเราสะสมพอกพูนขึ้นทุกครั้งที่ชุมนุมแล้วถูกยั่วยุก่อกวนทำร้าย ฆ่าทีละคนๆ
ยิ่งแค้นยิ่งรู้สึกว่า เราต้องการกันและกัน คืนนั้นมีคนอยู่ใน มธ.มากเป็นพิเศษ
เสียงจากเวทีชี้แจงกรณีที่ถูกกล่าวหา เรียกร้องให้ทุกคนอดทนใจเย็นๆ สุขุม ทำอะไรขอให้เข้มแข็งเป็นอันหนึ่งใจเดียวกัน เขามิได้ขอร้องให้อยู่หรือกลับ แต่ใจของผู้ชุมนุมยิ่งคุกรุ่นเข้าทุกที ยังไงๆ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นขอให้อยู่ด้วยกัน เสียสละแก่กัน หลายคนนัดกันอยู่ทั้งคืน บางคนเพิ่งเคยเป็นครั้งแรก บางคนรีบกลับบ้านเพื่อจะรีบมาให้เร็วในตอนดึก บางคนโทร.ไปบอกที่บ้านว่าไม่ต้องห่วง ไม่กลับบ้าน หลายคนจับกลุ่มฟังวิทยุต่อไป เจ็บใจที่ตอบโต้ไม่ได้เลย
22.00 น. แล้ว เหตุการณ์ยังสงบอยู่ ผู้คนเข้ามาสมทบมากขึ้นทุกที มาเพิ่มพลังความแข็งแกร่งให้แก่ที่ชุมนุม เพื่อตอบโต้ข้อกล่าวหานั้น
ที่สนามหลวงตรงกันข้ามรั้ว มธ. เริ่มมี ลส.ชบ. (สังเกตจากผ้าพันคอ) และอันธพาลการเมืองซึ่งมาบ่อยจนหลายคนจำหน้าได้ (ไม่เคยถูกจับสักที) พวกเขายืนจับกลุ่มกันพูดคุยเสียงดัง ตะโกนยั่วยุมาบ้าง ส่วนพวกเรานั่งจับกลุ่มยิ้มอยู่หน้าหอฯ ใหญ่ ใจของเขาคิดอะไรผมไม่ทราบ แต่ผมเชื่อว่า เขากำลังคิดอย่างแน่นอนว่า อีกไม่กี่ชั่วโมงเขาจะได้อุทิศตนเพื่อคนทั้งหมด เป็นการเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเขา ใช่! ชีวิตของเขา
ประมาณ 24 น. อันธพาลที่ชุมนุมอยู่สนามหลวงมีมากขึ้น ทันใดนั้นก็มีเสียงปืน 2-3 นัดจากนอกมธ. คนในสนามฟุตบอลหมอบกันหมด เสียงประกาศให้ทุกคนหมอบนิ่งๆ อย่างไม่ตกใจกลัว ที่ต้องให้หมอบเพื่อมิให้วิ่งกันสับสนอลหม่าน ทุกอย่างยังดำเนินไปเรื่อยๆ มิให้ตกใจแตกตื่น
เราเคยถูกยิงอย่างนั้นมาตั้งแต่ครั้งปลายปี 2517 ที่นี่ ไล่ถนอมเช่นกัน ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกคนจึงยังตกใจวิ่งสับสนไปหมด ผ่านมาปีกว่า 20 มีนา ไม่ว่าขณะชุมนุมหรือขณะเดินขบวน เสียงระเบิดไม่ทำให้ใครหนีเลย ทุกคนหมอบสักครู่เดียวแล้วผุดลุกขึ้นจะวิ่งตามเจ้ามือระเบิดทันทีอย่างไม่ เกรงกลัว
หมดยุคกลัวกระสุนหรือระเบิดแล้ว เพราะในใจมีแต่ความเจ็บปวดท่วมท้น ไม่มีที่ว่างให้ความกลัวอีก
ในใจตอนนั้นนึกแต่ว่า อยากให้ตำรวจจัดการอันธพาลเหล่านั้นเสียที ผมคิดในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
เช้าวันที่ 6 ตุลา
01.30 น. พวกอันธพาลการเมืองมีมากขึ้น ยังจับกลุ่มที่เดิม แต่ตอนนี้มีตำรวจหัวปิงปอง (ผมไม่รู้เขาเรียกอะไร) ประมาณ 20 คน ยืนจับกลุ่มรวมกับพวกนั้น
ตอนนี้เอง พวกอันธพาลเริ่มปาท่อนไม้ ก้อนหินเข้ามา พยายามปีนรั้ว แต่พวกเราดันออกไป มันยังตะโกนยั่วยุ ก่อกวนบ้าง ด่าบ้าง อย่างหยาบคายฟังไม่ได้
สักครู่ เมื่อเห็นว่าพวกเราเฉยๆ ไม่ตอบโต้ มันก็ชักเหิมเกริม ปาระเบิดขวดและระเบิดพลาสติก 2-3 ลูกเข้ามา เสียงดังลั่นตรงหน้าหอฯ ใหญ่ที่ชุมนุมหมอบลงอีกครั้ง แต่เสียงที่เวทีนี้ยังคงเงียบๆ จนเห็นว่าสงบลง เราจึงเรียกร้องให้ตำรวจจับกุมผู้ใช้อาวุธเมื่อกี้นั้น แต่ตำรวจไม่ทำอะไรเลย ทั้งๆ ที่ยืนอยู่ตรงนั้น เห็นเหตุการณ์ตลอดเวลา จะว่าไม่ผิดกฎหมายก็ไม่ได้ เห็นกันชัดๆ จะว่าผู้ทำผิดหลบหนีก็ไม่ได้ ยังยืนอยู่ด้วยกันตรงนั้นเอง
พวกเราทำอะไรไม่ได้ นอกจากหมอบเฉยๆ ที่ใกล้หอฯ ใหญ่ มีคนคอยชี้แจงไม่ให้ผ่านบริเวณนั้น เพราะอาจได้รับอันตรายจากภายนอก หากจะเข้าออกขอให้ใช้ประตูท่าพระจันทร์แทน พวกนี้คงเป็น หน่วยรักษาความปลอดภัย ไม่มีอาวุธหรอก เพราะไม่ได้มีไว้สู้กับใคร หน่วยรักษาความปลอดภัยมีไว้ "รักษา" ไม่ใช่ "คุกคาม" ความปลอดภัยของใคร โดยมากเป็นคนรุ่นหนุ่ม ผู้หญิงก็มีหลายคน คนสายตาสั้นแว่นหนาเตอะก็เป็นได้ เราไม่ได้มีไว้สู้กับใคร มีไว้คอยคุ้มกันและแนะนำแก่ผู้ชุมนุมว่าควรทำอย่างไรในขณะเหตุการณ์วุ่นวาย
ก่อน 02.00 น.เล็กน้อย พวกอันธพาลพยายามปีนรั้วเข้ามา โยนเศษไม้, กระดาษติดไฟหลายชิ้นเข้ามาเผาป้อมยาม หลายชิ้นตกบนหลังคาป้อมยาม ผมอยู่ในสนามยังเห็นแสงจากเพลิงไหม้ได้ถนัด ดีแต่ว่าพอพวกมันออกไปแล้ว ไฟยังไม่มากพอ พวกเราจึงรีบดับเสีย
ตำรวจยังมีไว้ประดับสนามหลวง ยืนดูเฉยๆ
ไม่มีใครตอบโต้ เพราะไม่รู้จะตอบโต้อย่างไร พวกมันยิ่งเหิมเกริม เพราะผู้รักษากฎหมายไม่ทำอะไร เพียงครู่เดียวจากนั้น พวกอันธพาลกลุ่มเดิมก็คว่ำรถจักรยานยนต์คันหนึ่งที่จอดหน้าประตูรั้ว มธ. จุดไฟเผา เอาโต๊ะเก้าอี้ของแม่ค้าสนามหลวงที่วางทิ้งไว้มาพังทำลายสุมเป็นเชื้อเพลิง อีก เท่านั้นยังไม่พอ มันยังรื้อทำลาย "กำแพงข่าว" หรือแผ่นบอร์ดขนาดใหญ่ที่คุณคงเคยไปยืนอ่านข่าวคราวที่ติดบนบอร์ดนั้นเสมอๆ มันรื้อทำลายจนพังพินาศเป็นชิ้นๆ ทั้งๆ ที่ติดตรึงอย่างแน่นหนามาเป็นเวลาหลายเดือน
พวกอันธพาลใช้เวลามาพอสมควรกว่าจะผลาญทรัพย์สินเหล่านี้ แต่มันไม่มีทีท่าหวาดกลัวจะถูกกระสุนเลย อย่างนี้แล้วจะมากุข่าวว่า ใน มธ.ยิงออกไปแต่กลางดึกได้ยังไงกัน เราได้แต่มอง ปล่อยมันทำลายจนพินาศหมด
ที่เวที-เราประกาศขอร้องให้ตำรวจจัดการตามหน้าที่ อย่าปล่อยให้มีการทำลายทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นของประชาชนต่อหน้าต่อตา เสียงประกาศซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ไม่มีวี่แววว่าคนในเครื่องแบบที่ยืนหัวเราะอยู่จะเข้ามาจัดการอะไร
พวกอันธพาลการเมืองถืออภิสิทธิ์อะไรที่จะงดเว้นไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย บัตรกระทิงแดงกับผ้าพันคอ ทำให้คนอยู่เหนือกฎหมายเชียวหรือ? พวกนี้ทำผิดมาตั้งนานแล้ว แม้แต่เห็นและจับได้คาหนังคาเขาว่าพวกนี้ขนอาวุธก็ยังปล่อย ผิดกับพวกเรา...ถูกมันรุมตีเมื่อตอนปิดโปสเตอร์แต่กลับโดนข้อหาทำความสกปรก จนได้ โอ้ ! นโยบายเลือกใช้กฎหมายหรือไง?
คิดแล้วแค้นใจ ขณะมันรื้อไปเผาไป ยังมีเสียงปืนประปราย มีระเบิดพลาสติกตกเข้ามาใน มธ. เพื่อนๆ เราเอาโต๊ะเก้าอี้จากตึกนิติฯ มาตั้งกำบังกระสุน ข้างหลังมีหน่วยรักษาความปลอดภัยจับมัดข้าวต้มเป็นแถวยาว เพื่อระวังมิให้ใครผ่านไปหน้าหอฯ ใหญ่ พวกเราได้แต่ชะเง้อมองดูเฉยๆ ขณะไฟลุกท่วมทรัพย์สินของประชาชนจนหมด
พวกมันยังไม่หายคลั่ง มันตรงเข้าพังรั้ว มธ. ด้านใกล้พิพิธภัณฑ์จนพังออก 1 แถบ (1 ช่วงระหว่างเสาปูน) เราประกาศดังๆ หนักๆ เพราะผู้พูดคงกำลังโกรธที่ทรัพย์สินของเราถูกทำลาย เผาหมด แต่ไม่มีการจับกุมเลย เหมือนเมื่อคราวพวกกระทิงแดงบุกปล้น มธ. เมื่อ 20 สิงหา 2518 มันเหยียบย่ำทำลายจิตใจและศักดิ์ศรีกันซึ่งๆ หน้า
สุดท้ายที่มันทำอย่างบ้าคลั่ง คือ พยายามเผาป้อมยามอีก ไฟลุกท่วมจนเห็นแต่ไกล แล้วก็กลับไปจับกลุ่มที่เดิม
ตลอดเวลากว่าชั่วโมงที่มันกระทำการทั้งหมดนี้ มีพวกมันอ้างและสมุดปกขาวออกโดยคณะปฏิรูปก็อ้างว่า "ข้างใน มธ.ยิงประชาชนข้างนอกจนบาดเจ็บ" มันจะเป็นไปได้ยังไง? พวกมันจับกลุ่มกระทำการต่างๆ เหล่านี้ริมรั้ว มธ.นี่เอง พังรั้วได้, เข้ามาเผาป้อมยามได้ ผมบอกแล้วว่ามีเสียงปืนประปรายแต่ก็พอที่ทำให้คนในสนามหมอบกันหมด ในขณะเดียวกับที่พวกอันธพาลยังคงทำต่อไปเฉยๆ ราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ถ้าพวกใน มธ.ยิงล่ะก็ พวกมันต้องล้มคว่ำบาดเจ็บหรือตายแน่ เพราะระยะแค่นิดเดียว แต่กลับกลายเป็นว่าพวกเราต้องรีบทำที่กำบังกระสุน ในขณะที่พวกมันทำต่อไปเรื่อยๆ อีกอย่างหนึ่ง...ถ้ายิงจากข้างในพวกมันคงวิ่งหัวซุกหัวซุน เพราะรักตัวกลัวตาย คงจะมาทำการรื้อพัง ทำลายเผาเรียบไม่ได้หรอก เพราะไม่ใช่ทำครู่เดียวสักหน่อย การที่มันยังเฉยๆ ก็เพราะพวกมันยิงเองหรือไม่ก็อาจรู้เห็นเป็นใจกับผู้ยิง เรียกให้ชัดคือ ยิงคุ้มกันการทำลายทรัพย์สินประชาชน
ข้ออ้างที่ว่ายิงไปจากข้างใน ถ้าไม่แกล้งโง่ก็ต้องรู้ว่าโกหกชัดๆ
เสียงหัวเราะของมันเสียดแทงใจคนที่ชะเง้อมองดูอย่างบอกไม่ถูก
เวลาประมาณ 04.00 น. ตำรวจมากกว่า 100-200 คน ทั้งหมวกดำ หมวดเบเร่ต์เขียว หมวกแก๊ปและหัวปิงปอง หน่วยปราบจลาจล พร้อมอาวุธครบมือมาถึง มธ. แล้ว ตำรวจล้อมทางเข้าออกมธ.ไว้หมด บ้างยืนเรียงแถว บ้างรวมกลุ่มกันอยู่ บ้างกระจัดกระจาย ทุกประตูมี ตร.ยืนอุดทางเข้าออกไว้ แต่ยังพอมีทางออกได้ทีละ 1-2 คน ส่วนคนเข้ามาใน มธ. นั้น ถ้ามิใช่เพื่อนๆ เราคงไม่กล้าเข้ามาแล้วล่ะ
ไม่นานนัก หลังจาก ตร.ล้อม เสียงปืนดังขึ้นอีก คราวนี้ดังเป็นชุดไม่ใช่ทีละนัดๆ อย่างเมื่อกลางดึก
ผมไม่เคยได้ยินเสียงอย่างนี้มาก่อนเลย นอกจากในหนังสงคราม อาวุธสงครามเท่านั้นที่ยิงในลักษณะนี้ มิใช่เสียงปืนพกแน่นอน
หลายคนพอนึกได้ว่า ปืนตำรวจแน่ๆ ก็ตกใจ นึกไม่ถึงว่ารัฐจะใช้วิธีนี้กับเรา เสียงปืนดังจากสนามหลวงเป็นชุดๆ เป็นระยะๆ ส่วนทางท่าพระจันทร์ยังสงบอยู่
เราจำเป็นต้องอภิปรายเน้นย้ำถึงจุดหมายการชุมนุมว่า พวกเรามีเจตนาบริสุทธิ์ที่จะคัดค้านถนอมกัน ขอให้ ตร.ทำการตามกฎหมาย จับฆาตกรฆ่าช่างไฟฟ้า 2 คนให้ได้ เสียงผู้อภิปรายย้ำว่า การชุมนุมของเราไม่ผิดกฎหมาย เพราะสงบ เปิดเผย ไม่มีอาวุธ
ผมจำได้แม่นว่า ผู้พูดบนเวทีบอกแก่เราว่า กระทิงแดงเป็นผู้ใช้อาวุธสงคราม แต่ผมกับเพื่อนหลายคนเข้าใจดี แม้เขาจะพูดเน้นตรงนี้หลายครั้งก็ตาม
เสียงอาวุธสงครามยิงเป็นชุดๆ กระทิงแดงจะเอามาจากไหน ก็มีแต่ ตร. รู้เห็นเป็นใจกับพวกอันธพาล จึงให้อาวุธแก่พวกมัน หรือไม่ก็...ตร.ยิงเอง
ตำรวจมาล้อมแล้ว มีคนไม่มากนักที่รู้ข้อนี้ บางคนเดินผ่านไปเห็น บางคนเข้าออกมาก็เห็น เพื่อนๆ ทุกคนที่พูดอยู่เวทีก็รู้ บางคนยังถามผมว่าเขามาทำไม? ผมไม่ได้ตอบ เพราะกำลังนับร้อยยิงหนักขึ้น และแถว ตร.ปราบจลาจลหันหน้าเข้าหา มธ. มิใช่หันหน้าเข้าหาพวกอันธพาลที่ยืนอยู่สนามหลวง เท่านี้คงเป็นคำตอบแล้ว
ตำรวจจะยิงเองหรือให้อาวุธใครยิงก็ตาม ความหมายก็เหมือนกับว่า กลไกของรัฐบาล ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์กลายเป็นผู้พิฆาตประชาชนไปเสียแล้ว ยิ่งฟังยานเกราะคอยสั่งการยิ่งเจ็บใจ ตร.พวกนี้อยู่ใต้บังคับบัญชาของรัฐบาลหรือสถานีวิทยุทหารกันแน่
ถึงอย่างไร ผมก็เข้าใจดีว่า ไม่มีประโยชน์ที่จะโจมตี ตร. ในขณะนั้น แม้จะเป็นความจริงก็ตาม เพราะผู้ชุมนุมบางส่วนอาจตกใจ แม้ส่วนใหญ่คงแค้นใจที่รัฐบาลทำกับเราอย่างนี้ และพวกเขาไม่ตกใจก็จริง แต่เรายังหวังกันว่า อาจเจรจากับรัฐบาลให้สั่งยุติการฆ่าเยาวชนและเด็กมือเปล่าใน มธ.ได้ ซึ่งถึงวันนี้คุณก็ทราบแล้วว่า ผมเพ้อฝัน
ขณะนั้นเค้าความรุนแรงเห็นได้ชัดเจนมาก เพื่อนกรรมการศูนย์ฯ เล่าว่า พวกเขาเริ่มหาวิธีระงับความรุนแรง พวกเราไม่กลัวพวกอันธพาลการเมือง แต่ถ้าพวกมันรวมหัวกับตำรวจมาเข่นฆ่าคนมือเปล่าใน มธ. ใครเล่าจะพิทักษ์ผู้ถูกทำร้าย ใครเล่าจะจัดการผู้ทำผิดกฎหมาย ในเมื่อผู้รักษากฎหมายลงมือเสียเอง
ศูนย์ฯ เร่งหาทางเจรจากับรัฐบาล ติดต่อขอเข้าชี้แจงความจริงต่อนายกฯ เสนีย์ และขอให้สั่ง ตร. อย่ามาทำร้ายประชาชน สำหรับใน มธ. เราได้แค่ควบคุมมิให้ผู้ชุมนุมแตกตื่นตกใจ พยายามทำให้สงบแต่เข้มแข็ง ต้องให้ประชาชนยืนหยัดเจตนาบริสุทธิ์ที่จะพิทักษ์สิทธิเสรีภาพ คัดค้านเผด็จการ ผู้ชุมนุมอยู่ทุกคนไม่เป็นปัญหาเลย เพราะเขาเหล่านี้ผ่านการกลั่นแกล้งก่อกวนด้วยความรุนแรงมาหลายครั้ง เขาเหล่านี้เข้มแข็งมาก
เรายังไม่พูดความจริงว่า ตร. โจมตี เพราะหากเจรจากับรัฐบาลได้ก็จะจัดการปัญหาได้ โดยที่สื่อมวลชนยังไงๆ ก็ย่อมทราบความจริงนอกมธ. อยู่แล้วว่า ตร. ทั้งนั้นที่ยิงเข้ามา
คุณคงเห็นใจพวกเรานะว่า เราไม่ปรารถนาความรุนแรงเลย แม้แต่คำพูดเราก็ระวัง มิต้องคิดถึงการตอบโต้เลย เพราะเราไม่มีอะไรตอบโต้ เราปรารถนาสันติ ชุมนุมต่อไปโดยสงบตามที่กฎหมายอนุญาตอยู่แล้ว
บรรยากาศที่ตึงเครียด ช่วยหล่อหลอมจิตใจของเราให้ประสานแข็งแกร่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จิตใจของเราหลอมรวมกันในเบ้าของความรักชาติ รักประชาธิปไตยและรักประชาชน ผมรู้สึกตึงเครียดอยู่บ้าง แต่ก็รู้สึกว่าบรรยากาศรักใคร่ต่อกันไม่มีคราวใดเหมือนขณะนั้นเลย แม้เราทั้ง 4-5 พันจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลยก็ตาม
เรายังชุมนุมอภิปรายกันต่อไป เราอภิปรายกันถึงการกลั่นแล้งและความรุนแรงที่เราได้รับเสมอมานับแต่หลัง 14 ตุลา 2516 ทั้งสาดโคลน ป้ายสี ทั้งยิง ปาระเบิด ทั้งเป็นรายบุคคลและฆ่าหมู่ ด้วยกลไกทุกอย่างที่พวกกระหายอำนาจมีอยู่ ที่ชุมนุมทุกคนเงียบกริบ คงมีแต่เสียงจากเวทีที่ซ้ำๆ เป็นห้วงๆ ราวกับจะเรียกความทรงจำของทุกคนกลับมา ทุกคนยังหมอบฟังเสียงกระสุนที่สาดเข้ามาเป็นระยะ, หมอบฟังเสียงอภิปราย, คิด, รู้สึกและเจ็บปวด ไม่มีคนตกใจ ทุกคนอัดอั้นความแค้นใจไว้เต็มอก แค้นจนบางคนซบหน้าลงกับพื้นหญ้า แล้วทุบ ทุบให้แผ่นดินตรงนั้นได้รับรู้ความเจ็บปวด
"เราจะสู้ไหม สู้ไหม"
"สู้ สู้ สู้"
เสียงขานรับที่ผมจำได้แม่นยำดังขึ้นทุกครั้งที่เสียงถาม เสียงถามจะดังขึ้นทุกครั้งที่เสียงกระสุนเว้นระยะ ยิ่งยิงเข้ามามาก เสียงตอบขานรับยิ่งหนักแน่นและดังขึ้น ไม่มีใครหลับลงได้ ทุกคนตื่นมาขานคำตอบ "สู้" ดังสนั่น เสียงดนตรีที่กระแทกกระทั้นอย่างรุนแรงขึ้นด้วยความแค้นใจ เสียงดนตรีปลุกเร้าให้คนตื่น เราตื่นขึ้นแล้ว แม้จะเจ็บปวดสุดแค้นใจ แต่เราตื่นขึ้นสู้แล้ว จิตใจต่อสู้เหมือนไฟสุมในดวงใจของทุกคน
เราไม่มีอาวุธ เรามีแต่มือเปล่าและไมโครโฟน เราไม่ใช่จะสู้กับตำรวจคนนั้นคนนี้ แต่เราขอสู้กับเผด็จการทรราชไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม เราจึงสู้ต่อไปด้วยเสียงขานรับ และจิตใจของผู้ชุมนุมทุกคน
ทุกคนร้องเพลง ข้างนอกก็ยิงปืน เสียงทั้งสองดังควบคู่กันไปจนถึงตี 5 ครึ่ง
05.30 น. เวลาที่ทุกคนไม่มีวันลืม เสียงดังวี้ด...ผมมองหน้าเพื่อนอย่างตกใจ แต่ไม่ทันพูดก็เกิดระเบิด เสียงบึมดังสนั่นจนหูผมอื้อไปชั่วครู่ พื้นสั่นสะเทือนไปหมด ตอนนั้นฟ้าเพิ่งจะสาง หมอกจางๆ กับควันระเบิดทำให้ผมไม่เห็นที่เกิดเหตุอยู่ชั่วครู่
ระเบิดลงเกือบกลางสนามค่อนมาทางตึกโดม พอควันจางลงผมเห็นผู้หญิงคนหนึ่งนอนเลือดท่วม เพื่อนที่อยู่ใกล้ๆ ที่เกิดเหตุเล่าว่าคนตายและบาดเจ็บเพราะระเบิดลูกนี้มาก เพราะลงมากลางหมู่คนพอดี เสื้อผ้าหลายคนขาด เศษเนื้อหลุดจากร่างก็มี ผมเห็นเพื่อนๆ กำลังเร่งพาคนเจ็บส่งหน่วยพยาบาลเป็นแถวๆ จำนวนมากมาย มีผู้เล่าว่า มันมากเหลือเกิน ใกล้เคียงกับระเบิดเมื่อ 21 มีนา ซึ่งครั้งนั้นตาย 4 คน บาดเจ็บถึง 70-80 คน คนที่เข้าไปช่วยพยุงบางคนร้องไห้ตลอดเวลา บางคนเข้มแข็งพอที่จะช่วยพยุงคนอื่น ทั้งๆ ที่ตนเองก็ได้รับบาดเจ็บ
ที่หน่วยพยาบาล นศ.แพทย์ พยาบาล คร่ำเคร่งวุ่นวายกันใหญ่ เขารับผู้ป่วยไว้มากมาย แต่เครื่องมือที่มีอยู่จำกัดและมิได้เตรียมไว้สำหรับสถานการณ์ถูกฆ่าอย่าง นี้ แต่ทุกคนพยายามทำอย่างดีที่สุด
ผมจำได้ถนัดว่า มีคนวิ่งมาบอกที่เวทีให้ประกาศว่า ต้องการเลือด แต่เพื่อนหมอมหิดลยับยั้งไว้เพราะว่าคนจะตกใจเปล่าๆ หน่วยพยาบาลไม่มีอุปกรณ์ถ่ายเลือด ประกาศไปก็ไร้ประโยชน์ คนเจ็บต้องการโรงพยาบาลด่วน เขายังมีโอกาสมีชีวิตอยู่ ถ้าได้รับการช่วยเหลือด่วน...
เสียงประกาศเรียกรถไปช่วยรับคนเจ็บซ้ำหลายครั้ง รถก็ยังไม่พอ ราวกับจะร้องไห้ เมื่อต้องการพูดว่าระเบิดลูกนี้ทำให้เพื่อนเราตายทันที 3-4 คนและอาการสาหัสอีกหลายคน ผมเห็นคนร้องไห้ให้กับอาชญากรรมเมื่อกี้นี้ เราไม่ได้ทำอะไรผิดเลย ทำไมต้องฆ่าเราอย่างทารุณ เพื่อนหญิงคนหนึ่งคุกเข่าลงร้องไห้ทันทีที่เสียงแตรรถลำเลียงคนเจ็บดังลั่น แล้วรถผ่านหน้าเธอไปด้วยความเร็วที่สุด ยังมีคนเจ็บเล็กๆ น้อยๆ อีกหลายคนที่ยังอดทนยืนหยัดใน มธ.ต่อไป
หลังจากระเบิดลง เสียงปืนเงียบสงบไปราว 10 นาที เราอาศัยโอกาสนั้นค่อยๆ ทยอยผู้คนเข้าตามตึกต่างๆ ให้หมด ผู้ชุมนุมต่างแยกย้ายเป็น 2 ข้างเข้าตึกวารสารฯ และตึกบัญชี หลังจากนั้นมันก็ระดมยิงเข้ามาอีกอย่างหนักยิ่งกว่าเดิม คราวนี้ไม่มีเว้นช่วงหยุดยิงอีกเลย เสียงอาวุธร้ายยิงเข้ามาเป็นชุดๆ ไม่มีเว้น และเสียงดังอึงคะนึงไปหมด ไม่ใช่ปืนแค่ 2-3 กระบอกอย่างแน่นอน
ความรุนแรงของอาวุธถึงกับทำให้กำแพงกระจุยกระจาย เศษอิฐ หิน ปูน ฟุ้งและร่วงกราวตามพื้น ตึกบัญชีถูกระดมยิงทั้งจากทางประตูหอฯ เล็ก และที่ร้ายกาจมากคือ มีการยิงจากตึกสูงข้างกำแพงทึบระหว่าง มธ. กับพิพิธภัณฑ์ (ตึกนั้นอยู่ในเขตพิพิธภัณฑ์) ยิงผ่านช่องกว้างระหว่างหอฯ ใหญ่กับตึกนิติฯ เข้ามา สาดเต็มตึกบัญชี
เพื่อนที่ตึกบัญชีคาดไม่ถึงว่าพิพิธภัณฑ์จะถูกใช้เป็นแหล่งกำลังด้วย หลายคนบาดเจ็บและที่เหลือต้องรีบเอาโต๊ะเก้าอี้มาตั้งกำบังกระสุน กระสุนจากตึกพิพิธภัณฑ์นี้เองที่ทำร้ายพวกเรามากมายในวันนั้น
ยังมีระเบิดเป็นช่วงๆ คราวนี้ไม่ใช่ระเบิดขวดอีกต่อไป อาวุธหนัก ปืนกล ระเบิดสังหาร ขนมาเข่นฆ่าเยาวชนมือเปล่าอย่างหนัก แต่ละครั้งพื้นสั่นสะเทือน ควันคละคลุ้ง คนเจ็บจากหน้าหอฯ ใหญ่ยังถูกลำเลียงมาอย่างทุลักทุเลไม่ขาด ภาพความสยดสยองผ่านตาผู้ชุมนุมไม่ขาดระยะ
ยิ่งกว่าสงคราม เพราะที่นี่ฆ่าหมู่ฝ่ายเดียว ฝ่ายหนึ่งหมอบรอกระสุน อีกฝ่ายยิงไปสูบบุหรี่ไปอย่างเลือดเย็น
ผมเห็นภาพของตำรวจหลังออกจากคุก ท่ายิงอย่างสบายใจทั้งนั้น บางคนแบกปืนยิงรถถังทั้งๆ ที่ใน มธ. ไม่มีรถถังสักคัน
หรือเขาอาจจะคิดว่า มีรถถังใต้หอฯ ใหญ่ มีเรือดำน้ำอยู่บนแท็งก์และในอุโมงค์ มีขีปนาวุธที่ยอดโดม !
เรายังพูดประกาศย้ำจุดประสงค์การชุมนุมของเรา ผู้พูดพยายามบอก ตร.ว่า เราทำตามกฎหมายทุกอย่าง ขอให้ ตร.หยุดยิง
แต่ไม่มีประโยชน์...
ประมาณ 06.00 น. กระสุนสาดมาหนักเกินกว่าโต๊ะเก้าอี้จะกำบังได้ หลายคนพยายามหาทางเข้าไปในตึกเพื่อหลบในห้องเรียน
หน้าหอฯ ใหญ่ เสียงปืนดังมาเกือบชั่วโมงแล้ว คงจะสุดทนทานได้ มีคนเล่าว่า พวกอันธพาลภายใต้การระดมยิงคุ้มกันโดย ตร. เข้ามาพังประตูด้านหอฯ ใหญ่ได้ตั้งแต่ตอนนี้แล้ว ครู่ต่อมาพวกอันธพาลจำนวนหนึ่งจึงกรูกันเข้ามาตั้งหลักหน้าหอฯ ใหญ่ แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ข้างนอก
ประตูด้านอื่นถูกปิดตาย แม้จะเจรจากับตำรวจขอออกนอกมธ. ตร. ไม่ยอม ปล่อยให้ถูกยิงต่อไป
ขณะผมเห็นพวกอันธพาลเริ่มเข้ามาถึงหน้าหอฯ ใหญ่ได้ ผมตกใจว่าเพื่อนๆ ที่ทยอยคนถอยเข้ามานั้น ยังมีบางคนไม่ยอมถอย ป่านนี้เขาคงไม่เหลือสักคนเดียว
ข้อกล่าวหาที่ว่า ใน มธ. ยิงออกไป คุณลองคิดดูว่า มธ. มีกำแพงกำบังมีที่ตั้งกำบังแน่นหนา หอฯ ใหญ่อยู่ระดับสูงกว่าสนามหลวง ที่สนามหลวงซึ่งพวกอันธพาลและ ตร.อยู่ มีแต่ต้นมะขามเท่านั้นที่กำบังกระสุนได้ ถ้า นศ. มีอาวุธ เอ็ม. 16 หรือระเบิดจริงล่ะก็ คงทำให้ ตร.ตายนับสิบ แต่ความจริงคือพวกเราตายเป็นร้อย ในขณะที่ตร.ตายแค่ 2 ซึ่งไม่ทราบว่าถูกอะไรตาย ความรู้แค่คนเคยเรียน รด. อย่างผมก็รู้ได้ในเรื่องง่ายๆ อย่างนี้ ซ้ำรอง อตร.แถลงเมื่อ 8 ตุลา 19 เอง ยอมรับว่า ตร.เข้าตรวจค้น ไม่รู้ นศ.เอาอาวุธไปซ่อนไว้ไหน แต่พอทหารเข้าค้นพบอาวุธมากมายแม้แต่พุ่มไม้ข้างตึก
ถ้า ตร.ไทยไม่โง่ ก็แสดงว่าอาวุธที่พบถูกนำเข้าไปหลังจาก ตร.ค้น
พูดขัดกันเองไปๆ มาๆ โกหกอย่างไร้เหตุผล
ความจริงคือ พวกเราไม่มีอาวุธ เพื่อนที่หน้าหอฯ ใหญ่คงเฝ้าอยู่ตรงนั้น ไม่มีใครถอยหนี เขาตอบโต้อะไรไม่ได้เลย เพียงแค่ทำให้ ตร.รู้ว่าตรงนั้นมีคนอยู่จะได้ไม่กล้าบุกเข้ามา เพื่อถ่วงเวลาให้แก่เพื่อนๆ ข้างในที่กำลังหาทางออก ทุกคนคงจะคิดรู้อนาคตว่าจะต้องเสียสละชีวิตแน่นอน และเขาก็ถูกยิงทีละคนๆ จริงๆ
ผมได้ดูภาพพวกเขาไม่กี่วันมานี้เอง นอนตายตรงโคนต้นไม้หน้าหอฯ ใหญ่ บางศพตายังไม่หลับ คล้ายจะจ้องดูมันอย่างเอาเลือดเนื้อ บางศพก็สงบคล้ายจะภูมิใจว่าได้อุทิศตนเพื่อประชาชนที่เขารักแล้ว
ยังไม่จบหรอก แต่ฉบับนี้ยาวมากพอแล้ว ผมจะเขียนมาเล่าต่อให้จบเร็วๆ นี้ ผมทราบว่าคุณคงอยากจะได้อ่านเร็วๆ ที่สุด ผมจะทำตามที่คุณปรารถนา และคงต้องพยายามรวบรัดให้จบเหตุการณ์ในฉบับหน้านี้ ฝากความคิดถึง...., ....., ..... กับ ..... ด้วยนะ บอกเขาด้วยว่าจะเขียนจม.ไปคุยด้วย แต่สำหรับ..... ผมไม่มีที่อยู่ของเขา ถ้ายังไงขอความกรุณาคุณช่วยเขียนบอกมาด้วยนะครับ
รัก
ชวลิต
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จดหมายจากชวลิต วินิจจะกูล ฉบับที่ 2
ที่บ้าน
....ตุลาคม 2520
....ที่รัก
ผ่านพ้น 6 ตุลา มาไม่กี่วัน ผมอยากไปทำบุญเมื่อเช้าวันนั้นด้วย แต่แม่ผมขอร้องว่าอย่าเพิ่งเลย อยู่ที่บ้านดีกว่า ผมไม่อยากขัดใจแม่ แม่ห้ามด้วยความห่วงใยผมมาก ผมออกไปคุยกับ...ที่บ้านเขาแทน นึกอยากจะไปนั่งดูความหลังในมธ. แต่ก็เกรงว่าแม่จะห่วงไม่ต่างกับการไปทำบุญที่สนามหลวง ผมเลยตัดใจไม่เข้าไปในมธ.
แม้วันที่ 6 ผ่านไปอย่างเงียบๆ ภายใต้ภาวะการเมืองอย่างทุกวันนี้ แต่ใจผมไม่เงียบด้วยหรอก ใจผมยังร่ำร้องที่จะหาทางตอบแทนโทษกรรมของผู้ทำผิดในวันนั้นให้ได้ และตอบแทนความอดทนยืนหยัดของเพื่อนๆ ในคุกให้ได้ด้วย ผมขอให้วันนั้นมาถึงเร็วๆ เถอะ
ฉบับก่อน ผมเล่าถึงประมาณ 6.00 น. เช้าวันที่ 6 ตุลา ผมจะเล่าต่อเลยนะครับ...จะพยายามให้จบ
6.00 น. เศษ สุธรรมขึ้นเวทีครั้งสุดท้าย ให้กำลังใจแก่ผู้ชุมนุมและจะไปพบนายกฯ เสนีย์ เจรจาขอให้หยุดยิง ขณะพูดอยู่ สุธรรมเกือบถูกกระสุนจึงต้องหมอบราบกับเวที พูดต่อจนจบแล้วออกไปจากมธ.
ตร. พาตัวสุธรรมกับเพื่อนๆ ไป แต่ยังไม่ยอมให้ใครออกอีกเลยแม้แต่ผู้บาดเจ็บ
ระเบิดสงครามลงใกล้หอฯ ใหญ่ เข้ามาบริเวณสนามบอล ควันดำโขมง เห็นเพื่อน 2 คนล้มกลิ้งม้วนออกมาจากกลุ่มควันแล้วแน่นิ่งไป
ประมาณ 6.30 น. พวกเราพยายามเจรจาขอออกนอกมธ. ทางประตูท่าพระจันทร์ แต่ ตร.ไม่ยอม
มีคนพยายามหาทางออกทางน้ำหลายร้อยคน แต่ ตร.กลุ่มหนึ่งวิ่งมาบนท่าเรือแล้วยิงขู่ลงน้ำ ต่อมามี ตร.น้ำแล่นเรือมากลางแม่น้ำแล้วยิงเข้าใส่ มธ. ทั้งยังแล่นไล่จับคนที่ลอยคออยู่ในน้ำด้วย
ขณะนั้นในแม่น้ำไม่มีเรืออื่นเลย เพราะตั้งแต่เช้ามีคนพยายามหนีโดยขอความช่วยเหลือจากชาวเรือแถบนั้น ตร.น้ำแล่นมาพบจึงประกาศห้ามเรือทุกลำในบริเวณนั้นช่วยเหลือพวกเราอย่างเด็ด ขาด ซ้ำยังไล่เรือทุกลำออกจากบริเวณทั้งหมด
รถพยาบาล 5-6 คันที่ลำเลียงคนเจ็บตั้งแต่ถูกระเบิดเมื่อ 05.30 น. ยังออกจากมธ.ไม่ได้ คนที่ทราบต่างรู้สึกเจ็บใจเหลือเกิน ผมโกรธอย่างบอกไม่ถูก เราขอร้องให้ตร.ยอมให้เราพาคนเจ็บส่งโรงพยาบาล ขอร้องจนกลายเป้นอ้อนวอนเพื่อเห็นแก่ชีวิต
เสียงอ้อนวอนไม่ทำให้ความบ้าคลั่งลงลง ตร.ไม่ยอม
ผมทราบภายหลังว่า รถพยาบาลตั้งแต่ 05.30 น. ออกไปได้บ้างไม่กี่คัน แล้วมีคำสั่งห้ามมาจากเบื้องบน ยิ่งนาน คนบาดเจ็บยิ่งมาก ที่สาหัสต้องนำส่งโรงพยาบาลมากจนรถไม่พอ ต้องประกาศขอรถของใครก็ได้ไปช่วยลำเลียงผู้บาดเจ็บโดยด่วน
ถึงแม้จะมาสักกี่คน แต่ก็ถูกสั่งให้จอดรอจนคนตายอยู่ที่ท่าพระจันทร์
ในรถเลือดเปรอะเต็มไปหมด หมอ พยาบาลจำเป็นจากมหิดลได้ฝึกงานครั้งสำคัญในชีวิตกับคนเจ็บที่ไม่มีอุปกรณ์ ช่วยเหลือเลย ยิ่งนานยิ่งทำให้เพื่อนหมอและพยาบาลกระวนกระวาย ทุกข์ใจหนักขึ้นทุกที
พยาบาลบางคนนั่งร้องไห้ เขารอแล้วรออีกเพื่อจะพาคนเจ็บไปโรงพยาบาล ไม่ใช่รอให้คนตาย แต่มนุษยธรรมไม่มีในใจ ตร.ใหญ่โตที่ท่าพระจันทร์เลยสักคน หมอและพยาบาลของเรา ได้รับการอบรมให้มีมนุษยธรรม เห็นใจคนทุกข์ยาก เขามีจรรยาบรรณที่จะต้องช่วยชีวิตคน ทุ่มเทตนเองให้แก่คนไข้ ถ้าช่วยไม่ได้หมอทุกคนคงจะเป็นทุกข์อย่างมาก
ที่นี่...นศ.แพทย์ พยาบาล เริ่มต้นอาชีพในอนาคตด้วยการนั่งมองคนตายลงทีละคน
คนเหล่านี้จะไม่ตายเพิ่มสักคนเดียว ถ้าได้ไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด ไม่ยากเลยที่จะรักษาชีวิตของคนเหล่านี้ไว้ แต่ใจของพวกกระหายเลือด พวกมันฆ่าคนอย่างเลือดเย็นที่สุด
เลือดเย็นที่สุด
ระเบิดลูกนี้ฆ่าคนทันที 3-4 คน และตายในรถอีก 3-4 คน ทั้งๆ ที่ชีวิตของเขามีค่าสำหรับประชาชนมาก
เวทีว่างเปล่า เพราะต้องหลบกระสุนลงไปข้างหน้า แต่ยังคงพูดแข่งกับเสียงกระสุนอยู่ เราอภิปรายกันทิ้งท้ายว่า ขอให้ทุกคนจดจำวันนี้ไว้ พวกเราไม่ต้องการเผด็จการ เราสืบทอดเจตนาวีรชน 14 ตุลา แต่กลับถูกปราบปราม
ตลอดจากนั้นตั้งแต่ 6.30 น.เศษ จนถึง 8.00 น. ที่เสียงจากเวทีเงียบหายไป ทุกคนจะได้ยินคำพูดเพียงข้อความเดียวเหมือนๆ กันหมด ผมจำได้ขึ้นใจ เพราะพูดนับสิบนับร้อยครั้งว่า
"พี่ๆ ตำรวจครับ กรุณาหยุดยิงพวกเราเถิดครับ เราชุมนุมอย่างสงบสันติ เราไม่มีอาวุธ ตัวแทนของเรากำลังเจรจากับรัฐบาลอยู่ อย่าให้เสียเลือดเนื้อมากกว่านี้เลย ขอความกรุณาหยุดยิงเถิดครับ"
ประมาณ 7.00 น. อันธพาลและ ตร. หลายสิบคนขึ้นรถผ่านประตูเข้ามา วิ่งกรูลงมาจากรถทั้งในและนอกเครื่องแบบ คราวนี้เอาอาวุธหนักเช่นปืนกล มาตั้งอยู่หน้าหอฯ ใหญ่ ระดมยิงเข้ามา
พวกที่หลบอยู่ตึกบัญชีถูกระดมยิงใส่จนทนไม่ไหว พยายามหาทางขึ้นบนตึก อาศัยกำแพงตึกเป็นที่กำบัง บ้างก็พยายามหลบเข้าห้องต่างๆ ที่ชั้นล่างซึ่งมีน้อยไป
ประตูทุกห้องแม้แต่ชั้นล่างปิดสนิท ต้องเสี่ยงกระโดดเข้ากระแทกบานประตู หรือไม่ก็ต้องทุบกระจกแล้วโดดเข้าไป กระสุนเข้าร่างบางคนที่กำลังพยายามเปิดประตู เขาวิ่งชนจวนจะสำเร็จอยู่แล้ว แต่ไม่ทัน... ! เขาถูกยิงตายตรงนั้น เขากล้าหาญ เอาชีวิตของตนเข้าแลกเพื่อความปลอดภัยของเพื่อนๆ
มีคนพุ่งเข้าชนกระทั่งประตูพัง คนที่เหลือรีบวิ่งหลบกระสุนเข้าไป ยังมีอีกหลายร้อยคนวิ่งหลบกระสุนขึ้นไปหลบในห้องต่างๆ ทั้ง 4 ชั้น คนเต็มไปหมด ได้แต่หมอบ อุดหู และรอรับกระสุนที่ระดมยิงเข้ามา
ถามเพื่อนๆ ที่อยู่ตึกบัญชี ไม่มีสักคนที่คิดว่าจะรอดมาได้ เห็นคนถูกยิงหลายคน คนบนตึกที่ถูกยิงส่วนใหญ่แค่บาดเจ็บไม่ถึงตาย ไม่มีใครพูดอะไรกัน ได้แต่มองและคิด คิดถึงหนทางที่ก้าวเดินมา และถูกพิสูจน์แล้วอย่างชัดเจน คิดถึงชีวิต คิดถึงเพื่อน ทุกคนทั้งแค้นระคนเสียใจ บางคนตื่นตกใจด้วย เพราะชั่วชีวิตไม่เคยพบสงครามเช่นนั้นมาก่อนเลย หนุ่มสาวหลายคนร้องไห้อย่างไม่มีอาย ในภาวะเช่นนั้นผมไม่แปลกใจเลย
ร้องไปเถิด ร้องให้ดังๆ ถ้ามันจะแข่งกับเสียงปืน ให้คนข้างนอกได้ยินและรู้ว่าเราถูกยิง เราถูกฆ่าข้างเดียว
ล่วงถึง 7.00 น. เศษ ประยูร อัครบวร เจรจากับ พ.ต.อ.ประยูร โกมารกุล ณ นคร ขอให้ผู้หญิงและเด็กออกจากมธ. พ.ต.อ.ประยูรไม่ยอมแต่วิทยุไปสอบถามผู้ใหญ่ ทั้งๆ ที่ตนเป็นถึงรองผู้การนครบาลเหนือก็ตาม
ผู้คนพยายามหาทางออกในขณะนั้น จนในที่สุด ตร.กั้นไม่ไหว ผู้คนกระจายออกทางประตูท่าพระจันทร์นั่นเอง ซึ่งพอดียังไม่มีการยิงอย่างหนักนัก (ก่อนหน้าการเจรจามีการยิงเข้าไปเพื่อมิให้ใครออกได้ กระทั่งขอเจรจาจึงหยุดยิง) ผู้หญิงและเด็กถูกส่งออกไปเรื่อยๆ โดยไม่ฟังเสียงตำรวจอีกแล้ว จนตำรวจมีคำสั่งให้กระจายกันกวาดจับมาให้หมด จับมานอนคว่ำหน้าอยู่ที่พื้นถนนมหาราช ข้างวัดมหาธาตุ คนไหนเดินเลียบน้ำไปขึ้นฝั่งที่ท่าเรือ จะถูกตชด.คอยดักจับไปรวมกันที่วัดมหาธาตุเช่นกัน
7.30 น. โดยประมาณหรืออาจถึงเกือบ 8 น. เวลาที่ไม่แน่นอน เพราะจำไม่ได้หนึ่ง และเพราะวันนั้นไม่ค่อยมีใครดูเวลา บางคนพยายามวัดความรู้สึกว่านานเท่าไรก็ตอบไม่ได้ เพราะทุกคนรู้สึกเวลามันนานแสนนานเกินกว่าเป็นจริง
ตร.ทยอยเข้ามาข้างสนามบอลหน้าตึกนิติฯ แรกๆ ก็หมอบๆ คลานๆ เข้ามาอย่างช้ามาก หยุดสาดกระสุนใส่อมธ., วารสารฯ และบัญชีเป็นพักๆ เพื่อนๆ ที่อมธ. และสภา นศ.มธ. หลายคนที่มีหน้าที่ดูแลตึก เห็นไม่ไหวจึงเพิ่งถอยหนี ตร.คลานเข้ามาได้แค่ไม่กี่เมตร คงรู้ว่าไม่มีใครยิงตอบโต้ จึงเปลี่ยนเป็นลุกขึ้นนั่งยิงเป็นชุดๆ แล้วลุกเดินสัก 3-4 ก้าว แล้วนั่งลงยิงอีก ผมยังเห็น ตร. พวกนี้ทยอยเข้ามาเป็นแถวๆ เพื่อน ส.ส. ปี 1 มธ. คนหนึ่งถูกยิงใกล้ตาบาดเจ็บสาหัส เพื่อนๆ ต้องรีบพาหลบออกทางหลังตึก เพราะ ตร.คอยดักยิงหากวิ่งผ่านด้านหน้า
ตร.คนหนึ่งปาระเบิดใส่หน้าตึกอมธ. ทำให้ได้รับบาดเจ็บหลายคน รวมทั้งส.ส.ปี 1 มธ. อีกคนเป็นหญิงถูกสะเก็ดระเบิดเต็มร่าง อาการสาหัส ได้ข่าวว่าเธอทุกข์ทรมานอยู่นาน แต่ด้วยใจที่เข้มแข็งอดทน เธอต่อสู้ความเจ็บปวด ให้หมอเอาสะเก็ดออกทีละชิ้นจนหมดร่างและปลอดภัย
ตร. ยังคงเดินเข้ามาช้าๆ ทีละนิดแล้วนั่งยิง ไม่มีทีท่าว่าหลบกระสุนจากนศ.เลย เพราะ นศ.ไม่ได้ยิง ตึกบัญชียังคงเป็นเป้าใหญ่ที่ถูกระดมยิง อีกด้านหนึ่ง ผู้คนอาจถึงพันคนยังหาทางออกจากตึกวารสารฯ ไปสู่ที่ปลอดภัยไม่ได้สักที แต่ ตร.คงยังไม่กล้าพอจึงหยุดแค่ตึกนิติฯ ไม่กล้าเข้ามาเกินกว่านั้น
เวทีถูกระดมยิงด้วยปืนกลและระเบิดใกล้ๆ แต่ไม่มีใครอยู่แล้ว เสียงพูดยังดังจากตึกโดมหลังเวที ยังพูดอยู่อย่างเดิม ขอร้องให้ตำรวจหยุดยิงครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะเราไม่มีอาวุธ
ใครเล่าจะเห็นใจ พวกกระหายอำนาจที่ฆ่าคนอย่างเลือดเย็นเพื่อตัวเองได้เป็นใหญ่น่ะหรือจะเห็นใจ
8.00 น. คนที่อยู่ตึกวารสารฯ พยายามพังกำแพงตึกด้านข้างริมถนนต่อตึกโดมเพื่อหาทางออก เพราะด้านหน้ามีกระสุนผ่านตลอดเวลาจนผ่านไม่ได้ ด้านข้างเป็นกำแพงปูนแต่มีช่องเป็นไม้แข็งทำเป็นซี่ๆ ไว้ พวกเราใช้โต๊ะเก้าอี้ฟาดจนไม้หักทีละซี่ จนเป็นช่องกว้างพอลอดตัวมุดผ่านได้
ตึกโดมตรงข้ามกับตึกวารสารฯ เป็นประตูเหล็ก (ซิป) ล็อกกุญแจอยู่ พวกเราใช้โต๊ะเก้าอี้ฟาดกุญแจจนพัง แต่ยังเปิดไม่ได้ จึงใช้ท่อนไม้ท่อนเหล็กท่อน้ำทำเป็นชะแลงงัดจนประตูง้างเปิดออกเป็น ช่องกว้างพอคนลอดได้สบาย ดูเหลือเชื่อแต่ก็จริงไปแล้ว ต้องใช้เวลาตั้งแต่ 7.00 น.เศษ กระทั่ง 8.00 น. นี่เองจึงพอหาทางออกได้ และเป็นทางเดียวที่ผู้คนจากตึกวารสารฯ หลายร้อยคนและตึกอื่นๆ อีกหลายร้อย ได้ทยอยออกทางริมน้ำไปทางท่าพระจันทร์อีกที
ทางออกเปิดแล้ว ผู้คนวิ่งเข้าตึกโดมออก ทางหน้าต่าง ผ่านสนามหญ้าหน้าโดม แล้วลงน้ำ...
ไม่นานนัก มีกระสุนปืนจากพิพิธภัณฑ์หลังตึกเอ.ที. ยิงใส่ตรงถนนระหว่างตึกวารสารฯ กับตึกโดมซึ่งเป็นทางผ่าน หลายคนตกใจคิดว่าหมดทางแล้ว แต่ความจริงยังไม่ถูกระดมยิงหนักนัก และมีรถโฟล์กตู้อยู่ใกล้ๆ ชายหลายคนวิ่งเข้าหารถแล้วเข็นมากำบังกระสุน หยุดตรงกลางถนนพอดี ให้คนที่ออกจากตึกวารสารฯ วิ่งมาที่รถแล้วค่อยวิ่งเข้าตึกโดมออกมาทีละ 1-2 คน แม้จะช้า แต่เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
ตำรวจเดินมาถึงหน้าอมธ. แล้วกราดกระสุนใส่อมธ.
จากนั้น ตร. 2-3 คนกำลังจะวิ่งขึ้นไปบนตึก จารุพงษ์ ทองสินธุ์ กรรมการอมธ. และเป็นกรรมการบริหารศูนย์ฯ วิ่งสวนลงมา ชั่วพริบตาเดียวกระสุนกราดตัดเอวของเขาพอดี
คุณเคยเห็นภาพคนใส่เสื้อ (ชาวเล) สีดำ ถูกอันธพาลใช้ผ้าขาวม้ารัดคอแล้วลากผ่านกลางสนามไหม นั่นละ จารุพงษ์ ทองสินธุ์ เพื่อนที่ดีอีกคนหนึ่ง เขาเป็นคนร่าเริง ไม่ค่อยท้อแท้ ชอบพูดจาตลก
วันนั้นเขารับผิดชอบดูแลให้ทุกชีวิตออกจากตึกอมธ.ให้หมด กับคอยรับการติดต่อกลับมาจากทำเนียบของสุธรรมกับพวกที่ไปหานายกฯ เขาคอยอยู่และตรวจตราจนแน่ใจว่าไม่มีใครอีกแล้ว เขารอโทรศัพท์จนวินาทีสุดท้ายจึงรีบออกมา แต่เขาช้าเกินไป เขารับผิดชอบอย่างดีที่สุดแล้ว
เสียงคนพูดเงียบลงหลัง 8.00 น.
คนที่ตึกบัญชียังถูกระดมยิงจนหูอื้อ อยู่ข้างบนตึกไม่ปลอดภัย ยังมีคนบาดเจ็บอยู่เรื่อย และคงมีคนเสียชีวิตด้วย คนที่ตึกนี้ทยอยออกทางใด ก็ไม่ได้ เพราะถูกยิงสาดไล่จนแทบกระดิกไม่ได้
ผมจะเล่าถึงเพื่อนที่ออกจากมธ.ได้เสียก่อน
คนที่เดินเลียบริมน้ำมีนับร้อยๆ คน ส่วนใหญ่ไม่ได้มีทีท่าตกใจนัก ค่อยๆ ทยอยกันออกมา แรกๆ ยังขึ้นฝั่งที่ประตูริมน้ำตึกศิลปศาสตร์เพื่อออกทางประตูท่าพระจันทร์ บางคนวิ่งมาบนสนามหญ้าเลย แต่ต่อมาตร.ใช้ปืนยิงระเบิดยิงมาตกที่สนามหญ้าหน้าโดมหลายลูก บังคับให้คนต้องลงเดินในน้ำหมด มีผู้ได้รับบาดเจ็บที่นี่อีกหลายคน
กลุ่มสุดท้ายราว 20 คน จะวิ่งออกท่าพระจันทร์ ตร.กลับปิดประตูไม่ให้ออกและยิงใส่ทันที คนกลุ่มนี้ต้องวิ่งกลับมาที่ประตูริมน้ำหาทางออกอื่น พอกำลังจะลงน้ำ ตชด.โผล่บนท่าเรือแล้วสาดกระสุนใส่ ทั้งขู่ทั้งยิงจริง ต้องขอเจรจากันครู่หนึ่ง โดยยอมให้ตชด.จับไม่ขัดขืน
ผมออกจากมธ. กลุ่มนี้แหละครับ
ขึ้นจากน้ำที่ท่าเรือ ยังไม่ถูกจับทันทีเพราะชุลมุนอยู่ พวกเราจึงวิ่งผ่านซอยริมน้ำไปถึงศูนย์พระเครื่อง พบพวกเราอีกนับร้อยคนที่ยังไม่ถูกจับ แต่ไปไหนไม่ได้
ผมได้พักที่นี่ชั่วครู่ ทำให้คิดถึงเพื่อนที่ตึกบัญชีนับพันๆ ซึ่งหาทางออกไม่ได้ และผมต้องทิ้งเขาออกมาก่อน ผมร้องไห้ไม่อายใครเพราะกำลังรู้สึกว่าเราทอดทิ้งเพื่อนให้ตกอยู่ท่าม กลางกระสุน ไม่มีทางช่วยเขาได้เลย
จากนั้น พวกเราเริ่ม "เคาะประตู" ขอความช่วยเหลือ ประชาชนร้านค้าท่าพระจันทร์ให้ความช่วยเหลือมากอย่างสุดที่จะทดแทนบุญคุณได้ ช่วยกันรับพวกเราเข้าไปอาศัยมากบ้างน้อยบางรวมหลายร้อยคน บางคนได้เสื้อผ้า น้ำร้อน รองเท้า ผ้าห่ม บางคนได้อาหารมื้อแรก หลายคนไม่ถูกจับตลอดเหตุการณ์เพราะความช่วยเหลือนี้
ย้อนกลับมาที่ศูนย์พระเครื่อง 8.30 น. เศษ ตร.เรียงกำลังบุกเข้ามาทางประตูทางเข้าของศูนย์พระเครื่องและซอยริมน้ำ ยิงเข้ามาพร้อมกัน ผมกับอีกกว่า 50 คนยังไม่มีทางหนีจึงรีบกระโดลงน้ำเกือบ 20 คน อีกราว 10 กว่าคนไปลงเรือหางยาวขนาดเล็กลำเดียวที่เหลืออยู่ในบริเวณนั้นอีกราว 20 คน ผมไม่ทราบจนบัดนี้ว่าหลบหนีไปทางไหนหรือเป็นอะไรไปหรือเปล่า
พอผมลงน้ำเดินไปได้ 4-5 เมตร ระเบิดสังหาร 2 ลูกระเบิดตูมตรงท่าเรือพอดี
ผมเดินไปได้อีกนิดเดียว เป็นท่าน้ำของชาวบ้านแถวนั้น ตชด. 4 คน จ่อปืนลงมาชี้ จี้ให้ขึ้นไปมอบตัว คนหนึ่งถูกตอไม้เล็กๆ ที่มีปลายตะปูปักที่โคนขา ตชด.เร่งบังคับให้ขึ้นจากน้ำ ผมเห็นเขาพยายามเดินต่อแต่ไม่ไหว เขาขยับขาจะให้หลุดจากไม้ แต่กลายเป็นว่าไม้หลุดติดขาเขามาด้วย
เขาร้องอย่างเจ็บปวด หมดกำลังจะปีนขึ้นท่าน้ำแล้ว ตชด.คนหนึ่งขึ้นลำปืนเตรียมยิงทันที
พวกเราช่วยกันร้องลั่น "อย่า ! อย่า!" มีคนกล้าโดดลงน้ำไปช่วยพยุงเขาขึ้นมาอย่างทุลักทุเลที่สุด พวกเราใช้เท้าถีบไม้ชิ้นนั้นจนหลุดจากเขาแล้วพยุงหามกลับไปหมอบหน้าวัด
เรือหางยาวลำนั้นไปได้แค่กลางแม่น้ำก็ล่ม เพราะบรรทุกคนเกินอัตรา บวกกับไม่มีคนบังคับเรือเป็นด้วย บางคนว่ายน้ำไม่เป็น บางคนถูก ตร.จับขณะลอยคอ บางคนพยายามพยุงกันเข้าฝั่งแล้วถูกจับ คนที่ว่ายน้ำไม่เป็นจมหายไป...หลายคน
ตร.บุกเข้าค้นตามบ้านแถบท่าพระจันทร์ 5-6 หลัง กวาดต้อนคนไปนอนคว่ำหน้าที่ถนนข้างวัดอีก
ย้อนกลับมาใน มธ.
8.00 น.เศษนี้ มีคนวิ่งหนีออกทางหอฯ ใหญ่และหอฯ เล็ก ผมเห็นภาพความทารุณที่สุดนั้นแล้ว แต่ผมไม่ได้พบใครที่ประสบเหตุการณ์ที่นั่นเลย ผมจึงไม่ขอเล่าในส่วนที่คุณคงทราบดีกว่าผม โดยเฉพาะได้ข่าวว่าโทรทัศน์วันนั้น ถ่ายภาพเหตุการณ์หน้ามธ.ด้านสนามหลวงไว้ได้มาก
ทั้งภาพกระชากสายน้ำเกลือออกจากร่างคนเจ็บ ภาพเทเปลคนเจ็บลงกับพื้นแล้วรุมกระทืบ ภาพรุมตีประชาทัณฑ์ ยังมีการแขวนคอ กรีดคอจนเหวอะ แขวนคอแล้วเอาเก้าอี้ฟาด รุมตี ข่มขืนแล้วฆ่า จับลากไปเผาทั้งเป็น ฯลฯ
ผมเสียใจที่ไม่ทราบเหตุการณ์ทารุณที่สุดนอกมธ. เลย
ที่ตึกบัญชี หลังจากเสียงประกาศของพวกเราเงียบลงครู่ใหญ่ กลับมีเสียงประกาศผ่านลำโพงยอดโดมของมหาวิทยาลัยว่า
"ผมเป็นข้าราชการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอความกรุณาคุณตำรวจหยุดยิงนักศึกษา นักศึกษาไม่มีอาวุธ กรุณาหยุดยิงเถิดครับ"
สิ้นเสียงประกาศราว 10 ครั้ง ยอดโดมถูกระเบิด 2-3 ลูกซ้อน เสียงประกาศจึงเงียบตลอดไป
9.00 น.เศษ ตำรวจนำกำลังนับร้อยเข้าเคลียร์ทุกตึกทุกห้อง เสียงปืนดังจากตึกต่างๆ เป็นพักๆ
ที่ตึกบัญชี มันระดมยิงทั้งระเบิดและอาวุธปืนใส่อาคารจนสั่นสะเทือนไปหมด ผมถูกจับอยู่ท่าพระจันทร์ ได้ยินคำสั่งประกาศลั่นว่าให้ตำรวจเตรียมตัว จะยิงปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังเข้าใส่ตึกบัญชี พอยิงเข้าไปในสนามบอลซึ่งมีแต่ตำรวจ ก็สั่งยิงตอบโต้ ยิงกันเองไปมาโดยมีพวกเราในตึกเป็นเป้าอยู่ครู่ใหญ่
พวกเราเห็นจะทนไม่ได้ จึงใช้เสื้อขาวชูแล้วโบกให้ ตร.ในสนามบอลเห็น ตร.เพลาการยิงลงแล้ว สั่งให้ลงไปมอบตัวทีละชุดๆ ผู้ชายลงมาก่อนในชุดแรกๆ ผู้หญิงจึงค่อยๆ ตามลงมา และแยกไปรวมกันต่างหากอีกกลุ่ม
ระหว่างแต่ละชุดเดินลงทางบันได มันยังยิงขึ้นไปบนตึก การทยอยลงมาจากทุกชั้นจึงยิ่งลำบากมาก เพราะตึกบัญชีเป็นกระจกโปร่งทั้งนั้นและแตกละเอียดแทบหมดแล้ว แค่วิ่งผ่านระเบียงเพื่อจะลงไปบันไดมอบตัวก็ยังต้องผ่านวิถีกระสุน
คนที่ลงไปได้รับการต้อนรับด้วยพานท้ายปืนและท็อปบู๊ท ระหว่างนั้น ตร.สั่งให้ตชด.บุกขึ้นไปตรวจค้นตามห้อง และหยุดยิงจากในสนามเข้าไป ตชด.ใช้วิธีพังประตูเปิด แล้วกราดอาวุธสงครามเข้าไปก่อน จึงค่อยดูว่ามีคนไหม พวกเราหมอบราบกับพื้นห้อง กดตัวแนบพื้นสนิท เพราะกระสุนผ่านเหนือหัวไปราวกับจะฆ่าเสียให้หมด
เสียงปืน ตชด. ทำให้ข้างล่างนึกว่ามีการยิงต่อสู้ จึงยิงเข้าไปอีก ตชด.เข้าใจว่าพวกที่ถูกจับอยู่ข้างล่างยิงใส่ จึงกราดปืนลงไปถูกผู้ที่ถูกจับหมอบคว่ำหน้าอยู่เฉยๆ บาดเจ็บ กว่าจะรู้ว่ายิงกันเอง ผู้บาดเจ็บคือพวกเราอีก ประสิทธิ์ ตินารักษ์ เพื่อนที่เพิ่งออกจากคุกมาด้วยกันก็ถูกยิงตอนนี้ กระสุนยังฝังอยู่ที่ขาข้างซ้ายของเขาจนบัดนี้
ต้อนลงมาทีละชุด ชุดละไม่กี่คน ผู้หญิงถูกบังคับให้ถอดเสื้อออก อ้างว่าตรวจค้นอาวุธ แต่ความจริงเป็นความบ้าระห่ำ เพราะใจสกปรกสิ้นดีของพวกมันต่างหาก
คนที่ลงมาถูกเตะ ถีบ เหยียบ กระทืบให้ตอบคำถามตามใจมัน เสียงหัวเราะ คำเยาะเย้ยถากถาง และความกักขฬะ พวกเราได้รับทุกคนในเช้าวันนั้น
เวลาแค่นาทีเดียวรู้สึกยาวนานเหมือนวันหนึ่งเต็มๆ ช่างเนิ่นนานกว่าปกติหลายเท่า เพราะความรู้สึกอยากให้ผ่านช่วงหฤโหดที่สุดนี้เสียที
ปฏิบัติการค้น กราดทุกห้องเพื่อให้มอบตัวยังดำเนินต่อไป คนหนึ่งถูกถีบจนล้มคว่ำลงมาตามบันได มันตามมาถีบกลิ้งจากชั้น 3 จนถึงชั้นล่าง
สิ่งที่ทุกคนที่ตึกบัญชีเล่า คือ การฆ่าคนอย่างสนุกมือของ ตร. นศ.กลุ่มหนึ่งวิ่งลงมาตามคำสั่งของมันจนถึงชั้นล่าง โดยไม่มีสาเหตุอะไรมันยิงใส่ทันทีชุดหนึ่ง กระสุนถูกเพื่อน นศ.รามคำแหงล้มลงสิ้นชีวิต และบาดเจ็บอีกหลายคน มันยังยืนจ้องปืนเตรียมยิงต่อไป โดยไม่ได้รู้สึกนึกคิดสักนิดว่ามันได้ทำอะไรลงไป
นานทีเดียวกว่ามันจะจับกุมหมดทุกคน ตร.ผู้ใหญ่สั่งให้ผู้หญิงใส่เสื้อได้ตั้งแต่ยังจับไม่หมด เพราะมีช่างภาพเข้ามา มิใช่เพราะความกรุณาปรานีใดๆ แต่มันกลัวความหยาบช้าสกปรกของมันจะปรากฏไปทั่วโลกต่างหาก ถึงอย่างไรมันก็ปกปิดไม่ได้
ผู้หญิงถูกมันลวนลามรังแก แต่ยากที่จะเอาผิดกับใคร คนอื่นๆ ถูกบังคับให้คว่ำหน้าหมด หากเงยหน้าจะถูกฟาดด้วยพานท้ายปืนหรือไม่ก็ถูกเตะ
ครู่เดียวหลังการจับกุมหมด มีเสียงประกาศผ่านเครื่องขยายเสียง ตร.ว่า "ขณะนี้มีช่างภาพต่างประเทศเข้ามาแล้ว ขอให้หยุดกระทำการทารุณต่างๆ เสีย"
คุณคงเห็นสินะ พวกเขาเองก็ยอมรับว่าทารุณ แต่ก็ยังทำอยู่ กระทั่งเลิกเพราะกลัวความจริงจะเผยแพร่ไปทั่วโลก
ต่อมามีเสียงประกาศอีกว่า "ขณะนี้มีช่างภาพ น.ส.พ. จัตุรัสเข้ามา ขอให้เจ้าหน้าที่ยึดกล้องและฟิล์มไว้"
กระสือกลัวแสงสว่างฉันใด ความอำมหิต สกปรก เลวร้าย ทารุณย่อมกลัวความสัตย์จริง ความบริสุทธิ์ และความเป็นธรรมฉันนั้น
คนที่ถูกจับทั้งในและนอกมธ.ถูกต้อนลากขึ้นรถ ใช้เสียงตวาดและปืนขู่บังคับ ถ้าเดินช้าจะถูกกระทุ้งด้วยด้ามปืน เพื่อนๆ ที่นอกมธ.ทยอยขึ้นรถทีละ 10-20 คน ที่เหลือถูกปืนกราดเหนือหัวข่มขู่มิให้เงยหน้าขึ้นมาเด็ดขาด
คนไหนหลบเข้าวัด จะถูกกิตติวุฒโฑ พา ตร.ไปชี้ตัวแล้วลากออกมาจนได้
ในรถ...ผู้ชายต้องนั่งเบียดกันแน่นทั้งบนที่นั่งและบนพื้นรถ ต้องเอามือประสานกุมท้ายทอยและก้มไว้ ผู้หญิง ตร.จะให้นั่งท่าเดียวกันบนที่นั่ง หลายคนถูกบังคับให้นั่งใกล้ๆ ตำรวจ เพื่อมันจะได้ลวนลามอนาจารตามใจชอบ สกปรกหยาบช้าสิ้นดี
ตร.เดินเหยียบพวกที่นั่งอยู่กับพื้นไปมาหลายรอบ เดินไปด่าไป กระทืบไป บางทีขยับปืนดัง "แกร็ก! แกร็ก!" เพื่อข่มขู่ขวัญ
ตร. สั่งให้รถผ่านวัดพระแก้ว สนามหลวง ราชดำเนินและพระบรมรูปทรงม้า แล้วจึงตรงไปยัง ร.ร.ตำรวจนครบาลบางเขน
เส้นทางที่ว่านี้ มีพวกอันธพาลการเมืองที่ปฏิบัติการเย้ยกฎหมายลอยนวลอยู่ รถจะแล่นช้าๆ ให้พวกอันธพาลใช้อิฐ หินไม้ ทุบกระจก ทุบหน้าพวกเรา ทุบหัวพวกเรา หรือปาเข้ามา บางคันถึงกับจอดให้กรูกันขึ้นมาลงมือซ้อมพวกเราจนหนำใจ จึงค่อยปล่อยรถแล่นต่อไป
มีคนบาดเจ็บจากการกระทำนี้เต็มไปหมด ส่วนใหญ่จะหัวแตก บางคนถึงกับแขนหัก
ท่ามกลางเสียงหัวเราะชอบใจทั้งจากอันธพาลในเครื่องแบบบนรถและอันธพาลการ เมืองมือสวะนอกรถที่ดีแต่รังแกคนไม่มีทางสู้ แม้แต่คนบาดเจ็บมันก็ไม่เว้น...
เพื่อนที่บาดเจ็บเล่าให้ฟังว่า รถออกจากมธ. อ้อมสนามหลวงเพื่อจะข้ามสะพานพระปิ่นเกล้าฯ แต่พอผ่านถนนราชดำเนินหน้าแผงหนังสือที่มีการเผาคนทั้งเป็น เขารู้สึกคนเยอะเหลือเกินเข้ามากลุ้มรุมรถพยาบาลจนแทบขยับไม่ได้ เขาเกือบถูกนำตัวไปรุมซ้อม พวกมันทุบรถ พยายามเปิดประตู แต่คนขับมีมนุษยธรรมพอจึงพยายามชี้แจงและป้องกันผู้บาดเจ็บไว้
เสียงอันธพาลมือชั้นสวะตะโกนว่า "เอามันมาเผา"
เขาคิดว่าคงเป็นวาระสุดท้ายแล้ว แต่ในที่สุดก็ผ่านมาได้อย่างยากเย็น
ยังมีเหตุการณ์หลายแง่มุมที่ผมไม่ได้เห็นหรือได้พูดคุยกับใครไม่ได้ทราบ รายละเอียด เช่น เหตุการณ์เอาลิ่มตอกอก ข่มขืนผู้หญิง รุมตีแขวนคอ เผาทั้งเป็น ฯลฯ
แต่เพียงภาพคงทำให้เข้าใจชัดเจนโดยไม่ต้องอธิบายว่า วันที่ 6 ตุลานั้นเกิดอะไรขึ้น
ผมเขียนมามากแล้วสำหรับฉบับนี้ แต่ที่จริงยังไม่ได้เล่าถึงความทารุณนับแต่วินาทีแรกที่ก้าวลงจากรถสู่ประตู เรือนจำ ไปจนถึงเรื่องราวชีวิตของผู้บริสุทธิ์ที่ถูกจับกุมคุมขัง ไม่ว่าที่บางเขนหรือที่อื่น ต่างมีความคับแค้นใจมากมาย ที่ผมได้ยินได้ฟังมาเอง
ผมจะเขียนมาเล่าให้คุณทราบอีก แต่อาจจะไม่ละเอียดนัก เพราะเวลาและโอกาสของผม ตลอดจนต้องคำนึงถึงผลที่จะกลับไปกระทบเพื่อนๆ ที่ยังถูกคุมขังอยู่
เรือนจำทุกแห่งเหมือนวัวสันหลังหวะ ใครแตะถูกแผลเข้าจะเจ็บปวดร้องลั่น แต่แทนที่จะรักษา กลับเที่ยวไล่ขวิดทำร้ายคน ไม่มีผู้มีอำนาจคนไหนยอมรับความจริงหรอกว่า "คุกน่ะ ! มันเลวร้ายกาจมาก" ถ้าพูดมากไปแทนที่จะแก้ไขปรับปรุง จะกลับไปเล่นงานคนที่เขาคุมขังอยู่
จดหมายของผม คงทำให้คุณเห็นเหตุการณ์ชัดเจนขึ้น และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในโอกาสข้างหน้า เท่าที่จะสามารถทำได้ หากคุณยังอยากทราบอยากถามเรื่องเหตุการณ์รายละเอียดตอนไหน ถามมาได้ครับ ผมจะตอบในจม.ฉบับหน้าด้วย
ท้ายที่สุดนี้ หากจม.นี้มีคุณประโยชน์อะไรแก่คุณหรือต่อส่วนรวม ขอให้คุณค่านี้บังเกิดผลดีแก่การต่อสู้ของประชาชนที่รักชาติรักประชาธิปไตย และขอให้บังเกิดผลเป็นชัยชนะของเพื่อนรักทั้ง 19 คน โดยเร็วที่สุด
ขอบพระคุณในความห่วงใยของคุณ
เคารพรักและเชื่อมั่นในตัวคุณเสมอ
ชวลิต
*************************************************************
มันเหมือน "คนแก่" รำพึง แต่คนรำพึงก็แก่แล้วจริง
14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ให้บทเรียนมากมายกับสังคมที่ต้องการเรียนรู้ การเรียกร้องต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่ว่าในยุคสมัยใด เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่ต้องการสิทธิเสรีภาพของเราเอง ในฐานะมนุษย์ผู้เท่าเทียม เหมือนผู้คนของวันก่อนหน้านั้น วันนี้ และอนาคต มีผู้ได้ชมวิดีโอ 6 ตุลาคม 2519 แล้วแจ้งว่าได้เห็นข้าพเจ้าประมาณนาที่ที่สี่สิบหก จึง cap ภาพมาให้ ขอขอบคุณมากค่ะ ถ้ารำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 วันสังหารหมู่นักเรียน นิสิต นักศึกษาประชาชน ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แบบเร็วๆ
คืนวันที่ 5 ตุลาคม เราได้ยินข่าวว่าจะมีการบุกธรรมศาสตร์ คิดว่าคงอันตรายแต่เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ถูกสังหารหมู่ จึงนึกภาพอันตรายที่จะเกิดขึ้นไม่ชัดนัก แต่ความรู้สึกก็คงเหมือนประชาชนเสื้อแดงเสื้อเหลืองที่ชุมนุมกันอยู่ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้ หรือกลุ่มประชาชนอื่นๆ ที่มุ่งมั่นในการต่อสู้ นั่นคือความรู้สึกไม่กลัวตาย ไม่ได้นึกถึงความตาย ประมาณว่าตายเป็นตาย ไม่เสียใจถ้าตายเพราะได้ยืนหยัดทำในสิ่งที่เชื่อ คือต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย กลางดึก พ่อแม่พี่น้องของนิสิตนักศึกษาประชาชนหลายคนที่ฟังวิทยุยานเกราะ มาตามลูกหลานกลับบ้าน
แม่ของข้าพเจ้าก็มา แต่ตามกลับไปได้เฉพาะพี่สาว เพราะข้าพเจ้ามีงานบนเวทีที่ต้องขึ้นแสดงสลับกับการแสดงต่างๆ ของกลุ่มนักศึกษา ใกล้ๆ เช้า มีเสียงปืน มีคนวิ่งมาจากทางหน้าหอใหญ่ ส่งเสียงตะโกนว่า มันยิงเราแล้ว จากนั้นก็เป็นความชุลมุน เสียงสุดท้ายที่ข้าพเจ้าได้ยินต่อเนื่องคือเสียงของ ธงชัย วินิจจะกูล ซึ่งบัดนี้เป็น ศจ ดร ว่า ประมาณว่าอย่ายิงๆ เราไม่มีอาวุธ จากนั้น ก็มีความพยายามจัดการให้ผู้ชุมนุมหนีออกนอกมหาวิทยาลัย เสียงปืนเริ่มดัง มีใครสักคนล้มลงข้างๆ ข้าพเจ้าซึ่งเวลานั้นเป็นนักศึกษาปีสี่ จูงน้องนักศึกษาหญิงปีหนึ่งคนหนึ่ง ออกทางประตูท่าพระจันทร์ (พวกเราหนีออกไปก่อนเจ้าหน้าที่จะบุกเข้ามาและบังคับนักศึกษาหญิงให้ถอดเสื้อ นอนกลางสนาม) จะออกไปทางศิลปากร ระหว่างวิ่งๆ เดินๆ มีใครสักคนกวักมือเรียกเราเข้าไปหลบในบ้านเขา
แต่ในที่สุด เจ้าของบ้านก็เปิดประตูให้เจ้าหน้าที่เข้ามากวาดต้อนเราออกไป ให้ยืนหันหน้าเข้ากำแพงวัดมหาธาตุ ตอนแรกข้าพเจ้าคิดว่า เจ้าหน้าที่คงยิงเราทิ้ง จินตนาการวินาทีนั้นคือ พยายามเรียนรู้และทำความเข้าใจว่า ถ้ากระสุนวิ่งเข้ามาในร่างกาย น่าจะเกิดปฏิกิริยาอย่างไรกับร่างกายบ้าง แล้วก็พร้อมรับความตาย อุตส่าห์คิดได้ด้วยว่า ถ้าวิญญาณมีจริง จะไปบอกแม่พ่อและพี่น้องว่าอย่าเสียใจ ไม่ได้ทิ้งไปไหน แต่เดินทางเปลี่ยนภพไปก่อน แม่พ่อเลี้ยงลูกๆ มาดีมาก หนังสือต่างๆ ที่แม่และพ่อให้ลูกๆ อ่านตั้งแต่เล็กทำให้ลูกๆ รักความเป็นธรรม รักเสรีภาพ และตัวลูกชอบที่ลูกเป็นคนอย่างที่ลูกเป็น ^-^ แต่ไม่มีการยิงทิ้ง
และข้าพเจ้าก็ถูกกวาดต้อนขึ้นรถ ตามภาพที่ปรากฎในวิดีโอ เรื่องราวก็เป็นไปตามที่เป็นเช่นนั้น และเกือบสี่ทศวรรษผ่านไป เราหลายๆ คนในช่วงเวลานั้น ก็มาถึงจุดแม่น้ำแยกสาย กลุ่มหนึ่งประกาศว่ายืนหยัดอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย แต่อีกกลุ่มหนึ่ง (ในทัศนะของข้าพเจ้าซึ่งนับว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มแรก) เหมือนยืนหยัดสนใจแต่เรื่อง "คนดี คนเลว, ความดี ความเลว"
ดังนั้น ก็อาจเหมือนสนับสนุนฝ่ายรัฐประหารและอำนาจนอกระบบ มันเป็นเรื่องเศร้าในบางเวลาถ้าคิดว่าเพื่อนหลายคน "จริงจัง" กับการแยกสายมาก จนโกรธไม่เผาผีกับเพื่อนที่คิดต่างแม้จะรู้จักมักคุ้นกันมายาวนานกว่าสามสิบปี สำหรับข้าพเจ้า เพื่อนก็คือเพื่อน
และข้าพเจ้าเชื่อว่า หลังจากประชาชนด้วยกันฆ่ากันเองโดยไม่จำเป็นมาแล้วหลายรอบ สังคมไทยน่าจะกำลังก้าวไปถึงจุดที่เข้าใจว่า ประชาธิปไตยต้องมีความต่างและเคารพความต่าง ถกเถียงกันปะทะกันโดยวิธีที่ไม่ต้องฆ่ากัน
ดร.เสกสรร ประเสริฐกุล หอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ 13 10 2013
14 ตุลาคม 2516 คือชัยชนะของพลังจารีตนิยมไทย
************************************************************************
14 ตุลาคม 2557 ( เพิ่มเติม)
บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลา วันมหาวิปโยค ตอนหนึ่งของ คนเดือนตุลา คุณบวร ยสินทร ที่มีสถานะเป็นหนึ่งในแกนนำ มีประเด็นน่าสนใจ ว่าฝ่ายเผด็จการทหาร พ.อ. ณรงค์ กิติขจร จาบจ้วง อ้างพระราชดำรัส ของในหลวงที่ "เป็นเท็จ " ว่า" “จอมพลถนอมได้ขอบังคมลา ออกจากนายกฯแล้ว แต่พระเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงอนุญาต " เพื่อหลอกให้นักศึกษา ยอมสลายการชุมนุม ขออนุญาต นำมาเผยแพร่ ให้ชาวทวิภพ ได้ทราบความจริง
" ........ ในคืนวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๖ ราว ๑ – ๒ ทุ่ม ขบวนนิสิตนักศึกษา พักอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ผมอยู่บนรถบัญชาการศูนย์ฯ ที่มีเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ควบคุมอยู่ มวลชนนิสิตนักศึกษาต่างอ่อนล้า และบรรดากรรมการศูนย์ฯ ก็หายตัวจากบริเวณนั้น ได้มีคนมาแจ้งกับผมว่า พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ต้องการพบผู้นำนิสิตนักศึกษาเพื่อพูดคุยตกลงกัน เวลานั้น และที่นั้น มีเหลือแต่ นายราชันย์ วีระพันธ์ (นายกฯ รามคำแหง) กับผม ผมกับราชันย์ก็เดินไปกับเขา (มีคุณวิชัย ช่วยงานศูนย์จากรามคำแหงติดตามไปด้วยอีก ๑ คน) เราเดินไปยังรถจี๊ปทหารที่จอดอยู่ห่าง ๆ จากขบวน เล็กน้อย รถจิ๊ปนั้นได้พาเราไป บก.สวนรื่นฤดี ได้เข้าไปพูดคุยกับ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร โดยมี คุณพิชัย วาสนาส่ง และ โฆษกข่าว ททบ. ๕ ร่วมฟังอยู่ด้วย ผมจะถ่ายทอดการเจรจา “ในส่วนที่เป็นของผม” แบบหัว ๆ คำต่อคำดังนี้ครับ
พ.อ. ณรงค์ : “เรายอมปล่อยผู้ต้องหาทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไขแล้ว ทำไมยังไม่สลายการชุมนุมอีก”
บวร : “เวลานี้ ผู้ชุมนุมต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออกแล้ว ครับ”
พ.อ. ณรงค์ : “คุณพ่อได้ขอบังคมลาออกจากนายกฯแล้ว แต่พระเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงอนุญาต และรัฐบาลยังรับว่าจะให้มีรัฐธรรมนูญโดยเร็ว และจะให้ทำยังไง ”
บวร : “ฝูงชนไม่เชื่อใครทั้งนั้น คงเหลือแต่พระเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียว ถ้าทรงตรัสลงมา นิสิตนักศึกษาจะยุติทันที”
พิชัย : “ผมจะพาเข้าวังเพื่อขอพระสุรเสียงลงมาจะดีไหม “
บวร : “ผมว่าถ้าได้จริง ทุกอย่างจะคลี่คลาย ครับ”
หลังจากนั้น คุณพิชัย วาสนาส่ง ก็พาผมและ คุณราชันย์เข้าวัง ได้พบกับท่านผู้หญิงท่านหนึ่ง และได้ให้พวกเรานั่งรอ รออยู่ในราวเกือบ ๓๐ นาที ก็มาบอกว่า ให้เรากลับไปก่อน หากได้พระสุรเสียงแล้ว จะไปส่งให้ที่รถนำขบวน จากนั้น ทหารก็กลับมาส่งผมที่รถ ผมเล่าเรื่องให้เสกสรรค์ฟัง และขอให้จอดขบวนรอจนกว่าจะได้พระสุรเสียง
รอจนห้าทุ่มกว่า ก็ยังไม่มีวี่แวว เสกสรรค์และปรีชา (นักปราศรัยผู้ช่วยเสกสรรค์) เริ่มสงสัยว่าผมสร้างเรื่องหรือถูกหลอก ก็จะเคลื่อนขบวนลูกเดียว ผมจึงต่อรองครั้งสุดท้ายว่า ให้รอจนถึง ๒๔.๐๐ น.
จนเที่ยงคืน เมื่อไม่มีพระสุรเสียงมา (อาจไม่มีใครกล้าเข้าไปกราบบังคมทูลขอพระราชทาน )
และไม่ได้รับแจ้งข่าวจากทางใด เสกสรรค์จึงสั่งเคลื่อนขบวนมุ่งหน้าวังสวนจิตรเพื่อขอพึ่งพระบารมีตามแผนการณ์ที่วางไว้ .... จนเกิดเหตุการณ์ในเช้าตรู่วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ...
บวร ยสินทร (๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๗)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑๔ ตุลา ๒๕๑๖-๒๒ พฤษภา ๒๕๕๗ "ชัยชนะที่ถูกหักหลัง"
CR: แทน ราศนา
CR: แทน ราศนา
ผมนิยามชัยชนะในการต่อสู้ของประชาชนว่า เป็น"ชัยชนะที่ถูกหักหลัง" และใช้คำๆนี้กับเหตุการณ์วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ด้วยเช่นกัน ยืนยันว่าจะใช้คำๆนี้ต่อไปอีกนานเท่านาน ตราบจนประชาชนจะตกผลึกยอมรับพลังอำนาจของตนเอง สามารถแยกแยะระหว่างการนำและการหวังพึ่งแนวร่วมทางการเมืองกับบรรดานักการเมืองในระบอบสภาสามานย์แบบที่เป็นมาและกำลังจะเป็นไป
๑๔ ตุลาคม ประชาชนลุกขึ้นมาต่อสู้โค่นล้มเผด็จการทหารกลุ่ม"สามทรราช" จนเป็นผลสำเร็จ สูญเสียเลือดเนื้อไปไม่น้อย เรา-เรียกเป้าหมายการต่อสู้ครั้งนี้ว่า "เจตนารมณ์สิบสี่ตุลา" นั่นก็คือ เจตนารมณ์โค่นล้มเผด็จการ-สร้างสรรค์ประชาธิปไตย
หลังเหตุการณ์สิบสี่ตุลาคม เราได้ระบอบประชาธิปไตยได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหลังจากประเทศถูกครอบงำในระบอบเผด็จการทหารมานมนาน ใครๆก็ทราบกันดีว่าเราเรียกประชาธิปไตยในยคนั้นว่า "ประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ" (แต่บังเอิญเป็นครึ่งที่หายไป)
หลังจากยุค"ประชาธิปไตยครึ่งใบ"ผ่านเหตุการณ์สารพัดตั้งแต่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (ระหว่างวันที่ ๑๗-๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕) เหตุการณ์ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ เหตุการณ์าสุด ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ที่ประชาชนทั่วประเทศลุกขึ้นมาโค่นล้มระบอบทักษิณเพื่อการปฏิรูปประเทศ รวมๆแล้วประชาชนบาดเจ็บล้มตายไม่ต่ำกว่าหมื่นคน
จาก"ประชาธิปไตยครึ่งใบ" ประเทศไทยได้กลายเป็น"ประชาธิปไตยเต็มใบ"จริงๆเสียทีในยุคของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร แต่มันเป็น "ประชาธิปไตยของครอบครัวชินวัตร"เพียงครอบครัวเดียว มันเป็นระบอบเผด็จการรัฐสภาที่เลวพอกันหรือเลวร้ายกว่าเน่าเหม็นกว่าเผด็จการทหารเสียอีก
เป้าหมายของขบวนการประชาชนที่ต้องการโค่นระบอบทักษิณก็เพื่อจะล้างบางระบอบรัฐสภาทุนสามานย์ลงไปให้ได้เพื่อการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง แต่ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ยังไม่ทันที่ระบอบทักษิณจะพังทลายลง ชัยชนะประชาชนก็ถูกปล้นชิงโดยการส่งไม้ต่อด้วยการชงสถานการณ์ให้ตกไปอยู่ในมือของทหารโดย"มือที่มองไม่เห็น".. การปกครองของประเทศย้อนยุคตีกลับไปสามร้อยหกสิบองศา อำนาจตกไปอยู่มือคณะทหารที่มาฉีกรัฐธรรมนูญแล้วร่างธรรมนูญชั่วคราวจำกัดสิทธิประชาชนแบบเนียนๆโดยไม่ต้องเคลื่อนรถถังให้เปลืองน้ำมัน
หลัง ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ การปฏิรูปกลายเป็น"การปฏิรูปที่ถูกหักหลัง" ชัยชนะไม่ต้องกล่าวถึง เพราะถูกส่งมอบไปให้กับเผด็จการทหารที่ถูกยัดเยียดให้รับหน้าที่ต่อโดยอย่างมีวาระซ่อนเร้น ไม่ต่างอะไรกับหลัง ๑๔ ตุลาคม ผู้นำนักศึกษาจำนวนหนึ่งนั่นเองที่ได้ประโยชน์โภชน์ผล ผันตัวเองไปเป็นหัวขบวนของเผด็จการรัฐสภาอันสามานย์ ดำเนินการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเป็นมือที่มองไม่เห็น พิทักษ์รักษาระบอบเผด็จการสามานย์เสียเอง
ไม่ให้ผมใช้คำ"ชัยชนะที่ถูกหักหลัง"แล้วจะให้เรียกปรากฏการณ์ยาวนานมาสี่สิบปีที่ชัยชนะของประชาชนถูกปล้นชิงวนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่าแบบนี้ว่าอย่างไร ?
------------------------------------------------------------------------------------------------------
ไอ้ก้านยาวประพัฒน์ แซ่ฉั่ว ให้สัมภาษณ์ไทยรัฐเมื่อปี 2014 https://www.youtube.com/watch?v=Qi9OXHbd7fA
------------------------------------------------------------------------------------------------------
ไอ้ก้านยาวประพัฒน์ แซ่ฉั่ว ให้สัมภาษณ์ไทยรัฐเมื่อปี 2014 https://www.youtube.com/watch?v=Qi9OXHbd7fA
ล่าสุดฮือฮามาก..ปาฐกถาเขย่าโลกธาตุ..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ปาฐกถาหัวข้อ "การเมืองไทยกับสังคม 4.0" โดยเป็นส่วนหนึ่งของเสวนาวิชาการ Direk's Talk หัวข้อ "ทิศทางการเมืองโลก การเมืองไทย และนโยบายสาธารณะ" 19 มิถุนายน 2560 ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ https://www.youtube.com/watch?v=HMcdxrmaynw&t=261s
ลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลา 2516
14 ตุลาคม 1973
เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ บันทึกหน้าประวัติศาสตร์ไทย
.
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ถือเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย หลังจากคนหนุ่มสาวที่เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนนับแสน ได้ประท้วงเรียกร้องให้บุคคลสำคัญในรัฐบาล ‘สามทรราช’ ถนอม กิตติขจร, ประภาส จารุเสถียร และณรงค์ กิตติขจร ปล่อยนิสิต นักศึกษา อาจารย์ และนักการเมือง 13 คนที่ถูกจับกุมข้อหาเรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่กลับถูกปราบปรามอย่างรุนแรง จนมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน บาดเจ็บหลายร้อยคน และสูญหายอีกเป็นจำนวนมาก
.
ทั้งนี้ นับตั้งแต่ประเทศไทยเกิดรัฐประหารเมื่อปี 2501 ก็มีการปกครองในระบอบเผด็จการทหารเรื่อยมา หลังจาก จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรม จอมพล ถนอม กิตติขจร ก็สืบทอดอำนาจตั้งแต่ปี 2506 โดยในช่วงเวลานี้ไม่มีการเลือกตั้ง และประชาชนไม่มีเสรีภาพทางการเมือง ขณะเดียวกัน คนหนุ่มสาวในยุคนี้ก็เติบโตขึ้นมาในบรรยากาศการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเริ่มตั้งคำถามต่อการเมืองการปกครองของประเทศไทย โดยเฉพาะการสืบทอดอำนาจกันในหมู่ของคณาธิปไตย หรือคณะบุคคลจํานวนน้อยของสังคม เช่น กลุ่มทหาร
.
จุดเริ่มต้นการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ มาถึงเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2516 หลังจากกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่ประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ เช่น นักวิชาการ นักการเมือง นักคิด นักเขียน นิสิต นักศึกษา จำนวน 20 คน ได้เดินแจกใบปลิวและหนังสือ ซึ่งมีคำอ้างถึงใจความในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ที่ส่งถึงรัฐบาลเกี่ยวกับสาเหตุที่ทรงสละราชสมบัติ ใจความว่า
.
“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอํานาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอํานาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อํานาจนั้นโดยสิทธิ์ขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร”
.
หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ตํารวจนครบาลและสันติบาล ได้เข้าจับกุมสมาชิกกลุ่มจำนวน 11 คน พร้อมตั้งข้อหามั่วสุมชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน ก่อนจะมีการประกาศจับ ก้องเกียรติ คงคา นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และไขแสง สุกใส อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม โดยมีข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการแจกใบปลิว ทำให้มีผู้ถูกจับทั้งหมด 13 คน
.
เหตุการณ์เหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้นิสิต นักศึกษาและประชาชนจำนวนมาก จึงนำไปสู่การชุมนุมใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประกาศให้รัฐบาลปล่อยบุคคลทั้ง 13 คน ก่อนเที่ยงวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม อย่างไรก็ดี เมื่อถึงวันที่ 13 ตุลาคม ก็ยังไม่มีการตอบรับจากทางรัฐบาล จึงมีการเดินขบวนครั้งใหญ่ในวันเดียวกัน โดยมีจุดเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปตามถนนราชดำเนินและลานพระบรมรูปทรงม้า โดยมีแกนนำเป็นนักศึกษา และมีประชาชนจำนวนมากเข้าร่วมด้วย ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าน่าจะมากกว่า 4 แสนคน
.
การประท้วงในวันที่ 13 ตุลาคม มีการเตรียมการป้องกันรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และมีตัวแทนของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ เข้าพบกับจอมพล ประภาส จารุเสถียร กระทั่งช่วงหัวค่ำ วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประกาศว่า รัฐบาลยอมรับข้อเสนอของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ แล้ว โดยจะยอมปล่อยผู้ต้องหาและเตรียมประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ในปีต่อไป ทำให้ผู้ชุมนุมบางส่วนสลายตัว แต่บางส่วนปฏิเสธ ทำให้ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล หัวหน้าปฏิบัติการเดินขบวน สั่งเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมไปพระบรมมหาราชวัง เพื่อขอเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
.
ในวันที่ 14 ตุลาคม จึงเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น โดยตำรวจเริ่มต้นปราบปรามนักศึกษาอย่างรุนแรง ก่อนที่สถานการณ์จะเริ่มบานปลาย ฝั่งรัฐบาลมีการระดมรถถัง เฮลิคอปเตอร์ และทหารราบเพื่อช่วยตำรวจ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 77 คน บาดเจ็บ 857 คน และอาคารใกล้กับถนนราชดำเนินเสียหายหลายหลัง
.
เหตุการณ์ทั้งหมดนำมาสู่วันที่ 15 ตุลาคม ที่มีประกาศว่า จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ประภาส จารุเสถียร และพันเอก ณรงค์ กิตติขจร เดินทางออกนอกประเทศแล้ว เหตุการณ์จึงค่อยสงบลง
.
ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 ถูกเรียกว่า ‘วันมหาวิปโยค’ และมีการก่อสร้างอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ ขึ้นที่สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง จนแล้วเสร็จในปี 2541 รวมถึงมีการกำหนดให้วันที่ 14 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันประชาธิปไตย
.
ภาพ: หนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ 14 ตุลา
ขอบคุณที่อ่านจนจบ เราคือเพื่อนกัน
ตอบลบ