เพลงฉ่อยชาววัง

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา







สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับรถยนต์วิ่ง ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีกี่สะพาน..... คำตอบคือ 21 สะพาน รวมโครงข่ายทางพิเศษแล้ว สะพานที่มีปริมาณการจราจร มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานพระราม 5 สะพานพระราม 9 สะพานกาญจนาภิเษก และสะพาน สมเด็จพระเจ้าตากสิน

1.สะพานกรุงธน หรือ สะพานซังฮี้ ถ.ราชวิถี เชื่อมเขตดุสิต- เขตบางพลัด ปี 2500 ความยาวสะพาน 366.20 เมตร สูง 7.50 เมตร
2.สะพานกรุงเทพ เชื่อมสี่แยก ถ.ตก เขตบางคอแหลม ทางฝั่งพระนคร-สี่แยกบุคคโล ทางฝั่งธนบุรี ปี 2502 ความยาวสะพาน ช่วงกลางน้ำ 226 เมตร สูง 7.50 เมตร

3.สะพานกาญจนาภิเษก ส่วนหนึ่งของถ.กาญจนาภิเษก ช่วงทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์ ข้ามท้องที่ ต.บางจาก เขตเทศบาลเมือง ลัดหลวง-ต.บางหัวเสือเขตเทศบาล ต.สำโรงใต้ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ปี 2550 สูง 52 เมตร เป็นสะพานขึง ที่มีช่วงกลางแม่น้ำยาวที่สุดในประเทศคือ 500 เมตร 

4.สะพานนครนนทบุรี เชื่อมพื้นที่ต.บางกร่าง และต.บางศรีเมือง-ต.สวนใหญ่ และ ต.ตลาดขวัญ ปี 2554 ความยาวสะพาน 500 เมตร สูง 9 เมตร

5.สะพานนนทบุรี หรือ สะพานนวลฉวี ข้ามแยกสวนสมเด็จ-แยกบางคูวัด ปี 2502 ความยาวสะพาน 260.20 เมตร สูง 7.50 เมตร

6.สะพานปทุมธานี ส่วนหนึ่งของถ.ปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว-บางเลน ปี 2527 สูง 7.80 เมตร ความยาวสะพาน 239.10 เมตร

7.สะพานพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี เชื่อมถ.รัตนาธิเบศร์ ปี 2528 สูง 7.40 เมตร ความยาวสะพาน 329.10 เมตร 

8.สะพานพระนั่งเกล้าใหม่ อยู่ด้านเหนือ ของสะพานพระนั่งเกล้าเดิม เชื่อมต่อกับ ช่องทางหลักของ ถ.รัตนาธิเบศร์ ปี 2551 ความยาวสะพาน 2 กิโลเมตร เป็นสะพานคอนกรีตบล็อก ที่มีช่วงกลางแม่น้ำยาว ที่สุดในโลก สูง 16.40 เมตร

9.สะพานพระปกเกล้า เคียงขนานกันกับ สะพานพระพุทธยอดฟ้า ปี 2527 ความยาวสะพาน 348.20 เมตร สูง 8.90 เมตร 

10.สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ หรือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปลายถ.ตรีเพชร ปี 2475 ความยาวสะพาน 229.76 สูง 7.50 เมตร

11.สะพานพระราม 3 เชื่อมถ.รัชดาภิเษกฝั่งธนบุรี-ถ.พระรามที่ 3 ฝั่งพระนคร ปี 2543 สูง 34 เมตร เป็นสะพานคอนกรีต ที่มีช่วงกลางยาว ที่สุดของประเทศ คือ 226 เมตร และเป็นอันดับที่ 17 ของโลก

12.สะพานพระราม 4 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศเหนือ ของเกาะเกร็ด เชื่อมต.บางตะไนย์-ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นส่วนต่อจาก สะพานลอยรถข้ามห้าแยกปากเกร็ด ตามแนว ถ.แจ้งวัฒนะ ปี 2549 สูง 5.60 เมตร ความยาวสะพาน 278 เมตร 

13.สะพานพระราม 5 ตั้งอยู่บริเวณวัดนครอินทร์ อ.เมือง นนทบุรี เชื่อมต่อกับถ.ติวานนท์-เพชรเกษม-รัตนาธิเบศร์ ปี 2545 ความยาวสะพาน 939 เมตร สูง 7.90 เมตร

14.สะพานพระราม 6 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างเขตบางซื่อ- เขตบางพลัด ความยาวสะพาน 443.60 เมตร บนสะพานข้างหนึ่ง เป็นทางรถไฟ สูง 10 เมตร ปี 2469 และเปิดใหม่เมื่อบูรณะหลังถูกระเบิดเสียหาย ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 2496 
15.สะพานพระราม 7 เชื่อมเขตบางซื่อ-อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ปี 2535 ความยาวสะพาน 934 เมตร สูง 5.50 เมตร

16.สะพานพระราม 8 เชื่อมต่อโครงการ ทางคู่ขนานลอยฟ้า ถ.บรมราชชนนี ผ่านถ.อรุณอมรินทร์ ข้ามแม่น้ำไปบรรจบ ถ.วิสุทธิกษัตริย์ ปี 2545 สูง 11.50 เมตร ความยาวสะพาน 300 เมตร ยาวที่สุดในโลก ในประเภทสะพานขึง แบบอสมมาตร กับทางยกระดับ ไม่มีเสาหรือตอม่อกลางน้ำ

17.สะพานพระราม 9 เป็นส่วนหนึ่ง ของทางด่วนเฉลิมมหานคร สายดาวคะนอง-ท่าเรือ เชื่อมเขตยานนาวา-เขตราษฎร์บูรณะ ปี 2530 สูง 41 เมตร ความยาวสะพาน 782 เมตร เป็นสะพานขึงแห่งแรกของไทยและมีช่วงกลางยาวที่สุดในโลก 

18.สะพานพระราม 9 (2) คู่ขนานสะพานพระราม 9 เป็นส่วนหนึ่ง ของโครงการทางพิเศษศรีรัช-ดาวคะนอง เป็นสะพานคู่แฝด ของสะพานพระราม 9 ขนาดความยาวและสูง เท่ากัน

19.สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม เชื่อม ต.ทรงคนอง-ต.บางหญ้าแพรก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ปี 2549 สูง 50 เมตร ความยาวสะพาน 398 เมตร

20.สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เชื่อม ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า เขตพระนคร-เขตบางพลัดและบางกอกน้อย ปี 2516 ความยาวสะพาน 622 เมตร สูง 11.50 เมตร

21.สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือ สะพานสาทร เชื่อมถ.สาทรเขตสาทร และบางรัก-ถนนกรุงธนบุรี เขตคลองสาน ปี.2525 ความยาวสะพาน 224 เมตร สูง 12 เมตร
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เตรียมดีด 3 สะพานใหญ่ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สะพานพระพุทธยอดฟ้า สะพานซังฮี้ และสะพานนวลฉวี ให้สูงขึ้นจากระดับผิวน้ำ ตามมาตรฐาน 5.6 เมตร เพื่อแก้ปัญหา การเดินเรือแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงน้ำขึ้น ให้สามารถเดินเรือได้

สะพานพุทธมีความสูง จากระดับผิวน้ำเพียง 4.7 เมตร สะพานซังฮี้สูงจากระดับผิวน้ำที่ 5.1 เมตร และสะพานนวลฉวีสูงจากผิวน้ำ 5.3 เมตร

1 ความคิดเห็น: