เพลงฉ่อยชาววัง

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ธกส เป็นผู้ที่เริ่มต้นคิดอ่านที่จะไปแสวงหาเงินกู้นี้ด้วยตนเอง ไม่มีใครบังคับ หรือกำกับการแสดง



Thirachai Phuvanatnaranubala


ข่าวในหนังสือพิมพ์หลายฉบับวันนี้ คุณวรวิทย์ ผอ ออมสิน พูดว่า ออมสินให้กู้แบบอินเตอแบงค์แก่ ธกส โดยไม่มีกระทรวงการคลังค้ำประกันแก่ออมสิน

สรุปแล้ว คุณวรวิทย์ ยืนยันว่าเป็นการกู้ยืมกันระหว่างธนาคารตามปกติ ซึ่งเมื่อยืนยันอย่างนี้ ก็อาจจะช่วยกันคุณวรวิทย์ ไม่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการฝ่าฝืนกฎหมาย

คุณวรวิทย์อ้างว่าไม่รู้ว่า ธกส จะใช้เงินดังกล่าว เพื่อโครงการจำนำข้าวหรือไม่ (แต่การนำสืบ ก็คงต้องขอให้คุณวรวิทย์ ยืนยันและชี้แจงขั้นตอนการติดต่อ โดยเฉพาะมีบุคคลภายนอกเข้ามาช่วยประสานงานหรือไม่ รัฐมนตรีคลังได้ให้ดูจดหมายคอมฟอร์ตหรือไม่ ฯลฯ)

แต่ในด้านหนึ่ง เป็นการปกป้อง ออมสิน แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ยิ่งเปิดประเด็นปัญหาให้ ธกส ต้องเตรียมคำตอบไว้ให้ดี

(ก) หากเป็นเงินกู้อินเตอแบงค์ตามปกติแล้ว ก็หมายความว่า ธกส เป็นผู้ที่เริ่มต้นคิดอ่านที่จะไปแสวงหาเงินกู้นี้ด้วยตนเอง ไม่มีใครบังคับ หรือกำกับการแสดง

ถ้าอย่างนี้ ธกส ก็ต้องเตรียมคำอธิบาย ว่าในเมื่อ ธกส มีสภาพคล่องเพื่อรองรับธุรกิจอื่นๆ (นอกเหนือจากจำนำข้าว) ที่พอเพียงอยู่แล้ว เหตุใด ธกส จึงคิดอ่านที่จะต้องกู้อินเตอแบงค์เพิ่มขึ้นอีก

ซึ่งบังเอิญมีการเร่งดำเนินการ ในช่วงที่มีการเลือกตั้งอย่างนี

และบังเอิญที่ผ่านมา มีข่าวแพร่สะพัดก่อนหน้า ว่ากระทรวงการคลังได้พยายามหาแหล่งเงินจากสถาบันการเงินต่างๆ ให้แก่ ธกส เพื่อใช้ในโครงการจำนำข้าว แต่ไม่สำเร็จ

การที่ ธกส เกิดบังเอิญมีความต้องการสภาพคล่องเพิ่ม เป็นกรณีพิเศษทีไม่ปกติ ทั้งที่ดูแล้วไม่น่าจะมีความจำเป็นสำหรับธุรกิจอื่นๆ และทำในช่วงเวลาที่กระทรวงการคลังประสบปัญหา มีความเกี่ยวพันกันหรือไม่อย่างไร

(ข) นอกจากนี้ ธกส ต้องเตรียมคำตอบ ว่าขบวนการติดต่อ ออมสิน เพื่อกู้อินเตอแบงค์ ดังกล่าวครั้งนี้ ใครเป็นผู้เริ่มดำเนินการ ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่เริ่มต้น จนจบ เป็นไปตามขั้นตอนปกติที่ ธกส และ ออมสิน เคยใช้ในอดีตหลายสิบปีหรือไม่

มีบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ ธกส หรือ ออมสิน เข้ามาร่วมในการประชุม ติดต่อ นัดแนะ หรือไม่

เจ้าหน้าที่ ธกส เคยเห็นจดหมายคอมฟอร์ตหรือไม่

(ค) และต้องเตรียมงานด้านบัญชี ให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบจาก สตง.

เนื่องจากการดำเนินโครงการจำนำข้าว ธกส ต้องแยกบัญชีออกต่างหาก จากธุรกิจอื่นๆ วัตถุประสงค์เพื่อมิให้มีปัญหาภายหลัง ในการจัดทำตัวเลขเพื่อขอการชดเชยจากกระทรวงการคลัง

และก็จะช่วยป้องกันมิให้ ธกส มั่ว โอนเอาค่าใช้จ่ายหรือภาระใด ที่ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล เข้าไปลงบัญชีในด้านโครงการ

ดังนั้น การนำเอาเงินที่ได้จากการกู้สภาพคล่องอินเตอแบงค์ โอนข้ามห้วย จากฝั่งธุรกิจปกติ ข้ามไปฝั่งโครงการตามนโยบายของรัฐบาล น่าจะทำไม่ได้

ถ้ามีการโอนข้ามห้วย ทั้งที่ในอดีตไม่เคยมีการทำเช่นนี้มาก่อน ทั้งที่ไม่เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติภายในของ ธกส และมาทำกันในช่วงเลือกตั้ง ก็จะสงสัยได้ ว่ามีเจตนาเพื่อทำให้เกิดผลต่อการเลือกตั้งหรือไม่

ผมแนะนำให้เตรียมคำตอบไว้แต่เนิ่นๆ ครับ เพราะอาจะมีผู้ใดเรียกให้ ธกส ชี้แจงเร็วๆ นี้ก็ได้ เช่น กรรมาธิการวุฒิสภา



**************************************************************************************


ธีระชัย ชี้ 5 ข้อ ขรก.-ผู้บริหาร ธ.ก.ส. ถูกหลอกใช้ กู้เงินจำนำข้าว 1.3 แสนล้าน


ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

ธีระชัย ชี้ 5 ข้อ ขรก. ผู้บริหาร ธ.ก.ส. ถูกหลอกใช้ กู้เงินจำนำข้าว 1.3 แสนล้าน
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก  เฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala

          ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง โพสต์เฟซบุ๊ก แนะข้าราชการ ผู้บริหาร ธ.ก.ส. ที่พัวพันกับการกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาท เพื่อนำเงินมาใช้หมุนเวียนในโครงการจำนำข้าว เร่งทบทวนใน 5 ประเด็น เนื่องจากกำลังตกเป็นเครื่องมือของรัฐบาล
          เมื่อเวลา 21.30 น. ของวันที่ 22 มกราคม 2557 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala ในหัวข้อ “รัฐบาลจะให้กฤษฎีกาตีความเพื่อกู้ 1.3 แสนล้านบาท ถามว่าจะทำให้ปลอดภัยจริงหรือ” โดยสรุปใจความได้ว่า จากข่าวที่ว่าในวันนี้ (23 มกราคม 2557) รัฐบาลจะขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความว่า การกู้ 1.3 แสนล้านบาท เพื่อจะหาเงินไปจ่ายให้แก่ชาวนา ที่ค้างจ่ายใบประทวนขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งวิธีการของกระทรวงการคลัง ในการพยายามที่จะกู้ 1.3 แสนล้านบาทครั้งนี้ มีเงื่อนงำหลายประเด็น ดังนี้
         ประเด็นที่ 1 วงเงินดังกล่าว จะใช้วิธีโยกออกมาจากโครงการลงทุนคมนาคมขนส่ง คือ รัฐบาลจะให้ชะลอการลงทุนดังกล่าวไปก่อน แล้วจะนำเงินมาใช้ในโครงการจำนำข้าวแทน ซึ่งวิธีนี้ต้องเรียกว่า จับแพะชนแกะ และถือว่าจนตรอกจนต้องมั่ว เพราะเป็นการโยกย้ายเอารายการที่เป็นการลงทุนระยะยาว ไปดำเนินการเป็นรายการที่เป็นค่าใช้จ่ายเสียแทน

          การทำเช่นนี้เป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของการตั้งวงเงินกู้ จากรายการที่เป็นงบดุลเข้าลักษณะเป็นงบลงทุน ไปเป็นรายการบัญชีกำไรขาดทุนที่เข้าลักษณะเป็นงบประจำ ซึ่งการทำเช่นนี้ไม่รู้ว่าถูกกฎหมายหรือไม่ แต่ไม่ค่อยเห็นเขาทำกัน ดังนั้น ย่อมไม่เป็นเรื่องปกติ แต่ส่อว่ามีเจตนาแอบแฝงบางอย่าง

         ประเด็นที่ 2 วงเงินที่กำหนดเดิมในปี 2554 จำนวน 4.1 แสนล้านบาท และที่เสนอ ครม. ในวันที่ 3 กันยายน 2556 อีก 2.7 แสนล้านบาท ก่อนหน้าที่จะมีการยุบสภานั้น ทั้งสองกรณีเป็นวงเงินหมุนเวียนซึ่งมีเป้าประสงค์จะให้รัฐบาลขายข้าวออกไป เพื่อนำเงินมาใช้หมุนเวียนในรอบต่อ ๆ ไป แต่การกู้ 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงเงินใหม่ 2.7 แสนล้านบาทนี้ กลับไม่ได้คำนึงถึงการขายข้าวเพื่อนำเงินมาหมุนเวียนเลย

          สรุปง่าย ๆ คือ ถ้าเปลี่ยนไปใช้หลักการว่า ขาดเงินเท่าไหร่ ก็กู้เพิ่มเท่านั้น จะทำให้เป้าประสงค์ที่จะให้รัฐบาลขายข้าวหมดสภาพไปโดยปริยาย แต่ในการกู้ 1.3 แสนล้านบาท โดยไม่กล่าวถึงวิธีแก้ปัญหา สืบเนื่องมากจากการที่รัฐบาลไม่ยอมขายข้าวออกไป จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงหลักการ และไม่ตรงกับเจตนารมณ์เดิมของการอนุมัติวงเงินทั้งสองครั้งดังกล่าว

         ประเด็นที่ 3 ในการเสนอวงเงินเดิมในปี 2554 จำนวน 4.1 แสนล้านบาท ได้มีการขมวดไว้ชัดเจน กำหนดเงื่อนไขให้กระทรวงการคลัง ต้องค้ำประกันหนี้ดังกล่าวแก่ ธกส. แต่ในการเสนอวงเงินใหม่ ในวันที่ 3 กันยายน 2556 อีก 2.7 แสนล้านนบาทในขณะนั้น ไม่ได้มีการระบุให้กระทรวงการคลัง ต้องค้ำประกันหนี้ดังกล่าวแก่ ธกส. แต่อย่างใด
          ต่อมา คณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะ ได้มีมติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการที่ ธกส. จะกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ 2.7 แสนล้านบาทดังกล่าว และได้แจ้งให้ ครม. รับทราบ จากนั้นกระทรวงการคลังได้ทำเรื่องนี้ไปหารือ กกต. แต่ กกต. ได้มีมติว่า การดำเนินการข้างต้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องใช้ดุลพินิจเอาเอง

          ซึ่งปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในประเด็นนี้ คือ คณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะ ได้มีมติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันภายหลังจากที่ได้มีการยุบสภาไปแล้ว ดังนั้นการทำเช่นนี้ส่อเจตนาชัดเจนว่า รัฐบาลพยายามจะทำในสิ่งที่รัฐธรรมนูญห้ามไว้ โดยยืมมือของคณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะในการดำเนินการ

         ประเด็นที่ 4 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังแถลงว่า การกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาท ไม่ใช่การที่รัฐบาลรักษาการณ์ทำให้เกิดหนี้ที่ผูกพันรัฐบาลใหม่ เพราะหนี้มีอยู่เดิมแล้ว ซึ่งต้องยอมรับว่าเกษตรกรที่ถือใบประทวนนั้น เป็นเจ้าหนี้รัฐบาลอยู่แล้ว และหนี้ดังกล่าวก็มีอยู่แล้ว ทั้งต่อรัฐบาลนี้และต่อรัฐบาลใหม่

          แต่กรณีมีรัฐบาลใหม่ หากรัฐบาลใหม่ไม่ต้องการดำเนินนโยบายจำนำข้าวต่อไปเหมือนเดิม รัฐบาลใหม่อาจจะเปลี่ยนแปลงวิธีดำเนินการบางอย่างก็ได้ เช่น รัฐบาลใหม่อาจจะไม่ประสงค์จะใช้เงินกู้ เพื่อชำระใบประทวนก็ได้ แต่อาจจะเน้นใช้เงิน จากการขายข้าวออกไปแทนทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้

          ทั้งนี้ รัฐบาลใหม่อาจต้องการให้มีการตรวจนับสต๊อก หรือตรวจสอบขั้นตอนการรับข้าวเข้าโกดัง หรือตรวจสอบขั้นตอนการบันทึกบัญชี หรือทำเรื่องอื่นใดเสียก่อนที่จะมีการกู้ยืมเงิน 1.3 แสนล้านบาท ดังนั้น การกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาทนี้ อาจมีผลเป็นการผูกพันรัฐบาลใหม่ได้ในบางเรื่อง

         ประเด็นที่ 5 แม้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำแก่รัฐบาล แต่คำตอบสุดท้าย อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การที่ข้าราชการ หรือผู้บริหาร ธกส. ยอมทำตัวเป็นเครื่องมือ เข้าร่วมในขบวนการกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาท  หากภายหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าผิด บุคคลเหล่านี้ก็ต้องร่วมรับผิดไปพร้อมกับ ครม. ด้วย ดังนั้นข้าราชการควรระมัดระวัง โดยเฉพาะการยกคำถามแก่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หากไม่พูดข้อเท็จจริงและเบื้องหลังทั้งหมด อาจจะได้คำตอบที่สนับสนุนรัฐบาล

          อย่างไรก็ตาม หากมีการร้องเรียนต่อศาลรัฐธรรมนูญ จนนำไปสู่การสืบวิธีดำเนินการที่ปรากฏว่ามีเงื่อนงำ หรือไม่เป็นไปตามครรลองปกติ เป็นเหตุให้ผลการตัดสินอาจไม่ตรงกับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ยิ่งขณะนี้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว ขั้นตอนการทำงานต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ข้าราชการหรือผู้บริหาร ธกส. ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นอย่างที่คาดไม่ถึง

****************************************

ธีระชัย...เป็นอย่างไรบ้างตอนนี้?

รายการ  ประจำวันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังเคยพูดไว้ว่า....ให้ความสำคัญเรื่องวินัยทางการคลังเป็นอย่างมาก...ไม่ได้มีส่วนในการร่างนโยบายของพรรคเพื่อไทย  แต่ก็เห็นด้วยกับแนวความคิดเหล่านี้  เนื่องจากเป็นแนวคิดที่ต้องการจะปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย ....จำเป็นต้องมีการพิจารณาเรื่องความยั่งยืนทางฐานะการคลังควบคู่ไปด้วย  เพื่อประสานความใฝ่ฝันทางการเมืองให้พอดีกับความเป็นไปได้ทางวิชาการ ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างข้าราชการและนโยบายของพรรค ให้มีความกลมกลืนกันให้มากที่สุด....ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างเเล้ว

Produced by VoiceTV
15 กันยายน 2554 เวลา 20:36 น.

*****************************************************

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557


ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล:ชาวนาที่ค้างใบประทวน เมื่อไหร่จะได้เงิน?

เนื้อหาว่า ขณะนี้ รัฐบาลค้างจ่ายเงิน ให้แก่ชาวนา ที่ส่งข้าวเข้าไปโกดังแล้ว และได้รับใบประทวนแล้ว แต่ไม่สามารถ ขึ้นเป็นเงินได้ โดยมีใบประทวน ค้างจ่ายกว่า 1 ล้านฉบับ ชาวนาที่ไม่ได้รับเงิน เดือดร้อนมาก ต้องไปกู้เงินนอกระบบ เสียดอกเบี้ยในอัตราสูงมาก ผลกระทบเกิดขึ้น ต่อชาวนาหลายแสนคน

เหตุการณ์ที่ผ่านมา ปรากฎว่าพาณิชย์ ไม่ยอมขายข้าวออกไป เหตุผล มีสองข้อ
ข้อหนึ่ง เนื่องจากกลัวว่า ถ้าขายออกไปมาก จะทำให้ราคาตลาดโลกลดต่ำ ซึ่งจะมีผลทำให้ การตีราคาสต๊อกข้าวในมือ จะมีมูลค่าสต๊อก ลดต่ำลงไปด้วย อีกเหตุผลหนึ่ง อาจจะเกี่ยวข้องไปถึงเรื่องที่ ปปช. กำลังตรวจสอบอยู่ ในขณะนี้

เมื่อไม่ยอมขายข้าวออกไป ก็ไม่มีเงินหมุนเวียนวนกลับ ทำให้เงินเหลือ ในวงเงินดังกล่าว ที่จะจ่ายให้แก่ชาวนา ในรอบต่อๆ ไป ร่อยหรอไปด้วย

ถามว่า มาถึงวันนี้ รัฐบาลจะสามารถกู้เงินมา เพื่อจ่ายให้แก่ชาวนา ได้หรือไม่ ? ถ้า นายกิตติรัตน์ ได้วางแผนล่วงหน้า ควรจะได้เสนอ ครม. ให้ขยายวงเงิน หมุนเวียน ให้สูงขึ้นสักจำนวนหนึ่ง เพื่อรองรับปัญหานี้ สุดท้าย มีการยุบสภาเสียก่อน จึงมีผลเท่ากับ รัฐมนตรีคลังได้จูงมือ พารัฐบาล เข้าตาจน

นายกิตติรัตน์ ยังดันทุรัง เสนอเรื่องต่อ ครม. ให้ทำเรื่องไปขออนุญาต กกต. เพื่อกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาท " เรื่องนี้น่าจะยาก " เนื่องจากวงเงินเดิมกำหนดไว้ ในลักษณะ เป็นวงเงินหมุนเวียน จึงไม่มีช่องที่รัฐบาล จะกู้เงินภายในวงเงินเดิม แม้แต่น้อย จึงไม่เห็นว่า กกต. จะสามารถอนุญาตได้อย่างใด

การที่รัฐบาลเสนอเรื่องไปที่ กกต. อาจจะเป็นเพียงเพื่อ ให้ชาวนาเห็นว่า รัฐบาลได้พยายามแล้ว แต่อุปสรรคอยู่ที่ กกต. มิใช่อยู่ที่รัฐบาล มากกว่าที่จะหวังผลอย่างแท้จริง

* ถามว่า รัฐบาลจะขอให้ ธกส. ใช้เงินสภาพคล่อง เพื่อจ่ายให้ชาวนาไป บางส่วน ได้หรือไม่? ข่าวล่าสุด ทั้งผู้บริหาร และสหภาพ ธกส. ไม่เห็นด้วย เพราะทำให้ ธกส. เสี่ยงที่จะขาดทุน โดยที่ไม่มีข้อผูกมัดจาก ครม. มาคุ้มครอง หากนำเงิน มาทุ่มในโครงการจำนำข้าว ก็จะเป็นอันตรายต่อ ธกส. - และหากเกิดความเสียหาย ผู้บริหาร ธกส. จะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวอีกด้วย !!!

*ถามว่า รัฐบาลจะใช้ธนาคารออมสิน กรุงไทย หรือธนาคารรัฐอื่นๆ เพื่อจ่ายเงินให้แก่ชาวนาได้หรือไม่ ไม่ว่าโดยตรง หรือโดยอ้อมผ่าน ธกส. - หากผู้บริหาร กรรมการ ของสถาบันการเงิน ของรัฐ ดังกล่าว เข้าไปให้กู้แก่รัฐบาล เพื่อโครงการนี้ ทุกๆ คน จะมีความเสี่ยงต่อตนเอง แบบเต็มๆ - ทั้งนี้เพราะ มาตรา 181 (4) บัญญัติไว้ให้รัฐบาลรักษาการณ์

“ ไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากร ของรัฐเพื่อดำเนินการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง ” - หากรัฐบาลสั่งให้สถาบันการเงิน ของรัฐ ดำเนินการดังกล่าว ทั้ง ครม. และผู้บริหารสถาบันการเงิน ของรัฐ ก็อาจจะมีความผิดทุกๆ คน

*ถามว่า การที่ชาวนา รวมตัวกัน ฟ้องคดีรัฐบาล และพรรคเพื่อไทย จะได้เงินหรือไม่ ? หากเป็นการฟ้องศาลปกครอง ก็ไม่สามารถตัดสิน เกินไปกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดได้ หากเป็นการฟ้องศาลแพ่ง กว่าจะได้ผล ก็คงกินเวลาอีกนานมาก - ถามว่า หากมีการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภา 57 และถ้าหากชาวนาพากันเลือก พรรคเพื่อไทย จะได้เงินหรือไม่ หากมีรัฐบาลใหม่ เงื่อนไขที่เป็น ข้อจำกัด ก็จะหมดไป รัฐบาลใหม่ จะสามารถกู้เงินมาเพื่อแก้ปัญหาได้ทันที แต่เงื่อนเวลาอาจจะแตกต่างกัน

*หากสมมุติเล่นๆ ว่ารัฐบาลใหม่ เป็นรัฐบาลคนกลาง ไม่ว่าเกิดขึ้นเนื่องจาก นายกยิ่งลักษณ์ลาออก หรือเนื่องจากการปฏิวัติ รัฐประหาร รัฐบาลใหม่ก็คงดำเนินการได้ทันที แต่สำหรับรัฐบาลที่จะเกิดขึ้น จากการเลือกตั้งนั้น เงื่อนเวลา จะมีความแน่นอนน้อยกว่า เพราะกว่าจะเลือกตั้งกันครบถ้วน กว่าจะได้จำนวน ส.ส. มากพอ ที่จะเปิดสภา และกว่าจะฝ่าฟันการต่อสู้ในศาล ที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลัง การนับคะแนน จะทำให้กะเวลาได้ยากกว่ามาก

*สรุปแล้ว หากรัฐบาลใหม่ เป็นรัฐบาลคนกลาง เงื่อนเวลา น่าจะแน่นอน หากเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้ง เงื่อนเวลา จะกะยากกว่า - ที่ผมพูดทั้งหมดนี้ ไม่ได้สนับสนุนรัฐบาลแบบใดเป็นพิเศษ แต่ต้องการให้ชาวนา ทำใจยอมรับ - หรือหากไม่ทำใจยอมรับ ก็ขอให้รู้ ว่าปัญหาเกิดจากจุดใด#PDRC UTT


ที่มา :  https://www.facebook.com/thirachai.phuvanatnaranubala ใน ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล:ชาวนาที่ค้างใบประทวน เมื่อไหร่จะได้เงิน?


************************************************************************************************************************

วันอังคาร ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557, 13.27 น.

11 ก.พ.57 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง เปิดเผยในงานเสวนา "ช่วยชาวนาอย่างไร โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญและรักษาวินัยการเงินการคลัง" โดยกล่าวยอมรับว่า ขณะนี้โครงการรับจำนำข้าวมาถึงทางตัน เนื่องจากรัฐบาลไม่มีเงินมาจ่ายชาวนา และจะไปให้สถาบันการเงินกู้เพื่อมาใช้ในโครงการ แต่ปรากฏว่าสถาบันการเงินไม่สามารถปล่อยกู้ได้ เพราะติดขัดในด้านกฎหมาย
นอกจากนี้ ยังจะให้โรงสีเข้ามารับภาระโดยจะให้ชาวนานำใบประทวนมาขอสภาพคล่องอีก โดยจะให้มีการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่โรงสีในอนาคต ปรากฏว่าพบปัญหาที่ว่าไม่มีกฎหมายข้อไหนมารองรับที่จะดำเนินการในเรื่องของการจ่ายชดเชยดอกเบี้ยให้แก่โรงสีได้เลย
นายธีระชัย กล่าวต่อว่า ทางรัฐบาลรักษาการควรที่จะมีการเร่งแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยการขายข้าวล็อตใหญ่ ในจำนวน 2 ล้านตันต่อเดือน ซึ่งต้องไม่ใช่วิธีขายแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจีปลอม เหมือนที่ผ่านมา แต่ก็ต้องยอมรับว่าการขายแบบทีละ 2 ล้านตัน จะทำให้กดราคาตลาดโลกให้ต่ำลง แต่ก็จะเป็นเพียงระยะสั้นๆ และจะทำให้รัฐบาลขาดทุนบ้าง แต่ก็สามารถมีเงินมาจ่ายชาวนาได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น