เพลงฉ่อยชาววัง

วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563

บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: BTS GROUP HOLDINGS PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ:BTS ชื่อเดิม: บริษัท ธนายง จำกัด) [2] เป็นบริษัทประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจสื่อโฆษณา ธุรกิจให้บริการ และธุรกิจระบบขนส่งมวลชน แต่เดิมประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก่อนเข้ารับสัมปทานระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครจากกรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสายแรกของประเทศไทย โดยเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับ กรุงเทพมหานคร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง และกองทัพเรือไทย รวมถึงยังดำเนินการธุรกิจสื่อโฆษณา และธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับพันธมิตรตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าในทุกสายทางที่กำหนดไว้ในแผนแม่บท[3]



เนื้อหา

1 ประวัติ

2 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

3 หน่วยธุรกิจ

3.1 กลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและระบบขนส่งมวลชน

3.2 กลุ่มธุรกิจสื่อโฆษณา

3.3 กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

3.4 กลุ่มธุรกิจบริการ

4 อ้างอิง

ประวัติ

ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2511 ในชื่อบริษัท ธนายง จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และได้เริ่มเปิดโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โครงการแรก คือ “โครงการธนาซิตี้” ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนบางนา-ตราด กม.14 ในปี 2531 ซึ่งเป็นโครงการที่ประกอบไปด้วยบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม และที่ดินเปล่าจัดสรร


บริษัทฯ ได้นำกิจการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและเริ่มทำการซื้อขายหลักทรัพย์ครั้งแรกในวันที่ 1 มีนาคม 2534 และต่อมาเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2536 บริษัทฯ ได้จดทะเบียนแปรสภาพจากบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และได้ขยายลักษณะการประกอบธุรกิจออกไปหลายประเภท เช่น โครงการอสังหาริมทรัพย์ อาคารพักอาศัยใจกลางเมือง เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ อาคารสำนักงาน โรงแรม และโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่


บริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการที่กู้ยืมเงินจากต่างประเทศ การลอยตัวค่าเงินบาทส่งผลให้เงินกู้ยืมที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบเป็นสกุลเงินบาท ในระหว่างปี 2545-2549 บริษัทฯ ได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งบริษัทได้ปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูกิจการจนกระทั่งศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการในปลายปี 2549 ระหว่างปี 2550-2552 บริษัทและบริษัทในกลุ่มได้ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์สำหรับการพัฒนาโครงการในอนาคต


วันที่ 4 พฤษภาคม 2553 บริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยการได้มาซึ่งหุ้นสามัญของบีทีเอสซี ร้อยละ 94.60 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบีทีเอสซี และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ทำให้ธุรกิจหลักของกลุ่มเปลี่ยนไปเป็นธุรกิจระบบขนส่งมวลชน


ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 บริษัทได้เปลี่ยนหมวดเป็น “ขนส่งและโลจิสติกส์” ภายใต้อุตสาหกรรม “บริการ” และได้เปลี่ยนชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์เป็น “BTS” [3] ในวันที่ 18 ธันวาคม 2555 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) มีมติอนุมัติให้มีการระดมทุนโดยการร่วมจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอส โกรท (BTS Rail Mass Transit Growth Infrastructure Fund – BTSGIF) โดยได้มีการเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 4 เมษายน 2556 ซึ่งเป็นหนึ่งใน IPO ทีมีมูลค่าสูงสุดในประวัตศาสตร์ไทย โดยขนาดกองทุนมีมูลค่ากว่า 61,399 ล้านบาท[4] [5]


วันที่ 16 มิถุนายน 2560 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และกระทรวงคมนาคม ได้จัดพิธีลงนามในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูกับ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด และรถไฟฟ้าสายสีเหลืองกับ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ อันประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน) ระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี 3 เดือน แบ่งเป็นระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน (39 เดือน) และดำเนินการงานเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง 30 ปี


ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

ข้อมูล ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2560 [6]

ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น

1 นาย คีรี กาญจนพาสน์ 3,281,164,652 27.49%

2 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 884,174,744 7.41%

3 นาย กวิน กาญจนพาสน์ 602,459,295 5.05%

4 ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 545,466,733 4.57%

5 บริษัท เค ทู เจ โฮลดิ้ง จำกัด 360,000,000 3.02%

หน่วยธุรกิจ

ปัจจุบัน บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ประกอบธุรกิจทั้งหมดสี่ด้าน โดยธุรกิจด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบขนส่งมวลชน และธุรกิจสื่อโฆษณาเป็นธุรกิจหลักของบริษัท โดยหน่วยธุรกิจต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้


กลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและระบบขนส่งมวลชน

บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย โดยมีบริษัทย่อยและบริษัทร่วมทุนกับภาครัฐดังต่อไปนี้



รถไฟฟ้าบีทีเอส

บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นคู่สัญญาสัมปทานในโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร สายอ่อนนุช - หมอชิต (รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน) และสนามกีฬาแห่งชาติ - สะพานตากสิน (รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม) และร่วมลงทุนในโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง (ระยะที่ 1) สายกรุงธนบุรี - สำนักงานเขตคลองสาน จากกรุงเทพมหานคร

บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด และบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด เป็นบริษัทร่วมค้ากับ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เดิม) ในนามกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ เป็นคู่สัญญาสัมปทานในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายแคราย - มีนบุรี (รถไฟฟ้าสายสีชมพู) และโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายลาดพร้าว - สำโรง (รถไฟฟ้าสายสีเหลือง) กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

บริษัทร่วมค้ากับ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในนามกิจการร่วมค้าบีจีเอสอาร์ เป็นคู่สัญญาสัมปทานงานบริหารและซ่อมบำรุงโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน - นครราชสีมา (M6) และสายบางใหญ่ - กาญจนบุรี (M81) กับกรมทางหลวง

บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด เป็นบริษัทร่วมค้ากับ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ในนามกิจการร่วมค้าบีบีเอส เป็นคู่สัญญาสัมปทานงานก่อสร้าง บริหารและซ่อมบำรุงโครงการท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา) และบริหารโครงการเมืองการบินภาคตะวันออก กับกองทัพเรือ

นอกจากนี้ยังมีโครงการเกี่ยวกับระบบขนส่งมวลชนในอนาคตที่ทางบีทีเอสตั้งเป้าหมายเอาไว้ เช่น โครงการ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้าสายสีเทา รถไฟฟ้าไลท์เรล สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น