“วิชา มหาคุณ” กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ออกมายืนยันอีกครั้งว่า สาเหตุที่ทำให้ “ป.ป.ช.สอบสวนคดีทุจริตระบายข้าวในสต็อกรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2552-2553 ล่าช้ามากว่า 4 ปีนั้นเป็นเพราะ เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ 2554 อันส่งผลให้ “เอกสาร” ของหน่วยงานต่างๆ “จม…น้ำ…หาย” !!!
แม้ในความรับรู้ของประชาชนจะรู้สึกว่า มันไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ “ป.ป.ช.” ก็ยืนยันว่าเกี่ยวข้องกัน จึงทำท่าขึงขังเรียก “ข้อมูล-หลักฐาน” จาก หน่วยงานต่างๆ ทันที …แต่เป็นการกระทำภายหลัง จากที่สังคมได้ตรวจสอบพบว่า ป.ป.ช. เร่งรัดกรณีโครงการรับจำนำข้าว ด้วยการเร่งสอบสวนเพียงระยะเวลาไม่กี่สิบวัน แต่กลับนิ่งเฉย ที่จะดำเนินการสอบสวนคดีทุจริตระบายข้าว รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เกิดขึ้นมากว่า 4ปีมาก่อนหน้านี้
… สิ่งที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หากสังคมไม่เรียกร้องให้มีการดำเนินการกับทั้ง 2 ฝ่ายอย่าง “เป็นธรรม” และ “เท่าเทียม” … “ป.ป.ช.” ก็ยังจะไม่มีการดำเนินการกับการทุจริตยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือไม่ ?
…หรือหาก “ประชาชน” ไม่เรียกร้อง “ความยุติธรรม” จาก “ป.ป.ช.” คดีทุจริตรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) อาจจะเงียบหาย และสุดท้าย “คนโกงบ้าน-กินเมือง” ก็รอดพ้นความผิดอีกหรือไม่ ??
ที่สำคัญคือการที่ “ป.ป.ช.” ได้ออกมาแสดงท่าที เรียกร้องให้หน่วยงานต่าง ส่งเอกสาร-หลักฐาน ให้อย่างเร่งด่วน เพื่อเริ่มกระบวนการสอบสวนคดีทุจริตระบายข้าวรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นถูกตั้งข้อสังเกตอย่างชัดเจนว่า สิ่งที่ ป.ป.ช.แสดงออกมานั้น คือ “ความจริงใจ” ที่จะตรวจสอบการทุจริตระบายข้าวของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ หรือเป็นเพียงการ “แก้เขิน” ไปวันๆ หลังถูกจับได้คาหนังคาเขาว่า มีความพยายามที่จะ “ยื้อเวลา” ในการตรวจสอบ “ทุจริตรัฐบาลประชาธิปัตย์” ให้ยาวนานออกไป…
เพราะ “คดีทุจริตระบายข้าวสารในสต็อกรัฐบาล” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้น “กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)” ได้ดำเนินการสอบสวนและสรุปผลการสอบสวน กรณีทุจริตโครงการระบายข้าว ที่มีการกล่าวหา “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรี, ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี และ พรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ในขณะนั้น มาตั้งแต่ปี 2555 และได้ส่งสรุปผลการสอบสวน พร้อมเอกสาร-หลักฐานทั้งหมดให้กับ “ป.ป.ช.” ไปแล้วด้วย
โดยตรวจสอบพบว่า “ดีเอสไอ” ได้ทำหนังสือแจ้ง “เลขาธิการ ป.ป.ช.” ที่ ยธ 0805/2390 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 เรื่องส่งเรื่องมาเพื่อพิจารณาดำเนินการ โดยส่ง 1.รายงานการสทบสวนคดีสืบสวนที่ 255/2553 พร้อมเอกสารประกอบ จำนวน 7 แฟ้ม และ 2.ซีดีบันทึกข้อมูลการส่งออกข้าวไปนอกราชอาณาจักรจากสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศกรมศุลกากร จำนวน 1 แผ่น
พร้อมกับแจ้งว่า “ด้วยกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีการทุจริตในโครงการระบายสินค้าเกษตร (ข้าวสาร) ในสต็อกของรัฐบาลเป็นคดีสืบสวนที่ 255/2553
จากการสืบสวนพบว่ากรณีดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรรมการ ป.ป.ช. ตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ประกอบกับเป็นเรื่องเดียวกันกับเรื่องที่กล่าวหาที่อยู่ระหว่างดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามเลขรับที่ 16524 เลขดำที่ 54331658 , 52631820 และ 54630201จึงขอส่งเรื่องมายังท่าน เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ผลเป็นประการใดโปรดแจ้งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษทาบในโอกาสแรกด้วย จักขอบคุณยิ่ง”
แม้ในความรับรู้ของประชาชนจะรู้สึกว่า มันไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ “ป.ป.ช.” ก็ยืนยันว่าเกี่ยวข้องกัน จึงทำท่าขึงขังเรียก “ข้อมูล-หลักฐาน” จาก หน่วยงานต่างๆ ทันที …แต่เป็นการกระทำภายหลัง จากที่สังคมได้ตรวจสอบพบว่า ป.ป.ช. เร่งรัดกรณีโครงการรับจำนำข้าว ด้วยการเร่งสอบสวนเพียงระยะเวลาไม่กี่สิบวัน แต่กลับนิ่งเฉย ที่จะดำเนินการสอบสวนคดีทุจริตระบายข้าว รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เกิดขึ้นมากว่า 4ปีมาก่อนหน้านี้
… สิ่งที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หากสังคมไม่เรียกร้องให้มีการดำเนินการกับทั้ง 2 ฝ่ายอย่าง “เป็นธรรม” และ “เท่าเทียม” … “ป.ป.ช.” ก็ยังจะไม่มีการดำเนินการกับการทุจริตยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือไม่ ?
…หรือหาก “ประชาชน” ไม่เรียกร้อง “ความยุติธรรม” จาก “ป.ป.ช.” คดีทุจริตรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) อาจจะเงียบหาย และสุดท้าย “คนโกงบ้าน-กินเมือง” ก็รอดพ้นความผิดอีกหรือไม่ ??
ที่สำคัญคือการที่ “ป.ป.ช.” ได้ออกมาแสดงท่าที เรียกร้องให้หน่วยงานต่าง ส่งเอกสาร-หลักฐาน ให้อย่างเร่งด่วน เพื่อเริ่มกระบวนการสอบสวนคดีทุจริตระบายข้าวรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นถูกตั้งข้อสังเกตอย่างชัดเจนว่า สิ่งที่ ป.ป.ช.แสดงออกมานั้น คือ “ความจริงใจ” ที่จะตรวจสอบการทุจริตระบายข้าวของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ หรือเป็นเพียงการ “แก้เขิน” ไปวันๆ หลังถูกจับได้คาหนังคาเขาว่า มีความพยายามที่จะ “ยื้อเวลา” ในการตรวจสอบ “ทุจริตรัฐบาลประชาธิปัตย์” ให้ยาวนานออกไป…
เพราะ “คดีทุจริตระบายข้าวสารในสต็อกรัฐบาล” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้น “กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)” ได้ดำเนินการสอบสวนและสรุปผลการสอบสวน กรณีทุจริตโครงการระบายข้าว ที่มีการกล่าวหา “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรี, ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี และ พรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ในขณะนั้น มาตั้งแต่ปี 2555 และได้ส่งสรุปผลการสอบสวน พร้อมเอกสาร-หลักฐานทั้งหมดให้กับ “ป.ป.ช.” ไปแล้วด้วย
โดยตรวจสอบพบว่า “ดีเอสไอ” ได้ทำหนังสือแจ้ง “เลขาธิการ ป.ป.ช.” ที่ ยธ 0805/2390 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 เรื่องส่งเรื่องมาเพื่อพิจารณาดำเนินการ โดยส่ง 1.รายงานการสทบสวนคดีสืบสวนที่ 255/2553 พร้อมเอกสารประกอบ จำนวน 7 แฟ้ม และ 2.ซีดีบันทึกข้อมูลการส่งออกข้าวไปนอกราชอาณาจักรจากสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศกรมศุลกากร จำนวน 1 แผ่น
พร้อมกับแจ้งว่า “ด้วยกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีการทุจริตในโครงการระบายสินค้าเกษตร (ข้าวสาร) ในสต็อกของรัฐบาลเป็นคดีสืบสวนที่ 255/2553
จากการสืบสวนพบว่ากรณีดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรรมการ ป.ป.ช. ตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ประกอบกับเป็นเรื่องเดียวกันกับเรื่องที่กล่าวหาที่อยู่ระหว่างดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามเลขรับที่ 16524 เลขดำที่ 54331658 , 52631820 และ 54630201จึงขอส่งเรื่องมายังท่าน เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ผลเป็นประการใดโปรดแจ้งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษทาบในโอกาสแรกด้วย จักขอบคุณยิ่ง”
โดยสรุป “ดีเอสไอ” ได้ดำเนินการสอบสวน “คดีทุจริตระบายข้าวในสต็อกรัฐบาล” ยุค “รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เอาไว้ว่า ตรวจสอบพบ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมการข้าวแห่งชาติ (กขช.) กำหนดให้ระบายสต๊อกข้าวโดยไม่ประกาศเชิญชวนเป็นการทั่วไปตามที่กระทรวงพาณิชย์ใช้มาตลอดเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้ส่งออกข้าวเพียง 9 ราย และการระบายข้าวเก่าค้างสต๊อกเป็นอาหารสัตว์ก็เป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายอื่น ซึ่งถือเป็นการเจตนาไม่ให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
และจากการตรวจสอบพบรายละเอียดพบว่า นายอภิสิทธิ์ มีโครงการระบายข้าวออกจากสต๊อกของรัฐบาลโดยเลือกวิธีให้ผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อข้าวในปริมาณมากเสนอซื้อข้าวในสต๊อกรัฐบาลเพื่อส่งมอบตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งวิธีการดังกล่าวต้องมีการประมูลหรือแข่งขันราคาอย่างเปิดเผย ต่อมามีการประกาศยกเลิกเนื่องจากมีการเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางมาก หากขายข้าวจะทำให้รัฐขาดทุนสูง นายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เสนอให้ นางพรทิวา นาคาศัย อดีต รมว.พาณิชย์ และนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกฯขณะนั้น ให้เปลี่ยนวิธีจากการประมูลมาเป็นให้ผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อข้าวจากต่างประเทศในปริมาณมากยื่นคำเสนอขอซื้อ โดยไม่ต้องออกประกาศเชิญชวนเป็นการทั่วไปการซื้อขายจะใช้วิธีเจรจากับผู้ส่งออกเป็นรายไป โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ซื้อต้องนำข้าวออกนอกราชอาณาจักรภายใน 45 วัน
โดยระหว่างเดือน ก.ค.-ธ.ค. 2553 มีการเจรจาทำสัญญาขายข้าวกับเอกชน 9 ราย จากบัญชีผู้ประกอบการค้าข้าวจำนวน 199 ราย โดยมีการระบายข้าวออกจากสต๊อก 3.4 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 44,000 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าบริษัทเอกชนคู่สัญญาหลายรายไม่นำข้าวออกไปจำหน่ายนอกราชอาณาจักรคิดเป็นปริมาณมากกว่า 9 แสนตัน หรือร้อยละ 25 ของปริมาณข้าวในโครงการระบายข้าว สันนิษฐานว่ามีการนำข้าวกลับมาขายในประเทศทำให้ราคาข้าวในประเทศตกต่ำรัฐบาลควรได้รับค่าปรับจากการผิดสัญญาไม่น้อยกว่า 2,700 ล้านบาท แต่งยังไม่มีหน่วยงานใดบังคับเอาค่าปรับกับเอกชน
นอกจากนี้การระบายข้าวค้างสต๊อกเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ก็ได้มีการพิจารณาจำหน่ายให้บริษัท หนองลังกาฟาร์ม รายเดียวจำนวนกว่า 8,000 ตัน ในราคาตันละ 5,400 บาท มูลค่าประมาณ 47 ล้านบาท โดยผู้แทนบริษัท หนองลังกาฟาร์มดังกล่าวพบว่าเป็นที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
และจากการตรวจสอบพบรายละเอียดพบว่า นายอภิสิทธิ์ มีโครงการระบายข้าวออกจากสต๊อกของรัฐบาลโดยเลือกวิธีให้ผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อข้าวในปริมาณมากเสนอซื้อข้าวในสต๊อกรัฐบาลเพื่อส่งมอบตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งวิธีการดังกล่าวต้องมีการประมูลหรือแข่งขันราคาอย่างเปิดเผย ต่อมามีการประกาศยกเลิกเนื่องจากมีการเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางมาก หากขายข้าวจะทำให้รัฐขาดทุนสูง นายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เสนอให้ นางพรทิวา นาคาศัย อดีต รมว.พาณิชย์ และนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกฯขณะนั้น ให้เปลี่ยนวิธีจากการประมูลมาเป็นให้ผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อข้าวจากต่างประเทศในปริมาณมากยื่นคำเสนอขอซื้อ โดยไม่ต้องออกประกาศเชิญชวนเป็นการทั่วไปการซื้อขายจะใช้วิธีเจรจากับผู้ส่งออกเป็นรายไป โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ซื้อต้องนำข้าวออกนอกราชอาณาจักรภายใน 45 วัน
โดยระหว่างเดือน ก.ค.-ธ.ค. 2553 มีการเจรจาทำสัญญาขายข้าวกับเอกชน 9 ราย จากบัญชีผู้ประกอบการค้าข้าวจำนวน 199 ราย โดยมีการระบายข้าวออกจากสต๊อก 3.4 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 44,000 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าบริษัทเอกชนคู่สัญญาหลายรายไม่นำข้าวออกไปจำหน่ายนอกราชอาณาจักรคิดเป็นปริมาณมากกว่า 9 แสนตัน หรือร้อยละ 25 ของปริมาณข้าวในโครงการระบายข้าว สันนิษฐานว่ามีการนำข้าวกลับมาขายในประเทศทำให้ราคาข้าวในประเทศตกต่ำรัฐบาลควรได้รับค่าปรับจากการผิดสัญญาไม่น้อยกว่า 2,700 ล้านบาท แต่งยังไม่มีหน่วยงานใดบังคับเอาค่าปรับกับเอกชน
นอกจากนี้การระบายข้าวค้างสต๊อกเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ก็ได้มีการพิจารณาจำหน่ายให้บริษัท หนองลังกาฟาร์ม รายเดียวจำนวนกว่า 8,000 ตัน ในราคาตันละ 5,400 บาท มูลค่าประมาณ 47 ล้านบาท โดยผู้แทนบริษัท หนองลังกาฟาร์มดังกล่าวพบว่าเป็นที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
โดยในเอกสารประกอบ ซึ่งเป็น “รายงานการสืบสวน กรณีการทุจริตโครงการระบายสินค้าเกษตรในสต็อกรัฐบาล” ที่มีการนำส่ง ป.ป.ช.พร้อม เอกสาร-หลักฐานทั้งหมดในครั้งนั้น ระบุอย่างชัดเจนใน “ข้อ 2.7 กรณีการระบายข้าวสารในสต็อกรัฐบาลดังกล่าวข้างต้น ปรากฏว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติให้รับเรื่องไว้พิจารณา และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงโดยมีนายกล้าณรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการ ขณะนี้กรณีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาไต่สวนข้อเท็จจริงตาม เลขดำที่ 54331658 , 52631820 และ 54630201 มี นางพรทิวา นาคาศัย , นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ , นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี และนายมนัส สร้อยพลอย เป็นผู้ถูกกล่าวหา และกรณีมีพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหา คือ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีเอื้อประโยชน์ในการประมูลข้าวของกระทรวงพาณิชย์ (ข้าวเจ้า) กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการฐานร่วมกันอนุมัติให้ความเห็นชอบขายข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลในราคาต่ำกว่าราคาตลาดมาก”
นอกจากนี้ใน “ข้อพิจารณาที่ 4.1 เห็นว่าเรื่องที่ทำการสอบสวนอาจเป็นคดีความผิดทางอาญาตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 และ 4.2 เห็นว่าเรื่องที่ทำการสืบสวนมีลักษณะเป็นคดีความผิดทางอาญาที่มีความซับซ้อนและมีผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 มาตรา 21 วรรค 1 (1) (ก) , (ข)”
ข้อมูล-หลักฐาน ทั้งหมดนี้ เอกสารระบุว่าได้มีการนำส่ง ป.ป.ช. เมื่อ 5 กรกฎาคม 2555 หลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 ตามที่ “วิชา มหาคุณ” กรรมการ ป.ป.ช. อ้าง … ไม่รู้ว่า “เอกสารหาย” นั้น … “น้ำท่วม” แน่หรือ ???
*************************************************************************************
เปิดรายงาน “โครงการประกันรายได้ รบ.มาร์ค”พบ “ทุจริตจดทะเบียนลม 1.7ล้านไร่” ที่ดินผีงอกในทะเบียนเกษตรกร ส่อทำชาติสูญแสนล้าน..พฤติการณ์ล้างผลาญที่ “ป.ป.ช.”แกล้งเมิน!
ข่าวพาดหัวเม้าท์แมลงสาป— 25 February 2014
จากกรณีที่มีการเสนอข้อมูลหลักฐาน หนังสือที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้แจ้งถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นเพื่อแจ้งเตือนการทุจริตโครงการประกันรายได้เกษตร
โดย “ป.ป.ช.” ระบุอย่างชัดเจนว่า “มีการทุจริตและปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและกระบวนการด้วยกลวิธีที่ฉ้อฉลบิดเบือนและแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายในทุกขั้นตอน ซึ่งจะส่งผลเสียหายต่อประเทศมหาศาล”
โดย “ป.ป.ช.” ระบุอย่างชัดเจนว่า “มีการทุจริตและปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและกระบวนการด้วยกลวิธีที่ฉ้อฉลบิดเบือนและแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายในทุกขั้นตอน ซึ่งจะส่งผลเสียหายต่อประเทศมหาศาล”
กลายเป็น “หลักฐานสำคัญ” ที่ชี้ให้เห็นถึง “มาตรฐาน” ของ “ป.ป.ช.” ในการเลือกปฏิบัติ เร่งดำเนินการเฉพาะกรณีโครงการรับจำนำข้าว เมื่อเปรียบเทียบกับคดีการทุจริตการระบายข้าวของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2552-2553
ล่าสุดได้มีการตรวจสอบพบว่า กรณี “โครงการประกันรายได้เกษตรกร” ของ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นั้นเกิดการทุจริตที่เรียกกันว่า “ทุจริตจดทะเบียนลม” อย่างมากมายมหาศาล และส่งผลเสียหาย เป็นภาระด้านงบประมาณของประเทศ ในระยะเวลา 2 ปีที่ดำเนินโครงการจำนวนกว่าแสนล้านบาท !!!
โดยได้ตรวจสอบพบเอกสารของ “สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี” ที่ นร 0110/4618 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2553 ซึ่งเป็น “รายงานผลการติดตามและเร่งการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53” ต่อ “คณะรัฐมนตรี (ครม.)” โดยมีเนื้อหาระบุว่า “คณะกรรมการติดตามและเร่งรัดการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตกร” ที่มี“ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี” เป็นประธาน ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลร้อยละ 100 ในพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรที่ผลการเปรียบเทียบข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของสำนักงานพัฒนาโทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) กับข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรมีความแตกต่างกันเกินกว่าร้อยละ 20 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 29 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี เลย กำแพงเพชร ตาก อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ เพชรบูรณ์และแพร่
โดยมีการตั้งคณะอนุกรรมการติดตามผลการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกร ในระดับพื้นที่ของทั้ง 29 จังหวัดดังกล่าวและพบมีการขึ้นทะเบียนและผ่านการประชาคม ของคณะอนุกรรมการฯ เปรียบเทียบกับข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม แตกต่างอย่างชัดเจนกับข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลภาพและแปรภาพถ่ายจากดาวเทียมพบว่าจากจำนวน 29 จังหวัดดังกล่าวมีจำนวนทั้งสิ้น 14 จังหวัดที่มีพื้นที่แตกต่างกันมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ คือ ลพบุรี สระบุรี สมุทรสาคร ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ อุบลราชธานี และเลย สำหรับพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก จำนวน 62 จังหวัด ในการแปลตีความครั้งที่ 1 มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง จำนวน 13,489,933 ไร่ ในการแปลตีความ ครั้งที่ 2 มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง จำนวน 14,556,672.21 ไร่ เพิ่มขึ้นจาก ครั้งที่ 1 จำนวน 1,068,739.21 ไร่ เมื่อนำผลการแปลตีความในครั้งที่ 2 เปรียบเทียบกับข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและการผ่านประชาคม ในพื้นที่ 62 จังหวัด ซึ่งมีจำนวน 16,351,790 ไร่ มีความแตกต่างกันจำนวน 1,795,117.79 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 10.98
ล่าสุดได้มีการตรวจสอบพบว่า กรณี “โครงการประกันรายได้เกษตรกร” ของ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นั้นเกิดการทุจริตที่เรียกกันว่า “ทุจริตจดทะเบียนลม” อย่างมากมายมหาศาล และส่งผลเสียหาย เป็นภาระด้านงบประมาณของประเทศ ในระยะเวลา 2 ปีที่ดำเนินโครงการจำนวนกว่าแสนล้านบาท !!!
โดยได้ตรวจสอบพบเอกสารของ “สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี” ที่ นร 0110/4618 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2553 ซึ่งเป็น “รายงานผลการติดตามและเร่งการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53” ต่อ “คณะรัฐมนตรี (ครม.)” โดยมีเนื้อหาระบุว่า “คณะกรรมการติดตามและเร่งรัดการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตกร” ที่มี“ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี” เป็นประธาน ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลร้อยละ 100 ในพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรที่ผลการเปรียบเทียบข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของสำนักงานพัฒนาโทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) กับข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรมีความแตกต่างกันเกินกว่าร้อยละ 20 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 29 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี เลย กำแพงเพชร ตาก อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ เพชรบูรณ์และแพร่
โดยมีการตั้งคณะอนุกรรมการติดตามผลการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกร ในระดับพื้นที่ของทั้ง 29 จังหวัดดังกล่าวและพบมีการขึ้นทะเบียนและผ่านการประชาคม ของคณะอนุกรรมการฯ เปรียบเทียบกับข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม แตกต่างอย่างชัดเจนกับข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลภาพและแปรภาพถ่ายจากดาวเทียมพบว่าจากจำนวน 29 จังหวัดดังกล่าวมีจำนวนทั้งสิ้น 14 จังหวัดที่มีพื้นที่แตกต่างกันมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ คือ ลพบุรี สระบุรี สมุทรสาคร ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ อุบลราชธานี และเลย สำหรับพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก จำนวน 62 จังหวัด ในการแปลตีความครั้งที่ 1 มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง จำนวน 13,489,933 ไร่ ในการแปลตีความ ครั้งที่ 2 มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง จำนวน 14,556,672.21 ไร่ เพิ่มขึ้นจาก ครั้งที่ 1 จำนวน 1,068,739.21 ไร่ เมื่อนำผลการแปลตีความในครั้งที่ 2 เปรียบเทียบกับข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและการผ่านประชาคม ในพื้นที่ 62 จังหวัด ซึ่งมีจำนวน 16,351,790 ไร่ มีความแตกต่างกันจำนวน 1,795,117.79 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 10.98
จำนวนตัวเลขความแตกต่างระหว่าง “ข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร” กับ “ภาพถ่ายดาวเทียม” สูงถึง 1,795,117.79 ไร่ หรือสูงถึงกว่าร้อยละ 10.98 นั้น คือ “หลักฐาน” ชั้นดีที่ฟ้องให้เห็นว่าเกิดการ “ทุจริตทะเบียนลม”
การ “ทุจริตจดทะเบียนลม” ดังกล่าวนี้ คือ “จำนวนพื้นที่และผลผลิต” จากการเพาะปลูกที่ “งอก” ขึ้นมา แล้วถูกอ้างเป็นเงื่อนไขในการ “ขอรับเงินค่าชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาอ้างอิงกับราคาประกัน” จากภาครัฐที่ถือว่าสูงมากอย่างยิ่ง
ซึ่งพฤติการณ์การทุจริตดังกล่าว “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) รับรู้เป็นอย่างดี เนื่องจากได้มีการรายงานกรณีดังกล่าวนี้ให้ “คณะรัฐมนตรี(ครม.)” รับทราบอยู่ตลอดเวลา
จากการตรวจสอบพบวงเงินงบประมาณพบว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำเนินการ “โครงการประกันรายได้เกษตรกร” ได้สร้างภาระด้านงบประมาณ 90,455.35 ล้านบาทและเป็นเงินกู้จำนวนถึง 40,000 ล้านบาท
รวมความเสียหายที่ใช้เงินในโครงการประกันรายได้ อาจจะสูงถึง 130,455.35 ล้านบาท
การ “ทุจริตจดทะเบียนลม” ดังกล่าวนี้ คือ “จำนวนพื้นที่และผลผลิต” จากการเพาะปลูกที่ “งอก” ขึ้นมา แล้วถูกอ้างเป็นเงื่อนไขในการ “ขอรับเงินค่าชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาอ้างอิงกับราคาประกัน” จากภาครัฐที่ถือว่าสูงมากอย่างยิ่ง
ซึ่งพฤติการณ์การทุจริตดังกล่าว “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) รับรู้เป็นอย่างดี เนื่องจากได้มีการรายงานกรณีดังกล่าวนี้ให้ “คณะรัฐมนตรี(ครม.)” รับทราบอยู่ตลอดเวลา
จากการตรวจสอบพบวงเงินงบประมาณพบว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำเนินการ “โครงการประกันรายได้เกษตรกร” ได้สร้างภาระด้านงบประมาณ 90,455.35 ล้านบาทและเป็นเงินกู้จำนวนถึง 40,000 ล้านบาท
รวมความเสียหายที่ใช้เงินในโครงการประกันรายได้ อาจจะสูงถึง 130,455.35 ล้านบาท
ล่าสุด “ป.ป.ช.” ออกมาแสดงความตั้งอกตั้งใจจะเอาผิด “โครงการรับจำนำข้าว” โดยเฉพาะตัว “นายกรัฐมนตรี” ในฐานะหัวหน้าผู้บริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 11 ให้ได้
ก็ต้องถามกลับไปยัง “ป.ป.ช.” ว่า “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีการดำเนิน “โครงการประกันรายได้เกษตรกร” และพบว่าเกิดการ “ทุจริตอย่างเป็นระบบ ทุกขั้นตอน และมากมายมหาศาล” ตามหนังสือเตือนของ “ป.ป.ช.” นั้นอยู่ในฐานะ “หัวหน้าผู้บริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 11 เช่นเดียวกันหรือไม่ ???
หาก “กรรม ป.ป.ช.” ไม่กล้าตอบ … “วิชา มหาคุณ” โฆษกและกรรมการ ป.ป.ช. ที่ยอมรับแล้วว่าได้เป็น ป.ป.ช.เพราะ รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มอบให้ … ตอบหน่อย !!!
เปิดหนังสือ “ป.ป.ช.”เตือน “รบ.อภิสิทธิ์”ทุจริตประกันรายได้ โกงเป็นระบบ-หาประโยชน์มิชอบทุกขั้นตอน แต่กลับไม่ยอมสอบมา 4ปี ชี้ “มาตรฐานองค์กรอิสระ” เลือกอุ้ม-เลือกข้าง-เลือกปฏิบัติ ?
โล้ชิงช้า !— 21 February 2014
“วิชา มหาคุณ” โฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงล่าสุดกรณีเร่งตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าว ระบุว่า “ป.ป.ช.” มีมติแจ้งข้อกล่าวหา “นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี และไต่สวนข้อเท็จจริงโครงการรับจำนำข้าว โดยอ้างว่าก่อนหน้านี้ ป.ป.ช. ได้ทำหนังสือทักท้วงไปก่อนหน้านี้แล้วว่าโครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดปัญหาทุจริตในขั้นตอนการดําเนินการ ปยังรัฐบาลแล้ว แต่กลับยังดำเนินโครงการต่อไป จึงเป็นการจงใจใช้อํานาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
โดย “วิชา มหาคุณ” กรรมการ ป.ป.ช. ผู้ยอมรับว่า มาเป็น ป.ป.ช.ได้ เพราะมีการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 ยังกำหนดวันจะแจ้งข้อกล่าวหากับนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 พร้อมทั้งประกาศว่า “ภายในเดือนมีนาคม จะเร่งสรุปชี้มูลถอดถอนนายกรัฐมนตรี ให้ได้” !!!
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า “ป.ป.ช.” และ “วิชา มหาคุณ” เร่งดำเนินการกรณี “โครงการรับจำนำ” อย่างผิดปกติและมีนัยยะสำคัญ…โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ “คดีทุจริตระบายข้าวในสต็อกรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2552-2553 ??
อีกทั้งเมื่อกลับไปพิจารณาข้ออ้างของ ป.ป.ช. ที่ระบุว่า ป.ป.ช. เคยทำหนังสือเตือน พร้อมแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวก่อนหน้านี้ไปยังรัฐบาลแล้ว อันเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ ป.ป.ช.มีมติแจ้งข้อกล่าวหานายกรัฐมนตรีครั้งนี้ ยิ่งทำให้น่าสงสัยอย่างยิ่งต่อการ “เร่งดำเนินคดี” กับ “ฝ่ายหนึ่ง-ฝ่ายใด” เพียง “ฝ่ายเดียว” อย่างเห็นได้ชัด !
เนื่องจาก ในกรณี “โครงการประกันรายได้เกษตรกร” ของ “รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์” ที่มี “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็น “นายกรัฐมนตรี” (2551-2554) “ป.ป.ช.” ก็เคยทำหนังสือเตือนเรื่องการทุจริตและมีข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตอย่างเป็นทางการ เช่นเดียวกับข้ออ้างในการเร่งดำเนินคดีกับ “โครงการรับจำนำข้าว”!
จากการตรวจสอบพบว่า “ป.ป.ช.” ได้ทำหนังสือราชการถึง “นายกรัฐมนตรี” ขณะนั้น (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ที่ ปช. 0002/0110 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 เรื่อง “ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการแทรกแซงตลาดข้าวของรัฐบาล” อ้างว่า ปัญหาการทุจริตเกี่ยวกับการแทรกแซงตลาดพืชผลการเกษตรกร มีปรากฎให้เห็นอยู่โดยตลอดทั้งทางสื่อมวลชนและที่เป็นเรื่องกล่าวหาร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. ทำให้เห็นได้ว่าการทุจริตที่เกิดจากการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรการแทรกแซงตลาดพืชผลการเกษตรภาครัฐที่ผ่านมามีการปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการ ด้วยกลวิธีที่ฉ้อฉลบิดเบือน และแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายในทุกขั้นตอนของการแทรกแซงในแต่ละรูปแบบ การทุจริตที่เกิดขึ้นดังกล่าวหยั่งรากลึกสะสมติดต่อกันมาเป็นเวลานาน และก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบการสร้างภาระด้านงบประมาณในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก และการลดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกของประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียต่อทรัพยากรของประเทศจำนวนมหาศาล…”
โดย “วิชา มหาคุณ” กรรมการ ป.ป.ช. ผู้ยอมรับว่า มาเป็น ป.ป.ช.ได้ เพราะมีการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 ยังกำหนดวันจะแจ้งข้อกล่าวหากับนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 พร้อมทั้งประกาศว่า “ภายในเดือนมีนาคม จะเร่งสรุปชี้มูลถอดถอนนายกรัฐมนตรี ให้ได้” !!!
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า “ป.ป.ช.” และ “วิชา มหาคุณ” เร่งดำเนินการกรณี “โครงการรับจำนำ” อย่างผิดปกติและมีนัยยะสำคัญ…โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ “คดีทุจริตระบายข้าวในสต็อกรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2552-2553 ??
อีกทั้งเมื่อกลับไปพิจารณาข้ออ้างของ ป.ป.ช. ที่ระบุว่า ป.ป.ช. เคยทำหนังสือเตือน พร้อมแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวก่อนหน้านี้ไปยังรัฐบาลแล้ว อันเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ ป.ป.ช.มีมติแจ้งข้อกล่าวหานายกรัฐมนตรีครั้งนี้ ยิ่งทำให้น่าสงสัยอย่างยิ่งต่อการ “เร่งดำเนินคดี” กับ “ฝ่ายหนึ่ง-ฝ่ายใด” เพียง “ฝ่ายเดียว” อย่างเห็นได้ชัด !
เนื่องจาก ในกรณี “โครงการประกันรายได้เกษตรกร” ของ “รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์” ที่มี “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็น “นายกรัฐมนตรี” (2551-2554) “ป.ป.ช.” ก็เคยทำหนังสือเตือนเรื่องการทุจริตและมีข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตอย่างเป็นทางการ เช่นเดียวกับข้ออ้างในการเร่งดำเนินคดีกับ “โครงการรับจำนำข้าว”!
จากการตรวจสอบพบว่า “ป.ป.ช.” ได้ทำหนังสือราชการถึง “นายกรัฐมนตรี” ขณะนั้น (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ที่ ปช. 0002/0110 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 เรื่อง “ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการแทรกแซงตลาดข้าวของรัฐบาล” อ้างว่า ปัญหาการทุจริตเกี่ยวกับการแทรกแซงตลาดพืชผลการเกษตรกร มีปรากฎให้เห็นอยู่โดยตลอดทั้งทางสื่อมวลชนและที่เป็นเรื่องกล่าวหาร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. ทำให้เห็นได้ว่าการทุจริตที่เกิดจากการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรการแทรกแซงตลาดพืชผลการเกษตรภาครัฐที่ผ่านมามีการปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการ ด้วยกลวิธีที่ฉ้อฉลบิดเบือน และแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายในทุกขั้นตอนของการแทรกแซงในแต่ละรูปแบบ การทุจริตที่เกิดขึ้นดังกล่าวหยั่งรากลึกสะสมติดต่อกันมาเป็นเวลานาน และก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบการสร้างภาระด้านงบประมาณในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก และการลดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกของประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียต่อทรัพยากรของประเทศจำนวนมหาศาล…”
“ป.ป.ช.” ลืมไปหรือไม่ว่า ครั้งหนึ่งเคยทำ “หนังสือแจ้งเตือนการทุจริตคอรัปชั่นโครงการแทรกแซงตลาดข้าว” ไปยัง “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ?
หรือ “ป.ป.ช.” อาจจะลืมไปหรือไม่ว่า ในมือ “ป.ป.ช.” ก็มี “คดีทุจริตรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2553 และ “ดีเอสไอ”ได้สรุปสำนวนการสอบสวนและส่งให้ “ป.ป.ช.” ดำเนินการเอาผิดกับ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรี , ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีและพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ มาตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2555 ที่ต้องตรวจสอบอยู่ ?
ที่สำคัญ หากใช้ “มาตรฐาน” เดียวกันกับการที่ “ป.ป.ช.” ดำเนินการกับ “โครงการรับจำนำข้าว” … “คดีทุจริตรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นรัฐบาล คือ ปี พ.ศ.2551-2554 ซึ่ง “ป.ป.ช.” ก็ทำ “หนังสือเตือนการทุจริต” เช่นเดียวกัน ก็น่าที่จะดำเนินการ “สอบสวน” เสร็จเรียบร้อยไปก่อนหน้านี้นานแล้วหรือไม่ ??
แต่ในทางกลับกัน สิ่งที่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนในวันนี้คือ “กรณีโครงการรับจำนำข้าว”… “ป.ป.ช.” กลับใช้เวลาดำเนินการไม่กี่วัน
ขณะเดียวกัน “คดีทุจริตรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่อยู่ในมือ “ป.ป.ช.” กลับถูกดองยาว มากว่า 4 ปีต่อเนื่อง !!!
หรือ “ป.ป.ช.” จะลืมไปว่า…คำว่า “มาตรฐาน” ที่แท้จริงแล้ว “สะกด” อย่างไร ???
แต่ในทางกลับกัน สิ่งที่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนในวันนี้คือ “กรณีโครงการรับจำนำข้าว”… “ป.ป.ช.” กลับใช้เวลาดำเนินการไม่กี่วัน
ขณะเดียวกัน “คดีทุจริตรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่อยู่ในมือ “ป.ป.ช.” กลับถูกดองยาว มากว่า 4 ปีต่อเนื่อง !!!
หรือ “ป.ป.ช.” จะลืมไปว่า…คำว่า “มาตรฐาน” ที่แท้จริงแล้ว “สะกด” อย่างไร ???
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น