เพลงฉ่อยชาววัง

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

จดหมายเหตุ...รัตนโกสินทร์ ฉบับที่ 1 หน้าที่ 4

พลพรรคคอมมิวนิสต์ของเหมาเจ๋อตงกำลังจะได้รับชัยชนะในประเทศจีน 
และเชื่อกันว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนขบวนการคอมมิวนิสต์ใต้ดิน สายจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ส่วนทางฝั่งตะวันตกของไทย แนวร่วมพม่าที่นำโดยนายพล อองซาน (พ่อของอองซานซูจี ผ้ถูกตะวันตกตีตราอย่างไม่เป็นธรรมว่าเป็นคอมมิวนิสต์) ขับไล่อังกฤษออกไปได้ในเดือนมกราคม 2491 และปฏิเสธที่จะฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์พม่ากลับคืนมา

ทางฝั่งตะวันออก ความปั่นป่วนในลาวและกัมพูชาเป็นภัยคุกคามสถาบันกษัตริย์ ฝ่ายชาตินิยมของโฮจิมินห์ในเวียตนามกำลังต่อสู้กับจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสที่พยายามนำจักรพรรดิเบ๋าได๋กลับคืนมา 
บางกอกโพสต์รายงานข่าวจักรพรรดิเบ๋าได๋ ในเดือนกรกฎาคม 2492 ด้วยการพาดหัวว่า “ เมื่ออินโดจีนไป ไทยก็ไปด้วย ”
สวิตเซอร์แลนด์กลายเป็นที่หลบภัยของพระราชวงศ์ ช่วยกันในหลวงภูมิพลให้มีเวลาว่างที่จะเสด็จเดินทาง 
เล่นดนตรีและทรงพบปะสมาคม ทรงขับรถไปปารีสบ่อยๆ เพื่อช้อปปิ้งจับจ่ายและท่องราตรีในคลับเเจ๊ซ 
ทรงช่วยเป็นลูกมือให้พระองค์เจ้าพีระพงศ์พระเจ้าอานักแข่งรถ ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่กับการถ่ายรูปและดนตรี 
ทรงฝันจะเป็นนักดนตรีเเจ๊ซ ทรงสะสมเครื่องดนตรีครบครันมากที่สุดคนหนึ่งในยุโรป
และ ทรงมีวงดนตรีที่ประกอบด้วยคนไทยเป็นส่วนใหญ่ และมี พันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ 
พระสวามีคนใหม่ของเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาร่วมอยู่ด้วย พวกเขาเล่นดนตรีด้วยกันกันตลอดทั้งคืนข่าวความสำเร็จในเพลงพระราชนิพนธ์ ในเดือนกันยายน 2491 
สื่อมวลชนประโคมข่าวว่า เพลงดวงใจกับความรักที่ในหลวงทรงพระราชนิพนธ์ จะมาถึงกรุงเทพฯโดยมากับหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ที่เป็นคนเขียนเนื้อร้อง 
เพลงก่อนหน้านี้คือเพลงสายฝนที่ถูกทำให้เป็นที่นิยมด้วยวิทยุและการแสดงคอนเสิร์ตต่างๆ
เหตุผลหลักที่ทำให้พระราชวงศ์ต้องประทับในยุโรป เพราะที่โลซานน์น่าจะเป็นสถานที่เหมาะต่อการหาคู่ครองให้ในหลวงภูมิพล ซึ่งเป็นงานสำคัญอันดับแรกสำหรับราชพระราชวงศ์เพราะมีรัชทายาทเหลืออยู่น้อยมาก อยู่โลซานน์ไม่นาน พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ก็จัดเตรียมรายชื่อหญิงสาวที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ขณะที่ในหลวงภูมิพลดูจะเต็มพระทัยโดยทรงรู้หน้าที่ ความสนพระทัยแรกของพระองค์ที่รับรู้กันคือหญิงสาวที่ชื่อสุพิชชา โสณกุล ธิดาสาวของพระองค์เจ้าธานีนิวัติ (กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร) ซึ่งในหลวงภูมิพลได้พบในปี 2489 และอีกครั้งตอนต้นปี 2491 เมื่อเธอและพ่อแวะเยี่ยมโลซานน์ระหว่างทางไปอังกฤษ หนังสือพิมพ์ไทยรายงานเรื่องนี้ แต่พระองค์เจ้าธานีนิวัติต้องการให้สุพิชชาจบมหาวิทยาลัยก่อน จึงกั้นขวางความสัมพันธ์เสีย
ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทยประจำปารีส หม่อมเจ้านักขัตรมีความคุ้นเคยกับพระราชวงศ์ เคยเป็นอัครราชทูตประจำลอนดอน เป็นที่รู้กันดีว่าราชนิกูลกิติยากรพยายามผลักดันตนเองเข้าไปเป็นเชื้อพระวงศ์ พระบิดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล คือพระองค์เจ้ากิติยากร (พระเจ้าบรมวศ์เธอพระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ) เป็นพระโอรสที่ไม่ใช่ชั้นเจ้าฟ้าของรัชกาลที่ 5 อันเกิดจากสนมคนโปรดคนหนึ่ง มีลูก 25 คนจากภรรยา 5 คน ซึ่งทำให้ราชนิกูลกิติยากรมีความสำคัญต่อราชวงศ์

บรรดาลูกๆได้แต่งงานอย่างมีการวางแผน/มีการจัดวางกับสกุลอื่นๆที่มีอิทธิพลอยู่ในราชสำนัก 
เช่น สารสินและสนิทวงศ์ ซึ่งเป็นสายที่มีจำนวนคนมากและร่ำรวยมาก สืบเชื้อสายมาจากรัชกาลที่ 2 และมุ่งมั่นที่จะเข้ามาร่วมพระราชวงศ์เช่นกัน กิติยากร เกิดปี 2441 พระมารดาเป็นภรรยาหลวงของพระองค์เจ้ากิติยากร ซึ่งเป็นลูกของพระองค์เจ้าเทวะวงศ์ พระอนุชาต่างมารดาของรัชกาลที่ 5 ผู้เป็นต้นตระกูลเทวกุล หม่อมเจ้านักขัตรและในหลวงภูมิพลจึงเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน หม่อมเจ้านักขัตรสมรสกับหม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์ ที่สืบสายเลือดจากทั้งรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 5 และเป็นนางสนองชั้นอาวุโสของพระนางเจ้ารำไพพรรณี หม่อมเจ้านักขัตรและหม่อมหลวงบัวก็ออกเหย้าออกเรือนได้ดีไม่แพ้กัน ลูกชายคนโต คือ มรว.กัลยาณกิติ์ เกิดในปี 2472 แต่งกับสกุลสนิทวงศ์ 


ลูกชายคนที่สอง มรว.อดุลกิติ์ แต่งกับหม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล ลูกสาวของพระองค์เจ้าภานุพันธ์ยุคล
เจ้าที่มีอาวุโสสูงสุดในยุคหลังสงครามโลก มีพระธิดาคือพระองค์เจ้าโสมสวลีธินัดดามาตุ และหม่อมหลวงสราลี กิติยากร (จิราธิวัฒน์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น