กริชสุดา คุณะแสน ในช่วงที่เป็นข่าวหลังถูกจับ ครั้งนั้นเธอให้สัมภาษณ์ว่า ไม่มีปัญหาใดๆ
อดีตผู้ถูกเรียกและถูกควบคุมตัว “กริชสุดา” ให้สัมภาษณ์ในต่างประเทศระบุถูกเจ้าหน้าที่ทหารที่ควบคุมตัวทำร้าย เผยเดินทางออกนอกทันทีที่ได้รับการปล่อยตัวและขณะนี้ทำเรื่องขอลี้ภัยอยู่ต่างประเทศพร้อมเดินหน้าเปิดเผยสิ่งที่เกิดขึ้นกับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ด้านโฆษกคสช.ยืนยันเรื่องเช่นนี้ทหารไม่ทำและพร้อมออกมาให้สัมภาษณ์คู่กันเพื่อทำความจริงให้ปรากฏ
วันที่ 2 กค.ที่ผ่านมาในโลกของผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้มีการแชร์ข่าวสารชิ้นหนึ่ง นั่นคือความเคลื่อนไหวของนส.กริชสุดา คุณะแสน หรือเปิ้ล โดยเฉพาะการที่นส.กริชสุดาได้ออกมาให้สัมภาษณ์นายจอม เพชรประดับ นักจัดรายการโทรทัศน์ปรากฏในคลิปที่เผยแพร่ในยูทูป เนื้อหาการสัมภาษณ์กล่าวถึงเรื่องราวขณะที่ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหารก่อนหน้านี้ ประเด็นสำคัญระบุว่า สิ่งที่เคยให้สัมภาษณ์ว่าไม่มีปัญหาใดๆและความเป็นอยู่ระหว่างถูกคุมตัวในช่วงเวลา 27 วันนั้นสุขสบายดีเป็นเรื่องที่ไม่จริงเพราะถูกบังคับให้พูด
บีบีซีไทยได้พูดคุยกับ น.ส.กริชสุดาเพิ่มเติม ได้รับการบอกเล่าว่า ระหว่างที่ถูกคุมตัว ทหารมัดมือ ใช้ผ้าปิดตาและใช้สก็อตเทปพันทับตลอดเวลาเจ็ดวันแรกของการควบคุม และถูกทำร้ายตั้งแต่วันแรก เจ้าหน้าที่ได้เข้าซักถามเรื่องการทำงานของนส.กริชสุดาที่เป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิฟ้าสีทองและช่วยเหลือนักโทษที่เป็นกลุ่มคนเสื้อแดง ในระหว่างการซักถามถูกทำร้ายร่างกายเช่นแตะและต่อยไปด้วย รวมทั้งถูกทรมานด้วยการใช้ถุงคลุมศีรษะไม่ให้มีอากาศหายใจ แล้วถูกนำตัวใส่ถุงผ้าห่อในลักษณะเหมือนห่อศพ ซึ่งทำให้หมดสติ แต่เจ้าหน้าที่ได้ใช้น้ำสาดเพื่อให้ฟื้นขึ้นมาตอบคำถาม น.ส.กริชสุดา บอกว่าเนื่องจากถูกมัดมือตลอดเวลา ทุกครั้งที่จะอาบน้ำจะมีผู้เปลื้องผ้าอาบน้ำให้ ถอดกางเกงให้หากต้องการขับถ่าย
น.ส.กริชสุดา บอกว่าในการให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่ออกไปก่อนหน้านี้นั้น ทหารชั้นผู้ใหญ่ได้สั่งให้ตอบคำถามที่สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ทหาร และเธอต้องพูดว่าชีวิตความเป็นอยู่ในระหว่างถูกควบคุมตัวนั้นไม่มีปัญหาอย่างใด และแม้จะคุมตัวเกินกำหนดเจ็ดวัน แต่เธอเป็นผู้ขออยู่ต่อเองเพื่อความปลอดภัย อย่างไรก็ดีก็ได้พยายามสื่อเป็นนัยว่ามีปัญหาด้วยการใช้คำพูดที่ว่า "มีความสุขสบายจนเกินที่จะพูด" และ "สุขสบายดีไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไร"เพื่อให้บุคคลภายนอกได้มองเห็นความผิดปกติ
“ที่ผู้ถูกคุมตัวคนอื่น ๆ บอกว่าได้รับการปฏิบัติอย่างดีจากทหารนี่ก็เพราะคนเหล่านั้นอยู่ในเมืองไทย จะมีใครกล้าพูดความจริง แต่สำหรับหนูคิดว่าอยู่เมืองไทยไม่ได้อีกแล้วต้องออกมาบอกให้โลกรู้ว่ามันไม่จริง หนูไม่คิดกลับเมืองไทยอีกแล้ว อยากเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่มีความเสรีดีกว่า”
ก่อนที่นส.กริชสุดาจออกมาให้สัมภาษณ์ยืนยันกับสื่อและสาธารณะว่าการอยู่ภายใต้การควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ไม่มีปัญหานั้น เพื่อนและคนรู้จักนส.กริชสุดาหลายคนได้ตั้งคำถามผ่านทางสื่อประเภทโซเชียลมีเดียขอคำอธิบายจากเจ้าหน้าที่เนื่องจากนส.กริชสุดาไม่ได้รับการปล่อยตัวเช่นคนอื่นๆตลอดจนไม่มีข่าวใดๆออกมา หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ออกมายืนยันว่านส.กริชสุดาปลอดภัยไม่มีปัญหาใดๆและว่าเจ้าตัวต้องการอยู่ต่อเอง แล้วก็ได้นำตัวออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อในเวลาต่อมา
น.ส.กริชสุดา บอกอีกว่า ได้เดินทางออกจากประเทศไทยในวันรุ่งขึ้นทันทีหลังจากที่ได้รับการปล่อยตัวและได้ประสานกับองค์กรต่าง ๆ อาทิองค์การนิรโทษกรรมสากลหรือ Amnesty International และองค์การสหประชาชาติ เพื่อตีแผ่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ขณะนี้ได้ให้ข้อมูลกับทั้งสององค์กรไประดับหนึ่งแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการขอลี้ภัยในประเทศแถบยุโรปและสแกนดิเนเวีย
บีบีซีไทยได้ติดต่อขอความเห็นจากพ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบกและคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคสช. ซึ่งบอกว่า ยังไม่เห็นการให้สัมภาษณ์ดังกล่าวแต่เชื่อว่าไม่น่าจะเป็นความจริง เจ้าหน้าที่ทหารไม่มีการทำร้ายร่างกายและที่ผ่านมาก็ไม่มีใครถูกทำร้ายร่างกาย ทางกองทัพมีวิดีโอที่สามารถจะเปิดเผยให้สาธารณชนตรวจสอบได้
“ข่าวนี้มาจากโซเชี่ยลมีเดียซึ่งไม่น่าเชื่อถืออยู่แล้ว ยืนยันได้ว่ามาตรฐานการปฏิบัติของเราเหมือนกันหมด กระบวนการของเราไม่ได้มีปัญหาใด ๆ ผู้ถูกคุมตัวบางคนเป็นถึงระดับแกนนำก็ไม่เห็นมีใครโดนทำร้าย ทุกคนได้รับการปฏิบัติเหมือนกันหมด เรื่องการถูกทำร้ายผมว่าไม่มีทางเป็นไปได้ เราไม่มีเหตุผลอะไรที่จะทำอย่างนั้น จะทำไปเพื่ออะไร”
พ.อ.วินธัย บอกว่าพร้อมที่จะให้สัมภาษณ์ร่วมกับ น.ส.กริชสุดา เพื่อนำความจริงมายืนยัน
ข่าวเกี่ยวข้อง
"เปิ้ล สหายสุดซอย" นักกิจกรรมสาวเสื้อแดง บินขอลี้ภัยการเมืองในยุโรป
วันที่ 1 ส.ค. มีรายงานว่า น.ส.กริชสุดา คุณะเสน หรือ "เปิ้ล สหายสุดซอย" นักกิจกรรมคนเสื้อแดง ได้เดินทางออกจากประเทศไทยเ พื่อเตรียมตัวดำเนินกระบวนก ารขอลี้ภัยทางการเมืองไปอยู ่ในทวีปยุโรปแล้ว โดยแนวทางการขอลี้ภัยนั้นได ้รับการสนับสนุนจากองค์กรเส รีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและป ระชาธิปไตย ที่มีนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นเลขาธิการ
ขณะเดียวกัน เพจเฟซบุ๊กเพจหนึ่งที่สนับส นุนองค์กรเสรีไทย เปิดเผยว่า ตั้งแค่ค่ำวันอาทิตย์ที่ 3 ส.ค. เป็นต้นไปจะมีการเผยแพร่ซีร ี่ส์ชีวิตจริงของน.ส.กริชสุ ดา ขณะถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว ซึ่งต่างจากที่น.ส.กริชสุดา เคยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน
ก่อนหน้านี้ ในช่วงคสช.เข้าควบคุมอำนาจก ารปกครองประเทศ ได้ส่งทหารเข้าควบคุมตัว น.ส.กริชสุดา คุณะแสน หรือ "เปิ้ล สหายสุดซอย" นักกิจกรรมเสื้อแดงวัย 27 ปี ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา ขณะอยู่ในจ.ชลบุรี ต่อมาเกิดกระแสข่าวลือหนักข ึ้นเรื่อยๆ ว่า น.ส.กริชสุดาถูกทหารทารุณกร รมถึงขั้นเสียชีวิต ขณะที่องค์กรสิทธิมนุษยชน อาทิ กลุ่มฮิวแมนไรท์วอตช์ ซึ่งทีชื่อเสียงระดับโลก แถลงเรียกร้องให้คสช. ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีการคว บคุมตัวน.ส.กริชสุดา พร้อมเรียกร้องให้เผยสถานที ่คุมตัวนั้น
วันที่ 23 มิ.ย. รายการจับประเด็นข่าวร้อน ออกอากาศทางททบ. 5 ได้เผยแพร่ภาพและคำสัมภาษณ์ ของน.ส.กริชสุดา จากสถานที่แห่งหนึ่ง โดยเจ้าตัวยืนยันว่าเจ้าหน้ าที่ปฏิบัติกับตนอย่างดี ไม่ได้ถูกทำร้ายแต่อย่างใด และขอให้ใช้วิจารณญาณในการร ับข้อมูลข่าวสาร นอกจากนั้น ทางคสช. ยังอนุญาตให้แฟนหนุ่มของน.ส .กริชสุดาเข้าไปพบกันและรับ ประทานอาหารด้วยกันอีกด้วย และต่อมาน.ส.กริชสุดาก็ได้ร ับการปล่อยตัว
**********************
วันที่ 1 ส.ค. มีรายงานว่า น.ส.กริชสุดา คุณะเสน หรือ "เปิ้ล สหายสุดซอย" นักกิจกรรมคนเสื้อแดง ได้เดินทางออกจากประเทศไทยเ
ขณะเดียวกัน เพจเฟซบุ๊กเพจหนึ่งที่สนับส
ก่อนหน้านี้ ในช่วงคสช.เข้าควบคุมอำนาจก
วันที่ 23 มิ.ย. รายการจับประเด็นข่าวร้อน ออกอากาศทางททบ. 5 ได้เผยแพร่ภาพและคำสัมภาษณ์
**********************
อันเนื่องมาจากการทรมาน “สุขจนไม่รู้จะพูดอะไร”
อันเนื่องมาจากกรณีการให้สัมภาษณ์ของ น.ส.กริชสุดา คุณะเสน ที่บอกเล่าว่าเธอถูกทรมานในระหว่างที่ถูกคุมตัวในค่ายทหาร ซึ่งทางโฆษกกองทัพบกและคสช. พ.อ.วินธัย สุวารี ได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่น่าจะเป็นความจริง อย่างไรก็ดี ข้อมูลวิธีการทรมานจากปากคำของกริชสุดานั้นน่าสนใจอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นถูกมัดมือ ถูกปิดตาด้วยผ้าและเทปพันทับตลอดเวลาเจ็ดวัน ถูกตบ-เตะ มีถุงคลุมศรีษะไม่ให้มีอากาศหายใจจนหมดสติ ถูกล่วงละเมิดทางเพศด้วยการมีผู้เปลื้องผ้าอาบน้ำให้ ถอดกางเกงให้หากต้องการขับถ่าย ถูกบังคับให้พูดในสิ่งที่ผู้ทรมานอยากฟัง ข้อมูลเหล่านี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงงานเขียนว่าด้วยเป้าหมายของวิธีการทรมานที่เจ้าหน้าที่รัฐหลายประเทศกระทำกับเหยื่อ
***********
การทรมาน (Torture) เป็นวิธีการที่มนุษยใช้กันมาแต่โบราณ แต่เมื่อเข้าสู่ยุคของเหตุผล การทรมานก็ถูกมองว่าเป็นสิ่งป่าเถื่อน ผิดกฎหมาย ไร้ศีลธรรม และขัดต่อหลักการสิทธิมนุษยชน แต่กระนั้น การทรมานก็ยังดำเนินต่อไปในหลายประเทศทั่วโลก และบ่อยครั้งเมื่อถูกเปิดโปง มักถูกอธิบายด้วยข้ออ้างว่าเป็นการทำเพื่อประชาธิปไตย เสรีภาพ และความมั่นคง
ในสังคมไทย กรณีผู้ต้องขังถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนใต้ แต่ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้รับความสนใจจากผู้คนในสังคมนี้มากนัก สื่อมวลชนจะให้ความสนใจก็เฉพาะกรณีที่เหยื่อเป็นบุคคลสำคัญ เช่น กรณีผู้นำศาสนาอิสลามในภาคใต้ถูกทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิต แต่เรื่องราวส่วนใหญ่ก็มักเงียบหายไป ไม่เคยนำไปสู่ความตระหนักถึงภัยคุกคามต่อสิทธิของประชาชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
การทรมานกับประชาธิปไตย
วิธีการทรมานที่เจ้าหน้าที่รัฐทั่วโลกนิยมใช้กัน รวมทั้งทหารอเมริกันที่กระทำกับผู้ต้องขังในคุกเอบูเกรอิบ และค่ายกวนตานาโม คือ ทำให้ขาดอากาศหายใจชั่วขณะ เช่น กดหัวให้จมน้ำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง (water boarding) (กรณีกริชสุดา เอาถุงพลาสติคคลุม), บังคับให้อดนอน, ขังไว้ในห้องที่เย็นจัดในสภาพเปลือยเปล่า รบกวนโสตประสาท (sensory deprivation) (เช่น ใช้แสงจ้า เสียงดัง ความมืด เป็นต้น) ล่วงละเมิดทางเพศ เช่น สอดไม้กระบองเข้าไปทางทวารของนักโทษ ผูกเชือกไว้ที่ขาหรืออวัยวะเพศของนักโทษแล้วลากไปตามพื้นห้อง บังคับให้เปลื้องผ้า ยืนเรียงแถว ถูกคลุมหัว แล้วให้สำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ถูกบังคับให้แสดงการร่วมเพศกับเพศเดียวกัน ผู้คุมปัสสาวะใส่ตัวนักโทษ บังคับให้กลิ้งเกลือกในกองอุจจาระ เป็นต้น
นักประวัติศาสตร์ด้านอุษาคเนย์ เช่น นายอัลเฟรด แมคคอย[1] ชี้ว่าสหรัฐฯมีประวัติการทรมานเหยื่อของตนมาโดยตลอด โดยเฉพาะวิธีการทารุณกรรมทางจิตใจ หรือวิธีการด้านจิตวิทยา ถือเป็นความสามารถเฉพาะของซีไอเอ ซึ่งได้มาจากการวิจัยลับในช่วงสงครามเย็น ที่มุ่งหาทางเปิดรหัสจิตสำนึกของมนุษย์ให้ได้ (the code of human consciousness) ในคู่มือ “Human Resources Exploitation Manual ที่ซีไอเอใช้ฝึกทหารในฮอนดูรัส (และน่าจะส่งผ่านไปยังประเทศอื่นๆ ด้วย) ระบุว่าหลักการทรมานทางจิตใจนั้น ผู้ดำเนินการทรมานจักต้อง “จัดการ (Manipulate) สภาแวดล้อมรอบตัวเหยื่อเพื่อให้เหยื่ออยู่ใต้สถานการณ์ที่ย่ำแย่อย่างยิ่ง หรือในระดับที่ยากจะทนทานได้ ต้องรบกวนทำลายระบบโสตประสาทจนเหยื่อสับสนว่าตนอยู่ในเวลาและสถานที่ใด แมคคอยชี้ว่าวิธีการการทรมานทางจิตใจของซีไอเอประกอบด้วยหลักใหญ่ ๆ ดังนี้
นักประวัติศาสตร์ด้านอุษาคเนย์ เช่น นายอัลเฟรด แมคคอย[1] ชี้ว่าสหรัฐฯมีประวัติการทรมานเหยื่อของตนมาโดยตลอด โดยเฉพาะวิธีการทารุณกรรมทางจิตใจ หรือวิธีการด้านจิตวิทยา ถือเป็นความสามารถเฉพาะของซีไอเอ ซึ่งได้มาจากการวิจัยลับในช่วงสงครามเย็น ที่มุ่งหาทางเปิดรหัสจิตสำนึกของมนุษย์ให้ได้ (the code of human consciousness) ในคู่มือ “Human Resources Exploitation Manual ที่ซีไอเอใช้ฝึกทหารในฮอนดูรัส (และน่าจะส่งผ่านไปยังประเทศอื่นๆ ด้วย) ระบุว่าหลักการทรมานทางจิตใจนั้น ผู้ดำเนินการทรมานจักต้อง “จัดการ (Manipulate) สภาแวดล้อมรอบตัวเหยื่อเพื่อให้เหยื่ออยู่ใต้สถานการณ์ที่ย่ำแย่อย่างยิ่ง หรือในระดับที่ยากจะทนทานได้ ต้องรบกวนทำลายระบบโสตประสาทจนเหยื่อสับสนว่าตนอยู่ในเวลาและสถานที่ใด แมคคอยชี้ว่าวิธีการการทรมานทางจิตใจของซีไอเอประกอบด้วยหลักใหญ่ ๆ ดังนี้
1. สร้างความเจ็บปวดที่ไม่ได้เกิดจากน้ำมือของคนอื่น (self-inflicting pain) การบังคับให้เหยื่ออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ เช่น ยืนกางแขน ไม่ให้นั่ง ห้ามขยับเขยื้อน
2. ทำให้ระบบประสาทสัมผัสผิดเพี้ยน เช่น ปิดตา ใช้ผ้าคลุมหัว ไม่ให้นอนเป็นเวลาติดต่อกันนาน ๆ ขังเดี่ยว อยู่ในอุณหภูมิร้อนจัดหรือหนาวจัด แสงจ้าหรือมืดมิด เสียงดังมากหรือเงียบสงัด เป็นต้น
3. ทำลายอัตลักษณ์เชิงวัฒนธรรมของเหยื่อ เช่น ทำให้อับอายด้วยการล่วงละเมิดทางเพศ บังคับให้ร่วมเพศเดียวกัน บังคับให้มุสลิมกินเนื้อหมู ใช้สุนัข เป็นต้น
4. การทำให้เหยื่อกลัวและหวาดผวา
5. วิธีลูกผสมอื่น ๆ เช่น ทำให้ขาดอากาศหายใจติดต่อกันนาน ๆ จนเหยื่อรู้สึกเหมือนเส้นแบ่งระหว่างชีวิตกับความตายนั้นบางนิดเดียว เช่น กดหัวในน้ำนานๆ จนเหยื่อรู้สึกว่าเข้าใกล้ความตายอย่างยิ่ง
สิ่งที่น่าสนใจคือ การทรมานยุคใหม่เข้าข่าย “การทรมานแบบใสสะอาด” (Clean torture) คือ จะไม่ทิ้งร่องรอยของการทำทารุณกรรมไว้บนร่างกายของเหยื่อ หรือให้มีน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้มีหลักฐานมาเอาผิดกับผู้กระทำทารุณกรรมในภายหลังได้ Rejali ชี้ว่าการทรมานแบบใสสะอาดนี้ ผู้กระทำการทรมานในสังคมประชาธิปไตยยุคใหม่เชี่ยวชาญอย่างยิ่งในการทำร้ายเหยื่อจนหมดสติโดยไม่ทิ้งร่องรอยอะไรไว้ โดยที่ไม่ได้ทำให้เหยื่อเจ็บปวดน้อยกว่าการทรมานที่มีบาดแผลเลย เมื่อไม่มีบาดแผลให้เห็น ข้อกล่าวหาย่อมไม่มีน้ำหนัก มิหนำซ้ำยังทำให้เหยื่อได้รับความเห็นใจจากสาธารณชนน้อยลงไปด้วย
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะรัฐสมัยใหม่ ที่ชอบอ้างอิงประชาธิปไตย ตระหนักว่าสิทธิมนุษยชนคือหลักการที่สำคัญของสังคม รัฐเรียนรู้ที่จะปิดซ่อนความรุนแรงของตนด้วยการคิดค้นเทคนิควิธีการทรมานแบบใสสะอาดขึ้นมา
การทรมานคือหนทางแสวงหาความจริงหรือ?
คำถามที่ฝ่ายที่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ มักถามผู้คนก็คือ หากคุณรู้ว่ามีระเบิดเวลาถูกวางไว้ในที่ชุมชนและกำลังจะระเบิดขึ้นในไม่ช้า คุณจะเห็นด้วยกับการทรมานเพื่อรีดเค้นเอาความลับจากผู้ก่อการร้ายว่าระเบิดอยู่ที่ไหนหรือไม่ ผู้คนส่วนใหญ่ที่เจอกับคำถามนี้ มักตอบว่า เห็นด้วย David Luban เห็นว่าการตั้งคำถามเรื่องระเบิดเวลาคือกลวิธีล่อลวงเพื่อให้ความชอบธรรมกับการทรมาน ว่าคือหนทางแสวงหาความจริงเพื่อปกป้องคนบริสุทธิ์จากการก่อการร้าย แต่สิ่งที่ผู้คนลืมถามไปก็คือ คำถามนี้มีความชอบธรรมเพียงใด เจ้าหน้าที่รู้ได้อย่างไรว่ามีระเบิดเวลา แล้วรู้ได้อย่างไรว่าเหยื่อมีข้อมูลที่ตนเองต้องการ ประการสำคัญ การทรมานที่เกิดขึ้นด้วยน้ำมือของเจ้าหน้าที่รัฐในหลายประเทศมิได้มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องระเบิดเวลา แต่เป็นวิธีที่ใช้จัดการกับฝ่ายตรงข้ามกับรัฐ
Luban เห็นว่าการทรมานเป็นปฏิปักษ์ต่อแนวคิดเสรีนิยมอย่างถึงราก เพราะการทรมานมุ่งไปที่ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเหยื่ออย่างสิ้นเชิง ขณะที่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คือคุณค่าของเสรีนิยม การพยายาม “หัก” เหยื่อด้วยวิธีการที่รุนแรง ก็คือ การ “หักทำลาย (break)” จิตวิญญาณของเหยื่อให้จำยอมอยู่ใต้อาณัติของผู้ที่ทรมานตน[2]
นักจิตวิทยาเช่น Lindsey Williams ชี้ว่าคนส่วนใหญ่มักมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทรมาน ประการแรก เข้าใจว่าเพื่อสร้างความเจ็บปวดทางกายให้กับเหยื่อ ประการที่สอง ความเจ็บปวดนั้นมีเป้าหมายเพื่อเค้นเอาข้อมูลหรือความลับ แต่ในความเป็นจริง มีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าการใช้ความรุนแรงกลับมีเป้าประสงค์อื่น นั้นคือ การทำลายเหยื่อในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง (Destruction of the individual as a person) การทรมานมักมุ่งไปที่การสร้างความอับอาย ดูถูกเหยียดหยาม และความเหนือกว่าของผู้กระทำต่อเหยื่อ ข้อมูลที่ได้จากการทรมาน ถ้ามี ก็มักเป็นผลพลอยได้ บ่อยครั้งเหยื่อมักไม่มีข้อมูลอะไรจะให้[3] บ่อยครั้งเป็นการจับคนบริสุทธิ์ และบ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่ก็ไม่รู้ว่าเหยื่อคือใครกันแน่ มีสถานะใดในองค์กร และรู้อะไรบ้าง
สุดท้าย จิตแพทย์และนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอิสราเอล รุชามา มาร์ตัน (Ruchama Marton) ชี้ว่าข้อมูลที่ได้จากการทรมานนั้นไร้ความหมาย ไม่มีประโยชน์ ซึ่งผู้กระทำการทรมานก็รู้ดี เพราะเหยื่อพร้อมจะพูดอะไรก็ได้ที่ผู้คุมต้องการฟังเพื่อให้ตัวเองต้องเจ็บปวดน้อยที่สุด มาร์ตันเห็นว่าเป้าประสงค์ที่แท้จริงของการทรมานก็คือ ความเงียบ ความเงียบที่เกิดจากความกลัว เพราะความกลัวจะแพร่ระบาดไปในกลุ่มของเหยื่อ จนสมาชิกในกลุ่มไม่กล้าที่จะต่อต้านอำนาจของอีกฝ่าย พวกเขาจึงเลือกที่จะเงียบและยุติการต่อต้านในที่สุด[4]
ก็ต้องถามต่อว่าการกดปราบ สร้างความกลัว ทำให้เงียบในหมู่ผู้ต่อต้าน คือเป้าหมายของรัฐไทยในขณะนี้หรือไม่?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น