เพลงฉ่อยชาววัง

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ความเเตกต่างระหว่างนิกายซุนนีกับชีอะ

. นิกายซุนีย์ เป็นนิกายที่ชาวมุสลิมส่วนใหญ่นับถือ ซึ่งยึดถืออัลอ-กุรอาน จริยวัตรของท่านศาสดามุฮัมมัด และแบบอย่างของสาวกเป็นหลัก แนวความคิดของนิกายซุนีย์ คือ เชื่อว่าท่านศาสดามุฮัมมัดมิได้แต่งตั้งตัวแทนไว้ก่อนที่ท่านจะจากไป ดังนั้น หลังจากท่านจากไปแล้วตำแหน่งผู้ปกครองหรือผู้นำสืบต่อจากท่านจึงเป็นหน้าที่ของมุสลิม ต้องเลือกสรรกันเองตามความเหมาะสม

ฉะนั้น หลังจากสิ้นท่านศาสดาสาวกกลุ่มหนึ่งจึงพากันไปเลือกตั้งตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺที่บนีสะกีฟะฮฺ พวกเขาได้เลือกท่านอบูบักร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาวกของท่านศาสดาขึ้นเป็นเคาะลิฟะฮฺ ก่อนที่ท่านอบูบักร์จะจากไปท่านได้สั่งเสียให้ท่านอุมัรเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งแทน และก่อนที่ท่านอุมัรจะจากไปท่านได้สั่งเสียให้ท่านอุสมานเป็นผู้สืบแทน แต่สำหรับเคาะลิฟะฮฺที่สี่ประชาชนได้เลือกท่านอะลีขึ้นเป็นเคาะลิฟะฮฺ

หลังจากจบการบริหารของเคาะลิฟะฮฺทั้งสี่ท่านแล้ว นิกายซุนนีย์ก็ปราศจากผู้ปกครองโดยเฉพาะผู้นำศาสนาที่ถูกต้องตามทำนองครองธรรม ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้นิกายซุนนีย์ไ่ม่มีผู้ศาสนาที่เด่นชัด เนื่องจากไม่มีผู้รู้ที่แท้จริง ประกอบกับในช่วงนั้นพระวจนะของศาสดาเองก็ได้รับการสั่งห้ามจากเคาะลิฟะฮฺที่สอง มิให้มีการจดบันทึกโดยอ้างเหตุผลว่าจะสับสนกับโองการอัล-กุรอาน 

2. นิกายชีอะฮฺ เป็นนิกายที่มีความเชื่อมั่นในเอกภาพของพระเจ้า ยึดมั่นในอัล-กุรอานและจริยวัตรของท่านศาสดามุฮัมมัด  และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ แนวความคิดของนิกายชีอะฮฺ คือ เชื่อว่าท่านศาสดามุฮัมมัดได้แต่งตั้งตัวแทน (อิมาม) ให้เป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของท่านตามพระบัญชาของพระเจ้าไว้ก่อนที่ท่านจะจากไป 

นิกายชีอะฮฺ เชื่อโดยหลักการว่าท่านศาสดามุฮัมมัดได้ประกาศแต่งตั้งท่านอะลีให้เป็นตัวแทนต่อจากท่านนับแต่วันแรกที่ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา และในวาระต่าง ๆ ตลอดชั่ว 23 ปี ที่ท่านประกาศเผยแผ่ศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศแต่งตั้งท่านอะลีท่ามกลางประชาชนจำนวนนับแสนคน หลังจากการเดินทางกลับจากการบำเพ็ญหัจญ์ครั้งสุดท้าย ในวันที่ 18 เดือน ซุลหิจญะฮฺ ปี ฮ.ศ.ที่ 10 ณ สถานที่แห่งหนึ่งชื่อว่า เฆาะดีร  

นิกายชีอะฮฺ เชื่อโดยหลักการว่าต้องมีอิมามผู้ปกครองอิสลามอีก 12 ท่าน หลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด ดังที่ท่านศาสดากล่าวว่า อิสลามต้องมีผู้นำอีก 12 ท่าน แม้แต่ศาสนิกอื่นยังเชื่อว่าการไม่ตั้งตัวแทนของท่านศาสดา คือ ความผิดพลาดของท่านมุฮัมมัด ดังที่กล่าวว่า สิ่งเดียวที่ท่านมุฮัมมัดได้ละเลยและก่อให้เกิดผลเสียมิใช่น้อยได้แก่การมิได้แต่งตั้งผู้สืบทอดต่อจากท่าน คำว่าผู้สืบทอดต่อในภาษาอาหรับเรียกว่า เคาะลิฟะฮฺ การที่ท่านมุฮัมมัดมิได้แต่งตั้งเคาะลิฟะฮฺไว้ก็อาจเป็นเพราะว่าท่านมีความถ่อมตน ถือว่าหน้าที่แต่งตั้งเคาะลิฟะฮฺเป็นของอัลลอฮฺ มิใช่ของท่าน อย่างไรก็ตามเมื่อทานสิ้นชีวิตลงโดยไม่มีผู้สืบต่อก็ก่อให้เกิดปัญหาการคัดเลือกผู้เหมาะสม 
แต่โดยหลักการของชีอะฮฺในเรื่องการตั้งตัวแทน มีความเชื่อต่างไปจากซุนนีย์ โดยเชื่อว่าท่านศาสดาจะไม่ผิดพลาดในเรื่องนี้ ท่านได้แต่งตั้งตัวแทนไว้อย่างแน่นอน ก่อนที่ท่านจะจากไปตามพระบัญชาของพระเจ้าตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น 

ประเทศที่นับถือชีอะฮ เช่น ตุรกี อิรัก อิหร่าน
ซุนนี ก็แถบอาหรับ ไทย มาเล อินโด อินเดีย

แต่เดิมจุฬาราชมนตรีจะเป็นคนในตระกูลของเฉกอะหมัด  จุฬาราชมนตรีคนแรกสมัยอยุธยาสืบเนื่องมาจนถึงปี 2488  นายแช่ม พรหมยงค์จึงได้เป็นจุฬาราชมนตรีซุนนีคนแรก  และมุสลิมนิกายนี้ก็ได้ตำแหน่งนี้สืบเนื่องมา  ด้วยมุสลิมไทยส่วนใหญ่นับถือนิกายนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น