#ตาสว่าง ตอนที่ 1
ตอนนี้ขอจบเรื่องซีรี่ส์เรื่องการเมืองไทยกับสถาบันกษัตริย์ก่อน เขียนไปทั้งหมด 21 ตอนแล้ว และคิดว่าครอบคลุมเกือบทุกประเด็น เอาเป็นว่า ถ้ามีประเด็นเพิ่มเติมจะกลับมาเขียนใหม่ค่ะ
...วันนี้ขอเขียนอีกเรื่อง เป็นประสบการณ์ส่วนตัวที่อยากเอามาแชร์ ออกตัวก่อนว่านี่ไม่ใช่เป็นงานเขียนมหากาพย์อัตชีวประวัติตัวเอง แต่มันเป็นความพยายามเข้าใจว่า ทำไมตัวดิชั้นเองถึงตาสว่างก่อนใครๆ อะไรมันเป็นปัจจัยที่ทำให้ดิชั้นคิดต่างจากคนอื่นๆ ทั้งๆ ที่โตมาในสิ่งแวดล้อมของความเป็นสลิ่ม นี่คือเขียนไปด้วย ก็พยายามจะเข้าใจตัวเองมากขึ้นด้วย ในส่วนนี้ หากใครมีเรื่องราวของตัวเอง อาจจะเขียนในช่องคอมเม้นต์ หรือเขียนมาเป็นเรื่อง ก็จะอนุมัติโพสต์ให้ค่ะ ส่วนที่เป็นเรื่องส่วนตัวที่จะเล่านี้ จะขอเล่าข้ามๆ ไปบ้างนะคะ เพราะอยากจะโฟกัสเรื่องการเติบโตของดิชั้นและความเห็นต่อสถาบันกษัตริย์
...ดิชั้นมาจากครอบครัวไทย-จีนทั่วไป อาจบอกได้ว่าตัวเองเป็นชนชั้นกลาง มีพี่น้องเหมือนครอบครัวอื่นๆ พ่อเป็นฝั่งจีน แม่เป็นฝั่งไทย ดิชั้นเกิดและโตในกรุงเทพ กลางเมืองเลยค่ะ วนเวียนอยู่แถวสี่พระยา คลองสาน สาธร เจริญนคร แล้วก็โตอยู่ในบริเวณนี้ ไม่เคยได้ไปใช้ชีวิตอยู่ชานเมืองเลย ถูกเลี้ยงมาแบบแคทอลิก (อันนี้มันก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจ และอาจอธิบายได้ว่า ทำไมดิชั้นถึงไม่อินกับ “ความเป็นไทย” ตั้งแต่เด็ก เพราะดิชั้นไม่ได้ถูกสอนมาให้เป็นคนพุทธ) เพราะความที่เป็นคริสต์ จึงได้เรียนโรงเรียนเอกชนที่เป็นแคทอลิก-คริสเตียน จริงๆ ก็นับว่าโชคดีกว่าคนอื่นที่ได้เรียนโรงเรียนที่ค่อนข้างไฮโซ ซึ่งมันก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการสร้างมุมมองทางการเมืองแบบสลิ่มเหมือนกัน
...ที่บ้านมีโรงงานทำเสื้อผ้า คือโตมากับโรงงานนี่แหละ เราเป็นเจ้าของกิจการ จริงๆ มันก็ไม่ใหญ่มากนะ ขนาดปานกลางถึงเล็กด้วยซ้ำ ลืมตาดูโลกมาก็เห็นงานในโรงงานแล้ว งานของที่บ้านก็คือ รับออเดอร์บริษัทมา แล้วเค้าให้วัตถุดิบทั้งหมด เรามาผลิตตามที่เค้าสั่ง หรือใครจะเรียกง่ายๆ ว่าโรงงานผลิตเสื้อโหลก็ได้ แต่เอาจริงๆ มันก็ไม่โหลนะ เพราะเราเคยได้ออเดอร์จากยี่ห้อแบรน์เนมเหมือนกัน เอาเป็นว่า ที่ครอบครัวอยู่ได้ ที่สามารถส่งลูกเรียนโรงเรียนดีๆ เอกชนได้ ก็มาจากไอ้โรงงานเสื้อโหลนี่แหละ พอโตมาในโรงงาน ก็เลยมีความคุ้นเคยกับการทำเสื้อผ้า ก็เลยรักงานด้านนี้ ถ้าไม่ไปเรียนสายอื่น ก็คงได้เป็นเจ้าของโรงงานต่อ ผลิตเสื้อแข่งกับสิริวัณณวรีค่ะ
...แม้จะอยู่กินแบบสบายตามวิถีคนกรุงและชนชั้นกลางกรุงเทพ แต่ทุกอย่างมันก็ไม่ง่าย จำได้ว่า ครอบครัวพูดเสมอว่า เราต้องเหนื่อยเป็นสองเท่า เพื่อให้ได้เพียงเท่าเดียวของคนที่มีอภิสิทธิ์ในสังคม และคนพวกนี้ แม้วันหนึ่งเราจะมีเท่าเค้า เค้าก็ไม่ได้มองว่าเราเป็นพวกเดียวกับเค้า เข้าใจไหมคะ หรืองง 555
...เข้าไปอยู่ในโรงเรียนที่มีลูกคนรวยเยอะก็เป็นปัญหาอันหนึ่ง ปัญหาอันนั้นคือ เรามีไม่เท่าเค้า นี่มันไม่ใช่เรื่องการอิจฉาว่ามีไม่เท่าเค้า แล้วไม่ใช่เรื่องต้องมาภูมิใจว่าชั้นพอเพียง แต่ดิชั้นสังเกตมาตั้งแต่เด็ก และพยายามจะอธิบายว่า อะไรที่ทำให้เราทำแทบตายก็ไม่เท่าเค้า คำตอบที่ได้ต่อมาก็คือ ระบบอุปถัมภ์และการที่คนบางกลุ่มในสังคมมีพรีวิเลจ หรืออภิสิทธิ์ชนเท่านั้น ทีนี้ เงินมันอาจสร้างตัวตนได้ แต่ไอ้อภิสิทธิ์ที่มันติดมากับชาติกำเนิดนั่นเราไม่มีสิทธิได้
...ดังนั้นแม้แต่ในโรงเรียนเอกชน มันก็มีชนชั้น แต่นี่ก็ไม่อยากพูดไปถึงขนาดว่ามันเป็นชนชั้นมหภาคอะไรแบบนั้น คือไอ้พวกลูกคนรวยพรีวิเลจก็ยังคบกันนะ อย่างพี่เจอะไรนี่ แต่อย่างไรเสียมันก็ยังมีความเหลื่อมล้ำด้านอื่น ตั้งแต่รู้ว่าครูเกรงใจนักเรียนที่มีชาติกำเนิดดีกว่าที่ครูจะเกรงใจเรา อันนี้มันเห็นได้ชัด นี่มันเป็นอะไรที่ติดตัวมาตั้งแต่เล็ก จนเมื่อเริ่มโตอยู่ในช่วง ม ปลาย ก็เริ่มเข้าใจว่า ไอ้ระบบอุปถัมภ์ทั้งหมด มันที่สถาบันกษัตริย์ที่เป็นตัวหนุน แล้วถ้าคุณไม่สามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งตรงนั้น คุณจะไม่มีวันได้พรีวิเลจใดๆ ต่อให้คุณทำงานหนักให้ตายอย่างไร มันเหมือนเป็นลู่วิ่งที่คุณวิ่งได้แค่ลู่ที่เค้ากำหนด ต่อให้คุณวิ่งเก่ง วิ่งดี วิ่งเร็ว คุณไม่สามารถเปลี่ยนไปวิ่งลู่อื่นได้ค่ะ
...เดี๋ยวกลับมาเขียนต่อค่ะ
ปล: ดูออกเลยหรอคะว่าเป็นกะเทยยุวชน
=======================================================================
#ตาสว่าง ตอนที่ 2
นั่นอาจเป็นความรู้สึกว่าตัวเองตาสว่างก่อนคนอื่นๆ มันเป็นความรู้สึกว่า เราก้าวไปอยู่สังคมแบบนั้น แบบที่หากมองผิวเผินแล้ว คนเท่ากัน แต่ในความเป็นจริง มันไม่เท่ากันเลย เหมือนคนสอบได้เกรด A ที่มีตั้งแต่คนที่ได้คะแนนจาก 80 ไปถึง 100 เราอยู่ที่ 80 ได้ A เหมือนกัน แต่มันไม่เหมือนกับ A แบบ 100 ขอย้ำอีกทีว่า มันไม่ใช่เรื่องของความอิจฉา แต่มันเป็นสภาพเงื่อนไขทางสังคมที่เปิดโอกาสให้คนที่มีพริวิเลจจากชาติตระกูล ได้เกรด A โดยที่ไม่ต้องลงแรง ขณะที่ลูกเจ๊กอย่างดิชั้น ลงแรงแทบตาย แม้ได้เกรด A แต่เป็น A แค่ 80 ที่ไม่ใช่ 100
....ด้วยเหตุนั้น ดิชั้นจึงคิดเสมอว่า เมื่อเราเลือกเกิดไม่ได้ เราต้องสร้างความเท่าเทียมกับคนพวกนั้นด้วยความสามารถเป็นหลัก ฝรั่งอาจเรียกว่าเป็นระบบ meritocracy คือเอาความเก่งเข้าสู้ เพราะมันเป็นทรัพย์สินแบบเดียวที่เรามีอยู่ โชคดีที่ดิชั้นเรียนหนังสือใช้ได้ เก่งบางเรื่อง บางเรื่องก็ไม่ได้เหมือนกัน อย่างรู้ตัวเองว่า ไม่เก่งวิทยาศาสตร์/คณิคศาสตร์/เคมี/ฟิสิกซ์ ทำให้มันบีบให้เราต้องหันไปเรียนสายสังคมศาสตร์ แต่คิดว่าตอนนั้น หลายๆ คนคงเป็นเหมือนดิชั้น โชคดีที่ดิชั้นชอบเรียนภาษา เลยเลือกเรียนศิลป์ฝรั่งเศส และมันกลายมาเป็นวิชาหากินในช่วงแรกๆ ที่พาดิชั้นเข้าได้ทั้งจุฬาและกระทรวงการต่างประเทศ
...แต่ที่อาจไม่เหมือนกับเพื่อนคนอื่นๆ ในตอนนั้น และส่วนหนึ่งมาจากความต้องการดันตัวเองไปเท่ากับคนที่มันเหนือกว่าเราโดยอาศัยสติปัญญา นั่นคือการวางแผนชีวิตไว้ตั้งแต่ตอนเรียนมัธยม ไอ้ตอนเด็กๆ มีคนชอบถามว่าโตไปอยากเป็นอะไร นั่นมันแค่แฟนตาซี แต่ ณ จุดนั้น ดิชั้นคิดว่าดิชั้นรู้ว่าอยากเป็นอะไร ทั้งหมดมันมาจากการเลือกเรียนสายสังคมศาสตร์แต่แรก และภาษาต่างประเทศ เลยคิดว่า อาชีพนักการทูตน่าจะเหมาะ หรือนักข่าว หรืออะไรก็ตามที่ได้ใช้ทักษะภาษาเป็นหลัก
...ช่วงก่อนเอ็นทรานซ์ เป็นช่วงที่หงุดหงิดใจมาก เพราะรู้ตัวเองว่าเป็นคนชอบแข่งขัน และเราต้องสอบให้ได้เพราะไม่งั้นแผนที่วางไว้มันก็พังทั้งหมด ทีนี้ ไม่รู้ใครจำได้บ้างว่า ที่จุฬามันมีโครงการติวพิเศษสำหรับเด็กเอ็นทรานซ์สมัยนั้น เป็นโครงการที่ใครๆ ก็อยากเข้าไปเรียน จำได้ว่าเรียนฟรีมั้ง แต่ที่สำคัญ คุณต้องมีอาจารย์ในจุฬาเสนอชื่อเข้าไป โอ้โห อันนี้มันเป็นตัวทดสอบเลยว่า คอนเน็คชั่นแม่งสำคัญจริงๆ พ่อแม่คุณใหญ่แค่ไหน และใครที่คุณรู้จักในจุฬา หันมามองตัวเอง เป็นแค่ลูกเจ็กโรงงานเสื้อโหล ไม่รู้จักใครในนั้นจริงๆ แม้อยากเรียนใจแทบขาด แต่ก็เรียนไม่ได้ ต้องอาศัยขอชีทของเพื่อนที่ไปเรียนมาซีร๊อกซ์อ่านเองที่บ้าน โมโหก็โมโหกับไอ้ระบบที่แม่งไม่ยุติธรรมขนาดนี้ แต่มันก็ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้ต้องสอบเข้าให้ได้ เรื่องน่าขำคือ ไอ้เพื่อนที่ได้ไปติวในจุฬา กลับเอ็นไม่ติดเป็นส่วนใหญ่ ส่วนดิชั้น เดินเชิ่ดสวยๆ เป็นนิสิตสาวจามจุรีเฟรชชี่ สอบเข้าได้คณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นปีแรกที่คณะนี้แยกสอบตรงตามภาควิชา และภาค IR มีคะแนนสูงทีเดียวในปีนั้น
...อื้อหือ พอเข้าจุฬาปุ๊ป ไอ้ที่เราคิดว่าโรงเรียนมัธยมมันบ่มเพาะระบอบอุปถัมภ์ยึดโยงกับสถาบันกษัตริย์ ในรั้วมหาลัยมันยิ่งไปมากกว่านั้น ที่กำลังพูดถึงนี้มันคือบริบทของจุฬาเมื่อหลายสิบปีก่อน ไม่รู้ว่าตอนนี้เปลี่ยนไปแล้วหรือยัง ตอนนั้น การแบ่งชนชั้นมันมีค่อนข้างสูง ไอ้วัฒนธรรม “โต๊ะ” ต่างๆ เนี่ยมันเป็นดัชนีชี้วัดอันหนึ่ง โต๊ะไฮโซ ไม่ไฮโซ กลุ่มไหนคบใครไม่คบใคร จริงอยู่ ในฐานะนิสิตเหมือนกัน มันก็มีการคุยกันปกติ แต่จะบอกว่าถึงขั้นคบเป็นเพื่อนคงไม่มี จำได้ว่า เวลา 4 ปีผ่านไปเร็วมาก สองปีแรกพอเข้าได้แล้วก็หลงประเด็น คือได้ใช้ชีวิตนักศึกษาจากรั้วมหาลัยที่ดีที่สุด (ในสายตาหลายคนตอนนั้น) เลยกินเที่ยวจนการเรียนแย่ จนมาพลิกฟื้นเอาตอนขึ้นปี 3 แล้วเอาความตั้งใจเดิมกลับมาคือ ต้องยกสถานะของตัวเองให้ได้เท่ากับพวกอภิสิทธิ์ชน เพื่อเราจะสามารถยืนได้เท่ากับพวกมัน เป้าหมายปลายทางคือสอบเข้ากระทรวงการต่างประเทศค่ะ
ปล: เป็นรูปเดียวที่เหลืออยู่ในวัยที่ยังไม่เสียสาว
======================================================
การได้เข้าไปเรียนที่จุฬานี่มันเป็นความภูมิใจส่วนตัวมากกว่าการภูมิใจในสถาบันการศึกษานี้ ที่พูดนี่ไม่ได้ดูแคลนจุฬา เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น คงไม่สอบเข้าไปเรียน แต่เราภูมิใจกับตัวเราว่า ไอ้ที่เราพยายามอ่านหนังสือข้ามวันข้ามคืน ไปหาโรงเรียนกวดวิชา ไปเอาซีร็อกซ์เอกสารเรียนจากเพื่อนคนอื่นๆ ที่ได้เข้าไปเรียนใน สอจ เออ มันเป็นความสำเร็จของเราเองเลยนี่หว่า ดังนั้น ดิชั้นจึงแทบจะไม่อินกับเรื่องอื่นๆ ที่เน้นระเบียบหรือพิธีกรรมเลย ตั้งแต่ชุดนิสิตหรือการกราบพระบรมรูป ทำเพราะต้องทำ เลยคิดว่าตัวเองอาจไม่กล้าเท่าเนติวิทย์ด้วยซ้ำที่เสนอให้ยกเลิกพิธีกรรมเหล่านี้ ค่ายพัฒนาก็ไปบ้าง แต่รู้สึกว่า มันไม่ได้ไปเพื่อการพัฒนาจริงๆ เพียงแค่เอาของไปมอบ เป็นแค่ความช่วยเหลือแบบครั้งคราว หรือ piecemeal เอาจริงๆ ได้ไปเห็นความแร้นแค้นของครอบครัวอีเย็นแล้วรู้แล้วว่า ความเป็นอยู่ของเราโชคดีมากในกรุงเทพ เรามีโอกาสที่ดีกว่า
...พูดเรื่องโอกาส กล้าบอกได้เลยว่า นิสิตจุฬาส่วนใหญ่มีโอกาสทางการศึกษามากกว่าคนอื่นๆ คนพวกนี้มาจากชนชั้นกลาง-สูง ที่มีทั้งทุนทรัพย์และอิทธิพล มันเลยทำให้มีโอกาสมากกว่าคนอื่น ใช่ การศึกษาในไทยมันยังเป็นเรื่องโอกาส มันไม่ใช่เรื่องของความเท่าเทียม ซึ่งแท้ที่จริง มันควรต้องเป็นความเท่าเทียมมากกว่า ดิชั้นจึงคารวะนิสิตที่สอบเข้าได้ที่มีพื้นเพมาจากต่างจังหวัด ที่ไม่ได้อยู่ในโลกแห่งฟองสบู่ของชนชั้นกลาง เอาจริงๆ แล้ว คนพวกนี้เป็นคนที่น่าคบและมีมิตรภาพที่จริงใจกว่าเพื่อนที่มีสถานะในกรุงเทพพอๆ กับเราด้วยซ้ำ
...คนที่มีทุนทรัพย์และอิทธิพลเหล่านี้ เป็นฐานสำคัญของระบบอุปถัมภ์ ตอนเข้าปี 1 ดิชั้นก็จะมีเพื่อนที่มีมาจากหลายโรงเรียนไฮโซและโรงเรียนเจ้า อาทิ มาจากวชิราวุธแล้วมาต่อเตรียม โรงเรียนเอกชนเซ้นท์ทั้งหลาย หม่อมเจ้าหม่อมหลวงก็มาก ลูกนางสนองพระโอษฐ์ก็มี แม้แต่ชื่อเค้ายังเป็นชื่อพระราชทาน คือได้มีโอกาสไปสังสรรค์ที่บ้านคนเหล่านี้แล้วรู้เลยว่า เราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของคนเหล่านี้เลย ย้อนกลับไปตอนมัธยม มันเป็นความรู้สึกเดียวกัน ต่อให้ดันตัวเองแค่ไหน ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ ระบบชนชั้น/ศักดินามันเป็นเขื่อนกั้นให้คุณไปต่อจากนั้นไม่ได้ มันเป็นความโกรธ และยิ่งโกรธเมื่อรู้ว่า ต่อมาในชีวิต คนพวกนี้ยังได้ดีอย่างต่อเนื่องแม้ไม่มีความสามารถอะไร นั่นเป็นเพราะระบบอุปถัมภ์ที่ค้ำจุนคนพวกนี้ทุกอย่าง ไม่ต้องมองไปไกล มองไปแค่กรณีอยู่วิทยาก็พอ
....เลยได้แต่บอกว่าต้องตั้งใจเรียนเพื่อให้ได้เกียรตินิยม ตอนใกล้จะจบ เลยมีอาจารย์ทาบทามว่า สนใจทำงานนักข่าวไหม เออ มันเป็นอะไรที่เราเคยคิดเหมือนกัน แล้วอาจารย์ที่แนะนำบอกว่า ลองไปสมัครกับอาจารย์สมเกียรติ อ่อนวิมล ดูสิ (555) ดิชั้นก็ไปนะคะ สมเกียรติเคยเป็นอาจารย์สอนที่จุฬาก่อนที่จะลาออกไปทำงานโทรทัศน์ ก็เลยสนใจ จริงๆ อยากทำงานข่าวโทรทัศน์ แต่เมื่อตอนไปสมัคร มันมีเพียงตำแหน่งนักข่าวสายวิทยุของศูนย์ข่าวแปซิฟิก ก็เลยทำฆ่าเวลาไปก่อน ก่อนที่คิดว่าจะทำอะไรต่อไป คือตอนนั้นก็คิดถึงเรื่องอยากไปเรียนต่อเลย แต่คิดว่าลองหาประสบการณ์ทำงานก่อนก็ดี
...เข้าไปทำงานวันแรก (คือเรียนจบปุ๊ปก็ทำงานเลย ไม่ได้มีเวลาพักด้วยซ้ำ) ตอนนั้น เค้าส่งให้ไปรายงานข่าวที่รัฐสภา ทำได้สักพัก ก็ย้ายให้ไปประจำสายทำเนียบ หมายถึง การต้องตามการทำงานของรัฐบาล/นายกทุกวัน ตอนนั้นคือ ชวน หลีกภัย ก็ไปกินไปนอนตรงรังนกกระจอกในทำเนียบ ได้รู้จักนักข่าวรุ่นพี่หลายคน รวมถึงเจ๊ยุด้วย แล้วตอนนั้นอภิสิทธิ์ก็เพิ่งเริ่มเล่นการเมือง เอาจริงๆ ก็ได้รู้จักคนพวกนี้ตั้งแต่ตอนนั้น ม๊โอกาสไปบ้านแม่ถ้วนหลายครั้ง จะว่าสนุกมันก็สนุกนะ
...ประสบการณ์ตรงนี้ดีจังเลยอ่ะ เห็นการทำงานของรัฐบาล เห็นสันดานนักการเมือง เห็นบทบาทของนักข่าว นักข่าวนี่มันขึ้นกับจรรยาบรรณจริงๆ นะ จะเขียนข่าวยังไงก็ได้ โอเค ข้อเท็จจริงคือข้อเท็จจริง แต่ไอ้ที่เป็นความเห็นนี่มันขึ้นกับจรรยาบรรณล้วนๆ และยังได้เห็นการปฏิบัติของนักการเมืองต่อนักข่าว มีตั้งแต่ดูถูก ไปจนถึงเอาเราเป็นที่พึ่งขายข่าว ต้องนั่งรอข่าวริมถนน ต้องๆๆๆ อะไรอีกหลายอย่าง ฉายาของดิชั้นตอนนั้นคือ “น้องเชอร์รี่จากแปซิฟิก" คือรำคาญคนชอบถามชื่อเล่น โดยเฉพาะอีพี่นักข่าวผู้ชายที่ชอบมาก้อร่อก้อติกดิชั้น เลยบอกแม่งไปว่าชื่อเชอร์รี่ 5555 กลายเป็นฉายานักข่าวหญิงสาวสวยติดตัวดิชั้นตั้งแต่บัดนั้นมา
....ปล: รูปน้องเชอร์รี่ผอมโซ ไม่มีข้าวกิน เงินเดือน 7,000 บาท
======================================================================
#ตาสว่าง ตอน 4
ทำอาชีพนักข่าวฆ่าเวลามันเพิ่มความรู้และประสบการณ์ในการมองการเมืองได้จริงๆ ตอนที่ทำงานนี้อยู่ช่วงปี 1993 ประมาณมีนาคมถึงธันวาคมเท่านั้น ช่วงนั้นไม่มีการเมืองหวือหวาอะไรมาก แต่มันมีประเด็นเรื่องภาคใต้ที่น่าสนใจ และดิชั้นได้รับมอบหมายให้ไปทำข่าวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เอาจริงๆ ก็กลัวนะ จำได้ว่า เวลาไปทำข่าวตอนกลางคืน พี่คนขับรถให้เรานั่งหมอบหลังรถ เพราะเลี่ยงการถูกยิงเข้ามาในรถ อะไรแบบนั้น เราก็เริ่มเห็นว่า ไอ้การแก้ไขปัญหาภาคใต้ตอนนั้นมันใช้ทหารนำอย่างเดียว และมันมีความพยายามบังคับใช้อัตลักษณ์ไทยกับคนมุสลิมในเขตนั้น อย่างเคยไปสัมภาษณ์ครูปอเนาะ เค้าก็บ่นว่า ถูกรัฐไทยบังคับให้เด็กนักเรียนเป็นพุทธ หรือการเอาสัญลักษณ์อิสลามออกจากชุมชนอะไรแบบนั้น เอาจริงๆ เค้าถามดิชั้นว่าเป็นพุทธไหม พอบอกว่าเป็นคริสต์ เรารู้เลยว่า เค้าโล่งอกที่จะคุยกับเรา มันเป็นเครื่องชี้วัดถึงความตึงเครียดระหว่างคนสองศาสนาในชุมชนเดียวกันจริงๆ
....ทำได้สักพัก เริ่มจับทางการรายงานข่าวได้ เริ่มรู้ว่าเราจะรายงานข่าวแบบไหน บางทีอาจต้องหลีกเลี่ยงข่าวที่หลายสำนักรายงาน แต่ไปขุดข่าวอื่นที่คนอื่นยังไม่รู้ ทีนี้ ด้วยความเป็นคนตอแหลจ๊อแจ๊ะ และเป็นคนรายงานข่าวเร็ว คือข่าววิทยุมันรายงานทุกต้นชั่วโมง ถ้าเราได้ข่าว (พร้อมเสียง) มาตอนต้นชั่วโมง มันก็ง่าย เพราะเรามีเวลาโทรไปรายงายข่าวที่ออฟฟิซ (หมายถึงการรายงานข่าวด้วยเสียงเราเอง และตัดเสียงสัมภาษณ์ใส่ลงไปด้วย มันเป็นกรรมวิธีที่ใช้เวลาสักหน่อย แต่ถ้าชินแล้ว เทคเดียวก็ผ่าน และปกติข่าวพวกนี้ นาทีเดียวก็พอ) แต่คราวนี้ ถ้าเราได้ข่าวมาตอนปลายชั่วโมง นั่นก็จะเครียด เพราะถ้าเรารายงานข่าวนี้ภายในต้นชั่วโมงไม่ทัน มันต้องไปออกอากาศอีก 1 ชั่วโมงไปเลย จำได้ว่าตอนนั้น มีนักการเมืองหลายคนที่สนิทด้วย วันไหนเข้าเวรเสาร์หรืออาทิตย์ ไม่มีข่าว ก็จะโทรไปหานักการเมืองเหล่านั้นเพื่อขอข่าว คนที่สนิทที่สุดตอนนั้นคือคุณพินิจ จารุสมบัติ พอโทรไปรู้ว่าเป็นน้องเชอร์รี่ แปซิฟิก ก็ให้สัมภาษณ์ทันที 555
...งานสุดท้ายที่ได้ทำคือการไปรายงานข่าวการจัดการประชุมเอเปคที่เมืองซีแอ๊ตเติ้ล สหรัฐอเมริกา อันนี้มันยากมาก เพราะตอนนั้นภาษาอังกฤษเราก็ไม่ได้เก่งกล้า แต่มันต้องมีการรายงานที่ต้องแปลจากอังกฤษเป็นไทย เอาจริงๆ นี่มันตรงกับที่เราอยากทำมากนะ คือที่เรียนมา เรื่องทักษะภาษาและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ที่บอกว่าเป็นงานสุดท้ายก็คือ ตั้งแต่ช่วงกลางปีมา ดิชั้นทำเตรียมทำเรื่องเรียนต่อแล้ว และขณะที่เดียวกัน ก็เตรียมพร้อมสอบกระทรวงการต่างประเทศ เพราะคิดว่า แม้ชอบงานนักข่าว แต่ยังอยากลองงานกระทรวง และถ้าไม่ได้ ก็คิดว่าไปเรียนต่อต่างประเทศดูก่อน เลยสมัครไปเรียนและได้รับการตอบรับแล้ว ที่มหาวิทยาลัยปารีส 10 Nanterre ลืมบอกไปว่า ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสนี่แหละหากิน ตั้งแต่สอบเอ็นทรานซ์ และในที่สุดก็สอบเข้ากระทรวงการต่างประเทศด้วยภาษาฝรั่งเศส เอาเป็นว่า เมื่อสอบกระทรวงติดแล้ว ก็เลยลาออกจากการเป็นนักข่าว พับโครงการไปเรียนต่อ แล้วเข้ารับราชการทันทีในเดือนมกราคม 1994
....ตอนต่อไปจะมาเล่าว่า วิธีการคัดเลือกข้าราชกระทรวงการต่างประเทศมันโหดขนาดไหน และตอแหลขนาดไหนด้วย แต่ขอจบตอนนี้ด้วยเรื่องนี้.... ระหว่างที่ดิชั้นนั่งเครื่องบินไทยไปประชุมเอเปคที่ซีแอ๊ตเติ้ล เครื่องบินทั้งลำเต็มไปด้วยทีมงานจากไทย ทั้งจากนักข่าวและข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ เหตุการณ์นั้นนำพาให้ดิชั้นรู้จักอธิบดีกรมเอเชียตะวันออกของกระทรวง นั่นคือ ดอน ปรมัตถ์วินัย ตลอดการเดินทางและตอนที่อยู่สหรัฐ ดิชั้นได้มีโอกาสสนิทกับคุณดอนอย่างมาก เค้าเอ็นดูดิชั้น และชั้นคิดว่าเค้าเป็นผู้ใหญ่ใจดีที่น่าเคารพมากๆ คนหนึ่ง นี่คืดจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างดิชั้นกับคุณดอน ปรวัตถ์วินัยค่ะ
ปล: รูปช่วงเป็นนักข่าว ตอนนั้นยังแอ๊บบอยๆ ไม่มีคนรู้ว่าเป็นตุ๊ดเท่าไหร่ค่ะ
ในภาพอาจจะมี 1 คน
======================================================================
#ตาสว่าง ตอน 5
ระหว่างที่ใช้เวลาร่วมกัน คุณดอน ปรมัตถ์วินัยก็ถามว่าดิชั้นเรียนจบอะไรมา ทำไมมาเป็นนักข่าว บลา บลา บลา เค้าบอกด้วยว่า เค้าเป็นรุ่นพี่สิงห์ดำ เลยอาจจะมีความเอ็นดูดิชั้นเป็นพิเศษ เอาเป็นว่า จบทริปอเมริกา ทำให้ดิชั้นรู้จักดอน ปริมัตถ์วินัยไปโดยปริยาย ทีนี้ก็มาถึงตอนจะสอบกระทรวงการต่างประเทศ จะเล่าให้ฟังว่ามันประสาทแดกอย่างไร นี่คือแม่งยากกว่าประกวดนางงามจักรวาล
...กระทรวงการต่างประเทศเปิดสมัครทุกปี จะรับซี 3 และซี 4 คือปริญญาตรีและโทตามลำดับ นึกสภาพว่า ดิชั้นเพิ่งเรียนจบมาหมาดๆ เป็นบัณฑิตสาวพรหมจรรย์ ยังอ่อนต่อโลก ดิชั้นก็ต้องมีกลัวบ้าง ในปีนั้นถ้าจำได้ มีคนสมัครสอบทั้งหมดประมาณ 4,500 คน เค้าจะรับกี่คน เราไม่รู้ได้ จำได้ว่าสนามสอบคือโรงเรียนเตรียม ทั้งหมดมีการสอบ 3 รอบ เว่อร์ไหมค่ะ แต่รอบแรกนีคือสอบเปเปอร์อย่างเดียว อันนี้ยอมรับว่า ระบบกระทรวงมันก็มีความแฟร์อย่างหนึ่ง คือถ้ามึงเก่ง มึงเข้ามา แต่ก็อีกละ เรากลับไปดูเรื่องโอกาสการศึกษา แทบจะเป็นไปได้ลำบากที่ลูกอีเย็นจะก้าวมาถึงตรงนี้ได้ เพราะไอ้ความหินของการสอบตั้งแต่รอบแรก
...รอบแรกเป็นข้อสอบ มีทั้งหมด 3 เซ็ทในการสอบ คือสอบแม่งทั้งวันค่ะ ข้อสอบเซ็ทแรกเป็นปรนัต 100 ข้อ คือวัดความรู้ทั่วไป เป็นตัวเลือกให้เลือก ข้อสอบก็จะมีอย่างถามว่า เมืองหลวงของซูดานคืออะไร ประเทศอัฟกานิสถานปกครองด้วยระบอบอะไร สมาชิกองค์การสหประชาชาติมีกี่ประเทศ ก็ว่ากันไป คือถ้าใครเรียนรัดสาด อาจจะไม่ยากเท่าไหร่ แต่อย่างว่า หลังๆ เด็กอักษรและเด็กนิเทศก็สามารถทำข้อสอบได้ดีไม่แพ้เด็กรัดสาด
...ข้อสอบเซ็ทที่สองเป็นอัตนัย มี 4 ข้อย่อย ให้เขียนแสดงความเห็น ครอบคลุมทั้งหมด 4 หัวข้อ การเมืองระหว่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ อันนี้ถือว่ายากมาก คำถามในข้อกฏหมายระหว่างประเทศ อาทิ ถ้าเราจะต่อสู้คดีเขาพระวิหารที่ศาลโลก เราต้องเสนอข้อมูลและมุมมองอย่างไรโดยอ้างอิงหลักกฎหมายเขตแดน เป็นไงละคะ ยากฉิบหาย
...ข้อสอบเซ็ทสุดท้าย ข้อนี้มีความพิเศษคือ เป็นเรียงความ 2 เรื่อง ณ จุดนี้ ใครที่เลือกสอบภาษาต่างประเทศอื่นๆ ที่นอกไปจากอังกฤษ จะต้องเขียนเรียงความเป็นภาษาที่ตัวเองเลือก สมมติเลือกแค่อังกฤษอย่างเดียว ก็โอเค แต่ในกรณีของดิชั้นที่เลือกสอบด้วยภาษาฝรั่งเศส ก็ต้องเขียนเรื่องหนึ่งเป็นอังกฤษและอีกเรื่องเป็นฝรั่งเศส คุณสามารถเลือกตอบเป็นภาษาเยอรมันและอิตาเลียนได้ (สมัยนั้นยังไม่มีให้สอบภาษาจีนหรือญี่ปุ่นนะคะ) อันนี้จะว่าง่ายก็ง่าย เราตอนนั้นเราถนัดภาษาฝรั่งเศสมากกว่า
...เอาเป็นว่า จากหลายพันคน มีผู้สอบผ่านเพียง 80 คน นำไปสู่การสอบรอบที่ 2 ที่วังสราญรมย์ กระทรวงการต่างประเทศ แม่เจ้า รอบนี้มีความโหดมากกว่า เพราะเป็นการสัมภาษณ์ปากเปล่า รอบเดียว จำได้ว่าเมื่อถูกเรียกเข้าไปในห้องสอบ มีผู้ใหญ่กระทรวงนั่งอยู่ในห้องประมาณ 7-8 คน ล้วนแต่เป็นอธิบดีทั้งนั้น หนึ่งในนั้นมีคุณพ่อดอนของดิชั้นด้วยค่ะ ซึ่งเค้ายิ้มและขยิบตาให้ ว้ายยยย 5555 คำถามก็เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั่วไป จำได้ว่า โดนให้อธิบายความหมายของเอเปค มันคืออะไร สำคัญต่อไทยอย่างไร ถ้าเราได้เป็นผู้แทนไทยในการประชุม เราจะเรียกร้องอะไร โอ้ย ดิชั้นก็ฉอดๆๆๆ ในฐานะยุวชนกะเทย ขุดเอาความรู้ออกมาอวด 5555 ตอบไปทั้งหมด 10 นาทีได้ คำถามต่อไปสลบค่ะ เพราะถูกบอกให้พูดทั้งหมดใหม่แต่เป็นภาษาฝรั่งเศส หรือไงค่ะ 55555 คือตอนนั้นเหงื่อตกมาก แต่ในใจลึกๆ คิดว่าตัวเองทำได้ไม่เลว
.....ในการสอบรอบสองนี้เองที่เราเริ่มเห็นคู่แข่งของเรา บอกเลย แม่งมีความไฮโซทั้งสิ้น ลูกท่านหลายเธอ ลูกทูต ดูจากนามสกุลบนป้ายชื่อที่ติดบนหน้าอกก็รู้ว่าเป็นลูกหลานใคร ไม่นับว่า การแต่งตัว ท่าทาง มารยาท อีดอก เหมือนเดินออกมาจากนิตยสารสกุลไทย แม้เราคิดว่าเราทำได้ แต่มองไปดูคู่แข่งแล้ว ก็หนักใจเหมือนกัน
.....รอบสุดท้ายเลวร้ายสุด คือการไปสอบต่างจังหวัด เหมือนการเก็บตัวนางงามอย่างไงอย่างงั้น จาก 80 คน รอบนี้ถูกตัดเหลือ 60 คน เค้ายังไม่บอกอยู่ดีว่าจะเอาเหลือเท่าไหร่ จำได้ว่าเรานั่งรสบัสไปชะอำ (เลยทำให้รุ่นของดิชั้นที่กระทรวงมีชื่อเรียกว่ารุ่นชะอำ) ไปถึงปุ๊ป สอบทันที มีทั้งหมด 3 รอบในการสอบ รอบแรก ทุกคนจะถูกกักตัวไว้ในห้อง แล้วจะถูกเรียกออกไปทีละคน โดยไม่บอกว่าจะไปโดนอะไร ตอนนี้เครียดมากบอกเลย รอแล้วรออีก พอถึงตอนคิวของเรา ดิชั้นเดินออกไป มีเจ้าหน้าที่ ให้ดิชั้นล้วงหยิบฉลากในถุงผ้า หยิบขึ้นเป็นแผ่นกระดาษ ในนั้นมีหัวข้อที่เขียนว่า “ปัญหาโรคเอดส์” แล้วเค้าให้ดิชั้นอ่านบทความที่เป็นภาษาอังกฤษประมาณ 5 นาทีเรื่องโรคเอดส์ จากนั้น พาดิชั้นเข้าไปในห้องที่อธิบดี รองอธิบดี มากกว่า 10 คน นั่งเป็นผู้ชม รอบนี้คือการสอบ public speaking คือการพูดในที่สาธารณะ ให้ดิชั้นพูดถึงปัญหาโรคเอดส์ประมาณ 10 นาที จากนั้นก็เป็นคำถามที่เป็นภาษาอังกฤษจากคนที่อยู่ในห้อง คิดดูค่ะ เด็กเพิ่งจบปริญญาตรีจากมหาลัยกะลา แล้วต้องมาพบกับสถานการณ์แบบนี้ โอ้โห
...จากนั้น สอบรอบสอง เราถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 10 คน เป็นการโต้เวทีกับกลุ่มตรงข้าม โดยกรรมการจะกำหนดหัวข้อให้เราโต้วาทีกัน เป็นภาษาอังกฤษ ว้าย ดิชั้นฉอดๆ ค่ะ เหมือนตอนไปออกรายการสรยุทธอะค่ะ 5555 พ่อดอนมองมาที่ดิชั้นแล้วโปรยยิ้มให้ อร้ายยยย จากนั้น รอบสุดท้ายคือการแสดง นี่เป็นหัวใจอันหนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศ คือต้องเข้าสังคม ต้องรู้จัก entertain แขก กลุ่มเราจัดการร้องเพลงและเต้นระบำ 555 จำไม่ได้ว่าเพลงอะไร แต่ก็เป็นเพลงร่วมสมัยนะคะ ไม่ได้โบราณ หลังจากนั้น ก็เป็นอาหารมื้อสุดท้าย ที่เราถูกจับให้นั่งกับผู้ใหญ่ของกระทรวง ตอนนี้เค้าก็จะดูกิริยามารยาทการเข้าสังคม การกินอาหาร การหยิบช้อน อะไรก็แล้วแต่ เหมือนพรหมลิขิตอีกแล้วค่ะ ได้นั่งกับพ่อดอน หลังจากเม้ามอยส์ต่างๆ ดิชั้นได้กล่าวว่า ขอขอบคุณที่เอ็นดูดิชั้นตั้งแต่การพบกันที่อเมริกาครั้งที่แล้ว พ่อดอนตอบว่า “ไม่เป็นไรคุณปวิน คุณยังมีเวลาขอบคุณผมอีกมาก” ว้ายยย นี่หมายความว่าดิชั้นสอบผ่านแล้วหรอคะ?
ปล: รูปตอบเข้ากระทรวงปีแรกและไปเที่ยวอังกฤษในปีนั้น
ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยืน
======================================================================
#ตาสว่าง ตอน 6
สรุปว่า สอบเข้าได้จริงๆ ได้เป็นข้าราชการ กต ซี 3 มีคนที่สอบได้ทั้งหมดประมาณ 40 คน จาก 4,500 คน พอเข้ากระทรวงแล้ว กองการเจ้าหน้าที่ก็ถามว่า เราอยากไปทำงานกรมไหน เลือกได้ แต่จะได้หรือเปล่าไม่รู้ เรื่องจากตอนนั้นเพิ่งเป็นนักข่าว เลยอยากไปทำกรมสารนิเทศ เพราะเรารู้เรื่องการเขียนข่าวแล้ว และมีคอนเน็คชั่นกับนักข่าวพอควร ก็คิดว่าจะเป็นประโยชน์ได้ เอาจริงๆ ก็ไม่ได้ไปอยู่กรมนี้นะ ดิชั้นได้รับการทาบทามจากคุณดอน ที่ตอนนั้นเป็นอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก จะว่าเป็นกรมที่สำคัญที่สุดก็อาจจะพูดได้ เพราะมันเป็นกรมที่ต้องติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน กรมนี้แบ่งออกเป็น 4 กอง กองแรกคือพม่า ลาว เขมร เวียดนาม กองสองคือมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโด ฟิลิปปินส์ กองสามคือจีน ฮ่องกง ไต้หวัน และกองสี่คือ ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือและใต้
…ที่ไม่อยากไปอยู่ที่นั่นเพราะรู้ว่ามันต้องยุ่ง และคิดว่าคงมีแต่เสือสิงห์กระทิงแรด ไปอยู่กรมที่ไม่ต้องวุ่นวายมากดีกว่า เมื่อดอนเรียกไปพบ ก็แสดงความยินดีกับดิชั้น แล้วถามว่า อยากทำประเทศอะไรในกรมนี้ อีกหละ ด้วยความติดสบายนิดนึง และคิดว่ามันอาจไม่วุ่นวายเท่าไหร่ ดูแล้วเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เลยเลิกญี่ปุ่น (และไม่คิดว่าชีวิตต้องมาลงเอยที่ญี่ปุ่น) อธิบดีดอนก็ตามใจ ให้ดิชั้นเป็นเจ้าหน้าที๋โต๊ะญี่ปุ่นร่วมกับรุ่นพี่อีก 3 คน
…การไปทำงานแรกๆ เมื่อเข้าเป็นข้าราชการได้ รู้สึกโก้ ภูมิใจ รู้สึกว่า เอ๊ะ เราก็เก่งเหมือนกันนิหว่า 5555 แต่เอาจริงๆ มันเป็นกระทรวงที่มีระดับบังคับบัญชาสูงมาก แม่งเหมือนทหารกองร้อยนึงก็ว่าได้ คิดว่าโก้ได้เป็นนักการทูต แต่งานที่ทำมัน tedious มาก และมันก็ดูถูกสติปัญญาเหมือนกัน ผู้ใหญ่กระทรวงอาจจะดีเฟนด์ว่า เป็นการฝึกงานให้เราเก่ง แต่ดิชั้นยังมองว่าเป็นการเหยียดอยู่ดี กล่าวคืด งานหลักคือไปถ่ายเอกสาร พอให้ร่างจดหมายราชการ แม้เป็นเรื่องง่ายๆ ร่างสั้นๆ แต่หัวหน้าก็แก้จนหมด จนไม่เหลืออะไรที่เป็นของเรา เพื่อที่จะแสดงอำนาจมากกว่าสอนงาน นอกจากนี้ ยังมีรุ่นพี่ที่กองที่ตอนนี้ก็ลาออกมาเป็นอาจารย์ที่ธรรมศาสตร์แล้ว ก็มาใช้ให้เราพิมพ์เอกสารที่ตัวเองจะไปสอน เออว่ะ สอบเข้าไปเป็นนักการทูต กลับได้ไปทำงานเสมียน 5555
…..สังคมในกระทรวงมันก็มีการแบ่งตามชนชั้นวรรณะอยู่แล้ว เอาเป็นว่า ที่ทำงานตอนนั้นคือวังสราญ์รมย์ โก้แค่ไหน ได้ทำงานในรั้วในวัง ดิชั้นเข้าไป ก็เหมือนมหาลัย เราจะมีกลุ่มเฉพาะ แต่ไม่นาน เมื่อย้ายไปลงกรมกองต่างๆ เราก็ต้องไปสร้างเพื่อนใหม่ในกรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรุ่นพี่ เพราะเราเพิ่งเข้า เอาจริงๆ วรรณะตรงนี้มันไม่รุนแรงเท่าไหร่ และต้องยอมรับว่า แม้จะเป็นกระทรวงเจ้าขุนมูลนาย แต่ในหลายปีที่ผ่านมา ก็มีลูกชาวบ้านอย่างดิชั้นที่สอบได้ คือมันมีเส้นทางของความเก่งให้ลูกชาวบ้านเดินเหมือนกัน พูดง่ายๆ ถ้ามึงเก่ง ต่อให้มึงเป็นลูกเจ้าของโรงงานเสื้อโหล มึงก็ได้ดีได้ในกระทรวง
…แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา ปัญหาคือ อีพวกลูกท่านหลานเธอ พ่อเป็นทูตเก่า อีพวกไฮโซ ต่อให้ทำงานแย่แค่ไหน ผู้ใหญ่ก็เอ็นดู ไม่ดุมาก ไม่สั่งงานมาก ที่สำคัญแม่งโปรโมทขึ้นขั้นให้ด้วย แล้วกระทรวงต่างประเทศมันวัดกันเลยว่ามึงเจ๋งแค่ไหน โดยวัดจากประเทศที่เค้าจะส่งคุณออกไปประจำการ ดิชั้นถึงกร่นด่าอีทูตกะเทยหางแถวว่า เมืองอย่างบัวโนสไอเรส ถ้าคุณเป็นคนเก่งของกระทรวง เค้าไม่ส่งคุณไป เพราะเค้าวัดคุณภาพข้าราชการจากคุณภาพของเมืองที่ไปประจำการด้วย แน่นอน อีพวกเส้นใหญ่ ลูกท่านหลายเธอ มักจะได้ประเทศประจำการดี แม้คุณภาพตัวเองจะไม่ถึงก็ตาม เรื่องนี้ต่างหากที่ทำให้เรารู้อีกว่า ไอ้ที่เราทำงกๆๆๆ กี่เท่าต่อกี่เท่า มันไม่ได้เท่าคนที่แม่งไฮโซในกระทรวง ที่ไม่ต้องเหนื่อยเท่าไหร่ แต่ผลลัพท์ที่ได้คือเท่ากัน
…ดิชั้นเข้าทำงานได้ปีครึ่ง วันหนึ่ง คุณดอนก็เรียกไปพบ และถามว่า ทำงานเป็นเจ้าหน้าที๋โต๊ะญี่ปุ่นเป็นอย่างไรบ้าง ดิชั้นก็บอกว่าดีไม่มีปัญหาอะไร แล้วจู่ๆ เค้าก็ถามว่า เป็นเจ้าหน้าที่โต๊ะแล้วเคยไปดูงานที่ญี่ปุ่นหรือยัง ดิชั้นตอบว่ายัง… นั่นจึงเป็นที่มาที่ดิชั้นไปจบชีวิตที่ญี่ปุ่นเป็นเวลา 2 ปี เป็นช่วงเวลาที่ว่างเปล่า และก็เป็นจุดหักเหในชีวิตเหมือนกัน
…ดิชั้นสอบได้ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ด้วยการสนับสนุนของกระทรวงการต่างประเทศ ให้ไปศึกษาที่ GRIPS โตเกียว ดิชั้นเก็บประเป๋าเดินทางออกจากไทย เดือนตุลาคม ปี 1995 เป็นการจากไทยที่ยาวนาน และกว่าจะกลับอีกทีก็ปี 2002 และกลับมาอีกแค่ปีเดียวจากนั้นก็ไม่เคยอยู่ไทยอีกเลย
ปล: ความแรดเมื่อเป็นอิสระจากกระทรวง รูปนี้ปี 1996
ในภาพอาจจะมี 1 คน
======================================================================
#ตาสว่าง ตอนที่ 7
ช่วงเวลาที่อยู่กระทรวงก่อนเดินทางไปญี่ปุ่นนั้น มันผ่านไปเร็วมาก แม้จะเมีเพื่อนหลายคนที่คุยกันเข้าใจ แต่อย่างว่าไอ้ระบบสายบังคับบัญชามันก็มีอยู่มาก คือเราจะไม่กล้าที่จะเดินไปคุยกับรองปลัด หรือปลัดเลย แม้กระทรวงนี้จะเป็นกระทรวงที่เล็กก็ตาม แต่กับดอน อันนี้ต้องบอกว่า มีความสนิทสนมในจุดหนึ่ง ขอเล่าเรื่องดอนนิดหน่อย
…เค้าเป็นเจ้านายที่ใจดีนะ พูดตรงๆ และรักลูกน้อง เป็นคนที่ดิชั้นไม่คิดกลัวที่จะเข้าไปคุย หรือจะประหม่าอะไรก็ตาม ส่วนหนึ่งเพราะเค้าอาจจะเอ็นดูดิชั้น แต่เราเป็นข้าราชการระดับล่าง ไอ้ถึงขั้นที่เค้าไปคุยเรื่องงาน เรื่องการทูต บลา บลา บลา มันไม่มีหรอก เค้ายังมองว่าเราเป็นเด็กอยู่ดี ไปราชการต่างประเทศ เราก็เป็นเบ้ทุกคน ตั้งแต่เรื่องโลจิสติกส์ เรื่องการเขียนรายงาน เรื่องการดูแลความเรียบร้อบของคณะ อะไรแบบนั้น
….ดอนเป็นคนสุขภาพไม่ดีนะ ป่วยบ่อยๆ เคยมีตอนยืนคุยกันแล้วเค้าเป็นลมก็มี ไอ้ความป่วยบ่อย กระทรวงเลยส่งเค้าไปเป็นทูตที่กรุงเบิร์น สวิตเซอร์แลนด์จากนั้น จำได้ว่าเมื่อตอนดิชั้นไปเรียนที่อังกฤษแล้ว ดอนยังชวนดิชั้นไปแวะหาที่เบิร์น ซึ่งดิชั้นก็เดินทางไปหาจริงๆ (แต่ไม่ได้ไปพักในสถานทูตหรือทำเนียบทูตนะคะ เดี๋ยวจะหาว่าอมของหลวง) แต่นั่นเป็นการพบกันครั้งสุดท้าย
….ผ่านไปได้ปีกว่า ดิชั้นเก็บกระเป๋าเดินทางไปโตเกียว เป็นการเดินทางครั้งแรกไปญี่ปุ่น แม้จะทำงานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นมาปีกว่า แต่ไม่เคยได้เดินทางมาที่นี่เลย ถามว่าประทับใจญี่ปุ่นไหม ไม่ถึงขนาดนั้น คือไปลงเรียนปริญญาโทที่ GRIPS สาขานโยบายต่างประเทศ แต่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้อะไรเลย คือไม่ได้โทษมหาลัย แต่รู้สึกว่า ที่เราเรียนมาแล้ว และประสบการณ์ทำงานมาเกือบ 2 ปี มันเลยสิ่งที่มหาลัยสอนไปแล้ว โปรแกรมเป็นภาษาอังกฤษ แต่มันเป็นภาษาอังกฤษแบบญี่ปุ่นที่กระแทะกระแทะ ภาษาญี่ปุ่นก็ไม่ได้ เพราะเรียนด้วยภาษาอังกฤษ ความเป็นญี่ปุ่นสมัยนั้นก็ป่าเถื่อนนะ เรากำลังพูดถึงปี 1995-1997 ที่ญี่ปุ่นยังไม่เปิดเหมือนตอนนี้ ตอนนั้นยังแอนตี้ต่างชาติอยู่เลย จำได้ว่าแวะไปเที่ยวเล่นในชุมชนเกย์ที่ชินจูกุ ที่รู้จักกันว่ ni-chome คือเขต 2 ดิชั้นเข้าไปในหลายๆ บาร์ไม่ได้เพราะห้ามคนต่างชาติเข้า ติดป้ายหราว่า “Foreigners not Welcome” เลยรู้สึกว่าไม่ประทับใจ
…เอาจริงๆ มันเป็นสองปีที่ทรมานมาก ได้เข้าไปช่วยงานที่สถานทูต เค้าก็มองว่าเราเป็นเด็ก เป็นนักเรียน แม้จะเป็นนักการทูตแล้ว ก็ะเรียกให้เราไปช่วยงานแบบรับแขก ดูแลเรื่องอาหาร ดูแลงานเลี้ยง คือไอ้งานที่เป็นสาระไม่เคยได้ทำ เหมือนเรียกไปเป็นบริกรก็ว่าได้ สองปีนี้ผ่านไปแบบน่าเสียดาย ไม่ได้ผูกพันกับญี่ปุ่นเลย ภาษาญี่ปุ่นก็ไม่ได้ อังกฤษก็ไม่ดี แถมใกล้จบ ดันมาเกิดเหตุการณ์วิกฤตเศษฐกิจต้มยำกุ้ง คือปี 1997 พอรู้ว่าไอ้ที่เรียนมามันไม่ตอบสนองอะไรเลย เลยตัดสินใจขอกระทรวงไปเรียนโทซ้ำใหม่ที่ประเทศอังกฤษ ความโชคดีของดิชั้นที่ได้รับการตอบเข้าจากมหาวิทยาลัยที่นั่น (SOAS) และได้รับทุนการศึกษาที่มาจากเงินภาษีของคนอังกฤษนะคะ ดังนั้น อย่ามามโนหรือทวงคุณว่าดิชั้นได้ทุนหลวง จริงๆ ทุนหลวงเหมือนกันค่ะ แต่เป็นทุนของควีนเอลิซาเบ็ทค่ะ
…ออกจากญี่ปุ่นกันยายน 1997 ตรงไปลอนดอนเลย เริ่มเรียนตุลาคมปีนั้น เศรษฐกิจโลกพังยวบ ทุนที่ได้จากอังกฤษ ก็แค่พอเพียงเท่านั้น เอาไว้จ่ายค่าเทอม (สมัยนั้นคือ 8000 ปอนด์ต่อปี) และก็มีเงินเหลือบ้างไว้เป็นค่ากิน ค่าเสื้อผ้า ค่าอุปกรณ์การเรียน ตอนนั้นเงินบาทลอยตัวเหมือนฟองสบู่จริงๆ จากเดิมที่ 1 ปอนด์เท่ากับ 40 บาท ช่วงที่เลวร้ายสุดคือ กุมภาพันธ์ 1998 ที่มันพุ่งไปถึง 92 บาท ดิชั้นจะใช้แต่ละปอนด์ต้องคิดแล้วคิดอีก โชคดีได้ทุน และมีผัวผู้ดีอังกฤษที่สนับสนุนเรื่องที่พัก ดิชั้นได้อยู่ในอพารต์เม้นต์เรียกว่าเกือบจะอยู่ใจกลางลอนดอน สะดวกสบายมากตลอดที่อยู่อังกฤษ 5 ปี
….อาการตาสว่างมันมาเกิดมาที่สุดที่นี่ ด้วยสองสาเหตุ สาเหตุแรกมาจากการเล่าเรียนที่นี่ คือที่ผ่านมา ญี่ปุ่นไม่ได้ให้อะไรกับเราใหม่เลย พอมาที่นี่ ต้องปรับตัวมาก ทั้งเรื่องภาษา เรื่องการเข้าชั้นเรียนแบบผู้ใหญ่ที่ไม่เหมือนที่เราผ่านมาที่จุฬา ที่นักศึกษามันห้ำหั่นกันด้วยความรู้ ช่วงเดือนแรกๆ แย่มาก เพราะต้องปรับตัวหลายอย่าง ไอ้การเรียนแบบ critical thinking ก็มาได้ที่นี้ อย่าหวังว่าครูจะยัดอะไรใส่ปากให้เรา มันเลยเกิด culture shock ในจุดนึง อย่าลืมว่าตอนนั้นไม่มีโซเชี่ยลมีเดีย ที่ทำให้เด็กกล้ามากขึ้น คุณขา สมัยนั้นเพิ่งมี Hotmail แล้วอินเตอร์เน็ตก็ยังเห่ยมาก ไม่มี Grindr ให้หาผู้ชาย ยังต้องไปอ่อยที่บาร์กันอยู่เลยค่ะ
…เรียนไปสักพัก เริ่มสงสัยว่า เอ๊ะ อีดอก ที่เราเรียนมาจากกะลามันไม่ใช่อย่างนี้นี่หว่า ไม่เราผิด มันก็ผิด แต่ก็มารู้ต่อมาว่า กูผิดเอง ระบบการศึกษาของเราที่ผิดเอง โอ้โห มันไม่ใช่แค่องค์ความรู้ที่ผิด มันผิดไปถึงกระบวนความคิด การตีตวาม การวิเคาะห์ ฉิบหาย เราถูกหลอกหรือเนี่ย ไม่ใช่แค่นั้น จำได้ว่า การเขียนรายงานฉบับแรกๆ ส่งครู คือแบบ โดยครูฝรั่งด่ากลับว่า นี่ไม่ใช่บทความทางวิชาการ แต่เป็นสุนทรพจน์ของนักการเมือง 5555 อีห่า ก็ต้องปรับตัวมากเลยทีเดียว ที่เราเคยเรียนเรื่องเจ้าที่ไทย เรื่องกำเนิดประเทศ เรื่องการสร้างชาติ เรื่องคณะราษฎร มันไม่ใช่เลย มันผิดไปหมด กลายเป็นว่า เรามาเอาความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับไทยจากที่อังกฤษ เศร้าแค่ไหน
…หนังสือที่เบิกเนตรตอนนั้นคือ Siam Mapped ของ อ ธงขัย ที่เพิ่งออกไม่นาน (ออกปี 1994 ดิชั้นได้อ่านปี 1997) อ่านแล้วช้อค ตายแร้ว ทำไมดิชั้นพลาดอย่างนี้ เมื่อก่อนแม้เราจะคิดต่างจากคนอื่น เรายังมีความเป็นยุวชนกะเทยรักชาติ เหมือนน้องไนท์ ที่บอกว่า ไทยมีทะเลสวย ทรายขาว ส้มตำอร่อย 55555 ธงชัยฟาดสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดว่าเป็นมายาคติ นั่นคือจุดเริ่มของอาการตาสว่าง แล้วถามตัวเองว่า ไอ้ความไม่เท่าเทียมกันที่ผ่านมาตลอดนั้น วันนี้ยืนยันได้แน่แท้ว่า มันมีต้นตอมาจากสถาบันกษัตริย์ทั้งหมด
…ตาสว่างอีกสาเหตุหนึ่งมาจากไหน? มาจากร้านอาหารไทยค่ะ พอขึ้นเรียนปริญญาเอก ไม่ต้องเข้า coursework แล้ว และพอมีเวลาว่าง เลยไปทำงานเป็นบริกรหญิงที่ร้านอาหารไทยแห่งหนึ่งในย่าน Ealing ของลอนดอน เพื่อเอาเงินมาเป็นค่าขนม ทำแค่ 2 วันค่ะ แต่ทั้งรอบเช้าและค่ำ คือทุกศุกร์และเสาร์ ที่นั่นคือแหล่งความรู้เรื่องตาสว่าง เพราะได้พบคนไทยหลายจำพวก ล่างสุดถึงสูงสุด มันส์ฉิบหาย ตอนต่อไปจะมาเล่าชีวิตสาวเสิร์ฟของดิชั้นตลอดเวลาที่อยู่ที่ลอนดอน บอกเลย ถูกลูกค้าลวนลามเยอะมาก
….รูปนี้ตอนเป็นตุ๊ดเบญจเพศที่ลอนดอนค่ะ
ในภาพอาจจะมี 1 คน, สะพาน, รองเท้า, ท้องฟ้า, เมฆ, สถานที่กลางแจ้ง และน้ำ
======================================================================
#ตาสว่าง ตอน 8
เมื่อไปถึงลอนดอน และเริ่มเรียนอย่างแท้จริง ผ่านวิธีการเรียนการสอนแบบใหม่ วิธีการโต้เถียงในชั้น การต้องอ่านหนังสือในเชิงวิเคราะห์ เมื่อนั้น มันมีข้อมูลที่ไหลพร่างพรูมามาก จนเราไม่คิดว่า อะไรเราจะโง่ขนาดนั้น ทำไมตอนอยู่เมืองไทยเราไม่เห็นอะไรแบบนี้ อย่าลืมว่า ยุคนั้นยังไม่มีโซเชียลมีเดีย หรือแม้แต่อินเตอร์เน็ต รุ่นดิชั้นนี่คือถูกครอบอยู่ใต้กะลาอย่างแท้จริง พออ่านมาก ก็รู้ว่าเราถูกหลอกมาก แม้แต่อาจารย์ที่ปรึกษายังงงว่า ทำไมดิชั้นถูกหลอกมากขนาดนั้น คือไอ้ที่เราคิดว่า สังคมมันมีชนชั้น มันมีอภิสิทธิ์ ใครเข้าถึงสถาบันกษัตริย์ได้ คือได้ประโยชน์ อันนั้นรู้อยู่แล้ว แต่อาการตาสว่างในต่างประเทศมันคือการได้ข้อมูลมาสนับสนุนความเชื่อของเราเหล่านั้นได้อย่างสมบูรณ์
….พอขึ้นเรียนปริญญาเอก ก็ได้มีเวลาว่างเป็นของตัวเองบ้าง ช่วงนี้เลยเจียดเวลาไปทำงานร้านอาหารไทย คืออยากได้รายได้เพิ่ม เอาไว้เป็นค่าใช้จ่ายจิปาถะ อาทิ ซื้อเสื้อผ้า ซื้อซีดีเพลง ไปเที่ยวในยุโรป เพราะเงินทุนที่ได้มันไม่ได้มาก ส่วนงานอะไรนั้น ตอนแรกก็คิดว่าไปทำงานในห้องสมุด แต่ดีมานด์มันมากกว่าซัพพลาย โอกาสได้งานน้อยมาก พอดีได้รู้จักกันน้องคนไทยคนหนึ่งที่เค้าทำร้านอาหารไทยอยู่ Richmond ทางตะวันตกของลอนดอน เค้าชักชวนให้ไปทำ ก็ไปทำได้สักพัก คือ Richmond มันเป็นย่านไฮโซ ขอแพง อาหารแพง แต่ลูกค้าก็ดี มีเกรด ไม่เสิ่นเจิ้น แต่ไอ้ที่เสิ่นเจิ้นจริงๆ คือเจ้าของร้านที่เป็นผู้ชายไทย มีเมียเป็นฟิลิปปินส์ แม่ของเจ้าของร้านเป็นป้าอ้วนๆ ร้ายฉิบหาย ด่าลูกน้องกราด คือตอนไปลอนดอน ดิชั้นก็ยังด่าใครไม่เป็น พอไปทำงานร้านนี้ เจออีป้าอ้วนด่า เลยติดสันดานด่ามา กลายเป็นดิชั้นเป็นคนปากจัดไปเลย ฮาฮา ไอ้ที่ว่าแย่คือ นี่มัน typical คนไทยจริงๆ คือร้านเลิกงาน ก็ชวนลูกน้องไปเล่นคาซิโน บางคนทำงานทั้งอาทิตย์แทบตาย เล่นพนันหมดเลยคืนเดียว มีเจ้าของร้านที่ส่งเสริมลูกน้องแบบนี้ ไม่ไหว ดิชั้นทำได้สักพักก็ออก เพราะทนกับไอ้ทัศนคติแบบนี้ไม่ได้จริงๆ
…ย้ายไปทำร้านที่สอง คนละมุมมองเมือง แต่ไม่ไกลจากบ้านมาก เผอิญนั่งรถเมล์ผ่าน เห็นร้านเปิดใหม่ที่กำลังรับพนักงาน เลยเดินเข้าไปสมัคร ด้วยความที่ดิชั้นหน้าตาสวย จิ้มลิ้ม เค้าเลยรับทันที เริ่มงานในไม่อีกกี่วัน เพราะร้านเพิ่งเปิดใหม่ ร้านนี้อยู่ในดงแขก ใครอยู่ลอนดอนจะรู้ว่า Ealing เป็นอย่างไร ดังนั้น ลูกค้าจะเป็นอีกแบบ ไม่แกรนด์เหมือนที่เก่า ราคาอาหารก็ปานกลาง ไม่สูง คือร้านไม่ไฮโซว่างั้น แต่เผอิญเจ้าของร้านมีเทสดี เลยแต่งร้านสวย ดูดี
…เพราะร้านเพิ่งเปิด ดิชั้นเลยกลายเป็นรุ่นบุกเบิกของร้าน ดิชั้นเริ่มทำร้านนี้วันฮัลโลวีนปี 1998 แล้วดิชั้นไม่เคยเปลี่ยนร้านเลยจนกระทั่งการทำงานวันสุดท้ายและการอยู่วันสุดท้ายที่ลอนดอนในปี 2002 คือ 4 ปีเต็ม ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้จัดการร้านคู่ไปกับผู้จัดการอีกคนที่เค้าทำฟูลไทม์ การมาทำที่นี่มันสนุก แล้วมันได้เรียนรู้อะไรมากๆๆๆ
….ทำมา 4 ปี ผ่านลูกน้องมาหลายรูปแบบ ตั้งแต่ลูกคุณหนูมาเรียนอังกฤษ แล้วอยากหารายได้เพิ่ม เลยมาเป็นสาวเสริฟ์ บางคนทำงานเต็มที่เพื่อให้คุ้มค่าจ้าง บางคนเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ มีลูกคุณหนู แล้วก็มีลูกอีเย็นที่ผ่าฟันอุปสรรคมาอยู่ถึงอังกฤษได้ พวกนี้ก็แบ่งเป็นคนที่ตั้งใจทำงานเหมือนกัน เพราะแบ็คกราวน์ก็เป็นคนสู้งานมาก่อน กับอีกพวกที่ขี้เกียจไปเลย เพราะรู้มาก เพราะความเป็นลูกอีเย็น แล้วต้องการกบฏต่อระเบียบและกฎ พวกนี้ก็จะดื้อด้านหน่อยๆ ก็มี รวมไปถึงพวกที่อยู่อย่างผิดกฏหมาย คือที่อังกฤษเค้าไม่ใช่คำว่าโรบินฮู้ดนะ เค้าเรียกพวกผี คำว่าผี มันมีคำแสลงที่เป็นคำตรงข้าม นั่นคือคำว่าโฮม ที่มาจาก Home Office ถ้าแปลก็เหมือนกระทรวงมหาดไทย แต่เจาะลงไปคือหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการหลบนี้การอาศัยอยู่และทำงานอย่างผิดกฏหมาย ดังนั้น พวกผีจึงกลัว “โฮมลง” เป็นพิเศษ
…อยู่ไปเรื่อยๆ ดิชั้นก็สร้างชื่อเสียงในความโหดร้ายของดิชั้น จนลูกน้องมันกลัว แต่ในความกลัว ดิชั้นก็มีความเอ็นดูน้องๆ ที่คิดว่าพวกเค้าคงรู้ บอกเลยว่า ร้านอาหารมันก็คือ mini-Thailand ไทยเป็นยังไง ร้านอาหารก็เป็นอย่างนั้น แบ่งกลุ่ม ซุบซิบ นินทา ขโมยเงิน ขโมยทิปส์ ขโมยอาหาร ขโมยไวน์ แย่งผัว เป็นชู้ ลอบกัด แทงลับหลัง แย่งงาน แย่งชิฟท์ ประจบ สอพลอ ตอแหล โอ้ย แม่งคือหนังบ้านทรายทองปนกับมารยาริษยาของจริง
….แต่ที่บอกว่ามันเป็นเรื่องของความตาสว่าง มันก็เป็นจริงเช่นกัน เรามีช่วงพักเบรคระหว่างเปิดตอนเช้ากับตอนเย็น เราจะมีเวลาร้านปิดตอน 3-5 โมง ช่วงนั้น บางทีดิชั้นก็งีบเอาแรง บางวันก็ช่วยแม่ครัวเตรียมอาหาร ทีนี้ ดิชั้นก็ไปสนิทกับแม่ครัวใหญ่ แกเป็นคนน่ารักมาก เป็นอีเย็นมาจากบ้านนอก มาอังกฤษเพราะได้วีซ่านักท่องเที่ยวแล้วโดด นางมากับสามี จากนั้นก็แยกกันทำงานในร้านอาหาร นางมาเป็นแม่ครัวใหญที่นี่ ใจดี วันไหนที่จะช่วยนางเตรียมอาหาร เราก็ได้นั่งคุยกันยาวๆ อย่างเวลาเอาป๊อเป๊ยะมาห่อ ก็ช่วยนางห่อ แล้วก็เม้าท์ไป
…เราได้ถามชีวิตเค้าว่าเป็นมายังไง นางบอกว่า บ้านนางยากจน เก็บเงินได้ก้อนนึง ก็ซื้อทัวร์มาอังกฤษ เพราะขอวีซ่าผ่านบริษัททัวร์มันง่ายกว่า พอมาถึงก็โดดเลย สาเหตุที่โดดเพราะไม่มีความหวังที่จะทำมาหากินอะไรที่บ้านนอก จากนั้นนางก็เล่าว่า ครอบครัวนางเป็นชาวนา ยากจนมาสมัยรุ่นปู่ย่าตายาย ต้องเช่าที่ทำนา ถูกโขกสับสารพัด ทำได้เท่าไหร่ ก็ต้องไปจ่ายค่าเช่า ที่เหลือก็ไม่มาก พออยู่กินได้แต่ไม่สบาย ทุกครั้งที่นางเข้ากรุงเทพ นางจะเห็นความเหลื่อมล้ำตรงนี้ และไม่มีความพยายามจากนักการเมืองที่จะพัฒนาพื้นที่แห้งแล้งให้ดีขึ้น จากนั้น นางก็เล่าเป็นเรื่องเป็นราวว่า นักการเมืองเหล่านี้ได้ประโยชน์จากระบอบอภิสิทธิ์ชน ทำเพื่อตัวเอง หลังเลือกตั้ง ก็ไม่ได้ทำงานพัฒนาใดๆ พูดเรื่องการพัฒนา นางก็เล่าต่อไปอย่างมีรสชาติว่า ไอ้โครงการหลวงต่างๆ มันก็ไม่ได้เกิดขึ้นจริงในทุกกรณี มันอาจจะออกลูกออกดอก แต่ก็ชั่วคราวและไม่ยั่งยืน แต่กลับเป็นโอกาสให้มีการคอร์รัปชั่น คือพอนักการเมืองมาบอกว่า นี่คือโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ ชาวบ้านรู้เลยว่าต้องมีการคอร์รัปชั่น เพราะมันไม่เปิดให้ใครตรวจสอบใดๆ เลย
…เออ เราฟังก็กึ่งช้อค กึ่งเข้าใจ ไอ้เรื่องเข้าใจนี่เข้าใจมาสักพักว่ามันมีกรณีโกงอย่างนั้นจริงๆ แต่ไอ้เรื่องช้อคก็คือ คนอย่างอีเย็นยังสามารถอธิบายเรื่องนี้ได้เป็นฉากๆ ในแง่โครงสร้าง นี่คือไม่ได้ดูถูกความไม่มีการศึกษาของอีเย็น แต่กำลังจะบอกว่า คนแบบอีเย็น แม่งคือคนที่มีประสบการณ์โดยตรงกับประเด็นแบบนี้ ขณะที่นักเรียนคุณหนูที่มาทำงานในร้าน นั่งห่อป๊อเปี๊ยะด้วยกัน ไม่รู้เรื่องห่าอะไรแบบนี้เลย ทั้งๆ ที่เรียนจบปริญญาตรีแล้วมาเรียนต่ออังกฤษ กลายมาเป็นปัญญาชนที่มองไม่เห็นปัญหาของประเทศตัวเอง
…ปล: รูปสมัยช่วงเป็นสาวเสิร์ฟ
=======================================================================
#ตาสว่าง ตอนที่ 9
จะอยู่ชนชั้นไหน ในร้านอาหารไทยในเมืองนอก ทุกคนเท่ากัน มึงจะเป็นลูกคุณหนู แต่ถ้ามาทำงานหาเงินในร้านอาหาร มึงมีศักดิ์เท่ากับอีเย็น แม่ครัวที่ยืนผัดก๋วยเตี๋ยวหลังร้าน เอาจริงๆ อีเย็นมีอำนาจมากนะ เพราะแม่ครัวแม่งคือหัวเรือใหญ่ ถ้าเค้ารัก เค้าจะทำอาหารอร่อยๆ ดีๆ ให้เรากิน ถ้าเค้าเกลียด มึงก็กินอาหารห่วยๆ ไป (เราได้กินอาหารฟรีก่อนทำงานค่ะ) อันเรื่องศักดิ์เท่ากันนี่บอกตรงๆ ชอบมาก ดิชั้นไม่ได้เป็นลูกผู้รากมากดี มาจากชนชั้นกลาง อาจจะมีชีวิตที่สบายหน่อย แต่ดิชั้นก็นับถืออีเย็นมาก กลายเป็นคนที่สนิทที่สุดในร้านเลยมั้ง มันเป็นสภาพความเป็นอยู่ที่เซอเรียลมาก เพราะเรารู้ว่า เมื่อเรากลับไปอยู่ไทย เราจะกลับไปวังวนเดิมๆ คือสังคมที่ถูกกำหนดค่าด้วยชนชั้น ความรู้ หน้าตา ฐานะ จิปาถะ แต่ในสังคมร้านอาหาร ทุกคนเท่ากัน (ในจุดหนึ่ง) ในแง่ที่ว่า มึงจะไฮโซหรือไถนามาก่อน เนื้องานเท่ากันและความรับผิดชอบเท่ากัน
….ทำไมดิชั้นถึงรักอีเย็น เพราะอีเย็นแม่งมองทะลุความตอแหลของสังคม เพราะอีเย็นมันผ่านความอยุติธรรมทางเศรษฐกิจจากบ้านเกิดเมืองนอน จนต้องหนีตายมาทำงานต่างประเทศแบบหลบๆ ซ่อนๆ ได้คุยกับอีเย็นเยอะมาก อีเย็นเล่าให้ฟังว่า ตอนเป็นเด็ก ที่บ้านอีเย็นก็รักเจ้า มีรูปเจ้าติดเต็มบ้าน แต่อีเย็นเป็นลูกสาวคนโต ที่บ้านจน เรียนไม่จบชั้นมัธยม ต้องออกมาทำนา โอ้โห ตอนนั้นเราฟังแล้ว ทำไมมันเหมือนในหนังเลย แต่มันยังมีอยู่จริง พ่อแม่ของอีเย็นเป็นรอยัลลิสต์ แต่อีเย็นตั้งคำถามเสมอว่า ทำไมถ้าเจ้ารักประชาชนแล้วเรายังลำบาก นี่มันก็เป็นคำถามที่ naïve นะ แต่อีเย็นบอกดิชั้นว่า เค้ารู้สึกอย่างนั้นจริงๆ
…จนเมื่ออีเย็นได้ไปเที่ยวกรุงเทพเมื่อตอนวัยรุ่น ก็ได้เห็นความแตกต่าง เห็นความรวยกระจุก จนกระจาย เห็นรูปในหลวงอันใหญ่ติดบนอาคารสูงตระหง่าน แต่พอนั่งรถออกมาจากนครที่สวยงามไม่กี่ชั่วโมง ความสวยงามไม่มี มีแต่ความแร้นแค้นเข้ามาแทน ทีนี้ ฟังอีเย็นเล่ามาเยอะ ดิชั้นเลยแกล้งแหย่นางโดยถามว่า อ้าว พี่ พี่จะไปโทษเจ้าได้ยังไง พี่ต้องโทษรัฐบาลที่สิ เพราะเจ้าไม่มีหน้าที่บริหารประเทศนะ อีเย็นร้องกรี๊ดใส่หน้านักศึกษาปริญญาเอก อีเย็นบอกว่า รัฐบาลก็เป็นแค่หุ่นเชิด ทำดีก็ได้อยู่ในอำนาจ ทำไม่ดี ก็ถูกเจ้าเอาทหารไล่ โอ้มายก๊อด นี่อีเย็นคิดทฤษฏี network monarchy มาก่อนแม็คคาโกด้วยซ้ำ
….มันเป็นกลายมาเป็นการศึกษานอกเวลา จากในตำรา เราก็อ่านอยู่แล้ว จากนอกตำรา ก็ได้จากร้านอาหาร โดยมีอีพี่เย็นเป็นดาราแสดงนำ นำไปสู่การเขียนวิทยานิพนธ์ของดิชั้นเรื่องความตอแหลของความเป็นไทย ที่มีเรื่องราวของอีเย็นสอดแทรกอยู่ในวิทยานิพนธ์นั้นด้วย ดิชั้นจึงรักและนับถืออีเย็นอย่างยิ่ง
….แต่อีเย็นเป็นผี แล้วเมื่อมีการทะเลาะกับลูกจ้างคนอื่นๆ ก็มักจะถูกขู่ว่าจะเอาโฮมมาลง จริงๆ มันก็มีลง 2-3 ครั้ง โอ้ยวิ่งหนีออกหลังร้านกันใหญ่ ดิชั้นต้องคอยสะกัดเจ้าหน้าที่ที่มาตรวจอยู่หน้าร้านเพื่อถ่วงเวลาให้อีเย็นหนีทัน สรุป ก็หนีทันทุกครั้ง แต่ความอึดอัดมันมีจุดอิ่มตัว ในที่สุด เพียงไม่กี่เดือนก่อนดิชั้นจะเรียนจบ อีเย็นกับผัวตัดสินใจเดินทางกลับไทยโดยสมัครใจ แม้รู้ว่าจะไม่ได้กลับมาอังกฤษอีก ดิชั้นยังติดต่อกับอีเย็นในช่วงแรกๆ แต่จากนั้นก็ขาดการติดต่อกัน ทุกวันนี้ยังระลึกถึง และติดหนี้ความรู้ที่ได้มาจากก้นครัวจริงๆ
….เรื่องที่เหลือของการทำงานในร้านอาหารคือการสร้างความแกร่ง คือกลายมาเป็นกะเทยแกร่ง เหมือนที่เคยบอก สังคมมันบังคับให้ดิชั้นร้าย ลูกค้าที่ร้านไม่ใช่ไฮเอน มันจึงมีความกักขฬะ ดิชั้นต้องดีลกับความกักขฬะนั้น ตั้งแต่เมา โวยวาย โกง เอาผมตัวเองใส่ในอาหารเพื่อกินฟรี ไม่พอใจอาหารแล้ววีน ดิชั้นถูกไวน์สาดหน้า แล้วดิชั้นก็สาดแม่งกลับด้วยโถน้ำที่ไว้แช่ไวน์ บางรายไปจุดไฟเผาห้องน้ำ (ที่อยู่ชั้นสองของร้าน) บางรายกินเสร็จแล้ววิ่งออกร้าน ดิชั้นต้องวิ่งตามแม้ว่าใส่ส้นสูง โอ้ยสารพัด นี่ไม่นับว่ามีลูกค้ามาจีบแล้วก็เดทกันต่อมา นึกๆ ดู เอ๊ะ นี่เราทำงานร้านอาหารหรือซ่อง?
…ส่วนลูกน้องก็ร้อยพ่อพันแม่ ไอ้ตัวที่ขี้เกียจที่สุดคือลูกผู้ดีกรุงเทพ กินแรงเพื่อนฉิบหาย รู้เลยว่าคนพวกนี้เลือกทำงานเบา เช่นเสิร์ฟดริ้งค์ เสิร์ฟอาหาร แต่ไม่ชอบเก็บจานหรือเคลียร์โต๊ะ เพราะหนักกว่าและสกปรก อะไรแบบนี้ ดิชั้นผ่านมาหมด จนคิดว่า ถ้าเปิดร้านอาหารเองในอนาคต ก็รู้วิธีรันร้านแล้ว
…เงินที่ได้จากการทำร้านอาหารแม้ไม่มาก แต่มันเป็นส่วนช่วยทุนที่ได้จากมหาลัย และทำให้ดิชั้นจบการศึกษา ดิชั้นเดินทางกลับกรุงเทพ (ไม่รับปริญญาค่ะ ส่งทางไปรษณีย์เอา) เดือนกันยายน ปี 2002 และเริ่มงานที่กระทรวงการต่างประเทศอีกครั้งในเดือนตุลาคมปีนั้นค่ะ
….ปล: รูปตอนช่วงสุดท้ายที่อังกฤษหน้าร้านอาหารที่ทำ ตอนนี้ ร้านนี้ขายกิจการไปแล้วค่ะ เสียดาย
=======================================================================
#ตาสว่าง ตอนที่ 10
เรียนจบแล้วกลับไปทำงานต่อที่กระทรวงเลย กองการเจ้าหน้าที่รู้ว่าทำวิทยานิพนธ์เรื่องความเป็นไทย และไทยกับพม่า เลยจับให้ไปอยู่กรมเดิมคือเอเชียตะวันออก แต่โต๊ะพม่าเต็มแล้ว เลยให้ไปทำโต๊ะกัมพูชาแทน ไปเจอหัวหน้ากองที่ชื่อพิษณุ สุวรรณชฏ (ทูตลอนดอนคนปัจจุบัน) ขี้อิจฉาเด็ก กลับไปทำงานวันแรก รู้ว่าเราจบเอก ก็บอกว่าเรา เอาหินโยนขึ้นไปบนฟ้า ตกลงมาใส่หัวปริญญาเอกเยอะแยะ คือกำลังบอกดิชั้นว่า อย่าทนงตัวว่าเรียนสูง เพราะคนกระทรวงเรียนสูงมีเยอะแยะ เออ งง มาทำงานวันแรกก็เจอแบบนี้ ไม่มีสอนงาน ไม่ให้งาน ขัดขวางทุกอย่าง งานดีเอาเข้าตัว งานห่วยก็โบ้ยมา ไอ้งานที่โบ๊ยมาส่วนหนึ่งมันก็เปลี่ยนชีวิตเรา
…เคยเล่าไปแล้ว เดือนมกราคม 2003 เพิ่งกลับมาทำงานที่กระทรวงไม่กี่เดือน ถูกส่งให้ไปพนมเปญไปช่วยร่างเอกสารเรื่องความร่วมมือทางการค้า ระหว่างที่ไป เผอิญเกิดเรื่องคนเขมรไม่พอใจคนไทย โดยฮุนเซนอ้างว่า กบ สุวนันท์ พูดว่า นครวัดเป็นของไทย เท่านั้นแหละ ชาตินิยมเขมรพุ่งปี๊ด สาเหตุจริงๆ มาจากการที่ฮุนเซนกลัวจะแพ้การเลือกตั้งด้วยข้อหาคอร์รัปชั่น เลยสร้างเรื่องความขัดแย้งกับไทยเพื่อเบี่ยงประเด็น ดิชั้นไปถึงกัมพูชา ก็เริ่มเห็นคนออกมาต่อต้านไทยมากขึ้นหน้าสถานทูตเรา ไม่อยากเชื่อ ภายใน 2 วัน เกิดการเผาสถานทูตจนเละ โชคดีที่ดิชั้นไม่ได้อยู่ในสถานทูตตอนนั้น ต้องระหกเร่รอน ไปเช่าโรงแรมฝรั่งนอนเพื่อหลบหนีคนคลั่งชาติเขมร เพราะมันโจมตีธุรกิจของไทยทั้งหมด รวมถึงโรงแรม จึงต้องไปพักโรงแรมฝรั่ง แล้วมันยังโจมตีคนไทยด้วย ทีนี้ อีรัฐมนตรีพาณิชย์ตอนนั้น อดิศัย โพธารามิก กำลังบินมาเขมรเพื่อมาลงนามในข้อกตลงการค้าที่เราช่วยกันร่างไว้ล่างหน้า เมื่อเครื่องลงที่สนามบิน ตอนนั้นเขมรประกาศสภาวะฉุกเฉินแล้ว นางโทรมาบอกให้เรารีบมาสนามบิน เพราะจะเอาเรากลับบ้าน ไม่อย่างนั้นเราอาจตกค้างในเขมร เราเลยรีบนั่งรถไปสนามบินผ่านม็อบคลั่ง เชื่อไหม พอไปถึงสนามบิน อีอดิศัยกับคณะบินกลับไปแล้ว รับกลับจนไม่รอเอากระเป๋ากลับไปด้วย นอกจากจะทิ้งให้เราอยู่ในสนามบิน ยังขอให้เราดูแลกระเป๋าของพวกเค้าด้วย เย็ดแม่มากค่ะ
…เราเลยต้องนั่งรถกลับโรงแรม น่ากลัวมาก เพราะม็อบมันตรวจรถทุกคันว่ามีคนไทยไหม โชคดีดิชั้นสวยแบบหมวยๆ เลยบอกว่ามาจากสิงคโปร์หล่ะ เลยรอดตัว สุดท้าย ทักษิณส่ง C130 มารับกลับบ้าน เราถูกอพยพเช้ามืด มีรถถึงมานำหน้ารถเรา เพื่อไปขึ้นเครื่องบิน บินกลับกรุงเทพ ครั้งนั้นก็ติดหนี้ทักษิณเหมือนกัน พอกลับกรุงเทพ ก็รีบตรงไปกระทรวง เค้ากำลังวุ่นวายกับเรื่องที่เกิดขึ้นในเขมร แม้ว่าเราอยู่ในเหตุการณ์ แต่ก็พยายามปิดปากเรา กระทรวงขอไม่ให้ดิชั้นบอกสื่อว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง เฮ้ย มันไม่แฟร์เลย ประชาชนควรต้องรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น บอกตรงๆ ผิดหวังกับกระทรวงมากจากเหตุการณ์ครั้งนั้น
…ทำงานได้ประมาณปีนิดๆ คือเรียนจบกลับมาทำงานเดือน ตค 2002 พอคริสต์มาส 2003 ดิชั้นก็ถูกส่งไปประจำการต่างประเทศ กระทรวงให้ดิชั้นเลือก 3 อันดับ (สำหรับข้าราชการที่ออกประจำการครั้งแรก ในยุคนั้น เราต้องเลือกในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ห้ามเลือกประเทศพัฒนาแล้ว อย่างยุโรปหรืออเมริกา) ดิชั้นเลยเลือกปักกิ่ง ฮ่องกง และสิงคโปร์ (ค่ะ ทั้งฮ่องกงและสิงคโปร์อยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา) ในที่สุด ดิชั้นได้สิงคโปร์ ตามคำแนะนำของปลัดกระทรวงตอนนั้นคือคุณเตช บุนนาค ให้เหตุผลว่า ดิชั้นมีความเชี่ยวชาญงานวิชาการ ให้ไปสิงคโปร์ เพราะสิงคโปร์มีงานวิชาการมาก และถูกจัดให้เป็น listen post คือทีประจำการที่ต้องไปฟังว่าคนต่างชาติเค้าพูดอะไรบ้าง หน้าที่หลักก็คือ ไปนั่งฟังงานสัมมนาทั้งหลาย และรายงานกลับกระทรวงค่ะ
….ตอนแรกไม่ตื่นเต้นเลยที่ต้องไปสิงคโปร์ จึงเลือกเมืองนี้เป็นอันดับ 3 เพราะคิดว่าน่าเบื่อ และในช่วง 2 ปีแรกก็คิดว่าน่าเบื่อจริงๆ จนต่อมาเปลี่ยนใจ จากเบื่อ กลายเป็นรักสิงคโปร์ การได้มาเป็นนักการทูตในสถานทูตไทยที่สิงคโปร์มันคือจุดเปลี่ยนชีวิต ตาสว่างแล้วสว่างอีก ตอนหน้ามาเล่าให้ฟังว่า ชีวิตนักการทูตในสถานทูตเป็นอย่างไร แล้วทำไมถึงลาออกค่ะ
...ปล: รูปนักการทูตหญิง
=======================================================================
#ตาสว่าง ตอนที่ 11
เดินทางถึงสิงคโปร์ปลายเดือนธันวาคมปี 2003 เริ่มอาชีพนักการทูตในสถานทูตเป็นครั้งแรก สถานทูตไทยที่สิงคโปร์นับว่าเป็นสถานทูตที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของเราในต่างประเทศ ตั้งตระหง่านอยู่บนถนนที่แพงที่สุดของสิงคโปร์ นั่นคือออชาร์ด Orchard Road หรือถนนช้อปปิ้งที่สำคัญที่สุดในของประเทศ ต้นสายของถนนเส้นนี้เริ่มที่ตรง Fort Canning คือสมัยก่อน เรือผู้โดยสารจะเข้ามาถึง Fort Canning ได้ พอออกมา ก็เจอถนนเส้นนี้ เป็นเส้นที่ปลูกพืชผักผลไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เลยกลายเป็นถนนที่พลุกพล่าน เมื่อสิงคโปร์เจริญมากขึ้น ถนนเส้นนี้เลยถูกพัฒนามาเป็นเส้นทางหลักของการพาณิชย์ และเริ่มมีอาคารต่างๆ เกิดขึ้น ในขณะสวน แปลงผักต่างๆ ก็หดหายไปตามกาลเวลา
….ช่วงรัชกาลที่ 4 เป็นยุคอาณานิคม เป็นครั้งแรกที่สยามติดต่อกับฝรั่งอย่างเป็นเรื่องเป็นราว และอาจเรียกได้ว่าตกอยู่ในอันตราย มองไปรอบข้าง อาณาจักรที่เคยรุ่งเรือง มีกษัตริย์และราชินี ต่างสูญหายเพราะถูกฝรั่งกลืนกิน รัชกาลที่ 4 กังวลใจตรงนี้ เลยมีดำริในการสร้างสถานทูตที่สิงคโปร์ เพราะแม้จะเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่ก็เป็นเมืองท่าทีสำคัญ และคิดว่า หากเกิดอะไรขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านรัชสมัยไปสู่จุฬาลงกรณ์แล้วต้องหนีฉุกเฉิน จุฬาลงกรณ์สามารถหนีไปสิงคโปร์เพื่อต่อเรือไปที่อื่น นั่นจึงเป็นที่มาของการซื้อที่เพื่อสร้างสถานทูตบนถนนออชาร์ด
…ช่วงนั้นสิงคโปร์บูมแล้ว นอกจากจะคิดว่าเป็นทางหนีทีไล่ รัชกาลที่ 4 ยังมองว่า มันเป็นเมืองของการรับรู้ข่าวสารจากเมืองฝรั่ง สิงคโปร์โชคดีมากที่มีท่าเรือน้ำลึก หมายความว่า เรือขนาดใหญ่สามารถเข้าเทียบท่าได้ชายฝั่งอย่างไม่มีปัญหา ทำให้กลายมาเป็นแหล่งการค้าสำคัญที่นำสินค้าจากทั่วโลกมาขาย เอาจริงๆ อังกฤษก็ใช้ท่าเรือตรงนี้ ส่งเครื่องเทศกลับอังกฤษ นอกเหนือไปจากท่าเรือในอินเดีย หรือในพม่า ความที่สิงคโปร์เป็นท่าเรือระหว่างประเทศ จึงมีความเป็นสากล มีการเข้าออกมากมายของชาวยุโรป หนังสือพิมพ์ของสิงคโปร์ที่มีตั้งแต่สมัยนั้นคือ The Straits Times ซึ่งรัชกาลที่ 4 สั่งมาอ่านในสยามบ่อยๆ
…เราสร้างสถานทูตโก้หรูบนออชาร์ด ตอนที่ดิชั้นไปถึงสิงคโปร์ในปี 2003 ตอนนั้น ออชาร์ดกำลังอยู่ในกระบวนการอัพเกรดให้ถนนเส้นนี้ไฮโซขึ้นไปอีก เพื่อเทียบเท่า Oxford Street/Bond Street ของลอนดอน และ 5th Avenue ของนิวยอร์ค จึงมีการเริ่มซื้อที่คืนจากอาคารร้านค้าหรือออฟฟิซต่างๆ เพื่อสร้างเมก้ามอลล์ ตอนนั้น สถานทูตอินโดนีเซียยังตั้งอยู่ตรงที่ปัจจุบันคือ ION ดิชั้นยังทันสถานทูตอินโดตอนนั้น และในที่สุดก็ขาย ได้เงินมหาศาลเพื่อเอาไปสร้างสถานทูตที่อื่น และก็มีความพยายามที่จะซื้อสถานทูตไทย ส่วนตัวดิชั้นเห็นว่าขายก็ดี เพราะกำไรที่ได้จากตรงนั้นมันมาก เอาไปใช้ประโยชน์เพื่อประเทศด้านอื่นก็ได้ และบอกตรงๆ ตั้งสถานทูตตรงนั้นมันจอเจ แต่เราก็ไม่ขาย อ้างว่าขายไม่ได้เพราะเป็นพื้นที่ของรัชกาลที่ 4 ในปัจจุบัน บนถนนออชาร์ดเส้นนี้ มีเพียงทำเนียบ (หรือเรียกง่ายๆ ว่าบ้านคน) อยู่เพียง 2 หลัง หลังแรกคือทำเนียบทูตไทยที่อยู่ในสถานทูตนั่นแหละ และทำเนียบประธานาธิบดีสิงคโปร์หรือที่เรียกว่า Istana นั่นเอง
…เริ่มงานครั้งแรก ก็ตามที่กระทรวงต้องการให้ดิชั้นทำ คืองานวิชาการ สิงคโปร์มีสถาบันการศึกษาและวิจัยมากจริงๆ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรสมัยนั้นเพียง 4 ล้านคน (ในจำนวนนี้ 1 ล้านเป็น expat) และสถาบันเหล่านี้ก็มีคุณภาพมาก งานก็คือ ตื่นเช้า ดิชั้นก็นั่งรถไปตามสถาบันต่างๆ นั่งฟังงานสัมมนา บางวันมี 2-3 งาน นั่งฟังเสร็จปุ๊ป ก็กลับมาเขียนรายงาน เผอิญดิชั้นเป็นคนทำงานเร็ว รายงานจริงเสร็จแบบวันต่อวันทันสถานการณ์ ตอนนั้นทำมากๆๆๆ และทูตก็เห็นว่า รายงายของเราที่จะส่งไปเป็นโทรเลขเข้ากระทรวง ควรส่งไปสถานทูตต่างๆ ทั่วโลกด้วยเพื่อให้รู้ความเคลื่อนไหวในภูมิภาคนี้ นั่นจึงเป็นที่มาที่ทำให้คนในกระทรวงหลายคนรู้จักดิชั้น ทั้งๆ ที่เราไม่เคยพบกันมาก่อน
…สิงคโปร์มันเป็นประเทศฉลาด ใครๆ ก็ต้องตกหลุมรักมัน มันมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ แต่มันก็เป็นกึ่งประชาธิปไตยที่มีการปกครองโดยพรรคเดียวคือ PAP (People’s Action Party) การติดต่อราชการนี่มันรวดเร็ว เยี่ยมยอด ต่ออายุบัตรทำงานไม่ถึง 5 นาที ไม่มีคิว ติดต่อธนาคารตอนนั้นก็ I-Banking แล้ว ชีวิตทั่วไปมีคุณภาพ รถไม่ติด การคมนาคมสาธารณะเป็นเลิศ รถเมล์ทันสมัย รถไฟใต้ดินตรงเวลา คือคิดว่าอยู่ๆ ไป เอ้ย มันก็สบายกว่าอยู่ไทยมาก แต่มันก็มีเรื่องโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่แพ้ชาติใด ใครที่อ่าน The Straits Times ก็จะรู้ว่า ชอบเอาข่าวเลวๆ ของเพื่อนบ้านมาลง เพื่อให้คนสิงคโปร์ตระหนักว่า “มึงโชคดีแค่ไหนที่มึงไม่ได้อยู่ในประเทศเหล่านั้น” ความรู้เรื่องการเมืองระหว่างประเทศและการทูตของดิชั้นก็ได้จากตรงนั้นมามากทีเดียว
ปล: ร้านนี้มีหลายสาขาในสิงคโปร์ เจ้าของเป็นติ่งแม้ว เป็นคนสิงคโปร์ ดิชั้นไปทานบ่อยจนบวม
=======================================================================
#ตาสว่าง ตอนที่ 12
แม้หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากสถานทูตคืองานวิชาการเป็นหลัก หมายถึงการไปนั่งฟังงานสัมมนาต่างๆ แล้วก็เขียนรายงานส่งกระทรวง เพื่อให้รู้ความเป็นไปในสิงคโปร์และภูมิภาค แต่งงานหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือการรับการเสด็จของเจ้าในต่างประเทศ เอาจริงๆ สำหรับบางสถานทูต/กงสุล งานรับเจ้าคือเรื่องใหญ่ที่สุด อาทิ ที่ลอนดอน หรือตอนนี้คึอเบอร์ลิน และสถานกงสุลที่มิวนิค เนื่องจากเจ้าเสด็จต่างประเทศบ่อย มันเลยทำให้เกิดความสนิทสนมระหว่างราชวงศ์กับเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ ที่ไม่นับว่า คนในกระทรวงที่เป็นลูกท่านหลานเธอก็มาก เอาง่ายๆ มันคือกระทรวงเจ้าขุนมูลนายว่างั้น ดังนั้น หากมีใครบอกว่าได้ข่าวลือมาจากคนกระทรวงต่างประเทศ ขอให้เชื่อในชั้นต้นได้เลยว่าจริง
…ในการเยือนชองเจ้าแต่ละครั้งสถานทูตจะเหนื่อยมา เพราะต้องเตรียมตัวรับทุกอย่างแบบไม่มีข้อบกพร่อง บางทีมาเยือนแค่วันเดียว เตรียมตัวเป็นเดือนก็มี เมื่อเจ้ามาเยือน เรียกง่ายๆ ว่า สถานทูตแทบจะต้องปิดทำการไปเลย เพราะเราต้องทุ่มแรง กำลัง เจ้าหน้าที่ และงบประมาณสำหรับการรับเจ้านั้น พูดเรื่องงบประมาณ บอกเลยว่าการรับเจ้ามาจากภาษีประชาชน สถานทูตต้องทำเรื่องของบประมาณจากกระทรวงเพื่อนำมาใชจ่ายในการต้อนรับเจ้าแต่ละครั้ง เจ้าไม่ค้องขวักกระเป๋าเองแม้แต่บาทเดียว
…การเตรียมการมีอะไรบ้าง เราต้องทำหมายกำหนดการ เมื่อทำเสร็จ เราจะรู้ว่าเจ้าอยากไปไหน ไปทำอะไรและไปพบใคร เราก็จะต้องไปเตรียมการนัดพบล่วงหน้า เช่น จะเสด็จไปห้องสมุดของมหาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เราก็ต้องไปคุยกับอธิการบดี ไปคุยกับบรรณารักษ์ เพื่อเตรียมเรื่องการอำนวยความสะดวก หากจะต้องมีการปิดห้องสมุดวันนั้นก็ต้องทำ หรือการไปพบแขกสำคัญที่ไหน เราต้องไปตรวจสอบสถานที่ ไปดูทางหนีทีไล่ ไปดูว่ามีที่จอดรถไหม จะจอดยังไง เมื่อขบวนรถมาส่งแล้วจะให้จอดตรงไป แล้วรถจะไปจอดรอที่ไหน โอ๊ย จิปาถะ มันต้องมีการสื่อสารระหว่างกับคนขับรถตลอดเวลา
….นอกเหนือจากกำหนดการที่เป็นทางการเแล้ว เราก็ต้องปรึกษาเลขาเจ้า ว่าเจ้าอยากทำอะไร อยากกินอะไร เราต้องจัดให้ตามนั้น ในส่วนนี้ ก็มีการกินเงินหลวงกันค่อนข้างเยอะ เพราะมันจะมีการเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ทูตใช้เงินสถานทูตไปลองกินร้านอาหารต่างๆ ล่วงหน้า เพื่อดูว่าอร่อยไหม สถานที่ดีหรือเปล่า ถ้าเราคิดว่าดีแล้ว เราก็เสนอทางวังไปว่า ร้านนี้อยากไปไหม อะไรแบบนั้น รายละเอียดมีมากจริงๆ และในการเขียนกำหนดการทางการ เราต้องมีตารางที่เรียกว่า เป็นนาทีต่อนาทีว่าเจ้าจะทำอะไรในหนึ่งวัน เราต้องรู้ว่า เสร็จจากงานนี้ เจ้าไปไหนต่อ เวลาเท่าไหน ออกจากที่นี่กี่โมง ไปถึงที่นั่นกี่โมง อะไรแบบนี้
…ในตลอดเวลาที่ดิชั้นอยู่สิงคโปร์ ดิชั้นรับเจ้าทั้งหมด 4 คน ได้แก่ วชิราลงกรณ์ สิรินทร องค์ภา และสิริวัณณวรี ในจำนวนนี้ ดิชั้นรับพระเทพมากที่สุด รองลงมาคือสิริวัณณวรี ส่วนที่เหลือ รับเพียงครั้งเดียว พูดก่อนเลยว่า การรับวชิราลงกรณ์ยากที่สุด รองลงมาคือสิริวัณณวรี ที่ง่ายที่สุดคือพระเทพ ไม่เรื่องมาก ตรงนี้ขอยืนยันดังที่หลายคนบอกเรื่องพระเทพว่าจริง นางไม่เรื่องมาก
…ขอเล่าเรียงไปจากความสั้นและยาวของเรื่อง เอาเรื่ององค์ภาก่อน นางมาดูงานด้านความยุติธรรมในสิงคโปร์ เผอิญดิชั้นเพิ่งไปถึงสิงคโปร์ไม่นาน และไม่ถนัดงานพิธีการทูต เราเป็นฝ่ายกองหลังดูแลเรื่องการอำนวยความสะดวกทั่วไป นางมาแป๊ปๆ แล้วก็กลับ จำได้ว่าไม่ได้มีดราม่าอะไร แล้วเราก็เป็นข้าราชการระดับล่าง ไม่ได้เข้าไปเสนอหน้ามานัก
…แต่ที่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องมากกว่านั้นคือเมื่อสิริวัณณวรีมาเยือน ตอนที่ดิชั้นรับราชการที่นั่น นางมาเยือน 2 ครั้ง มาแข่งแบดมินตัน และตกรอบแรกทุกครั้ง แต่ทีนี้ การมาแข่งแบบนี้ ไม่สามารถมีการกำหนดการที่ตายตัว เพราะขึ้นอยู่กับว่า จะผ่านรอบแรกหรือไม่ ไอ้ที่ไม่มีการกำหนดแบบตายตัว ยิ่งทำให้เราทำงานยาก เพราะมันกลายเป็นโปรแกรมเปิด หากนางต้องการอะไรทันที เราอาจหาให้ไม่ทัน เพราะไม่ได้เตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า แบบนี้ทำให้ทูตและเจ้าหน้าที่เครียดมาก ตอนที่นางมานั้น นางยังไม่ไม่โตเท่าไหร่ แต่จริตจก้านแล้ว โวยวาย วุ่นวาย น่ารำคาญ เราต้องคอยอยู่ใกล้เพื่อนางเรียกใช้ พอใกล้เกินไปนางก็ตวาดให้ถอยห่างออกไป อย่างนางด่าทูตว่า ไม่มีอะไรทำรอ ต้องมาเดินตามอย่างนี้ อีทูตวิ่งหางชี้เลย ดิชั้นได้มีโอกาสต้อนรับนาง แต่ไม่ได้คุยด้วย และก็เห็นว่า นางไม่ได้เป็นมิตรอะไร ก็เท่านั้น
…ตอนหน้ามาเขียนเรื่องการรับวชิราลงกรณ์และสิรินทรค่ะ
…ปล: รูปตอนอยู่สิงคโปร์
=======================================================================
#ตาสว่าง ตอนที่ 13
#ตาสว่างตอนที่ 13
ในช่วงรับราชการที่สถานทูตไทยที่สิงคโปร์นั้น ไดมีโอกาสรับเจ้า 4 คน เล่าไปแล้วเรื่องรับองค์ภาและสิริวัณณวรี บอกตรงๆ แม้กระทรวงจะเป็นลูกเจ้าขุนมูลนาย มีความใกล้ชิด ทุกคนอยากใกล้ชิตเจ้า เพราะมันจะเป็นสะพานไปสู่ความสำเร็จในชีวิตราชการ มีการยอมรับโดยทั่วไปเลยในกระทรวงการต่างประเทศว่า ถ้ารับราชการถูกใจเจ้า โอกาสการเลื่อนขั้น/ตำแหน่ง มีสูง รวมถึงการได้โพสต์ประจำการดีๆ ในยุโรปหรืออเมริกาก็มีมากเช่นกัน อันนั้นมันเป็นความตาสว่างแลัสว่างอีกว่า ต้องใช้ระบบอุปถัมภ์ การประจบสอพลอ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตัว คือยิ่งเห็นระบบแบบนี้ ยิ่งเอียน ยิ่งเกลียด ยิ่งรู้ว่าการรับใช้เจ้าแบบนี้มันคือความฉิบหายของสังคมไทย
….ขอเล่าเรื่องการรับวชิราลงกรณ์ก่อน เค้ามาแค่ไม่กี่ชั่วโมง ขับเครื่องบินมาเอาชั่วโมงบิน มาถึงสนามบินชางงี และก็พักอยู่ 2-3 ชั่วโมงในห้อง VIP ก่อนจะบินกลับ แค่นั้น พวกเราก็เตรียมงานกันเป็นเดือน ต้องมีกำหนดการที่เรียกว่านาทีต่อนาที ต้องคุยกับทางฝ่ายสิงคโปร์เป็นเดือนๆ ต้องไปดูแลความเรียนร้อยของสถานที่ ต้องมีการเตรียมของทุกอย่าง ของใช้ของกิน คือมันจะมีลิสต์มาจากในวังว่าต้องการอะไร ของหลายอย่างเป็นเรื่องปกติ เช่น ไวน์ แชมเปญ อาหารที่เค้าชอบ ขนมนมเนย ผลไม้ไฮโซ เออ ที่แปลกใจคือ มีการขอน้ำเก๊กฮวยมาด้วย
...พอเครื่องมาถึง ประตูเครื่องบินเปิด พวกเราเข้าแถวรอรับเสด็จ ทางฝ่ายสิงคโปร์ก็ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงมารับ ตั้งแต่รองนายก อธิบดีกรมพิธีการทูต กรมต่างๆ ของกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ ทางฝ่ายเราก็มีอีทูต เมียทูต ทูตทหาร เมียทูตทหาร ทูตพาณิชย์ เมียทูต ทูตแรงงาย เมียทูต ทูต ททท ผัวทูต และข้าราชการตัวเล็กตัวน้อย เรียงคิวกันรับเสด็จ พอเปิดประตูมาปุ๊ป คุณผู้ชมคะ อีหมาค่ะ อีหมา 2 ตัว ฟูฟู่ กับ ฟีฟี่ วิ่งออกมา ใส่ชุดนักบิน มีชื่อปักหน้าอกด้วยตำแหน่งพลอากาศโท ตายแล้ว ทางฝ่ายสิงคโปร์ตกใจตาแทบหลุดจากเบ้า ทั้งนี้นอกจากเพราะไม่ได้แจ้งว่าจะเอาหมามา จริงๆ มันต้องการการ quarantine ด้วยซ้ำ แต่ความตกใจยังเกิดมาจากการไม่เคยเห็นอะไรที่แปลกแบบนี้ แต่งตัวหมาในชุดนักบิน แถมให้ยศทางทหาร ลึกๆ สิงคโปร์มันก็คิดว่าวชิราลงกรณ์บ้าฉิบหาย
...วชิราลงกรณ์มาถึงก็เข้าห้องไปพัก พวกเรา ขรก เด็กๆ ก็รอข้างนอก ข้าราชการของเจ้า ตัดผมขาวสามด้าน ยศน้อยฉิบหาย แต่โครตเบ่ง แม่งถามหาน้ำเก๊กฮวย ก็เพิ่งอ๋อว่าอีหมา 2 ตัวไม่ดื่มน้ำเปล่าค่ะ แม่งดื่มน้ำเก๊กฮวย ดัดจริต แต่อีหมา 2 ตัวนี้มันคือทหารจริงๆ พี่เลี้ยงสั่งมันหันซ้ายหันขวามันก็ทำ จนทางฝ่ายสิงค์โปร์ช้อคแล้วช้อคอีก มองด้วยความงงงวย ส่วนข้าราชการฝ่ายเราเห็นเป็นเรื่องน่าเอ็นดู ถ่ายรูปอีฟูฟู่ ฟีฟี่กันใหญ่
….สักครู่ พวกเราถูกเรียกมาถ่ายรูปร่วมกับเจ้า ซึ่งเป็นธรรมเนียมของการเยือนของเข้าในต่างประเทศ ข้าราชการกระทรวงจะชอบกระบวนการนี้ เพราะเมื่อได้ถ่ายกับเจ้า ก็เอารูปไปตั้งโต๊ะในที่ทำงาน เพื่อให้รู้ส่าตัวเองเคยรับใช้เจ้าองค์ไหนมาก่อน เช่นเดียวกัน มันกลายมาเป็นใบเบิกทางของข้าราชการเหล่านั้น และมันจะลงท้ายด้วยการมอบของจากเจ้าให้ ก็ต้องมีการซ้อมท่ารับของ ของจากเจ้าแม่งก็กะโหลกะลา เป็นของโชว์ห่วย จากเสิ่นเจิ้น เช่นปากกาที่แม่งเขียนไม่ติด ที่ทับกระดาษ มีดพก เข็มทิศ หรือบางทีก็สมุดโน๊ตที่มีรูปหน้าปกเป็นรูปเจ้า
…ที่นี้ เราถูกเรียกไปถ่ายรูป เราถูกสั่งให้ยืนเข้าแถวหน้าห้อง เรียงลำดับอาวุโส จากทูต ไปถึงคนระดับล่างสุด พอประตูเปิดปุ๊ป อีทูตก็เขาทรุด คือลงไปคลานเพื่อเข้าไปในห้อง ที่ไหนได้ พอเงยหน้ามาดู เป็นอีหมาสองตัวนั่งบบโต๊ะ คือเซ็ตแรกของรูปถ่ายคือการถ่ายกับอีหมา 2 ตัว ส่วนพวกเรานั่งบนพื้น กลายเป็นว่า หมาสองตัวเป็นเจ้า มีไพร่เป็นมนุษย์นั่งพับเพียบกับพื้น ก่อนจะมีการถ่ายอีกเซ็ทกับวชิราลงกรณ์ ซึ่งเข้าไม่มีปฏิสันถารอะไรกับเราเลย เค้าไม่คุยกับข้าราชการ เราไม่ได้มีโอกาสอยู่ในห้องนานกับเค้า และเอาจริงๆ ไม่ได้มีการแจกของด้วย คือการซ้อมท่ารับของก็ซ้อมฟรี
….บอกเลย เป็นประสบการณ์ลืมไม่ลง หงุดหงิด เพราะกระบวนการมันเวิ่นเว้อ ทำดีก็เสมอตัว แต่ถ้าพลาด อาจถูกลงโทษได้หนัก คิดในใจ เราเป็นข้าราชการ แตาต้องมาทำอะไรแบบนี้ แทนที่จะทำงานให้ประชาชน เสียเวลามากๆ เสียดาย หารูปที่ถ่ายกับอีหมา 2 ตัวไม่เจอ ถ้าเจอ จะเอามาลงค่ะ ไม่รู้ไปเก็บไว้ไหน
=======================================================================
#ตาสว่าง ตอนที่ 14
ในบรรดาเจ้าทั้งหมด ดิชั้นรับเสด็จพระเทพมากที่สุด บอกเลยว่า เป็นเจ้าที่เรื่องมากน้อยที่สุด อ่านไปอ่านไป คุณๆ อาจจะคิดว่าดิชั้นเป็นรอยัลลิสต์ก็ได้ ตลอดเวลาที่อยู่สิงคโปร์ ดิชั้นรับพระเทพมากกว่า 5 ครั้ง จึงทำให้ได้มีโอกาสใกล้ชิด และพระเทพก็รู้จักดิชั้นในที่สุด เผอิญคนที่รับใช้พระเทพที่เป็นคนของกระทรวงต่างประเทศ เค้าสนิทกันดิชั้น เมื่อเค้ารู้ว่าดิชั้นเรียนจบเอกจาก SOAS ซึ่งพระเทพเองก็มีกิจกรรมที่ SOAS มากมาย โดยเฉพาะด้านดนตรีไทย รวมถึงดิชั้นเพิ่งออกหนังสือภาษาอังกฤษเล่มแรกใรปี 2015 (A Plastic Nation) นางก็เลยเอาไปบอกว่าพระเทพว่า ข้าราชการคนนี้ชื่อปวิน จบ SOAS และเขียนหนังสือเรื่องความเป็นไทย พระเทพเลยสนใจ และอนุญาตให้ดิชั้นมอบหนังสือให้เป็นการส่วนตัว แต่ก็ไม่ได้มีพิธีรีตองอะไรเลย คือในระหว่างการเยือนสิงคโปร์ ดิชั้นก็แค่มีโอกาสไม่กี่นาทีที่ได้พบพระเทพเป็นการส่วนตัว มอบหนังสือ และพระเทพก็ถามว่าจบมากี่ปีแล้ว เรียนเรื่องอะไรมา อะไรแค่นั้นเท่านั้น
….ในเรื่องการรับเสด็จ มันไม่เรื่องมากเหมือนทีมงานของเจ้าคนอื่น นี่คือ ทีมงานของพระเทพส่วนใหญ่เป็นคนโอเค เอาละ ก็เจ้ายศเจ้าอย่าง แต่มันยังอยู่ในวิสัยของการพูดคุยกันได้ ไม่ถือตัวขนาดนั้น จึงทำให้การจัดงานรับเสด็จไม่ได้วุ่นวาย งานส่วนใหญ่ของพระเทพก็เป็นงานวิชาการ อันนี้ต้องบอกตรงๆ ว่า พระเทพไม่เคยมาเที่ยวเล่นแบบเจ้าองค์อื่นๆ คือถ้ามีเวลาว่างก็จะขอให้พาไปร้านหนังสือเพื่อไปซื้อหนังสือ แค่นั้น
…ส่วนดีของการรับพระเทพที่ดิชั้นต้องยอมรับ นั่นคือ หากเป็นเจ้าคนอื่น เราแทบไม่มีโอกาสเข้าใกล้ เราจะได้แต่อยู่ห่างๆ ดูความเรียบร้อยแบบห่างๆ คือไปเสนอหน้าไมาได้ โดยเฉพาะถ้าไม่ถาม ห้ามพูดอะไรเด็ดขาด แต่ของพระเทพไม่ได้เป็นอย่างนั้น ทุกเช้า พระเทพจะให้ข้าราชการสลับกันมาร่วมทานอาหารเช้า นี่รวมถึงข้าราชการระดับล่างที่ได้ร่วมโต๊ะเสวยด้วย บนโต๊ะก็จะมีไม่กี่คน ความต้องการของพระเทพเพื่อต้องการให้ข้าราชการระดับล่างรู้ว่าตัวเองได้รับความสำคัญ และส่วนหนึ่งก็อยากสอบถามเรื่องทั่วไป การทำงานอะไรแบบนี้ เอาเป็นว่า เป็นการสร้างภาพของเจ้าติดดินได้ดีทีเดียว
…ตอนนั้นดิชั้นได้รับหน้าที่ด้านพิธีการทูตด้วย และได้ทำงานพลาดอย่างหนึ่ง คือมีเวลาเหลือ แล้วพระเทพอยากไปซื้อหนังสือที่ร้านแห่งหนึ่งโดยกระทันหัน คือเราไม่ได้ไปเตรียมการล่วงหน้าที่ร้าน ที่นี้ ความซวยก็คือ ดิชั้นจำตึกผิด คือจำสับสนระหว่าง Tanglin Mall กับ Tanglin Shopping Center เมื่อรถมาจอดหน้าตึก พระเทพลงจากรถ แล้วรถก็แล่นไปเลยเพราะจอดรอริมถนนไม่ได้ สรุปว่าผิดตึกจริงๆ และตึกที่ถูกต้องมันอยู่ถัดไป ใช้เวลาเดินประมาณ 10 นาที ณ ตอนนั้น รู้เลยว่าซวยแน่ๆ เจ้าเอาตาย ทูตต้องเอาตาย แต่สรุปว่าพระเทพก็ชิว ผิดตึกก็ผิด ก็เดินต่อไปตึกถัดไป แบบไม่มีคนกางร่มให้ และก็ไม่คิดว่ามันเป็นความผิดร้ายแรงอะไร นี่คือถ้าเป็นวชิราลงกรณ์ ป่านนั้นดิชั้นคงถูกลงโทษไปแล้ว
….มาสิงคโปร์หลายครั้ง จนคุ้นเคยกับดิชั้น แม้แต่วันที่ดิชั้นลาออกไปแล้ว ดิชั้นก็ยังได้พบเจอพระเทพ เรื่องเป็นอย่างนี้ ช่วงนั้นสิงคโปร์ทะเลาะกับเจ้าไทย หลังจากที่บริษัทชินขายหุ้นให้กับบริษัทเตมาเซ็กของสิงคโปร์ จนถูกมองว่า สิงคโปร์เป็นเพื่อนทักษิณ ตอนนั้นดิชั้นไปทำงานกับสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสิงคโปร์แล้ว วันหนึ่ง ก็ถูกเรียกโดยผู้อำนวยการ เค้าบอกว่า สิงคโปร์อยากคืนดีกับเจ้าไทย ทำยังไงดี จากนั้นก็มีคนหนึ่งในห้องเสนอว่า ให้เอาพระเทพมาเป็นพวก โดยการมอบ fellowship ให้พระเทพมาทำวิจัยที่สิงคโปร์ได้แบบไม่จำกัดระยะเวลา และจะมากี่ครั้งก็ได้ นี่มาจากไอเดียที่รัชกาลที่ 4 เคยคิดว่าจะส่งรัชกาลที่ 5 หนีมาสิงคโปร์หากการเปลี่ยนผ่านมันไม่เป็นไปตามที่คิด สิงคโปร์คิดแบบนี้ คิดว่าพระเทพทะเลาะกับพี่ชาย และถ้าเปลี่ยนผ่านแล้วเกิดปัญหา พระเทพไม่ต้องหนีไปไกลที่จีน แต่สามารถมาสิงคโปร์ได้ และเป็นการคืนดีกับเจ้าไทยด้วย จึงให้ดิชั้นประสานไปที่คุณเตช บุนนาค ทางกรุงเทพดีใจที่สิงคโปร์อยากคืนดี พระเทพเลยตอบตกลงรับ fellowship ทันที
…ตอนหน้าจะมาเล่าว่า จากนั้นไม่นาน พระเทพก็มาเยือนที่ที่ทำงานดิชั้นที่สิงคโปร์ และขอให้ดิชั้นบรรยายเรื่องอาเซียนให้ฟัง นำไปสู่ความใกล้ชิดที่มากขึ้น
=======================================================================
#ตาสว่าง ตอนที่ 15
ก่อนที่จะเล่าเรื่องพระเทพต่อไปนั้น ยังไม่อยากเล่าข้ามว่าทำไมถึงลาออกจากราชการ ดิชั้นประจำการที่สถานทูตตั้งแต่ปี 2004-2007 เต็ม 4 ปี ในช่วงเวลานี้ ได้ทำงานเต็มที่ ได้รับเจ้าอย่างที่เล่าให้ฟัง ได้เห็นการเมืองภายในสถานทูต พอคนน้อย อีพวกข้าราชการที่ระดับสูงกว่าก็ข่มข้าราชการระดับล่าง ดิชั้นก็สู้ ดิชั้นไม่ยอม ยศใหญ่ยังไง ถ้าจะมาบูลลี่กัน ก็ต้องสู้กันให้ถึงที่สุด มีการแบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า ใครใกล้ชิดทูต ก็ได้ดี ได้โปรโมท ใครที่ทูตเกลียดก็ซวยไป ไม่ได้เลื่อนขึ้นอะไรแบบนี้ อยู่แล้วเบื่อหน่ายมาก ดิชั้นไม่ได้สนิทกับทูตเท่าไหร่ แต่ด้วยความที่ทูตมันต้องพึ่งดิชั้นเขียนรายงานต่างๆ มันจึงต้องทำดีกับดิชั้น แม้ว่ามันจะเกลียดในความกระด้างกระเดื่องของดิชั้น แต่จนป่านนี้หลายคนคงรู้ว่าดิชั้นแสบ ดิชั้นก็ทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น นอกเหนือจากนั้น ไม่ต้องมายุ่งกับชีวิตดิชั้น การไปโพสต์แบบนี้ ส่วนหนึ่งก็ได้ประสบการณ์การทำงานในต่างประเทศ แต่อีกส่วนก็ต้องมานั่งเสียประสาทกับการเมืองภายในแบบนี้ ในจุดที่เครียดมาก มีคนแนะนำว่า ให้ดิชั้นเอาหมามาเลี้ยง ดิชั้นก็ฟังไปอย่างงั้นแหละ เมื่อมีคนชวนไปฟาร์มหมาที่สิงคโปร์ ก็ไปอย่างงั้นแหละ จนกระทั่งไปเจอน้องหยอง ตอนนั้นแค่ 3 เดือนเอง เห็นหยองแล้วตกหลุมรัก เลยเอามาเลี้ยง เมื่อวันที่ 23 ตค 2005 ตอนนั้นหยอง 3 เดือน มาวันนี้ เราอยู่ด้วยกันมา 15 ปีแล้ว
….การเมืองในสถานทูตหรือจะร้อนแรงเท่าการเมืองไทย ดิชั้นดูข่าวจากสิงคโปร์ เห็นการชุมนุมของพันธมิตรตั้งแต่ช่วงปี 2005 เพื่อต้องการล้มทักษิณ แม้ในใจเห็นว่า ทักษิณมีนโยบายผิดหลายอย่าง และมีข่าวการคอร์รัปชั่น รวมถึงประเด็นที่พลาด อาทิ สงครามปราบปรามยาเสพติด และการที่ชาวไทยมุสลิมเสียชีวิตที่กรือแซะ และตากใบ ในสายตาดิชั้น ทักษิณสูญสิ้นความชอบธรรม แต่ดิชั้นก็คิดว่า การไล่รัฐบาลโดยกลุ่มพันธมิตรนั้นไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเมื่อเริ่มมีการใช้สีเหลืองมาเป็นสัญลักษณ์ของการขับไล่ มีการชูรูปในหลวง ราชินี ในการชุมนุมของพันธมิตร มีการพูดถึง “ผ้าฟันคอสีฟ้า” เพื่อที่จะบอกว่าสิริกิติ์ให้การสนับสนุนผู้ชุมนุม นอกจากนี้ ยังมีการชูป้ายต่างๆ ที่มีข้อความการสนับสนุนจากเจ้า อาทิ รักในหลวง ร่วมกันต้านทักษิณ เท่ากับเป็นการปลุกระดมให้ประชาชนลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเจ้า และใครที่ไม่เห็นด้วยก็จะถูกกล่าวหาว่าเป็นศัตรูกับสถาบันกษัตริย์
…ช่วงนั้นวุ่นวายมาก เพราะทักษิณสนิทกับสิงคโปร์ และการขายหุ้นชินคอร์ปให้แก่เตมาเส็กของสิงคโปร์ กลายมาเป็นประเด็นที่พันธมิตรโจมตี มีการประท้วงหน้าสถานทูตสิงคโปร์ในไทย มีการเผารูปปั้นเมอร์ไลอ้อน และเครื่องบินจำลองของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ นักการทูตอย่างเราต้องเป็นหนังหน้าไฟ คอยแก้ต่างให้กลุ่มพันธมิตรตามที่กระทรวงการต่างประเทศสั่งมา
….จนกระทั้งเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2006 ดิชั้นนั่งดูข่าวจากสิงคโปร์ เห็นการทำรัฐประหาร ในใจโกรธมากว่า ทำไมต้องอาศัยวิธีนี้ในการกำจัดทักษิณ ทักษิณสามารถถูกกำจัดได้ด้วยวิธีที่มีความชอบธรรมอื่นๆ ที่มันเลวร้ายกว่านั้น เราได้รับคำสั่งจากกระทรวงการต่างประเทศให้แจ้ง (ตอแหล) ฝ่ายสิงคโปร์ว่า 1) การทำรัฐประหารเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ มีความชอบธรรม เพราะเป็นการระงับความรุนแรงที่อาจจะบานปลาย 2) รัฐบาลทักษิณคอร์รัปชั่น สมควรโดนกำจัดไป 3) กองทัพเค้ามาปลดล็อคการเมือง ไม่ต้องการอยู่ในอำนาจ และจะรีบจัดการเลือกตั้งให้มีระบอบประชาธิปไตยต่อไป และ 4) สถาบันกษัตริย์ไม่เกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหาร (แม้เมื่อตอนประกาศการทำรัฐประหาร จะมีการแขวนรูปภูมิพลและสิริกิติ์ไว้หลังคณะทำรัฐประหารก็ตาม และมีรูปของการเข้าเฝ้าช่วงรัฐประหาร)
….ดิชั้นรับไม่ได้บอกตรงๆ รับไม่ได้จริงๆ และโกรธ โกรธเพราะสิ่งที่กระทรวงพูดไม่เป็นความจริง เราสามารถหลีกเลี่ยงรัฐประหารได้ ทักษิณต้องถูกกำจัดด้วยวิธีอื่น ทหารเป็นองค์กรที่ไม่เคยออกจากการเมือง และเรื่องนี้ภูมิพลมีส่วนรู้เห็น เมื่อรู้ว่าเป็นเรื่องโกหก แล้วยังบังคับให้เราไปโกหกต่อ ดิชั้นรับไม่ได้ เสียเกียรติภูมิของนักการทูต ที่สำคัญเกียรติภูมิของตัวเอง สิงคโปร์มันก็รู้ว่าเราโกหก มันเป็นอะไรที่ขัดใจมากๆ นี่มันคือประเด็นที่สำคัญที่ทำให้ดิชั้นตัดสินใจลาออกจากราชการ คือตาสว่างฉิบหายที่รู้ว่า เราไม่สามารถทำงานราชการได้เลยถ้าเราต้องโกหกต่อตัวเอง
…ดิชั้นอดรนทนอยู่ในสถานทูตอีก 1 ปีจนจะหมดวาระ ตลอดเวลานั้น ดิชั้นเห็นมือที่มองไม่เห็นเข้ามาวุ่นวายการเมือง ตั้งแต่การตั้งนายกคนใหม่ สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่เป็นคนที่ภูมิพลแต่งตั้ง ยิ่งรู้ว่า กษัตริย์แทรกแซงการเมืองตลอดเวลา มันทำให้ดิชั้นเขียนบทความที่ตั้งคำถามมากขึ้นเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ แม้ว่าดิชั้นจะยังเป็นข้าราชการอยู่ เรื่องหนึ่งที่ต้องโกหกเสมอมาต่อฝ่ายสิงคโปร์คือเรื่องทรัพย์สินของภูมิพลในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ต้องโกหกคือ เราต้องอธิบายให้เค้าฟังว่า กษัตริย์เราไม่ได้รวยจริง การจัดอันดับของ Forbes ผิดพลาด กษัตริย์เรายึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ ทีนี้รู้ยัง ดิชั้นได้สันดานตอแหลมาอย่างไร
….จบปี 2007 หมดวาระที่สถานทูต อยากลาออก แต่ทางบ้านถามว่าแน่ใจแล้วหรือว่าอาชีพนักวิชาการคือสิ่งที่อยากทำ เลยตัดสินใจปรึกษาผู้ใหญ่ในกระทรวง คือคุณเตช บุนนาค ที่ให้ความเห็นว่า อย่าเพิ่งลาออก ให้ลาไปทำวิจัยที่สิงคโปร์ต่อ 2 ปี เพื่อถามใจตัวเองอีกทีว่าเอาอย่างไร ดิชั้นเลยลาทำวิจัย (มค 2008-ธค 2009) 2 ปีเต็มที่สิงคโปร์ จบ 2 ปีปุ๊ปรู้แล้วว่า อาชีพนักการทูตมันไม่ใช่ของเราจริงๆ
=======================================================================
#ตาสว่าง ตอนที่ 16
เริ่มงานเป็นนักวิชาการที่สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของสิงคโปร์ วันที่ 1 มกราคม 2008 กระทรวงต่างประเทศให้ลา 2 ปี ดิชั้นสัญญากับสถาบันและกระทรวงว่าจะเขียนหนังสือเรื่องนโยบายต่างประเทศให้ 1 เล่ม และในที่สุดก็สำเร็จ นั่นคือ Reinventing Thailand: Thaksin and His Foreign Policy ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดยสำนักพิมพ์อ่าน ชื่อว่า “การทูตทักษิณ” ตลอดสองปี ดิชั้นเริ่มศึกษาเรื่องสถาบันกษัตริย์มากขึ้น เห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังรัฐประหารทักษิณ เห็นการชักใยการเมืองของทหารและสถาบันกษัตริย์ ไอ้ที่เราคิดมาตั้งแต่เด็กๆ ว่า ถ้าเราไม่ไปเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน ของโครงสร้างแบบนั้น เราจะถูกย่ำยีตลอด ความคิดนี้ไม่เคยเปลี่ยน และมันก็เป็นจริงมากขึ้น
....พอครบสองปีปุ๊ป ต้องกลับกระทรวง ตอนนั้นมั่นใจเลย 100% ว่า อาชีพนักการทูตมันไม่ใช่ของเราแล้ว และการวิจารณ์เจ้าก็ถูกจับตามองมากขึ้นจากคนในกระทรวง ดิชั้นคิดว่ามันไม่ healthy ที่จะเป็นทั้งข้าราชการและวิจารณ์รัฐบาล/เจ้าไปในเวลาเดียวกัน เลยตัดสินใจลาออก บอกแม่ที่บ้าน ที่อยากเห็นลูกสาวเป็นทูต บอกว่า แม่ขา มันไม่ใช่ของหนูค่ะ แม่ก็ยอมรับโดยดี ลาออกปุ๊ป ทางสถาบันก็รับตัวเข้าทำงานฟูลไทม์เลย เริ่มงานอย่างจริงจังก็ในต้นปี 2010 นี่คือลาออกจากกระทรวงมา 10 ปีพอดี และต้องใช้ทุนคือเป็นจำนวนมหาศาล แม้เราไม่ได้เอาทุนมาจากรัฐบาลไทยก็ตาม
...ออกมาปุ๊ป ที่นี้ก็ลุยทำงานวิจัยเรื่องสถาบันมาตั้งแต่นั้น แรกๆ คิดว่า การวิจารณ์ไทยในสิงคโปร์คงไม่เป็นไร แต่เอาจริงๆ สถาบันดิชั้นดันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลสิงคโปร์ แล้วเราก็รู้กันว่า สิงคโปร์มันก็มีความเผด็จการในตัวเหมือนกัน นี่คือที่ต่างจากญี่ปุ่น หมายความว่า พอเราวิจารณ์เจ้า สิงคโปร์ก็ร้อนตัว กลัวว่าจะทำให้ไทยโกรธ ก็เรียกดิชั้นไปตักเตือนเรื่อยๆ ขอให้เบาๆ ลง ดิชั้นก็ไม่เคยเบาลง มีแต่หนักขึ้นเรื่อยๆ
...จนมาถึงเดือนพฤศจิกายน ปี 2011 ดิชั้นตื่นมาพบกับข่าวที่ทำให้โกรธมาก ชายแก่ไทย-จีนอายุ 62 ปี ถูกจับข้อหาหมิ่นเจ้า ติดคุก 20 ปี เรารู้จักเค้าในชื่ออากง โอ้โห ทำไมมันป่าเถื่อนอย่างนี้ แกถูกใส่ร้ายว่าส่งข้อความ 4 ชิ้นไปที่เลขาของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด่าสิริกิติ์ ดิชั้นเห็นว่า แม้ทำจริง การสั่งคนติดคุก 20 ปีมันมากเกินไป จึงคิดว่าจะทำเคมเปญช่วยแก ก็ไปได้ไอเดียจากอองซานซูจีที่ต้องการช่วยนักโทษการเมือง โดยการเขียนชื่อนักโทษการเมืองบนฝ่ามือ (กลายเป็นฝ่ามืออากง) ดิชั้นเอาไอเดียนี้มาเขียนชื่ออากงบนฝ่ามือ แล้วถ่ายรูปลง ฟบ สรุปว่า กลายที่เป็นนิยมและหลายคนทำตาม จนดิชั้นคิดว่ามันกลายมาเป็นความเคลื่อนไหวระดับชาติ เราทำอย่างจริงจัง เปิดให้คนส่งรูปมา แล้วทำหนังสือขาย รายได้ทั้งหมดมอบให้อากงและครอบครัว
....เผอิญดิชั้นได้มีโอกาสกลับไทย มีคนแนะนำว่า ก็ให้เอาเงินไปมอบให้อากงเองเลย ดิชั้นก็ไปเรือนจำ ไปพบป้าอุ๊ที่เป็นภริยาอากง เมื่อเจออากงที่ยืนอยู่ในคุก เรายืนคุยกันผ่านลูกกรง ป้าอุ๊แนะนำดิชั้นว่า “คนนี้คือคนที่เค้าช่วยเรื่องลื้อและเอาเงินมามอบให้” อากงร้องไห้ทันที ขณะที่มือจับลูกกรงอยู่ แล้วอากงทรุดตัวลงไปเพื่อกราบดิชั้น ดิชั้นเอามือลอดผ่านลูกกรง ดึงตัวเค้าขึ้นมา เค้าบอกดิชั้นว่า เค้าไม่ได้ทำ เค้าถูกกลั่นแกล้ง ร้องไห้น้ำตาอาบสองแก้ม เราก็ร้องไห้ตามไปด้วย อากงยังฝากให้ช่วยดูแลลูกหลานแกด้วยหากเป็นอะไรไป ในที่สุด แกก็เสียชีวิตในคุกในปีถัดมา
....โอ้โห นี่คือทั้งโกรธ อีกแล้ว และเสียใจ ทำไมระบอบมันทำกับคนแก่ ผู้บริสุทธิ์ได้แบบนี้ ด้ชั้นจำได้ว่าดิชั้นเลิกเล่น ฟบ ไปพักหนึ่งหลังจากแกตาย เพราะทำใจไม่ได้ และรู้สึกว่า แคมเปญของเราที่ต้องการช่วยชีวิตเค้า มันล้มเหลว ในทางกลับกัน ชื่อดิชั้นกลายมาเป็นที่จับตามองว่า เป็นผู้ชอบวิจารณ์เจ้า อาจจะมีหลายคนที่เริ่มรู้จักดิชั้นจากตรงนั้น
...ตรงนี้ คือเรื่องของพระเทพที่แทรกกลับมาพอดี พอถึงตอนนั้น ดิชั้นลาออกจากกระทรวงได้เกือบสองปี วันหนึ่งได้รับโทรศัพท์จากเลขาพระเทพว่า พระเทพอยากจะมาดูงานที่สถาบันดิชั้นและอยากเรียนรู้เรื่องอาเซียน ประจวบเหมาะที่ดิชั้นเป็นหัวหน้าฝ่ายการเมืองของศูนย์ศึกษาอาเซียนของสถาบันนั้น ก็เลยต้องกลายมาเป็นผู้บรรยายให้พระเทพในโอกาสนั้น พอดีอาจารย์ชาญวิทย์มาทำวิจัยที่สถาบันดิชั้นพอดี เราได้มีโอกาสรับพระเทพพร้อมกัน ดิชั้นรับหน้าที่เป็นผู้บรรยายให้พระเทพ 1 ชม เต็ม ตลอดเวลาที่บรรยาย (เป็นภาษาอังกฤษ) พระเทพจดยิกๆๆ เมื่องานเสร็จ พระเทพเดินไปดูร้านหนังสือ จากนั้น ก็เดินตรงมาหาดิชั้น ในฐานะที่เคยรู้จักดิชั้นมาก่อน เพื่อเข้ามาทักทาย (ดิชั้นไม่มีสิทธิ์เดินไปทักทายก่อนนะคะ)
....พระเทพถามดิชั้นว่าสบายดีไหม แล้วเล่าว่า “เออ เพื่อนชั้นที่เมืองนอกเค้าฝากให้ชั้นซื้อหนังสือของเธอนะ (A Plastic Nation) ชั้นก็ไปหาซื้อในร้านไทย ไปเจออยู่ในร้านนึง หน้าปกยับยู่ยี่ ชั้นถามว่า หน้าปกยับแบบนี้ ลดราคาได้ไหม เธอรู้ไหมเด็กในร้านตอบชั้นว่า ลดไม่ได้ค่ะ ชั้นเลยต้องซื้อราคาเต็ม”
...คือดิชั้นงง บอกเพื่ออะไร? แล้วจริงๆ หรอที่เด็กไม่ลดราคาให้ ถ้าดิชั้นเป็นอีเด็กคนนั้น อย่าว่าแต่ลดราคา ยกหนังสือให้ทั้งแผงก็ต้องทำ.... แต่จากนี้ มีอะไรที่สนุกกว่า เพราะมันนำพาให้ดิชั้นได้รับเชิญจากพระเทพให้กลับไปทำภารกิจอย่างหนึ่งที่ไทย..... เดี๋ยวมาเล่าต่อค่ะ
=======================================================================
#ตาสว่าง ตอนที่ 17
ช่วงเวลาหรือ timing มันได้มาก ดิชั้นให้การต้อนรับพระเทพที่มาเยือนที่สถาบันเพื่อฟังการบรรยายของดิขั้น เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ดิชั้นทำแคมเปญฝ่ามืออากง ที่มีความหมายของการต้องการเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฎหมายหมิ่น มาตรา 112 จะว่าเป็นเรื่องบังเอิญก็ได้ ที่เผอิญต้องต้อนรับเจ้าในช่วงนี้ หลังจากพระเทพกลับไปแล้ว ภายในไม่กี่วัน ดิชั้นได้รับโทรศัพท์จากเลขาพระเทพ เพื่อเชิญให้ดิชั้นเข้าไปบรรยายสรุปให้เค้าฟังที่กรุงเทพ โดยจะออกค่าเดินทางและที่พักให้ทั้งหมด อันนี้คือเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ เรื่องที่ขอให้บรรยายคือ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เอาจริงๆ หัวข้อแบบนี้ เอาอาจารย์จากไทยไปบรรยายก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ฐิตินันท์ หรือแม้แต่อีปณิธานก็น่าจะบรรยายได้ ก็เลยงงว่าทำไมหวยมาลงที่ดิชั้น
….ดิชั้นรับปากไปแล้ว ก็เดินทางไปจริงๆ ไปถึงปุ๊ป ก็มีคนมารอรับที่สนามบิน และถูกนำตัวไปส่งที่พัก ให้พักก่อนหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้น ส่งรถมารับ และพาไปที่บรรยาย ถ้าจำไม่ผิด ก็คือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าที่นครนายก จริงๆ เมื่อตอนที่ดิชั้นจบเอกใหม่ๆ ดิชั้นก็ได้รับการทาบทามให้ไปสอนที่นั่นหลายครั้ง แต่ผ่านคอนเน็คชั่นของกระทรวงการต่างประเทศ เพราะเข้าต้องการข้าราชการที่สามารถบรรยายเรื่องการเมือง/ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ ดังนั้น การกลับไป จปร รอบนี้ จึงไม่แปลกเท่าใด
….ที่แปลกก็คือ คลาสที่ดิชั้นบรรยายมีคนฟังไม่มาก มีพระเทพนั่งฟัง และก็นายทหารระดับสูงไม่มาก ไปถึงปุ๊ป ดิชั้นก็ฉอดๆๆ บรรยายเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเขมร พม่า และลาว เป็นเวลา 3 ชั่วโมง (มีการพักเบรคนิดหนึ่งระหว่างการบรรยาย) เช่นเคย พระเทพก็จดๆๆๆๆ เมื่อบรรยายเสร็จ ก็เปิดให้มีการถามคำถาม แทบจะไม่มีการถามจากทหารคนอื่นเลย ส่วนใหญ่เป็นคำถามที่มาจากพระเทพ ซึ่งก็เป็นคำถามทั่วไป ไม่ได้พลิกแพลงพิสดาร
…ทีนี้ หลังบรรยายจบ ก็มีการมอบของที่ระลึกให้ผู้บรรยาย จำไม่ได้ว่าอะไร แต่รู้ว่าเป็นของไร้ค่า ไม่ไดอารี่ ก็ที่ทับกระดาษ ดิชั้นรับจากมือพระเทพ และมีการถ่ายรูปเป็นที่ระลึก จากนั้น ที่งงมากๆ คือ ดิชั้นได้รับเชิญให้ทานอาหารกลางวันกับพระเทพ โดยเราย้ายไปอีกห้องหนึ่ง มีดิชั้นนั่งร่วมโต๊ะเสวยกับพระเทพ เพียง 2 คน และมีทหาร (คิดว่าน่าจะเป็นองครักษ์) นั่งอยู่คนเดียวโต๊ะถัดไป บอกตรงๆ ว่าประหม่า เพราะใช้คำราชาศัพท์ไม่เก่ง และก็เกร็งที่ต้องกินข้าวกับเจ้าสองต่อสอง ดิชั้นขอข้ามเรื่องอาหารการกิน เพราะมันมีรายละเอียดมากเกินไป บอกได้แต่เพียงว่า พระเทพชอบการกินมาก แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือบทสนทนา
…การพบกับวันนั้นคือวันรัฐธรรมนูญ วันที่ 10 ธันวาคม 2011 ถ้าใครจำได้ ยิ่งลักษณ์เพิ่งเป็นนายกได้ไม่นาน และประสบปัญหาน้ำท่วม จนเป็นเหตุให้ฝ่ายตรงข้ามเล่นงานซะหนักแม้เพิ่งขึ้นสู่อำนาจ บวกไปกับประเด็นสถาบันกษัตริย์ที่กำลังเร่าร้อน ด้วยเรื่องอากงและการเรียกร้องให้มีการยกเลิกมาตรา 112 ทั้งหมดมันกลายมาเป็นฐานการพูดคุยที่น่าสนใจมาก อ้อ ขอบอกก่อนว่า พระเทพชวนคุยเป็นหลัก เป็นกันเองในจุดหนึ่ง ดิชั้นไม่ได้ชวนคุยหรือเริ่มบทสนทนาก่อน เพราะมันเป็นมารยาทที่ไพร่จะชวนเจ้าคุยไม่ได้ หรือไม่เหมาะอะไรก็แล้วแต่
…บทสนทนาเริ่มจากการที่พระเทพพูดเรื่องน้ำท่วม ที่ดิชั้นค่อนข้างแปลกใจคือ การพูดถึงปัญหานี้แบบไม่ได้โทษใคร ไม่ได้โทษยิ่งลักษณ์ โดยพูดว่า มันเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน จะโทษรัฐบาลเสียทีเดียวก็คงไม่ได้ คืออันนี้เริ่มงงละว่าจะมาไม้ไหน จากนั้นก็มาโฟกัสเรื่องยิ่งลักษณ์ โดยถามดิชั้นว่า “เค้าเป็นใครเนี่ยยิ่งลักษณ์” คือคำถามนี้ไม่ใช่ไม่รู้ว่ายิ่งลักษณ์คือใคร แต่เป็นการถามเพื่อขอความเห็นว่า ทำไมยิ่งลักษณ์ถึงสำคัญ ทำไมนางชนะการเลือกตั้ง ทำไมจึงมีทูตต่างประเทศเข้าคิวเพื่อจะพบกับนาง ทำไมๆๆๆ แล้วเอาจริงๆ พอดิชั้นจะตอบคำถามเหล่านี้ ดูเหมือนพระเทพจะไม่สนใจคำตอบ อีกนัยหนึ่ง นี่มันไม่ใช้คำถาม แต่เป็นประโยคบอกเล่าเท่านั้น เข้าใจไหมคะ
….พระเทพไม่ได้ตำหนิยิ่งลักษณ์แม้แค่คำเดียว ในทางตรงกันข้าม ได้ขอให้ดิชั้นให้ความเห็นเกี่ยวกับอภิสิทธิ์ ซึ่งเพิ่งลงจากตำแหน่งนายกไป โดยเป็นคำถามที่ล่อมาก คือถามว่า ทำไมอภิสิทธิ์ชอบทะเลาะกับประเทศเพื่อนบ้าน (ในกรณีเขาพระวิหาร) คือโดยสรุป ตามที่ดิชั้นตีความ การชมยิ่งลักษณ์และตำหนิอภิสิทธิ์คือความต้องการที่จะแสดงว่า พระเทพเข้าใจการเมืองไทย ไม่ได้ฝักใฝ่สีไหนเป็นพิเศษ ซึ่งอันนั้นถือว่าน่าสนใจมาก ถามว่าดิชั้นเชื่อตามนั้นหรือไม่ อันนี้พูดยาก รู้แต่เพียงว่า พระเทพไม่ธรรมดา และฉลาดในเรื่องการวางตัวทางการเมือง ส่วนเรื่องที่ทำไมเชิญดิชั้น และมาพูดเรื่องนี้กับดิชั้น อาจเพราะอยากให้ดิชั้นไปพูดต่อว่าพระเทพมีความเป็นกลางทางการเมือง
…..ก่อนจบอาหารกลางวัน พระเทพขอบใจดิชั้นเรื่องช่วยจัดการเรื่องการขอทุนวิจัยให้พระเทพที่สถาบันของดิชั้นที่สิงคโปร์ แต่ก็คุยทับว่า พระเทพก็ได้ทุนแบบนี้จากมหาลัยฮาร์วาร์ดด้วยเหมือนกัน (แต่จากโครงการไทยศึกษาที่ได้เงินสนับสนุนจากสถาบันกษัตริย์นั่นเอง) ที่เซอร์ไพรซ์ที่สุดคือการมอบของที่ระลึกอีกชิ้นให้ดิชั้น นั่นคือรูปที่ถ่ายก่อนหน้าที่ในท่าที่ดิชั้นรับของจากมือพระเทพ ทางเจ้าหน้าที่เอารูปไปปรินท์อย่างรวดเร็ว ใส่กรอบทอง และพระเทพมอบให้ดิชั้นอีกครั้งพร้อมลายเซ็น ตอนนี้ตั้งอยู่ที่ออฟฟิสที่ญี่ปุ่นค่ะ นั่นคือครั้งสุดท้ายที่ดิชั้นได้พบกับพระเทพค่ะ
=======================================================================
#ตาสว่าง ตอนจบ
ช่วงกลางปี 2011 มีเพื่อนที่ญี่ปุ่นกระซิบว่า ที่มหาลัยเกียวโตเปิดสมัครรับอาจารย์ จริงๆ ตอนแรกก็ไม่กระตือรือล้นเท่าไหร่ แต่ก็ไปสมัครดู จากนั้นไม่นาน ทางญี่ปุ่นก็ส่งตั๋วเครื่องบินมาเรียกตัวไปสัมภาษณ์ รับ 1 ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สรุปว่าผ่านสัมภาษณ์ค่ะ ก็แค่นั้น จบชีวิตที่สิงคโปร์ที่อยู่กับมันมาถึง 9 ปี ใครจะวิจารณ์สิงคโปร์ว่าเป็นอย่างไร แต่ดิชั้นยังรักในประเทศนี้ ในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ และมันเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ดิชั้นรู้จุดยืนของตัวเอง จนนำไปสู่การลาออกจากระบบราชการ
…มาเริ่มงานที่เกียวโตเดือนเมษายนปี 2012 มีวิชาที่ต้องสอนในปีแรกๆ 3 ตัว ย้ายจากสิงคโปร์มาญี่ปุ่นมันก็เป็น culture shock อย่างหนึ่ง จากการที่สิงคโปร์ส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของญี่ปุ่นนี่ปล่อยเป็น free flow เลย คือเค้าไม่มาสนว่าเราต้องทำอะไร ทำแบบไหน ตราบที่ความรับผิดชอบของเราไม่บกพร่อง ดิชั้นกล้าพูดเลยว่า จากการเดินทางมารอบโลก ไปสอนมาหลายมหาวิทยาลัยของโลก ไม่มีที่ไหนที่ให้เสรีภาพทางวิชาการได้เท่าญี่ปุ่น แม้แต่ช่วงเวลาที่เลวร้ายชองดิชั้น รัฐบาลญี่ปุ่นและมหาวิทยาลัยเกียวโตเคารพในเสรีภาพทางวิชาการ ไม่ก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานของดิชั้นแต่อย่างใด อีกอย่างที่จะแจ้งให้สลิ่มไทยทราบ ญี่ปุ่นมีประเพณีของการรักษาบูรณาการทางวิชาการสูง แม้แต่การเมืองก็แทรกแซงไม่ได้ ไอ้การที่จะกดดันรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อให้มากดดันดิชั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้
….พอมาเป็นอาจารยเต็มตัวก็เดินหน้าเลคเชอร์เรื่องสถาบันกษัตริย์อย่างต่อเนื่อง ช่วงนั้นได้รับเชิญจากมหาลัยไทยไปบรรยายบ่อย ต้องเดินทางโอซาก้า-กรุงเทพบ่อย และดิชั้นก็ชอบ จนมันเกิดรัฐประหารล้มยิ่งลักษณ์ในปี 2014 จากนั้นทุกคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ดิชั้นถูกเรียกปรับทัศนคติ แต่ดิชั้นปฏิเสธเพราะไม่ได้ทำผิดอะไร แต่เสนอที่จะส่งอีหมูหยองเป็นผู้แทนดิชั้นไปรับการปรับทัศนคติแทน ซึ่งทำให้ทหารมันโกรธมากเพราะมันรับการถูกล้อไม่ได้ มันเลยออกหมายจับ ยกเลิกหนังสือเดินทาง ทำให้ดิชั้นกลายเป็นผู้ลี้ภัยข้ามคืน
…จากนั้น ดิชั้นก็ถูกรังแกมาตลอด
ทหารส่งคนไปรังควานแม่ครั้งแรก ต่อมา
เมื่อดิชั้นได้รูปลับศรีรัศมิ์ที่ถูกบังคับโกนหัว แล้วดิชั้นเขียนเรื่องนี้ลงเฟซบุ๊ค (แม้จะยังไม่ลงรูป) วชิราลงกรณ์ส่งคนจาก 904 ไปรังควานแม่อีกรอบ คราวนี้ขู่ว่า ถ้าดิชั้นไม่หุบปาก คนในบ้านจะเจ็บตัว ไม่ใช่แค่คนในบ้านถูกรังควาน
การเดินทางของดิชั้นในช่วงแรกๆ หลังรัฐประหารก็ลำบาก ดิชั้นถูกกักตัวหลายสนามบิน เพราะสถานทูตไทยแจ้งว่าดิชั้นเป็นอาชญากร
การบรรยายหรือเล็คเชอร์แรกๆ ก็มีเจ้าหน้าที่สถานทูตมาป่วน ดิชั้นไม่เอาพวกนี้ไว้ ดิชั้นด่าพวกแม่งต่อหน้าฝูงชนระหว่างการเล็คเชอร์ของดิชั้น
พอกันทีกับการเป็นฝ่ายรับจากสถานการณ์แบบนี้ ดิชั้นขอรุกบ้าง แม้ในชีวิตจริง ดิชั้นจะยังเป็นรับก็ตาม
…นี่คือตอนจบของซีรีย์ #ตาสว่าง เรื่องนี้มันสอนอะไรดิชั้น มันสอนว่า ดิชั้นเกิดมาในครอบครัวที่อาจจะดีกว่าหลายคน ได้เข้าในสังคมที่ดี ได้รับการศึกษาดี หน้าที่การงานดี แต่สิ่งเหล่านี้มันได้มาเพราะน้ำพักน้ำแรงตัวเอง จากต้นทุนที่มีไม่มาก ดิชั้นเห็นถึงสองมาตรฐาน เห็นกลุ่มคนที่มีอภิสิทธิ์ การรัดคิว การได้รับผลตอบแทนในชีวิตที่ไม่ต้องเหนี่อย เพียงเพราะเค้าเป็นส่วนหนึ่งของระบอบที่เค้าปกป้องมันไว้ ถ้าคุณไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบอบนั้น คุณต้องทำงานเหนื่อยเป็นร้อยเท่า ยังไงก็ยังไม่ได้เท่าพวกเค้าอยู่ดี
….นี่ไม่ใช่เรื่องการต้องยอมรับในวาสนาห่าเหวอะไร ใช่ เกิดมารวยจนต่างกัน แต่สังคมต้องสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกัน แต่ในสังคมไทยมันไม่ได้เป็นอย่างนั้น เราถลำลึกในสังคมที่อิงกับระบบอุปถัมภ์ ที่มีสถาบันกษัตริย์เป็นแหล่งเพาะโรคร้าย เอาง่ายๆ แค่เรื่องการคืนยศเมื่อวานที่มันผิดไปจากกรอบพิจารณาทางกฎหมาย คนที่ได้ประโยชน์จากสถาบันกษัตริย์ยังคงเดินหน้าออกมาแก้ต่างให้แบบน้ำขุ่นๆ
….ดิชั้นต้องการอะไร จริงๆ แค่ต้องการสังคมที่ให้โอกาสที่เท่าเทียมอย่างว่า ดิชั้นสนับสนุนข้อเรียกร้อง 10 ขัอของนักศึกษาในการพาสถาบันกษัตริย์กลับสู่รัฐธรรมนูญ นี่ไม่ใช่ข้อเรียกร้องล้มเจ้า พ่อมึงตาย นี่คือข้อเรียกร้องที่จะทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่คู่กับประชาธิปไตยเท่านั้น
…สุดท้าย เรามาถึงปี 2020 เราควรต้องเข้าใจกันเสียทีว่า ความรวยจนอาจจะแบ่งชนชั้น แต่ในความเป็นมนุษย์ เราทุกคนเท่าเทียมกัน ดิชั้นเป็นด๊อกเตอร์จบปริญญาเอก แต่ความเป็นมนุษย์ ดิชั้นมีค่าเท่ากับอีเย็นที่ไถนาอยู่ที่หนองบัวลำภู ตำแหน่งกษัตริย์เป็นแค่หัวโขน ถอดมันออก เราคือมนุษย์เท่ากัน และดิชั้นถือในความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันมาก ดิชั้นจะไม่ยอมรับความต่ำต้อยของตัวเอง จะไม่ยอมกราบใครค่ะ ภูมิใจเกิดมาเป็นกะเทยเริ่ดๆ เชิ่ดๆ สวยๆ ผัวเยอะ…. ลาไปก่อนค่ะ
...ปล: รูปนี้ถ่ายวันสุดท้ายก่อนออกจากสิงคโปร์มาญี่ปุ่น
=======================================================================
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น