เพลงฉ่อยชาววัง

วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

"จีน-ซิมบับเว-ไทย ใช้บารมีชี้นำระบบ จบที่เกลือจิ้มเกลือ







ดร.สุนัย จุลพงศธร เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2494 ที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์เป็นบุตรของนายจุ่น กับนางหลา จุลพงศธร[1] จบนิติศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจบศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวางแผนและพัฒนาชนบท จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้[2]
นายสุนัย เข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นประธานสภาเขตสัมพันธวงศ์ ในปี พ.ศ. 2528 เป็นผู้ช่วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ) ในปี พ.ศ. 2535 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์สังกัดพรรคชาติพัฒนา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 และได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 จึงย้ายมาลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย จากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้สังกัดพรรคพลังประชาชนและการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย
นายสุนัย เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเมื่อเขาขึ้นอภิปรายตอบโต้ฝ่ายค้าน ในขณะที่เขาสังกัดพรรคพลังประชาชน โดยการเปิดโปงเส้นทางเงินทุนที่เชื่อมโยงระหว่าง พรรคประชาธิปัตย์ และ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนกระทั่งถึงการโจมตีผู้อยู่เบื้องหลังการชุมนุมของพันธมิตรฯ อย่างร้อนแรง
ภายหลังจากที่พรรคพลังประชาชนถูกยุบ นายสุนัยก็ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย และร่วมเป็นหนึ่งในผู้อภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยนายสุนัยเป็นผู้อภิปราย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

นายสุนัยสมัยยังสังกัดพรรคไทยรักไทย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 33[3]

ต่อมาเมื่อมีการก่อรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คณะรัฐประหารออกคำสั่งที่ 3/2557 และคำสั่งที่ 53/2557 เรียกให้สุนัยไปรายงานตัว แต่เขามิได้ไปตามคำสั่งดังกล่าว ศาลทหารจึงออกหมายจับ มีรายงานว่าเขาเข้าร่วมกับ สมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนไหวทางการเมืองใน สหรัฐอเมริกา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น