เพลงฉ่อยชาววัง

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564

ความยุติธรรม


ความยุติธรรมในสังคม (Social justice)

             มนุษย์เป็นสัตว์ที่อยู่เป็นสังคม การที่อยู่ร่วมกันก็ย่อมมีการประพฤติปฏิบัติต่อกันและกัน รวมทั้งมนุษย์แต่ละคนย่อมมีแนวปฏิบัติของตนเองว่า จะกระทำอะไร อย่างไร ด้วยเหตุผลอะไร โดยธรรมชาติมนุษย์มีแนวโน้มที่จะใฝ่หาความสุข ความสบาย หลีกหนีความทุกข์ยาก ความลำบาก และโดยธรรมชาติมนุษย์อาจจะปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเลวร้ายหรืออย่างเอารัดเอาเปรียบ หากว่าตนเองจะได้รับประโยชน์หรือความสุขความสบายเป็นเครื่องตอบแทนถ้าทุกคนปฏิบัติเช่นนั้นสังคมก็จะยุ่งเหยิงวุ่นวายที่สุดแล้วก็คงไม่มีใครที่จะอยู่ได้อย่างสุขสงบ

            ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีกฏเกณฑ์ร่วมกัน การที่จะให้ผู้อื่นเคารพสิทธิของตนเองและไม่เบียดเบียนตนเอง ตนก็ต้องเคารพสิทธิของผู้อื่นและไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตนเองอยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตนเองอย่างไร ก็ต้องปฏิบัติอย่างนั้นต่อผู้อื่น

            ปราชญ์ในสมัยกรีกโบราณเช่น โสเครตีส เพลโต และอริสโตเติ้ลต่างก็พยายามหาคำตอบที่ว่า
อะไรคือจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต?
ความดีคืออะไร? และ
มนุษย์ควรจะปฏิบัติตนอย่างไร?
เอาอะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าดี?
ความดีนั้นเป็นสากลหรือไม่ หรือความดีจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมทางสังคมแต่ละยุคสมัย? ความยุติธรรมคืออะไรและใช้เกณฑ์อะไรตัดสิน?

            ความยุติธรรมเป็นแม่แบบของแนวทางต่างๆ เป็นแนวทางในเกณฑ์การตัดสิน ซึ่งมีกฏหมายเป็นเครื่องมือในการทำหน้าที่ ความยุติธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดเพราะการที่คนเราจะกำหนดว่าอะไรคือความดี แล้วความดีกับความชั่วต่างกันตรงไหนเป็นเรื่องที่ต้องวิเคราะห์กันอย่างละเอียด

            โสเครตีสเชื่อว่าถ้าเราไม่สามารถหาคำนิยามของคุณธรรมเหล่านี้ได้ เราก็จะไม่สามารถมีความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมได้ และการตัดสินว่าการกระทำหนึ่งมีความยุติธรรม หรือกล้าหาญ ฯลฯ หรือไม่ ย่อมปราศจากหลักเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือ

            คุณแม่คนนึงแบ่งเค้กให้ลูกแฝดทั้งสองคน คุณแม่แบ่งให้ลูกคนที่โตกว่าไม่กี่ชั่วโมง น้อย กว่าอีกคนคนโต บอกคุณแม่ไม่ยุติธรรม ถึงผมจะแก่กว่าไม่กี่ชั่วโมงก็ไม่ใช่ว่าผมจะได้เค้กน้อยกว่า(สมมติฮะสมมติ)แล้วคุณคิดว่าความยุติธรรมคืออะไรการแบ่งครึ่งๆ อย่างเท่ากัน หรือเปล่า...ขณะที่พี่คนโตกว่าบอกไม่ยุติธรรม ส่วนคนน้องว่ามันยุติธรรมดีแล้วหรือความยุติธรรมก็คือเรื่องของผลประโยชน์?

            ความยุติธรรม คือ ยุติ และ ธรรม ตีความตามตัวอักษรได้ว่า เป็นธรรมอันนำไปสู่ความยุติ คือจบลงแห่งเรื่องราวJohn Rawls กล่าวไว้ว่า Justice is conditions of fair equality of opportunity

            ในความเห็นราบูคิดว่าความยุติธรรมก็เหมือนกับประชาธิปไตยคือ ความคิดเห็นของคนส่วนมากที่มีความคิดเห็นอย่างเดียวกัน ผลประโยชน์ที่ได้รับคือผลประโยชน์ที่กลุ่มคนได้รับเหมือนกัน คิดว่าเหมือนผลประโยชน์ของส่วนรวมนั่นแหละ แน่นอนว่าบางครั้งความยุติธรรมมันต้องขัดกับผลประโยชน์ของคนกลุ่มๆนึง

            ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดให้มีกฎหมายบังคับใช้ในสังคม ถ้าคนไหนทำผิดตามหลักเกณฑ์ของสังคมนั้นจะมีบทบัญญัติในการลงโทษ ซึ่งคนส่วนมากเห็นด้วยกับหลักการข้อนี้ ตัวอย่างเช่น คนที่ขโมยของถูกปรับ ฯลฯ นั่นคือความยุติธรรมของสังคม

            ความยุติธรรมเป็นตัวกำหนดทิศทางของสังคม ซึ่งความยุติธรรมของแต่ละสังคมไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น หากสังคมหนึ่งทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า การขโมยของเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ถือว่ายุติธรรม ซึ่งในความเป็นจริงแล้วความยุติธรรมที่เป็นที่นิยมมากที่สุดเป็นความยุติธรรมที่ต้องอยู่คู่กับ คุณธรรมและจริยธรรม ที่เป็นเครื่องช่วยในการกำหนดกฎเกณฑ์ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ดี ถูกต้อง และเหมาะสม แล้วความยุติธรรมแบบไหนที่คนส่วนมากจะยอมรับ

แนวคิดที่ยึดหลักคุณธรรม หรือคุณงามความดี (virtue)

            อริสโตเติ้ลกล่าวว่า มนุษย์ทุกคนจะต้องเลือกเองว่าจะทำอะไรซึ่งดีสำหรับตนเอง และในขณะเดียวกันก็ดีสำหรับผู้อื่นด้วย ในการเลือกต้องใช้หลักของคุณธรรมมากกว่าที่เลือกตามความพอใจของตนเอง คุณธรรมสามประการที่อริสโตเติ้ลเน้นได้แก่

            temperance (การรู้จักควบคุมตน, การข่มใจ,การรู้จักพอ),courage (ความกล้าหาญ) ความกล้าหาญคือการเลือกตัดสินใจด้วยเหตุผลถึงแม้จะตระหนักถึงอันตรายที่อยู่ข้างหน้า ผู้ที่มีความกล้าหาญไม่ใช่ผู้ที่ปราศจากความกลัว แต่เลือกกระทำด้วยความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่กระทำคือความถูกต้อง ไม่ใช่กล้าบ้าบิ่นขาดการไตร่ตรองด้วยปัญญา

            justice (ความยุติธรรม) นั่นคือมนุษย์ทุกคนควรปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเท่าเทียมกันเหมือนที่อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตนเอง

            จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฏศีลธรรม (1) ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า ethic ซึ่งหมายถึง system of moral principles, rules of conduct (2) คำว่า ethic มีรากศัพท์มาจากคำว่า ethos ในภาษากรีกซึ่งหมายถึงข้อกำหนดหรือหลักการประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้อง และตรงกับคำในภาษาลาตินว่า mores ซึ่งต่อมากลายเป็นคำว่า morality ในภาษาอังกฤษ ( 3 )

            คำว่า จริยศาสตร์ หมายถึง ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยความประพฤติและการครองชีวิตว่า อะไรดีอะไรชั่ว อะไรถูกหรืออะไรผิด หรืออะไรควรอะไรไม่ควร (1) ตรงกับคำว่า ethics ในภาษาอังกฤษ

แนวความคิดเรื่องประโยชน์ส่วนรวม ( Utilitarianism)

            เมื่่่่อมนุษย์อยู่รวมกันเป็นสังคมใหญ่ก็จะทำให้เกิดข้อขัดแย้งว่า pleasure ของใครจะสำคัญกว่ากัน?คำถามเหล่านี้ได้รับการอธิบายโดยแนวความคิดที่ว่า การกระทำที่นำประโยชน์สูงสุด แก่จำนวนคนที่มากที่สุด และให้ประโยชน์ได้นานที่สุด คือแนวทางปฏิบัติของมนุษย์

            ความยุติธรรมมีจริงหรือไม่ ? ความยุติธรรมนั้นเมื่อเราแยกจากหมวดหมู่ของคำ ก็จะรู้ว่า คำว่าความยุติธรรมนั้น เป็นนามธรรม(abstract noun) คือไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้ ตามหลักวิทยาศาสตร์จะขออธิบายดังนี้ ความยุติธรรมนั้นจับต้องไม่ได้ ความยุติธรรมมีจริงเพราะเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเงื่อนไขไปสู่ข้อยุติของปัญหานั้นๆ ความยุติธรรมสัมผัสได้ แต่สัมผัสได้ด้วยใจ(mind)เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนเพราะว่าจิตใจ (mental) ของคนเราไม่เหมือนกัน

waraporn M.4/11

https://sites.google.com/site/warapornm411/khwam-yutithrrm-ni-sangkhm-social-justice

===============================================================

มองความยุติธรรมของสังคม-การเมืองไทย ผ่านทฤษฎีความยุติธรรม ของ จอห์น รอลส์

John Rawls
Black-and-white portrait photograph of a man wearing glasses
Rawls in 1971
Born
John Bordley Rawls

February 21, 1921
DiedNovember 24, 2002 (aged 81)
Spouse(s)Margaret Warfield Fox

Philosophy career
EducationPrinceton University (BAPhD)
AwardsRolf Schock Prizes in Logic and Philosophy (1999)
Era20th-century philosophy
RegionWestern philosophy
School
InstitutionsAs faculty member:As fellowChrist Church, Oxford
ThesisA Study in the Grounds of Ethical Knowledge: Considered with Reference to Judgments on the Moral Worth of Character (1950)
Doctoral studentsThomas Pogge
Main interests
Notable ideas
Influences
Influenced
Signature
John Rawls signature

John Bordley Rawls (/rɔːlz/;[2] February 21, 1921 – November 24, 2002) was an American moral and political philosopher in the liberal tradition.[3][4] Rawls received both the Schock Prize for Logic and Philosophy and the National Humanities Medal in 1999, the latter presented by President Bill Clinton, in recognition of how Rawls' work "helped a whole generation of learned Americans revive their faith in democracy itself."[5]

In 1990, Will Kymlicka wrote in his introduction to the field that "it is generally accepted that the recent rebirth of normative political philosophy began with the publication of John Rawls's A Theory of Justice in 1971."[6][7] Rawls has often been described as one of the most influential political philosophers of the 20th century.[8] He has the unusual distinction among contemporary political philosophers of being frequently cited by the courts of law in the United States and Canada[9] and referred to by practising politicians in the United States and the United Kingdom.[10]

Rawls's theory of "justice as fairness" recommends equal basic rights, equality of opportunity and promoting the interests of the least advantaged members of society. Rawls's argument for these principles of social justice uses a thought experiment called the "original position," in which people select what kind of society they would choose to live in if they did not know which social position they would personally occupy. In his later work Political Liberalism (1993), Rawls turned to the question of how political power could be made legitimate given reasonable disagreement about the nature of the good life.

--------------------------

"Justice as Fairness: Political not Metaphysical" is an essay by John Rawls, published in 1985.[1] In it he describes his conception of justice. It comprises two main principles of liberty and equality; the second is subdivided into Fair Equality of Opportunity and the Difference Principle.

Rawls arranges the principles in 'lexical priority, prioritizing in the order of the Liberty Principle, Fair Equality of Opportunity, and the Difference Principle. This order determines the priorities of the principles if they conflict in practice. The principles are, however, intended as a single, comprehensive conception of justice—'Justice as Fairness'—and not to function individually. These principles are always applied so as to ensure that the "least advantaged" are benefitted and not hurt or forgotten.

Rawls originally presented the theory in his 1971 book A Theory of Justice, subsequently expanding upon several of its themes in his later book titled Political Liberalism

A Theory of Justice
A Theory of Justice - first American hardcover edition.jpg
Cover of the first American edition
AuthorJohn Rawls
CountryUnited States
LanguageEnglish
SubjectDistributive justice
PublisherBelknap Press
Publication date
1971
Media typePrint (hardcover · paperback)
Pages560
ISBN978-0-674-00078-0
320/.01/1 21
LC ClassJC578 .R38 1999

A Theory of Justice is a 1971 work of political philosophy and ethics by the philosopher John Rawls, in which the author attempts to provide a moral theory alternative to utilitarianism and that addresses the problem of distributive justice (the socially just distribution of goods in a society). The theory uses an updated form of Kantian philosophy and a variant form of conventional social contract theory. Rawls's theory of justice is fully a political theory of justice as opposed to other forms of justice discussed in other disciplines and contexts.

The resultant theory was challenged and refined several times in the decades following its original publication in 1971. A significant reappraisal was published in the 1985 essay "Justice as Fairness", and subsequent books under the same title, within which Rawls further developed his two central principles for his discussion of justice. Together, they dictate that society should be structured so that the greatest possible amount of liberty is given to its members, limited only by the notion that the liberty of any one member shall not infringe upon that of any other member. Secondly, inequalities – either social or economic – are only to be allowed if the worst off will be better off than they might be under an equal distribution. Finally, if there is such a beneficial inequality, this inequality should not make it harder for those without resources to occupy positions of power – for instance, public office.[1]

First published in 1971, A Theory of Justice was revised in 1975, while translated editions were being released in the 1990s it was further revised in 1999. In 2001, Rawls published a follow-up study titled Justice as Fairness: A Restatement. The original edition was reissued in 2004.


หากคิดแบบนักปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ ความยุติธรรมถือเป็นสัญญาประชาคมที่เป็นรากฐานของระบบสังคม-การเมือง นักปรัชญาที่เสนอความคิดเช่นนี้อย่างชัดเจน คือ จอห์น รอลส์ (John Rawls) ในหนังสือชื่อ “ทฤษฎีความยุติธรรม” (A Theory of Justice) รอลส์ เสนอว่า หลักความยุติธรรมคือสัญญาประชาคมที่เป็นรากฐานของสังคม-การเมือง รัฐธรรมนูญ การปกครองของรัฐ การบัญญัติ/การใช้กฎหมายต้องสอดคล้องกับหลักความยุติธรรมอันเป็นรากฐานของสังคม-การเมืองนั้นๆ


ในทฤษฎีความยุติธรรม รอลส์ เสนอหลักความเที่ยงธรรมในการสร้างหลักความยุติธรรม และเสนอหลักความยุติธรรมไว้อย่างน่าสนใจ โดยสรุปดังนี้ 


1. หลักความเที่ยงธรรมในการสร้างหลักความยุติธรรม คือหลักความเที่ยงธรรม (the principle of fairness) ในการตกลงใจกำหนดหลักความยุติธรรม (the principle of justice) ที่ใช้ปฏิบัติแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม สาระสำคัญของหลักการที่ว่านี้คือ หลักความยุติธรรมที่เป็นธรรมแก่ทุกคนจริงๆ ต้องกำหนดขึ้นจากการยอมรับ “สถานะที่เท่าเทียมในความเป็นมนุษย์” รูปแบบความยุติธรรมที่เริ่มจากความเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นรูปแบบที่ทุกคนยอมรับได้ และส่งผลให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม 


หลักการสร้างหลักความยุติธรรมจากสถานะที่เท่าเทียมของมนุษย์ เป็นไปได้เมื่อเราคิดสร้างหลักความยุติธรรมจาก “สถานะแรกเริ่ม” (the original position) คือสถานะที่ผู้มาร่วมตกลงสร้างหลักความยุติธรรมมีความเท่าเทียมกันในลักษณะที่ว่า ทุกคนต่างอยู่ภายใต้ “ม่านแห่งความไม่รู้” (the veil of ignorance)


คือ ขณะที่มาร่วมตกลงกันสร้างหลักความยุติธรรมต่างคนต่างก็ไม่รู้ว่าตัวเองมีสถานะทางสังคมเช่นไร อยู่ในชนชั้นไหน มีความสามารถทางสติปัญญาอย่างไร โง่ ฉลาด รวย จน ฯลฯ รู้แต่เพียงว่าตนเองเป็นมนุษย์ผู้มีเหตุผลที่ต่างมุ่งประสงค์ต่อการสร้างสรรค์ผลประโยชน์หรือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง และรู้ถึงความเป็นไปได้ว่าหลังจากร่วมกันตกลงสร้างหลักความยุติธรรมเสร็จแล้ว ต่างคนต่างออกไปจากม่านแห่งความไม่รู้ ย่อมมีความเป็นไปได้ที่แต่ละคนอาจจะมีสถานะทางสังคมอย่างไรก็ได้ เป็นคนรวย คนจน คนโง่ คนฉลาด ฯลฯ ก็ได้ 


รอลส์ เชื่อว่าการร่วมกันตกลงสร้างหลักความยุติธรรมจากสถานะแรกเริ่มที่ทุกคนเท่าเทียมกันเช่นนี้ จะไม่มีใครคิดสร้างหลักความยุติธรรมที่จะเป็นประโยชน์เฉพาะแก่ตัวเขาเอง แต่จะคิดสร้างหลักความยุติธรรมที่เกิดประโยชน์แก่ตนเองและคนอื่นๆ อย่างเท่าเทียมกัน เนื่องจากหลักความยุติธรรมที่เป็นประโยชน์แก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกันเท่านั้น ที่จะเป็นหลักประกันว่าทุกคนที่ร่วมตกลงเรื่องหลักความยุติธรรมหลังออกไปจากม่านแห่งความไม่รู้แล้ว ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร เป็นคนชั้นสูง กลาง ต่ำ โง่ ฉลาด ฯลฯ ย่อมได้รับการปกป้องอย่างเท่าเทียมจากหลักความยุติธรรมเดียวกันนี้


2. หลักความยุติธรรม เมื่อคิดสร้างหลักความยุติธรรมจากจุดเริ่มที่เที่ยงธรรมดังกล่าว หลักความยุติธรรมที่ได้ ย่อมไม่อาจเป็นอื่นนอกไปจากสองหลักนี้ คือ


     1)   หลักเสรีภาพ(the principle of freedom) คือหลักการที่ว่าปัจเจกบุคคลทุกคนต้องมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์และมีอย่างเท่าเทียมกัน ได้แก่การมีเสรีภาพขั้นพื้นฐานต่างๆ เช่น เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง การก่อตั้งสมาคม เสรีภาพในการตัดสินผิดชอบชั่วดีด้วยตนเอง (freedom of conscience) เสรีภาพที่จะมีสิทธิในทรัพย์สินส่วนตัว เป็นต้น


     2)   หลักความแตกต่าง(the principle of difference) คือ หลักการยกเว้นให้มีการปฏิบัติต่อสมาชิกของสังคมแตกต่างกันได้หากการปฏิบัตินั้นเป็นไปเพื่อช่วยเหลือคนที่ด้อยกว่าหรือคนเสียเปรียบในสังคม เช่น เป็นความยุติธรรมที่รัฐจะนำภาษีของคนรวยไปสร้างระบบสวัสดิการต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนยากจน คนชั้นล่าง คนพิการ ฯลฯ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นต้น


ตามความคิดของรอลส์ หลักความยุติธรรมที่ว่า “ทุกคนต้องมีเสรีภาพอย่างเท่าเทียม” เป็นหลักการที่สำคัญกว่า ฉะนั้น หากหลักการข้อที่สองขัดแย้งกับหลักการข้อแรกในลักษณะที่ว่าจำเป็นต้องเลือกหลักการใดหลักการหนึ่ง รอลส์ก็เสนอว่าต้องเลือกหลักการข้อแรก 


อย่างไรก็ตาม เมื่อเราพูดถึง “เสรีภาพ” คำนี้จะมีความหมายก็ต่อเมื่อเราบอกได้ว่า “เสรีภาพจากอะไร” หรือจากพันธนาการอะไร ซึ่งเราอาจมองได้หลักๆ สองอย่างคือ เสรีภาพจากความกลัว และเสรีภาพจากความขาดแคลน ฉะนั้น แม้หลักเสรีภาพตามข้อแรก (ซึ่งสาระสำคัญเป็นเสรีภาพจากความกลัวการข่มขู่คุกคามจากอำนาจรัฐ ฯลฯ) จะถูกนำมาใช้ได้จริงก็อาจไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องมีหลักความแตกต่างข้อที่สองมาหนุนเสริมให้สมาชิกของสังคมสามารถมีเสรีภาพจากพันธนาการอื่นๆ เช่น ความขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ความด้อยโอกาส ความยากจน ความเจ็บป่วย เคราะห์ร้ายจากภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น 

 ความยุติธรรมตามระบบสังคม-การเมืองไทย

ความยุติธรรมตามระบบสังคม-การเมืองไทย คือ ความยุติธรรมภายใต้ระบอบการปกครองที่เรียกว่า “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมการปกครองของสังคมไทย

สถานะแรกเริ่มของสมาชิกแห่งสังคมภายใต้ระบอบสังคมการ-เมืองเช่นนี้ คือ “สถานะแห่งความไม่เท่าเทียมในความเป็นมนุษย์” หากมองจากทฤษฎีความยุติธรรมของรอลส์ สถานะแห่งความไม่เท่าเทียมในความเป็นมนุษย์คือ “สถานะที่ไม่เที่ยงธรรม”

เมื่อสถานะที่ไม่เที่ยงธรรมเป็นสถานะแรกเริ่มหรือเป็นจุดตั้งต้นของการสร้างหลักความยุติธรรม จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้สามารถสร้างหลักความยุติธรรมที่ 1) ทุกคุณมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์และมีอย่างเท่าเทียม 2) หากจะมีการปฏิบัติที่แตกต่างในทางสังคมก็ต่อเมื่อการปฏิบัตินั้นเป็นประโยชน์แก่การช่วยเหลือคนที่เสียเปรียบในสังคม 

แต่เป็นไปได้อย่างแน่นอนที่สถานะแรกเริ่มที่ไม่เที่ยงธรรมจะนำไปสู่หลักความยุติธรรมของระบบสังคม-การเมืองที่ 1) สมาชิกแห่งสังคมสามารถมีหรือใช้เสรีภาพเมื่อและต่อเมื่อการมีหรือการใช้เสรีภาพนั้นไม่กระทบต่อสถานะ อำนาจ ผลประโยชน์ของชนชั้นที่เหนือกว่า 2) หากจะมีข้อยกเว้นในการปฏิบัติต่อบุคคลที่แตกต่างกันไม่จำเป็นว่าการปฏิบัตินั้นจะเกิดประโยชน์แก่คนที่เสียเปรียบในสังคมหรือไม่ แต่จำเป็นเสมอที่ต้องยกเว้นเพื่อปกป้องสถานะ อำนาจ และผลประโยชน์ของชนชั้นที่ได้เปรียบในสังคม ดังข้อสังเกตของ ธงชัย วินิจจะกูล ที่ว่า

“การปราบปราม เช่น ฆ่าที่ผ่านมาในประเทศไทยไม่ได้เป็นเรื่องซับซ้อนมากนักในการที่จะชี้ถูก ชี้ผิด หาผู้กระทำผิด และผู้ถูกกระทำ หากมีการยึดมั่นในหลักการความเป็นธรรม และความเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย แต่ความยุติธรรมในสังคมไทยจะต้องไม่ไประคายเคืองอำนาจครอบงำและระเบียบสังคม ของชนชั้นนำ อุปสรรคต่อความยุติธรรมอยู่ตรงนี้” (http://prachatai.com/journal/2010/11/31766)

สิ่งที่เรียกว่า “อำนาจครอบงำและระเบียบสังคมของชนชั้นนำ” หากมองตามทฤษฎีความยุติธรรมของรอลส์ ก็คืออำนาจครอบงำและระเบียบที่ถูกสถาปนาขึ้นจากสถานะแรกเริ่มที่ไม่เที่ยงธรรม หรือสถานะที่ไม่เท่าเทียมในความเป็นมนุษย์ 

ฉะนั้น เราจะพูดถึง (อย่าว่าแต่เรียกร้องเลย) ความยุติธรรมที่แท้จริง (เช่น ตามทฤษฎีของรอลส์) ไม่ได้ ถ้าไม่มีการสถาปนาหลักความยุติธรรมจากสถานะที่เที่ยงธรรม 

หรือ ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่สามารถสร้างระบบสังคม-การเมืองจากพันธสัญญาแห่งความยุติธรรมที่สถาปนาขึ้นบนจุดยืนของการยอมรับ หรือเคารพหลัก “ความเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เที่ยงธรรมของการบัญญัติกฎหมาย หรือการปฏิบัติใดๆ ที่เป็นธรรมแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม!

 นักปรัชญาชายขอบ

https://prachatai.com/journal/2010/11/31926

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น