.
ผมมีความเห็นเบื้องต้นดังนี้
1. คะแนน "อย่างเป็นทางการ" ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นคะแนนที่มาจากการเลือกตั้งที่ "เสรี" และ "เป็นธรรม" สิ่งที่เราเรียกว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ถือว่า "เสรี" และ "เป็นธรรม" หรือไม่ และผลที่ออกมาจะความน่าเชื่อถือและชอบธรรมเพียงใด และเอนเอียงไปทางใคร ผมคิดว่าประชาชนคนไทยคิดเองเป็นและตัดสินเองได้ เรื่องนี้ขอเพียงมีมาตรฐานมโนสำนึกในทางประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานอยู่บ้าง ก็ไม่น่าจะเข้าใจยากอะไร
2. ผลคะแนนครั้งนี้ อย่ามองเพียงผิวเผินว่า "พรรคใด" ได้คะแนนเสียงมากที่สุด แต่ควรมองให้ทะลุว่า "เสียงคนไทย" กำลังบอกความต้องการอะไร
หากมอง 4 ลำดับพรรคที่ได้คะแนนสูงสุด คือ
พลังประชารัฐ 8,433,137 เสียง
เพื่อไทย 7,920,630 เสียง
อนาคตใหม่ 6,265,950 เสียง
ประชาธิปัตย์ 3,947,726 เสียง
จะเห็นได้ว่า เพื่อไทย อนาคตใหม่ ประชาธิปัตย์ ล้วนประกาศจุดยืนชัดเจนก่อนการเลือกตั้งว่าปฏิเสธการสืบทอดอำนาจของ คสช. รวมคร่าว ๆ กว่า 18.1 ล้านกว่าเสียง (และมากกว่านี้หากนับรวมพรรคเล็กอื่นที่มีจุดยืนเดียวกัน)
หากเทียบคะแนนส่วนนี้กับพรรคที่มีจุดยืนตรงข้ามชัดเจน ก็ คือ พลังประชารัฐ จะเห็นได้ว่า คะแนน 18.1 ล้านกว่าเสียงนี้ก็ยังมากกว่า พลังประชารัฐ เกือบ 10 ล้านเสียง
ยิ่งไปกว่านั้น คะแนนเสียงกว่า 18.1 ล้านเสียงส่วนนี้ที่ปฏิเสธการสืบทอดอำนาจของ คสช. ยังเป็นเสียงข้างมากจากประมาณ 35.5 ล้านเสียงของผู้เลือกพรรคทั้งหมด (และอย่าลืมว่าเสียงที่เหลือก็ยังมีพรรคที่มีจุดยืนไม่ชัดเจน อีกทั้งบริบทการจัดการเลือกตั้งก็ไม่ได้เอนเอียงไปในทางเสียงข้างมากนี้ด้วย)
หากเราจะถือได้ว่า 18.1 ล้านกว่าเสียงนี้ คือ มติมหาชนที่พอจับต้องได้บ้าง ผมหวังว่า พรรคการเมืองที่ยังไม่ได้ประกาศจุดยืนชัดเจน เช่น ภูมิใจไทย รวมไปถึง ผู้ที่จะเข้ามาเป็น ส.ว. 250 คน ในฐานะตัวแทนประชาชน โปรดรับฟังและเคารพเสียงประชาชนไทยในวันนี้ด้วยครับ.
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
28 มีนาคม 2562
Verapat Pariyawong
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น