เพลงฉ่อยชาววัง

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

ISIS ...รัฐอิสลามในอิรักและลีแวนต์'




กลุ่มติดอาวุธ 'รัฐอิสลามในอิรักและลีแวนต์' เขาว่าร้ายกว่าอัลเคดา!!

จากกรณีกลุ่มติดอาวุธ รัฐอิสลามในอิรักและลีแวนต์ ก่อเหตุยึดหลายเมืองในอิรัก รวมถึงเมืองโมซูล เมืองใหญ่ลำดับ 2 ของประเทศ ภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ทำให้ทั่วโลกต่างหันมาสนใจว่ากลุ่ม รัฐอิสลามในอิรักและลีแวนต์ เป็นใครมาจากไหน...
เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2557 กลุ่มติดอาวุธญิฮาด ซึ่งเรียกตัวเองว่า 'รัฐอิสลามในอิรักและลีแวนต์' (ISIS) พร้อมกับกลุ่มติดอาวุธอิสลามนิกายสุหนี่ บุกโจมตีเมืองโมซูล เมืองเอกของจังหวัด นินเวห์ ทางตอนเหนือและเมืองใหญ่ลำดับ 2 ของประเทศอิรัก การต่อสู้ยืดเยื้อถึงวันที่ 9 มิ.ย.2557 นายอาธีล อัล-นูจาอิฟี ผู้ว่าราชการจังหวัด ออกมาเรียกร้องให้ชาวเมืองโมซูลยืนหยัดสู้กับกลุ่มติดอาวุธผู้รุกราน แต่เพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อมา อัล-นูจาอิฟี ต้องหลบหนีออกจากสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพราะถูกกลุ่มติดอาวุธหลายร้อยคนถล่มด้วยอาวุธหนักอย่างจรวดอาร์พีจี, ปืนไรเฟิล และปืนกล
วันที่ 10 มิ.ย.2557 ชาวเมืองโมซูลนับแสนคนตัดสินใจทิ้งบ้านเกิด อพยพหลบหนีความรุนแรงไปยังภูมิภาคใกล้เคียง ซึ่งถูกปกครองโดยชาวเคิร์ด ขณะที่ ISIS ดำเนินการยึดท่าอากาศยานในเมืองโมซูล รวมถึงศูนย์ปฏิบัติการกองทัพและค่ายทหารอื่นๆ พวกเขายังจุดไฟเผาสถานีตำรวจและปล่อยตัวผู้ต้องขังหลายร้อยคนออกจากเรือนจำ เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารต่างทิ้งอาวุธ และละทิ้งที่มั่นหลังจากรู้ว่าสู้ต่อไปก็ไม่มีทางชนะการโจมตีอันหนักหน่วงนี้



สภาพความเสียหายของรถยนต์คันหนึ่งในเมือง ทิกริต หลังถูกกลุ่ม ISIS โจมตี
การโจมตีของ ISIS ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ในวันที่ 11 มิ.ย..2557 ขบวนรถของกลุ่มติดอาวุธหลายคันมุ่งหน้าลงใต้จากเมืองโมซูลด้วยความฮึกเหิมในชัยชนะ พวกเขาโจมตีเมืองไบจิ ที่ตั้งโรงกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของอิรักก่อนเป็นแห่งแรก แต่ยังไม่ชัดเจนว่าโรงกลั่นแห่งนี้ตกอยู่ในการควบคุมของ ISIS หรือไม่ ตามด้วยบุกโจมตีเมือง ทิกริต บ้านเกิดของอดีตประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน และเมืองเอกของจังหวัดซาลาฮุดดิน ยึดเมืองนี้ได้บางส่วน เมื่อรวมกับเมืองรามาดีกับเมืองฟัลลูจา ที่ ISIS ยึดครองอยู่ก่อน จะทำให้ขณะนี้ ISIS ยึดครองพื้นที่บางส่วนในภาคเหนือ, ภาคตะวันตกและภาคกลางของอิรักไว้ได้แล้ว
ล่าสุดกลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้กำลังเคลื่อนพลเข้าใกล้เมืองซามาร์รา ซึ่งห่างจากเมืองหลวงกรุงแบกแดดไปทางเหนือเพียง 110 กม. โดยโฆษกของกลุ่มออกมาเรียกร้องให้นักรบในสังกัด ระดมกำลังบุกให้ถึงกรุงแบกแดด และเมืองทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชายมุสลิมนิกายชีอะห์ ที่กลุ่ม ISIS ตราหน้าว่าเป็นพวกนอกรีต
สถานการณ์ตอนนี้แสดงให้เห็นว่า อิรักกำลังเผชิญกับวิกฤติที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามอิรัก ISIS ใช้เวลาเพียงไม่กี่วันยึดครองเมืองสำคัญของประเทศได้ถึง 3 แห่ง ทำให้ผู้สื่อข่าวต่างประเทศหลายสำนักออกมายอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่า กลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและลีแวนต์ ก้าวข้ามกลุ่มก่อการร้ายอัลเคดา ในฐานะกลุ่มติดอาวุธอิสลามญิฮาดที่อันตรายที่สุดในโลกไปแล้ว ทั้งที่ ISIS เพิ่งถือกำเนิดขึ้นมาเพียง 1 ปีเท่านั้น แต่กลับก่อเรื่องไว้มากมาย

ชาวเมืองโมซูลในอิรักหลายแสนคนต้องอพยพออกจากเมือง
รัฐอิสลามในอิรักและลีแวนต์ หรือ ISIS (หรือ ISIL) ก่อตั้งขึ้นในเดือน เม.ย. ปี 2013 โดยแยกตัวออกจากกลุ่มก่อการร้าย อัลเคดา และถูกอัลเคดาปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงนับแต่นั้น แต่ ISIS กลับกลายเป็นกลุ่มญิฮาดกลุ่มหลักในการต่อสู้กับรัฐบาลของประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด ในซีเรีย และซ่องสุมกำลังในประเทศอิรัก ซึ่งขนาดของกองกำลังไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่คาดว่ามีนักรบในสังกัดมากถึง 5,000 คน รวมทั้งนักรบญิฮาดชาวต่างชาติ

องค์กรก่อการร้ายนี้มีผู้นำคือ อาบู บาคาร์ อัล-บักดาดี ประวัติของชายคนนี้ลึกลับมาก เชื่อกันว่าเขาเกิดที่เมืองซามาร์รา ในปี 1971 และเข้าร่วมกองกำลังติดอาวุธ 'รัฐอิสลามในอิรัก' (ISI) ต้นกำเนิดของกลุ่ม ISIS ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2003 หลังสหรัฐฯ ส่งทหารบุกอิรักไม่นาน ต่อมาในปี 2010 อัล-บักดาดี ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าของกลุ่มอัลเคดา ในอิรัก (AQI) ก่อนจะแยกตัวออกมา

เปิดตัวแกนนำไอซิสในอิรักครั้งแรก อาบู บาการ์ อัล-แบกดาดี

 7ก.ค.2557 แบกแดด (เอพี/เอเอฟพี/บีบีซี นิวส์) – อาบู บาการ์ อัล-แบกดาดี หัวหน้ากลุ่มติดอาวุธมุสลิมสุหนี่ รัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ (ISIS) ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐอิสลาม หรือ IS และประกาศตนเป็นกาหลิบ (ผู้ปกครองชาวมุสลิมทั่วทุกหนแห่ง) ออกมาปรากฏตัวอย่างเป็นครั้งแรก ในเมืองโมซุลของอิรัก ที่กองกำลังติดอาวุธของเขาบุกยึดเมื่อเดือนที่แล้ว พร้อมกับสั่งให้ชาวมุสลิมเชื่อฟังผู้นำคนใหม่



 คลิปวิดีโอความยาวประมาณ 21 นาที ซึ่งคาดว่าถ่ายไว้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เผยให้เห็นอาบู บาการ์ อัล-แบกดาดี กำลังให้โอวาทแก่บรรดาสาวกระหว่างการสวดมนต์ที่มัสยิดอัล-นูรี ในเมืองโมซูล โดยอัล-แบกดาดี ซึ่งสถาปนาตัวเองเป็นเจ้าผู้ปกครอง หรือกาหลิบของรัฐอิสลามแห่งใหม่เมื่อวันอาทิตย์ที่แล้ว บอกว่าการเลือกผู้นำในศาสนาอิสลามถือเป็นหน้าที่ที่ชาวมุสลิมต้องปฏิบัติ และว่าหากเขาเป็นผู้นำที่ดี ก็ขอให้ทุกคนสนับสนุนเขา แต่หากเขาไม่ใช่ตัวเลือกที่ถูกต้อง ก็ให้แนะนำหรือยับยั้งเขา

 ถือเป็นครั้งแรกที่อัล-แบกดาดี ปรากฏตัวต่อสาธารณชน นับตั้งแต่กลุ่มติดอาวุธมุสลิมสุหนี่ไอซิส ยึดพื้นที่ทางเหนือและตะวันออกของอิรักและบางส่วนของซีเรีย ขณะที่ก่อนหน้านี้ อัล-แบกดาดีไม่ค่อยปรากฏตัวต่อสาธารณชนมากนัก มีเพียงการเผยแพร่ภาพนิ่งของเขาเพียงไม่กี่ภาพเท่านั้น โดยรัฐบาลสหรัฐตั้งค่าหัวของเขาถึง 10 ล้านดอลลาร์ การปรากฏตัวต่อสาธารณชนของอัล-แบกดาดี ยังเป็นการยุติกระแสข่าวที่ว่า เขาเสียชีวิตจากปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของกองทัพอิรักตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา

 ทั้งนี้ เชื่อกันว่า บักดาดี เกิดที่เมืองซามาร์รา ของอิรัก เมื่อปี 2514 และได้เข้าร่วมกับกลุ่มกบฏเพื่อต่อต้านกองทัพสหรัฐ หลังจากทหารอเมริกันบุกอิรักเพื่อโค่นล้มอำนาจนายกรัฐมนตรี ซัดดัม ฮุสเซน ภายหลังถูกควบคุมตัวในเรือนจำของกองทัพสหรัฐ เขาก็ก้าวขึ้นเป็นผู้นำกลุ่มติดอาวุธกลุ่มหนึ่ง ก่อนจะร่วมมือกับกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์ โดยใช้ชือกลุ่มว่ารัฐอิสลามแห่งอิรัก เมื่อปี 2553 ในเวลานั้น เชื่อกันว่า กลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้กำลังตกอยู่ในสภาวะอับจนหนทาง แต่บักดาดี ก็สามารถกอบกู้บทบาทของกลุ่มกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

 ขณะที่ชาวเมืองโมซุล ซึ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์ทางตอนเหนือของอิรัก และภาพในสื่อสังคมออนไลน์ เผยตรงกันว่า กลุ่มติดอาวุธที่ยึดเมืองโมซุลได้ทำลายมัสยิดหลายแห่งทั้งในและรอบเมือง โดยมีทั้งมัสยิดของชาวสุหนี่ ชีอะห์ และซูฟี ชาวเมืองเผยว่า เป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างยิ่ง เพราะมัสยิดเหล่านี้เป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย และเป็นสัญลักษณ์ของเมือง นอกจากทำลายมัสยิดแล้ว กลุ่มติดอาวุธยังยึดโบสถ์ 2 แห่งด้วย

กลุ่มไอเอสเข้ายึดเมืองโมซุลตั้งแต่เดือนก่อน ตามด้วยการยึดจังหวัดนีนะเวห์ได้เกือบทั้งหมดอย่างรวดเร็ว รวมถึงพื้นที่หลายส่วนของจังหวัดใกล้เคียงอีก 4 แห่ง ทางตอนเหนือและตะวันตกของกรุงแบกแดด ทำให้ชาวเมืองหลายแสนคนต้องอพยพหนีเพื่อความปลอดภัย และจุดกระแสวิตกจากนานาชาติ

อัล-บักดาดี มีบทบาทสำคัญทั้งในฐานะผู้บัญชาการในสนามรบและนักวางแผน เป็นเสน่ห์ดึงดูดนักรบญิฮาดวัยรุ่น มากกว่ากลุ่มอัลเคดากลุ่มหลัก ที่มีนักศาสนาอย่าง ไอยมาน อัล-ซาวาฮิรี เป็นผู้นำ และ ISIS ก็อ้างว่ามีนักรบชาวต่างชาติในสังกัดมากมาย ทั้งชาวอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมนี และชาติอื่นๆ ในยุโรป ขณะที่ ศาสตราจารย์ ปีเตอร์ นิวแมน จากมหาวิทยาลัย 'คิง คอลลีค ลอนดอน' ประเมินว่า นักรบกบฏจากชาติตะวันตกในซีเรียกว่า 80% เป็นสมาชิกของ ISIS


ภาพของ อาบู บาคาร์ อัล-บักดาดี หัวหน้ากลุ่ม ISIS สหรัฐฯ ตั้งรางวัลนำจับถึง 324.5 ล้านบาท
กลุ่ม ISIS ภายใต้การนำของ อัล-บักดาดี ก่อวีรกรรมมากมาย เช่น เมื่อเดือน มี.ค. 2013 ก่อนที่กลุ่มจะก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ พวกเขาก็สามารถบุกยึดเมือง รักกา ในซีเรีย ซึ่งเป็นเมืองเอกเมืองแรกที่ถูกฝ่ายกบฏเข้ายึดครอง ในเดือน ม.ค. 2014 ISIS บุกยึดเมืองฟัลลูจาห์ ในจังหวัดอันบาร์ ทางตะวันตกของอิรัก ทำให้ความตึงเครียดระหว่างชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ และรัฐบาล ซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรีจากนิกายชีอะห์กำลังเพิ่มสูงขึ้น และยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมือง รามาดี ได้ในเวลาต่อมาด้วย แต่การยึดเมืองโมซูลเมื่อ 9 มิ.ย. ที่ผ่านมา นับเป็นผลงานใหญ่ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วโลก โดยลูกพี่ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาถึงกับออกแถลงการณ์ว่า การที่อิรักเสียเมืองใหญ่ลำดับ 2 นี้ ให้แก่ ISIS ทำให้เกิดภัยคุกคามไปทั่วทั้งภูมิภาค
แต่ถึงกระนั้น แม้จะดูเหมือนว่ากลุ่ม รัฐอิสลามในอิรักและลีแวนต์ กำลังแผ่อิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวาง แต่พวกเขากลับเป็นศัตรูกับกลุ่มกบฏหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มติดอาวุธ อัล-นุสรา ฟรอนต์ สาขาในซีเรียอย่างเป็นทางการของกลุ่มอัลเคดา ที่มีปัญหากันตั้งแต่ครั้งแยกกลุ่ม รวมทั้งกลุ่มกบฏในซีเรียที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตก และกลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์ ก็หันอาวุธเข้าหา ISIS เช่นกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อขับไล่กองกำลังต่างชาติออกจากซีเรีย และการต่อสู้ระหว่างพวกเขาก็ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วหลายพันคน

การเคลื่อนขบวนของกลุ่ม ISIS ในจังหวัดอันบาร์ เมื่อเดือน ม.ค. 2014

*********************************************************

“ISIS” ย่อมาจาก “Islamic State of Iraq and Greater Syriaเป็นกลุ่มของสุหนี่มุสลิมหัวรุนแรงสุดโต่ง และได้ชื่อว่าป่าเถื่อนและกระหายเลือดเข้าขั้นซาดิส  แม้แต่อัลกออิดะห์ยังไม่เอาด้วย - เข่นฆ่ามุสลิมด้วยกันและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ รวมทั้งชาวคริสต์และอลาวิตส์ ต่อต้านประธานาธิบดี บาชาร์ อัสซาด ของซีเรีย เผาโบสถ์และมัสยิสของชีไอท์  รับผิดชอบระเบิดฆ่าตัวตายยังตลาดและสถานที่มากมาย ซึ่งทำให้พลเรือนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก
มุสลิมหัวรุนแรงสดโต่งกลุ่มนี้มีกำเนิดมาจากที่เดียวกับอัลกอห์อิดะห์ นั่นคือจากความไม่พอใจ และโกรธแค้นที่อเมริกาที่ทำสงครามในอิรัคและอัฟริกาสถาน กลุ่มนี้ดำเนินการโดย อาบู บาการ์ อัล-แบกดาดิ ผู้สนับสนุนสงครามศาสนา( jihadist)ของอิรัค และร่วมกับขบวนการใต้ดิน-ผู้สนับสนุนของซัดดัม ฮุสเซน-ที่ต่อต้านรัฐบาลอิรัคปัจจุบัน ..
ISIS อาจมีสมาชิกถึง 6,000 คน ต่อสู้ในอิรักประมาณ 6,000 ในซีเรีย ประมาณ 3,000-5,000 รวมทั้งอาจจะเป็นชาวต่างชาติ 3,000; เกือบพันจะมีการตามรายงานบอกว่ามาจากเชชเนียและอีกประมาณ 500 คนที่อาจจะมาจากฝรั่งเศส อังกฤษ และที่อื่น ๆ ในยุโรป
ประมาณสามปีที่ผ่านมา ISIS ปฏิบัติการอยู่ในบริเวณประเทศอิรัคและซีเรีย แต่ประมาณปีกว่าๆที่ผ่านมา พื้นที่บริเวณชายแดนระหว่างสองประเทศนี้ขาดการควบคุมที่ดี ทำให้ ISIS จึงเข้มแข็งขึ้นอย่างมากครอบคลุมทั้งภาคตะวันออกและภาคเหนือของซีเรีย และตะวันตกและภาคเหนือของอิรัค
เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ISIS เข้ายึดเมืองโมซุล ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของอิรัคและอีกหลายๆเมืองรอบๆจังหวัดไนน์เวห์ หนึ่งวันหลังจากนั้นพวกเขารุกลงมาทางใต้มุ่งสู่กรุงแบกแดด เมืองหลวงของอิรัค
รัฐมนตรีคนหนึ่งในรัฐบาลอิรัคยอมรับว่าเหตการณ์ครั้งนี้ เป็นหายนะครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในทศวรรษ หลังจากการรุกรานของอเมริกาประเทศมีความเปราะบาง และนองเลือดอย่างน่าสงสารที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
หลังจากสี่วันของการต่อสู้ในอิรักกองกำลังรักษาความปลอดภัยในโมซุลได้ทิ้งเมืองเมื่อ ISIS บุกเข้ายึดฐานทัพ ธนาคาร และหน่วยงานภาครัฐ และยึดคลังแสงขนาดใหญ่ของอเมริกัน ทั้งอาวุธกระสุน ยานพาหนะ รวมทั้งเฮลิคอปเตอร์แบล๊คฮอกหกลำ และเงินสดที่เพิ่งพิมพ์ออกใหม่ๆอีก 5 แสนล้าน ดินาร์ (430 ล้านเหรียญสหรัฐ) ประชาชน 500,000 คนอพยพหนีไปในพื้นที่ปลอดภัยด้วยวามหวาดกลัว
วันนี้ AP รายงานว่า ที่เมืองทัล อฟา ซึ่งมีประชากรประมาณ 200,000 คน มีทั้งชีไอท์และซุหนิ่ อาศัยอยู่ร่วมกัน ในช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา ISIS เผยแพร่ภาพออกมาว่าพวกเขาได้ฆ่าหมู่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่เป็นสมาชิกของชีไอท์ไปเป็นจำนวนมาก ในขณะที่รัฐบาลกำลังทำการพิสูจน์ว่าเป็นความจริงหรือไม่
ส่วน New York Times สรายงานว่า จนกระทั่งถึงตอนนี้ ฝ่ายมุสลิมชีไอท์ในในอิรักยังไม่ได้มีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรงแต่อย่างใด นอกจากการเรียกร้องอยาตอลลาห์ อาลี อัล-ซิสตานิ ของอิหร่าน ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน ได้ออกมาเรียกร้องให้ทุกคน พยายามระงับยับยั้งใจอย่างสูงสุด ในช่วงเวลาที่สับสนวุ่นวายนี้

ขณะนี้ชาวโลกกำลังจับตามองตาไม่กระพริบไปที่อิรัคค่ะ... ว่า ..จะถึงขั้นเกิดสงครามกลางเมือง เช่นเดียวกับซีเรีย เพื่อนบ้าน หรือไม่? - และวันนี้ ประธานาธิบดีโอบามา เผยว่า รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังมองหาทุกวิถีทาง รวมทั้งปฏิบัติการทางทหาร เพื่อช่วยปราบปรามกลุ่ม ISIS ที่เข้ายึดครองเมืองในอิรัค
....

ปูตินลงนามกฤษฎีกาคว่ำบาตรตุรกีแล้ว ตอบโต้สอยบินรบร่วง

ผู้นำรัสเซียลงนามกฤษฎีกาคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อประเทศตุรกีแล้ว โดยเป็นความเคลื่อนไหวเพื่อตอบโต้กรณีกองทัพอากาศตุรกีส่งเครื่องบินโจมตีเครื่องบินรบของรัสเซียจนตกบริเวณชายแดนซีเรียเมื่อ 24 พ.ย. แล้ว...

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันเสาร์ที่ 28 พ.ย. ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ลงนามในกฤษฎีกาดำเนินการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อประเทศตุรกี ประกอบด้วยการระงับนำเข้าสินค้าบางประเภทจากตุรกี, จำกัดการทำงานของบริษัทตุรกีในรัสเซีย และจำกัดการจ้างงานชาวเติร์กโดยบริษัทของรัสเซีย นอกจากนี้ยังให้ยุติเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำเดินทางจากรัสเซียไปตุรกี และให้ผู้จัดทัวร์งดขายแพคเกจท่องเที่ยวไปตุรกีด้วย

กฤษฎีกาดังกล่าวซึ่งมีผลบังคับใช้ในทันที มีหัวข้อว่า 'มาตรการเพื่อรับประกันความมั่นคงแห่งชาติของรัสเซียและการปกป้องพลเมืองรัสเซียจากอาชญากรรมและกิจกรรมผิดกฎหมายอื่นๆ และการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจเป็นพิเศษต่อตุรกี'

ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวล่าสุดของรัสเซียเกิดขึ้นหลังจาก เกิดเหตุเครื่องบินรบเอฟ-16 ของตุรกียิงเครื่องบินทิ้งระเบิด ซู-24 ของรัสเซียตกบริเวณชายแดนซีเรีย โดยรัฐบาลอันการาอ้างว่ารัสเซียรุกล้ำน่านฟ้าและเพิกเฉยต่อการเตือน ขณะที่รัฐบาลมอสโกยืนยันว่าเครื่องบินของพวกเขา

ผู้นำของทั้ง 2 ประเทศยังทำสงครามน้ำลายลายกันอย่างเผ็ดร้อน และมีมาตรการต่างๆออกมาตอบโต้กันเช่น เมื่อวันศุกร์รัสเซียประกาศระงับข้อตกลงเดินทางโดยไม่ต้องใช้หนังสือเดินทางกับตุรกี ขณะที่กระทรวงต่างประเทศตุรกีเตือนประชาชนของตัวเองไม่ให้เดินทางเข้าสู่รัสเซียหากไม่มีธุระสำคัญจริงๆจนกว่าสถานการณ์จะมีความชัดเจน

อนึ่ง รัสเซียและตุรกีเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่อกัน โดยรัสเซียเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของตุรกี ขณะที่ตุรกีก็เป็นจุดหมายปลายทางที่ชาวรัสเซียนิยมไปท่องเที่ยวมากที่สุด โดยเมื่อปีก่อนมีชาวรัสเซียไปเที่ยวตุรกีมากกว่า 3 ล้านคน

ขณะเดียวกัน ตามการเปิดเผยของนาย ดีมิทรี เปสคอฟ โฆษกประธานาธิบดีปูติน ปัจจุบันในรัสเซียมีชาวตุรกีทำงานอยู่เกือบ 90,000 คน แต่เมื่อรวมกับสมาชิกครอบครัวเข้าไปด้วย ตัวเลขก็จะพุ่งสูงถึง 2 แสนคน
http://www.thairath.co.th/content/542653

                                          
ว่าแล้ว ...ลุงแซม ก็ จับมืออิหร่าน ช่วยอิรักต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย
สื่อต่างประเทศรายงาน จอห์น เคอร์รี เลขาธิการแห่งสหรัฐอเมริกา แถลงเปิดการร่วมมือกับรัฐบาลอิหร่าน เพื่อช่วยเหลือภาวะวิกฤติในอิรัก ร่วมระบุว่า การปฏิบัติการยุติสงครามในอิรักครั้งนี้จะใช้ยานบินไร้คนขับ หรือ โดรน ในการปฏิบัติการ
แม้ว่า สหรัฐฯ และอิหร่าน จะมีความขัดแย้งกัน แต่สถานการณ์ในอิรัก จำเป็นต้องใช้ความร่วมมือจากทั้งสองชาติ เลขาธิการของสหรัฐฯ กล่าว

ปล... - ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ลุงแซมจับมือซัดดัม รบอิหร่าน หลังจากนั้นไม่นาน ลุงแซมกวาดล้างซัดดัม กล่าวหาว่าเป็นแหล่งซ่องสุมอัลกออิดะห์ เมื่อปีสองปีที่ผ่านมาลุงแซมขู่ ฮื่ม! ฮื่ม! จะโจมตีอิหร่าน ...วันนี้ลุงแซม จับมืออิหร่าน จัดการกับ ISIS เพื่อช่วยอิรัค...?? ...สมดังคำกล่าวที่ว่า ..ในโลกนี้ "ไม่มีมิตร & ศัตรู ถาวร" 

ความวุ่นวายในตะวันออกกลางซับซ้อนมาก ...

การบุกยึดเมืองต่างๆของอิรัคครั้งเท่ากับเป็นการเปิดหน้าชกหลังจากที่ซ่องสุมกำลังมาเป็นเวลาหลายปี และมีแรงเสียดทานระหว่างสองกลุ่ม อัลกออิดะห์ และ ISIS-

และตอนนั้นความสัมพันธ์ยังไม่ถึงขั้นแตกหักจนกระทั่งถึงเดือน เมษายน 2013 เมื่อ อาบูบากร์ อัล-แบกดาดิ ผู้นำ ISIS ขยายกลุ่มของเขาเข้ามาในซีเรีย และพยายามที่จะเข้าสังกัดเป็นสาขาของอัลกออิดะห์ในท้องถิ่น ซึ่งมี จับฮัท อัล-นุสรา(JN)ผู้มีอำนาจควบคุม

แต่ JN ปฏิเสธความเป็นผู้นำของ อัล-แบกดาดิ และไอย์ อัล-ซาวาฮิริ หัวหน้าอัลกออิดะห์ ได้พยายามที่จะระงับข้อพิพาทด้วยการประกาศว่า JN จะยังคงรับผิดชอบการญิฮาดในซีเรีย และ ISIS จะทำในอิรัก

ISIS ปฏิเสธที่จะยอมรับการตัดสินใจของ อัล-ซาวาฮิริ และยังคงขยายตัวเข้าไปในซีเรีย ตามทางที่พวกเขาผ่านไป ได้เหยียบย่ำกลุ่มกบฏซีเรีย รวมทั้งมุสลิมหัวรุนแรง กลุ่มอื่นๆ อีกด้วย

การกระทำที่เลยถิดของ ISIS ทำให้ฟันเฟืองและต่อต้านกลุ่มกบฏในซีเรียเจ็บแค้นและตอบโต้ ในที่สุด JN เข้าข้างกองกำลังต่อต้าน ISIS ในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ความแตกแยกระหว่าง ISIS และฝ่ายค้านซีเรียได้ก้าวไปถึงจุดแตกหัก เมื่อ อัล-ซาวาฮิริ ออกมาปฏิเสธกลุ่ม ISIS 

ความแตกต่างระหว่าง ISIS และอัลกออิดะห์ และ JN นั้นไม่ได้มีเพียงการควบคุมอำนาจ และการเคลื่อนไหวญิฮาด เท่านั้น แต่กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างรุนแรงในทางกลยุทธ์กลยุทธ์และอำนาจของศาสนาอิสลาม พวกเขาแตกต่างกันในประเด็นต่าง ๆ เช่นการดำเนินการตามกฎหมายอิสลามที่รุนแรง การฆ่าพลเรือนด้วยระเบิดพลีชีพ รวมไปถึงสิทธิของกลุ่มที่จะกำหนดผู้มีอำนาจเหนือผู้อื่นทั้งหมด ซึ่งแต่ละกลุ่มไม่มีใครเห็นด้วยกับความชอบธรรมของทุกสิ่งเหล่านี้ 

แต่ในปัจจุบันอัลกออิดะห์มีความอดทนต่อกลุ่มต่างๆมากขึ้น ในขณะที่ ISIS มีความรุนแรงและไม่อดทนมากขึ้น และไม่ยอมแพ้ 

สำหรับเหตุผลที่ ISIS ย่ำยีผ่านอิรักครั้งนี้ ก็เพื่อแสดงให้อัลกออิดะห์ได้เห็นถึงอำนาจขององค์กรเชิงกลยุทธ์และอุดมการณ์ที่รุนแรง... ซึ่งหากปล่อยไว้ จะกลายเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก

ISIS ..เป็นกลุ่มของสุหนี่มุสลิมหัวรุนแรงที่ต่อต้านประธานาธิบดี บาชาร์ อัสซาด ของซีเรีย

และอเมริกาสนับสนุนกลุ่มของอัลกอห์อิดะ คนละกลุ่มกับ ISIS ในการต่อสู้กับ บาชาร์ อัสซาด 

ISIS เป็นพวก Islamic fundamentalism เช่นเดียวกับอัลกอห์อิดะ และมีกำเนิดมาจากการสู้รบในระดับภูมิภาค ในความโกลาหลและรุนแรงของซีเรียและอิรัค และแยกตัวเป็นอิสระ 

ระยะแรกพวกเขาสามารถทำตัวเสแสร้งเข้าร่วมกับกลุ่มกบฏอื่นๆได้ดี แต่มีความต้องการที่จะแบ่งแยกดินแดนทั้งในซีเรียและอิรัค เพื่อสร้างรัฐอิสลาม 

ซีเรียจึงหันหลังให้ และเนื่องจากกลุ่มมีความกระหายเลือดสุดๆ อัลกอห์อิดะก็ไม่เอาด้วยเพราะเข่นฆ่าได้กระทั่งชาวมุสลิมด้วยกัน และ อัลกอห์อิดะ ยังไม่พร้อมที่จะแบ่งแยกดินแดนเพื่อสร้างรัฐอิสลาม ...?

ผลพวงของสงครามศาสนานี้ ทำให้มีผู้อพยพหนีตายไปทั่วโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น