นายประพัฒน์เกิดที่จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2495 เข้ามาเรียนที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าร่วมกิจกรรมในขณะเป็นนักศึกษา และมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ 14 ตุลาคมพ.ศ. 2516
ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ทำงานรับจ้างปลูกป่า บริษัทลำปางทำไม้ จำกัด เป็นลูกจ้างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และเป็นเกษตรกรอยู่ที่จังหวัดลำปาง เริ่มต้นจากการนำต้นกล้าส้มพันธุ์โชกุลจากจังหวัดยะลามาปลูก ในพื้นที่จังหวัดลำปาง อำเภอแจ้ห่ม ตำบลแม่สุก ในชื่อของสวนส้มเพชรล้านนา แต่ต่อมาเจอภาวะภัยแล้งจนทำให้ต้องเลิกทำส้ม จนเปลี่ยนมาเป็นเกษตรผสมผสานที่มีทั้งปศุสัตว์ ผลไม้ และพืชผัก โดยได้ทำการเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ คือไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ฟาร์มเกษตรอินทรย์เพชรล้านนา" เมื่อ พ.ศ. 2544 เข้าเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคนแรกระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2547 [8]
ช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 นายประพัฒน์ ได้ลาออกจากตำแหน่งในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และสมาชิกพรรคไทยรักไทย[9] แล้วย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย[10]ในปี พ.ศ. 2551 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551[11] ในระหว่างที่อยู่ในแวดวงการเมืองอยู่นั้น ฟาร์มที่จังหวัดลำปาง ก็ยังคงดำเนินกิจการอยู่ และเมื่อเว้นวรรคทางการเมืองได้กลับมาพัฒนางานด้านการเกษตรในพื้นที่และระดับชาติอย่างต่อเนือง จนได้รับความไว้วางใจได้รับเลือกจากเกษตรกรจังหวัดลำปาง ให้เป็น "ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง" และได้รับเลือกเป็น "ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ" ในเวลาต่อมา
หลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาดำรงตำแหน่ง กรรมการในคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 105/2557 กรรมการอื่นในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม[12]กรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร[13]ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [14]กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามพรบ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560
ใน วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560 เขาพ้นจากตำแหน่ง กรรมการอื่นในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม[15]ใน วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560เขาพ้นจากตำแหน่ง กรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร[16]และได้รับแต่งตั้งเป็น ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [17]
วันพฤหัสบดี ที่ 8 ตุลาคม 2552
-----------------------------------------------------
เดือนตุลาคมของทุกปี เป็นเดือนที่มีคุณค่า และความหมายทางประวัตศาสตร์การต่อสู้ของประชาชน เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค เพื่อเป้าหมายปลายทางที่ "ประชาธิปไตย" คือ ประชาชน จะเป็นใหญ่โดยแท้จริง
เดือนตุลาคมของทุกปี เป็นเดือนที่มีคุณค่า และความหมายทางประวัตศาสตร์การต่อสู้ของประชาชน เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค เพื่อเป้าหมายปลายทางที่ "ประชาธิปไตย" คือ ประชาชน จะเป็นใหญ่โดยแท้จริง
ภาพเหตุการณ์ เมื่อ 14 ตุลา 2516 คนเดือนตุลาคนหนึ่ง คึอ สุจิต วงษ์เทศ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เคยถามว่า...เจ้าหนุ่ม เจ้าสาวเอย เจ้าเคยแล้วหรือยัง ?
เห็นแล้วขนลุกมั้ย ? คลื่นมหาประชาชนหลายแสนคน นำโดยพลังนิสิตนักศึกษาในยุคนั้น ต่อสู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ
นั่นคือ..การเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค
นั่นคือ..การเรียกร้องประชาธิปไตย
เมื่อวันก่อน ผมได้มีโอกาสไปร่วมรำลึกนึกถึงวีรชนคนกล้า ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 ที่บริเวณจุดประวัติศาสตร์การเมืองไทย หลายยุคหลายสมัย นั่นคือ..ถนนราชดำเนิน
ข้างบนนี้ คือ ภาพเหตุการณ์ ช่วงสาย ๆ ของวันที่ 14 ตุลาคม 2516 มี นศ.ม.เกษตรฯ ปี 3
อายุ 21 ปี ชื่อ นายประพัฒน์ แซ่ฉั่ว กำลังเดินมาร่วมชุมนุมกับเพื่อน ๆ นักศึกษา ข้างหลังคือโรงแรมรัตนโกสินทร์ (รร.รอแยล) ริม ถ.ราชดำเนิน เยื้อง ๆ สนามหลวง สมัยนั้น รร.รอแยล เป็นเหมือนสถานพยาบาลชั่วคราว ในการปฐมพยาบาลคนบาดเจ็บ ก่อนจะนำส่ง รพ.
ภาพนี้ ทหารกำลังเดินหน้าเข้ามา เคลียพื้นที่ ในขณะที่ ประพัฒน์ ไม่ยอมให้เข้ามา เพราะเกรงว่า เพื่อน ๆ ที่อยู่ด้านใน และบรเวณนั้น จะได้รับอันตราย เลยไปหยิบเอาไม้กั้นต้นประดู่หน้า รร. มาเป็นอาวุธชั่วคราว สู้กับปืนเอ็ม 16 ของหาร
ปรพัฒน์ถือไม้ตั้งท่าจะตี และตะโกนว่า อย่าเข้ามา ๆ ๆ ๆ
ก่อนจะถูกทหารยิงปืนใส่แบบหูดับตับไหม้ จนประพัฒน์สลบไป ไม่รู้ตัว
แต่เดชะบุญ เขาไม่ตาย แต่ก็บาดเจ็บ เพราะโดนยิงหลายแผลที่บริเวณขา
ต่อมา ภาพนี้ กลายเป็นภาพโด่งดังมากอีกภาพหนึ่ง ที่บอกเล่าเรื่องราวในวันที่ 14 ตุลา 2516 และเป็นที่มาของฉายา "ไอ้ก้านยาว" ของ ประพัฒน์ แซ่ฉั่ว หรือ ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ในเวลาต่อมา ซึ่งภาพนี้ ถ่ายโดย แปลก เข็มพิลา
กาลเวลาผ่านมา-ผ่านไป 36 ปี เมื่อวันก่อน ผมนัดเจอกับ "ไอ้ก้านยาว" ยุค 14 ตุลา ตัวจริงเสียงจริงคนนี้ ที่จุดเดิม คือ บริเวณที่ประพัฒน์ เคยถือไม้หน้าสาม ต่อสู้กับทหารที่มีอาวุธหนักครบมือ ก่อนถูกยิงล้มลงไป อย่างที่ว่า
คุณประพัฒน์บอกผมว่า ที่จริงตัวแก ไม่ใช่คนสูงใหญ่ หครือก้านยาวแต่อย่างใด ตรงข้าม กลับออกมาทางท้วม ๆ ค่อนข้างเตี้ยด้วยซ้ำ เพียงแต่มุมกล้องในวันเกิดเหตุ คุณแปลก ช่างภาพ แกนอนถ่าย เลยได้ภาพมุมเสย ทำใหดูเหมือนคุรประพัฒน์ตอนนั้น ตัวยาวใหญ่ เลยได้ฉายา "ไอ้ก้านยาว"
สถานที่ประวัติศาสตร์ จุดกำเนิดฉายา "ไอ้ก้านยาว" ในวันนี้ เต็มไปด้วยรถราควักไคว่ และควันพิษ แต่ยังดีที่มีสีเขียว ๆ ของต้นไม้ที่ กทม.เอามาปลูกไว้ คานอำนาจมลพิษ
เดินมาถึวบริเวณ 4 แยกคอกวัว เมื่อก่อนเคยเป็นที่ทำงานของ พ.อ.ณรงค์ กิติขจร 1 ใน 3 ทรราช ที่ นศ.เรียกกันในยุคนั้น ต่อมาก็ถูกเผาทิ้ง ปัจจุบัน เป็นอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 2516
ประชาธปิไตยในวันนี้ แม้จะยังห่างไกลจากความคิดฝันของ นศ. ปละ ประชาชน ในยุค 14 ตุลา 16
แต่ก็ยังหวังว่า มันจะต้องดีขึ้นกว่านี้แน่ ๆ
1-2-3 แอ็คอาร์ต.....แชะ ๆ ๆ ๆ (ถ่ายรูปหน่อยจ้า แฮ่ะ ๆ)
-----------------จบข่าว
ขอบคุณที่มา
http://oknation.nationtv.tv/blog/krisana/2009/10/08/entry-1
ขอบคุณที่มา
http://oknation.nationtv.tv/blog/krisana/2009/10/08/entry-1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น