เพลงฉ่อยชาววัง

วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

"สมศักดิ์ เจียมฯ" เขียนถึง "ณัฐวุฒิ-นปช.-พท."

"สมศักดิ์ เจียมฯ" เขียนถึง "ณัฐวุฒิ-นปช.-พท."

"สมศักดิ์ เจียมฯ" เขียนถึง "ณัฐวุฒิ-นปช.-พท."
ถ้าไม่ทำในสิ่งควรทำ แล้ว "จะเลือกกันไปทำไมครับ?"


ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรฯ


พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธร


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

(ที่มา เฟซบุ๊กส่วนตัว สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล)


นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เขียนแสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก
วิพากษ์วิจารณ์ความคับแคบของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
และการทำงานของรมว.ยุติธรรม ในรัฐบาลเพื่อไทย มีเนื้อหาดังนี้

.............

วันก่อนคุณณัฐวุฒิ พูดที่โบนันซ่า ว่า นปช.(เสื้อแดง) ไม่ใช่สู้เพื่อคนเสื้อแดงเท่านั้น
แต่สู้เพื่อคนทุกสีเสื้อ เพื่อประชาชนทุกคน

ก็เรียกว่าพูดดี พูดถูกล่ะครับ เหมือนที่ก่อนหน้านี้
หลายเดือนก่อน คุณจตุพรประกาศว่า เป้าหมายคือสู้เพื่อความยุติธรรมนั่นแหละ

ปัญหาคือ การกระทำของ นปช. และแม้แต่คุณณัฐวุฒิหรือจตุพรเอง
บ่อยครั้ง มันไม่ match (บรรจบ ประสาน) กับการพูดดีแบบนี้น่ะครับ

เอากรณี อากง ก็ได้

อากง ไม่ใช่คนเสื้อแดง (บางคนว่า เป็นเสื้อเหลืองด้วยซ้ำ แต่จริงๆ ผมก็ว่าไม่ใช่)

การตัดสินอากงนั้น
แม้แต่รอยัลลิสต์หลายคนยัง "ช็อค" ยังรู้สึกว่าเป็นอะไรที่ไม่ชอบมาพากลมากๆ

แต่ นปช. ใช้เวลาถึงเกือบ 1 เดือน จึงค่อย "อุบอิบๆ" เอ่ยกรณีอากงขึ้นมา แบบเสียไม่ได้

.............

ปัญหา นปช. แต่ไหนแต่ไร คือ ความคับแคบ

อย่างผมเคยยกตัวอย่างเรียกร้องว่า คุณสมยศ
นี่ นปช. น่าจะเชิญไปขึ้นเวที นปช. ก็ไม่เคยได้ขึ้น อะไรแบบนั้น

แต่ที่สำคัญและกว้างกว่าตัวอย่างสมยศคือ
นปช. ตลอดมา "คับแคบ" ในแง่เป้าหมายการต่อสู้ คือ
อะไรที่ไม่ใช่เกี่ยวกับ ทักษิณ หรือ เพื่อไทย นปช. ก็ไม่ยอมแตะต้องจริงๆ

ไม่อยากยกซ้ำว่า แม้แต่พวกตัวเอง
ที่ตอนนี้ติดคุกครึ่งร้อย นปช. ทำอะไรมากกว่านี้ได้แน่ๆ แต่ก็ไม่ทำ

เพราะ "ยุทธศาสตร์ปรองดอง" ใหญ่ ของคุณทักษิณ-เพื่อไทย นั่นแหละ

เปรม - นปช. เคยด่าสาดเสียเทเสีย ก็เงียบได้

ประยุทธ์ - นปช. เคยด่าสาดเสียเทเสีย ก็เงียบได้

คือยกตัวอย่างได้ไม่รู้จักจบจักสิ้นหรอกครับ ถ้าจะยกมาจริงๆ

.............

ผมชอบคุณณัฐวุฒินะ
ผมเชื่อว่าคุณณัฐวุฒิเป็นคนมีน้ำใจดี ปัญหาคือ
"กรอบ" ที่คุณณัฐวุฒิ จำกัดตัวเองอยู่นั่นแหละ

ทำให้คำพูดดีๆ จิตใจดีๆ กลายเป็นเรื่อง "แก้ตัว" หรือ "ปกปิด" ให้กับยุทธศาสตร์
และการกระทำที่ไม่เข้าท่าหลายอย่างของ นปช. โดยคุณณัฐวุฒิอาจไม่ตั้งใจ

.............

กรณีสนธิได้ประกันตัว กับ นปช. และ รมต.ยุติธรรม พรรคเพื่อไทย

หรือ

"รัฐมนตรียุติธรรม มีไว้ทำไมครับ
ถ้าอย่างน้อย ไม่หยิบยก (raise) ประเด็นปัญหาชัดๆ
ใน "กระบวนการยุติธรรม" แบบนี้ ขึ้นมาแสดง "ความกังวล" (concern) ?

....................

ประเด็นสนธิได้รับการประกันตัว (หลักทรัพย์ 10 ล้าน) เป็นอะไรที่พอคาดเดาได้ไม่ยาก

ที่ผมอยากพูด โดยโยงกับประเด็น นปช.-เพื่อไทย ไม่ทำอะไรที่ทำได้

คือ ตัวอย่างนี้ ต่อให้ ไม่ต้องพูดในแง่การเมืองอะไรเลย

ก็เห็นได้ชัดว่า กระบวนการตัดสินเรื่องการให้ประกันตัวของ ระบบศาลไทย
มีปัญหาแน่ๆ (จริงๆ เรื่องอื่นๆ ก็เห็นๆ กันอยู่ แม้แต่ระหว่าง คนของ นปช.เอง
ที่โดนคดี 112 กับ กรณีอย่าง อากง ที่จะพูดนี้)

กรณีสนธิ การให้ประกันตัว ไม่ได้มีบอกว่า "ให้ริบพาสปอร์ต" ด้วย
แสดงว่า ยังสามารถขอเดินทางออกนอกประเทศได้
(คนระดับนี้ ต่อให้ไม่มีพาสปอร์ต ก็คงหาทางหลบได้อยู่ดี)
และในขณะที่ผมก็คิดว่า สนธิ คงไม่หลบไปไหน อย่างน้อย
ในคดีขั้นนี้ (ไมใช่ขั้นฎีกาแล้ว) ในประวัติศาสตร์
ก็มีกรณีที่นักธุรกิจหลบหนีกันมาก่อนหน้านี้

แต่กรณีอย่าง อากง ชายแก่ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ ยังไงก็ยากที่จะมีเรื่องหลบหนี
(ไม่นับเรื่องภาระ หรือพันธะเรื่องภรรยา ลูกหลาน ซึ่งมากกว่ากรณีสนธิแน่)

ศาลไม่ให้ประกัน โดยอ้างว่า "เกรงจะหลบหนี"

.............

ทีนี้ อะไรคือสิ่งที่ นปช. และรัฐบาลเพื่อไทย ทำได้ แต่ไม่ทำ

สมัยที่ นปช. ยังเคลื่อนไหว "ต่อต้านอำมาตยาธิปไตย" อยู่นั้น
ประเด็นหนึ่งที่ยกกันมาพูดเสมอคือเรื่อง "สองมาตรฐาน"
ของ "กระบวนการยุติธรรมไทย" บางครั้ง ถึงขั้น ไปแสดงออก
โดยระดมคนไปชุมนุม "กดดัน" ศาล ทั้งที่สนามหลวง และที่รัชดา ด้วยซ้ำ

ตอนนี้ โอเค ต่อให้ นปช. ไม่ต้องการทำอะไรถึงขั้นนั้นแล้ว
แต่อย่างน้อย การมีท่าทีชัดเจน เรียกร้อง
ให้มีการ "ทบทวน หรือปฏิรูป มาตรฐานในการตัดสิน เรื่อง การให้ประกันตัว"
อะไรแบบนี้ ก็เป็นอะไรที่ทำได้ แต่ก็ไม่มีแนวโน้มจะทำ 
(อย่างมาก ที่เราได้ยินตอนนี้ เวลา คนเสื้อแดงธรรมดาๆ ของ นปช. เอง
ที่อยู่ในคุกหลายสิบคน ไม่ได้ประกัน นปช. ก็จะบอกเสียงอ่อยๆว่า
"เป็นเรื่องของศาล เราทำอะไรไม่ได้"
- ขอให้สังเกตเปรียบเทียบกับสมัยก่อน ที่ แกนนำ โดนจับว่า นปช. พูดแบบนี้หรือ?)

ที่สำคัญกว่านั้น คือ กรณี รัฐบาล โดยเฉพาะกระทรวงยุติธรรม

เรื่องนี้ ไม่จำเป็นต้อง raise เป็นเรื่องการเมืองเลย สำหรับ รมต.ยุติธรรม

แค่แสดงความห่วงใย (concern) ว่า มีปัญหาในเรื่องนี้อยู่
และอยากเรียกร้องให้ ผู้พิพากษา ในระดับต่างๆ
ได้หยิบยกประเด็นนี้ "ไปหารือกัน" อย่างจริงจัง

แน่นอน พูดแค่นี้ ก็คงหวังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไม่ได้

แต่อย่างน้อย เป็นการ "ให้การศึกษา" แก่สาธารณะ ว่า
ระบบศาลของเรามีปัญหาจริงๆ

อันที่จริง ถ้าเป็นประเทศอารยะ
ป่านนี้ ต้องมีการออกมาแสดงความกังวล จากฝ่ายบริหารแล้ว

(นี่ไม่เกี่ยวกับการ "แทรกแซง" ศาล เลยครับ
ในสหรัฐ หรือในประเทศตะวันตกอื่นๆ เคยมีบ่อยไป
ที่ผู้พิพากษา บางคดี ตัดสินบางอย่าง
ที่ขัดกับความรู้สึกของสาธารณะ มากๆ
(ผมรู้ว่า ในกรณีสหรัฐ ใช้ระบบลูกขุน แต่ศาล บางระดับ
บางกรณี รวมทั้งศาลสูง ไม่ได้ใช้ และมีอำนาจในการตัดสินเองเหมือนกัน)
ฝ่ายบริหาร เช่น ประธานาธิบดี หรือ นายกรัฐมนตรี หรือ รมต.ยุติธรรม
ก็สามารถออกมาแสดงความเห็นว่า
"เรามีปัญหา / เราไม่เห็นด้วยกับการตัดสิน" อะไรแบบนั้น ก็ได้
หรือแสดงความกังวล ในการมีปัญหาเรื่องมาตรฐานของศาล ก็ได้)

นี่เป็น "ตัวอย่าง" หนึ่ง ของการ "ไม่ทำอะไร
ทั้งๆ ที่ทำได้ และควรทำ" ของ นปช. - เพื่อไทย

..............

ได้โปรดเถิดครับ ทำอะไรไม่ได้เต็มที่ หลายคน (รวมทั้งผม) ก็พร้อมจะ "เข้าใจ" ...
แต่สิ่งที่ทำได้ และควรทำ ก็ควรทำครับ

ไม่งั้น จะเลือกกันไปทำไมครับ?

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1330444713&grpid=01&catid=&subcatid=


ก.ต่างประเทศ ยกเลิกพาสปอร์ต 'สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล'

กระทรวงการต่างประเทศระบุยกเลิกหนังสือเดินทางเพิ่ม 2 ราย "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" และ "วุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ" หรือโกตี๋ เหตุถูกออกหมายจับคดี ม.112 
 
4 ก.ค. 2557 เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่ากระทรวงการต่างประเทศได้ยกเลิกหนังสือเดินทางของผู้ถูกออกหมายจับเพิ่มขึ้นอีก 2 ราย เมื่อ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา ได้แก่ นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ โกตี๋ เจ้าของสถานีวิทยุเรดการ์ดเรดิโอ จ.ปทุมธานี เนื่องจากบุคคลทั้ง 2 ถือเป็นผู้ต้องหาที่ศาลอาญาได้ออกหมายจับในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จึงมีการดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ.2548 ข้อ 23 วรรค 2 ที่ระบุว่า เจ้าหน้าที่สามารถยกเลิกหรือเรียกหนังสือเดินทางได้เมื่อปรากฏภายหลังว่าผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่อาจออกหนังสือเดินทางได้เนื่องจากเป็นผู้ต้องหาคดีอาญาที่ได้มีการออกหมายจับไว้แล้ว
 
ขณะที่ก่อนหน้านี้ เมื่อ 26 พ.ค. ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศ ได้เพิกถอนหนังสือเดินทางของนางจรรยา ยิ้มประเสริฐ ตามระเบียบฯ ข้อ 23 วรรค 2 ประกอบข้อ 21 วรรค 2 ที่ระบุว่า กระทรวงสามารถปฏิเสธ หรือยับยั้งคำขอหนังสือเดินทางเมื่อได้รับแจ้งว่าผู้ร้องเป็นผู้ซึ่งกำลังรับโทษในคดีอาญา หรืออยู่ระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว หรือเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ได้มีการออกหมายจับไว้แล้ว ซึ่งศาลหรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจเห็นว่าไม่ควรจะออกหนังสือเดินทางให้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น