ศูนย์วัฒนธรรมฯ จริงหรือไม่
ดร.โสภณ พรโชคชัย
ดร.โสภณ พรโชคชัย
ศูนย์วัฒนธรรมฯ
จริงหรือไม่ ดร.โสภณ พรโชคชัย หนึ่งในประเด็นสำคัญที่กล่าวถึงการโกงของ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ
ชินวัตร ก็คือ กรณีการประมูลซื้อที่ดินข้างศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถนนเทียมร่วมมิตร ซึ่งแยกจากถนนรัชดาภิเษก
เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตถึงความฉ้อฉลในการแก้ไขข้อกำหนดการใช้ที่ดินบางประการ
ผู้เขียนในฐานะที่พอมีความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์
จึงขอแสดงความเห็นเพื่อเป็นข้อมูลต่อสังคม . อย่างไรก็ตาม
กรณีนี้ค่อนข้างละเอียดอ่อนมาก ผู้เขียนขอยืนยันให้เห็นถึงความเป็นกลางของผู้เขียนไว้แต่แรก
ว่าไม่เคยทำงาน หรือฝักใฝ่ หรือได้รับผลประโยชน์ทั้งที่ลับและที่แจ้งจากทักษิณ
ไม่เคยไปร่วมเดินขบวนสนับสนุน
ในอนาคตก็ไม่คิดจะรับตำแหน่งลาภยศทางการเมืองจากทักษิณ .
เกี่ยวกับที่ดินรัชดา ที่ดินแปลงนี้มีขนาด 33 ไร่ 81.8 ตารางวาที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ซื้อจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอราวัณทรัสต์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2538 มูลค่า 2,749 ล้านบาท
ต่อมาในปี 2544 กองทุนฯ ได้ลดราคาลงเหลือเหลือ 700 กว่าล้านบาท และนำออกประมูลทางอินเทอร์เน็ต เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 ตั้งราคาขั้นต่ำ 870 ล้านบาท โดยผู้ร่วมประมูลต้องวางเงินมัดจำ 10 ล้านบาท
แต่ไม่มีผู้เสนอราคา กองทุนฯ จึงได้ยกเลิกการประมูล และเปิดประมูลใหม่เมื่อวันที่ 16
ธันวาคม 2546 โดยไม่กำหนดราคาขั้นต่ำ . ผลการประมูล
คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซึ่งส่งทนายความเป็นตัวแทนเข้าประมูลแทนตนเอง
ชนะการประมูลด้วยราคาสูงสุด 772 ล้านบาท โดยมีผู้แข่งขัน 2
ราย คือ บมจ.แลนด์แอนด์เฮาส์ และ บมจ.โนเบิล ดีเวลลอปเมนต์
แต่ต่อมาหลังรัฐประหาร พ.ศ.2549 ได้มีการตั้งข้อหาทุจริตในการประมูลนี้
และสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2551 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ได้พิพากษาตัดสินให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าว
พร้อมทั้งให้กองทุนฯคืนเงินซื้อขายที่ดินจำนวน จำนวน 772 ล้านบาท
พร้อมด้วยค่าเสียหาย ค่าออกแบบอาคารที่จะก่อสร้างจำนวน 39 ล้านบาท
พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันที่นัดชำระ {1}
และเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 ได้มีการจัดประมูลใหม่ บมจ.ศุภาลัย
ผู้ชนะการประมูลได้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวไปในราคา 1,815 ล้านบาท
{2} . ราคาเหมาะสมหรือไม่ ในการวิเคราะห์ว่าทักษิณ
โกงหรือไม่ ประเด็นสำคัญควรอยู่ที่ราคาที่ประมูลมามีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด
ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท
แอฟแฟร์ส ได้ประเมินราคาที่ดินในบริเวณใกล้เคียงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537
ถึงปัจจุบัน สามารถนำมาประกอบการพิจารณาได้ตามตารางท้ายนี้: .
1. ราคาที่ดินที่กองทุนซื้อที่ดินแปลงนี้มาในราคา 2,749 ล้านบาทในปี พ.ศ.2538 นั้น นับว่าสูงเกินความเป็นจริง กล่าวคือ เป็นเงินถึงตารางละ 206,975
บาท ในขณะที่ราคาที่ดินที่อยู่ติดถนนใหญ่รัชดาภิเษก มีมูลค่าเพียง 160,000
บาท ทั้งนี้เพราะรถไฟฟ้า .
2. เมื่อขายในปี พ.ศ.2546 ณ
ราคาตารางวาละ 58,125 บาท ต่ำกว่าราคาที่ดินที่ถนนรัชดาภิเษกที่ 150,000 บาท
และราคาที่ดินที่ถนนพระรามที่ 9 ที่ 90,000 บาท ทั้งนี้เพราะในห้วงปีนั้น รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ยังไม่มี
ราคาที่ดินที่ประมูลจึงควรต่ำกว่าราคาที่ดินที่ถนนพระรามที่ 9 และโดยที่เป็นที่ดินแปลงใหญ่กว่าถึง 1 เท่าตัว ผู้เขียนในฐานะผู้ประเมินจึงมีความเห็นว่าควรคิดลด
15% และในกรณีที่เป็นการประมูล ซึ่งมักต่ำกว่าราคาตลาดประมาณ
20% ดังนั้น ราคาที่ดินแปลงประมูลจึงควรเป็นเงินตารางวาละ 61,200
บาท หรือสูงกว่าราคาที่ประมูลได้อยู่เล็กน้อย
จึงอาจกล่าวได้ว่าราคาที่ประมูลนั้นเหมาะสมแล้ว ทั้งนี้ในปี พ.ศ.2546 ตลาดอสังหาริมทรัพย์เพิ่งเริ่มฟื้นตัว .
ตารางแสดงการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดิน พ.ศ.2538-2554
พ.ศ. รัชดาภิเษก พระรามที่ 9 ที่ดินที่ประมูล
บ/ตรว. %/ปี บ/ตรว. บ/ตรว.
2538 160,000 6.7% 105,000 5.0% 206,975
2539 170,000 6.3% 110,000 4.8%
2540 150,000 -11.8% 95,000 -13.6%
2541 140,000 -6.7% 85,000 -10.5%
2542 140,000 0.0% 85,000 0.0%
2543 140,000 0.0% 85,000 0.0%
2544 140,000 0.0% 85,000 0.0%
2545 140,000 0.0% 85,000 0.0%
2546 150,000 7.1% 90,000 5.9% 58,125
2547 160,000 6.7% 95,000 5.6%
2548 170,000 6.3% 100,000 5.3%
2549 190,000 11.8% 105,000 5.0%
2550 205,000 7.9% 110,000 4.8%
2551 220,000 7.3% 115,000 4.5%
2552 250,000 13.6% 120,000 4.3%
2553 280,000 12.0% 125,000 4.2%
2554 310,000 10.7% 132,000 5.6% 136,653
พ.ศ. รัชดาภิเษก พระรามที่ 9 ที่ดินที่ประมูล
บ/ตรว. %/ปี บ/ตรว. บ/ตรว.
2538 160,000 6.7% 105,000 5.0% 206,975
2539 170,000 6.3% 110,000 4.8%
2540 150,000 -11.8% 95,000 -13.6%
2541 140,000 -6.7% 85,000 -10.5%
2542 140,000 0.0% 85,000 0.0%
2543 140,000 0.0% 85,000 0.0%
2544 140,000 0.0% 85,000 0.0%
2545 140,000 0.0% 85,000 0.0%
2546 150,000 7.1% 90,000 5.9% 58,125
2547 160,000 6.7% 95,000 5.6%
2548 170,000 6.3% 100,000 5.3%
2549 190,000 11.8% 105,000 5.0%
2550 205,000 7.9% 110,000 4.8%
2551 220,000 7.3% 115,000 4.5%
2552 250,000 13.6% 120,000 4.3%
2553 280,000 12.0% 125,000 4.2%
2554 310,000 10.7% 132,000 5.6% 136,653
หมายเหตุ: ที่ดินรัชดาภิเษก หมายถึงแปลงสมมติบริเวณอาคารทศพลแลนด์
หากมีขนาด 16 ไร่ในสมมติฐานที่เป็นที่ดินเปล่า
ที่ดินพระรามที่ 9 หมายถึงแปลงสมมติบริเวณอาคารเคพีเอ็น
หากมีขนาด 16 ไร่ในสมมติฐานที่เป็นที่ดินเปล่า
ที่ดินที่ประมูล มีขนาด 33 ไร่ 81.8 ตารางวา
ที่มา: ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์
เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส. การประเมินราคาที่ดินต่อเนื่องในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
พ.ศ.2537-ปัจจุบัน .
3. หลังจากการเปิดใช้รถไฟฟ้าแล้วในปี พ.ศ.2547 ราคาที่ดินบนถนนรัชดาภิเษก
เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในขณะที่ราคาที่ดินที่ถนนพระรามที่ 9 เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ เพราะไม่มีบริการรถไฟฟ้า
ถ้าราคาที่ดินแปลงประมูลที่ตารางวาละ 58,125 บาท
มีอัตราการเพิ่มเช่นเดียวกับที่ดินรัชดาภิเษก ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัน
ราคาก็น่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 120,125 บาท หรือ
ต่ำกว่าราคาที่ประมูลโดย บมจ.ศุภาลัย ณ 136,653 บาท อยู่ 12%
ซึ่งก็ต่างกันไม่มากนัก แสดงว่าการนำมาประมูลใหม่ใน พ.ศ.2546
ก็ไม่ได้ทำให้รัฐเกิดรายได้เพิ่มขึ้นนัก . ดังนั้นหากพิจารณาจากราคา
จะพบว่า ราคาที่ประมูลไป ณ พ.ศ.2546 เป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว
สำหรับกรณีที่อาจจะมีการ "ฮั้ว" กันหรือไม่ ข้อนี้ไม่อาจพิสูจน์ได้ในกรณีของ
บมจ.แลนด์แอนด์เฮาส์ แต่ล่าสุด ประธาน บมจ.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์
ก็มีท่าทีตรงข้ามกับรัฐบาลอย่างชัดเจน {3} กรณีการฮั้วจึงไม่อาจนำมาอ้างอิงได้
. ทักษิณแก้กฎหมายการใช้ที่ดินเอื้อประโยชน์หรือไม่ มีข่าวร่ำลือว่า
หลังจากที่คุณหญิงพจมานประมูลที่ดินดังกล่าวไปแล้ว
ทักษิณก็ใช้อำนาจทางการเมืองแก้ไขข้อกฎหมาย
อนุญาตให้ที่ดินแปลงดังกล่าวสามารถก่อสร้างสูงได้ ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้น
ความจริงปรากฏว่าไม่เคยมีการข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าว
การแก้ไขมีหลังจากเป็นคดีความแล้วเพราะรัฐบาล “จีนทุ่มงบสร้างศูนย์วัฒนธรรมในไทย”
มูลค่า 1,200 ล้านหยวนหรือ 5,600 ล้านบาทข้างศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย {4} แต่กลับไม่สามารถสร้างได้เพราะติดข้อกฎหมายนี้
แต่ในที่สุดได้มีมติคณะรัฐมนตรีให้แก้ไขเพื่อการก่อสร้างศูนย์วัฒนธรรมจีน
ซึ่งมีอาคารหอประชุม พื้นที่ 2,800 ตามรางเมตร สูง 12.55
เมตร 2 อาคาร และอาคารอื่น ๆ . ดังนั้นเมื่อวันที่
27 พฤศจิกายน 2553 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้เสนอญัตติร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง
ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท
บริเวณโดยรอบศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในท้องที่แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง
กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่...) พ.ศ... แก่สภากรุงเทพมหานคร สภาฯ
มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญพิจารณา โดยไม่กำหนดระยะเวลาในการพิจารณา {5}
. ดังนั้นข่าวเรื่องทักษิณสั่งแก้ข้อกฎหมายการควบคุมการใช้ที่ดินเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับครอบครัว
จึงไม่เป็นความจริง ยิ่งกว่านั้นทักษิณประมูลที่แปลงนี้ไปเพื่อสร้างบ้าน (จะเห็นได้ว่ากองทุนต้องจ่ายค่าออกแบบบ้านให้ทักษิณถึง
39 ล้านบาท) กรณีนี้เป็นข้ออุทาหรณ์ให้ผู้เกี่ยวข้องในแวดวงวิชาการอสังหาริมทรัพย์ได้ทราบไว้
เพราะในช่วงที่ผ่านมา มีครูบาอาจารย์หลายท่านสอนนักศึกษาไปในทำนองวาทักษิณโกง
ผู้ที่ไม่ได้ตรวจสอบก็เชื่อตามๆ กันไปแบบผิดๆ . การโอนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546: ฉ้อฉลหรือ มีการกล่าวอ้างว่า
กรมที่ดินจดทะเบียนโอนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 เพื่อเอื้อให้ที่ดินแปลงนี้สามารถโอนโดยเสียภาษีและค่าธรรมเนียมโอนตามอัตราเดิมที่ใช้ในระหว่างวันที่
1 มกราคม 2542 - 31 ธันวาคม 2546
เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้รับโอน
เพราะราคาประเมินใหม่จะใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547
เป็นบัญชีใหม่ ซึ่งจะมีราคาสูงกว่าเดิม
ทำให้ผู้รับโอนต้องเสียภาษีมากขึ้นนั้น
ความข้อนี้ไม่เป็นความจริง ที่ดินแปลงนี้โอนในวันอังคารที่ 30 ธันวาคม 2546 . อย่างไรก็ตามเป็นปกติของการโอนที่ดินทั้งหลายในทุกรอบ 4 ปีที่มีการปรับราคาใหม่ ผู้จะซื้อจะขายรวมทั้งผู้รับจำนอง จะมาจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก่อนวันกำหนดเส้นตายเสมอเพื่อเลี่ยงที่จะเสียภาษีตามอัตราใหม่
เช่น กรณีการจะเริ่มประกาศใช้ราคาประเมินทางราชการรอบใหม่ พ.ศ.2551-2554 ก็ให้กำหนดโอนโดยใช้ราคาประเมินเดิมที่เสียภาษีน้อยกว่าได้ภายในวันที่ 31
ธันวาคม 2550 เช่นกัน
หรือกรณีเปลี่ยนราคาประเมินจาก 1 มกราคม เป็น 1 กรกฎาคม 2555 ทางราชการก็ "พร้อมรับมือคลื่นมหาชน
เปิด (บริการโอน ณ สำนักงานที่ดิน) ถึงมิดไนต์ยันเช้า" ได้เช่นกัน
และกรมที่ดินเปิดให้บริการถึงวันสุดท้าย วันเสาร์ 30 มิถุนายน
2555 {6} อาจกล่าวได้ว่าการโอนจนถึงวันสุดท้ายเกินเวลาราชการ
จึงเป็นสิ่งปกติที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้นับสิบๆ ปีแล้ว ไม่ได้การฉ้อฉลเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อทักษิณแต่อย่างใด
. ข้อน่าสงสัยในด้านกฎหมาย เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2551
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ มีมติ 5 ต่อ 4 พิพากษาว่า "จำเลยที่ 1 (ทักษิณ) มีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พ.ศ.2542 มาตรา 100 (1) วรรคสาม
และมาตรา 122 วรรคหนึ่ง ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี ส่วนความผิดฐานอื่นและคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
และให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 (คุณหญิงพจมาน)" {7}
. สำหรับ มาตรา 100 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินกิจการ
ในวรรคสามคือ "รับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ
หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน ทั้งนี้
ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว"
จึงถูกลงโทษตามมาตรา 122 คือ "เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา
100 มาตรา 101 หรือมาตรา 103
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ" {8} .
ความตามข้อกฎหมายนี้คงอยู่ที่การตีความ
แต่ผู้เขียนไม่ใช่นักกฎหมาย อย่างไรก็ตาม กรณีประมูลซื้อนี้ไม่ใช่การ "ผูกขาดตัดตอน"
ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และตามสามัญสำนึกถึงความผิดชอบชั่วดีทั่วไป
การที่ผู้ประมูลๆ อย่างเปิดเผยด้วยตนเอง ไม่ได้ปกปิดด้วยตัวแทนอย่างฉ้อฉล
น่าจะแสดงเจตนาบริสุทธิ์ ยิ่งกว่านั้น การทุจริตควรหมายถึง
การซื้อในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง แต่ในกรณีไม่น่าจะเข้าองค์ประกอบ
เพราะประมูลโดยมีการแข่งขันและได้ราคาสูงสุด
อัยการไม่สามารถฟ้องร้องได้ว่าซื้อต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นแต่อย่างใด .
ในกรณีนี้อาจถือเป็นในแง่กฎหมายมากกว่า ซึ่ง นายธาริต เพ็งดิษฐ์
อธิบดีกรมสวนสวนคดีพิเศษ ก็เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า "ตนขอยกตัวอย่างคดีที่ดินรัชดา
ซึ่งไม่ใช่คดีทุจริต แต่เป็นคดีที่เอาผิดกันทางด้านเทคนิคกฎหมายว่า พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ภรรยาไปซื้อที่ดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(ป.ป.ช.) จึงตั้งประเด็นการร่ำรวยผิดปกติ ไม่ใช่ทุจริต จึงไม่มีประเด็นใดทุจริต"
{9} .
บทสรุป โดยสรุปแล้ว
ทักษิณจึงไม่ได้โกงในการชนะการประมูลซื้อที่ดินใกล้ศูนย์วัฒนธรรมฯ ขนาด 33 ไร่ 81.8 ตารางวาที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
เปิดประมูลเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2546 เพราะราคาที่ประมูลได้ไม่ต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นมากนัก
ส่วนกรณีที่อาจจะมีการ "ฮั้ว" กันหรือไม่ ข้อนี้ไม่อาจพิสูจน์
บริษัทคู่แข่งในปัจจุบันก็มีความเห็นทางการเมืองที่ต่างจากทักษิณ .
นอกจากนี้ทักษิณไม่ได้สั่งแก้ข้อกฎหมายการควบคุมการใช้ที่ดินเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตนเอง
รวมทั้งในกรณีการสั่งให้มีการโอนถึงวันปฏิทินสิ้นปี
ก็ไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อการโอนที่ดินแปลงนี้ เพราะมีการโอนในวันราชการ (อังคารที่
30 ธันวาคม 2546)
ส่วนในกรณีของความผิดตามข้อกฎหมาย
อาจโต้แย้งได้ว่าผู้ซื้อไม่ได้มุ่ง "ผูกขาดตัดตอน" ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
และทักษิณก็เข้าประมูลอย่างเปิดเผยและชนะการแข่งขันประมูลในราคาสูงสุด . อ้างอิง {1}
ศาลตัดสินซื้อขายที่ดินรัชดาเป็นโมฆะ! สั่งกองทุนฯ คืนเงิน-หญิงอ้อ
คืนที่ดินwww.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9530000134347&CommentPage=2&TabID=3&
และที่www.matichon.co.th/news_detail.php?catid=01&newsid=1224574262 {2} ข่าว “ศุภาลัย” คว้าที่ดินรัชดาฯ
ควักเงินสด 1.8 พันล.-สูงกว่า “หญิงอ้อ”
พันล.www.manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000103252{3}
ข่าว “บิ๊กโนเบิล” ซัดรัฐประชานิยมมือเติบทำชาติล่มไม่ต่างกรีซ
“ยะใส” เปรียบเลือกตั้งพิธีกรรมต่ออายุ
“ระบอบทักษิณ”www.manager.co.th/politics/viewnews.aspx?NewsID=9560000154965 {4} จีนทุ่มงบสร้างศูนย์วัฒนธรรมในไทย 1,200 ล้านหยวน www.all-chinese.com/news/cinthumngbsrangsunywathnthrrmnithiy1200lanhywn {5} สภากทม. ตั้ง คกก . พิจารณากำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง
รอบศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย www.prbangkok.com/2009-10-14-04-36-43?start=560 {6} กรณีการจะเริ่มประกาศใช้ราคาประเมินทางราชการรอบใหม่ พ.ศ.2551-2554
ก็ให้กำหนดโอนโดยใช้ราคาประเมินเดิมที่เสียภาษีน้อยกว่าได้ภายในวันที่
31 ธันวาคม 2550 เช่นกัน www.dol.go.th/low_ministry/handbook/handbook-47.doc หรือกรณีเปลี่ยนราคาประเมินจาก
1 มกราคม เป็น 1
กรกฎาคม 2555 ทางราชการก็ "พร้อมรับมือคลื่นมหาชน
เปิด (บริการโอน ณ สำนักงานที่ดิน) ถึงมิดไนต์ยันเช้า" ได้เช่นกัน:www.pd.co.th/v6/th/news_detail.php?news_id=01141 และกรมที่ดินเปิดให้บริการถึงวันสุดท้าย
วันเสาร์ 30 มิถุนายน
2555:www.komchadluek.net/detail/20100630/64832/64832.html {7} คำพิพากษาคดีที่ดินรัชดา วันที่ 17 กันยายน 2551 www.supremecourt.or.th/file/criminal/1-50%20kumpiparksar.pdf {8} พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538974558&Ntype=19 {9} บทสัมภาษณ์ของนายธาริต เพ็งดิษฐ์ www.komchadluek.net/mobile/detail/20131106/172156.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น