เพลงฉ่อยชาววัง

วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

‎ทำไมสุเทพต้องบวช

รู้ทันช่องโหว่ ของ กฎหมายไทย
อาจเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่สุเทพ ออกบวช เพื่ออาศัยช่องว่าง ทางกฎหมาย ในการหลบเลี่ยงการพิจารณาดีในชั้นศาล กล่าวคือ ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ในมาตรา 106/1 ได้มีการวางหลักไว้ ว่า
ห้ามมิให้ออกหมายเรียกพยาน ดังต่อไปนี้
(1) พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไม่ว่าในกรณีใด ๆ
(2) พระภิกษุและสามเณร ในพุทธศาสนา ไม่ว่าในกรณีใด ๆ
(3)
ผู้ที่ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันตามกฎหมาย
ในกรณีตาม (
2) และ (3) ให้ศาลหรือผู้พิพากษาที่รับมอบ หรือศาลที่ได้รับแต่งตั้งออก "คำบอกกล่าว" ว่าจะสืบพยานนั้น ณ สถานที่และวันเวลาใดแทนการออกหมายเรียก โดยในกรณีตาม (2) ให้ส่งไปยังพยาน 
ส่วนตาม (3) ให้ส่ง "คำบอกกล่าว" ไปยังสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อดำเนินการ ตามบทบัญญัติว่าด้วยการนั้น หรือตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
อธิบายง่ายๆ ให้เข้าใจก็คือ "ห้าม" ผู้พิพากษา หรือ ที่เราเข้าใจกันทั่วไปว่า ศาล ออกหมายเรียก เจ้า พระ,เณร (ศาสนาพุทธ) แล้วก็ บรรดาพวกทูต (อารมณ์ประมาณนี้) มาเป็นพยานในศาลดังนั้น ห้ามออกหมายเรียกคนเหล่านี้นะ
(พวก ส.ส. ก็มีเอกสิทธิ์คุ้มครองนะ เฉพาะ ติดช่วงสมัยประชุม)
แต่ กฎหมาย "ยกเว้น" ว่า ให้ส่ง "คำบอกกล่าว" ไปได้ แต่ส่งไปได้เฉพาะ พระ-เณร-ทูต เท่านั้น เจ้า ไม่ได้คือ หมายเรียก ไม่มา ก็ออก ซ้ำได้ สุดท้ายก็ไปหมายจับ
--- แต่ คำบอกกล่าว มันไม่ได้บังคับ ดังนั้น จะมา หรือ ไม่มาก็ได้
สรุป คือ สุเทพ บวช ...ถ้าจะเรียกมันไปเป็นพยาน ก็ออกหมายเรียกไม่ได้ ต้องส่งคำบอกล่าวมา ส่วนมันจะมาศาลหรือไม่มาก็เรื่องของมัน
ต่อมา กฎหมาย วิแพ่ง มาตรา 115 
ก็วางหลักไว้อีกว่า มาตรา 115 พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือพระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา แม้มาเป็นพยาน จะไม่ยอมเบิกความหรือตอบคำถามใด ๆ ก็ได้สำหรับบุคคลที่ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันตามกฎหมาย จะไม่ยอมเบิกความหรือตอบคำถามใด ๆ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามกฎหมายนั้น ๆ ก็ได้
สรุปคือ ถ้าสุเทพ มาศาล จะไม่เบิกความก็ได้ แล้ว ศาลก็ไปบังคับไม่ได้ด้วยเช่น สมมุติว่า สุเทพ ตอบข้อซักถามของอัยการ จะไม่ตอบคำถามค้าน ของทนายจำเลยก็ได้ เพราะกฎหมาย ได้ให้เอกสิทธิ์พระสุเทพที่จะไม่ยอมเบิกความหรือตอบคำถามใดๆก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 115
แล้ว การที่พระสุเทพ นิ่งเฉย ไม่ตอบคำถามค้านของทนายจำเลย ศาลก็ "ไม่มีอำนาจที่จะบังคับ"ให้เบิกความ ตอบคำถามค้านได้ ศาลทำได้แค่ "จดลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา" ของศาล ถึงการที่สุเทพ "ยอม หรือ ไม่ยอม" เบิกความแล้วนอกเหนือไปจากนี้
ป.วิอาญา มาตรา 15 ยังวางหลักไว้อีกว่า
วิธีพิจารณาข้อใด ซึ่งประมวลกฎหมายนี้ มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นำบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับ เท่าที่พอจะใช้บังคับได้
พูดง่ายๆ คือ วิธีพิจารณาความแพ่ง ที่กล่าวมาข้างต้น ในมาตรา 106/1 และ กฎหมาย วิแพ่ง มาตรา 115 สามารถนำเอาไปใช้ในกฎหมายอาญาได้
--
ไอ้เรื่องที่สุเทพ ไม่ต้องมาศาล และไม่ต้องตอบคำถามห่าไรเนี่ย สรุปทั้งหมด คือ คนที่รู้กฎหมาย ก็สามารถใช้ช่องโหว่นี้ทำให้ตัวเองไม่ต้องไปศาลได้ถ้าต้องไปเบิกความก็จะตอบหรือไม่ตอบคำถามก็ได้ ก็เป็นผลดีต่อตัวมันเอง
สมมุติ เราอ้างแม่งเป็นพยาน มันจะไม่พูดความจริงเลยก็ได้นี่หว่าหรือ มันจะเงียบ ไม่พูดอะไรเลยก็ได้หรือ มันจะไม่พูดอะไรที่จะเป็นการช่วยให้เราได้ผลดีก็ได้ ประมาณนี้
ดังนั้น สุเทพ บวช คราวนี้ มันคือ อลัชชี หนีคดีอาญา ฆาตกร ห่มเหลือง คิดหาทาง
หลบลี้หนีกฎหมายทางที่ควรจะต้องทำ คือ จับมันสึก และเอามันไปดำเนินคดี ในฐานะ 
ไอ้สุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ. ศอฉ. ที่สั่งฆ่าประชามือเปล่าตายไปหลายสิบศพ
ช่วยกันแชร์ บอกต่อ 
อย่าปล่อยให้ ไอ้เหี้ยสุเทพ ลอยนวล
- ขอบคุณนายทหารใหญ่ จากกรมพระธรรมนูญ ผู้ช่วยชี้แจงข้อกฎหมายให้กูเข้าใจ
ปล. มีคนท้วงว่า..ในฐานะพยาน แต่ในฐานะผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับยกเว้นหรอก
คำตอบเพื่อความกระจ่าง เวลาเบิกตัวมาให้การ เขาจะอ้างเป็นพยานเบิกความหมดน่ะ
โจทก์อ้างตัวเป็นพยาน จำเลยอ้างตัวเป็นพยาน ได้
ทนายฝั่งตัวเองจะซักพยาน  ทนายฝั่งตรงข้าม(อัยการ) จะถามค้าน 
แล้วฝั่งเราจะถามติงอีกรอบ
ปกติแล้ว พยานจะต้องตอบ ไม่มีสิทธิ์จะไม่ตอบมันต้องมี cross-examination เพื่อทานข้อเท็จจริงกันทั้งสองฝ่าย แต่ กฎหมายตามที่อธิบายไป ของไทยนี้ไม่เป็นธรรมเลย 
เพราะให้พระ มีอภิสิทธิ์เกินไปที่เป็นอย่างนี้ เพราะมันตั้งอยู่บนข้อสันนิษฐานว่าพระต้องไม่มุสาไง ถ้าบังคับให้พระพูด อาจจะบังคับให้มุสา(ถ้าคนที่อยู่ในศาลก็ต้องไม่มุสาอยู่แล้ว ไม่งั้นจะมีพวกคำสาบาน หรือกฎว่าจะไม่โกหกศาลทำไม เนาะ?
สรุป คือ สุเทพแม่ง จะบวชหนีความผิด
ปล.2 ตอนแรกก็โหนเจ้า ต่อมามันก็โหนธงชาติ สุดท้ายก็โหนผ้าเหลือง 
ไอ้เมือกมันจะทำลายทุกสถาบันหรืออย่างไง
ที่มา/Cr: Johnie Red Lable

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น