นโยบายประชานิยมถูกนำมาใช้ดำเนินการเป็นนโยบายอย่างแท้จริง
ในสมัยรัฐบาล ทักษิณในการบริหารราชการแผ่นดิน
เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544
ผ่านนโยบายที่บริหารจัดการให้เงินและผลประโยชน์จากรัฐในรูปแบบต่างๆ ไปถึงมือชาวบ้านอย่างจับต้องได้ จะเห็นได้ว่านโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณนั้นมุ่งไปสู่ผู้รับผลจากนโยบายที่เป็นคนยากจน ทั้งในชนบทและในเมือง ซึ่งที่ผ่านมาแทบจะไม่เคยได้รับผลประโยชน์จากนโยบายทางการเมืองของรัฐบาลไหนมาก่อนเลย เช่น นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งสร้างคะแนนนิยมกับชาวบ้านอย่างท่วมท้น จนได้รับเลือกเข้ามาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่ออีกเป็นสมัยที่ 2 ที่ยังคงดำเนินการนโยบายประชานิยมในหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบนโยบายประชานิยมแบบทักษิณ
ผลงานด้านเศรษฐกิจ นับเป็นจุดขายสำคัญของรัฐบาลทักษิณ
ที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้มากเพราะเชื่อว่า
ความสามารถในการบริหารในภาคเอกชนที่นายกฯทักษิณประสบความสำเร็จมาแล้วจะถูกนำมาใช้ในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศให้รุ่งเรือง ซึ่งรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในนโยบายเศรษฐกิจอย่างมากโดยได้กำหนดให้การกระตุ้นเศรษฐกิจ
เป็นนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลทักษิณ 1 ได้ดำเนินการหลายมาตรการไปพร้อมกัน เพื่อทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทย
ฟื้นคืนจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540
รัฐบาลทักษิณ ได้ดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจในแนวนโยบายแบบคู่ขนาน (Dual Track) ที่มุ่งใช้พลังเศรษฐกิจและทรัพยากรภายในประเทศเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจโดยให้ความสำคัญกับการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจในประเทศโดยเฉพาะการ “ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาส” ให้แก่ประชาชนระดับรากฐานเพื่อสร้างอำนาจซื้อในประเทศพร้อมกับการพยายามเร่งขยายการส่งออกของประเทศ
เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น และมีเงินไหลเข้าระบบเศรษฐกิจในประเทศโดยรวมมากขึ้น โดยมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ และโครงการช่วยเหลือประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมให้ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้โดยรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
🌟สร้างความเข้มแข็งแก่ประชาชน
ด้วยการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรพร้อมฟื้นฟูอาชีพ
🌟พักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย 3 ปี
และการลดภาระหนี้
🌟การลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย
ผ่านสถาบันเกษตรกร
🌟แก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร
ตามโครงการการปรับโครงสร้าง
และระบบการผลิตการเกษตร
และโครงการแผนฟื้นฟูการเกษตร
🌟ปรับโครงสร้างหนี้ของสมาชิกกองทุนฟื้นฟู
และพัฒนาเกษตรกร
โดยรัฐบาลได้ร่วมกับสถาบันการเงิน 10 แห่ง
ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฯ
ชะลอการดำเนินคดีหรือการบังคับคดี
กับสมาชิกเป็นการชั่วคราว
จนกว่าการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้จะเสร็จ
🌟การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อส่งเสริมกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองในด้านการเรียนรู้ การสร้าง
และการพัฒนาความคิดริเริ่ม รวมถึงการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม ในการจัดระบบบริหารเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านด้วยตนเอง
รวมทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสให้คนในหมู่บ้านได้เข้าถึงแหล่งทุนได้มากขึ้นและไม่ต้องพึ่งแหล่งทุนนอกระบบ และเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนระยะยาวแก่ประชาชนในชนบทที่จะสนับสนุนการดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ด้วย
🌟จัดตั้งธนาคารประชาชน เป็นอีกหนึ่งแหล่งเงินทุนที่สร้างโอกาสให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยที่ต้องการประกอบอาชีพแต่ขาดแคลนเงินทุนสามารถกู้เงินได้แทนการพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ ซึ่งดำเนินการผ่านธนาคารออมสินในการช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยให้มีโอกาสกู้เงินเพื่อไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้ตนเองได้
🌟การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)เป็นมาตรการสำคัญที่รัฐบาล ทักษิณ ประกาศเป็นนโยบายและสามารถสร้างเป็นผลงานที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยโครงการนี้มีเป้าหมายสนับสนุน ส่งเสริม และสร้างให้เกิดผู้ประกอบการรายย่อยเพื่อเป็นพื้นฐานที่เข้มแข็งและมั่นคงของเศรษฐกิจไทยให้สามารถฟื้นตัวและเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน
🌟จัดตั้งธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนด้วยการสนับสนุนเงินทุน โดยการอนุมัติสินเชื่อให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
🌟การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เป็นการสร้างโอกาสให้เกษตรกร
ในการเข้าถึงแหล่งทุนโดยสามารถนำสินทรัพย์ 5 ประเภท อันได้แก่ ที่ดิน สัญญาเช่า เช่าซื้อ หนังสืออนุญาตให้ประโยชน์และหนังสือรับรองทรัพย์สินทางปัญญาและเครื่องจักร แต่โดยส่วนใหญ่จะเน้นสิทธิในการครอบครองที่ดินทำกินไปใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการใหม่ ได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โดยมีโอกาสที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบเพื่อสร้างรายได้ ส่งผลเป็นการสร้างงานที่สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
🌟มีการดำเนินการเร่งรัดออกโฉนดที่ดินและการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน สปก. และที่ดินที่ประชาชนครอบครองอยู่ในรูปแบบอื่น ๆ ให้แก่ประชาชนเพื่อนำไปใช้ค้ำประกันเงินกู้ตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนอีกด้วย
🌟โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)ได้ทำให้เกิดการสร้างงานสำหรับผู้ไม่มีงานทำ หรือเสริมรายได้ให้กับเกษตรกรที่ยังทำการเกษตรอยู่ ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาสินค้า โดยรัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการเพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลได้มุ่งการขยายตลาดและสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้แก่สินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยเพิ่มช่องทางการตลาด และจัดแสดงสินค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการจัดงานเมืองแห่งภูมิปัญญาไทย
(OTOP City) ขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อให้เป็นช่องทางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
🌟โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค หรือโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ารัฐบาลได้กำหนดนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อลดรายจ่ายด้านสุขภาพโดยรวมของประเทศและประชาชนในการดูแลรักษาสุขภาพโดยเสียค่าใช้จ่ายเพียง 30 บาท/ครั้ง และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 โดยจัดตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นองค์กรขึ้นมาบริหารจัดการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ และทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้นและจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในปี พ.ศ. 2545 พบว่า"โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค"เป็นนโยบายของรัฐบาล ทักษิณที่ประชาชนพึงพอใจมากที่สุด นับเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ของการบริการสุขภาพที่ประเทศไทย
สามารถสร้างระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าขึ้นมาได้ !
"🌟"นโยบายทางการเมืองของรัฐบาล ทักษิณ จึงเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เห็นจะไม่มีนโยบายใดที่รับการกล่าวถึงเท่ากับ “นโยบายประชานิยม”
จนกล่าวได้ว่า นโยบายประชานิยมเป็นผลงานการนำเสนอ และถูกพิจารณาว่าเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล ทักษิณ และสร้างผลสะเทือนต่อการเมืองไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการกำหนดเป็นนโยบายทางการเมือง
"ประชานิยม ของรัฐบาล ทักษิณ"ได้กลายเป็นรูปแบบให้นักการเมืองใช้ในการหาเสียงกันมากที่สุดจนถึงปัจจุบัน !
#จนมีของก๊อปไร้เกรดเกิดขึ้นแล้ว
🔴🔴🔴🔴🔴🔴🔴🔴🔴
"ทักษิณ ชินวัตร"
ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 23
เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2544
ในวันนั้น...วันที่ได้รับตำแหน่งที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ตื่นเต้น ซึ้งใจกันทั้งบ้าน เป็นความภูมิใจของครอบครัวชินวัตรที่ได้รับใช้ พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ รวมถึงประชาชนคนไทย แผ่นดินไทย ความภูมิใจซึ้งใจนี้ มันก็ยังตราตรึงอยู่ในทุกลมหายใจของครอบครัว ชินวัตร
==============================================
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น