เพลงฉ่อยชาววัง

วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

“ Ebola ..เมื่อมาถึงไทย...รับมืออย่างไร?



“ Ebola ..เมื่อมาถึงไทย...รับมืออย่างไร?” ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ คุณหมอนักวิจัย ผลงานระดับโลก หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญ เฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าว ว่า

โรค Ebola ไม่ใช่โรคใหม่ มีมาเกือบ 40 ปี ระบาดมาแล้วกว่า 20 ครั้ง พบผู้ป่วยประมาณ 500 - 600 ราย แต่ยังสามารถควบคุมโรคได้ดี การระบาดครั้งนี้ ก็เช่นกัน ตลอดระยะเวลาเกือบ 5 เดือน ยังจำกัดวงระบาดอยู่ใน 3 ประเทศแอฟริกา คือ กินี ไลบีเรีย และ เซียร์ราลีโอน โดยข้อมูลเมื่อ 27 ก.ค. มีรายงานผู้ป่วยแล้วมากกว่า 1,323 ราย เสียชีวิต 729 คน ไม่กระจายไปยังประเทศ หรือภูมิภาคอื่น ส่วนสาเหตุ ที่ยังควบคุมการระบาดไม่ได้ เพราะเกิดขึ้น ในหมู่บ้านที่ค่อนข้างยากจน ยังต้องมีการล่าสัตว์ ซึ่งสัตว์ป่าเป็นแหล่งโรค และห่างไกล การเข้าถึงด้านสาธารณสุข แพทย์มีน้อย นอกจากนี้ ยังมีความรู้น้อย และมีความเชื่อบางอย่าง ทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้มากขึ้น เช่น ทำความสะอาดศพ ด้วยมือเปล่าก่อนฝัง เชื่อว่า Ebola ยังไม่ระบาด และการไปโรงพยาบาล จะโดนขโมยอวัยวะ

โรค Ebola มีระยะฟักตัว 2 - 21 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง เฉียบพลัน อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย การอักเสบของตับ ไต รวมถึงมีเลือดออก คล้ายโรคไข้เลือดออก เนื่องจากเชื้ออีโบลาทำให้การแข็งตัวของเลือดเสีย จึงทำให้มีอาการอาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล เลือดออก ในอวัยวะภายใน และจะตายภายในสัปดาห์ที่ 2 ซึ่งอัตราป่วยตายอยู่ที่ 50 - 90% ยังไม่มียารักษาเฉพาะ และวัคซีนป้องกัน ต้องรักษาตามอาการ ซึ่งในคนที่มีภูมิต้านทานดี ร่างกาย จะสามารถกำจัดเชื้อโรคได้เอง และหายเป็นปกติได้ ซึ่งที่ผ่านมา อัตราการรอดชีวิตคือ 40%

แม้จะเป็นการติดต่อจากคนสู่คน แต่การแพร่กระจาย เชื้อค่อนข้างต่ำ เพราะต้องเป็นการสัมผัสเชื้อโดยตรง จากสารคัดหลั่ง ของผู้ป่วยเป็นโรค ทั้งอาเจียน ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำตา น้ำลาย เลือด ซึ่งโดยทั่วไปผิวหนังปกติ จะป้องกันการเข้า ของเชื้อโรคได้ เว้นแต่จะมีบาดแผล หรือมือไปแตะต้องแล้ว มาขยี้ตา แคะจมูก หรือหยิบจับอาการแล้วกิน จึงทำให้ติดเชื้อได้ แต่ไม่พบการติดต่อกัน ทางเดินหายใจ การแพร่เชื้อจึงน้อย กว่าไข้หวัด นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่อยู่ระยะฟักตัวและยังไม่มีอาการของโรค โอกาสแพร่กระจาย ไปสู่ผู้อื่นน้อยมาก ดังนั้น การเดินสวนกับชาวแอฟริกัน หรือการพูดคุย ไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อ

โอกาสการระบาดของ โรค Ebola มาประเทศไทย ถือว่าต่ำมาก เพราะการที่เชื้อ จะเข้ามาประเทศไทยได้นั้น ต้องเป็นช่องทางจาก “คน” เท่านั้น โดยอาจเป็นคนไทย ที่ไปในพื้นที่ระบาด หรือคนในพื้นที่ระบาด เดินทางมายังประเทศไทย แต่คนที่ติดเชื้อ Ebola ในพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นคนยากจน คงไม่มีโอกาสเดินทาง โดยเครื่องบินเข้ามา ยังประเทศไทยได้

นอกจากนี้ ยังเป็นโรคที่มีความรุนแรง และอัตราตายสูง เมื่อป่วยมีอาการ จะไม่สามารถเดินทางไกลได้ และจากการตรวจสอบก็พบว่า ไม่มีสายการบินใด ที่บินตรงจากพื้นที่ระบาดมายังประเทศไทย ขณะที่สนามบิน มีมาตรการเฝ้าระวังอยู่แล้ว โดยผู้โดยสารต้องแสดงตัว ในขั้นตอน การตรวจคนเข้าเมือง ทำให้สามารถติดตามตัว ได้จนครบ 21 วัน ตามระยะฟักตัวของโรค ส่วนคนไทย ที่เดินทางไปพื้นที่ระบาด ก็ต้องมีการให้ความรู้ เมื่อกลับมาแล้วมีไข้ ให้รีบไปพบแพทย์ และแจ้งประวัติการเดินทาง

หากมีการตรวจพบ ผู้ป่วยโรค Ebola ในประเทศไทย เชื่อมั่นว่า ระบบทางการแพทย์ และสาธารณสุขไทย สามารถรับมือ ควบคุมได้และ ไม่ก่อให้เกิดการระบาด เนื่องจากมีประสบการณ์ ในการควบคุมโรคซาร์ส ได้อย่างประสบความสำเร็จ ทั้งที่อำนาจในการติดโรคของซาร์ส สูงกว่า Ebola โดยอัตราการแพร่เชื้อของโรคซาร์สจาก 1 คนไปได้ถึง 3 คน มากกว่าเชื้อ Ebola ที่แพร่จาก 1 คนไปได้ 1-2 คนเท่านั้น นอกจากนี้ โรงพยาบาลระดับโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลชุมชนบางแห่ง ยังมีห้องแยก แบบ Negative Pressure Room ในการแยกผู้ป่วยติดเชื้อด้ว

กรณีพบผู้ต้องสงสัยชาวแอฟริกัน ป่วยโรค Ebola ที่ฮ่องกง และอังกฤษ ผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ระบุชัดแล้วว่า ไม่ใช่เชื้อ Ebola การระบาดจึงยังจำกัด อยู่เพียง 3 ประเทศ ส่วนไนจีเรียที่พบผู้ป่วย และเสียชีวิต 1 ราย ยังไม่ถือว่าเป็นประเทศ ที่มีการระบาด จนกว่าจะพบผู้ป่วยรายที่ 2 หรือ 3 แต่หากพ้นระยะฟักตัว 21 วันแล้ว ไม่พบผู้ป่วย ประเทศไนจีเรียก็จะถือ เป็นเขตปลอดโรคนี้

ศ.นพ.นรินทร์ หิรัญสิทธิคุณ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกัน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แจงว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ดำเนินการสำรวจ ค้างคาว จำนวน 699 ตัว ลิง 50 ตัว ปรากฏว่าไม่พบเชื้อ Ebola ประเทศไทยจึง ไม่มีแหล่งรังโรค Ebola ในธรรมชาติ และจากการศึกษา เมื่อปี 2547 โดยการนำผู้ป่วย 1 คนไปอยู่ในชุมชน ที่มีความเสี่ยง พบว่า ผู้ป่วยโรค Ebola ทำให้คนอื่นเป็นโรคได้ 1 - 2 คน ขณะที่ผู้ป่วยโรคมาลาเรีย 1 คน ทำให้ป่วย 5 - 100 คน และโรคหัด ทำให้ป่วย 12 - 18 คน แสดงให้เห็นว่าโรค Ebola โอกาสแพร่เชื้อไม่มาก และต่ำกว่าโรคอื่นอีกมาก
Photo: “ Ebola ..เมื่อมาถึงไทย...รับมืออย่างไร?” ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ คุณหมอนักวิจัย ผลงานระดับโลก หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญ เฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าว ว่า โรค Ebola ไม่ใช่โรคใหม่ มีมาเกือบ 40 ปี ระบาดมาแล้วกว่า 20 ครั้ง พบผู้ป่วยประมาณ 500 - 600 ราย แต่ยังสามารถควบคุมโรคได้ดี การระบาดครั้งนี้ ก็เช่นกัน ตลอดระยะเวลาเกือบ 5 เดือน ยังจำกัดวงระบาดอยู่ใน 3 ประเทศแอฟริกา คือ กินี ไลบีเรีย และ เซียร์ราลีโอน โดยข้อมูลเมื่อ 27 ก.ค. มีรายงานผู้ป่วยแล้วมากกว่า 1,323 ราย เสียชีวิต 729 คน ไม่กระจายไปยังประเทศ หรือภูมิภาคอื่น ส่วนสาเหตุ ที่ยังควบคุมการระบาดไม่ได้ เพราะเกิดขึ้น ในหมู่บ้านที่ค่อนข้างยากจน ยังต้องมีการล่าสัตว์ ซึ่งสัตว์ป่าเป็นแหล่งโรค และห่างไกล การเข้าถึงด้านสาธารณสุข แพทย์มีน้อย นอกจากนี้ ยังมีความรู้น้อย และมีความเชื่อบางอย่าง ทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้มากขึ้น เช่น ทำความสะอาดศพ ด้วยมือเปล่าก่อนฝัง เชื่อว่า Ebola ยังไม่ระบาด และการไปโรงพยาบาล จะโดนขโมยอวัยวะ โรค Ebola มีระยะฟักตัว 2 - 21 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง เฉียบพลัน อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย การอักเสบของตับ ไต รวมถึงมีเลือดออก คล้ายโรคไข้เลือดออก เนื่องจากเชื้ออีโบลาทำให้การแข็งตัวของเลือดเสีย จึงทำให้มีอาการอาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล เลือดออก ในอวัยวะภายใน และจะตายภายในสัปดาห์ที่ 2 ซึ่งอัตราป่วยตายอยู่ที่ 50 - 90% ยังไม่มียารักษาเฉพาะ และวัคซีนป้องกัน ต้องรักษาตามอาการ ซึ่งในคนที่มีภูมิต้านทานดี ร่างกาย จะสามารถกำจัดเชื้อโรคได้เอง และหายเป็นปกติได้ ซึ่งที่ผ่านมา อัตราการรอดชีวิตคือ 40% แม้จะเป็นการติดต่อจากคนสู่คน แต่การแพร่กระจาย เชื้อค่อนข้างต่ำ เพราะต้องเป็นการสัมผัสเชื้อโดยตรง จากสารคัดหลั่ง ของผู้ป่วยเป็นโรค ทั้งอาเจียน ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำตา น้ำลาย เลือด ซึ่งโดยทั่วไปผิวหนังปกติ จะป้องกันการเข้า ของเชื้อโรคได้ เว้นแต่จะมีบาดแผล หรือมือไปแตะต้องแล้ว มาขยี้ตา แคะจมูก หรือหยิบจับอาการแล้วกิน จึงทำให้ติดเชื้อได้ แต่ไม่พบการติดต่อกัน ทางเดินหายใจ การแพร่เชื้อจึงน้อย กว่าไข้หวัด นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่อยู่ระยะฟักตัวและยังไม่มีอาการของโรค โอกาสแพร่กระจาย ไปสู่ผู้อื่นน้อยมาก ดังนั้น การเดินสวนกับชาวแอฟริกัน หรือการพูดคุย ไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อ โอกาสการระบาดของ โรค Ebola มาประเทศไทย ถือว่าต่ำมาก เพราะการที่เชื้อ จะเข้ามาประเทศไทยได้นั้น ต้องเป็นช่องทางจาก “คน” เท่านั้น โดยอาจเป็นคนไทย ที่ไปในพื้นที่ระบาด หรือคนในพื้นที่ระบาด เดินทางมายังประเทศไทย แต่คนที่ติดเชื้อ Ebola ในพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นคนยากจน คงไม่มีโอกาสเดินทาง โดยเครื่องบินเข้ามา ยังประเทศไทยได้ นอกจากนี้ ยังเป็นโรคที่มีความรุนแรง และอัตราตายสูง เมื่อป่วยมีอาการ จะไม่สามารถเดินทางไกลได้ และจากการตรวจสอบก็พบว่า ไม่มีสายการบินใด ที่บินตรงจากพื้นที่ระบาดมายังประเทศไทย ขณะที่สนามบิน มีมาตรการเฝ้าระวังอยู่แล้ว โดยผู้โดยสารต้องแสดงตัว ในขั้นตอน การตรวจคนเข้าเมือง ทำให้สามารถติดตามตัว ได้จนครบ 21 วัน ตามระยะฟักตัวของโรค ส่วนคนไทย ที่เดินทางไปพื้นที่ระบาด ก็ต้องมีการให้ความรู้ เมื่อกลับมาแล้วมีไข้ ให้รีบไปพบแพทย์ และแจ้งประวัติการเดินทาง หากมีการตรวจพบ ผู้ป่วยโรค Ebola ในประเทศไทย เชื่อมั่นว่า ระบบทางการแพทย์ และสาธารณสุขไทย สามารถรับมือ ควบคุมได้และ ไม่ก่อให้เกิดการระบาด เนื่องจากมีประสบการณ์ ในการควบคุมโรคซาร์ส ได้อย่างประสบความสำเร็จ ทั้งที่อำนาจในการติดโรคของซาร์ส สูงกว่า Ebola โดยอัตราการแพร่เชื้อของโรคซาร์สจาก 1 คนไปได้ถึง 3 คน มากกว่าเชื้อ Ebola ที่แพร่จาก 1 คนไปได้ 1-2 คนเท่านั้น นอกจากนี้ โรงพยาบาลระดับโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลชุมชนบางแห่ง ยังมีห้องแยก แบบ Negative Pressure Room ในการแยกผู้ป่วยติดเชื้อด้วย กรณีพบผู้ต้องสงสัยชาวแอฟริกัน ป่วยโรค Ebola ที่ฮ่องกง และอังกฤษ ผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ระบุชัดแล้วว่า ไม่ใช่เชื้อ Ebola การระบาดจึงยังจำกัด อยู่เพียง 3 ประเทศ ส่วนไนจีเรียที่พบผู้ป่วย และเสียชีวิต 1 ราย ยังไม่ถือว่าเป็นประเทศ ที่มีการระบาด จนกว่าจะพบผู้ป่วยรายที่ 2 หรือ 3 แต่หากพ้นระยะฟักตัว 21 วันแล้ว ไม่พบผู้ป่วย ประเทศไนจีเรียก็จะถือ เป็นเขตปลอดโรคนี้ ศ.นพ.นรินทร์ หิรัญสิทธิคุณ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกัน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แจงว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ดำเนินการสำรวจ ค้างคาว จำนวน 699 ตัว ลิง 50 ตัว ปรากฏว่าไม่พบเชื้อ Ebola ประเทศไทยจึง ไม่มีแหล่งรังโรค Ebola ในธรรมชาติ และจากการศึกษา เมื่อปี 2547 โดยการนำผู้ป่วย 1 คนไปอยู่ในชุมชน ที่มีความเสี่ยง พบว่า ผู้ป่วยโรค Ebola ทำให้คนอื่นเป็นโรคได้ 1 - 2 คน ขณะที่ผู้ป่วยโรคมาลาเรีย 1 คน ทำให้ป่วย 5 - 100 คน และโรคหัด ทำให้ป่วย 12 - 18 คน แสดงให้เห็นว่าโรค Ebola โอกาสแพร่เชื้อไม่มาก และต่ำกว่าโรคอื่นอีกมาก


วารีนา ปุญญาวัณน์


กลับหน้าหลัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น