รูปแบบการปกครองของรัฐ: แนวคิดของอริสโตเติล
อริสโตเติล ได้จำแนกลักษณะการปกครองของรัฐต่างๆ
โดยใช้ คุณภาพของการปกครองและจำนวนผู้ปกครองเป็นเกณฑ์
แบ่งโดยเกณฑ์คุณภาพ
1. รูปแบบการปกครองที่ดี
2. รูปแบบการปกครองที่ไม่ดี
แบ่งโดยเกณฑ์จำนวนผู้ปกครอง
เป็นการปกครองโดยคนเดียว ( The one )
1.1 ราชาธิปไตย (Monarchy)
ทรราชย์ (Tyranny)
เป็นการปกครองโดยคนหลายคน ( The
many )
เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
2.1
อภิชนาธิปไตย (Aristocracy)
คณาธิปไตย (Oligarchy)
เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก
2.3
โพลิตี้ (Polity)
2.4 ประชาธิปไตย
(Democracy)
สรุปได้เป็น 6 รูปแบบการปกครองของรัฐ
ดังนี้
รูปแบบการปกครองที่ดี เรียงตามลำดับจากดีมากไปยังดีน้อย
1.1. ราชาธิปไตย
(Monarchy) เป็นการปกครองโดยคนเดียว
1.2. อภิชนาธิปไตย
(Aristocracy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
1.3. โพลิตี้
(Polity) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก
2. รูปแบบการปกครองที่ไม่ดี เรียงตามลำดับจากเลวน้อยไปยังเลวมาก
2.1. ทรราชย์
(Tyranny) เป็นการปกครองโดยคนเดียว
2.2. คณาธิปไตย
(Oligarchy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
2.3. ประชาธิปไตย
(Democracy) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก
อริสโตเติลได้อธิบายว่า
รูปแบบการปกครองใดก็ตาม ที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม
ถือเป็นรูปแบบที่ดี ในขณะเดียวกัน รูปแบบการปกครองที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนวจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก
นั้น เป็นรูปแบบที่ไม่ดี
ระบบการปกครองที่ดีที่สุดตามทรรศนะของเขา
คือ ระบบ โพลิตี้ เป็นการผสมผสานระหว่างระบบคณาธิปไตย
และระบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแนวทางสายกลางระหว่างการปกครองโดยคนร่ำรวย(คณาธิปไตย) กับการปกครองโดยคนจน(ประชาธิปไตย) ซึ่งจะให้โอกาสแก่ราษฎรทุกคนได้มีส่วนร่วม
ในการปกครองโดยยุติธรรม โดยยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลัก
รัฐแบบ Polity ประกอบด้วยชนชั้นใหญ่ๆ 3 กลุ่มคือ คนร่ำรวย คนชั้นกลาง และ คนจน โดยเสถียรภาพของรัฐแปรตามชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ อริสโตเติล เชื่อว่า ชนชั้นกลางจะรับฟังเหตุผลมากที่สุด เป็นกลุ่มที่มีความสุขุมเยือกเย็น มีความอุตสาหะ และ เป็นผู้คอยเฝ้าดูการบริหารของรัฐ
รัฐแบบ Polity ประกอบด้วยชนชั้นใหญ่ๆ 3 กลุ่มคือ คนร่ำรวย คนชั้นกลาง และ คนจน โดยเสถียรภาพของรัฐแปรตามชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ อริสโตเติล เชื่อว่า ชนชั้นกลางจะรับฟังเหตุผลมากที่สุด เป็นกลุ่มที่มีความสุขุมเยือกเย็น มีความอุตสาหะ และ เป็นผู้คอยเฝ้าดูการบริหารของรัฐ
อริสโตเติลใช้ชนชั้นกลางเป็นกันชน
ของโครงสร้างชนชั้นทางสังคมระหว่างคนร่ำรวยและคนจน คนร่ำรวยมีความรู้ว่าจะปกครองอย่างไร แต่จะไม่ยอมรับในระเบียบข้อบังคับอีกทั้งยังมีความได้เปรียบกว่าชนชั้นอื่น
และ ยังมีความละโมบในเรื่องทรัพย์สิน ในขณะที่คนจนมีความเข้าใจยอมรับและเชื่อฟังในระเบียบข้อบังคับ
หากแต่ขาดน้ำใจ อิจฉาในทรัพย์สมบัติของคนรวย และยอมฟังการปลุกระดมที่สัญญาว่าจะมีการแบ่งทรัพย์สิน
คน2 ชนชั้นนี้มักจะแตกแยกและขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
ระบบการปกครองที่เลวที่สุดตามทรรศนะของเขา
คือระบบ คณาธิปไตย อริสโตเติลอธิบายว่าเป็นการปกครองโดยคนกลุ่มน้อยที่ปกครองเพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้องตัวเองลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดของคณาธิปไตย คือ การปกครองอยู่ในมือของกลุ่มคนที่มีอำนาจครอบงำทางเศรษฐกิจ
เป็นกลุ่มคนที่มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย เขามีอคติต่อผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองรัฐ ซึ่งมาจากชนชั้นเศรษฐี
มุมมองของผู้เขียน
รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดในมุมมองของผู้เขียนคือ
ระบบการปกครองโดยคนส่วนใหญ่ แบบ โพลิตี้ โดยมีความเห็นสอดคล้องกับอริสโตเติล
ในแง่ของระดับของชนชั้น ชึ่งข้าพเจ้ายอมรับและเชื่อมั่นในชนชั้นกลางมากที่สุด โดยเชื่อว่าชนชั้นกลางเป็นกลุ่มคนที่มีการศึกษา
มีเหตุผล ฉะนั้นถ้าอำนาจหรือเสียงข้างมากส่วนใหญ่อยู่ในมือของชนชั้นกลาง ผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติจะ
ได้รับการปกป้อง หรืออาจกล่าวในมุมมองของข้าพเจ้าได้ว่าเป็นระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยชนชั้นกลางนั่นเอง แต่ในความเป็นจริง ระบบการปกครองแบบ โพลิตี้เป็นระบบในอุดมคติเนื่องจากเป็นการยากที่จะมีสังคมใดมีคนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วคนส่วนใหญ่ในสังคมมักจะเป็นคนยากจน
ปัจจุบันประเทศไทยปกครองโดยระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ซึ่งไม่ใช่ระบบประชาธิปไตยในมุมมองของอริสโตเติล เนื่องจากเป็นระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนซึ่งต้องมีการเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ ไม่ใช่ประชาธิปไตยทางตรงซึ่งใช้วิธีการจับฉลากให้พลเมืองเอเธนส์หมุนเวียนเข้าไปใช้สิทธิทางการเมืองอย่างเสมอหน้ากัน
ซึ่งในมุมมองของข้าพเจ้าระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนนี้จะดีที่สุด ถ้าบุคคลที่เสนอตัวเพื่อรับเลือกตั้ง
มีคุณธรรมและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ฉะนั้น ในรูปแบบนี้ จึงอาจเป็นการผสมผสานระหว่างอภิชนาธิปไตยกับระบบตัวแทน
หรือถ้าบุคคลที่เสนอตัวเพื่อรับเลือกตั้ง ไม่มีคุณธรรมและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องก็อาจเป็นรูปแบบการผสมผสานระหว่าง
คณาธิปไตยกับระบบตัวแทน
ส่วนรูปแบบการปกครองที่เลวที่สุดในมุมมองของผู้เขียนคือ ระบบการปกครองโดยคนเพียงคนเดียวโดยใช้อำนาจโดยไม่ชอบเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องและไม่มีศีลธรรมซึ่งก็คือระบบ
ทรราชย์ นั่นเอง
ที่มา: http://chawana9988.exteen.com/20100810/entry
ที่มา:
เปรียบเทียบกับปัจจุบัน
ตอบลบชนชั้นสูง คือกลุ่มอำนาจเก่า เรียกว่าเป็นอำมาตย์ พวกนี้ไม่ควรให้มาเป็นผู้ปกครอง เพราะไม่เข้าใจคนชั้นล่าง
ชนชั้นล่าง (ผู้มีรายได้น้อยในสังคม ความรู้ไม่สูงนัก ) ปัจจุบัน ไม่เคยมีอำนาจบริหารประเทศเลย
ชนชั้นกลาง มีรายได้สูง พอสมควร มีความรู้ ประสยความสำเร็จในหน้าที่การงาน ส่วนใหญ่เป็นรัฐมนตรีในปัจจุบัน
เป็นไปตามปรัชญาของ อริสโดเติ้ล
แนวคิดแบบ polity ที่ว่านี่ คือต้อง สร้างชนชั้นกลาง ให้เป็นส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ปัญหาตอนนี้ของไทยจริง มันไม่ใช่
ตอบลบคนจนก็ไม่ได้มาเป็นชนชั้นกลางจริง ถึงแม้นโยบายประชานิยมมากมายที่ออกมา มันก็ไม่ได้ทำให้คนจนรวยขึ้นจริง มันเป็นแค่ภาพลวงตาที่เอาเงิน มายัดในนโยบายต่างๆ ให้คนจน เช่น ค่าแรง 300 หรือ จำนำข้าว 15,000 ซึ่งในความเป็นจริง เงินที่ได้มา (ในกรณีที่เขาไม่เลิกจ้าง) มันไม่พอกับสัดส่วน ปริมาณราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้น (ขึ้นเพราะต้นทุนพื้นฐานของกิจการเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด, รวมไปถึงผู้ประกอบการที่ฉวยโอกาส) เพราะฉะนั้น คนจนไม่ได้ลดลง แค่อาจจะมีเงินมากขึ้น แต่มีกำลังซื้อสินค้าได้ปริมาณเท่าเดิม (หรือลดลง)
รัฐเริ่มมาเอาใจชนชั้นกลางขึ้น โดยการลดภาษีเงินได้ ประชาชนผู้เสียภาษีดีใจ เสียภาษีลดลง แต่ถ้ามองในอีกมุม รัฐจะจัดเก็บรายได้ลดลง ซึ่งไม่เป็นผลดีกับเสถียรภาพทางการคลังแน่นอน รัฐจำเป็นต้องหาเงินมาอุดจุดนี้ ทางเลือกมีแค่ 2 ทาง 1. ขึ้น vat (คนจนยิ่งมีกำลังซื้อลดลงอีก) 2. กู้มาเติมคลัง (เป็นหนี้กันถ้วนหน้า)
และสุดท้าย แนวคิดปลุกปั่นของ นปช. คือ สร้างเงื่อนไขให้คนจน เกลียดชนชั้นกลาง อาจจะมีคนแย้งว่า ไม่ใช่ อีกฝ่ายต่างหากที่ แบ่งแยกให้ชนชั้นกลางเกลียดคนจน ก็ขอให้ลองย้อนกลับไปยุคเรื่มแรกของความวุ่นวาย ว่าใครเป็นคนเริ่มใช้คำว่า "รากหญ้า" กับ "ไพร่" มาแบ่ง จนกลายเป็นเงื่อนไขของความเกลียดชังทุกวันนี้