จอมพล ป. พิบูลสงคราม
จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศแปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “จอมพล ป. พิบูลสงคราม” หรือ “จอมพล ป.” เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีเวลาดำรงตำแหน่งรวมกันมากที่สุดของไทย คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทยให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย “รัฐนิยม” หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ “ประเทศสยาม” เป็น “ประเทศไทย” และเป็นผู้เปลี่ยน “เพลงชาติไทย” มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้ คือ “เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย” หรือ “ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย” และ “ไทยอยู่คู่ฟ้า” ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า “จอมพล ป. พิบูลสงคราม” เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูงและให้ความสนใจกับความคิดที่ ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยมและการปลุกระดมความคลั่งชาติในบางครั้ง
จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีชื่อเดิมว่า “แปลก ขีตตะสังคะ” เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 ที่จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรของนายขีดและนางสำอางค์ ขีตตะสังคะ บิดาและมารดามีอาชีพชาวสวน ภริยาคือ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม (เดิมนามสกุล “พันธุ์กระวี”)
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เข้าศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี จากนั้นได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบก กระทั่งสำเร็จการศึกษา เมื่อ พ.ศ. 2459 ขณะอายุ 19 ปี โดยได้รับยศร้อยตรีและเข้าประจำการที่กองพลที่ 7 จังหวัดพิษณุโลก จากนั้นไม่นานได้สอบเข้าโรงเรียนเสนาธิการได้เป็นที่ 1 และเดินทางไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศฝรั่งเศสและโรงเรียนทหารขั้นสูง ประเทศอิตาลี จนสำเร็จการศึกษาและกลับมารับราชการต่อไป กระทั่งได้ยศพันตรี มีบรรดาศักดิ์และราชทินนามที่ “หลวงพิบูลสงคราม”
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พันตรีหลวงพิบูลสงครามได้เข้าร่วมกับคณะราษฎรในเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยได้เป็นกำลังสำคัญในสายทหารและเมื่อปี พ.ศ. 2477 ท่านได้เลื่อนยศเป็นพันเอกและดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก
ครั้นเมื่อ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ท่านได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อจากพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา โดยการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และในช่วงที่ดำรงตำแหน่งก็ได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 ภายหลังจากที่กองทัพไทยมีชัยชนะต่ออินโดจีนฝรั่งเศส คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) ได้ประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แก่พลตรีหลวงพิบูลสงคราม ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย หลวงพิบูลสงครามในฐานะนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยหลวงพิบูลสงครามเลือกใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล ใช้ว่า “จอมพลแปลก พิบูลสงคราม”
จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีชื่อจริงว่า “แปลก” เนื่องจากเมื่อแรกเกิดบิดามารดาเห็นว่าหูทั้งสองข้างอยู่ต่ำกว่านัยน์ตา ผิดไปจากบุคคลธรรมดา จึงให้ชื่อว่า “แปลก” เมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้ใช้ชื่อว่า ป. ซึ่งเป็นตัวอักษรย่อเฉกเช่นชื่อของบุคคลสำคัญหลายคนทางประเทศแถบตะวันตก
จอมพล ป. เป็นหนึ่งในคณะนายทหารผู้ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยเป็นนายทหารปืนใหญ่ รุ่นน้องของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา 2 ปี ที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกและเป็นสมาชิกคณะราษฎรยุคก่อตั้งซึ่งมีทั้งหมด 7 คน ตั้งแต่ยังศึกษาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส โดยถือเป็นผู้นำของคณะทหารบกยศชั้นผู้น้อย ต่อมาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว จอมพล ป. เริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ จากเป็นแกนนำในการรัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 และเป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสมในการปราบกบฏบวรเดชเมื่อปี พ.ศ. 2476 จนได้รับความไว้วางใจ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา
นับแต่จอมพล ป. ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2481 ได้มีนโยบายในการสร้างชาติ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลัทธิชาตินิยม เช่น ออกกฎหมายคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ มีการสงวนอาชีพบางอย่างไว้เฉพาะคนไทย
ปลูกฝังให้ประชาชนนิยมใช้สินค้าไทย ด้วยคำขวัญว่า “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ”
รัฐบาลจอมพล ป. ได้เปลี่ยนแปลงประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่าง เพื่อให้สอดคล้องกับการการเปลี่ยนแปลงการปกครองและให้เกิดความทันสมัย เช่น
ประกาศให้ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วง เลิกสวมเสื้อราชปะแตน และให้นุ่งกางเกงขายาวแทน
ยกเลิกบรรดาศักด์และยศข้าราชการพลเรือน
มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482
เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล โดยเริ่มเปลี่ยนในปี พ.ศ. 2484 ทำให้ ปี พ.ศ. 2483 มีเพียง 9 เดือน
มีการสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมใหม่ โดยจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นเมื่อ พ.ศ.2485เพื่อจัดระเบียบการดำเนินชีวิตของคนไทยให้เป็นแบบอารยประเทศ โดยประกาศรัฐนิยมฉบับต่างๆ อาทิ
- สั่งห้ามประชาชนกินหมากโดยเด็ดขาด
- ให้ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบน เปลี่ยนมานุ่งผ้าถุงแทน
- ให้สวมหมวก สวมรองเท้า
ไม่ส่งเสริมศิลปะและดนตรีไทยเดิมแต่ส่งเสริมดนตรีสากล ฯลฯ
โดยมีคำขวัญในสมัยนั้นว่า “มาลานำไทยสู่มหาอำนาจ” หากผู้หญิงคนใดไม่ใส่หมวกจะถูกตำรวจจับและปรับ
วางระเบียบการใช้คำแทนชื่อเป็นมาตรฐาน เช่น ฉัน ท่าน เรา
มีคำสั่งให้ข้าราชการกล่าวคำว่า “สวัสดี” ในโอกาสแรกที่พบกัน
มีการตัดตัวอักษรที่ออกเสียงซ้ำกัน จึงมีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำมากมาย เช่น “กระทรวงศึกษาธิการ” เขียนเป็น “กระซวงสึกสาธิการ” เป็นต้น
ในสมัยนั้นรัฐบาลเอาจริงเอาจังเรื่องการ แต่งกาย เช่นยกเลิกโจงกระเบนมานุ่งกางเกง (สำหรับผู้ชาย) และผ้าซิ่นหรือกระโปรงสำหรับผู้หญิง ออกจากบ้านต้องสวมหมวก แม้สมเด็จพระพันวัสสาฯ ทรงอยู่ในวังสระปทุมอย่างสงบ จำกัดการติดต่อกับโลกภายนอกไว้น้อยที่สุด เว้นแต่พระราชกรณียกิจเช่นเรื่องสภากาชาดไทยที่ทรงไม่เคยละทิ้ง ยุค “วัธนธัม” ของรัฐบาลจอมพล ป. ก็ยังยื่นมือเข้าไปยุ่งเกี่ยวเข้าจนได้ เช่นมีเจ้าหน้าที่ตัวแทนไปเข้าเฝ้า ขอพระราชทานฉายพระบรมฉายาลักษณ์ให้ทรงพระมาลา เพื่อนำไปเผยแพร่ภายนอกว่า สมเด็จฯทรงต้องร่วมมือปฏิบัติตัวตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน
สมเด็จพระพันวัสสาฯ กริ้ว ตรัสตอบว่า “ทุกวันนี้จนจะไม่เป็นตัวของตัวอยู่แล้ว นี่ยังจะมายุ่งกับหัวกับหูอีก ไม่ใส่ อยากจะให้ใส่ก็มาตัดเอาหัวไปตั้ง แล้วใส่เอาเองก็แล้วกัน” แต่ก็ยังไม่จบสิ้นอยู่ดี เมื่อจอมพล ป. ต้องการให้ชื่อของคนไทย ระบุชัดว่าเพศชาย หรือหญิง สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ท่านมีพระนามว่า “สว่างวัฒนา” จอมพล ป. บอกว่าพระนามท่านไม่ชัดเจนว่าเป็นชายหรือหญิง สมัยนั้นรัฐบาลมีนโยบายให้ประชาชนเปลี่ยนชื่อ ผู้ชายมีชื่อฟังรู้ว่าเป็นชาย ผู้หญิงมีชื่อฟังรู้ว่าเป็นหญิงรัฐบาลเกิดเห็นว่าพระนาม “สว่างวัฒนา” สมควรเป็นชื่อผู้ชาย ก็ส่งตัวแทนมาขอให้ทรงเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับ “รัฐนิยม” สมเด็จฯ ทรงกริ้วทันทีเมื่อทรงทราบ ตรัสด้วยความแค้นพระทัยว่า “ชื่อฉันทูลหม่อม(หมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)พระราชทาน ท่านทรงทราบดีว่าฉันเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย”ผลก็คือ ทรงดำรงพระนามไว้ได้ตามเดิมจนกระทั่งหมดยุค ก็ไม่มีใครมาเซ้าซี้ให้เปลี่ยนพระนามอีก
ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส จากปัญหาเรื่องการใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ระหว่างไทยกับอินโดจีน ซึ่งอยู่ในครอบครองฝรั่งเศสมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยฝรั่งเศสไม่ยอมตกลงเรื่องการใช้ร่องน้ำลึกเป็นเส้นเขตแดน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2483 ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเมืองนครพนม การรบระหว่างฝรั่งเศสกับไทยจึงเริ่มขึ้น ฝรั่งเศสโจมตีไทยทางอรัญประเทศ รัฐบาล จอมพล ป. ส่งทหารไทยเข้าไปในอินโดจีนทางด้านเขมร แต่ในที่สุดญี่ปุ่นเสนอตัวเข้าไกล่เกลี่ย จนมีการส่งผู้แทนไปลงนามอนุสัญญาโตเกียว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ในครั้งนั้นไทยได้ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงคืน รวมทั้งทางใต้ตรงข้ามปากเซ คือ แขวงจัมปาศักดิ์และดินแดนในเขมรที่เสียให้ฝรั่งเศสไปเมื่อปี พ.ศ. 2450 กลับคืนมาด้วย และในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาได้เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงชัยชนะของไทยต่อฝรั่งเศส และหนึ่งปีต่อมา จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้กระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จอมพล ป. ในฐานะนายกรัฐมนตรีไทย ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการประคับประคองประเทศชาติ ให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้หลายประการ ทั้งนี้มีการบอกเล่ากันว่า ท่านขอพระราชทานยศจอมพลให้กับตนเองเพราะท่านต้องการทำสงครามจิตวิทยากับทางกองทัพญี่ปุ่น หลังสงครามโลกสงบแล้วท่านต้องติดคุกระหว่างการถูกไต่สวนในฐานะอาชญากรสงครามอยู่ระยะหนึ่งตามพระ ราชบัญญัติอาชญากรรมสงครามที่รัฐบาลไทยประกาศใช้เป็นกฎหมายหลังสงครามโลก (มีผู้วิเคราะห์ว่า ส่วนหนึ่งเพื่อมิให้ต้องส่งตัวผู้นำรัฐบาลและนายทหารไทยในยุคนั้นไปให้ศาล อาชญากรรมสงครามระหว่างประเทศที่สัมพันธมิตรตั้งขึ้นที่โตเกียวและ เนือร์นแบร์กพิพากษาคดี แต่ให้ศาลไทยเป็นผู้พิพากษาแทน ซึ่งเป็นผลดีต่อชีวิตของอาชญากรรมสงครามเหล่านี้ที่เป็นคนไทยที่รอดพ้นจาก โทษประหารชีวิตทั้งหมด) อย่างไรก็ดี ศาลไทยได้พิจารณาเห็นว่า “กฎหมายย่อมไม่มีผลย้อนหลัง” จึงปล่อยตัวท่านเป็นอิสระ หลังจากนั้นท่านก็ได้ประกาศยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด กลับไปใช้ชีวิตเรียบง่ายอยู่บ้านที่ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยปลูกผักต่างๆ เพื่อเลี้ยงชีพ
จอมพลป.พิบูลสงครามกลับมาเรืองอำนาจอีกครั้งหลังพ้นคดี “อาชญากรสงคราม” ระหว่างที่ตนเป็นรัฐบาลในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 การหวนคืนอำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2491 ในฐานะนายกรัฐมนตรีของไทยโดยมี “พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์” และ “จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์” ค้ำบัลลังก์เผด็จการให้อย่างสุดๆ ในเวลาต่อมา
เช้าตรู่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ปฏิวัติ
คณะรัฐประหารนำโดย “จอมพลผิน ชุณหะวัณ” “นาวาอากาศเอกหลวงกาจสงคราม เก่งระดมยิง” จอมพล ป. ที่ปรึกษา และผู้บังคับกองพันหลายนาย เช่น “พ.อ.เผ่า ศรียานนท์” “พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์” ยึดอำนาจจากรัฐบาล “พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์” และ “นายปรีดี พนมยงค์” โดยกองกำลังของกลุ่มปฏิวัติพุ่งตรงไปยังบ้านทำเนียบท่าช้าง อันเป็นบ้านพักของนายปรีดี พนมยงค์ เพื่อจับกุมตัว แต่นายปรีดีได้หนีลงเรือจ้างเข้าคลองบางหลวงไปกับจ่าบัวตำรวจอารักขาหนีออก ไปได้และในที่สุดได้ลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ
อีกสายตรงไปบ้าน “หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์” นายกรัฐมนตรี แต่หนีออกทันไปเพียง 5 นาที อีกสายตรงไปยังบ้าน “พลเรือตรีหลวงสังวร สุวรรณชีพ” อธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งถูกขู่จะยิงเข้าบ้านถ้าไม่ยอมเปิดไฟ ในที่สุดก็ยอมจำนนมอบตัวต่อคณะรัฐประหาร
คณะรัฐประหารได้เชิญเชิญจอมพล ป. พิบูลสงคราม กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่จอมพล ป. ไม่กล้ารับตำแหน่ง อาจเป็นเพราะจอมพล ป. อาจยังมีความเกรงฝ่ายสัมพันธ์มิตรที่ชนะสงครามจะตั้งข้อรังเกียจ เนื่องจากจอมพล ป. เคยประกาศสงครามกับฝ่ายพันธ์มิตรและตนเองเข้ากับฝ่ายอักษะ จนต้องกลายเป็นอาชญากรสงครามคณะรัฐประหารจึงไปเชิญ “นายควง อภัยวงศ์” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นตำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีหุ่นเชิดในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2490 โดยคณะรัฐประหารกำหนดรัฐมนตรีและรัฐบาลเงา
จากนั้นมีรัฐธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ นาวาอากาศหลวงกาจสงครามเป็นผู้ยกร่างและเก็บไว้ใต้ตุ่มแดงที่บ้าน จึงได้รับฉายาว่า “รัฐธรรมนูญตุ่มแดง”
วันที่ 20 มกราคม 2491 มีการเลือกตั้งทั่วไปและในวันที่ 21 กุมพาพันธ์ 2491 “นายควง อภัยวงศ์” ได้รับกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เนื่องด้วยได้รับเสียงข้างมากกว่าพรรคใดๆ ในสนามการหาเสียง มีการใช้ทุกรูปแบบยุทธวิธี แม้กระทั่งให้คนไปตะโกนในวิกหนัง “ใส่ร้ายปรีดี”
แต่นายควงอยู่ในอำนาจได้เพียงเดือนเศษ วันที่ 8 เมษายน 2491 คณะรัฐประหารยื่นคำขาดให้นายควงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเสีย ก่อนลาออกนายควงกล่าวว่า “พวกคุณทำได้หรือ เมื่อบอกว่าทำได้ก็ให้เขาทำไป ผมออกมานอนชักว่าวข้างนอกเสียก็ไม่เห็นเดือดร้อนอะไรนี่ การที่เขามาจี้ผมนั้น ผมจะเอาอะไรไปต่อสู้เขาและถ้าจะสู้ สู้เพื่ออะไร ?…”
เมื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม คุมอำนาจเบ็ดเสร็จอีกครั้งได้ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการมหาดไทยและเลื่อนยศ ให้ “พันเอกเผ่า ศรียานนท์” เป็นพลตรีอย่างรวดเร็ว ยุคจอมพล ป. เป็นยุคที่มีการช่วงชิงอำนาจ มีการทำรัฐประหารมากมายหลายครั้ง แต่ทหารเอกของจอมพล ป. พิบูลสงคราม คือ “พล.ต.ต.เผ่า” และ “พล.ต.สฤษดิ์” ได้ออกทำการปราบปรามขบถอย่างราบคาบได้ทุกครั้ง
ขบถเสนาธิการ
1 ตุลาคม 2491 เวลา 20.00 น. เกิดขบถจากนายทหาร เรียกว่า “ขบถเสนาธิการ” มีทั้งทหารคุมกองกำลังและส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ในโรงเรียนเสนาธิการทหารที่ไม่ พอใจเนื่องจากมีการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารตอบแทนผู้เข้าร่วมรัฐประหาร มิได้ทำเพื่อทหารส่วนรวมแม้แต่น้อยหลายครั้งฝ่ายกบฏมี
พล.ต.เนตร เมขะโยธิน
พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต
พล.ต.หลวงวรรณกรรมโกวิท
พล.ท. โพยม จุฬานนท์ ซึ่งเป็น ส.ส. เพชรบุรี
พ.อ.ขุน ศรีสิงหสงคราม เจ้ากรมพาหนะทหารบก
ร.อ.หิรัญ สมัครเสวี
ร.อ. สุรพันธ์ ชีวรานนท์
ร.ท. บุญช่วย ศรีทองบุญเกิด
นายทหารและนักเรียนเสนาธิการอีกจำนวนหนึ่ง เข้าร่วมก่อการด้วย
มีการวางแผนถึงขั้นสังหารกลุ่มผู้นำทหารและ นายกรัฐมนตรีแบบถอนรากถอนโคนในทำเนียบรัฐบาล โดยในวันนั้นมีงานเลี้ยงส่งนายทหารและแสดงความยินดีในงานพิธีสมรสระหว่าง “พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์” กับ “นางสาววิจิตรา ชลทรัพย์” ความลับไม่มีในโลก กบฏครั้งนี้ถูกรัฐบาลจอมพล ป. ซ้อนแผนปราบปรามอย่างราบคาบ ทหารเอกของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทั้ง “พล.ต.ต.เผ่า ศรียานนท์” และ “พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์” ได้ออกทำการปราบปรามขบถอย่างราบคาบได้และในครั้งต่อๆ มาอีก
โดย “เผ่า ศรียานนท์” อิงฐานกรมตำรวจตั้ง “รัฐตำรวจ” สร้างอัศวินตั้งแต่แหวนเพชรถึงแหวนทอง ปูนบำเหน็จรางวัลแก่นายตำรวจที่จงรักภักดีตน เป็นยุคอำนาจมืดครอบงำไทยมีการปราบปรามนักการเมือง นักหนังสือพิมพ์ ถูกคุมขัง ถูกลักพาตัว ถูกฆ่าโดยไม่มีกระบวนการยุติธรรมไต่สวนอย่างเป็นธรรม ผู้ปกครองไม่กี่คนตั้งตนเป็นตุลาการตัดสินความด้วยอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตั้งข้อหากบฏแบ่งแยกดินแดน
ต้นเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกันรัฐบาลจอมพล ป.ได้จับกุมพลเรือนนักการเมืองสายเสรีไทย ได้แก่
นายทิม ภูริพัฒน์
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์
นายถวิล อดุล
นายฟอง สิทธิธรรม
นายเตียง ศิริขันธ์
ในข้อหา “กบฏแบ่งแยกดินแดน” ในขณะจับกุมตัวทางจอมพล ป. ได้ปราศรัยทางวิทยุปลุกระดมหาความชอบธรรมในการจับกุมพลเรือนและนักการเมือง ในครั้งนี้ว่า ขณะนี้มีผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง สมคิดกันเพื่อกบฏ ทางสภาผู้แทนราษฎรให้ “พล.ต.ต. เผ่า ศรียานนท์” ปล่อยตัว “นายฟอง สิทธิธรรม” เพราะอยู่ในสมัยประชุม ได้รับเอกสิทธิ์ทางกฎหมายและต่อมาได้ปล่อยตัว “นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์” เพราะไม่มีหลักฐานอะไร
กบฏวังหลวง
วันที่ 23 กุมพาพันธ์ 2492 ได้มีนายทหารได้นำรถถังออกมา 6 คัน พร้อมอาวุธครบมือมาทำเนียบรัฐบาล แต่ “พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์” ทราบการเคลื่อนไหวนี้เสียก่อน “พล.ต.ต. เผ่า ศรียานนท์” ไม่รอช้า ออกทำการกวาดล้างทันที สืบลึกเข้าไปกลายเป็นว่าเป็นกบฏใหญ่นายทหารและพลเรือนร่วมวางแผนยึดอำนาจ ข่าวลึกๆ เชื่อว่ามีเสรีไทยและ “นายปรีดี พนมยงค์” อยู่เบื้องหลัง
กองกำลังในการปราบกบฏครั้งนี้มีคำสั่งให้ “พ.ท.กฤช ปุณณกันต์” ผบ.กรมราบ และ “พ.ท.ถนอม กิตติขจร” ผบ.ราบ 11 นำรถถังออกปราบด้วย มีการรบพุ่งทั้งสองฝ่ายจนถึงเช้าเวลา 09.00 น. ของวันที่ 27 กุมพาพันธ์ 2492 มีการเจรจาหยุดยิงกันได้เมื่อตอนเวลา 10.15 น. ต่างฝ่ายต่างเคลื่อนกำลังกลับเข้าสู่ที่ตั้งของตน ได้มีการบุกค้นบ้านผู้ต้องสงสัยและมีการสังหารโหดอย่างเช่นกับราย “พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข” ซึ่งเคยร่วมงานกับ “นายปรีดี พนมยงค์” ได้ถูกเพ่งเล็งว่าเป็นพวกกบฏ โดยเช้าตรู่วันที่ 29 กุมพาพันธ์ 2492 กองกำลังฝ่ายจอมพล ป.เข้าตรวจค้นภายในบ้าน พลันเกิดเสียงปืนดังหลายนัด ผู้เข้าจับกุมให้การว่า พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ขัดขืนและทอดร่างกลายเป็นศพ เหมือนหลายๆ คดีที่ตำรวจมักกล่าวว่า ผู้ต้องหาต่อสู้เจ้าหน้าที่พนักงาน สุดท้ายเรื่องก็เงียบหายไป
เพียงแค่สงสัยใครเป็นพวกนายปรีดี บุคคลนั้นก็ชะตาขาดเสียแล้ว
รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีจุดมุ่งหมายแน่วแน่ที่จะโค่นอำนาจ “นายปรีดี พนมยงค์” และกลุ่มเสรีไทยแบบถอนรากถอนโคน เพียงแค่สงสัยใครเป็นพวกนายปรีดี บุคคลนั้นก็ชะตาขาดเสียแล้ว “พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์” ปรามปรามประชาชนและนักการเมือง รวมถึงทหารที่เอาใจออกห่างคนแล้วคนเล่า ข้าราชการชั้นเอก นายตำรวจและนายทหารระดับพันเอกหลายคนถูกพวกอัศวินดำของ “พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์” สังหารโดยไม่มีความผิด
บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เสียงไทย ถูกลอบยิงทำร้าย ผู้นำกรรมกรถูกจับ สมาคมกรรมกรถูกค้นโรงเรียนจีนและ นสพ.จีนถูกค้นหลายระลอก ครูโรงเรียนจีนและนักหนังสือพิมพ์จีนถูกจับและถูกเนรเทศเป็นจำนวนมาก รวมถึงการพัวพันสังหารโหด “หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์” นักการเมืองไทยมุสลิมผู้กล้าหาญแห่งภาคใต้ และ “นายพร มะสิทอง” ส.ส.สมุทรสาคร
คืนสังหารโหด 4 อดีตรัฐมนตรี
มีการจับกุมตัว “นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์” “นายถวิล อดุล” และถูกคุมตัวมาไว้ที่สันติบาลวันที่ 28 กุมพาพันธ์ 2492 และ “นายจำลอง ดาวเรือง” ก็โดนจับกุม มีการค้นบ้าน “ดร.เปลว ชลภูมิ” รัฐบาลพบโทรเลข ทราบข่าว “ดร.เปลว ชลภูมิ” จะกลับไทยหลังจากหนีลี้ภัยไปปีนัง เมื่อครั้งเกิดการรัฐประหารปี 2490 จึงมีการไปดักจับ “ดร.เปลว ชลภูมิ” ถึงลานจอดเครื่องบิน ในคืนวันที่ 4 มีนาคม 2492 ตำรวจสันติบาลนำ ดร.เปลว ออกจากสนามบินทันทีที่เครื่องบินลงไปกองบัญชาการสวนกุหลาบ
คนทั้ง 4 ที่ถูกจับกุมเคยเป็นรัฐมนตรีในสมัยก่อนๆ ทราบกันว่าเป็นสายเสรีไทยสนิทกับ “นายปรีดี พนมยงค์” และตายอย่างมีเงื่อนงำ
วันที่ 4 มีนาคม 2592 รถตำรวจ 3 คัน เบิกผู้ต้องหาทั้ง 4 ไปสอบสวนระหว่างรถถึงถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 13 เสียงปืนดังแผดคำรามขึ้นหลายนัด แล้วผู้ต้องหาการเมืองทั้ง 4 ก็ดับดิ้นตรงนั้น ทุกศพมีรอยกระสุนคนละหลายนัดบอกกันว่าโจรมลายูเข้าชิงตัวผู้ต้องหา แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจลูกน้องเผ่าปลอดภัยทุกคน
สังหารครูเตียง ศิริขันธ์
ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ผู้นำชาวบ้านที่โดดเด่นคือ ครูที่ได้รับการศึกษามาจากกรุงเทพฯ หลายท่าน หนึ่งในจำนวนนั้นที่ถือว่าเป็นผู้นำคนสำคัญ คือ ‘ครูเตียง ศิริขันธ์’ เกิดเมื่อ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ แถวคุ้มวัดศรีสะเกษ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร เป็นลูกขุนนิเทศพาณิช ชาวบ้านเรียก นายฮ้อยบุดดี เพราะเคยมีอาชีพต้อนวัว ควาย มีเชื้อสายญ้อมาจากฝั่งเมืองมหาชัยกองแก้ว (ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง) ซึ่งอยู่ห่างเมืองท่าแขกเข้าไปราว ๕๐ กิโลเมตร ครูเตียง เห็นพี่น้องชาวอีสานผู้ทุกข์ยาก ถูกข่มเหงกดขี่จากเจ้าหน้าที่รัฐ ซ้ำถูกนายเงินเจ้าที่ดินเอาเปรียบสารพัด จุดหักเหสำคัญต้องตัดสินใจมาเป็นผู้แทนราษฎร เพราะคับแค้นใจต่อความไม่เป็นธรรม จึงตกเป็นจำเลยคดีคอมมิวนิสต์ เมื่อ ๙ กรกฎาคม ๒๔๗๘ เพราะช่วงนั้นมีการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์และมีคนชักธงรูปค้อนเคียวขึ้นยอดเสาธง ครูเตียงกับเพื่อนครูอีกสามคนถูกหมายหัวถูกฟ้อง คือ ครูปั่น แก้วมาตย์, ครูสุทัศน์ สุวรรณรัตน์ และครูญวง เอี่ยมศิลา ถูกคุมขังอยู่ประมาณสองเดือนต่อสู้คดี กระทั่งศาลพิพากษายกฟ้อง มีเพียงครูญวงคนเดียวถูกตัดสินจำคุก ๑๐ ปี
ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ผู้นำชาวบ้านที่โดดเด่นคือ ครูที่ได้รับการศึกษามาจากกรุงเทพฯ หลายท่าน หนึ่งในจำนวนนั้นที่ถือว่าเป็นผู้นำคนสำคัญ คือ ‘ครูเตียง ศิริขันธ์’ เกิดเมื่อ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ แถวคุ้มวัดศรีสะเกษ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร เป็นลูกขุนนิเทศพาณิช ชาวบ้านเรียก นายฮ้อยบุดดี เพราะเคยมีอาชีพต้อนวัว ควาย มีเชื้อสายญ้อมาจากฝั่งเมืองมหาชัยกองแก้ว (ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง) ซึ่งอยู่ห่างเมืองท่าแขกเข้าไปราว ๕๐ กิโลเมตร ครูเตียง เห็นพี่น้องชาวอีสานผู้ทุกข์ยาก ถูกข่มเหงกดขี่จากเจ้าหน้าที่รัฐ ซ้ำถูกนายเงินเจ้าที่ดินเอาเปรียบสารพัด จุดหักเหสำคัญต้องตัดสินใจมาเป็นผู้แทนราษฎร เพราะคับแค้นใจต่อความไม่เป็นธรรม จึงตกเป็นจำเลยคดีคอมมิวนิสต์ เมื่อ ๙ กรกฎาคม ๒๔๗๘ เพราะช่วงนั้นมีการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์และมีคนชักธงรูปค้อนเคียวขึ้นยอดเสาธง ครูเตียงกับเพื่อนครูอีกสามคนถูกหมายหัวถูกฟ้อง คือ ครูปั่น แก้วมาตย์, ครูสุทัศน์ สุวรรณรัตน์ และครูญวง เอี่ยมศิลา ถูกคุมขังอยู่ประมาณสองเดือนต่อสู้คดี กระทั่งศาลพิพากษายกฟ้อง มีเพียงครูญวงคนเดียวถูกตัดสินจำคุก ๑๐ ปี
“นายเตียง ศิริขันธ์” เป็นบุคคลที่เฉลียวฉลาด มีความห่วงใยในการศึกษาของชาวบ้านท่านจึงได้ตั้งโรงเรียนขึ้นมา 2 แห่ง ชื่อว่า “โรงเรียนมัธยมเตียง ศิริขันธ์ 1” และ “โรงเรียนมัธยมเตียง ศิริขันธ์ 2” เมื่อปี พ.ศ. 2478 นายเตียงและเพื่อนครูอีก 2 คนในโรงเรียนประจำจังหวัดอุดรธานี คือ “นายปั่น แก้วมาตร” และ “นายญวง เอี่อมศิลา” โดนข้อหามีการกระทำเป็นคอมมิวนิสต์ ต่อมาในปีเดียวกัน นายเตียงกับนายปั่นถูกปล่อยตัว ส่วนนายญวงถูกตัดสินจำคุกพร้อมเพื่อนอีกจำนวนหนึ่ง
หมายเหตุ
นายเตียงได้เดินทางไปเรียนต่อระดับครู ป.ม. ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและไปเป็นครูสอนที่โรงเรียนหอวังระยะหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ครูเตียงได้กลับไปสมัคร ส.ส.ที่จังหวัดสกลนคร โดยมี “ครูครอง จันดาวงศ์” ช่วยวิ่งเต้นหาเสียงให้ด้วยจนชนะคะแนน “หลวงวรนิติปรีชา” ส.ส.แต่งตั้งคนเดิม
นายเตียงได้เดินทางไปเรียนต่อระดับครู ป.ม. ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและไปเป็นครูสอนที่โรงเรียนหอวังระยะหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ครูเตียงได้กลับไปสมัคร ส.ส.ที่จังหวัดสกลนคร โดยมี “ครูครอง จันดาวงศ์” ช่วยวิ่งเต้นหาเสียงให้ด้วยจนชนะคะแนน “หลวงวรนิติปรีชา” ส.ส.แต่งตั้งคนเดิม
ในปี 2497 “นายเตียง ศิริขันธ์” ส.ส. สกลนคร หัวหน้าเสรีไทยภาคอีสานพร้อมคนขับรถถูกจับไปสังหารโหดที่กลางป่าจังหวัด กาญจนบุรี ปฏิบัติการป่าเถื่อนไร้ทำนองคลองธรรมของผู้กุมอำนาจรัฐสร้างแรงบีบคั้นให้ กับผู้รักความเป็นธรรมคนแล้วคนเล่ากลายเป็นเหยื่อความทารุณโหดร้ายต่อไป !
กบฏแมนฮัตตัน (จับจอมพล ป.บนเรือแมนฮัตตัน)
ทหารบางส่วนของกองทัพเรือไม่อยู่ภายใต้ อิทธิพลของรัฐบาลจอมพล ป. มากนัก ยังมีนายทหารเรือคบคิดกบฏจะยึดอำนาจจอมพล ป. อีกหลายครั้งหลายคราว แต่มักมีเหตุไม่พร้อมสอดแทรกอยู่เสมอ เช่น
วันที่ 22 ตุลาคม 2493 คิดคุมตัวจอมพล ป. ในพิธีส่งทหารไปเกาหลี
วันที่ 22 ตุลาคม 2493 คิดคุมตัวจอมพล ป. ในพิธีส่งทหารไปเกาหลี
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2543วางแผนจับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ในสนามกีฬาแห่ชาติ ขณะมีการแข่งขันรักบี้ระหว่างทีมกองทัพบกกับทีมกองทัพเรือ
กระทั่งต้นปี พ.ศ. 2494 คิดทำการอีก ในกระทรวงกลาโหมจะทำการแจกเข็มเสนาธิปัตย์ มีจอมพล ป. เป็นประธาน ทหารบางส่วนที่ตกลงกันไว้ไม่กล้าเคลื่อนออกมา แต่ความพยายามไม่สิ้น
กระทั่งต้นปี พ.ศ. 2494 คิดทำการอีก ในกระทรวงกลาโหมจะทำการแจกเข็มเสนาธิปัตย์ มีจอมพล ป. เป็นประธาน ทหารบางส่วนที่ตกลงกันไว้ไม่กล้าเคลื่อนออกมา แต่ความพยายามไม่สิ้น
กลุ่มทหารเรือหนุ่มกำหนดวันที่ 26 มิถุนายน 2494 ก่อการอีกครั้ง จะบุกควบคุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ทำเนียบและจู่โจมยึดวังปารุสกวัน ครั้งถึงกำหนด นาวิกโยธิน 2 หน่วยไม่สามารถเคลื่อนพลได้ทั้งๆ ที่หน่วยอื่นพากันขนอาวุธยุทธภัณท์ออกจากกรมกองแล้ว ความผิดพลาดครั้งนี้ทำให้ขบวนการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกองทัพบกขอถอนตัว กระนั้นก็ยังมีส่วนอดทนยึดมั่นอุดมการณ์จะทำงานปฏิวัติก็ยังมีอยู่
ถึงคราวลงมือกันเสียที
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 จอมพล ป. จะทำพิธีรับเรือมอบเรือขุดแมนฮัดตัน โดยจากอเมริกามอบให้ ที่ท่าเรือราชวรดิษฐ์ท่ามกลางทูตประเทศต่างๆ มากมาย เมื่อรับเสร็จ จอมพล ป. ก็ขึ้นไปชมเรือ
“น.ต.มนัส จารุภา” พร้อมหน่วยรบจำนวนหนึ่งนำปืนกลแมดเสน กรูขึ้นสะพานเรือพร้อมยิงหากมีคนขัดขืน จอมพล ป. เดินมาจากหัวเรือพร้อมผู้ติดตาม ถึงจุดที่ น.ต. ยืนรออยู่ “เราต้องการแต่ตัวท่านจอมพล คนอื่นไม่เกี่ยวถอยออกไป ขอเชิญจอมพลมาทางนี้” นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “จะให้ไปทางไหน”
“น.ต.มนัส จารุภา” พร้อมหน่วยรบจำนวนหนึ่งนำปืนกลแมดเสน กรูขึ้นสะพานเรือพร้อมยิงหากมีคนขัดขืน จอมพล ป. เดินมาจากหัวเรือพร้อมผู้ติดตาม ถึงจุดที่ น.ต. ยืนรออยู่ “เราต้องการแต่ตัวท่านจอมพล คนอื่นไม่เกี่ยวถอยออกไป ขอเชิญจอมพลมาทางนี้” นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “จะให้ไปทางไหน”
มีการควบคุมนายกรัฐมนตรีไปขึ้นเรือรบหลวง อยุธยา แล้วเล่นไปตามลำน้ำถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อมุ่งหน้าสู่สะพานพระพุทธยอดฟ้า เพื่อไปจอดหน้าสรรพวุธทหารเรือ บางนา แต่สะพานพุทธฯ ไม่เปิด นาวิกโยธินที่ 4 และ 5 ไม่สามารถเคลื่อนพลออกมาได้ ทหารเรือส่วนหนึ่งยึดโรงไฟฟ้าและโทรศัพท์กลางวัดเลียบได้แล้วแต่ถูกรถถัง ตำรวจล้อมปิดไว้
ฝ่ายรัฐบาลได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของผู้ก่อการเรียกร้องให้มอบตัวและส่งจอมพล ป. คืนอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยยื่นคำขาดให้จำนนในตอนรุ่งเช้า มิฉะนั้นจะใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรง
06.00 น. รุ่งอรุณของวันที่ 30 พฤศจิกายน 2494 อาวุธหนักของรัฐบาลโจมตีทหารเรือ กระสุนเบาถล่มเรือรบหลวงศรีอยุธยาเป็นระยะๆ ส่วนบนบกทหารฝ่ายรัฐบาลอยู่ฝั่งพระนครทหารฝ่ายก่อการอยู่ฝั่งธนต่าง สาดกระสุนใส่กัน เสียหายทั้งสองฝ่าย
เวลา 15.00 น. ไม่มีทหารกองอื่นๆ รวมถึงแม่ทัพเรือเข้าร่วมกับฝ่ายก่อการดังที่ฝ่ายก่อการคาดหวังไว้ ฝ่ายกบฏหมดทางสู้ทุกประตู
“จอมพลฟื้น ฤทธาคนี” ผู้บัญชาการทหารอากาศสั่งเครื่องบินทิ้งระเบิดเรืออยุธยา เพลิงไหม้ลามถึงคลังลูกปืน เรือค่อยๆ จมลง ปืนเล็กยาวระดมยิงใส่พวกลอยคอที่ว่ายพ้นหัวเรือ ทหารฝ่ายก่อการที่อยู่ฝั่งธนบุรีสามารถสกัดยับยั้งการยิงได้ แต่ไม่อาจหยุดยั้งการยิงกราดจากเครื่องบินได้ เมื่อบรรดาคนที่ว่ายน้ำเคลื่อนเข้ามาใกล้ฝั่ง จึงเห็นว่ามี จอมพล ป. รวมอยู่ในกลุ่มนั้นด้วย รัฐบาลปราบปรามฝ่ายกบฏอย่างราบคาบ ฝ่ายทหารเรือจึงหมดอำนาจทางการเมืองตั้งแต่นั้นมา
ยุคทมิฬ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ นักอุ้มฆ่า
ไม่มีอะไรที่ตำรวจไทยทำไม่ได้ พล.ต.อ.เผ่า สร้างรัฐตำรวจขึ้น ก่อตั้งตำรวจรถถังและยานเกราะ ตำรวจกองปราบ ตำรวจพลร่มและอื่นๆ พล.ต.อ.เผ่า มีความสนิทกับจอมพล ป. เป็นพิเศษ เคยเป็นทหารยศพันเอกแต่ถูกโอนมาคุมตำรวจ ไต่ตำแหน่งอย่างรวดเร็ว ได้ทำการกวาดล้างเสี้ยนศัตรูทางการเมืองของจอมพล ป. อย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ตำรวจยุคนี้ได้มีส่วนในการเข่นฆ่า ขังลืม ขังห้องมืดนักโทษการเมืองรวมถึงสังหารโหด 4 รัฐมนตรีกลางถนนที่บางเขน นักการเมืองจำนวนมากต้องลี้ภัยหนีตายและหลบไปกบดานอยู่ในชนบท
เช้าวันที่ 10 พฤศจิกายน 2495 รัฐบาลเรียกร้องให้ประชาชนอยู่ในความสงบทางวิทยุกระจายเสียง รัฐบาลได้ดำเนินการกวาดล้างจับกุมนัดคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์เป็นจำนวนมาก ในข้อหากบฏ อาทิเช่น
นายอารีย์ ลีวีระ ผู้อำนวยการ บริษัท ไทยพาณิชย์การ จำกัด
นายแสวง ตุงคบรรหาร บก.หนังสือพิมพ์สยามนิกร
นายบุศย์ สิมะเสถียร หนังสือพิมพ์ไทย
นายอารี อิ่มสมบัติ บ.กฺ. ธรรมจักรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ
นายเปลื้อง วรรณศรี
นายฉัตร บุณยศิริ
นายนเรศ นโรปกรณ์
นายมารุต บุนนาค
และอีกมากมายรวม 104 คน เรียกว่า “กบฎ 10 พ.ย. 2495”
มีการวางแผนฆ่านักหนังสือพิมพ์ผู้ยิ่งใหญ่ คือ ในคืนวันที่ 6 กุมพาพันธ์ 2496 ศาลได้สั่งปล่อย “นายอารี ลีวีระ” ผู้อำนวยการ บริษัท ไทยพาณิชย์การ จำกัด ซึ่งมี หนังสือพิมพ์สยามนิกรและพิมพ์ไทยอยู่ในสังกัด ครั้นถึงวันที่ 23 กุมพาพันธ์ ปีเดียวกัน นายอารีย์ได้เข้าสู่พิธีสมรสกับ “นางสาวกานดา บุญรัตน์” และเดินทางไปหัวหินเพื่อดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ ระหว่างการไปพักที่หัวหิน ได้เกิดเรื่องสลดสะเทือนใจคนวงการหนังสือพิมพ์ เนื่องจากเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2496 เวลา 08.50 น. มีรถจี๊ปสีเขียวเข้าไปในเรือนพักของหนุ่มสาวคู่นี้ แล้วมีเสียงปืนดังขึ้น 2-3 นัด แล้วรถดังกล่าวได้ขับออกไป เมื่อตำรวจหัวหินวิทยุสกัดรถคันนี้ได้ พบว่ามีตำรวจยศสิบโท และพลตำรวจอีก 4 นาย เป็นตำรวจกองกำกับการจังหวัดกาญจนบุรี ได้ให้การว่า “พ.ต.ท.ศิริชัย กระจ่างวงศ์” ให้มาดักจับคนร้าย ซึ่งนายตำรวจดังกล่าวเป็นนายตำรวจอัศวินแหวนเพชรของ “พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์” นั่นเอง
การเลือกตั้งที่มีการโกงครั้งมโหฬาร
อย่างไรก็ตาม จอมพล ป.พิบูลสงคราม มักแสดงให้ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลของเขามีประชาธิปไตย เห็นความสำคัญของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังนั้นในปี 2500 มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 26 กุมพาพันธ์ 2500 ปรากฏว่าการเลือกตั้งเป็นไปอย่างไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม มีการใช้อุบายต่างๆ การทุจริตครั้งนี้มีการกระทำกันอย่างเอิกเกริก มีทั้งพลร่มไพ่ไฟและการเวียนเทียนลงบัตร มีการส่งโค๊ดเลือกผู้แทนของตน มีการปักตราพรรคเสรีมนังคศิลา (พรรครัฐบาลจอมพล ป.) มีรูปหัวไก่สีแดงเป็นเครื่องหมายที่กระเป๋ามองเห็นชัด เมื่อกรรมการเห็นก็ให้บัตรลงคะแนนทันทีโดยไม่ต้องตรวจสอบรายชื่อ การทุจริตการเลือกตั้งปั่นป่วนไปทั่ว ทุลักทุเลอึมครึม มีการใช้อำนาจรัฐเต็มที่
ประชาชนและนักศึกษาที่รักประชาธิปไตยพยายาม ต่อสู้แต่ก็มีอันพาลทางการเมืองเข้ารุมซ้อม ให้ประชาชนบาดเจ็บมากมาย สื่อมวลชนกล่าวหาว่าเป็นการเลือกตั้งครั้งสกปรกที่สุดในประเทศไทย ผลการเลือกตั้งพรรคเสรีมนังคศิลาได้ 86 เสียงจาก 160 เสียง ขณะเตรียมจัดตั้งรัฐบาล ประชาชนนักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวและออกใบปลิวโจมตี จอมพล ป. กับ พล.ต.อ.เผ่า ให้รับผิดชอบลาออก
ประชาชนเดินขบวนไล่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ประชาชนเริ่มเดินขบวนจน ในที่สุด จอมพล ป. ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในวันที่ 2 มีนาคม 2500 ห้ามชุมนุมในที่สาธารณะและห้ามพิมพ์โฆษณาเกี่ยวกับการเมือง นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทำหนังสือเรียกร้องให้ผู้แทนฯ ลาออกจากตำแหน่ง นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประท้วงด้วยการลดธงลงครึ่งเสา นักศึกษาทั้ง 2 แห่งกับประชาชนต่างลุกฮือบุกเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาล
สองเสือองค์รักษ์พิทักษ์จอมพล ป.ขัดแย้งกันหนัก
“เสือสฤษดิ์” กับ “เสือเผ่า” แสดงการขัดแย้งกันอย่างหนัก อำนาจและกลไกของจอมพล ป. เริ่มพิกลพิการ ภายในพรรคเริ่มแตกแยกยากที่จะประสานผลประโยชน์กันต่อไปได้อีก จอมพล ป. สั่งยกเลิกตำแหน่งผู้บัญชาการทหาร ซึ่งเป็นตำแหน่งของ “พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์”
วันที่ 20 สิงหาคม 2500 เป็นวันจุดแตกหักเมื่อ “พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์” ประกาศลาออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยมี “พล.ท.ถนอม กิตติขจร” รมช. กลาโหม “พล.ท.ประภาส จารุเสถียร” รมช. มหาดไทย “พล.อ.ท.เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูล” รมช. เกษตร “พล.ต.ศิริ สิริโยธิน” รมช. สหกรณ์ ลาออกตามไปด้วย
วันที่ 13 กันยายน 2500 เหลือแต่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก “พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์” สั่งขุนพลเตรียมพร้อม ส่วน “พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์” ก็ระดมกำลังพร้อมเช่นกันต่างคุมเชิงคุมกองกำลังกันอยู่
พล.อ. สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจการ “จอมพล ป.พิบูลสงคราม” และ “พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์” เพื่อนคู่รักคู่แค้น
วันที่ 14-15 กันยายน 2500 คณะนายทหารกองทัพบกทำหนังสือบังคับให้รัฐบาลจอมพล ป. ลาออกแต่ จอมพล ป. หน่วงเหนี่ยวเวลา วันที่ 16 กันยายน 2500 เวลา 20.00 น. “พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์” สั่งรถถังเคลื่อนเข้ายึดที่ทำการสำคัญของรัฐบาลทันที รัฐประหารครั้งนี้ไร้การต่อต้าน
จอมพล ป. หนีออกไปทางจังหวัดตราด ซึ่งท่านได้หลบหนีไปด้วยรถยนต์ส่วนตัวกับผู้ติดตาม เพียง 2 คน ไปอย่างหวุดหวิด โดยผ่านไปทางประเทศกัมพูชา ก่อนจะลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง ณ ที่นั่น ท่านและครอบครัวได้รับการต้อนรับอย่างดี ทั้งนี้เพราะทางรัฐบาลญี่ปุ่นถือว่าเป็นท่านเป็นผู้ที่บุญคุณต่อญี่ปุ่น ซึ่งเคยยินยอมให้ทหารญี่ปุ่นผ่านเข้าประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยดี ไม่ต้องมีการสู้รบยืดเยื้ออันรังแต่จะทำให้มีแต่ความสูญเสียด้วยกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งท่านก็ได้พำนักอยู่ที่นั่นจนตราบถึงแก่อสัญกรรม
จอมพล ป. หนีออกไปทางจังหวัดตราด ซึ่งท่านได้หลบหนีไปด้วยรถยนต์ส่วนตัวกับผู้ติดตาม เพียง 2 คน ไปอย่างหวุดหวิด โดยผ่านไปทางประเทศกัมพูชา ก่อนจะลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง ณ ที่นั่น ท่านและครอบครัวได้รับการต้อนรับอย่างดี ทั้งนี้เพราะทางรัฐบาลญี่ปุ่นถือว่าเป็นท่านเป็นผู้ที่บุญคุณต่อญี่ปุ่น ซึ่งเคยยินยอมให้ทหารญี่ปุ่นผ่านเข้าประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยดี ไม่ต้องมีการสู้รบยืดเยื้ออันรังแต่จะทำให้มีแต่ความสูญเสียด้วยกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งท่านก็ได้พำนักอยู่ที่นั่นจนตราบถึงแก่อสัญกรรม
ส่วนนายทหารและตำรวจฝ่ายรัฐบาลเข้ารายงาน ตัวต่อคณะปฏิวัติ ในนี้มี “พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์” ด้วย ตอนหนึ่งเสือสฤษดิ์ถามเสือเผ่า ว่า “ก่อนหน้าจะยึดอำนาจ 2 วัน มึงไปถอนเงินจากกระทรวงการคลังไป 11 ล้านจริงหรือไม่?” พล.ต.อ.เผ่าตอบฉะฉาน “เออ…จริงว่ะ แต่ใช้ไปหมดแล้ว”
“พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์” ถูกเนรเทศออกนอกประเทศ ส่วน จอมพล ป. หนีทันเข้า จ.ตราด เพื่อเข้าสู่เขมรต่อไป
9 ปีที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้อำนาจมาด้วยปืนรถถังและเขาจากอำนาจไปด้วยปืนและรถถังแบบเดียวกัน นักศึกษาประชานชาวไทยต่างดีใจที่จอมเผด็จการคนเก่าจากไปแต่หารู้ไม่ว่าเผด็จการ ตัวใหม่กำลังย่างก้าวทะมึนเข้าแทนที่ …โหดเหี้ยมไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลย … เขาคือ “จอมเผด็จการ สฤษดิ์ ธนะรัชต์”
9 ปีที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้อำนาจมาด้วยปืนรถถังและเขาจากอำนาจไปด้วยปืนและรถถังแบบเดียวกัน นักศึกษาประชานชาวไทยต่างดีใจที่จอมเผด็จการคนเก่าจากไปแต่หารู้ไม่ว่าเผด็จการ ตัวใหม่กำลังย่างก้าวทะมึนเข้าแทนที่ …โหดเหี้ยมไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลย … เขาคือ “จอมเผด็จการ สฤษดิ์ ธนะรัชต์”
ในช่วงที่ยังไม่หลุดจากอำนาจ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เคยได้ชื่อว่าเป็น “นายกฯ ตลอดกาล” นอกจากนี้ยังได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า “จอมพลกระดูกเหล็ก” เพราะมีชีวิตทางการเมืองอย่างเหลือเชื่อ เคยถูกลอบสังหารมาแล้วถึง 3 ครั้ง แต่ก็รอดชีวิตมาได้ทุกครั้ง นอกจากนี้ จอมพล ป. ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ริเริ่มองค์กรและหน่วยงานสำคัญๆ ของประเทศหลายองค์กรที่พัฒนาและเจริญรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน ซึ่งล้วนแต่เป็นหน่วยงานที่มีความเฉพาะของแต่ละวิชาชีพ เช่น รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รวมทั้งเป็นผู้ที่ใช้อำนาจยึดสถานที่ต่างๆ ที่เคยเป็นที่ประทับของเชื้อพระวงศ์และที่อยู่ของบุคคลสำคัญก่อนการเปลี่ยน แปลงการปกครองมาใช้เป็นสถานที่ราชการ เช่น วังบางขุนพรหม บ้านมนังคศิลา บ้านพิษณุโลก บ้านนรสิงห์ เป็นต้น
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 66 ปี โดยก่อนที่จะถึงแก่อสัญกรรมนั้น จอมพล ป. ยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเหมือนคนปกติ ยังรับประทานอาหารมื้อเที่ยงพร้อมกับครอบครัวและคนสนิทได้เหมือนปกติ แต่ทว่าเมื่อถึงเวลาเย็นก็ได้ทรุดลงและถึงแก่อสัญกรรมอย่างกระทันหัน (ซึ่งในเรื่องนี้บางส่วนเชื่อกันว่าเป็นการลอบวางยาพิษ ทั้งนี้เนื่องจากก่อนหน้านั้น จอมพล ป. เริ่มได้สานสัมพันธ์กับ “นายปรีดี พนมยงค์” อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นสมาชิกคณะราษฎรยุคก่อตั้งมาด้วยกัน แม้ครั้งหนึ่งทั้งคู่จะเคยเป็นศัตรูทางการเมืองกันมาก่อนก็ตาม แต่ทว่าในเวลานั้นทั้งคู่ต่างก็หมดอำนาจและต้องลี้ภัยในต่างประเทศด้วยกัน แม้จะอยู่คนละที่ แต่ก็มีการติดต่อกันทางจดหมาย โดยมีผู้อาสาเดินจดหมายให้ และใช้รหัสลับในการติดต่อกัน ซึ่งสถานการณ์การเมืองในขณะนั้น “จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์” ที่กระทำการรัฐประหารจอมพล ป. ไปเมื่อปี พ.ศ. 2500 ก็ถึงแก่อสัญกรรมไปก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2506
จึงมีการคาดหมายว่า อีกไม่นานทั้งจอมพล ป. และนายปรีดีจะเดินทางกลับสู่ประเทศไทยและจะรื้อฟื้นอำนาจทางการเมืองทางสาย ของคณะราษฎรขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่หมดบทบาทไปเลยอย่างสิ้นเชิงจากการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์
ร่างจอมพล ป. ได้มีพิธีฌาปนกิจขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ก่อนที่จะมีการนำอัฐิกลับคืนสู่ประเทศไทยในวันที่ 27 มิถุนายน ปีเดียวกัน โดยมีพิธีรับอย่างสมเกียรติจากทั้ง 3 เหล่าทัพ
พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ พ.ศ. 2494 – 2500 เจ้าของคำขวัญ “ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้ ในทางที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามและกฎหมายบ้านเมือง” เป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาททางการเมืองสูงมากในช่วงก่อนการรัฐประหาร พ.ศ. 2500
พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2452 ณ ตำบลบางขุนพรหม อำเภอบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันตำรวจโท พระพลาพิรักษ์เสนีย์ (พลุ้ย ศรียานนท์) และนางพงษ์ ศรียานนท์ ครอบครัวมีเชื้อสายพม่า สมรสกับคุณหญิงอุดมลักษณ์ ศรียานนท์ (สกุลเดิม: ชุณหะวัณ) บุตรสาวของจอมพลผิน ชุณหะวัณ
พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์เป็นนายตำรวจที่ประชาชนชาวไทยในยุคสมัยนั้นรู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นเสมือนมือขวาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น นายกรัฐมนตรีเผด็จการทหารในสมัยนั้น เริ่มแรก พล.ต.อ.เผ่านั้นรับราชการเป็นทหารมาก่อน ก่อนจะย้ายตัวเองมาเป็นตำรวจ
พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์เป็นนายตำรวจที่ประชาชนชาวไทยในยุคสมัยนั้นรู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นเสมือนมือขวาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น นายกรัฐมนตรีเผด็จการทหารในสมัยนั้น เริ่มแรก พล.ต.อ.เผ่านั้นรับราชการเป็นทหารมาก่อน ก่อนจะย้ายตัวเองมาเป็นตำรวจ
ยุคของ พล.ต.อ.เผ่านั้น ถูกเรียกว่ายุค “รัฐตำรวจ” หรือ “อัศวินผยอง” เนื่องจาก พล.ต.อ.เผ่า ได้เสริมสร้างขุมกำลังตำรวจจนสามารถเทียบเท่ากับกองทัพๆ หนึ่งเหมือนทหารได้ โดยเริ่มให้มี ตำรวจน้ำ, ตำรวจพลร่ม, ตำรวจม้า, ตำรวจรถถัง ตลอดจนให้มีธงไชยเฉลิมพลเหมือนทหาร จนมีการกล่าวในเชิงประชดว่า อาจจะมีถึงตำรวจเรือดำน้ำ เป็นต้น โดยประโยคที่สะท้อนให้เห็นถึงตัวตนของตำรวจในสมัยนั้น ซึ่งเป็นประโยคของพล.ต.อ.เผ่าเอง คือ “ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้ ในทางที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามและกฎหมายบ้านเมือง” จนได้รับฉายาจากสื่อต่างประเทศว่า “บุรุษเหล็กแห่งเอเซีย”
พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์
ในทางการเมือง พล.ต.อ.เผ่า มีฐานะเป็นเลขาธิการพรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่ถูกกล่าวว่าสกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะมีตั้งแต่การข่มขู่ผู้ลงคะแนนให้เลือกแต่พรรคเสรีมนังคศิลา มีการเวียนเทียนลงคะแนนกันหลายรอบ ที่เรียกว่า พลร่ม หรือ ไพ่ไฟ และนับคะแนนกันถึง 7 วัน 7 คืน โดยในยุคนั้นประชาชนทุกคนต่างรู้ดีว่า ไม่ควรจะกระทำการใดที่เป็นการต่อต้านอำนาจรัฐเพราะอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต ได้ เช่น กรณีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีที่ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 13 เมื่อปี พ.ศ. 2492 หลังเหตุการณ์กบฏวังหลวง หรือการจับถ่วงน้ำ นายหะยีสุหรง อับดุลกาเดร์ ผู้นำอิสลามจังหวัดปัตตานี ที่ทะเลสาบสงขลา เป็นต้น ล้วนแต่เป็นฝีมือตำรวจ โดย พล.ต.อ.เผ่า และเป็นที่รับรู้กันว่าตำรวจเป็นผู้เลี้ยงบรรดานักเลง อันธพาลในยุคนั้นเป็นลูกน้องด้วย ซึ่งเรียกกันว่า “นักเลงเก้ายอด” อันมาจากการที่นักเลงอันธพาลเหล่านั้นสามารถเข้าออกกองบัญชาการตำรวจกองปราบ ที่สามยอดได้โดยสบาย ซึ่งทำให้เหล่านักเลงอันธพาลเกลื่อนเมือง
จากเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้กลุ่มนายทหารที่นำโดย พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ไม่พอใจ โดยเริ่มทำการปราศรัยโจมตีตำรวจที่ท้องสนามหลวงบนลังสบู่ ที่เริ่มกันว่า “ไฮปาร์ค” และทางตำรวจก็ตอบโต้ด้วยการไฮปาร์คบ้าง จนในที่สุดนำไปสู่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ซึ่งเหตุการณ์ในวันนั้น พล.ต.อ.เผ่า ยังไม่ได้หลบหนีไปต่างประเทศเหมือนจอมพล ป. แต่ยอมเข้ามอบตัวแต่โดยดี โดยกล่าวว่า “อั๊วมาแล้ว … จะเอายังไงก็ว่ามา”
วันรุ่งขึ้น พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พล.ต.อ.เผ่า มีทรัพย์สินอยู่มากมาย มีคฤหาสน์หลังใหญ่ติดทะเลสาบที่นครเจนีวา จนครั้งหนึ่งเมื่อนิตยสารต่างประเทศฉบับหนึ่งจัดอันดับมหาเศรษฐี 10 อันดับของโลก ก็มีชื่อของ พล.ต.อ.เผ่า ติดอยู่ในอันดับด้วย
ประเทศไทยเราเคยมีองค์การระดับชาติองค์การหนึ่งสำหรับทำหน้าที่ส่งเสริมประชาชนให้แต่งงานกันมากขึ้น มีชื่ออย่างเป็นทางการ ว่า “องค์การส่งเสริมการสมรส” จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2485 หรือเมื่อ 70 ปีที่แล้ว ในยุคที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เหตุผลของ จอมพล ป. ก็คือประเทศไทยของเรามีประชากรน้อยเกินไป คือมีเพียง 18 ล้านคน ใน พ.ศ. ดังกล่าวจึงไม่มีศักยภาพพอที่จะเป็นประเทศมหาอำนาจได้ เพราะการจะเป็นประเทศ มหาอำนาจได้นั้นจะต้องมีประชากร (สมัยโน้นใช้คำว่าพลเมือง) 30-40 ล้านคน ขึ้นไปเป็นอย่างน้อย จอมพล ป. ซึ่งมีความประสงค์อย่างยิ่งยวดที่จะเห็นประเทศไทยเป็นประเทศมหาอำนาจจึงสั่ง การให้มีการจัดตั้งองค์การนี้ขึ้น เพื่อชักชวนประชาชนให้แต่งงานกันมากขึ้น อันจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะเพิ่มจำนวนพลเมืองไทยให้ก้าวไปสู่หลัก 30-40 ล้านได้อย่างรวดเร็ว
องค์การส่งเสริมการสมรส มีปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน อธิบดีกรมสาธารณสุขเป็นรองประธาน อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรม ประชาสงเคราะห์ ฯลฯ เป็นกรรมการ ในการประชุมครั้งแรก ที่ประชุมมีความเห็นว่าในการเพิ่มพลเมืองนั้นจะต้องให้มีคนเกิดมากแต่ตายน้อยและการที่จะให้คนเกิดมากก็ต้อง ส่งเสริมให้คนแต่งงานกันมากขึ้น เช่น
ที่ประชุมพบว่าอุปสรรคของการแต่งงานที่สำคัญก็คือ การเรียกสินสอดทองหมั้น ฉะนั้นควรหาทางแนะให้เลิกประเพณีนี้เสีย
อีกประการหนึ่งการแต่งงานต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ควรจัดรวมกัน หลายๆ คู่เพื่อการประหยัด เช่น การสมรสหมู่ เป็นต้น
นอกนั้นยังพบอีกว่าชายหญิงในยุค พ.ศ.2485 ยังขาดการสมาคมระหว่างเพศ ควรจัดให้หนุ่มสาวพบปะสมาคมกัน
ที่ประชุมมีมติให้ส่งเสริมการจัดงาน ให้เห็นประโยชน์ของการแต่งงาน ด้วยการโฆษณาทางวิทยุ หนังสือพิมพ์ เพลง ละครและโปสเตอร์ ทำแบบเดียวกับแผนประชาสัมพันธ์เรื่องใดเรื่องหนึ่งในยุคนี้เป๊ะเลย
นพ.พูน ไวทยการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานองค์การได้เขียนบทความออกเผยแพร่ชักชวนประชาชนให้ทำการสมรสยาว เหยียดมีการอ้างอิงตัวเลข อ้างอิงหลักวิชาการ คล้ายๆ กับบทความทางวิชาการในยุคปัจจุบันเลยทีเดียว กลุ่มเป้าหมายที่องค์การส่ง เสริมการสมรสจะส่งเสริมชักชวน ได้แก่ คนโสดทั่วราชอาณาจักรทั้ง 2 เพศที่มีถึง 1,895,675 คน จากการสำรวจ สำมะโนครัวเมื่อ พ.ศ.2480
ท่านประธานองค์การระบุด้วยว่า เมื่อทำการสมรสหรือมีเรือนแล้ว แต่ละคู่ควรมีลูก 4 คน เพื่อให้ดำรงชาติแทนคนโสด แทนคนเป็นหมันหรือคนมีบุตรคนเดียวและแทนผู้มีอายุสั้น ฯลฯ ท่านระบุไว้ในบทความด้วยว่า “ผู้ที่มีลัทธิเห็นแก่ตัวโดยมีบุตรคนเดียว หรือ 2 คนนั้น ชาวเราไม่ควรรับพิจารณาและยึดถือ”
นอกจากบทความที่ว่าแล้ว องค์การยังทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งโดยการจัดตั้งสำนักงานสื่อสมรส ขึ้นตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าสำนักงาน จากนั้นก็เชิญผู้ลงทะเบียนมา พบกันในงานที่จังหวัดจัดขึ้น เพื่อนำไปสู่การสมัครรักใคร่และสมรสกันต่อไป ดังเช่นในกรุงเทพฯ มีการจัดงาน “ตักบาตรข้าวสาร” ที่วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่ 19 ธันวาคม 2486 เพื่อให้หนุ่มสาวได้มีโอกาสพบกันตามวัตถุประสงค์นี้
องค์การของจอมพล ป. ประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง ประเทศไทยก้าวสู่ยุค “เบบี้บูม” มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกิดความวิตกว่าจะเร็วเกินไปแล้ว ต้องมาวางแผนครอบครัวเพื่อลดอัตราเพิ่มประชากรกันอย่างขนานใหญ่ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2514 หรือ 30 ปีให้หลัง (ปลายแผนพัฒนาฉบับที่ 2) เป็นต้นมา
จังหวัดพิบูลสงคราม เป็น 1 ใน 4 จังหวัดที่ประเทศไทยได้ดินแดนคืนจากฝรั่งเศสในช่วง พ.ศ. 2484 โดยยกท้องที่การปกครองเสียมราฐขึ้นเป็นจังหวัด ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยต้องส่งดินแดนจังหวัดพิบูลสงครามคืนให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งปกครองประเทศกัมพูชาอยู่ในขณะนั้น ปัจจุบัน คือ จังหวัดเสียมราฐ
จังหวัดอุดรมีชัยและจังหวัดบันเตียเมียนเจย ในประเทศกัมพูชา พื้นที่ของจังหวัดนี้เดิมอยู่ในมณฑลบูรพาในสมัยรัชกาลที่ 5 และตกอยู่ภายใต้ความปกครองของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2450 ชื่อจังหวัดพิบูลสงครามนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น
จังหวัดอุดรมีชัยและจังหวัดบันเตียเมียนเจย ในประเทศกัมพูชา พื้นที่ของจังหวัดนี้เดิมอยู่ในมณฑลบูรพาในสมัยรัชกาลที่ 5 และตกอยู่ภายใต้ความปกครองของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2450 ชื่อจังหวัดพิบูลสงครามนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น
ทั้ง นี้ ยังปรากฏว่ามีการสร้างอนุสาวรีย์ไก่ขาวกางปีกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจอมพลแปลก ไว้เป็นอนุสรณ์ของจังหวัดนี้ เมื่อมีการกำหนดให้มีตราประจำจังหวัดทั่วประเทศ กรมศิลปากรก็ได้นำอนุสาวรีย์ดังกล่าวมาผูกเป็นรูปตราประจำจังหวัดไว้ด้วย ส่วนชื่ออำเภอต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นในทั้ง 4 จังหวัด ที่ได้คืนมาจากฝรั่งเศสนั้น ส่วนหนึ่งตั้งชื่อตามบุคคลที่มีบทบาทอย่างสูงในการรบสงครามอินโดจีน อย่างไรก็ตาม ในการได้ดินแดนเสียมราฐคืนมาเป็นจังหวัดพิบูลสงครามนั้น นครวัด ยังคงอยู่ในเขตของฝรั่งเศส และปราสาทบันทายศรีแม้ตามเส้นแบ่งแดนจะอยู่ในเขตจังหวัดพิบูลสงคราม แต่ฝรั่งเศสได้ขอให้ขีดวงล้อมให้ดินแดนที่ตั้งของปราสาทบันทายศรี เป็นของฝรั่งเศสตามเดิม ทั้งนี้ ญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ไกล่เกลี่ยได้เห็นชอบตามคำขอของฝรั่งเศส ปราสาททั้งสองจึงไม่อยู่ในเขตอธิปไตยของไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
วันที่ 8 ธันวาคม 2484 จอมพลพิบูลฯ ได้เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้บัญญัติกฎหมายยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทยเดิม โดยสถาปนา “ฐานันดรศักดิ์” (Lordshin) ตามแบบฝรั่งขึ้นใหม่ คือ ดยุค, มาควิส, เคานท์, ไวสเคานท์, บารอน ฯลฯ โดยตั้งศัพท์ใหม่ขึ้นเพื่อใช้สำหรับฐานันดรศักดิ์เจ้าศักดินาใหม่ คือ สมเด็จเจ้าพญา, ท่านเจ้าพญา, เจ้าพญา, ท่านพญา ฯลฯ ส่วนภรรยาของฐานันดรศักดินาใหญ่นั้นให้เติมคำว่า “หญิง” ไว้ข้างท้าย เช่น “สมเด็จเจ้าพญาหญิง”
แต่ หลวงวิจิตรวาทการเสนอให้เรียกว่า “สมเด็จหญิง” และฐานันดรศักดินาให้มีคำว่า “แห่ง” (of) ต่อท้ายด้วยชื่อแคว้นหรือบริเวณท้องที่ เช่น สมเด็จเจ้าพญาแห่งแคว้น…, พญาแห่งเมือง… ฯลฯ ทำนองฐานันดรเจ้าศักดินายุโรป เช่น ดยุค ออฟ เบดฟอร์ด ฯลฯ ฐานันดรเจ้าศักดินาใหม่นี้ให้แก่รัฐมนตรีและข้าราชการไทย ตามลำดับตำแหน่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์สายสะพาย เช่น จอมพลพิบูลฯ ได้รับพระราชทางสายสะพายนพรัตน์ ก็จะได้ดำรงฐานันดรเจ้าศักดินาเป็น “สมเด็จเจ้าพญาแห่ง…”
ฐานันดรเจ้าศักดินาใหม่นั้น ทายาทสืบสันตติวงศ์ได้เหมือนในยุโรปและญี่ปุ่น อันเป็นวิธีการซึ่งนักเรียนที่ศึกษาประวัติ นายพลนโปเลียน โบนาปาร์ด ทราบกันอยู่ว่า ท่านนายพลผู้นั้นได้ขยับขึ้นทีละก้าวทีละก้าว จากเป็นผู้บัญชาการกองทัพ แล้วเป็นกงสุลคนหนึ่งในคณะกงสุล 3 คน ที่มีอำนาจสิทธิ์ขาดปกครองประเทศฝรั่งเศส ครั้นแล้วนายพลนโปเลียน โบนาปาร์ด ก็เป็นกงสุลผู้เดียวตลอดกาล ซึ่งมีสิทธิ์ตั้งทายาทสืบตำแหน่ง
รัฐมนตรีที่เป็นผู้ก่อการฯ จำนวนหนึ่งรวมทั้งนายปรีดีด้วยนั้น โต้คัดค้านจอมพลพิบูลฯ ว่าขัดต่ออุดมคติของคณะราษฎร อันเป็นเหตุให้จอมพลพิบูลฯ ไม่พอใจ ท่านจึงเสนอให้ที่ประชุมเลือกเอาสองทาง คือทางหนึ่งตกลงตามแผนสถาปนาฐานันดรนครเจ้าศักดินาอย่างใหม่ ทางที่สองเวรคืนบรรดาศักดิ์เดิมทุกคน
รัฐมนตรีส่วนข้างมากจึงลงมติในทางเวรคืน บรรดาศักดิ์เดิม เมื่อจอมพลพิบูลฯ แพ้เสียงข้างมากในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว จึงเสนอว่า เมื่อเวรคืนบรรดาศักดิ์เก่าแล้ว ผู้ใดจะใช้ชื่อและนามสกุลเดิม หรือเปลี่ยนนามสกุลตามชื่อบรรดาศักดิ์เดิมก็ได้
นายปรีดีฯ กับรัฐมนตรีส่วนหนึ่งกลับใช้ชื่อและนามสกุลเดิม แต่จอมพลพิบูลฯ เปลี่ยนนามสกุลเดิมของตนมาใช้ตามราชทินนามว่า “พิบูลสงคราม” และรัฐมนตรีบางคนก็ใช้ชื่อเดิม โดยเอาสกุลเดิมเป็นชื่อรอง และใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งชื่อและนามสกุลยาว ๆ แพร่หลายจนทุกวันนี้
ต่อกรณีดังกล่าวนี้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา อดีตประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ให้การเป็นพยานในคดีอาชญากรสงคราม ที่มีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นจำเลย มีความตอนหนึ่งรับกันกับคำฟ้องของท่านปรีดีฯ ข้างต้น ดังนี้
“ตอนที่จอมพล ป.ฯ นำให้มีการลาออกหรือให้พ้นจากบรรดาศักดิ์กันนั้น ขุนนิรันดรชัยได้มาทาบทามข้าพเจ้าว่าจะได้มีการแต่งตั้งบรรดาศักดิ์กันใหม่ เป็นสมเด็จเจ้าพญาชายบ้าง สมเด็จเจ้าพญาหญิงบ้าง และขุนนิรันดรชัยถูกแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ โดยยึดหลักเกณฑ์ว่า ผู้ที่ได้สายสะพายนพรัตน์ จะได้เป็นสมเด็จเจ้าพญาชาย ซึ่งมีจอมพล ป. คนเดียวที่ได้สายสะพายนั้น เมื่อตั้งสมเด็จเจ้าพญาชายแล้ว เมียของผู้นั้นก็ได้เป็น สมเด็จเจ้าพญาหญิงตามไปด้วย”
“ข้าพเจ้ารู้สึกว่า จอมพล ป. นั้น กระทำการเพื่อจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเอง แล้วภรรยาจอมพล ป. ก็มีความมักใหญ่ใฝ่สูงทำนองเดียวกัน เอารูปไปฉายในโรงหนัง ให้คนทำความเคารพโดยมีการบังคับ ในการทำบุญวันเกิดก็ทำเทียม วันเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น มีตราไก่กางปีกประดับธงทิวทำนองเดียวกับ ตราครุฑหรือตราพระบรมนามาภิไธยย่อ และได้สร้างเก้าอี้ขึ้นทำนองเดียวกับเก้าอี้โทรนของพระเจ้าแผ่นดิน เว้นแต่ใช้ตราไก่กางปีกแทนตราครุฑเท่านั้น …”(อ่านต่อตอนที่๒)
-------------------------------------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
01. https://th.wikipedia.org/wiki/แปลก_พิบูลสงคราม
02. http://www.toptenthailand.com/3779-top.html
03. https://th.wikipedia.org/wiki/เผ่า_ศรียานนท์
04. http://www.thairath.co.th/column/pol/hehapatee/287081
05. http://2g.pantip.com/cafe/library/topic/K8337465/K8337465.html
06. http://tula2516.krubpom.com/po.htm
edit : thongkrm_virut@yahoo.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น