เพิ่มคำอธิบายภาพ |
จากนั้นชีวิตราชการของ พล.อ.กฤษณ์เติบโตขึ้นมาเป็นลำดับในกองทัพภาคที่ 1 (และเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ด้วยในช่วงหนึ่ง) จนกระทั่งได้เป็นแม่ทัพภาคในปี พ.ศ. 2506 และขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการทหารบกในปี พ.ศ. 2509จากนั้นในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามลำดับและเป็นสมาชิกวุฒิสภาอีกตำแหน่งด้วย
ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกต่อจากจอมพลประภาส จารุเสถียร [2]
พล.อ.กฤษณ์ เป็นบุคคลแรกในกองทัพที่ปฏิเสธไม่รับตำแหน่งจอมพลจนถือเป็นประเพณีปฏิบัติตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาเป็นต้นมาไม่มีการแต่งตั้งนายทหารยศจอมพลในประเทศไทยอีกโดยพลเอกกฤษณ์ขอรับพระราชทานแค่ยศ พลเรือเอก และ พลอากาศเอก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2516 [3]
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา พล.อ.กฤษณ์ได้เป็นรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2518 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2519[4] แต่หลังจากรับตำแหน่งได้ไม่นาน ก็ถึงแก่อสัญกรรมอย่างกะทันหันที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเมื่อวันที่ 23 เมษายนพ.ศ. 2519 โดยสาเหตุการอสัญกรรมยังคงเป็นที่สงสัย เพราะก่อนหน้านั้น พล.อ.กฤษณ์ได้เล่นกอล์ฟและรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงเพียงเท่านั้น
พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา มีผลงานสำคัญในขณะดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2, ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้พยายามมอบนโยบายแก่ผู้บังคับบัญชาของกองทัพภาคที่ 2 เพื่อหาทางวางกำลังทหารที่จังหวัดสกลนคร ทำให้มีหน่วยทหารเข้ามาตั้งในพื้นที่เพื่อทำการปราบปรามผู้ก่อการร้ายจนเป็นที่ยำเกรงของอริราชศัตรู ทำให้ประชาชนได้รับความอบอุ่นโดยทั่วกัน กองทัพบกจึงได้อนุมัติให้ตั้งชื่อค่ายกองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 3 จังหวัดสกลนคร ว่า "ค่ายกฤษณ์สีวะรา" เพื่อเป็นอนุสรณ์
เหตุการณ์ 14 ตุลา
พันเอกณรงค์ กิตติขจร กล่าวในปี พ.ศ. 2546 ว่า พล.อ.กฤษณ์ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่นิสิต นักศึกษา และประชาชนในการชุมนุม แต่ก็เป็นการชี้แจงหลังเกิดเหตุมาเกือบ 30 ปี และเป็นการชี้แจงเพียงฝ่ายเดียวโดยที่ฝ่ายครอบครัวของทาง พล.อ.กฤษณ์มิได้มีโอกาสชี้แจงกลับ คำกล่าวของพ.อ.ณรงค์ ขัดแย้งกับ นายโอสถ โกศิน อดีตรัฐมนตรีที่ใกล้ชิดกับ พล.อ.กฤษณ์ ซึ่งระบุว่า พล.อ.กฤษณ์ เป็นบุคคลสำคัญที่ไม่ยอมให้มีการปฏิบัติการขั้นรุนแรงแก่นักศึกษา อย่างไรก็ตามเขาเป็น ผู้อำนวยการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ในช่วงที่ 3 ทรราช ลี้ภัยไปต่างประเทศ โดยข้อเท็จจริงภายหลังเขาควบคุมสถานการณ์เหตุการณ์ก็เริ่มคลี่คลายลง
เหตุการณ์ 6 ตุลา
แม้ว่า พล.อ.กฤษณ์ จะเสียชีวิตไปก่อนเหตุการณ์ดังกล่าว แต่มีการวิเคราะห์ว่าการเสียชีวิตอย่ามีเงื่อนงำของ พล.อ.กฤษณ์ เป็นหนึ่งในชนวนเหตุที่ทำให้เกิดการปราบปรามนักศึกษาและประชาชนจนเป็นเหตุการณ์นองเลือดในเหตุการณ์ 6 ตุลา เพราะเปิดโอกาสให้ทหารฝ่ายขวาได้ครองอำนาจในกองทัพ
การเสียชีวิต
พล.อ.กฤษณ์เสียชีวิต เพราะ“ข้าวเหนียวมะม่วง” ขณะนั้นเป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลผสม ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี “…การเจ็บป่วยด้วยโรคท้องเฟ้อ อันสืบเนื่องมาแต่การรับประทานข้าวเหนียว มะม่วง จนถึงขั้นเกิดโรคแทรกซ้อนเป็นโรคหัวใจขาดเลือด การเข้าโรงพยาบาลพระมงกุฏฯอย่างกระทันหัน เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2519 การตรวจวินิจฉัยโรคโดยนายแพทย์แห่งโรงพยาบาลดังกล่าว และแถลงว่าอาการ ป่วยดีขึ้นเป็นลำดับ แต่แล้วก็ทรุดหนักลงในเวลาเพียง 6-7 วัน และถึงแก่อนิจกรรม เช้ามืดวันที่ 23 เมษายน 2519 เป็นเรื่องที่น่าคิดว่าเหตุไฉน……” (ที่มา ; รายงาน “ใครฆ่ากฤษณ์ สีวะรา? ปกปักษ์ทางการเมือง-การทหาร” โดยนาย กังหัน หน้า 4 หนังสือพิมพ์สหมิตร ฉบับตะวันใหม่ ปีที่ 1 ฉบับที่ 8 วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2521)
ค่ายกฤษณ์สีวะรา[แก้]
เนื่องจากพล.อ. กฤษณ์ สีวะรา ซึ่งก่อนถึงแก่อสัญกรรม เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 เป็นผู้มองการณ์ไกลในการป้องกันประเทศ และได้พิจารณาเห็นว่า จังหวัดสกลนคร เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ จึงได้มอบหมายให้แก่ผู้บังคับบัญชา ในกองทัพภาคที่ 2 หาแนวทางในการวางกำลังทหาร ในพื้นที่เพื่อทำการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ จนทำให้ประชาชนได้รับความอบอุ่นนับได้ว่า พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา เป็นนักการทหารที่มีสายตากว้างไกล สามารถคาดการณ์ได้ถูกต้องแม่นยำ ในขณะที่ พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก ได้กรุณาให้การสนับสนุนการก่อสร้าง และจัดตั้งหน่วย จังหวัดทหารบกอุดร (ส่วนแยกที่ 1 สกลนคร) และกองพันทหารราบที่ 1 กรมผสมที่ 3 ในขณะนั้นอย่างดียิ่ง จนค่ายทหารแห่งนี้ สามารถจัดตั้งเป็นปึกแผ่น เป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศ และเป็นที่ยำเกรงของอริราชศัตรู
ในทางการเมือง พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา เคยดำรงตำแหน่งในระดับสูงของรัฐบาลมาแล้วหลายยุคหลายสมัย ในด้านความสามารถ และความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับแก่ ประชาชนทั่วไป ตลอดทั้งพี่น้องชาวจังหวัดสกลนครเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา ซึ่งได้ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว และเพื่อเป็นมิ่งขวัญ เป็นความภาคภูมิใจแก่เหล่าทหาร ที่ปฏิบัติภารกิจอยู่ ณ จังหวัดสกลนคร กองทัพภาคที่ 2 จึงได้ขอพระราชทานนามค่ายนี้ว่า "ค่ายกฤษณ์สีวะรา" และเมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามว่า "ค่ายกฤษณ์สีวะรา" เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522
ความลับ 40 ปี 14 ตุลา
เป็นเรื่องบังเอิญที่ "ผู้กุมความลับเดือนตุลา" เสียชีวิตไปแล้ว เมื่อ 24 ตุลาคม 2555 หลังจากการรำลึก 39 ปี 14 ตุลา ผ่านไป 10 วัน
บุคคลผู้นั้นคือพล.ต.อ.วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ (หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา) ซึ่งเป็นเจ้าของวลีที่ว่า"ความลับเหตุการณ์เดือนตุลาจะตายไปกับตัว"
ก่อนหน้าปี 2516 ไม่ค่อยมีใครรู้จัก พล.ต.อ.วิฑูรย์ หรือ พล.ท.วิฑูรย์ ที่มีชื่อรหัสว่า "นายพลเทพ" หรือ "เทพ 333" ผู้นำกองกำลังทหารเสือพรานปฏิบัติการลับในลาว 9 ปี ด้วยการสนับสนุนของซีไอเอ
แต่หลังเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 พล.ท.วิฑูรย์ ได้กลับมารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งมี พล.ต.อ.ประจวบ สุนทรางกูร เป็นอธิบดีกรมตำรวจ
"วิฑูรย์" หัวหน้าใหญ่ทหารรับจ้าง กลับมาผงาดในกรมตำรวจ ยุค "เจ้าพ่อเกียกกาย" พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ที่ส่งไม้ต่อให้ "พล.ต.อ.ประจวบ" ตัวแทนของกลุ่มเกียกกาย
อุบัติเหตุ 14 ตุลา ส่งผลให้ "จอมพลถนอม-จอมพลประภาส" ต้องไปลี้ภัยอยู่ในต่างแดน เวลาเดียวกันก็เกิด"ศูนย์อำนาจใหม่"อันประกอบด้วยพล.อ.กฤษณ์ สีวะราผู้บัญชาการทหารบก ,พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และพล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ
พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา เป็นขุนศึกอยู่ในสายเดียวกันกับ "จอมพลถนอม-จอมพลประภาส" ที่ถูกวางตัวให้สืบทอดอำนาจจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
แต่ พล.อ.กฤษณ์ เป็นรองผู้บัญชาการทหารบก มาตั้งแต่ปี 2509 จนถึงเดือนตุลาคม 2516 จึงได้เป็น "ผู้บัญชาการทหารบก" นั่นหมายความว่า เขาเป็นรองผู้บัญชาการทหารบกยาวนานถึง 7 ปี
เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะการผูกขาดอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจรในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และจอมพลประภาส จารุเสถียรในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ทำให้นายทหารคนอื่นหมดโอกาสขยับ
เมื่อ 7-8 ปีที่แล้วพ.อ.ณรงค์ กิตติขจรได้มอบหมายให้นักวิชาการคนหนึ่งเขียน "ประวัติศาสตร์ 14 ตุลา" ฉบับใหม่ โดยพุ่งเป้าไปที่ 2 เหตุการณ์คือ การปะทะหน้าสวนจิตรลดา เช้าวันที่ 14 ตุลาคม 2516 และกรณี "ชายชุดดำ" บนหลังคาตึกกองสลากกินแบ่ง ในตอนสายวันเดียวกัน
"พ.อ.ณรงค์" ปักใจเชื่อว่า พล.อ.ประจวบ สุนทรางกูร ที่รับคำสั่งจาก พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา ให้สั่ง พล.ต.ท.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลในขณะนั้น ให้ใช้ความรุนแรงกับนักศึกษาที่สลายตัว และเดินออกไปบริเวณหน้าสวนจิตรลดา
พูดภาษาชาวบ้านก็ว่า คดีพลิกกลายเป็นว่า ฝ่ายของ พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา เป็นผู้จุดชนวนเหตุการณ์นองเลือดเมื่อตุลาคม 2516 รวมทั้งกรณีชายชุดดำ ก็พาดพิงถึง "ทหารเสือพราน" ที่อยู่ในการบัญชาการของ "เทพ 333" แต่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนใดๆ
จึงทำให้ "คนรุ่นนั้น" มองว่า พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร พยายามจะให้ "คนอื่น" ตกเป็นจำเลยในคดี 14 ตุลา แทนสองจอมพล และหนังสือประวัติศาสตร์ 14 ตุลาเล่นนั้น ได้ถูกตีโต้จากฝ่ายคนเดือนตุลาอย่างหนัก
จริงๆ แล้ว "ผู้กุมความลับเดือนตุลา" คนแรกคือ พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา เนื่องจากหลังวันมหาวิปโยค เขาได้กลายเป็น "ผู้มีบารมี" คอยค้ำยัน "รัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์" และวางแผนจัดตั้งรัฐบาลผสม 11 พรรค ที่มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี
หลังเกษียณอายุราชการ เมื่อ 30 กันยายน 2518 "พล.อ.กฤษณ์" เดินเกม "ล้มคึกฤทธิ์" โดยอาศัยพรรคสังคมชาตินิยม ของประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ และพรรคธรรมสังคม ของ พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ เป็นตัวประสานพรรคอื่นๆ แต่ "หม่อมคึกฤทธิ์" ไม่ยอมถอย และชิงประกาศยุบสภา หักหลังฝ่าย พล.อ.กฤษณ์
การเลือกตั้งปี 2519"พล.อ.กฤษณ์"สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ สะกัด"หม่อมคึกฤทธิ์"จนเป็นผลสำเร็จ แต่ในเดือนเมษายน 2519 "พล.อ.กฤษณ์" ได้ถึงแก่กรรมอย่างมีเงื่อนงำ หลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกลาโหมในรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ความตายของ พล.อ.กฤษณ์ และ พล.ต.อ.วิฑูรย์ ยังคงทำให้ความลับเดือนตุลา..เป็น "ความลับ" ต่อไป!
อ่านต่อที่นี่ด้วย
https://pantip.com/topic/31811917
กูต้องได้ 100 ล้าน จากทักษิณแน่ๆ
กฤษณ์ สีวะรา ผบ.ทบ.คนที่ 19 ของไทย ผบ.ทบ.คนแรก ที่ปฏิเสธไม่รับตำแหน่ง จอมพล และไม่เห็นด้วยกับ ขบวนการ ขวา-พิฆาตซ้ายภายหลังจากเกษียณอายุราชการในปี 2518
และถูกทาบทาม จาก รบ. มรว.เสนีย์ ปราโมช ให้เข้ารับตำแหน่ง รมว.กระทรวงกลาโหมแต่ยังไม่ทันเข้าปฏิบัติหน้าที่ พล.อ.กฤษณ์ ก็ล้มป่วย และเสียชีวิตลงในเวลา 10 กว่าวัน
และเป็นการเสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำร่ำลือกันว่า เป็นผลพวงจาก "ข้าวเหนียวมะม่วง"การเสียชีวิตของ พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา
ถือเป็นเหตุหนึ่ง ที่เปิดโอกาสให้ทหารหัวรุนแรงได้ใช้อาวุธ ปราบปรามนักศึกษา และประชาชน ในเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลา 2519ทหารหลายคนที่เกี่ยวข้อง กับการฆ่าประชาชนหนึ่งในนั้น ก็มี เปรม ติณสูลานนท์ รวมอยู่ด้วยอิอิ ฮิฮิวันนี้ เรียนประวัติศาสตร์จากเพจกูไปพลางๆ พอถึง 6 ตุลา จะได้สำนึก ว่าเขารำลึกอะไรกันเขารำลึกการที่ประชาชนโดนฆ่าโดยทหารกันไง ทุกวันนี้ ทหารยังรัฐประหารอยู่เลยและ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่นักศึกษาโดนฆ่าตาย-คามหาวิทยาลัยมาแล้ว วันนี้เป็นยังไงล่ะ "สมคิด เลิศไพฑูรย์" หันไปเลียไข่ทหารเต็มที่แล้วนะ
มันจะสำนึกไหมว่า ในมหาวิทยาลัย ที่มันกำลังเป็นอธิการบดี เคยมีรุ่นพี่ของมันถูกฆ่าตายเขาเหล่านั้น ตายเพราะเรียกร้องหาประชาธิปไตย และต่อต้านเผด็จการทหาร
ฤ คนตายเมื่อตุลา19 จะตายฟรี ???
มารู้จัก พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา กันเถอะ
พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา เติบโตมาในสายวงศ์เทวัญโดยแท้ กล่าวคือ เรียนวชิราวุธวิทยาลัย และเทพศิรินทร์ จากนั้นสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยทหารบกด้วยคะแนนอันดับหนึ่ง หน้าที่การเงินเริ่มจากกองทัพภาคที่หนึ่ง ก่อนจะประสบความสำเร็จในการต่อต้านกองกำลังคอมมิวนิสต์ในภาคอีสาน โดยขณะเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 นั้น ได้สร้างกองกำลังที่ จ.สกลนคร เป็นส่วนแยกของมณฑลทหารบกที่อุดร ซึ่งต่อมาในพ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ชื่อค่ายว่า ค่ายกฤษณ์สีวะรา
ได้ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบกในสมัย 14 ตุลา 2516 โดยเพิ่งได้รับตำแหน่งหลังจากจอมพลประภาส จารุเสถียร เกษียณอายุ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2516 ไปหมาดๆ
พันเอกณรงค์ กิตติขจร กล่าวในปี พ.ศ. 2546 ว่า พล.อ.กฤษณ์ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่นิสิต นักศึกษา และประชาชนในการชุมนุม แต่ก็เป็นการชี้แจงหลังเกิดเหตุมาเกือบ 30 ปี และเป็นการชี้แจงเพียงฝ่ายเดียวโดยที่ฝ่ายครอบครัวของทาง พล.อ.กฤษณ์มิได้มีโอกาสชี้แจงกลับ คำกล่าวของพ.อ.ณรงค์ ขัดแย้งกับ นายโอสถ โกศิน อดีตรัฐมนตรีที่ใกล้ชิดกับ พล.อ.กฤษณ์ ซึ่งระบุว่า พล.อ.กฤษณ์ เป็นบุคคลสำคัญที่ไม่ยอมให้มีการปฏิบัติการขั้นรุนแรงแก่นักศึกษา
พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา เป็นผบ.ทบ. คนแรกที่ปฏิเสธตำแหน่งจอมพล ทำให้ต่อจากนั้นไม่มีการตั้งตำแหน่งจอมพลขึ้นอีกในประเทศไทย
ว่ากันว่า การถึงแก่อสัญกรรมอย่างกะทันหันและเป็นปริศนาของพล.อ.กฤษณ์ หลังจากกินข้าวเหนียวมะม่วง และไปเล่นกอล์ฟ ในวันที่ 23 เมษายน 2519 เป็นหนึ่งในชนวนเหตุการล้อมฆ่านักศึกษาประชาชน 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งตามมาด้วยการรัฐประหารของพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ด้วย เพราะพล.อ.กฤษณ์ มีแนวโน้มเข้าข้างรัฐบาลพลเรือนมากกว่าจะเข้ายึดอำนาจเสียเอง
ตอนนี้ก็หน้าร้อน ฤดูมะม่วงแล้ว
กินข้าวเหนียวมะม่วงแต่พอดีกันนะครับ
https://pantip.com/topic/31811917
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น