เพลงฉ่อยชาววัง

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปเรื่อง กสทช.


สตง.ได้ตรวจพบว่า การดำเนินงานของ กสทช. ไม่สามารถบริหารจัดการด้านการเงินให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และการกำกับการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
1. การบริหารการใช้จ่ายเงินรายได้ที่จัดเก็บ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยการเงินการคลังของรัฐ อันเป็นการไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ จนทำให้เกิดการใช้จ่ายเงินไม่มีประสิทธิภาพได้
การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงาน กสทช. และการใช้จ่ายเงินขาดการควบคุมดูแลตามหลักการบริหารเงินงบประมาณที่ดี ตามกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ เป้นไปโดยอิสระ โดยไม่ต้องมีหน่วยงานที่มีความชำนาญ เช่น สำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาความเหมาะสมของการจัดทำงบประมาณหรือการใช้จ่ายเงินเพื่อการลงทุน เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงของประเทศได้ทราบและเห็นทิศทางการพัฒนา และการใช้ทรัพยากรของชาติในทุกประเภทและทุกมิติ ทำให้การใช้จ่ายเงินขาดความรอบคอบ ไม่รัดกุม ไม่เกิดประสิทธิผล
2. รายได้ที่ได้จากทรัพยากรของชาติ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรของประชาชนชาวไทยทุกคนถูกกำหนดให้มีกลุ่มบุคคลทำการบริหารการใช้จ่าย โดยมิได้พิจารณาถึงความเหมาะสมอย่างเพียงพอและไม่มีการสอบทานการตั้งงบประมาณการใช้จ่ายจากองค์กรที่มีบุคลากรซึ่งมีความรู้และความชำนาญ จึงทำให้การใช้จ่ายเงินไม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
สตง.เห็นว่าควรให้สำนักงาน กสทช. นำส่งเงินรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ จำนวน 50,862.00 ล้านบาท เป็นรายแผ่นดิน และเมื่อมีโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนก็ให้เสนอโครงการเพื่อขอรับการจัดสรรเงินต่อไป มิใช่ให้ กสทช.จัดการเองอย่างใดก็ได้ตามอำเภอใจ
3. คุณสมบัติและการได้มาซึ่งกรรมการ กสทช. เลขธิการ กสทช. และคณะกรรมการติดตามประเมินผลการประเมินผลงานปฏิบัติงาน
สตง. เห็นว่า การกำหนดอายุของผู้เป็นกรรมการใน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. อาจไม่เหมาะสมในเรื่องวัยวุฒิและวุฒิภาวะในการเข้ามาดูแลทรัพยากรของชาติที่ มีมูลค่ามหาศาลและมีความสำคัญในเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารและความมั่นคงของ ประเทศ นอกจากนี้ สตง.เห็น ว่ากระบวนการได้มาอาจไม่เหมาะสม เนื่องจากอาจมีความไม่โปร่งใสและอาจถูกแทรกแซงจากกลุ่มผลประโยชน์ในธุรกิจ นี้ เนื่องจากการคัดเลือกกันเองก่อนจะมีการสรรหา
การได้มา - เลขาธิการ กสทช.
สตง. เห็นว่า กระบวนการได้เลขาธิการ กสทช. มา ไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากไม่มีการคานอำนาจกันระหว่าง กสทช. และเลขาธิการ กสทช. เพราะ กสทช. มีอำนาจแต่งตั้งและถอนถอนเลขาธิการ กสทช. ดังนั้น จึงควรกำหนดให้มีการสรรหาเลขาธิการ กสทช.เช่นกัน
4. ความชัดเจนเรื่องของอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการติดตามประเมินผลฯ
สตง. เห็น ว่า อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการติดตามประเมินผลฯ หากไม่ชัดเจนและอาจซ้ำซ้อนกับหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบภายใน (Audit committee)
และจากการตรวจสอบการตั้งงบประมาณและการใช้จ่ายเงินพบว่า คณะกรรมการติดตามประเมินผลฯ(คณะนี้มีแค่ 5 คน) มีการใช้จ่ายเงินในปี 2556 จำนวน 52.00 ล้านบาท และมีการของบประมาณเพื่อใช้จ่ายในการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามประเมิน ผลฯ ในปี 2557 จำนวน 170.00 ล้านบาท ซึ่งมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 200 จากจำนวนค่าใช้จ่ายในปีก่อน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการดำเนินการในลักษณะของสำนักงานและมีบุคลากรเป็นการเฉพาะ ซึ่งมีเนื้องานที่ซ้ำซ้อนกับการตรวจสอบภายในได้
สตง. จึงขอเสนอข้อตรวจพบดังกล่าว ให้กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อประกอบการพิจารณาทบทวนพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และการกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (คือเสนอยุบหรือยกเลิก กสทช.นั้นเอง) พร้อมกับขอให้ คสช. แจ้งสำนักงาน กสทช. นำเงินรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ จำนวน 50,862.00 ล้านบาทส่งเป็นรายได้แผ่นดินในเบื้องต้นก่อน แล้วจึงให้เสนอของบประมาณเพื่อดำเนินโครงการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ สาธารณชนในด้านการกระจายเสียงโทรทัศน์และคมนาคมอย่างคุ้มค่า ยั่งยืนและแท้จริงต่อไป

Cr: Paisal Puechmongkol

6 ความคิดเห็น:

  1. กสทช. เจอหนัก ผลาญงบกันสนุกสนาน เจอ สตง. ร่อนหนังสือ ผลสอบ การใช้งบปี 2556 ไม่เหมาะสม มีรายได้สูงกว่ารายจ่าย 8.346 พันล้านบาท แต่ ส่งเงินเข้ารัฐ แค่ 939 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 180.67 ล้านบาท เหตุใช้เงินเกินตัว กับหาทางเลี่ยงส่งรัฐ ด้วยการกันเงิน ใช้ในงบภาระผูกพันสูง โดย สตง.สั่งให้ ทบทวนเงินที่กันไว้ หากไม่มีการใช้จ่ายตามภาระผูกพัน ภายใน 2 ปี ต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ในขณะที่ หน่วยงานราชการทั่วไป มีเงื่อนไขเวลาแค่ 1 ปี

    นอกจากนี้ พบมีรายจ่ายก้อนโตมาก 5 รายการ โดยค่าจ้างที่ปรึกษาสูงสุดเป็นอันดับแรก ค่าจ้างที่เกิน 3 ล้านบาท เป็นจำนวน 25 สัญญา เป็นเงิน 368 ล้านบาท จ้างที่ปรึกษาดูงานต่างประเทศ 4 สัญญา 53.98 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์สูงเป็นอันดับสอง กว่า 300 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ 250.26 ล้านบาท

    สตง. เจาะไปที่ "ค่าจ้างที่ปรึกษา" พบว่า มี 4 สัญญาจ้างรวมมูลค่า 53.98 ล้านบาท ได้รวมการศึกษาดูงาน ในต่างประเทศเข้าไปด้วย .ตั้งข้อสังเกตว่า การกำหนดเงื่อนไขสัญญาจ้างเช่นนี้ อาจหมายถึงการบิดเบือน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ หากนำค่าใช้จ่ายที่แฝงนี้ ไปรวมกับหมวดการเดินทางไปต่างประเทศ จะทำให้มีค่าใช้จ่ายไปต่างประเทศสูงถึง 304.24 ล้านบาท กลายเป็นรายจ่ายสูงสุดทันที

    ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป ต่างประเทศของ 11 กสทช.รวมอยู่ที่ 61.57 ล้านบาท คิดเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของค่าใช้จ่ายเดินทาง ไปต่างประเทศของ ทั้งสำนักงาน กสทช.และยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 31.24 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่ารับรอง และค่าใช้จ่ายที่สำนักงาน กสทช.ไม่สามารถแจกแจงรายละเอียดได้ด้วย

    โดย สตง.ระบุว่า การใช้งบฯเช่นนี้ กสทช.อาจถูกตั้งคำถามจากสาธารณชนได้ว่า มีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดที่ต้องมีการเดินทางไปต่างประเทศและหากมีการเดินทางไปต่างประเทศเกิน 120 วันเช่นนี้จะเหลือวันทำงานในการบริหารงานในสำนักงาน กสทช.ให้เกิดประสิทธิภาพได้จริงหรือไม่

    งบประมาณการเดินทางของ กสทช. 11 คน พี่โจ ของน้องโต้ง เมียนอกกฎหมายสูงสูด
    1. พ.อ.ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ จำนวน 18 ครั้ง 122 วัน เป็นเงิน 13,102,013.50 บาท
    2. พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ จำนวน 20 ครั้ง 129 วัน เป็นเงิน 12,031,263.57 บาท
    3. พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี จำนวน 7,263,252 บาท
    4. ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตภาษ์นันท์ จำนวน 6,088,684 บาท
    5. พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ จำนวน 5,517,250 บาท
    6. พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร จำนวน 5,333,514 บาท
    7. พ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า จำนวน 4,436,078.57 บาท
    8. ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ จำนวน 4,133,915.15 บาท
    9. รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ จำนวน 1,528,769.37 บาท
    10. น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ จำนวน 1,526,050 บาท
    11. นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา จำนวน 629,466 บาท

    ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ แบ่งเป็นค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 1.41 ล้านบาท ค่าที่พัก 14.28 ล้านบาท ค่าพาหนะ จำนวน 14.64 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จำนวน 31.24 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นั้น เป็นค่ารับรอง และค่าใช้จ่ายอื่นที่สำนักงาน กสทช.ไม่สามารถแจกแจง รายละเอียดได้ !!

    ตอบลบ
  2. เพิ่งอนุมัติอีก 60 ล้านสดๆร้อนๆ ปชส เรื่องดิจิตอลทีวีอีกรอบ!!!

    ตอบลบ
  3. ตรวจสอบแล้ว เมื่อพบทุจริตจริงก็รีบจัดการตามกฎหมายซะทีสิคะ

    ตอบลบ
  4. ตายอดตายอยากมาจากไหน ไม่เห็นใจปชช.ผู้เสียภาษีเลย ความละอายไม่มี ยุบเลย แล้วเรียกเงินที่ผลาญคืนมา

    ตอบลบ
  5. สมควรยุบ อยู่ๆโผล่มาจากไหนไม่รู้ มากินรวบคลื่นของประเทศ จัดประมูล แต่ไม่เอาเงินเข้ารัฐ แต่กลับไปใช้เงินสุรุ่ยสุร่ายเหมือนสามล้อถูกหวย ใช้เงินแบบไม่มีต้นทุน ไม่มีการลงทุนห่าอะไรนอกจากเงินเดือนแสนแพง...........ทราบมาว่าเงินเดือนคนละสามสี่แสน+ที่ปรึกษา3คนคนละ1-1.2แสนบาทต่อเดือน แล้วมีอะไรยืนยันว่าคนพวกนี้ไม่มีใต้โต๊ะ

    แม้แต่เรื่องเล็กๆแต่รบกวนและเอาเปรียบผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ คือเรื่องSMSโฆษณาที่ส่งเข้าไปกวนใจเจ้าของเลขหมาย ไม่เห็นจะแก้ได้เลย โกหกทั้งเพแม้โทรแจ้งระงับก็ได้แค่ระยะสั้นๆ หลังจากนั้นมันก็ส่งเข้าไปกวนใจเหมือนเดิม เสนออ่านข่าวฟรี เสนอดูดวง เสนอสารพัด โคตรเซ็ง..เจอทุกวัน สิทธิผู้บริโภคที่ถูกเจ้าของเครือข่ายละเมิดชัดๆ อย่ามาอ้างไม่รู้เห็นเป็นใจเพราะนั่นคือส่วนแบ่งรายได้ร่วมกัน

    ทำไมกสทช.ไม่ออกกฏผู้ให้บริการปล่อยให้ละเมิดต้องชดใช้ค่าปรับสูงๆหลักแสนหลักล้านในแต่ละเบอร์ที่ยื่นฟ้อง ออกกฏอย่างนี้แล้วเชื่อว่าเจ้าของค่ายไม่กล้าปล่อยให้เกิดขึ้นหรอก ยุบไปเลยเห็นด้วย ยุบ ยุบ ยุบ

    ตอบลบ
  6. คนเราพอได้เข้ามาใหญ่ก็หลงตัวพอจะถูกทวงอำนาจคืนก็ดิ้นรนหาทางรักษาอำนาจไว้ ก็แหมงานสบายๆรายได้ดีหาได้ง่ายๆที่ไหน ไม่ต้องทำงานหนักทำตัวเป็นเทวดาเข้าไว้. มีเงินให้เที่ยวสบายมือ. (ชาติชิบหายช่างมัน)...

    ตอบลบ