ปฏิทินประวัติศาสตร์สามัญชน
วันที่ 2 เมษายน 2518
การเสียชีวิตของนิสิต จิรโสภณ ขณะเดินทางไปทำข่าวการชุมนุมประท้วงและการเผาจวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ในฐานะผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์อธิปัตย์ การเสียชีวิตของเขายังเป็นเงื่อนงำว่าเป็นอุบัติเหตุ หรือการฆาตกรรม ซึ่งขณะนั้นผู้นำนิสิตนักศึกษา ผู้นำชาวนา และนักวิชาการถูกสังหารหลายคน
วันที่ 2 เมษายน 2518
การเสียชีวิตของนิสิต จิรโสภณ ขณะเดินทางไปทำข่าวการชุมนุมประท้วงและการเผาจวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ในฐานะผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์อธิปัตย์ การเสียชีวิตของเขายังเป็นเงื่อนงำว่าเป็นอุบัติเหตุ หรือการฆาตกรรม ซึ่งขณะนั้นผู้นำนิสิตนักศึกษา ผู้นำชาวนา และนักวิชาการถูกสังหารหลายคน
นิสิต จิรโสภณเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อปี 2511 ในขณะที่บ้านเมืองปกครองด้วยอำนาจเผด็จการทหาร บทบาทของนิสิต เริ่มต้นจากการแสวงหาความหมายของชีวิต เช่นเดียวกับปัญญาชนคนอื่น ๆ ในยุคก่อน 14 ตุลาคม จากนั้นก็เริ่มมีบทบาทในการต่อต้านระบบอาวุโส ซึ่งนักศึกษาทุกคนจะถูกบังคับให้เข้าซ้อมเชียร์ เชื่อฟังคำสั่งรุ่นพี่ โดยไม่ต้องมีเหตุผล
ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในขณะที่นักศึกษาในกรุงเทพฯ กำลังต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น ต่อต้านภัยเหลือง นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในนามของกลุ่มวลัญชทัศน์ ออกหนังสือวลัญชทัศน์ฉบับ "ภัยเขียว" ซึ่งเป็นการท้าทายอำนาจเผด็จการทหารอย่างกล้าหาญ หนังสือฉบับนี้เป็นเหตุให้มหาวิทยาลัยต้องถูกกดดัน ตำรวจสันติบาลขึ้นไปเชียงใหม่เพื่อสืบหาต้นตอของผู้ออกหนังสือ มหาวิทยาลัยออกหนังสือตักเตือนผู้ปกครองนิสิต จิรโสภณถึงพฤติกรรมของเขาในขณะนั้น
หลังจากนั้นหนังสือวลัญชทัศน์ที่ออกมาได้เพียง 4 ฉบับ ก็จำเป็นต้องหยุดการตีพิมพ์ กลุ่มวลัญชทัศน์ที่เคยมีเพียงบทบาททางวิชาการ ก็แปรเปลี่ยนเป็นกลุ่ม แนวร่วมนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมืองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของการคัดค้านจักรพรรดินิยม อเมริกา และการคัดค้านอำนาจเผด็จการทหาร โดยมีนิสิต จิรโสภณเป็นแกนนำที่สำคัญ เหตุการณ์ที่นับว่ามีบทบาทที่แหลมคมของกลุ่มนี้ก็คือการคัดค้านประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 299 ของเผด็จการถนอม-ประภาส ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งหนังสือพิมพ์ระบุว่ามีผู้ร่วมชุมนุมถึง 6 พันคน
การเคลื่อนไหวของแนวร่วมนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไม่ได้เป็นการเคลื่อนไหวอย่างโดดเดี่ยว นิสิต ยังได้ประสานเข้ากับการต่อสู้ของกลุ่มสภาหน้าโดม ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มโซตัสใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างใกล้ชิด
นิสิต จิรโสภณ ในนามของแนวร่วมนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขาเป็นผู้จัดพิมพ์หนังสือที่เผยแพร่ความคิดที่ก้าวหน้าขึ้นมาหลายเล่ม เช่น โฉมหน้าจักรพรรดินิยม, จักรพรรดินิยมจงพินาศ, กข. ปรัชญา, กวีการเมือง โดย จิตร ภูมิศักดิ์, ทีปกร ศิลปินนักรบของประชาชน, ปรัชญาของลัทธิมาร์กซ โดยกุหลาบ สายประดิษฐ์, วิวัฒนาการสังคมนิยม โดยชาญ กรัสนัยปุระ เป็นต้น และหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม เขาก็ได้จัดตั้งสำนักพิมพ์แสงตะวันขึ้น โดย ตีพิมพ์หนังสือในแนวลัทธิมาร์กซ อีกหลายเล่ม เช่น แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์, สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตง, เหมาเจ๋อตง ผู้นำจีนใหม่ โดย เทอด ประชาธรรม, โฉมหน้าศักดินาไทย โดย จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวได้ว่า นิสิต คือผู้ริเริ่มในการนำงานเขียนของจิตร ภูมิศักดิ์ ออกมาตีพิมพ์มากที่สุดในยุคนั้น รวมทั้งเป็นผู้ตีพิมพ์หนังสือที่เผยแพร่ความคิดลัทธิมาร์กซมากที่สุด ในยุคนั้นเช่นเดียวกัน
บทบาทอีกประการของนิสิต จิรโสภณ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตำนานวงคาราวาน วงดนตรีเพื่อชีวิตวงแรกของเมืองไทย ก็คือการมีส่วนในการผลักดันให้สุรชัย จันทิมาธรก่อตั้งวงคาราวาน และส่งเสริมให้คาราวานขึ้นเวทีแสดงในที่ชุมนุมการต่อสู้ของประชาชน นอกจากนี้เพลงจิตร ภูมิศักดิ์ที่แต่งโดย สุรชัย จันทิมาธร ยังเป็นเพลงที่ได้รับข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากนิสิต
นิสิตเป็นคนกล้า และคนจริงที่ไม่หวั่นกลัวกับภัยอันตราย นิสิต เคยยืนเผชิญหน้ากับนักศึกษา 40-50 คน เพื่อปกป้องรุ่นน้องกลุ่มหนึ่งที่กำลังจะถูกรุมทำร้ายเนื่องจากการต่อต้านระบบซีเนียริตี้ นับเป็นภาพประทับใจในความกล้าหาญภาพหนึ่งที่ยังคงถูกเล่าขานมาจนถึงปัจจุบัน หรือการเผชิญหน้ากับกลุ่มก่อกวนฝ่ายขวาในการแสดงครั้งหนึ่งของวงคาราวานที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การทำหนังสือภัยเขียวที่ท้าทายอำนาจรัฐเผด็จการทหาร การเปิดโปงการปล้นทรัพยากรของชาติกรณีเทมโก้ ฯลฯ
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม นิสิต จิรโสภณ ได้ทิ้งชีวิตมหาวิทยาลัยเข้ามาในกรุงเทพฯ เพื่อทำหน้าที่ในการเผยแพร่ความคิดที่ก้าวหน้า และเป็นปากเสียงให้กับการต่อสู้ของประชาชน โดยการเข้าเป็นผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์อธิปัตย์ของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และยังเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์มาตุคามซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์เฉพาะกิจที่ตีพิมพ์เพื่อรายงานข่าวการต่อสู้ของประชาชน โดยจำหน่ายเฉพาะในที่ชุมนุมต่อสู้ของประชาชนเท่านั้น เพื่อต่อสู้กับการปิดกั้นข่าวสารและบิดเบือนของสื่อที่ถูกควบคุมโดยชนชั้นปกครอง ขณะเดียวกันก็ยังตีพิมพ์หนังสือในนามชมรมหนังสือแสงตะวันไปพร้อม ๆ กัน
นิสิต จิรโสภณ ทำหน้าที่ในฐานะนักหนังสือพิมพ์ และผู้จัดพิมพ์หนังสือเผยความคิดที่ก้าวหน้าตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต
คุณูปการของนิสิต จิรโสภณที่นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อขบวนการต่อสู้ของประชาชนนับจากหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ก็คือการเป็นผู้ริเริ่มและผู้นำการต่อสู้ของขบวนการนักศึกษาในภาคเหนือ ซึ่งได้หล่อหลอมและสร้างผู้สืบทอดที่ดีเด่นจำนวนมาก ทำให้ขบวนการต่อสู้ของประชาชนในภาคเหนือขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว ผู้ปฏิบัติงานต่าง ๆ ออกไปทำงานเคลื่อนไหวในหมู่ชาวนา นักเรียนมัธยม นักศึกษาอาชีวะ วิทยาลัยครู ก่อให้เกิดองค์กรต่อสู้ต่าง ๆ จำนวนมาก รวมไปถึงขบวนการต่อสู้ของชาวนาภาคเหนือที่เข้มแข็ง
แม้ว่านิสิต จิรโสภณจะเป็นคนวู่วาม ใจร้อน บ้าบิ่น แต่นิสิตกลับเป็นบุคคลอันเป็นที่รักของเพื่อนร่วมงาน เพราะนิสิตเป็นแบบอย่างของความกล้าหาญ ความเสียสละ ความจริงจัง และความมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน ผู้ใกล้ชิดกับนิสิตกล่าวว่า เขาไม่ใช่นักทฤษฎี ไม่ใช่คนพูดที่ถึงลัทธิมาร์กซ อย่างช่ำชอง แต่เขาเป็นนักปฏิบัติ เป็นนักยุทธวิธี สิ่งใดที่เขาเห็นว่าควรทำ เขาจะลงมือทำในทันที โดยการไม่มีการลังเล
ในบทนำของหนังสือวลัญชทัศน์ฉบับมนุษย์และปัญหา นิสิต ได้เขียนเอาไว้ว่า "ผู้ที่รักเสรีภาพแต่ไม่เห็นด้วยกับความวุ่นวาย คือพวกที่หวังผลโดยไม่หว่านพืช พวกที่ต้องการน้ำฝน แต่ไม่อยากให้มีฟ้าร้อง ฟ้าแลบ พวกที่ต้องการมหาสมุทร โดยที่ไม่อยากได้ยินเสียงกึกก้องของคลื่นลม" นิสิตได้พิสูจน์ด้วยการกระทำ โดยการอุทิศตัวให้กับการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ ตลอดชีวิตอันสั้นของเขา
ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในขณะที่นักศึกษาในกรุงเทพฯ กำลังต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น ต่อต้านภัยเหลือง นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในนามของกลุ่มวลัญชทัศน์ ออกหนังสือวลัญชทัศน์ฉบับ "ภัยเขียว" ซึ่งเป็นการท้าทายอำนาจเผด็จการทหารอย่างกล้าหาญ หนังสือฉบับนี้เป็นเหตุให้มหาวิทยาลัยต้องถูกกดดัน ตำรวจสันติบาลขึ้นไปเชียงใหม่เพื่อสืบหาต้นตอของผู้ออกหนังสือ มหาวิทยาลัยออกหนังสือตักเตือนผู้ปกครองนิสิต จิรโสภณถึงพฤติกรรมของเขาในขณะนั้น
หลังจากนั้นหนังสือวลัญชทัศน์ที่ออกมาได้เพียง 4 ฉบับ ก็จำเป็นต้องหยุดการตีพิมพ์ กลุ่มวลัญชทัศน์ที่เคยมีเพียงบทบาททางวิชาการ ก็แปรเปลี่ยนเป็นกลุ่ม แนวร่วมนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมืองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของการคัดค้านจักรพรรดินิยม อเมริกา และการคัดค้านอำนาจเผด็จการทหาร โดยมีนิสิต จิรโสภณเป็นแกนนำที่สำคัญ เหตุการณ์ที่นับว่ามีบทบาทที่แหลมคมของกลุ่มนี้ก็คือการคัดค้านประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 299 ของเผด็จการถนอม-ประภาส ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งหนังสือพิมพ์ระบุว่ามีผู้ร่วมชุมนุมถึง 6 พันคน
การเคลื่อนไหวของแนวร่วมนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไม่ได้เป็นการเคลื่อนไหวอย่างโดดเดี่ยว นิสิต ยังได้ประสานเข้ากับการต่อสู้ของกลุ่มสภาหน้าโดม ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มโซตัสใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างใกล้ชิด
นิสิต จิรโสภณ ในนามของแนวร่วมนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขาเป็นผู้จัดพิมพ์หนังสือที่เผยแพร่ความคิดที่ก้าวหน้าขึ้นมาหลายเล่ม เช่น โฉมหน้าจักรพรรดินิยม, จักรพรรดินิยมจงพินาศ, กข. ปรัชญา, กวีการเมือง โดย จิตร ภูมิศักดิ์, ทีปกร ศิลปินนักรบของประชาชน, ปรัชญาของลัทธิมาร์กซ โดยกุหลาบ สายประดิษฐ์, วิวัฒนาการสังคมนิยม โดยชาญ กรัสนัยปุระ เป็นต้น และหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม เขาก็ได้จัดตั้งสำนักพิมพ์แสงตะวันขึ้น โดย ตีพิมพ์หนังสือในแนวลัทธิมาร์กซ อีกหลายเล่ม เช่น แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์, สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตง, เหมาเจ๋อตง ผู้นำจีนใหม่ โดย เทอด ประชาธรรม, โฉมหน้าศักดินาไทย โดย จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวได้ว่า นิสิต คือผู้ริเริ่มในการนำงานเขียนของจิตร ภูมิศักดิ์ ออกมาตีพิมพ์มากที่สุดในยุคนั้น รวมทั้งเป็นผู้ตีพิมพ์หนังสือที่เผยแพร่ความคิดลัทธิมาร์กซมากที่สุด ในยุคนั้นเช่นเดียวกัน
บทบาทอีกประการของนิสิต จิรโสภณ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตำนานวงคาราวาน วงดนตรีเพื่อชีวิตวงแรกของเมืองไทย ก็คือการมีส่วนในการผลักดันให้สุรชัย จันทิมาธรก่อตั้งวงคาราวาน และส่งเสริมให้คาราวานขึ้นเวทีแสดงในที่ชุมนุมการต่อสู้ของประชาชน นอกจากนี้เพลงจิตร ภูมิศักดิ์ที่แต่งโดย สุรชัย จันทิมาธร ยังเป็นเพลงที่ได้รับข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากนิสิต
นิสิตเป็นคนกล้า และคนจริงที่ไม่หวั่นกลัวกับภัยอันตราย นิสิต เคยยืนเผชิญหน้ากับนักศึกษา 40-50 คน เพื่อปกป้องรุ่นน้องกลุ่มหนึ่งที่กำลังจะถูกรุมทำร้ายเนื่องจากการต่อต้านระบบซีเนียริตี้ นับเป็นภาพประทับใจในความกล้าหาญภาพหนึ่งที่ยังคงถูกเล่าขานมาจนถึงปัจจุบัน หรือการเผชิญหน้ากับกลุ่มก่อกวนฝ่ายขวาในการแสดงครั้งหนึ่งของวงคาราวานที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การทำหนังสือภัยเขียวที่ท้าทายอำนาจรัฐเผด็จการทหาร การเปิดโปงการปล้นทรัพยากรของชาติกรณีเทมโก้ ฯลฯ
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม นิสิต จิรโสภณ ได้ทิ้งชีวิตมหาวิทยาลัยเข้ามาในกรุงเทพฯ เพื่อทำหน้าที่ในการเผยแพร่ความคิดที่ก้าวหน้า และเป็นปากเสียงให้กับการต่อสู้ของประชาชน โดยการเข้าเป็นผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์อธิปัตย์ของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และยังเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์มาตุคามซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์เฉพาะกิจที่ตีพิมพ์เพื่อรายงานข่าวการต่อสู้ของประชาชน โดยจำหน่ายเฉพาะในที่ชุมนุมต่อสู้ของประชาชนเท่านั้น เพื่อต่อสู้กับการปิดกั้นข่าวสารและบิดเบือนของสื่อที่ถูกควบคุมโดยชนชั้นปกครอง ขณะเดียวกันก็ยังตีพิมพ์หนังสือในนามชมรมหนังสือแสงตะวันไปพร้อม ๆ กัน
นิสิต จิรโสภณ ทำหน้าที่ในฐานะนักหนังสือพิมพ์ และผู้จัดพิมพ์หนังสือเผยความคิดที่ก้าวหน้าตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต
คุณูปการของนิสิต จิรโสภณที่นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อขบวนการต่อสู้ของประชาชนนับจากหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ก็คือการเป็นผู้ริเริ่มและผู้นำการต่อสู้ของขบวนการนักศึกษาในภาคเหนือ ซึ่งได้หล่อหลอมและสร้างผู้สืบทอดที่ดีเด่นจำนวนมาก ทำให้ขบวนการต่อสู้ของประชาชนในภาคเหนือขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว ผู้ปฏิบัติงานต่าง ๆ ออกไปทำงานเคลื่อนไหวในหมู่ชาวนา นักเรียนมัธยม นักศึกษาอาชีวะ วิทยาลัยครู ก่อให้เกิดองค์กรต่อสู้ต่าง ๆ จำนวนมาก รวมไปถึงขบวนการต่อสู้ของชาวนาภาคเหนือที่เข้มแข็ง
แม้ว่านิสิต จิรโสภณจะเป็นคนวู่วาม ใจร้อน บ้าบิ่น แต่นิสิตกลับเป็นบุคคลอันเป็นที่รักของเพื่อนร่วมงาน เพราะนิสิตเป็นแบบอย่างของความกล้าหาญ ความเสียสละ ความจริงจัง และความมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน ผู้ใกล้ชิดกับนิสิตกล่าวว่า เขาไม่ใช่นักทฤษฎี ไม่ใช่คนพูดที่ถึงลัทธิมาร์กซ อย่างช่ำชอง แต่เขาเป็นนักปฏิบัติ เป็นนักยุทธวิธี สิ่งใดที่เขาเห็นว่าควรทำ เขาจะลงมือทำในทันที โดยการไม่มีการลังเล
ในบทนำของหนังสือวลัญชทัศน์ฉบับมนุษย์และปัญหา นิสิต ได้เขียนเอาไว้ว่า "ผู้ที่รักเสรีภาพแต่ไม่เห็นด้วยกับความวุ่นวาย คือพวกที่หวังผลโดยไม่หว่านพืช พวกที่ต้องการน้ำฝน แต่ไม่อยากให้มีฟ้าร้อง ฟ้าแลบ พวกที่ต้องการมหาสมุทร โดยที่ไม่อยากได้ยินเสียงกึกก้องของคลื่นลม" นิสิตได้พิสูจน์ด้วยการกระทำ โดยการอุทิศตัวให้กับการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ ตลอดชีวิตอันสั้นของเขา
ที่มา http://www.firelamtung.com/index.php…
(บทความนี้ระบุว่าวันที่ 1 เมษายน ขณะที่บทความอื่นระบุว่า วันที่ 2 เมษายน ผู้เชียนขอใช้เป็นวันที่ 2 และขอนำไปตรวจสอบ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น