ญิฮาด
- หมายถึง การต่อสู้
การพยายามดิ้นรน ไม่ได้แปลว่า สงครามศักดิสิทธิ์ คำว่าที่แปลว่า สงคราม คือ คำว่า ฮัรบ์
หรือ กิตาล
ดังนั้น ญิฮาด จึงหมายถึง
การพยายามต่อสู้ ดิ้นรน อย่างจริงจัง และบริสุทธิ์ใจในการทำความดี และขจัดความไม่เป็นธรรม
การกดขี่ข่มเหง และความชั่วให้หมดไป การต่อสู้แบบญีฮัดนั้น กระทำทั้งทางจิตใจและ ร่างกาย
ญิอาด เป็นการคุ้มครองชีวิต
ความศรัทธา และสิทธิมนุษยชนของตนเอง ไม่ใช่การรุกราน หรือทำร้ายผู้อื่น รูปแบบของญิฮาดมีตั้งแต่การอดทนอดกลั้นภายในจิตใจของตนเอง
จนถึงการทำสงครามกับผู้ที่มารุกราน
อิสลามไม่อนุมัติและไม่เห็นด้วยกับการก่อการร้ายต่อพลเรือนผู้บริสุทธิ์
ไม่ว่าจะโดยการรุกราน หรือการพลีชีพ
การก่อการร้าย ไม่ใช่ญิฮาด
แต่มันคือ ฟะซาด หรือการก่อความเสียหาย การใช้คำว่าญิฮาดสนับสนุนการก่อการร้าย จึงเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักการศาสนา
" และเมื่อได้ถูกกล่าวแก่พวกเขาว่า
พวกท่านจงอย่าก่อความเสียหายแก่แผ่นดิน พวกเขาก็กล่าวว่า ที่จริงนั้น เราเป็นผู้ปรับปรุงให้ดีต่างหาก
พึงรู้เถอะว่าแท้จริงพวกเขานั่นแหละ เป็นผู้ที่ก่อความเสียหาย แต่ทว่าพวกเขาไม่รู้สึก"(กุรอาน 2:11-12)
"และพวกเจ้าจงต่อสู้ในทางของอัลลอฮ์ต่อบรรดาผู้ที่ทำร้ายพวกเจ้า
และจงอย่ารุกราน แท้จริง อัลลอฮ์ไม่ทรงชอบบรรดาผู้รุกราน"(กุรอาน 2:190)
-- นั่นก็คือ ต่อสู้กับผู้ที่รุกรานเท่านั้น
และไม่รุกรานผู้อื่น
ส่วนคำว่า สงคราม นั้น
ในศาสนาอิสลาม แบ่งสงครามออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.สงครามป้องกันตนเอง
จะทำได้ต่อเมื่อถูกรุกรานก่อน
2.สงครามปลดปล่อย
จะทำได้ก็เพื่อปลดปล่อยบรรดาผู้ถูกกดขี่เท่านั้น เช่น สงครามปลดปล่อยทาส เป็นต้น
3.สงครามที่เริ่มต้นก่อน
กรณีนี้เป็นกรณีเป็นกรณีที่ละเอียดอ่อนมาก จะทำได้ต่อเมื่อ รู้อย่างแน่ชัดแล้วว่า ศัตรู
เจตนาหรือมีแผนที่จะโจมตีมุสลิมก่อน หรือการที่ศัตรู ทรยศและไม่เคารพสัญญาที่ทำไว้
ซึ่งถ้าหากพิจารราดี ๆ
เราก็จะพบว่า สงครามทั้ง
3 ประเภทนั้น มีอยู่ในปัจจุบัน
เช่น กรณีที่ 1 ก็เช่นชาวปาเลสไตน์ที่ต่อต้านการรุกรานของอิสราเอล
กรณีที่ 2 ก็เช่น ที่อเมริกาอ้างว่า
ปลดปล่อยชาวอิรักจากการกดขี่ ( ซึ่งจริง หรือไม่จริง ก็คิดเอาเอง)
กรณีที่ 3 ก็เช่นอเมริกา
อ้างว่า อิรัก เป็นภัยต่อความมั่นคงของโลก (ก็แล้วแต่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ)
แต่สำหรับอิสลามแล้ว สงคราม
คือทางเลือกสุดท้ายเท่านั้น โดยไม่มีทางเลือกใดอีกแล้วจริง ๆ ...
-----------------------------------------
อธิบายเพิมเติม ในอิสลามเรายึดถืออยู่ 2 อย่าง คือ
1.กุรอาน
2.หะดิษท่านศาสดา
หรือ คำสอนของศาสดานั่นเอง
กุรอาน นั้น อิสลามเชื่อในความบริสุทธิ์
และถูกต้องเป็นอย่างมาก เนื่องจากกุรอานถูกประทานลงมาจากพระผู้เป็นเจ้า และมีการจดบันทึกไว้ทันที
รวมถึงมีการท่องจำเป็นประจำตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทุกวัน และไม่เคยมีการแก้ไข หรือสังคายนาใด
ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น กุรอานจึงไม่มีการแต่งเติม สอดแทรกข้อความใด ๆ ลงไปได้
"ในโลกนี้ อาจไม่มีคัมภีร์ใดที่ยังคงมีต้นฉบับที่บริสุทธิ์เป็นเวลากว่า
14 ศตวรรษ เหมือนกุรอาน" (เซอร์ วิลเลียม
มัวร์ , นักประวัติศาสตร์ชาวคริสเตียน)
ในกรณีของหะดิษท่านศาสดานั้น
ไม่อาจยืนยันความบริสุทธิ์ ถูกต้องได้ทั้งหมด ทั้งนี้การจะดูว่าหะดิษ ใด ถูก หรือผิด
จึงต้องอาศัยหลักฐานมากมายมายืนยัน ซึ่งต่างจากกุรอาน ที่ไม่จำเป็นต้องหาสิ่งใดมายืนยัน
ส่วนคำว่า
ญิฮาดนั้น มีกล่าวไว้ทั้งในกุรอานและหะดิษ (กุรอาน 22:78 เป็นต้น) คำว่า ญิฮาด นั้น มีรากศัพท์ มาจากคำว่า ญะฮฺดุน
ซึ่งหมายถึง งานที่ยากลำบาก , ความเหนื่อยล้า และ คำว่า ญุฮฺดุน
ที่แปลว่า ความพยายาม ดังนั้นความหมายของคำว่า ญิฮาด ที่ถูกต้อง จึงเป็นดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น