เพลงฉ่อยชาววัง

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ตัดข้อความ “สิทธิเสมอกัน” ในการรับบริการสาธารณสุข “ที่ได้มาตรฐาน”

ร่างรัฐธรรมนูญ 2559: ตัดข้อความ “สิทธิเสมอกัน” ในการรับบริการสาธารณสุข “ที่ได้มาตรฐาน”


ภาพปกของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ผ่านรัฐสภาเมื่อ พ.ศ. 2545 หลังการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2540 โดยในมาตรา 5 ของ พ.ร.บ. ดังกล่าวระบุว่า “บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัติ” โดยกฎหมายฉบับนี้เป็นที่มาของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ที่มา: เว็บไซต์ สปสช.)
ประชาไท/10 เม.ย. 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ฉบับที่จะมีการลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคมที่จะถึงนี้นั้น เนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุข และหน้าที่ของรัฐมีเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อเทียบกับรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550
โดยในร่างรัฐธรรมนูญ 2559 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 47 ระบุว่า
“มาตรา 47 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย”

ทั้งนี้เมื่อเทียบกับรัฐธรรมนูญ 2540 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 52 ระบุว่า
“มาตรา 52 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
การบริการทางสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะกระทำได้
การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย รัฐต้องจัดให้ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่าและทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
ส่วนรัฐธรรมนูญ 2550 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนที่ 9 สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ มาตรา 51 ระบุว่า
“มาตรา 51 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์”

โดยในรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 52 ใช้คำว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกัน” และ “บริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน”
ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 51 ใช้คำว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกัน” และ “บริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน”
ส่วนในร่างรัฐธรรมนูญ 2559 มาตรา 47 ใช้คำว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิ” และ “บริการสาธารณสุขของรัฐ”

ส่วนในเรื่องการบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในร่างรัฐธรรมนูญ 2559 มาตรา 47 แบ่งการรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็น 2 แบบคือ “บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญติ” และ “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย”
ขณะที่ในรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 52 ใช้คำว่า “ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” และ “การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย รัฐต้องจัดให้ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่าและทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
ขณะที่ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 51 ใช้คำว่า “ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” และ “การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย รัฐต้องจัดให้ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่าและทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”

ตัดสิทธิของบุคคลได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ “อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ” แต่กำหนดให้เป็น “หน้าที่ของรัฐ”

ในส่วนของ การบริการทางสาธารณสุขของรัฐ “อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ” นั้น ในร่างรัฐธรรมนูญ 2559 มาตรา 47 ไม่ได้กำหนดไว้ใน หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย เหมือนในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 แต่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกลับปรากฏในหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 55 ซึ่งระบุว่า 
“มาตรา 55 รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค และส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด
บริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่ง ต้องครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพด้วย”

ขณะที่ในรัฐธรรมนูญ 2540 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 52 วรรค 2 และ 3 ระบุว่า “การบริการทางสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะกระทำได้”
และในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 82 ระบุว่า “รัฐจะต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุข ให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง”
ขณะที่ในรัฐธรรมนูญ 2550 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนที่ 9 สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ มาตรา 51 วรรค 2 ระบุว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ”
และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 4 แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม มาตรา 80 ระบุว่า รัฐต้อง “… (2) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย”
โดยเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ 2559 และ รัฐธรรมนูญ 2550 และ 2540 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณสุขมีดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น