เพลงฉ่อยชาววัง

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562

Good Monday


14/1/19
001 รู้ให้ทันเพื่อรับมือกับโลก 2020

สวัสดีครับ พี่น้องที่เคารพรักครับ วันนี้ผมจะมาเริ่มพบปะพูดคุยกับพี่น้องในวันจันทร์ ผ่านเว็บไซต์ของทักษิณ official เพื่อที่จะได้เล่าเรื่องราวที่ไปเที่ยวพบคนนั้นคนนี้ ไปดูงานตรงนั้นตรงนี้ เพื่อที่จะได้เอามาแบ่งประสบการณ์ให้พี่น้องคนไทย เพราะว่าโลกมันเปลี่ยนไปเร็วจริงๆ

เศรษฐกิจโลกน่าเป็นห่วง
วันนี้จะเริ่มต้นด้วยการที่ผมอวยพรปีใหม่ และแสดงความห่วงใยไปยังพี่น้องคนไทย เมื่อวันที่ 1 ที่ผ่านมา ก็มีหลายเรื่องที่อยากอธิบายต่อ ก็เลยจะขออธิบายว่า สิ่งที่ผมเป็นห่วงอันนึง ก็คือเรื่องเศรษฐกิจในปลายปีนี้ ต่อด้วยต้นปีหน้า คศ.2020 ดูตัวเลขดีนะ 2020 ทุกคนก็หวังว่าจะทำนู่นนี่สำเร็จ แต่บังเอิญว่ามันเป็นวัฎจักรของระบบการเงินโลกที่น่าจะมีปัญหา เศรษฐกิจโลกจะมีปัญหา จะอ่อนแอลง หรือว่าเกิดภาวะวิกฤต ซึ่งจะเป็นแรงกระแทกใหม่ต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งหนีไม่พ้นเพราะว่าเราคือส่วนนึงของโลก เราคงจะหนีภาวะนี้ไม่ได้

ก็มีผู้รู้พูดกันว่าอาจจะเริ่มเกิดที่แถวยุโรปตะวันออกก่อน เพราะว่าเศรษฐกิจเขาอ่อนแออยู่แล้ว และธนาคารของประเทศเหล่านี้ก็เป็นธนาคารเล็กๆ อ่อนแอกัน ก็อาจจะมีปัญหากันพอสมควร ทางอเมริกา เศรษฐกิจอเมริกาปีหน้าก็น่าจะอ่อนตัวลงด้วยเช่นกัน ก็เลยเป็นห่วงประเทศไทยเรา วันนี้เรายังไม่ได้ปรับตัว และก็อ่อนแออยู่ด้วย โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานล่างเราอ่อนแอมาก ก็เลยคิดว่าถ้าโดนเที่ยวนี้ เราจะป้องกันกันอย่างไร ก็แสดงความกังวลไว้ก่อน

แต่ที่สำคัญคือว่า ระบบการเงินโลกก็ดี ระบบเทคโนโลยีก็ดี หรือว่าวิธีการทำมาหากินด้วยโครงสร้างทางธุรกิจแบบใหม่ ๆ ก็ดี มันเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องปรับตัว ถ้าไม่ปรับตัวมันจะลำบาก เพราะว่าความเชื่อมโยงของโลกมีมาก บริษัทระดับโลกก็หากินข้ามชาติมาถึงประเทศไทย บริษัทระดับชาติของประเทศไทยก็หากินข้ามจังหวัดไปจนถึงชนบท เพราะฉะนั้นคนตัวเล็ก ๆ ในชนบทจะเริ่มทำมาหากินลำบากขึ้น คนตัวเล็กๆ ขนาดกลางก็เริ่มเหนื่อยขึ้น เพราะถ้าไม่ใหญ่จริงจะไปรอดยาก นั่นคือมิติที่จะเกิดขึ้น

เพราะฉะนั้นมันมีทางเดียวคือ ต้องปรับตัวให้คนข้างล่างเนี่ยรวมตัวกันแข็งแรง เหตุการณ์มัน..ถ้าเราคิดถึงเทคโนโลยีเนี่ย ก็จะเปรียบเทียบเหมือนสมัยก่อน IBM เป็นเจ้าโลกทางด้านคอมพิวเตอร์ เมื่อใหญ่มาก ก็แสดงความยิ่งใหญ่หนักเข้าไปอีก ด้วยการที่ทุกอย่างไม่เปิดให้ใครเข้ามาร่วม ตัวเองจะหากินคนเดียว ผลสุดท้ายคนตัวเล็กๆ บริษัทคอมพิวเตอร์เล็กๆ ก็จับมือกัน และใช้ระบบที่เรียกว่า ระบบเปิด รวมตัวกันแข่งกับ IBM จน IBM ทรุดเลย เจอคนตัวเล็กรุมหนักเข้า ต่อยหนักเข้า เพราะฉะนั้นผมเลยคิดว่าประเทศไทยวันนี้ จะทำยังไงถึงจะรวมตัวเล็กๆ ของเรา ไม่ใช่จะเอามารวมกัน แต่ว่าเอาเทคโนโลยีถักร้อยให้รวมกัน ให้บริษัทเล็ก ๆ เหล่านี้แข็งแรงได้

อย่างเช่นเรื่องของที่ผมเคยคิดไว้เมื่อสมัยก่อน Brand Thailand คิดถึงเรื่องของระบบแอพพลิเคชั่น ที่มันจะทำให้เกิด Sharing Economy หรือเกิดการทำให้เอาสิ่งที่เรามีอยู่มารวมกันเหมือนเป็นบริษัทใหญ่ แต่ไม่ใช่บริษัทใหญ่ แต่เป็นต่างคนต่างทำมาหากิน ต่างคนต่างมีรายได้ แต่ใช้เทคโนโลยีร้อยรวมเข้าหากัน อันนี้จะต้องรีบต้องเกิด ถ้าไม่เกิดก็แข็งแรงสู้เขาไม่ได้

ไม่ให้หุ่นยนต์แย่งงานก็ต้องฉลาดกว่า 
อีกเรื่องนึงที่ผมได้พูดถึงไป ก็คือเรื่องตัวเทคโนโลยีที่พูดถึงหุ่นยนต์ หุ่นยนต์เนี่ยเค้าบอกว่าปี 2045 เค้าทำนายไว้ว่าหุ่นยนต์จะมีความฉลาดเท่ากับมนุษย์ ที่มีสมองเท่ากับสมองเฉลี่ยของโลก คือถ้าใครมีสมองต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ก็โง่กว่าหุ่นยนต์ ถ้าใครสมองฉลาดกว่าค่าเฉลี่ยก็จะเก่งกว่าหุ่นยนต์ นี่คือสิ่งที่เค้าทำนายไว้นะครับ เพราะว่าเค้าใส่โปรแกรมเข้าไปทำให้หุ่นยนต์เรียนรู้ได้ตลอดเวลา สามารถเรียนรู้ได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

เพราะฉะนั้นในประเทศที่ไม่เจริญทางเทคโนโลยี ก็จะมองหุ่นยนต์เป็นตัวมาแย่งงานคนทำ แต่ส่วนประเทศที่มีความเจริญทางเทคโนโลยี เค้าก็จะมองว่าหุ่นยนต์มาช่วยทำให้คนสามารถไปทำงานที่สำคัญกว่า งานจำเจซ้ำซ้อน พวกงานประจำเนี่ยก็ให้หุ่นยนต์ทำก็ได้ นี่คือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น

เพราะฉะนั้นประเทศไทยเราควรจะต้องฝึกคนให้เป็นนายหุ่นยนต์ อย่ามานั่งรอให้หุ่นยนต์มาไล่เราออกจากงาน นั่นก็คือฝึกการใช้โปรแกรมด้าน AI หรือ artificial intelligence และฝึกการใช้หุ่นยนต์ บังคับหุ่นยนต์ให้ทำงานต่าง ๆ เพราะว่าแม้กระทั่งชาวนาเนี่ย อีกหน่อยหุ่นยนต์ก็จะมาหว่านข้าวเกี่ยวข้าวได้ ตัวนึงก็ไม่แพง เพราะฉะนั้นแล้วชาวนาของเราจะทำไง ก็ต้องฝึกดิ เราอย่าไปหนีมัน ต้องสู้กับมัน นั่นคือหลักของผม คืออย่าไปหนีอะไรเลย สู้กับมันดีกว่า ง่ายกว่า ง่ายกว่าหนีนะครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าวันนี้ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมตรงนี้

ความรู้ใหม่ในการรักษาสุขภาพ
อีกเรื่องที่ผมพูดในคำอวยพรของผมตอนปีใหม่เนี่ยก็พูดถึงเรื่องสุขภาพ เทคโนโลยีด้านสุขภาพ ตอนนี้มันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายนะครับ การมารักษาโรคที่อาการมัน..หรือรักษาโรคที่ปลายทางมันเนี่ย หรือที่เราทำๆ กันอยู่ทุกวันนี้ มันล้าสมัย แล้วมันก็สิ้นเปลือง แล้วก็ใช้เวลานาน แล้วก็ไม่ทำให้คนไข้ดีขึ้น

โลกข้างหน้าเขาจะใช้ตัว DNA มาเป็นเครื่องมือประกอบ ในการวิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น เช่นว่า ยกตัวอย่างเรื่องยา วันก่อนผมไปนั่งคุยกับอาจารย์ที่มาจาก Harvard เขามาทำวิจัยที่ฮ่องกง เขาบอกว่ายาเนี่ย ส่วนใหญ่เวลามันทำการทดลอง เขาเรียกว่า clinical trial หรือทดลองทางคลินิก ทดลองกับมนุษย์ก่อนที่จะออกใช้เนี่ย ปรากฏว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นยาทางด้านตะวันตก มันอาจจะใช้ไม่ได้สำหรับคนตะวันออกก็ได้

เขาก็เลยเริ่มมาเอาข้อมูลเกี่ยวกับคนป่วยทางด้านเมืองจีน โดยเฉพาะจีน ตลาดจีนเป็นตลาดใหญ่ ก็เริ่มจากคิดว่ายาตัวไหนมันใช้ได้กับจีน แล้วต้องผสมส่วนยังไงถึงจะเหมาะกับคนเอเชีย เขาจะเริ่มใช้ยาเนี่ย โดยดูว่า DNA ของคนที่มาจากกลุ่มนี้ คนนี้ เป็นยังไง ถึงจะสามารถยา จนอีกหน่อยเขาเรียกกว่า personalized medicine คือเป็นยาที่เจาะจงเฉพาะคนที่มี DNA ประเภทนี้ ถึงจะกินยาตัวที่ถูกต้อง อะไรอย่างนี้ มันจะเริ่มมากขึ้นๆๆ เพราะฉะนั้น DNA จะเป็นตัวที่มา แหล่งในการถูกใช้งานมากขึ้น เพื่อจะให้ยาเฉพาะเจาะจงสำหรับคน อาหารเฉพาะเจาะจงที่เหมาะกับ DNA ของเรา มันกำลังมา

เทโลเมียร์
และอีกตัวที่มันอยู่ในโครโมโซมเรา ในมนุษย์เราเนี่ยมีโครโมโซมอยู่ 23 คู่ ตรงปลายโครโมโซมเนี่ยเขาเรียกว่า “เทโลเมียร์” เทโลเมียร์ตัวนี้ มันมีความสั้นยาว หดได้ ยืดได้ ตามภาวะสุขภาพเรา เขาบอกว่าคนเกิดใหม่เนี่ย เทโลเมียร์มันจะมีความยาว สมมุติว่า..เอ่อ ผมจำตัวเลขไม่ได้ หมื่นไมครอน หรืออะไรทำนองนี้ แต่ว่าสรุปแล้วก็คือว่า มันมีความยาวสุด แต่พอตายด้วยเชื้อโรคนะไม่ใช่ตายด้วยอุบัติเหตุ ตายเพราะเจ็บป่วยเนี่ย มันจะหดลงเหลือครึ่ง เพราะฉะนั้นเนี่ย ช่วงที่เรามีชีวิตอยู่เนี่ย เขาสามารถวัดความยาวของเทโลเมียร์เนี่ย เพื่อจะบอกว่า อ๋อ สภาวะร่างกายของเราเนี่ยดีหรือไม่ดีอย่างไร เผื่อเราจะได้ปรับวิถีชีวิต การอยู่ การกิน การออกกำลัง เพื่อให้ไอ้เทโลเมียร์ตัวนี้มันกลับมายาว มันก็คือสุขภาพเรากลับมาแข็งแรงขึ้นนะครับ

พัฒนาการใช้จุลินทรีย์แทนยา
เพราะฉะนั้นก็การดูแลร่างการเราเนี่ย มัน มันเปลี่ยนไป วิถีทางมันเปลี่ยนไปแม้กระทั่งว่า วันนี้การใช้ยาที่เป็นเคมีเนี่ย จะถูกใช้ลดลงนะครับ เนี่ยผมเพิ่งไปเมืองจีนกลับมา ไปเยี่ยมบริษัท บริษัทนึงทำ Lab ทางด้านยาเนี่ย ก็พบว่าเขาใช้ ไมโครปส์ หรือ เชื้อจุลินทรีย์เนี่ย มาทำยามากขึ้นแล้ว มาทั้งรักษามะเร็ง มาทั้งละลายลิ่มเลือดไม่ให้ข้น เติมเอาวิตามินซีให้เข้ากระดูกมากขึ้น เพื่อให้กระดูกเราแข็งแรง อะไรทำนองนี้นะครับ แล้วคราวต่อไปผมจะมาเล่าเรื่องที่ผมไปเมืองจีน ไปเห็นอะไรมาบ้างนะครับ

พัฒนาการใช้ฟิสิกส์แทนยา
แล้วนอกจากนั้น ก็มาพูดถึงเรื่องของฟิสิกส์เนี่ยจะมาแทนยา เขาใช้การรักษาด้วยการใช้เครื่องมือทางฟิสิกส์ แทนที่จะมีการกินยาๆๆ ฉีดยา ตอนนี้จะเริ่มลดไป อย่างเช่น การเจ็บปวด ก็แทนที่จะใช้ยา ก็มาใช้เรื่องของเครื่องมือทำ shock wave ช็อคเวฟ มานวดมาอะไรแทนยามั่ง มันก็จะมีอะไรขึ้นมาหลายอย่าง

เนื่องจากวันนี้อาจจะพูดยาวไปละ ก็ขอสรุปว่า ต่อไปสุขภาพมนุษย์จะแข็งแรงขึ้น จะมียุคที่เรียกว่า มี Human Spare Parts ก็คือมีอะไหล่มนุษย์ มนุษย์เราเนี่ยเค้าบอกว่าอะไหล่ทุกชิ้นเนี่ยเปลี่ยนได้หมด ยกเว้นตัวสมอง ตัวหัวใจ ตับ ไต ไส้พุง เปลี่ยนได้หมด เพราะฉะนั้นยุคที่มันกำลังจะเข้ามาวันนี้ ก็คือยุคของการใช้ DNA การใช้ฟิสิกส์แทนยา การเปลี่ยนอะไหล่มนุษย์

มนุษย์อายุยืนขึ้น ต้องออกแบบเศรษฐกิจใหม่มารองรับ
เพราะฉะนั้นมนุษย์จะมีอายุยืนยาวขึ้น เมื่อก่อนเราพูด 100 เป็นเรื่องตื่นเต้น ตอนนี้เค้าพูดถึง 120 เพราะฉะนั้นอยู่ยังไงให้มีคุณภาพ อยู่ยังไงไม่ให้เป็นภาระลูกหลาน นั่นคือสิ่งที่เราจะต้องดูแลกันเอง เพราะฉะนั้นสังคมไทยต้องเตรียมสังคมของคนสูงอายุไว้ ต้องปรับตัวอย่างแรงในเรื่องการออกแบบเศรษฐกิจธุรกิจ ออกแบบเศรษฐกิจประเทศ ออกแบบการดูแลผู้คน ออกแบบสวัสดิการของมนุษย์ทั้งหลาย

วันนี้ผมก็ขอกราบลาไปแค่นี้ แล้ววันหลัง ถ้าวันจันทร์ไหนผมว่าง ผมจะมาพูดกับพี่น้องสักครั้งนึง อาจจะเป็นจันทร์เว้นจันทร์ หรือว่าบางจันทร์ก็อาจจะติดกันแล้วแต่นะครับ จะพยายามเล่าอะไรให้ฟังให้เป็นความรู้ดีกว่านะครับ เรื่องที่ไม่สร้างสรรค์ก็ไม่ค่อยอยากเสียเวลาพูด เราพูดกันแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตพวกเราดีกว่า วันนี้ขอกราบลาแค่นี้ครับ

อ่านต่อที่นี่
===========================================

002 แก้วิกฤติฝุ่น ต้องกล้าเปลี่ยนแปลง
21/1/19

"ทักษิณ ชินวัตร" พูดในรายการ Good Monday ชี้วิกฤติฝุ่น เป็นโอกาสส่งเสริมอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า-วิถีเกษตรและพลังงานสะอาด
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี บอกเล่าวิธีการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากประเทศจีน ที่ตนเองมีประสบการณ์ผ่านพอดแคสต์รายการ Good Monday ว่า เมื่อครั้งที่ตนเยือนประเทศจีน ทำให้เห็นเรื่องน่าสนใจหลายอย่าง เกี่ยวกับการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศที่เป็นอันตรายกับสุขภาพของประชาชน

โดยนายทักษิณ กล่าวว่า กรุงปักกิ่ง มีลักษณะเป็นแอ่งเวลามีมลภาวะจะค้างอยู่นาน ระบายออกได้ยาก และพบว่าสาเหตุเกิดจากปัญหารถเยอะ รถติดโดยเฉพาะรถยนต์ที่ใช้เครื่องดีเซล ทั้งยังมีโรงงานไฟฟ้าที่ใช้พลังงานถ่านหินอยู่รอบเมือง ทางการจีนจึงยกเลิกโรงงานไฟฟ้าถ่านหินแล้วไปใช้พลังงานอื่นที่สะอาดกว่า ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่เคยอยู่โดยรอบปักกิ่งให้ทำการย้ายเกือบหมด

นอกจากนี้ยังมีนโยบายว่า ภายใน 5-6 ปี ข้างหน้า รถที่จะวิ่งในปักกิ่งต้องเป็นรถไฟฟ้าเท่านั้น ถือโอกาสจากวิกฤตนี้ส่งเสริมอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าอย่างจริงจัง มองเรื่องแบตเตอรี ที่ชาร์จ ที่มีเทคโนโลยีคล้ายพาวเวอร์แบงก์ ชาร์จไฟแบบเหนี่ยวนำ ไม่ต้องเสียบปลั๊กให้วุ่นวาย

ส่วนการแก้ปัญหามลพิษในประเทศไทย นายทักษิณ มองว่า ต้องจัดการกับปัญหารถติดอย่างจริงจัง ต่อมาคือการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมรถยนต์ในไทยเปลี่ยนจากเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นอย่างอื่นแทน อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออก หากไม่มีแผนในเรื่องนี้ที่ชัดเจน บริษัทต่างๆ จะย้ายออกหมด

สาเหตุหลักอีกอย่างคือการเผาชีวมวล หลังฤดูเก็บเกี่ยว เกษตรกรไทยจะเผาตอข้าวแทนที่จะขุด เพราะการเผาเป็นการทำลายจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ฤดูกาลต่อไปผลผลิตตกต่ำต้องใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงเยอะ

นอกจากนี้ นายทักษิณ ยังทิ้งท้ายด้วยการยกหนังสือของนักอนาคตศาสตร์ ชื่อ อัลวิน ทอฟเลอร์ ชื่อ The Third Wave เขียนเมื่อปี 1970 อัลวินให้คำจำกัดความฟิวเจอร์ช็อกว่า คือความเจริญทางเทคโนโลยี สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในระยะเวลาอันสั้นทำให้คนตกใจ วันนั้นเขามองเห็นแบบนั้น แต่วันนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วกว่าอดีต ส่วนคลื่นลูกที่สามนั้นไล่เรียงจากคลื่นลูกแรกคือ ยุคเกษตรกรรม เป็นยุคที่ผู้นำมีน้ำใจต่อกัน สิ่งแวดล้อมดี สุขภาพดี คลื่นลูกสองคือ ยุคอุตสาหกรรม เป็นยุคที่คนละโมบ เป็นยุคที่ทำลายสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมดีงามเสียหายไป สุขภาพคือแย่ลง และคลื่นลูกที่สาม คือคลื่อนของเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร คนให้ความสนใจเทคโนโลยีที่กำลังมา เริ่มห่วงใยสุขภาพ มีเงินแล้วกลัวตาย กลัวป่วย เริ่มคิดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้นักอนาคตศาสตร์ได้พูดไว้นานแล้ว

=============================================

วิทยาศาสตร์ที่จะเอาชนะความชรา



ในสังคมที่มนุษย์มีชีวิตยืนยาวมากขึ้นอย่างทุกวันนี้ คำถามสำคัญที่น่าสนใจคำถามหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะหาคำตอบให้ได้ก็คือ “อะไรเป็นสาเหตุให้เราเจ็บป่วยและแก่ชรา?” และถ้าค้นพบเหตุนั้น มันจะนำไปสู่การค้นหา “วิธีที่จะชะลอการเจ็บป่วยและชะลอวัย” ได้หรือไม่?

ปัจจุบันนี้ ดร.ทักษิณก็เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่มีความสนใจศึกษาและเริ่มลงทุนกับธุรกิจด้านสุขภาพไปแล้วหลายด้าน ทั้งการศึกษาวิจัยและการพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ให้ได้จริงในชีวิตประจำวันเพื่อที่จะทำให้ชีวิตของคนในโลกนี้มีคุณภาพมากขึ้นโดยเฉพาะการทำให้สุขภาพดีขึ้นด้วยการดูแลให้ดีตั้งแต่ระดับ DNA ของบุคคล

เป็นที่ทราบกันดีว่าการที่มนุษย์เริ่มชราภาพและเริ่มเจ็บป่วยก็เป็นเพราะเซลล์ในร่างกายของเรานั้นเสื่อมสภาพลงเนื่องจากเซลล์ที่เกิดขึ้นมาใหม่ในแต่ละวันของเรานั้นไม่แข็งแรงเท่าเดิมอีกต่อไป แต่เราไม่เคยทราบสาเหตุว่าทำไมเมื่อถึงวัยแล้วร่างกายของเราจึงไม่สามารถผลิตเซลล์ที่ดีได้เท่าที่เคยเป็นในวัยเด็ก จนกระทั่ง การค้นพบ Telomere (เทโลเมียร์) ของ ดร.อลิซาเบ็ธ แบล็กเบิร์น เมื่อกว่าสี่สิบปีที่แล้วนำมาซึ่งความสนใจของนักวิจัยจำนวนมาก

เทโลเมียร์นั้นเป็นส่วนปลายของโครโมโซมที่เป็นองค์ประกอบสำคัญมากของชีวิตเรา ซึ่งอยู่ภายในแต่ละเซลล์ของเราอีกทีหนึ่ง ดร.แบล็กเบิร์นพบว่าหน้าที่ของมันคือการป้องกันไม่ให้โครโมโซมถูกทำลายเสียหายได้ง่าย มันจึงอยู่ตรงปลายทุกด้านของโครโมโซมเพื่อเป็นตัวป้องกันความสึกหรอที่ว่านี้ และดร.แบล็กเบิร์นได้ค้นพบข้อเท็จจริงจากการติดตามตรวจสอบเซลล์ของผู้คนจำนวนหลายร้อยคนเป็นเวลาหลายสิบปีติดต่อกันว่า หนึ่ง เทโลเมียร์ของแต่ละคนที่เกิดมานั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม , สอง เมื่อมีอายุมากขึ้น เทโลเมียร์ในเซลล์ที่เกิดใหม่ของแต่ละคนก็จะหดสั้นลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงจุดที่โครโมโซมเริ่มถูกทำลาย นั่นนำมาซึ่งความเจ็บป่วยและวัยชรา และสาม พบว่าการใช้ชีวิตของเรานั้นมีผลโดยตรงกับเทโลเมียร์ ยิ่งถ้าเราดูแลสุขภาพได้ไม่ดีก็จะทำให้เซลล์ใหม่มีเทโลเมียร์ที่สั้นลงเรื่อย ๆ จนทำให้บางคนแก่เร็วกว่าคนในวัยเดียวกันได้




รวมถึงการพบว่าความมั่นคงในชีวิตก็มีผลโดยตรงกับเทโลเมียร์เช่นกัน เพราะจากงานวิจัยพบว่า “เด็กที่มีความเครียด” ในบางประเทศที่อยู่ภายใต้สภาวะความรุนแรงหรือความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจนั้นก็จะเติบโตมาแบบที่มีเทโลเมียร์สั้นเร็วผิดปกติด้วยเช่นกัน

             
ทำให้ในปี 2009 ดร.แบล็กเบิร์นและทีมวิจัยที่ศึกษาร่วมกันมาอย่างยาวนานได้รับรางวัลโนเบลในสาขา Physiology เมื่อพวกเขาค้นพบความสัมพันธ์ที่ว่านี้ จากนั้นเป็นต้นมาก็มีการเริ่มต้นวิจัยเพื่อหาวิธีดูแลปกป้องเทโลเมียร์ของมนุษย์อย่างจริงจัง

ดร.ทักษิณเชื่อว่ายังมีสิ่งใหม่ที่จะได้รับการค้นพบอีกมากในด้านของเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับสุขภาพหรือ HealthTech ซึ่งมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ศึกษาเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจังและสามารถค้นพบสิ่งใหม่ได้ไม่น้อยไปกว่านักวิทยาศาสตร์จากประเทศอื่นในโลก การสนับสนุนอย่างถูกต้องและจริงจังจะนำมาซึ่งการพัฒนาสุขภาพของคนไทยและคนทั้งโลกให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน

ทำให้ในปี 2009 ดร.แบล็กเบิร์นและทีมวิจัยที่ศึกษาร่วมกันมาอย่างยาวนานได้รับรางวัลโนเบลในสาขา Physiology เมื่อพวกเขาค้นพบความสัมพันธ์ที่ว่านี้ จากนั้นเป็นต้นมาก็มีการเริ่มต้นวิจัยเพื่อหาวิธีดูแลปกป้องเทโลเมียร์ของมนุษย์อย่างจริงจัง

ดร.ทักษิณเชื่อว่ายังมีสิ่งใหม่ที่จะได้รับการค้นพบอีกมากในด้านของเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับสุขภาพหรือ HealthTech ซึ่งมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ศึกษาเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจังและสามารถค้นพบสิ่งใหม่ได้ไม่น้อยไปกว่านักวิทยาศาสตร์จากประเทศอื่นในโลก การสนับสนุนอย่างถูกต้องและจริงจังจะนำมาซึ่งการพัฒนาสุขภาพของคนไทยและคนทั้งโลกให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน
===========================================

IQ EQ ไม่พอ  ต้องมี AQ

นิสัยไหนที่ทำให้คนอย่าง Mark Zuckerberg , Elon Musk , Bill Gates , Steve Jobs หรือผู้ประกอบการรายอื่น ๆ นั้นขับเคลื่อนให้ตัวเองมาทำบางสิ่งและฝ่าฟันปัญหาจนพบกับความสำเร็จ? อะไรที่ทำให้คนที่ตัดสินใจหยุดหรือก้าวข้ามระบบการศึกษาไปเพื่อเริ่มทำธุรกิจทันทีที่มีโอกาส? เป็นคำถามที่คนนับล้านให้ความสนใจมานาน

สิ่งที่พวกเขามีนอกจาก IQ (Intelligence Quotient – ระดับความฉลาดทางเชาว์ปัญญา) หรือ EQ (Emotion Quotient – ระดับความฉลาดทางอารมณ์) แล้ว ผู้ประกอบการที่ตัดสินใจออกมาหาความสำเร็จนอกรั้วมหาวิทยาลัยยังจะต้องมีอีกหนึ่งปัจจัยที่สูงมากกว่าคนอื่น นั่นคือ AQ (Adversity Quotient – ระดับความอดทนในการแก้ไขปัญหา) ซึ่งเคยเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของคนที่จะเป็นผู้ประกอบการ แต่ในทุกวันนี้มันเริ่มจำเป็นมากขึ้น เรื่อย ๆ สำหรับคนรุ่นใหม่ที่ต้องมีเอาไว้สำหรับโลกที่ต้องการทักษะในการแก้ปัญหามากขึ้น



มีบางเรื่องที่ดร.ทักษิณเคยให้ความเห็นที่เกี่ยวข้องเอาไว้ว่า คนยุคใหม่ควรจะให้ความสำคัญกับการ Learning by Doing มากกว่าการนั่งเรียนเพื่อท่องจำตามการเรียนการสอนแบบเดิม เพราะนอกจากที่จะสร้างทักษะในการ แก้ปัญหาแล้วนั้นมันยังเป็นเหตุเป็นผลกว่าและให้คำตอบที่ชัดเจนกว่าว่า “ฉันต้องนั่งเรียนสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร”

กับดักทางการศึกษาที่ยังคงวนเวียนอยู่กับการอ่านและฟังเพื่อทำข้อสอบแลกคะแนนนั้นนอกจากที่จะพัฒนา IQ ขึ้นมาให้กับนักเรียนได้น้อยกว่าแล้ว การศึกษาแบบเดิมที่ใช้กันอยู่นั้นยังไม่ได้มีโจทย์ที่ท้าทายพอที่จะสร้าง AQ เพื่อให้เด็กรู้จักการลงมือทำและการแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปจนเสร็จสิ้น การศึกษาแบบนั่งฟังนั่งจดเพื่อเอาความรู้ ไปสอบเลยสร้างคนฉลาดที่จะไปสอบแข่งขัน เก่งในสนามสอบที่เก็งกันเอาไว้ แต่เป็นคนที่พอเจอปัญหาที่ไม่เคยเจอ หรือพอต้องลงมือทำแล้วเจอปัญหากลับตัดสินใจถอยหรือหาทางเลี่ยงเพื่อหนีไปทางอื่นโดยอัตโนมัติ


นี่คือเหตุผลว่าทำไมทุกครั้งที่ ดร.ทักษิณจะต้องแสดงปาฐกถาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้หรือการเสริมสร้างองค์ความรู้ ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ นักการเมือง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น  ดร.ทักษิณมักจะพยายามบอกให้ทุก คนว่าอย่าหยุดที่จะเรียนรู้  ไม่ว่าจะจบการศึกษามาในระดับสูงแค่ไหนก็ต้องพยายามเรียนรู้ให้ได้อย่างต่อเนื่องแบบที่เรียกกันว่าเรียนรู้กันได้ตลอดชีวิต (Life-long Learning) และนอกจากความรู้ใหม่ ๆ ที่คนทุกวัยจะต้อง หมั่นเติมให้เต็มตลอดเวลาแล้ว ก็ยังเน้นอยู่เสมอว่าจะต้องต้องเพิ่มทักษะในการแก้ปัญหาเพื่อฟันฝ่าอุปสรรคให้ได้ทุกรูปแบบด้วย

ในช่วงเดือนเมษายน 2545  คณะทำงานโครงการสภาเยาวชนไทย พรรคไทยรักไทยจัดทำโครงการ ‘เยาวชน รุ่นใหม่  ใส่ใจบ้านเมือง’  ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีเยาวชนกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ในกิจกรรมครั้งนี้  เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนผ่านทางกิจกรรมและการบรรยาย กิจกรรมที่ทำร่วมกันก็มีทั้งการฝึกอบรมความรู้ด้านต่าง ๆ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วเมื่อผ่านการอบรมจะทำให้เยาวชนได้เรียนรู้ที่จะคิดอย่างมีขั้นตอนคือ


ในตอนนั้น ดร.ทักษิณ เข้าใจในปัญหาที่แท้จริงของระบบการศึกษาไทยที่ยังคงติดกับดักอยู่ที่การเรียนรู้จากตำรามากเกิน ไป ยังติดอยู่กับการท่องจำและทำข้อสอบให้ได้คะแนนสูง ๆ เพื่อให้ได้ใบปริญญาในที่สุด ซึ่งดร.ทักษิณมองว่า การเรียนรู้ที่เหมาะกับโลกยุคใหม่ควรจะเปลี่ยนเป็นการศึกษาแบบ  Learning by Doing หรือ Activity Based Learning  ที่ผู้เรียนต้องเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ที่จำเป็นมาประยุกต์ใช้ร่วมกับโจทย์ที่กำลังลงมือทำ

“ถ้าระหว่างชีวิตนักศึกษาเรามุ่งขอประกาศนียบัตรเพียงอย่างเดียว  อย่างอื่นไปตายเอาดาบหน้า  จะทำให้เราท่องแต่หนังสือ ถ้าท่องไม่ทันก็ต้องไปกวดวิชา  สอบเสร็จก็ได้ประกาศนียบัตร  ฉลองจบการศึกษาแล้วก็เลิกศึกษา  การอยู่ในวงจรนี้ทำให้เรากลายเป็นบุคคลที่นับวันจะถอยหลังไปเรื่อย ๆ “

ดร.ทักษิณ เชื่อว่าคนที่ดีที่สุดไม่จำเป็นต้องเรียนหนังสือเก่งที่สุด แต่ควรเป็นคนที่มีเพื่อนและมีวิชาและจะสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีที่สุด

IQ, EQ, SQ dan AQ, Manakah Yang Lebih Penting?

=============================================

003 ชวนโลกมาเที่ยวไทย กระจายรายได้ทุกจังหวัด

Good Monday รับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกกับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร “EP.3 ชวนโลกมาเที่ยวไทย กระจายรายได้ทุกจังหวัด” เพราะผมเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยยังไปได้ไกลกว่านี้อีกมาก ประเด็นสาคัญคือเราต้องกระจายรายได้ไปถึงประชากรทุกระดับและสร้างให้ไทยเป็น Hub ด้านการบินของภูมิภาค เพื่อที่การท่องเที่ยวไทยจะกลายเป็น Growth Engine ที่แข็งแรง สามารถกระจายรายได้สู่ชุมชนจนสามารถสร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืนครับ

สวัสดีครับ พี่น้องที่เคารพรักครับ วันนี้พบกันเป็น Episode ที่ 3 ตอนแรกว่าเอ๊ะจะพูดเรื่องอะไรดี แต่ไปตื่นเต้นข้อมูลรายงานของ World Bank ของธนาคารโลกที่ประเมินว่าปี 2028 เนี่ยประเทศไทยสามารถที่จะมีรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 5.9 ล้านล้านบาท หรือจะเป็นประมาณ 28.2 % ของ GDP หรือของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเนี่ย ซึ่งปัจจุบันเรามีรายได้อยู่ที่ประมาณ 3.47 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 22% ของ GDP ก็หมายความว่าอีก 10 ปี ไม่ถึงดี เราจะมีรายได้กระโดดขึ้นมา และมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมาอีกจำนวนมากมาย ฟังแล้วตัวเลขมันดีครับ แต่ถามว่าจะให้เป็นอย่างนั้นเนี่ยมันต้องทำอะไรอีกเยอะเลย อีกเยอะเลยครับ เพราะไม่งั้นเรารองรับนักท่องเที่ยวแบบนั้นไม่ได้ จะรองรับได้ต้องไปอีกเยอะ ผมก็เลยจะมาพูดว่าแล้วที่สำคัญคือ มันช่วยเศรษฐกิจด้วย เพราะมันเป็นประมาณ เกือบ 30% ของ GDP ต้องทำให้รายได้เหล่านี้ลงไปถึงประชาชนข้างล่าง ถ้าลงได้จริง ประเทศเราจะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ และมีประโยชน์ต่อคนทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น นั่นเป็นสิ่งที่เป็นโจทย์ใหญ่ที่เราต้องตอบ

ถ้าเริ่มต้นเนี่ย ผมก็อยากจะยกตัวอย่างอันนึง ซึ่งเป็นประเทศที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวที่สูงมาก คือดูไบ เมืองดูไบประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดูไบเขาใช้เครื่องมือทุกอย่าง ว่าจะดึงคนมาที่ดูไบอย่างไร แล้วดึงมาแล้วจะให้อยู่นานอย่างไร จะให้ใช้ตังค์อย่างไร เขาทำกันเป็นกระบวน เป็นขั้นเป็นตอน นั่นคือว่าเขามียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน และก็มีการให้อำนาจในการจัดการอย่างชัดเจน

ยกตัวอย่างเช่น เอมิเรตส์ แอร์ไลน์ เป็นสายการบินที่กลายเป็นใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อประมาณสัก ถ้าผมจำ ค.ศ. ไม่ผิดคือประมาณ 1983 ประมาณสัก 30 กว่าปีที่แล้ว เขาเริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียนแค่ 10 ล้านเหรียญ แล้วเครื่องบินที่มาเปิด เที่ยวบินปฐมฤกษ์ เช่ามาจาก ปากีสถาน แอร์ไลน์ 2 ลำ แต่วันนี้เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก มี 380 เยอะที่สุดในโลก

เขาดึง เขากระจายการบินไปทั่วโลก แล้วให้ดูไบเป็นศูนย์กลาง ใครจะไปไหนก็ผ่านดูไบ แล้วเขาก็มีแรงจูงใจว่า ถ้าแวะตั๋วถูกลง ถ้าแวะหลายวันหน่อย ยิ่งตั๋วถูกลง สมมุติว่าคนไปเที่ยวดูไบ ถ้าจองตั๋ว 2 วัน กับ 4 วัน ตั๋ว 4 วันกลับ ถูกกว่า 2 วันกลับ เพราะว่าจะเป็นแรงจูงใจให้คนได้อยู่นาน ได้ไปช่วยโรงแรมนะครับ เพราะงั้นระบบการท่าอากาศยานก็ดี ระบบอะไรหลายๆ อย่างมันไปอยู่กับเอมิเรตส์ แอร์ไลน์หมด เดี๋ยวผมจะกลับมาพูดถึงของเรา 

โรงแรมก็เกิดขึ้นมากขึ้น แล้วเขาก็ไปสร้าง man-made หรือสิ่งที่ดึงดูดท่องเที่ยว เช่น สวนสนุกบ้าง ศูนย์การค้าบ้างอะไรบ้าง ก็พยายามทำตามกฎประชากร เป็นประเทศที่มีประชากรน้อย แต่ว่าดึงประชากรจากทั้งโลกมาช่วยสร้างเศรษฐกิจ อันนี้คือเทคนิคที่เขาใช้ แม้กระทั่งเรื่องของประชากร เขาไม่มีคนทำงานในภาคบริการมาก เขาก็ให้วีซ่ากับคนที่จะมาทำงานที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือที่เมืองดูไบเนี่ยได้ง่ายมาก คือ ให้มาทำงาน คนของเขามีหน้าที่กู้แบงก์ลงทุน แล้วก็คนต่างชาติมีหน้าที่มาทำงานให้เขา แล้วก็ภาคบริการเนี่ยก็ขยายอย่างรวดเร็วมาก วันนี้คนไปดูไบใช้เงินเป็นอันดับ 1 ของโลก คือ เฉลี่ยต่อคน นี่คือรายงานของ             มาสเตอร์การ์ด หรือบริษัทเครดิตการ์ด

ทีนี้ของเราเนี่ยถ้าอยากได้นักท่องเที่ยวเยอะขนาดนั้นเนี่ย ปัญหาคือสนามบิน       วันนี้สุวรรณภูมิที่เราสร้างไว้เนี่ย รองรับได้ 45 ล้านคนต่อปี แต่วันนี้เนี่ยเราใช้ไป 60 กว่าล้านคนแล้ว เราใช้เกิน 62.8 ล้านคน ดอนเมืองเราสร้างไว้ 30 ล้าน ตอนนี้ ใช้ไป 40.5 ล้าน ภูเก็ตสร้างไป 12.5 ล้าน ใช้ไป 18.2 ล้าน เชียงใหม่ 8 ล้าน     ใช้ไป 10.8 ล้าน นั่นคือวันนี้ สนามบินที่มีอยู่ในประเทศไทย เล็กไปสำหรับ        การท่องเที่ยวในปัจจุบันแล้ว

ทีนี้เราอยากเร่งให้มีรายได้มากขึ้น ก็ต้องขยายสนามบินมากขึ้น สนามบินสุวรรณภูมิเนี่ย ตอนที่ผมทำไว้ แพลนไว้ว่าจะสร้างมิดฟิลด์คองคอร์ด และก็สร้างเทอมินอลที่ 2 แล้วก็ทำถนนจ่อมาแล้วทางด้านใต้นะครับที่มาจากทางบางนาตราด มันช้าไปหน่อย แล้วรันเวย์ที่ 3 เนี่ยก็ถมไว้แล้ว อัดดินอัดแน่นไปแล้ว ก็เหลือแค่ทำรันเวย์ ก็ช้าไปหน่อย ถ้าเราเร็วขึ้นเนี่ย มันจะทำให้เรารองรับเที่ยวบินเข้ามาเมืองไทยได้เยอะขึ้น วันนี้มีเที่ยวบินอยากเข้าเมืองไทยเยอะ

ที่ดูไบเขาทำไงรู้ไหมฮะ ร้านอาหารในดูไบ ยกตัวอย่างๆ La Petite Maison มีหลายสาขาทั่วโลก แต่ที่ดูไบอร่อยที่สุด เพราะระบบการนำเข้าวัตถุดิบมันสดตลอดเวลา เพราะเนื่องจากว่าเครื่องบินมันมาจากทุกแห่งทั่วโลก และมันมาแวะที่ดูไบ คือ Belly cargo คือหมายถึงว่า การขนส่งของผ่านใต้ท้องเครื่องบิน มันมีมาจากทุกแห่ง เพราะฉะนั้นของจะสด เพราะฉะนั้นเมืองไทยก็เหมือนกัน เรานอกจากจะเอาของเข้าและของออกด้วย เราสามารถเอาสินค้าเกษตรออก ถ้ายิ่งเรามีเที่ยวบินมาเยอะๆ การใช้บริการ Belly cargo คือ ติดท้องเครื่องบินโดยสารไปด้วย จะทำได้เยอะ ถี่ เร็ว นะครับ ผลพลอยได้ มันมีเยอะ

เพราะฉะนั้นของเรามีจุดอ่อนอีกอันนึงก็คือ การท่ากับการบินไทย ตอนนั้นผมอยากสร้างการบินให้ผงาด อยู่ในสุวรรณภูมิ เป็น home-base ลงมาเห็นความยิ่งใหญ่ของการบินไทย แต่ปรากฏว่า การทำงานร่วมกันระหว่างการบินไทยกับการท่าอากาศยานเนี่ย มันอ่อนไปหน่อย มันขาดความร่วมมือที่ดี เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากจะเป็น hub หรืออยากเป็นศูนย์กลางการบิน เราจะต้องจัดเวลาเที่ยวบินมาถึงและออกต่ออีกชั่วโมง เพื่อให้การต่อเครื่องเนี่ยมันสะดวก ไม่ใช่เครื่องบินมาเช้าแล้วออกอีกทีตอนดึก คนไม่อยากมานอนเล่นอยู่สนามบินรอ มันเสียเวลา แล้วก็เหนื่อยด้วย เพราะฉะนั้นระบบการสร้างการเป็น hub เป็นศูนย์กลาง ซึ่งโดยทางภูมิศาสตร์ เราเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทางอาเซียนอยู่แล้ว ในทางเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เราเป็นศูนย์อยู่แล้ว แต่ทางด้านบริหาร เราไม่สามารถทำให้มันเป็นศูนย์ได้

อย่างที่ดูไบเขาเป็นศูนย์ เขาถึงเรียกว่า Middle East เป็นศูนย์กลางตรงนั้น ซึ่งมันมีหลายประเทศที่เป็นศูนย์กลางได้ แต่เขาดึงเข้ามาโดยใช้สายการบินของเขาเป็นตัวดึง เพราะฉะนั้นวิธีการบริหารการจัดการมันสร้างความแตกต่างเยอะเลย เพราะฉะนั้นการบริหารการจัดการเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องแก้ไขนะครับ

นอกจากนั้นเรื่องของการรักษาความปลอดภัยก็ดี เรื่องของการสร้างระบบไอดีก็ดี เรื่องอีกที่สำคัญที่สุดก็คือ เรื่องของกำลังคนที่จะใช้ในภาคบริการ เราต้องการประมาณ 8 ล้าน กว่าคน 8,570,000 คน เข้ามาอยู่ในภาคบริการ ทางด้านการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะต้องเริ่มคิดว่า เราจะเทรนคนของเรายังไง จุดแข็งของการท่องเที่ยวไทยเราเนี่ย เขาบอกว่าเป็นความมีน้ำใจของคนไทยในการต้อนรับแขก เขาชอบตรงที่เราแฮปปี้ โรงแรมบริการดี สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เป็นเสน่ห์ของเมืองไทย นอกเหนือจากอาหาร นอกเหนือจากแหล่งท่องเที่ยว วัฒนธรรม ธรรมชาติอะไรทั้งหลาย เดี๋ยวค่อยพูดกันเรื่องนั้น  เราจะต้องสร้างคนที่ในภาคบริการให้เป็นมนุษย์พันธุ์ที่ทำงานด้านบริการได้ดี จะต้องทำอย่างไร

วันนี้เราก็ต้องถือโอกาสแล้วครับ ว่าหุ่นยนต์มันจะมาไล่คนออกจากภาค อุตสาหกรรม เราก็ต้องเอาภาคอุตสาหกรรมส่วนหนึ่งเนี่ย พัฒนาให้เป็นนายหุ่นยนต์ อีกส่วนหนึ่งเนี่ย เอามาสู่ภาคการเกษตร  อีกส่วนหนึ่งเอามาสู่ภาค         การบริการ มนุษย์มันมีหลายประเภท หลายนิสัย เราก็คัดมา แล้วก็เอามาเทรนได้ วันนี้ต้องคิดแล้วครับว่าจะเตรียมคนเข้าสู่ภาคบริการอย่างไร ภาคอุตสาหกรรมเรามีคนเหลือ ต่อไปเราจะเหลือคนจากภาคอุตสาหกรรม เราก็เอามาสู่ภาคบริการ แล้วภาคเกษตรเดี๋ยวคราวหน้า คราวต่อไป ผมจะพูดเรื่องภาคเกษตร ให้รู้ว่าภาคเกษตรเนี่ยมันสามารถยกระดับ ทั้งการทำผลผลิต ยกระดับของการทำการเกษตร และยกระดับของคนที่ทำภาคการเกษตรได้ เพราะฉะนั้นเนี่ย ตรงนี้ต้องยกระดับคนเข้ามาสู่ในภาคบริการ โดยดึงมาจากภาคอื่นที่จะมีการเหลือ

ในอนาคตข้างหน้า แม้กระทั่งภาคการบริการด้านอื่นๆ เช่น ภาคธนาคาร คนในธนาคารก็จะเหลือ แน่นอนครับต่อไปข้างหน้า ออนไลน์แบงก์กิ้งมันเข้ามาแรงขึ้น ใช้กันมากขึ้น ในที่สุดผลสุดท้ายก็จะใช้คนพนักงานแบงก์น้อยลงไป จะต้องมีการ lay off พนักงานแบงก์อีกเป็นหมื่นๆ คน ตอนนี้ภาคบริการน่าจะเปิดรับได้กว้างขึ้นถ้าหากว่าเรามีการจัดบริหารให้ดีนะครับ เพราะฉะนั้นเรื่องคนก็เป็นเรื่องสำคัญ

อีกอันที่เราบอกว่าจะกระจายรายได้ไปสู่ระดับล่างได้ไง นั่นก็คือเดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยี และ Business Model ที่เราเรียกกันว่า sharing economy เหมือนกับ UBER ก็ดี เหมือน Airbnb ก็ดี เราสามารถที่จะจัดโฮมสเตย์ทำเป็นเว็ปไซต์เหมือนกับ Airbnb เพื่อจะแยกกลุ่มว่า ใครจะไปเที่ยวชนบท ประเภทไหน อยู่ในกลุ่มนี้ ประเภทไหนอยู่ในกลุ่มนี้เช่น ประเภท ซี ซัน แซนด์ ก็โฮมสเตย์ก็อยู่แถวบ้าน แถว ซี ซัน แซนด์ ก็คือ เที่ยวชายหาด ดูทราย ดูแสงแดดอะไรพวกนี้นะฮะ ก็คือทะเล

อีกประเภทนึงบอกว่าอยากไปด้านธรรมชาติทางภูเขา ก็ไปทางเหนือ  อีกประเภทนึงก็คือว่าอยากจะไปอยู่กับชาวบ้าน ไปดูวิถีชีวิต เช่น ไปดูว่าเขาจะทำนาอย่างไร เกี่ยวข้าวอย่างไร ก็ไปอยู่แถวร้อยเอ็ด แถวอะไรพวกนี้ เพราะฉะนั้นวันนี้อย่าให้รายได้มันกระจุกอยู่ไม่กี่จังหวัด กระจายออกไป และให้สนามบินต่างๆ ที่บางที่เนี่ยได้ใช้เป็นที่ปลูกหญ้าเลี้ยงวัวไปแล้ว ก็ต้องเอามาฟื้น และให้การท่องเที่ยวมันกระจายออกไปสู่ชนบท เพราะว่าจำนวนนักท่องเที่ยวมันมีมากพอแล้ว ต่อไปจะมากขึ้นไป ซึ่งผมเคยพูดไว้ว่าเราต้องทำให้ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวเท่ากับจำนวนประชากรของเรา มันเป็นไปได้แล้วนะครับ ที่ World Bank พูดถึงปี 2028 และวันนี้ถ้าดูยอดคนมาเที่ยว อย่างคนอินเดียมีตั้งพันสามสี่ร้อยล้านคน เพิ่งมาล้านสี่แสนคนเอง  เพราะงั้นมันยังดึงมาได้อีกเยอะ เที่ยวได้อีกเยอะ

เพราะฉะนั้นเราจะต้องปรับปรุง เตรียมการเรื่องการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ ถ้าให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงท่องเที่ยวอย่างเดียวไม่พอนะครับ แล้วก็ต้องมียุทธศาสตร์การท่องเที่ยว ไปถึงเรื่องของการกระจายลงไปให้นักท่องเที่ยวไม่ว่าไทยหรือต่างชาติ

ในที่สุดมนุษย์มันอยู่กับชีวิตที่เหนื่อย ที่แข่งขัน ที่เครียดมาเยอะ บางคนได้ตังค์แล้วก็ไม่รู้ว่า..ใช้ไม่เป็นนะครับ ก็ดูบางคนก็อยากจะกลับไปสู่ธรรมชาติ คือ Back to nature กลับไปสู่สภาพที่แท้จริงของความเป็นมนุษย์ ก็อยากจะไปเห็นไปสัมผัสวิถีชีวิต สิ่งเหล่านี้อีกหน่อยจะเป็นการท่องเที่ยวที่ดึงคนไปได้เยอะ   อย่างวันก่อน มีคนส่งรูปมาให้อย่าง Bill Gates เศรษฐี อันดับต้นๆ ของโลกไปยืนเข้าคิว แต่งตัวธรรมดาๆ เข้าคิวซื้อแฮมเบอเกอร์ อยู่ที่เมือง Seattle ก็เป็นเรื่องที่ให้เห็นว่า ในที่สุด มนุษย์ก็คือมนุษย์  อย่าไปคิดว่าคนมีตังค์เป็นเทวดา มนุษย์ก็คือมนุษย์อยู่ดี เพราะงั้นในที่สุดมนุษย์จะมีความสุขได้ต้องมีความสุขแบบมนุษย์ ถ้ามนุษย์คิดว่าจะมีความสุขแบบเทวดา ไม่มีทางมีความสุข เพราะเราไม่ใช่เทวดา มนุษย์ต้องมีความสุขแบบมนุษย์ถึงจะมีความสุข นั่นคือสิ่งที่มนุษย์เริ่มแสวงหาความสุขที่แท้จริง ก็จะไปค้นคว้าอะไรต่างๆ เยอะ

ประเทศไทยเรามีความพร้อมในสิ่งเหล่านี้จริงๆ งั้นต้องจัดและบริหารให้ดี วันนี้ ผมคิดว่าเดี๋ยวผมจะมาพูดต่อเพราะว่าเรื่องท่องเที่ยวมันมีเรื่องยาว แต่วันนี้เราพูดกว้างๆ แค่นี้ก่อน แล้วก็คราวหน้ามีเวลา ก็จะพูดต่อและก็พูดเรื่องการย้ายผู้คนจากภาคต่างๆ ที่อาจจะล้นงาน หรือที่ต้องปรับตัวเข้าสู่เรื่องที่โลกเปลี่ยนแปลงไปเนี่ยอย่างไร เราก็จะมาคุยกันต่อนะครับ วันนี้ผมขออนุญาต เอาสั้นๆ แค่นี้ก่อนครับ สวัสดีครับ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น