"..วันรัฐธรรมนูญ.."(๑๐ ธันวาคม ของทุกปี)
ภาพ "อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย"(Democracy Monument)
โดยเป็นภาพถ่ายสำรวจทางอากาศเมื่อครั้งอดีตโดย "ปีเตอร์ วิลเลี่ยมส์ ฮันท์" (Peter williams-Hunt) ซึ่งเป็นช่างภาพประจำของ "กองทัพอากาศอังกฤษ" ราว ๗๖ ปีที่ผ่านมา
กรุงเทพมหานคร (Bangkok)พุทธศักราช ๒๔๘๙ (1946's)
"วันรัฐธรรมนูญ"คือ วันที่จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการมี "รัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก" ของประเทศไทย ซึ่ง "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว" (รัชกาลที่ ๗) ได้ทรง "พระราชทานรัฐธรรมนูญ" ให้แก่ประชาชนชาวไทย เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕
วันนี้ จึงถือเป็นวันที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และการเมืองไทย
(*ขอบพระคุณภาพและข้อมูล)
: FB: ย้อนอดีต...วันวาน
: FB: 77PPP
------------------------------------------------------
กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
ภาพบรรยากาศของถนนพระราม ๔ บริเวณ "แยกสีลม" เมื่อครั้งอดีตราว ๕๒ ปีที่ผ่านมา
ซึ่งเป็นภาพที่ถ่ายจากตึก "โรงแรมดุสิตธานี" (ในสมัยที่เคยมีวงเวียน)
และพื้นที่ในบริเวณ "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" (สมัยที่ยังเป็น "ตึกเก่า") ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยตึกสูงในปัจจุบัน
กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
พุทธศักราช ๒๕๑๓ (1970's)
............................................
(*ขอบพระคุณภาพและข้อมูล)
: dek-d com
: google com
-------------------------------------------------------------
ภาพในสมัยรัชกาลที่ ๔ จากซ้ายไปขวา..
- เจ้าจอมมารดาเขียน
- ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด)
- ท้าววนิดาพิจาริณี (เจ้าจอมมารดาสุ่น)
สวม "ชุดทหารจิงโจ้" ผัดหน้า และทัดดอกไม้อย่างนางละคร
"ทหารจิงโจ้" (หรือเรียกโดยย่อว่า "จิงโจ้") เป็นชื่อเรียก "ทหารหญิง" ในรัชสมัยของ "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" รัชกาลที่ ๔ (อยู่ในสังกัด "กรมโขลน") ซึ่งหากในยามใดที่ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ต้องการที่จะเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน
พระองค์จะทรงโปรดเกล้าให้เจ้าจอมคนโปรดตามเสด็จด้วย ซึ่งจะเรียกว่า "นางนายทหารรักษาพระองค์"
ทรงโปรดให้มีการ "หัดโขลน" ซึ่งก็คือ "สตรีที่ทำหน้าที่คล้ายตำรวจ" ซึ่งแต่เดิมนั้นเรียกว่า "ทหารหญิง"
- แต่งกายด้วยอาภรณ์สีแดง
- กางเกงขายาวสีแดง
- นุ่งกระโปรงลายสกอต
- ชายเสื้อยาวถึงเข่า
- สวมหมวกแก๊ปทรงสูง
- มีกระเป๋าหน้าท้องด้านหน้า
แต่เนื่องจากเครื่องแต่งกายที่ดูรุงรัง "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" รัชกาลที่ ๕ จึงทรงเรียกทหารหญิงเหล่านี้ว่า "จิงโจ้"
และมีการใช้ "รูปแบบคำสั่ง" ที่แตกต่างไปจากทหารอื่นๆ เช่น..
- "วันทยาวุธ" จะใช้คำว่า จิงโจ้กัด
- "บ่าอาวุธ" จะใช้ว่า จิงโจ้หยุด
- "เรียบอาวุธ" จะใช้ว่า จิงโจ้นอน เป็นต้น
โดยมีหน้าที่ตรวจตรา รักษาความสงบไม่ให้มีการทะเลาะวิวาทในเขตพระราชฐานชั้นใน รวมถึงหน้าที่ในการปิดถนนดูแลเส้นทางการเสด็จพระราชดำเนิน ดังว่า..
"..ทรงพระกรุณาให้จัดโขลนเปนธรรมเนียมคล้ายโปลิด.."
(จาก พระบรมราชโองการเกี่ยวกับ "การตั้งกรมโขลน" และ "หน้าที่ของกรมโขลน")
"กรมโขลน" (พุทธศักราช ๒๔๔๐) นี้ มีหลักฐานว่าอยู่มาจนถึงในรัชสมัยของ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" รัชกาลที่ ๕
"กรมโขลน" ไม่ปรากฎว่า "ถูกยุบ" หายไปเมื่อใด และปัจจุบันไม่มีกรมโขลนอีกแล้ว โดยในปัจจุบันอาจจะมี "ราชองครักษ์หญิง" แต่ไม่ได้แยกออกมาสังกัดกรมกองชัดเจน
............................................
(*ขอบพระคุณภาพและข้อมูล)
: Colorization: Spirits of Siam
: th.m.wikipedia org
: prachathai com (คุณวรรณา แต้มทอง)
-------------------------------------------------------
"การเดินธุดงค์"คือ "วัตร" หรือแนวทางการปฏิบัติจำนวน ๑๓ ข้อ
ที่ "พระพุทธเจ้า" อนุญาตไว้ให้แก่พระสงฆ์ สำหรับเลือกนำไปปฏิบัติ เพื่อมุ่งให้เป็น "แนวปฏิบัติเพิ่มเติม" ของพระสงฆ์ที่ตั้งใจในการที่จะ "สมาทานความเพียร"
- เพื่อมุ่งขัดเกลาทางจิต
- เพื่อกำจัดกิเลส
โดย "ธุดงค์" นี้ เป็นเพียงวัตร หรือแนวทางการประพฤติ (ที่ไม่ใช่ศีลของพระสงฆ์)พระสงฆ์จึงเลือกที่จะปฏิบัติ หรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ และการปฏิบัติธุดงค์
"ธุดงค์" ในภาษาไทย ใช้สำหรับเรียก "พระภิกษุแบกกลด" ที่เดินไปตามทางหรือเข้าป่า ว่า "เดินธุดงค์" หรือออกธุดงค์ โดยเรียก "ภิกษุ" ที่ปฏิบัติเช่นนั้นว่า "พระธุดงค์"
การปฏิบัติ ที่ว่าด้วยการออกเดินทางนั้น เป็นข้อวัตรปฏิบัติพิเศษที่ชื่อว่า "โมเนยยปฏิบัติ" คือ..
- การอย่าเที่ยวภิกขาจารในที่เดิมซ้ำ
- อย่านอนในที่เดิมซ้ำ
- เพื่อไม่ตัดสินว่าใครดีชั่ว
- เพื่อไม่พิจารณาว่าสิ่งใดที่ไหนหยาบปราณีต
"การเดินธุดงค์" จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ "พระกรรมฐาน" ให้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติข้อวัตรเพื่อกำจัดกิเลศ มีโลภ โกรธ หลง ให้ลดน้อยถอยลง
คำว่า "ธุดงค์" ในภาษาไทย จึงมีความหมายเฉพาะตัวตามประเพณีของ "พระวัดป่า" ในประเทศไทย
(*ขอบพระคุณภาพและข้อมูล)
: FB: จังหวัดเชียงใหม่ (คุณ สิทธิ จันทร์เพ็ญ)
: th.m.wikipedia org
---------------------------------------------------
----------------------------------------------------
----------------------------------------------------
-----------------------------------------------------
----------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น