การเมืองทวีความตึงเครียด เศรษฐกิจตกต่ำของสหรัฐฯส่งผลให้รัฐบาลประสบปัญหาทางการเงิน เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงกำหนดภาษีใหม่ๆ เอากับชนชั้นกลาง แต่ปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง
เมื่อรัชกาลที่ 7 ไม่สามารถรับมือภาวะเศรษฐกิจโลกที่ระส่ำระสายได้ ข้าราชการพลเรือนและทหารกลุ่มหนึ่งก็ทำการยึดอำนาจและจัดตั้งรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญ
แม้ว่ารัชกาลที่ 7 ทรงต้องยอมรับระบอบรัฐธรรมนูญ แต่เชื้อพระวงศ์ไม่ยอมแพ้และวางแผนจะฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลับคืนมา
เดือนเมษายน 2476 ราชสกุลมหิดลก็เก็บข้าวของและย้ายไปอยู่ เมืองโลซานน์สวิตเซอร์แลนด์
เพื่อความปลอดภัยไว้ก่อนจนถึงปี 2488 เป็นเวลากว่าสิบปีแม้ว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทย ต้องยอมแพ้คณะราษฎรในปี 2475 แต่ประเพณีและความเชื่อเป็นสิ่งที่ยากจะเปลี่ยนและแทนที่ด้วยรัฐสมัยใหม่ได้ ในหลวงอานันท์ ทรงละล้าละลังในบทบาทของธรรมราชา แต่ในหลวงภูมิพลพระองค์ใหม่ได้แสดงความมุ่งมั่นในหน้าที่อย่างเข้มแข็งที่จะสืบราชบัลลังก์
การที่ในหลวงภูมิพลไม่แย้มพระสรวลในสาธารณะเกือบตลอดช่วงห้าสิบปีต่อมา แสดงให้เห็นว่าพระองค์มีความตั้งพระทัยที่จะครองราชสมบัติอย่างเต็มที่ โดยเด็ดขาดและถาวรแบบมืออาชีพโดยไม่ลังเลอีกต่อไป ในหลวงภูมิพลเหมาะกับการเป็นกษัตริย์มากกว่าในหลวงอานนท์ เพราะทรงมีวินัยในการทำงานมากกว่าและเชื่อฟังผู้หลักผู้ใหญ่มากกว่า โดยเฉพาะพระราชชนนีศรีสังวาลย์....
ช่วงที่ประทับอยู่กับพระชนนีที่ วิลลาวัฒนาเมืองโลซานน์...ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับคดีกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ในระหว่างปี 2489-2493 เป็นเหมือนการรอเวลาเพื่อเตรียมตัวขึ้นครองราชบัลลังก์ ในหลวงภูมิพลทรงใช้เวลาเรียนรู้วัฒนธรรมไทยและราชสำนัก
ทรงเลิกเรียนมหาวิทยาลัยเพื่อหันมาศึกษาหลักสูตรวิชาการเมือง การปกครองและกฎหมายที่จัดถวายแด่พระองค์โดยเฉพาะ..........
ในหลวงภูมิพลได้กลายเป็นพระมหากษัตริย์เต็มขั้น มีมหาดเล็กคุกเข่าปลุกพระองค์ทุกเช้า เสวยครัวซองต์และกาแฟบนพระแท่นบรรทม ทุกคนยกเว้นพระราชชนนี จะต้องกราบบังคมทูลต่อพระองค์ด้วยคำว่าพระองค์ และจะต้องระมัดระวังที่จะไม่ถูกต้องพระวรกายของพระเจ้าอยู่หัวในหลวงภูมิพลทรงได้รับการถวายรายงานจากผู้สำเร็จราชการฯที่กรุงเทพฯ เป็นประจำถึงการตัดสินใจต่างๆ ที่กระทำในพระปรมาภิไธย โดยมีราชเลขาธิการคอยดูแล มีผู้มาเข้าเฝ้าอยู่เนืองๆ ทำให้ในหลวงและพระราชชนนีทรงรับรู้ความเป็นไปทางการเมืองที่กรุงเทพฯ หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัฒน์ (ท่านชิ้น) พระเชษฐาพระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้เขียนบันทึกให้ในหลวงภูมิพลอ่าน
หลังการรัฐประหารพฤศจิกายน 2490 เหล่าขุนทหารกดดันให้พระราชวงศ์เสด็จกลับมาทำพิธีฌาปนกิจพระบรมศพในหลวงอานันท์ และทำพิธีราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ แต่พระราชชนนีศรีสังวาลย์ปฏิเสธ ที่โลซานน์อันเป็นที่พำนักลี้ภัยของราชวงศ์ต่างๆ ก็มีข่าวการจบสิ้นของสถาบันกษัตริย์ยุคหลังสงครามท่ามกลางความผันแปรในระบอบประชาธิปไตย พระราชวงศ์ยังมีเหตุให้ต้องกลัวกระแสชาตินิยมและคอมมิวนิสต์ที่ได้เกิดความรุนแรงในเอเชียหลายประเทศ ทั้งขับไล่เจ้าอาณานิคมและชนชั้นนำเก่าไปพร้อมๆกัน
โดยบอกเล่าถึงการที่มรว. เสนีย์ ปราโมช กับพรรคประชาธิปัตย์ ใส่ร้ายนายปรีดี ในกรณีสวรรคตเพื่อช่วงชิงอำนาจ ท่านชิ้นยังได้อธิบายว่า ในหลวงอานันท์น่าจะยิงพระองค์เองโดยอุบัติเหตุ และเขียนถึงนายปรีดีว่า “จากการเข้าเฝ้าในหลวงและพระราชชนนีในครั้งนี้ ผมกล้าบอกคุณอย่างแน่ใจว่าทั้งสองพระองค์ไม่เชื่อว่าคุณปรีดีเป็นผู้บงการ...”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น