หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณผู้สื่อข่าวบีบีซีไทยที่มา: http://www.bbc.com/thai/thailand-41521691
สถาบันตุลาการคือ 1 ใน 3 เสาหลักของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จากปากคำของตุลาการผู้อยู่ในเหตุการณ์ เล่าถึงพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านศาล เพียงครั้งแรกและครั้งเดียวเพื่อแก้วิกฤตทางการเมืองปี 2549
"ถ้าสงสัยว่าท่านทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ข้าพเจ้าเดือดร้อน ที่เดือดร้อนเพราะเมื่อปฏิบัติอะไรในพระปรมาภิไธย พูดง่าย ๆ ในนามของพระเจ้าอยู่หัว ถ้าทำอะไรที่มิดีมิชอบ พระเจ้าอยู่หัวก็เป็นคนที่ทำมิดีมิชอบ.."
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คือข้อเตือนใจที่ศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จดจำขึ้นใจตลอดเวลา 37 ปีของการปฏิบัติหน้าที่ "ศาลในพระปรมาภิไธย"
-------------
-------------
เขาเริ่มรับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา หลังผ่านการฝึกปรือกับผู้พิพากษาชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งจรัญเรียกว่า "ท่านติวเตอร์" จนแน่ใจว่าทำหน้าที่ได้ ก็ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาเต็มตัวในปี 2523
รัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้พิพากษาเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ และถือเป็นแนวทางปฏิบัติตลอดรัชสมัยของรัชกาลที่ 9 ว่าหลังถวายสัตย์ฯ พระองค์จะพระราชทานพระบรมราโชวาท เพื่อแนะนำ ตักเตือน สั่งสอน หรือเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ
"กระแสรับสั่งที่ต้องมีทุกวาระก็คือขอให้ถือความยุติธรรมเป็นสำคัญ กฎหมายไม่ใช่จุดหมายปลายทางในตัวเองเสมอไป แต่เป็นเพียงเครื่องมือที่จะพาท่านทั้งหลายไปส่งมอบความยุติธรรมให้แก่สังคม แก่ประชาชน" จรัญกล่าวกับบีบีซีไทย
นี่เป็นสิ่งที่ไม่มีสอนในโรงเรียนกฎหมายอย่างชัดเจน แต่เป็นคำสอนของพระองค์ที่ชี้ให้เห็นว่า "ความยุติธรรมมาก่อนกฎหมาย และอยู่เหนือกฎหมาย"
"เราถือกันว่าพระองค์ท่านเป็น 'ตุลาการหมายเลข 1' นี่เป็นคำพูดแบบสื่อความหมายที่เข้าใจในหมู่พวกเรา"
-------------
-------------
เบื้องหลัง "เสด็จเหยียบศาล" กับตำนานในวงการตุลาการ
ประเพณีปฏิบัติของศาลยุติธรรมที่ทำกันมา 130 ปี เมื่อจะเปิดศาล ต้องกราบบังคมทูลเชิญพระบาทพระมหากษัตริย์ "เสด็จเหยียบศาล" และเป็นองค์ประธานในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ศาลนั้นเป็นคดีแรกเพื่อความเป็นสิริมงคล
จรัญบอกว่าในทางปฏิบัติมักเลือกคดีง่าย ๆ ไม่มีปัญหาข้อกฎหมายซับซ้อน เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ แม้ราษฎรทำผิดจริง แต่เมื่อเป็นความผิดไม่รุนแรง และคนทำก็รับสารภาพแล้ว ไม่เคยกระทำผิดอื่นใดมาก่อน ก็มีเหตุที่จะมีพระมหากรุณาธิคุณรอการลงโทษจำคุกให้ เพื่อให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี
แต่แล้วก็มีเหตุให้ศาลต้องทบทวน-เพิ่มความระมัดระวัง เพราะไม่ใช่ทุกคดีที่สามารถออกคำพิพากษาตาม "แบบแผน" ได้
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ 20-30 ปีก่อน ไม่มีบันทึกเอาไว้ในศาลใด แต่เป็นตำนานเล่าขานภายในแวดวงตุลาการ จรัญนำมาถ่ายทอด..
เมื่อครั้งเสด็จเหยียบศาลแห่งหนึ่งในภาคเหนือ และทรงเป็นประธานองค์คณะพิพากษาคดีบุกรุกที่ดินของผู้เสียหาย จำเลยสารภาพต่อศาลตามฟ้อง แต่ทำไปด้วยนึกว่าที่ดินพิพาทยังอยู่ในเขตที่ดินของตน ศาลก็ทำตามแบบแผนซึ่งเตรียมไว้แล้วว่าจำเลยรับสารภาพตามฟ้อง ก็ฟังว่าผิดจริง แต่ไม่เคยทำผิดมาก่อน และเป็นความผิดเล็กน้อย จำเลยรับสารภาพสำนึกผิด ควรรอการลงโทษจำคุกเอาไว้เพื่อให้จำเลยกลับตัวเป็นคนดี
"เมื่อทำคำพิพากษาขึ้นกราบบังคมทูลฯ ก็มีกระแสรับสั่งว่า 'การที่ล้ำเข้าไปในที่ดินคนอื่นโดยเข้าใจว่าอยู่ในเขตที่ดินของตัว เป็นความผิดฐานบุกรุกด้วยหรือ' ก็เป็นที่เข้าใจได้เลยว่าพระองค์ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยในเรื่องนี้ ในทางกฎหมายถ้าจำเลยให้การอย่างนี้ไม่ถือเป็นการรับสารภาพ แต่เป็นการภาคเสธ คือล้ำไปในที่เขาจริง แต่ไม่มีเจตนาบุกรุก จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด เรื่องนี้จะออกคำพิพากษาแบบที่วางไว้ไม่ได้" จรัญกล่าว
ถือเป็นพระบรมราชวินิจฉัยที่ลึกซึ้งกว่าตัวบทกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เพ่งพินิจถึง "ธรรมะของกฎหมาย"
ถือเป็นพระบรมราชวินิจฉัยที่ลึกซึ้งกว่าตัวบทกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เพ่งพินิจถึง "ธรรมะของกฎหมาย"
ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านศาล
นอกจากทรงประสิทธิประสาทความยุติธรรมให้แก่ประชาชนด้วยกฎหมายเฉพาะบท-เฉพาะกาล ในหลวงรัชกาลที่ 9 ยังทรงเป็นแสงสว่างนำประเทศออกจากวิกฤต เมื่อคนในวังวนแห่งความขัดแย้งมองไม่เห็นทางออก
จาก "วิกฤตการเมือง" ที่ค่อย ๆ ก่อตัว ยกระดับเป็น "วิกฤตรัฐธรรมนูญ" ปี 2549 บางฝ่ายทูลเกล้าฯ ขอ "นายกฯ พระราชทาน" ตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ โดยอ้างประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วการรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์ หลังผ่าน "วันมหาวิปโยค" ต.ค. 2516 แต่พระองค์ไม่ทรงทำ
ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านตุลาการเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติ จึงนำไปสู่การปลดล็อคเงื่อนไขทางการเมืองในที่สุด
"ในครั้งนั้นหลักการใหม่มันเกิดขึ้น เมื่อฝ่ายบริหารไม่มี ฝ่ายนิติบัญญัติแท้จริงยังไม่มี วุฒิสภาก็ทำหน้าที่อะไรไม่ได้ในเรื่องนี้ และเกิดปัญหาที่ไปรบเร้าให้พระองค์ท่านต้องเข้ามา ถ้าพระองค์ท่านทำตามคำขอ ก็จะกลายเป็นว่าเข้ามาแทรกแซงก้าวก่ายทางการเมือง ก็ผิดหลัก นี่ล่ะพระอัจฉริยภาพที่ทรงชี้ว่ายังมีช่องทางอยู่นะ ให้ไปคิดกัน ไปหาทางออกกันให้ถูกต้อง ถ้าทำไม่ได้ก็ลาออกไป นี่จึงคล้ายๆ ตกอยู่ในภาวะต้องมาหาทาง"
จากวิกฤตการเมืองสู่ "วิกฤตที่สุดในโลก" ปี 2549 |
---|
ปลายปี 2548 | กลุ่มพันธมิตรฯ เริ่มชุมนุมขับไล่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร |
24 ก.พ. | ทักษิณ ชินวัตร ประกาศยุบสภา |
2 เม.ย. | วันเลือกตั้ง แต่เกิดปัญหาหลายเขตผู้สมัคร ส.ส.ได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่ รธน.กำหนด เพราะฝ่ายค้านบอยคอตเลือกตั้ง |
23 เม.ย. | จัดเลือกตั้งใหม่ 40 เขต 17 จังหวัดที่มีปัญหา แต่ไม่อาจแก้ปัญหา ต้องประกาศจัดเลือกตั้งรอบ 3 |
25 เม.ย. | ในหลวง ร.9 มีพระราชดำรัสแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ |
28 เม.ย. | ประธานศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญ ประชุมเพื่อหาทางแก้ปัญหาวิกฤตการเมือง ตามแนวพระราชดำรัส |
28 เม.ย. | ศาลปกครองสั่งระงับการเลือกตั้ง 14 เขต 9 จังหวัด ที่จะเกิดขึ้น 29 เม.ย. |
8 พ.ค. | ศาลรัฐธรรรมนูญวินิจฉัยว่าการดำเนินการของ กกต. มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และให้การเลือกตั้ง 2 เม.ย. เป็นโมฆะ |
16 พ.ค. | ศาลปกครองสั่งให้การเลือกตั้ง 2 เม.ย. เป็นโมฆะ |
1 มิ.ย. | ประธานศาลฎีกาทำหนังสือถึงประธานวุฒิสภา ไม่ขอเสนอชื่อ 2 กกต. เนื่องจาก 3 กกต. 3 ที่เหลือทำหน้าที่บกพร่อง หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ |
25 ก.ค. | ศาลอาญาพิพากษาจำคุก 3 กกต. เป็นเวลา 4 ปี ทำให้ขาดคุณสมบัติการเป็น กกต. โดยอัตโนมัติ |
ที่มา: บีบีซีไทยรวบรวม
ขณะนั้นจรัญดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา ทำหน้าที่เป็นผู้นำสารจากที่ประชุมประธาน 3 ศาล ประกอบด้วย ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาวิกฤตการเมืองของประเทศ ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาสื่อสารต่อประชาชน
โดยส่งสัญญาณให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดที่สังคมไม่เชื่อมั่นในความเป็นกลาง ซึ่งเหลืออยู่ 4 คนลาออกเพื่อให้ตำแหน่งว่างลง และเปิดทางให้ศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดส่งคนกลางเข้าไปเป็น "กกต.เฉพาะกาล"
"ทางออกนี้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญปี 2540 แต่มีเงื่อนไขว่า กกต. ต้องถอนตัวออกไป เปิดช่องทางให้เดินได้"
จรัญยอมรับว่าไม่เคยคิดถึงศาล ในฐานะอำนาจส่วนหนึ่งที่ประกอบขึ้นเป็นอำนาจอธิปไตยมาก่อน ในแวดวงนักกฎหมายไทยมองคล้ายๆ กันว่าศาลเป็นเรื่องของการพิจารณาพิพากษาคดี
ศาลในพระปรมาภิไธย
ถึงวันนี้ จรัญทำหน้าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมา 9 ปีแล้ว (2551-ปัจจุบัน) ซึ่งเป็นช่วงที่เขาบอกว่า "หนักใจ" ที่สุด เป็นภารกิจ "ยากที่สุด" หากเทียบกับชีวิตตุลาการที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นคดีที่กระทบถึงข้อพิพาทระหว่าง 2 ขั้วอำนาจ
"การแพ้ชนะในศาลรัฐธรรมนูญ หมายถึงเดิมพันที่ใหญ่ของแต่ละฝ่าย ดังนั้นแรงกดดันก็จะเข้ามามากทั้งทางด้านบวกและลบ ฝ่ายที่พอใจก็อยากจะเอาดอกไม้มาให้กำลังใจ ฝ่ายที่ไม่พอใจก็ตำหนิติเตียนวิพากษ์วิจารณ์ สิ่งที่พวกเรายึดถือกันตลอดมาในการทำหน้าที่ที่นี่คือเราทำหน้าที่ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์"
เขาจึงไม่สนใจว่าใครจะชัง-ใครจะชอบ หากคำวินิจฉัยตั้งอยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง เป็นธรรม เป็นหลักให้แก่ประเทศ เป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชน
"แม้ต้องทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้เสียหาย เราก็ไม่อาจเบี่ยงเบนออกไปจากภารกิจหน้าที่นี้ได้" ตุลาการวัย 67 ปีกล่าวทิ้งท้าย
หมายเหตุ: รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานพิเศษชุด "ในหลวง ร.9" ซึ่งบีบีซีไทยนำเสนอต่อเนื่องตลอดเดือน ต.ค. วันพรุ่งนี้ จะเป็นหัวข้อ "เป็น 1 ปี ที่เนิ่นนานนับอนันต์"
********************
ยุติธรรมหรือขี้โกง.....อ่านบทความของ ประดาบ
จรัญ ภักดีธนากุล มีสถานะตุลาการชั้นผู้ใหญ่ที่มีสัญญลักษณ์ตราชั่งอันแสดงถึงความสถิตย์ ยุติธรรม แต่ใครจะรู้ว่าหลังบ้านนั้นกลับมีพฤติกรรม ขี้โกง เป็นกมลสันดาน ทั้งโกงเงิน โกงที่ดินคนใกล้ชิดที่นับหน้าถือตากันมานาน
นายจรัญ ภักดีธนากุลซึ่งคลุกคลีอยู่ในแวดวงกระบวนการศาลสถิตยุติธรรม รับราชการตุลาการ เกินครึ่งชีวิตก่อนจะก็ได้รับการขอโอนย้ายจากข้าราชการตุลาการ ในตำแหน่งสุดท้ายคือเลขาธิการประธานศาลฎีกา สำนักงานประธานศาลฎีกาไปเป็นข้าราชการพลเรือนในตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
การคลุกคลีในตำแหน่งข้าราชการตุลาการเกินครึ่งชีวิตย่อมจะเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเป็นอย่างดีในการผดุงความยุติธรรม
ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เคยพระราชทานพระราชดำรัส แก่ผู้พิพากษา ประจำสำนักงานศาลยุติธรรม เข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ ท้องพระโรง ศาลาเริง วังไกลกังวล อ.หัวหินจ.ประจวบคีรีขันธ์ วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (ฉบับไม่เป็นทางการ)
มีใจความตอนหนึ่งว่า........ ความยุติธรรมนี้คือการปฏิบัติอะไรที่ถูกต้องตามธรรม คือยุติธรรม ถ้าฟังดูก็ยุติในธรรมยุติในความดีความชอบ ท่านก็รักษาความยุติธรรม ท่านต้องรักษาความดีความชอบผู้พิพากษาจะต้องรักษาความยุติธรรมด้วยความดี ความถูกต้อง ถ้าท่านรักษาความยุติธรรมตามที่ได้ปฏิญาณตน เชื่อว่าความสุขความสงบก็จะเกิดขึ้นถ้าผู้พิพากษาไม่รักษาความยุติธรรมเมื่อใดประเทศชาติคงวุ่นวาย........
แต่นายจรัญ ภักดีธนากุลคงจะไม่เคยถ่ายทอดแนวทางตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่นายจรัญภักดีธนากุล ได้รับ ไปถึงคนในครอบครัว โดยเฉพาะภรรยาที่ชื่อนางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุลและแม่ยายที่ชื่อนางจินดาสุนทรพันธ์
เพราะหาก นายจรัญ ภักดีธนากุลถ่ายทอดแนวทางตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้กับภรรยาและแม่ยายเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับคดี โกงที่ดินคนใกล้ชิดที่นับหน้าถือตากันมานานคงไม่เกิดขึ้นและคงไม่คิดเบียดบังทรัพย์สินคนอื่นมาเป็นของตน
และในกรณีโกงที่ดินทำให้สาธารณะชนได้รับรู้อีกว่า พฤติกรรมขี้โกงของนางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุลไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกรณีนี้กรณีเดียว เพราะในคำฟ้องคดีดังกล่าวยังได้แฉพฤติกรรมให้สาธารณะชนได้รับรู้ ถึงความเป็นคนขี้โกงของนางทีปสุรางค์โดยข้อความในคำฟ้องระบุตอนหนึ่งว่า
......นางทีปสุรางค์มีพฤติกรรมที่น่าสงสัย เนื่องจากเคยยืมเงินพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช จำนวน 2 ล้านบาทแล้วไม่ยอมชดใช้........
เรื่องอื้อฉาวคดีฟ้องร้องโกงที่ดินสืบเนื่องจากนางทีปสุรางค์ และมารดาร่วมกันสมคบคิด โกงที่ดินของพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิชและนางสาวสุภา วงศ์เสนา ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 20550 และโฉนดที่ดินเลขที่ 23716 -23765 รวม 51 แปลง ที่ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ซึ่งมีเนื้อรวมกันที่ประมาณ 22 ไร่เศษ
ทำให้พันตรีหญิงสินเสริมเลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา ตัดสินใจร่วมกันเป็นโจทย์ยื่นฟ้องแพ่งนางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล เป็นจำเลยที่ 1 และนางจินดา สุนทรพันธ์ซึ่งเป็นมารดาของนางทีปสุรางค์ เป็นจำเลยที่ 2 ในปี 2540 ที่ศาลจังหวัดสงขลาโดยเป็นคดีหมายเลขดำที่ 2715/2540 คดีหมายเลขแดงที่ 993/2547 เกี่ยวกับเรื่องที่ดินเพิกถอนนิติกรรม เรียกทรัพย์คืน
ในคำฟ้องของ พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิชและนางสาวสุภา วงศ์เสนา ระบุว่า ได้ทำหนังสือมอบอำนาจด้วยการลงลายมือชื่อในช่องมอบอำนาจ แต่ไม่ได้กรอกข้อความ จำนวน 15 ฉบับเพื่อให้นางทีปสุรางค์ ไปดำเนินการที่สำนักงานที่ดิน จังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่เพื่อรวมโฉนดที่ดินทั้ง 51 แปลง เป็นแปลงเดียว แล้วแบ่งเป็นแปลงย่อย ไม่เกินแปลงละ 50 ตารางวา เพื่อนำออกขายแก่บุคคลทั่วไป
แต่ต่อมาประมาณเดือนพฤษภาคม 2540 ทราบว่านางทีปสุรางค์ ไม่ได้รวม และแบ่งแยกโฉนดตามที่ได้มอบหมายให้ไปดำเนินการแต่กลับสบคบกับนางจินดา สุนทรพันธ์ซึ่งเป็นมารดาของนางทีปสุรางค์ นำหนังสือมอบอำนาจที่ได้ลงลายมือไว้ให้ไปกรอกข้อความจดทะเบียนโอนที่ดินเป็นของนางทีปสุรางค์และมารดาเสียเอง
หลังจากนั้น นางทีปสุรางค์และมารดา ได้นำที่ดินไปและได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินบางส่วนให้กับบุคคลภายนอก
พฤติกรรมเยี่ยงนี้ถือเป็นการโกงซึ่งหน้าเพราะพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิชและนางสาวสุภา วงศ์เสนามอบหมายให้นางทีปสุรางค์เป็นตัวแทนในการดำเนินการรวมโฉนดที่ดินแล้วแบ่งแยกใหม่โดยมีจุดประสงค์เพื่อขายที่ดินที่แบ่งแยกแล้วให้บุคคลอื่น ไม่เคยให้นางทีปสุรางค์นำที่ดินออกขายและไม่เคยให้ดำเนินการพัฒนาที่ดินแต่อย่างใด
ที่สำคัญในคำฟ้อง ระบุว่า พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนาไม่ได้ขายที่ดินให้กับนางทีปสุรางค์และมารดาตามที่ทั้งสองให้การต่อศาลว่าซื้อมาในราคา 4 ล้านบาทและไม่เคยได้รับเงินค่าที่ดินจากนางทีปสุรางค์และมารดาแม้แต่บาทเดียว
พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนาจึงได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาให้ดำเนินคดีกับนางทีปสุรางค์และมารดาในข้อหาร่วมกันปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารปลอม และได้แจ้งอายัดที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลาสาขาหาดใหญ่
เพราะการกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ซึ่งถือเป็นการร่วมกันปลอมแปลงเอกสารหนังสือมอบอำนาจจึงถือเป็นเอกสารปลอม จะนำไปใช้จดทะเบียนทำนิติกรรมใดๆ ไม่ได้
ดังนั้นการที่นางทีปสุรางค์และมารดา นำที่ดินไปจดทะเบียนโอนขาย จึงถือเป็นโมฆะ
ในคำฟ้องระบุให้นางทีปสุรางค์และมารดา เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมโอนขายที่ดินตามหนังสือมอบอำนาจที่กรอกข้อความจดทะเบียนโอนที่ดินเป็นของนางทีปสุรางค์และมารดาและให้จดทะเบียนโอนที่ดินคืนกลับมา
หากไม่สามาถโอนคืนนางทีปสุรางค์และมารดาร่วมกันชำระเงินค่าที่ดินจำนวน 45 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี จากเงินต้นดังกล่าวนับแต่วันฟ้อง
ในคำฟ้องยังระบุถึงสำหรับสาเหตุที่พันตรีหญิงสินเสริมเลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา มอบหมายให้นางทีปสุรางค์ไปดำเนินการรวมโฉนดที่ดินแล้วแบ่งเป็นแปลงย่อย เนื่องจากนางสาวสุภา วงศ์เสนาเป็นเพื่อนสนิทของนายยิ่งยง สุนทรพันธ์ ซึ่งเป็นสามีของนางจินดา สุนทรพันธ์และไปมาหาสู่กับครอบครัวของนายยิ่งพันธ์มาโดยตลอด ทำให้สนิทสนมกับนางทีปสุรางค์โดยรักและเอ็นดูเหมือนบุตรหลาน
ระหว่างปี 2537 พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิชล้มป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มือเท้าสั่นและอ่อนแรง ส่วนนางสาวสุภา วงศ์เสนาเส้นเลือดฝอยในสมองแตกร่างกายเป็นอัมพฤกษ์ ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล นายยิ่งยงจึงให้นางทีปสุรางค์ซึ่งเป็นลูกสาวมาเยี่ยมและดูแลไข้
และด้วยสถานะของนางทีปสุรางค์ซึ่งเป็นลูกของเพื่อน และที่สำคัญเป็นภริยาของตุลาการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งก็คือนายจรัล ภักดีธนากุลขณะนั้นมีตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา สำนักงานประธานศาลฎีกา ทำให้พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิชและนางสาวสุภา วงศ์เสนา เชื่อมั่นและไว้วางใจ มากยิ่งขึ้น ในการมอบหมายไว้วานให้ดำเนินการในเรื่องอื่นๆรวมถึงรวมโฉนดที่ดินแล้วแบ่งเป็นแปลงย่อยจนนำไปสู่การฟ้องร้อง
ซึ่งหากพิจารณาจากพฤติการณ์เป็นการใช้กลฉ้อฉลโดยอาศัยความสับสน ซึ่งสติสัมปชัญญะพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภาวงศ์เสนา ในยามที่เจ็บป่วยให้ลงชื่อไว้
อย่างไรก็ตามในการฟ้องร้องดังกล่าว นางทีปสุรางค์และมารดา ได้ฟ้องแย้งโดยระบุว่า การโอนกรรมสิทธิ์ทั้ง 51 แปลงเป็นการโอนโดยถูกต้องตามเจตนาของทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจปลอมที่ดินทั้งหมดจึงเป็นของนางทีปสุรางค์และมารดาหลังจากซื้อที่ดินจากพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา ในราคา 4 ล้านบาท ก็ได้ลงทุนพัฒนาที่ดิน จนทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นมีมูลค่าในการซื้อขายประมาณ 85 ล้านบาท
ซึ่งหากขายที่ดินได้ทั้งหมดจะได้เงินไม่น้อยกว่า 120 ล้านบาท หักต้นทุนและค่าใช้จ่ายแล้วนางทีปสุรางค์และมารดา จะมีกำไรไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท
นอกจากนี้พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดตั้งแต่ปี 2538 แต่มาฟ้องคดีเมื่อปี 2540 เกิน 3 ปีดังนั้นคำฟ้องจึงขาดอายุความ
ดังนั้นการที่พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิชและนางสาวสุภา วงศ์เสนา อายัดที่ดินที่สำนักงานที่ดิน ทำให้ได้รับความเสียหายเนื่องจากมีผู้ซื้อที่ดินและได้รำระราคาให้บางส่วนแล้วแต่เมื่อไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ทำให้นางทีปสุรางค์และมารดาขาดประโยชน์อันพึงได้รับจากการขายที่ดิน กล่าวคือได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินบางส่วนให้กับบุคคลภายนอกแล้วคิดเป็นราคาที่ดินทั้งสิ้น 34.8 ล้านบาท
ในคำฟ้องแย้งของนางทีปสุรางค์และมารดา ได้ขอเรียกค่าเสียหาย ให้พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิชและนางสาวสุภา วงศ์เสนา ชดใช้ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์อันพึงได้เป็นเงิน 30 ล้านบาท และเรียกค่าเสียหายจากการอายัดที่ดินทำให้เสียชื่อเสียงและเสียความน่าเชื่อถือ 20 ล้านบาทและให้ชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องแย้งเป็นเงิน 94.39 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนาได้เสียชีวิตลงในระหว่างการฟ้องร้อง นางกัลยาณี รุทระกาญจน์จึงเป็นผู้เข้ารับมรดกแทนพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และมูลนิธิสินเสริมธรรมเข้ารับมรดกแทนนางสาวสุภา วงศ์เสนา
ทั้งนี้ ในการพิจารณาคำฟ้องดังกล่าวศาลได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ไว้ 6 ประเด็นประกอบด้วย
1.คำฟ้องแย้งเคลือบคลุมหรือไม่
2.การกรอกข้อความลงในแบบพิมพ์ใบมอบอำนาจฝ่าฝืนต่อเจตนาหรือไม่
3.พันตรีหญิงสินเสริมเลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนาได้รับความเสียหายเพียงไร
4.คำฟ้องขาดอายุความหรือไม่
5.การอายัดที่ดินที่พิพาทเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่
6.นางทีปสุรางค์และมารดาได้รับความเสียหายเพียงใด
ทั้งนี้ภายหลังการนำสืบพยานโดยศาลจังหวัดสงขลา ได้มีการพิพากษาเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2547 ได้วินิจฉัยว่านางทีปสุรางค์กรอกข้อความลงในแบบพิมพ์ใบมอบอำนาจฝ่าฝืนเจตนาของพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิชและนางสาวสุภา วงศ์เสนา จริง ดังนั้นนิติกรรมการโอนที่ดินมาเป็นของนางทีปสุรางค์จึงเกิดขึ้นจากการฉ้อฉล โดยเจตนาทุจริตและ พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิชและนางสาวสุภา วงศ์เสนา มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยนิติกรรมการโอนดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะและต้องถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้น
ศาลจึงพิพากษา ให้นางทีปสุรางค์และมารดาจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดินตามคำร้องของพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิชและนางสาวสุภา วงศ์เสนา
แต่ที่ไม่น่าเชื่อ คือ ประเด็นข้อพิพาทในข้อที่ 6 ที่นางทีปสุรางค์และมารดา ได้ดำเนินการถมดินเพื่อพัฒนาซึ่งเท่ากับได้ดัดแปลงหรือต่อเติมทรัพย์สินอันเป็นกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 418 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า
ถ้าบุคคลรับทรัพย์สินอันมิควรได้ไว้โดยสุจริตและได้ทำการดัดแปลงหรือต่อเติมขึ้นในทรัพย์สินนั้นท่านว่าบุคคลเช่ชชนั้นต้องจัดทำทรัพย์สินนั้นให้คืนคงสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง แล้วจึงส่งคืนเว้นแต่เจ้าของทรัพย์สินจะเลือกให้ส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ในกรณีเช่นนี้เจ้าของจะใช้ราคาค่าทำดัดแปลงหรือต่อเติมหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นราคาทรัพย์สินเท่าที่เพิ่มขึ้นนั้นก็ได้แล้วแต่จะเลือก
ซึ่งพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภาวงศ์เสนา เลือกที่จะให้นางทีปสุรางค์และมารดาส่งคืนที่ดินตามสภาพที่เป็นอยู่
ศาลจึงวินิจฉัยกรณีที่นางทีปสุรางค์และมารดา ได้มีการเข้าไปลงทุนพัฒนาที่ดินแล้วทำให้ค่าของที่ดินที่พิพาทสูงขึ้นซึ่งการชดใช้เงินตามราคาทรัพย์สินเท่าที่เพิ่มขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในประมูลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 418 วรรคแรกนี้ให้ดูมูลค่าของที่ดินดูดีขึ้น
จึงพิพากษาให้ผู้เข้ารับมรดกแทนพันตรีหญิงสินเสริมเลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา ร่วมกันชดใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่นางทีปสุรางค์และมารดา เป็นเงิน 10 ล้านบาท
การพิพากษาให้นางทีปสุรางค์และมารดาจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดิน และโอนคืนที่ดินให้กับพันตรีหญิงสินเสริมเลขะวนิช และนางสาวสุภาวงศ์เสนา
ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาอย่างเที่ยงธรรมและน่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น