เพลงฉ่อยชาววัง

วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

ศักดินา หมายถึงชั้นของฐานันดรที่วัดกันด้วยมีที่นามากน้อยเพียงใด

เต่าพันปี(1) โดย ฌาฒ สหัชชะ
ที่จั่วหัวเรื่องว่า “เต่าพันปี” หมายถึงจะกล่าวถึงเรื่องสัพเพเหระโบราณ ที่คนในปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว แต่ยังกล่าวถึงกันอยู่ในเชิงสนุกสนาน ทั้งสุภาษิต สุภาเสือก คำคม คำพังเพย ที่มีต้นกำเนิดนานมากแล้ว จนคนรุ่นปัจจุบันเรียกว่า “เต่าพันปี” นัั่นแหละ

ขุนนาง เป็นคนมีฐานันดรศักดิ์สูงในสังคมประเทศ มีมาตั้งแต่ตั้งประเทศ แต่ที่รุ่งเรืองที่สุดในยุครัชกาลที่ 4 และ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นการพิสูจน์คำพังเพยที่ว่า “สิบพ่อค้า ไม่เท่ากับหนึ่งพระยาเลี้ยง” เพราะพระยาจะเป็นผู้มีอำนาจในสังคมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง มีศักดินานับหมื่นไร่
ศักดินา หมายถึงชั้นของฐานันดรที่วัดกันด้วยมีที่นามากน้อยเพียงใด ทั้งนาจริง และนาฐานันดร เพื่อเป็นการวัดชั้นทางสังคมและใช้ในการปูนบำเหน็จหรือลงโทษ เหมือนเกรด หรือ ระบบซี ในปัจจุบัน
ขุน มีศักดินา 100 ถึง 500 ไร่
หลวง มีศักดินา 500 ถึง 1,000 ไร่
พระ มีศักดินา 1,000 ถึง 5,000 ไร่
พระยา(เจ้าคุณ เมียเป็นคุณหญิง) มีศักดินา 5,000 ถึง 10,000 ไร่
เจ้าพระยา(เจ้าคุณ เมียเป็นท่านผู้หญิง) มีศักดินา 10,000 ไร่ ขึ้นไป
สมเด็จเจ้าพระยา ได้กินเมืองเป็นเมือง ๆ ขึ้นไป หรือคุมกำลังพิเศษเพื่อพระมหากษัตริย์และบ้านเมืองและมีอาญาสิทธิในการปูนบำเหน็จ หรือลงโทษบุคคลในเมือง หรือในกองกำลังที่ตนมีอำนาจครอบครองในระดับหนึ่งอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งแต่ละยุคมีจำนวนน้อย
ดังนั้น บรรดาพ่อค้าก็ต้องอยู่ในอำนาจของบรรดาผู้มีอำนาจเสมอ ตามหลักมีเงินต้องมีอำนาจด้วยจึงจะขลัง
ประชาชนทั้งหลายจึงนิยมยกลูกสาวให้กับบรรดา ศักดินา เหล่านี้ตามฐานานุรูป โดยไม่เกี่ยงว่าจะเป็น น้อย  หรือนางบำเรอ ยิ่งได้มีลูกกับท่าน ๆ ซึ่งในยุคนั้น มีกฎเกณฑ์ของสังคมว่า จะต้องรับผิดชอบบุตรทุกคน ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ของกฎหมายตราสามดวง ว่าด้วย ลักษณะผัวเมีย
ศักดินา เหล่านี้แต่ละคนมีนางหลายคนเป็นบริวาร(เมีย) จึงเป็น “ขุน” ของนางทั้งหลาย และกลายเป็นคำศัพท์ “ขุนนาง”ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และเป็นคำศัพท์ต่อเนื่อง “ขุนนางศักดินา” ในที่สุด
ต่อๆ มาคนไทยจะมีคำพูดสอนลูกหลานในเชิงยั่วยุให้ลูกหลานฮีกเหิม คือ “เรียนให้สูง ๆ นะ จะได้เป็นจ้าวเป็นนาย” ในอนาคต เลยเป็นการยั่วยุให้เด็กใฝ่สูง แต่ขาดการต่อสู้ชีวิตเพื่ออนาคตด้วยตนเอง เด็กไทยจึงกลายเป็นเด็กหยิบโหย่ง ทำงานหนักไม่ได้ มุ่งแต่จะเป็น “เจ้านาย”
ช้า ช้า ได้พร้าเล่มงาม หมายถึงเวลาตีเหล็ก ตีมีดพร้า ต้องใจเย็น ๆ ต้องนวดเหล็กให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วค่อย ๆ ตีพร้าให้ได้รูปงามๆ ที่มีความคงทนถาวร
น้ำขึ้นให้รีบตัก อะไรที่เข้ามาในชีวิตให้รับจับฉวยไว้ก่อนเพื่อความอุดมสบูรณ์ของชีวิต แต่หมายถึงต้องอยู่ในทำนองคลองธรรม ไม่ใช่เอาทุกอย่างเข้ามา
อย่าเข็นครกขึ้นภูเขา มันหนัก ยาก ลำบากที่สุด เพราะปกติครกตำข้าว เขาเจาะจากไม้แก่นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เพื่อตำข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร ที่เรียกว่า “ข้าวซ้อมมือ” อันมีคุณภาพนั่นแหละ ธรรมดาครกมันหนักแค่กลิ้งในที่ราบก็ยังเข็นลำบาก หมายถึง งานอะไรที่มันยากเกินสติปัญญาที่จะฟันฝ่า ก็ยุติเสีย เพราะทำไปก็ไม่เกิดประโยชน์
ปลาหมอตายเพราะปาก  ปลาหมออยู่ตรงไหนก็จะขึ้นมาบ้วนน้ำ หรือตอดน้ำตลอดเวลา เป็นการประกาศตัวว่าข้าอยู่นี่ ทำให้พรานเบ็ด ลอบ แห ยอ มาจับเอาไปกินเสมอมา เหมือนคนปากโป้ง อวดไม้ ย่อมจะหาภัยมาใส่ตัว
นายว่าขี้ข้าพลอย  เห็นได้ชัดจากระบบ “ทักษิโนปถัมภ์” เมื่อนายเอ่ยหรือสำรอกอะไรออกมานิดหนึ่ง บรรดาสาวกแดงเดือด ก็จะขย้ำและ สำราก ออกมาอย่างบ้าเลือดต่อเนื่อง จนเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ไปทุกเรื่อง
ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น  หมายถึงผลไม้ส่วนมากจะหล่นมาเกลื่อนกลาดใต้โคนต้นเปิดโอกาสให้คน และสัตว์เก็บกินและเอาไปปลูก เป็นการขยายพันธุ์ได้ เป็นการอธิบายว่า บรรดาลูกหลานย่อมจะเป็นไปตามบรรพบุรุษของตนเสมอ เช่น โอ๊ค ย่อมเน่าคาโคนต้น แม้ว เพราะไม่ได้เป็นลูกยาง หรือยูง หรือพยุง ที่พอแตกลูกออกจะมีปีกติดกับเมล็ด ลอยไปตามลม บางเม็ดก็ไกลมาก จึงเป็นการขยายพันธ์แบบวงกว้าง เช่น ป่ายาง ป่ายูง เป็นต้น
สิบปากว่า ไม่ท่ากับตาเห็น  สิบตาเห็น ไม่ท่ากับมือคลำ  เพราะเสียงลือเสียงเล่าอ้าง มันย่อมต่างกับของจริงที่เราได้เห็นด้วยตา และบางทีเห็นด้วยตาอาจจะเป็นภาพหลอน หรือของปลอม จึงต้องใช้มือสัมผัส ถึงได้รู้ว่าเป็นของจริงตามภาพที่ได้เห็น
สหัสดารา เอกาจันโท สหัสไสยา เอกายงโย่ สหัสจ๋องหน่อง เอกาปองหึ่ง สหัสพรืดผริ่ง เอการัมนา
ดาวพันดวงหรือจะสู้พระจันทร์ดวงเดียว คนนอนหลับพันคนหรือจะสู้คนนั่งคนเดียว โหม่งเล็ก พันลูกหรือจะสู้ฆ้องใหญ่ และ ทับพันลูกหรือจะสู้ รัมนาใหญ่
น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา พวกที่กินงบประมาณ โดยเฉพาะงบประมาณน้ำ ระวังเถอะจะโดนกินทั้งโคตร เมื่อน้ำลด คือเมื่อมีการตรวจสอบโดยประชาชนสักวันหนึ่ง อายุความยี่สิบปีนะพวก ดวงคงไม่ปลอดไปตลอดหรอกนะ
ความทุกข์ของชาวนา คือความทุกข์ของแผ่นดิน เป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปีใหม่ปีหนึ่ง ที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐในยุคนั้นได้อัญเชิญมาพาดหัวตัวไม้ เพื่อให้พสกนิกรทั้งหลายได้เห็นน้ำพระทัยที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์ท่านต่อปัญหาความยากจนที่ทรงห่วงใยตลอดมา ท่านทั้งหลายยังจำกันได้ไหมครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น