เพลงฉ่อยชาววัง

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562

ธีรยุทธ บุญมี

ศาสตราจารย์ ธีรยุทธ บุญมี (เกิด 10 มกราคม พ.ศ. 2493) เป็นนักวิชาการ นักวิจารณ์การเมือง และนักเขียนรางวัลศรีบูรพา อดีตเลขาธิการ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา เคยเป็นอาจารย์ประจำ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ สาขามานุษยวิทยา ในปี พ.ศ. 2555[1]ด้วยวิธีพิเศษ[2]

ชีวประวัติโดยย่อ
ธีรยุทธ บุญมี เกิดในครอบครัวที่ยากจน มีบิดาเป็นทหาร[3] เขารับศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยชื่อนายฉิม บุญมี มารดาชื่อนางสมจิตร บุญมี มีนิสัยรักการอ่านมาแต่เด็ก หัวดี และเรียนเก่ง มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์เป็นพิเศษ ด้วยความสนใจเขาได้เขียนนิยายวิทยาศาสตร์ส่งนิตยสารอย่างวิทยาสารและชัยพฤกษ์ตอนอยู่ ม.ศ. 4-5[ต้องการอ้างอิง] เขารู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง เช่น ศ.ดร. ระวี ภาวิไล ซึ่งเป็นรุ่นพี่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และ ศ.ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต และได้มีโอกาสสนทนากับนักวิทยาศาสตร์ทั้งสอง ส่วนด้านงานเขียนเขาก็สนิทสนมคลุกคลีกับ สุจิตต์ วงษ์เทศ และ เสถียร จันทิมาธร ซึ่งเป็นนักเขียนแถวสยามรัฐ

ชีวิตนักศึกษา
ธีรยุทธ บุญมี สมัครสอบเข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัย ปัญหาความยากจนของทางบ้าน เขาจึงเลือกที่เป็นวิศวกรแทนที่จะไปทางสายวิทยาศาตร์ที่ชอบเนื่องจากเขาสอบติดคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นที่หนึ่งของประเทศในสายวิทยาศาสตร์ ด้วยคะแนน 91.90 เปอร์เซนต์ในปี พ.ศ. 2511 เขาไม่สามารถสมัครสอบทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนต่อต่างประเทศเช่นเดียวกับผู้สอบได้อันดับหนึ่งคนอื่นๆ ด้วยเหตุผลว่าอายุเกิน แต่เนื่องจากวิชาทางวิศวกรรมศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ทำให้เขาหันเหความสนใจไปด้านกิจกรรมตอนเป็นนิสิต จากกิจกรรมเชิงวิชาการ ขยับมาเป็นกิจกรรมด้านสังคม

ธีรยุทธ บุญมี เข้าเป็นสมาชิกศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างนิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และได้เป็นเลขาธิการเมื่อปี พ.ศ. 2515 ช่วงนั้น ศนท. มีบทบาททางการเมืองในการรณรงค์เรียกร้องต่างๆ เช่นการรณรงค์ให้ชื้อสินค้าไทยและไม่ซื้อสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น เรื่องการล่าสัตว์ป่าของกลุ่มนายทหารและตำรวจในทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นต้น

เหตุการณ์ 14 ตุลา
ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ธีรยุทธ บุญมี เป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญจำนวน 100 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อขอรัฐธรรมนูญคืนจากรัฐบาลเผด็จการซึ่งนำโดยจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นวันเสาร์ สมาชิกกลุ่มจำนวน 25 คน ได้ไปถือโปสเตอร์ แจกใบปลิว หนังสือ และบัตรลงประชามติที่ตลาดนัดสนามหลวง ในวันนั้นเป็นหนึ่งใน 11 คนที่ถูกตำรวจสันติบาลจับกุม ตรวจค้นบ้านและยึดเอกสารใบปลิว

เมื่อมีการเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุม จนกระทั่งมีการเดินขบวนในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในที่สุด ธีรยุทธและผู้ที่ถูกจับกุมคนอื่น ๆ ก็ได้รับการปล่อยตัว และหลังจากนั้น ธีรยุทธยังได้เป็นหนึ่งในแกนนำของผู้ชุมนุมเข้าเจรจากับทางรัฐบาล จนได้ข้อสรุปเพียงพอที่จะยุติการชุมนุม แต่ทว่าสถานการณ์ในส่วนของผู้ชุมนุมเริ่มที่จะควบคุมความสงบไม่อยู่แล้ว เนื่องจากรอคอยผลการเจรจาเป็นเวลานาน ประกอบกับจำนวนผู้ชุมนุมที่มาก ทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร เมื่อทางธีรยุทธออกมา และพบกับสถานการณ์เช่นนี้ ก็ได้ขอผู้ที่ทำการนำผู้ชุมนุม ขึ้นรถปราศรัยชี้แจงกับผู้ชุมนุมด้วยตนเอง เพื่อที่จะให้ยุติการชุมนุมลงโดยสงบ แต่ทว่าในที่สุดก็เกิดการปะทะและนองเลือดกันในรุ่งเช้าวันต่อมา [4]

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา และชีวิตการทำงาน
เมื่อปี พ.ศ. 2519 ได้เดินทางไปใช้ชีวิตในป่าแถบจังหวัดน่าน และเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ในฐานะเลขานุการประสานงานผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย เป็นเวลาถึงสี่ปีครึ่ง ก่อนจะเดินทางไปทำงานวิจัยในสาขาปรัญชาและสังคมวิทยาที่สถาบันสังคมศึกษา ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้วุฒิเทียบเท่าปริญญาโท และศึกษาต่อปริญญาเอกสาขาสังคมมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยไนเมเกน ประเทศเดียวกัน ใน แต่ไม่ได้สอบวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกก็เลิกเรียนเสียก่อน (ปัจจุบันจึงยังเป็น Phil.D. Candidate อยู่[5][6])

หลังจากเรียนจบ ก็สมัครทำงานเป็นวิศวกรของบริษัทเอกชนอยู่ระยะหนึ่ง เคยทำงานเป็นนักวิจัยที่สถาบันสังคมศึกษา ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และทำงานวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยบีเลเฟลท์ ประเทศเยอรมนี[7] เมื่อกลับเมืองไทยในปี พ.ศ. 2528 จึงเริ่มบทบาททางการเมือง ในฐานะนักคิด นักวิชาการ นักปรัชญา โดยทำการวิจารณ์การเมืองและสำรวจประชามติ เคยเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการสถาบันไทยคดีศึกษา

ปัจจุบัน ธีรยุทธเป็นอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คิดว่าตัวเองเป็นนักคิดมากกว่านักเขียน จึงเน้นการทำงานด้านวิชาการ โดยพยายามเขียนหนังสือ ตำรา และบทความทางวิชาการ พร้อมโจมตีการทำงานของรัฐบาลอย่างสม่ำเสมอ

งานทางวิชาการ
ธีรยุทธ บุญมี มีผลงานเขียนและปาฐกถาวิจารณ์การเมืองจำนวนมาก เขาได้รับรางวัลศรีบูรพา ในปี พ.ศ. 2549 ร่วมกับเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ตัวอย่างงานเขียนและบทวิเคราะห์ในช่วงเวลาไม่นานมานี้ เช่น สังคม วัฒนธรรมหลังการเลือกตั้ง ก.พ.2548 การเปลี่ยนแปลงสังคม วัฒนธรรม การเมือง ครั้งที่ 2 ของไทย, อนาคตการเมืองไทยและนโยบายของรัฐบาลทักษิณ 2 และ รัฐธรรมนูญแบบภูมิปัญญาไทย ซึ่งสนับสนุนการทำรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549

ในช่วงหลังรัฐประหาร 19 กันยายน ปัญญาชนหลายฝ่ายวิจารณ์ธีรยุทธว่าเขาอาศัยสถานภาพนักวิชาการไปสนับสนุนการรัฐประหารจนเกินขอบเขตที่เหมาะสม ข้อเสนอของธีรยุทธเรื่อง โครงสร้างการเมืองแบบไทย และ รัฐธรรมนูญแบบภูมิปัญญาไทย ถูกวิจารณ์ว่าเป็นข้อเสนอที่มุ่งฟื้นฟูการเมืองแบบอำมาตยาธิปไตยผ่านบทบาทของศาลและชนชั้นนำกลุ่มอื่นๆ ไม่ต่างกับแนวคิด "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" ที่เผด็จการทหารในช่วง 2519-2531 ใช้ในการอธิบายการเมืองไทย[ต้องการอ้างอิง

----------------------------------------------------------------------------------------------

"มองไทยหลังเลือกตั้ง ปัญหาที่ใหญ่กว่าวิกฤตการเมือง" ปาฐกถา "ธีรยุทธ บุญมี"

"ธีรยุทธ บุญมี" เปิดเวทีวิเคราะห์ปัญหา "สังคม-เศรษฐกิจ-การเมือง-การศึกษา" ชี้ทุจริตรูปแบบใหม่ "คอร์รัปชั่นคอนเนกชั่น" มอง10กลุ่มทุนใหญ่ผูกขาดอำนาจครอบงำเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2561 ที่ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน....... อ่านต่อได้ที่ : https://www.posttoday.com/politic/report/573509




หมอดู “ธีรยุทธ” ฟันธง! แม่นหรือไม่? ต้องติดตาม


ผมตัดหน้า 11 ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐกรอบประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2561 เอาไว้ครึ่งหน้าเลยครับ ตั้งใจไว้ว่าจะเก็บใส่แฟ้มเอาไว้ให้ดีที่สุด

เพื่อที่จะหยิบมาอ่านอีกครั้งในอนาคตว่า ประเทศไทยของเราจะเป็นไปตามคำพยากรณ์ของบุคคลในข่าวที่ไทยรัฐถอดคำบรรยายของเขาเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ มาลงเอาไว้จนเกือบครึ่งหน้าดังกล่าวหรือไม่

รวมทั้งได้ตัดคอลัมน์ขนาดกว้างนิ้วครึ่งว่าด้วย “ดวงดาวของท่าน” ของ “อาจารย์นพ” ซึ่งพยากรณ์โดย พ.พาทินี ศิษย์เอกของท่านอาจารย์ที่เรียงล้อมกรอบอยู่ข้างๆไว้ด้วย

ถือเป็นการเปรียบเทียบว่างั้นเถอะว่าคำพยากรณ์ของคนดังรายนี้ กับคำพยากรณ์ของ พ.พาทินี ใครจะแม่นกว่ากัน

คนดังรายที่ว่า จะใครเสียที่ไหนล่ะ...ถ้าไม่ใช่ท่านอาจารย์ ธีรยุทธ บุญมี คนเดือนตุลา ที่ใช้จังหวะครบรอบ 45 ปี 14 ตุลาฯ สวมเสื้อกั๊ก ออกมาแสดงปาฐกถาวิเคราะห์ประเทศไทยหลังการเลือกตั้ง ที่ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม ถนนราชดำเนิน เมื่อวันรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา

แน่นอนแม้จะมีบางประเด็นที่ผมยังไม่ค่อยเห็นด้วย แต่กว่าครึ่งอาจจะถึง 2 ใน 3 กระมัง ผมเห็นด้วยอย่างมากและชอบมากกับการยกอุทาหรณ์เปรียบเปรย และการใช้คำ “ตอกย้ำ” ในหลายๆคำ

โดยเฉพาะวลีที่ว่า “รวยกระจุก จนกระจาย กลางกระจ้อน” ผมยกนิ้วให้เลย นึกไปถึงอดีตเลขาธิการสภาพัฒน์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ผู้ประดิษฐ์คำว่า “รวยกระจุก จนกระจาย” ถ้าผมจำไม่ผิด

วลีนี้ฮิตมากและใช้กันมาหลายปี ทุกวันนี้ก็ยังฮิตอยู่และต่อไปจะฮิตมากขึ้น เมื่อมีคำว่า “กลางกระจ้อน” ที่อาจารย์ธีรยุทธช่วยแปลให้ด้วยว่า หมายถึงคนชั้นกลาง ที่แคระแกร็นมาต่อยอดเพิ่มเติม

นอกจากนี้ ผมยังชอบการเปรียบเทียบที่สะท้อนระบบผูกขาดตัดตอนของนายทุนใหญ่ ที่บอกว่าชีวิตคนไทยทุกวันนี้เหมือน “ไก่ซีพี” เพราะถูกป้อนอาหารให้กินอย่างเดียว จนเป็นสูตร

กินในร้านสะดวกซื้อ จ่ายค่าโทรศัพท์ บัตรเครดิต ซื้อตั๋วรถไฟฯลฯ ในร้านสะดวกซื้ออุตลุดไปหมด

อาจารย์ธีรยุทธไม่ได้บอกว่ากลุ่มทุนอิทธิพลผูกขาดคือกลุ่มไหน

เพียงแค่หยิบยืมวิธี “เลี้ยงไก่” ในสไตล์ซีพี มาเปรียบเทียบให้เห็นถึงวิถีชีวิตคนไทยในยุคนี้ที่ถูกป้อนอาหารเข้าปากเหมือนไก่ซีพี เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น

ส่วนจะเป็นการบอกใบ้อะไรบางอย่างตามสไตล์อาจารย์ธีรยุทธ หรือไม่คงต้องตีความกันเอาเอง

สำหรับกรณี 4.0 อาจารย์ธีรยุทธติงได้ถูกใจผมมากเพราะผมก็ติงเอาไว้หลายครั้ง ตามประสาคนที่เติบโตมากับยุค 2.0+3.0 ว่าจะเร็วเกินไปและจะมีคนได้ประโยชน์จากนโยบายนี้เพียงกระหยิบมือเดียวเท่านั้น

ในประเด็นทางการเมืองหลังเลือกตั้ง ผมก็เห็นด้วยว่าคงจะยุ่งแน่แม้จะมองความยุ่งไปคนละแบบ แต่ลงท้ายผลจะคล้ายๆกัน

อาจารย์พยากรณ์ว่า “การเมืองไทยในอนาคต จะเป็นประชาธิปไตยใต้อิทธิพลของทหาร, ข้าราชการ, ชนชั้นนำทางความคิด และกลุ่มทุนใหญ่ที่มีโอกาสพัฒนาเป็นการเมืองใต้เงื้อมมือ “ทุนอิทธิพล” ในที่สุด”

อาจารย์ธีรยุทธทิ้งท้ายปาฐกถาไว้ว่า การแตกตัวของพรรคเพื่อไทยเป็นปรากฏการณ์ที่ควรศึกษา เพราะมีฐานเสียงที่หนักแน่นกว้างขวางกว่าพรรคอื่นมาเกือบ 2 ทศวรรษ ทำไมถึงแตกตัว?

“แตกออกเป็นหลายพรรคย่อย เป็นกลุ่มการเมืองที่การตัดสินเป็นอิสระมากขึ้น การขึ้นอยู่กับตัวบุคคล หรือบางครอบครัวลดลง

ถ้าพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ และทุกพรรค พัฒนานโยบายให้สร้างสรรค์ที่คนส่วนใหญ่เห็นพ้องด้วย และเว้นวาทกรรมเกลียดชังสุดขั้วเสีย จะทำให้การเลือกตั้งเดินไปด้วยดี มีโอกาสร่วมมือกันแก้รัฐธรรมนูญ แก้กฎหมายให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

ถ้าทำโดยร่วมกัน และแสดงเหตุผลที่เหนือกว่า ก็อาจจะทำให้ (การแก้ไขรัฐธรรมนูญ) สำเร็จได้ โดยไม่ต้องเผชิญหน้าแบบปะทะรุนแรงกับฝ่ายทหารอีก”

ประโยคทิ้งท้ายเนี่ยผมก็ชอบมากครับ เพราะเป็นการชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่จะแก้ไขได้โดยสันติสำหรับรัฐธรรมนูญฉบับ “ขี้เหร่เนะ” (ภาษาไทยนะครับ ไม่ใช่ภาษาญี่ปุ่น) ที่ผมเขียนเอาไว้เมื่อวันก่อนว่าขี้เหร่ที่สุดเท่าที่ผมเคยผ่านรัฐธรรมนูญของประเทศไทยมาตั้งแต่เด็กจนเป็น ส.ว.หง่อมเต็มที่แล้วในปัจจุบันนี้.

“ซูม”

----------------------------------------------------------------------------------------------

ไม่เคยแปลกใจเลย..ทุกครั้งที่เสื้อกั๊ก
ออกมาโจมตีฝ่ายประชาธิปไตย..หรือฝ่ายทักษิณ
เพราะเสื้อกั๊กได้งานทำ ได้ตำแหน่ง..แบบมีคนจัดให้
จนได้ดิบได้ดีขนาดนั้น บุญคุณจึงต้องทดแทน..อย่างที่เห็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น