เกิด | ธงชัย วินิจจะกูล 2500 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
---|---|
อาชีพ | นักประวัติศาสตร์ |
มีชื่อเสียงจาก | กำเนิดของแนวคิดชาตินิยมในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย |
ศาสตราจารย์ ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวไทย เกิดและโตที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย อดีตรองนายกองค์การบริหารองค์การนักศึกษามหาวิทยาธรรมศาสตร์อดีตเป็นผู้นำนักศึกษาซึ่งถูกจับกุมในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ต่อมาย้ายไปสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา
เขามีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและวิทยาการของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคต้นสมัยใหม่และสมัยใหม่ (คริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20) โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการปะทะกันทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับอารยธรรมตะวันตก ประวัติศาสตร์ความคิดและการเมืองวัฒนธรรมของสยาม/ไทย ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ชาตินิยม ประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ความทรงจำ ประวัติศาสตร์บาดแผล และวิธีที่สังคมจัดการกับอดีตที่เป็นปัญหาเหล่านั้น[1]
หนังสือและงานวิจัยภาษาอังกฤษ[แก้]
- Siam Mapped: A History of the Geo-Body of a Nation (Honolulu: University of Hawaii Press, 1994).
หนังสือและงานวิจัยภาษาไทย[แก้]
- การเมืองเรื่องการกำหนดเขตเลือกตั้ง: กรณีการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร เขต 12 และ 13 ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2531 (กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา, 2533).
- วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบวงศาวิทยา (รายงานโครงการวิจัยเสริมหลักสูตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2534).
- ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา (กรุงเทพฯ: มูลนิธิ 14 ตุลาฯ, 2548).
- ภูมิกายาและประวัติศาสตร์ (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2554).
- ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง: ว่าด้วยประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2556).
- กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ (กรุงเทพฯ: อ่าน, 2556).
- 6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง: ว่าด้วย 6 ตุลา 2519 (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2558).
- โฉมหน้าราชาชาตินิยม: ว่าด้วยประวัติศาสตร์ไทย (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2559).
- คนไทย/คนอื่น: ว่าด้วยคนอื่นของความเป็นไทย (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2560).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น