เพลงฉ่อยชาววัง

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

รัชกาลที่ 9....สร้างพันธมิตร กับพวกเศรษฐีใหม่ โดยการส่งตัวแทนเข้าไปร่วมบริหาร

ความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจได้ทำให้มีนายทุนใหม่ๆที่มาจากสามัญชน
กษัตริย์ในอดีตมักจะทรงสร้างความผูกพันธ์ความจงรักภักดีกับบรรดามหาเศรษฐี
โดยใช้การแต่งงานและการลงทุนร่วมกัน
แต่รัชกาลที่ 9 ทรงขาดแคลนพระโอรสและพระธิดา วังจึงต้องสร้างพันธมิตร
กับพวกเศรษฐีใหม่ โดยการส่งตัวแทนเข้าไปร่วมบริหาร

นายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อน้ำเมาและนายธนินท์ เจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพีที่มีทั้งธุรกิจการเกษตร การค้าปลีกและธุรกิจโทรคมนาค
ได้เชิญ ตัวแทนของพระเจ้าอยู่หัวเข้าไปเป็นผู้บริหารเพื่อแสดงว่ามีผลประโยชน์ร่
วมกัน คือพลเอกเปรม และพล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลาเป็นกรรมการของบริษัท
ในเครือซีพี มีเงินเดือนสูง

พลเอกเปรมเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของเครือโรงแรมอิมพีเรียลหรือพลาซ่าเอทินี (Plaza Ethenee Royal Bangkok) ของเสี่ยเจริญ
มรว.สฤษดิคุณ กิติยากร ลูกพี่ลูกน้องของพระราชินีก็ได้เป็นประธานบริหาร
โรงแรม มรว. อดุลกิติ์ กิติยากร พี่ชายของพระราชินีและเป็นองคมนตรี
ได้เป็นประธานบริษัทเบียร์ช้างที่ตั้งขึ้นใหม่
เสี่ยเจริญกับภรรยาคือคุณวรรณาได้รับเครื่องราชฯชั้นสูงได้เป็นคุณหญิงในช่วงนั้นเอง

เสี่ยเจริญเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารมหานคร First Bangkok City Bank
สำนักงานทรัพย์สินได้รับอนุญาตให้ซื้อหุ้นคราวเดียวถึง 15 เปอร์เซ็นต์ในปี 2539

วังได้สร้างสายสัมพันธ์กับธุรกิจขนาดใหญ่ โดยให้พลเอกเปรม ซึ่งเป็นตัวแทนพระเจ้าอยู่หัวไปเป็นประธานที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพ เป็นประธานกิตติมศักดิ์
ของบริษัทกฤษดามหานครที่ทำหมู่บ้านจัดสรรค์

เป็นประธานสายการบินพีบีแอร์ ที่ก่อตั้งโดย ดร. ปิยะ ภิรมย์ภักดี
ประธานบริหาร บริษัทบุญรอด บริวเวอรี่เจ้าของเบียร์สิงห์
โดยมีองคมนตรีอื่นๆนั่งเป็นกรรมการตามบริษัทต่างๆ ซึ่งมีรายได้ดี
และทำให้มีความอุ่นใจได้ว่าธุรกิจพวกนั้นจะต้องเชื่อฟังวังและสนับสนุน
พระราชกรณียกิจของวังอย่างเต็มที่ตลอดไป

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ระดมเอาบรรดามหาเศรษฐีใหม่
เข้าเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ ด้วยเงินทุนมากมายและที่ดินอีกมหาศาลที่มีอยู่
รวมทั้งให้ธนาคารไทยพาณิชย์ของสำนักงานทรัพย์สินฯเข้ามาร่วมด้วย
โครงการต่างๆ เช่น โรงแรมหรูย่านราชประสงค์ เพรสิเด้นท์โกลเด้นแลนด์กรุ๊ป President-Golden Land group ของครอบครัวศรีวิกรม์



ร่วมกับนายปิ่น จักกะพาก พ่อมดทางการเงินแห่งบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกธนกิจ Finance One จับมือกับเครือแสนสิริพร็อพเพอร์ตี้กรุ๊ปทำโครงการหมู่บ้านจัดสรร
ของตระกูลล่ำซำ กับจูตระกูล นายอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของบริษัทค้าบ้าน
และที่ดินแลนด์แอนด์เฮ้าส์ลงทุนกับสยามสินธรซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง
ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และสำนักงานทรัพย์สิน

มีการลงทุนในธุรกิจด้านการศึกษาโดยสถาบันการศึกษาเอกชนร่วมกับโรงเรียน
ที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ เช่น โรงเรียนมัธยมแฮโรว์ Harrow ของอังกฤษ
วิทยาลัยดัลวิค Dulwich College ของลอนดอน และ โรงเรียนภาษาจีลอง
Geelong Grammar School ที่ดอยตุง โรงเรียนเหล่านี้เป็นทั้งธุรกิจ
ที่จะสร้างผลกำไรและเป็นหลักประกันว่าลูกหลานของพวกเขาเหล่านั้น
จะได้รับการอบรมสั่งสอนในกรอบความคิดของวังและมีความยึดมั่นจงรักภักดี
ต่อราชวงศ์จักรี

มีการโหมโฆษณาสถาบันพระมหากษัตริย์ทางสื่อมวลชนอย่างมโหฬาร
ตลอดเวลา โดยใช้เงินหลายพันล้านบาทยกย่องสรรเสริญสดุดีราชวงศ์จักรี
ให้เข้ากับบรรยากาศของสื่อยุคใหม่ โดยใช้ทีมงานที่มีประสบการณ์ที่นำโดย
นายปีย์ มาลากุล เจ้าของบริษัทแปซิฟิค คอมมิวนิเคชั่นมีเดียกรุ๊ป
Pacific Communications media groupที่ผลิตนิตยสารดิฉัน ของผู้หญิงชั้นนำ
รวมทั้งสถานีวิทยุข่าวสารจราจร จส.100

และ ผลิตรายการให้สถานีโทรทัศน์โดยเฉพาะช่อง 5 ของทหาร ซึ่งมีพล.อ.แป้ง มาลากุล น้องชายของนายปีย์เป็นผู้อำนวยการสถานีช่วงปี 2538-2542

โดยได้รับการสนับสนุนจากทีมงานและมีเงินสนับสนุนมากมายจากการท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทยและการบินไทย อาจารย์ธงทอง จันทรางศุ รวมทั้งพวกคลั่งเจ้า
รุ่นใหม่ ที่เป็นโฆษกบรรยายงานพระราชพิธีต่างๆ

ทีมงานของวังได้ปรับโฉม งานสดุดีพระมหากษัตริย์ ให้โดดเด่นด้วยรูปแบบ
การนำเสนอที่ทันสมัยขึ้น ให้เป็นภาพที่มีสีสันแบบฮอลลีวูด พร้อมดนตรีที่หรูหรา
ทันสมัยกว่าเดิม ภาพยนตร์สารคดีพระราชกรณียกิจถูกนำออกอากาศเป็นชุด
ทางโทรทัศน์ ภาพยนต์การทรงดนตรีขององค์คีตะราชัน เข้าฉายในโรงภาพยนต์
และเกณฑ์ให้เด็กนักเรียนมาดูกันเป็นคันรถบัส ให้พวกศิลปินเรียบเรียง
เสียงประสานระดมกันปรับแต่งเพลงพระราชนิพนธ์ให้เป็นงานออเคสตราที่ยิ่งใหญ่อลังการ มีการจัดการแสดงละครหลากหลายรูปแบบเทิดพระเกียรติพระราชวงศ์ อาจารย์ธงทองบรรจงแต่งละครเรื่องแผ่นดินนี้มีกำลัง แสดงโดยกองทัพเรือ
เทิดทูนกษัตริย์ยุคต้นรัตนโกสินทร์

การผลิตสื่อเพื่อโฆษณาสถาบันพระมหากษัตริย์นี้ต้องใช้เงินมหาศาล
นอกจากใช้งบประมาณของรัฐบาลแล้ว บริษัทใหญ่ๆของพวกเศรษฐีใหม่
ที่เพิ่งเข้าไปใกล้ชิดรั้ววัง ก็เต็มใจที่จะจ่ายให้ คีตะราชัน ที่รวบรวมศิลปินชั้นนำ
ทั่วประเทศได้ทำเป็นอัลบั้มสองชุดมีการจัดคอนเสิร์ตหารายได้ทูลเกล้าถวายฯ
โดยได้เงินสนับสนุนจากเสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี

บริษัทสหศินิม่าUnited Cinemaของสำนักงานทรัพย์สินผู้ผลิตภาพยนต์
และเป็นเจ้าของโรงภาพยนต์ ได้ซื้อสำนักพิมพ์สยามเพรสและร่วมธุรกิจกับสื่อใหญ่อื่นๆ ซื้อกิจการหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ที่เคยเป็นของมรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

ในปี 2537 ในช่วงเดียวกันได้เปิดหนังสือพิมพ์การเงินชื่อ สื่อธุรกิจ
กับหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษชื่อบิวสิเนสเดย์ Business Dayหม่อมหลวง ตรีทศยุทธ เทวกุล ( Tridho sayuth Devakul ลูกชายคนโต
ของ มรว.เทพฤทธิ์ เทวกุลผู้เป็นเจ้าของโครงการควายเหล็กและฝนเทียม )
ลูกน้องใกล้ชิดของพลเอกเปรมได้ซื้อหนังสือพิมพ์สยามโพสต์
โดยนายปีย์ มาลากุลมารับช่วงต่อ

วังได้ลงทุนอย่างเปิดเผยในกิจการโทรทัศน์โดยชนะการประมูล ไอทีวี
ได้รับใบอนุญาตในเดือนเมษายน 2538 สมัยรัฐบาลนายชวน จากกลุ่ม ที่นำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ และสำนักงานทรัพย์สิน พร้อมด้วย
บริษัทแปซิฟิคคอมมิวนิเคชั่น ของนายปีย์ และเครือเนชัน
โดยวังได้วางเส้นสายเข้าควบคุมทั้งระบบ รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการ อสมท.
ชุดใหม่โดยรัฐบาลนายบรรหารในเดือนพฤษภาคม 2539 ที่ดูแลสถานีโทรทัศน์
สองแห่งกับคลื่นวิทยุอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสำนักข่าวของรัฐบาล
โดยมีประธานคือพล.อ.มงคล อัมพรพิสิษฐ์ ลูกน้องเก่าของพลเอกเปรม
และมีกรรมการอีกคนหนึ่งคือ นายธงทอง จันทรางศุ

ผลงานชิ้นเอกของการโฆษณา คือการเฉลิมฉลองที่ยาวนานถึง 24เดือน
ในวโรกาสครองราชย์ 50 ปี ในปี 2539 เพิ่มความยิ่งใหญ่มโหฬาร ของกิจกรรมต่างๆ ส่งเสริมพระบารมีให้สูงขึ้นไปอีก ระดมทำกันตั้งแต่งานกิจกรรมจำนวนมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น