เพลงฉ่อยชาววัง

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

ทำไมไ่ม่ขุดคอคอดกระ

Turn My Exile to Learning Period (3)
หายไปหลายวันครับ
เพราะหลังจากกลับจากเกาหลีก็ไปแวะสิงคโปร์ ขณะที่อยู่สิงคโปร์ก็มีเพื่อนที่เป็นเจ้าของท่าเรือที่ใหญ่มากของมาเลเซียเป็นคู่แข่งโดยตรงกับท่าเรือสิงคโปร์ มาเชิญผมไปเยี่ยมดูกิจการของเขาเพื่อขอคำแนะนำในการขยายกิจการ เขาได้รับสัมปทานที่ดินผืนใหญ่ติดทะเลจากรัฐบาลดร.มหาเธร์เมื่อปี 1994 และมาเจอวิกฤติเศรษฐกิจปี 1997 พร้อมเรา (2540) ต่อมาโชคดี ได้บริษัท MAERSK ที่เป็นบริษัทเดินเรือใหญ่อันดับหนึ่งของโลกเข้ามาถือหุ้น เขาจึงแย่งลูกค้าจากสิงคโปร์ได้มาก
ปัจจุบันมีปริมาณสินค้าขึ้นลงอยู่ที่ 8 ล้าน TEU (หน่วยนับสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ความยาว 20 ฟุต) มากกว่าท่าเรือไทย 2 เท่า แต่ก็ยังน้อยกว่าสิงคโปร์ ปรากฎว่าส่วนใหญ่เป็นสินค้าผ่านไม่ได้ เป็นสินค้าที่ลง ณ ประเทศมาเลเซียอย่างเดียว ที่สิงคโปร์ก็เช่นกัน ผมหันไปมองฝั่งสิงคโปร์เรือเข้าคิวยาวเป็นวันๆ แต่ฝั่งมาเลเซียไม่มีคิวเลย เพราะเป็นท่าเรือที่ใหญ่มาก ปัจจุบันมีอยู่ 12 berths และกำลังจะขยายเป็น 15 berths
ที่เล่าให้ฟังก็เพราะว่า อยากจะบอกว่าเขากล้ามากที่กล้าชนกับสิงคโปร์ที่ผูกขาดการขนส่งทางทะเลมานาน แต่ที่กล้าเพราะรัฐบาลมาเลเซียแบ็คเขาเต็มที่ และสถานที่ทำท่าเรือตอนนี้ก็ตรงกับตำราที่ว่า ทำเล ทำเล ทำเล (Location Location and Location นั่นเองครับ) นอกจากการเป็นท่าเรือแล้ว เขายังเป็น Free Zone ที่มีการมาตั้งโรงงานประกอบรถยนต์บ้าง สินค้าหนักบ้าง แล้วส่งไปขายยังประเทศอื่น รวมทั้งเขาอยากให้ทำปิโตรเคมี ที่เก็บน้ำมันและโรงกลั่นแข่งกับสิงคโปร์เต็มที่ ความกล้าของเขาทำให้ลีกวนยูเคยนำเรื่องเขาไปพูดในสภาว่า ท่าเรือสิงคโปร์ต้องไม่แพ้ไอ้เด็กลูกชาวนาภาคเหนือของมาเลเซียคนนี้
ผมไปเสร็จ ผมถึงบางอ้อเลยว่าทำไมความพยายามสร้างคอคอดกระหรือแม้กระทั่งไม่ขุดเป็นคลองแต่ทำเป็นเหมือนสะพานบกเชื่อม 2 ฝัง (Land Bridge) ตะวันตก(อันดามัน) มาตะวันออก(อ่าวไทย) จึงไม่เกิดซักที เพราะถ้าเกิด
ท่าเรือทั้งสิงคโปร์และมาเลเซียแห้งตายทั้งคู่ เพราะสินค้าที่เป็นสินค้าผ่าน (Transhipment) จะไม่ไปทางใต้แน่ รวมทั้งน้ำมันเพราะประหยัดการเดินทางอย่างน้อย 8 วัน มันบอกอะไรให้รู้อย่างหนึ่งว่าประเทศไทยของเราอยู่มาอย่างไม่ค่อยจะมียุทธศาสตร์ เราแก้ปัญหาวันต่อวัน เราไม่ค่อยคิดอะไรเป็น Long Term เพราะการเมืองเราไม่พัฒนา มีการทะเลาะเบาะแว้ง รัฐบาลจะอยู่สั้น ก็เลยไม่มีข้าราชการ องค์กรรัฐ เอกชนก็ไม่เคยคิดจะทำอะไรที่เป็น Long Term อย่างมียุทธศาสตร์ สงสัยคงต้องมีหลักสูตรหมากรุกสากลในโรงเรียนเสียแล้ว เพราะจะสอนให้เด็กได้คิดวิธีเดินแบบมียุทธศาสตร์ มีสมาธิ และรู้เขา รู้เรา
วันนี้เรารู้เรายังน้อย แต่รู้โลกรู้ภูมิภาคยิ่งน้อยไปอีก เราอยู่ในโลกของการแข่งขัน ถึงแม้เราจะบอกว่าเราไม่แข่งกับใคร เขาก็บอกว่าโลกมันเชื่อมโยงกันหมดแล้ว คน สินค้า เงินทอง ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ มันไม่หยุดนิ่ง มันเดินทางไปได้ทั่วโลก คุณไม่แข่งผมก็จะแข่งกับคุณ นี่คือความจริงของโลกปัจจุบันครับ
ผมขอให้ระดับประเทศ ระดับองค์กรในประเทศน้อยใหญ่ ทั้งรัฐและเอกชนต้องอยู่อย่างมียุทธศาสตร์ จึงจะเอาตัวรอดในโลกใหม่ครับ ขอให้โชคดีเป็นของคนไทยและประเทศไทยครับ

คอคอดกระ หรือ กิ่วกระ เป็นส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายูอยู่ในเขตบ้านทับหลี ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรีจังหวัดระนอง กับ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ประมาณกิโลเมตรที่ 545 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ห่างจากเขตเทศบาลเมือง 66 กิโลเมตร ในบริเวณนี้มีแผ่นป้ายคอนกรีตขนาดใหญ่จำลอง
คอคอดกระ มีระยะทางจากฝั่งทะเลตะวันตกจรดฝั่งตะวันออกกว้างเพียง 50 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนนี้นับเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ที่ได้รับความสนใจตั้งแต่ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ในการที่จะขุดคลองตัดผ่านจนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 4 ฝรั่งเศสคิดจะขุดคอคอดกระเพื่อร่นระยะทางในการเดินเรือจากฝั่งทะเลอันดามันข้ามมายังฝั่งอ่าวไทย โดยไม่ต้องอ้อมไปทางแหลมมลายู แต่เนื่องด้วยความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับอังกฤษที่เป็นเจ้าของกิจการท่าเรือในปีนังและสิงคโปร์โครงการนี้จึงระงับไป[ต้องการอ้างอิง]
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองในสนธิสัญญาสมบูรณ์แบบไทยยินยอมที่จะไม่ขุดคลองคอคอดกระหากไม่ได้รับความยินยอมจากอังกฤษก่อน[ต้องการอ้างอิง]
ปรีดี พนมยงค์ได้เสนอให้ขุดคลอง เมื่อ กุมภาพันธ์พ.ศ. 2501[1] แต่ยังคงไม่มีการขุดคลองแต่อย่างใดจวบจนปัจจุบัน ซึ่งมีหลายเหตุผลคัดค้านรวมถึงไม่ต้องการให้ประเทศแยกออกเป็นสองส่วน[ต้องการอ้างอิง]ผนวกกับประเทศสิงคโปร์กลัวจะเสียผลประโยชน์ด้วย[ต้องการอ้างอิง]
ใน พ.ศ. 2544 วุฒิสภาได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขุดคอคอดกระ ผลการศึกษาที่รายงานต่อที่ประชุมมีสาระสำคัญให้เรียกชื่อคลองว่า "คลองไทย" และบริเวณที่ขุดมิใช่คอคอดกระ เนื่องด้วยเหตุผลทางวิศวกรรมศาสตร์ อันได้แก่สภาพพื้นที่ที่ต้องขุดที่คอคอดกระนั้นเป็นหินและภูเขา และความมั่นคงเนื่องจากบริเวณคอคอดกระอยู่ที่ชายแดนพม่าปากแม่น้ำกระบุรี บริเวณที่วุฒิสภาเห็นว่ามีความเป็นไปได้และเกิดประโยชน์สูงสุดในการขุดคลองไทย คือ เส้นทาง 9A ผ่านจังหวัดกระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา ระยะทาง 120 กิโลเมตร[ต้องการอ้างอิง]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น