1.
คัดเลือกจากราษฎรอาสาสมัครที่มีภูมิลำเนาในหมู่บ้าน
ชุมชนที่จัดตั้งเป็นตำรวจชุมชน โดยอยู่เป็นประจำ
ในเขตพื้นที่หมู่บ้าน ชุมชนมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยให้มีจำนวนตามความเหมาะสมที่จะสามารถปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้คณะกรรมการอำนวยการสถานีตำรวจภูธร...............เป็นผู้พิจารณากำหนดจำนวนตามศักยภาพของพื้นที่
2. มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีขึ้นไป มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง มีความเหมาะสมที่จะปฎิบัติหน้าที่การเป็นตำรวจชุมชนอย่างเหมาะสม
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4. ไม่เป็นพระภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช ไม่เป็นผู้ที่มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ หรือวิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไร้ความสามารถ หรือผู้ที่ติดยาเสพติดให้โทษหรือโทษร้ายแรงอื่นๆ หรือเป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม รวมถึงไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
5. ไม่เป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการประจำ หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการการเมือง หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
6. ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
7. ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก จากองค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานอื่น
8. มีความรู้พื้นฐานไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
การพ้นสภาพการเป็นตำรวจชุมชน
1. ขาดคุณสมบัติตามเกณฑ์การเป็นตำรวจชุมชน
2. ตาย
3. ครบวาระตามเงื่อนไขเวลาที่คณะกรรมการจัดตั้งตำรวจชุมชน
4. ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากคณะกรรมการจัดตั้งตำรวจชุมชน
5. บกพร่องในความประพฤติหรือความสามารถไม่เหมาะสม
ในเขตพื้นที่หมู่บ้าน ชุมชนมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยให้มีจำนวนตามความเหมาะสมที่จะสามารถปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้คณะกรรมการอำนวยการสถานีตำรวจภูธร...............เป็นผู้พิจารณากำหนดจำนวนตามศักยภาพของพื้นที่
2. มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีขึ้นไป มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง มีความเหมาะสมที่จะปฎิบัติหน้าที่การเป็นตำรวจชุมชนอย่างเหมาะสม
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4. ไม่เป็นพระภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช ไม่เป็นผู้ที่มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ หรือวิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไร้ความสามารถ หรือผู้ที่ติดยาเสพติดให้โทษหรือโทษร้ายแรงอื่นๆ หรือเป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม รวมถึงไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
5. ไม่เป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการประจำ หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการการเมือง หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
6. ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
7. ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก จากองค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานอื่น
8. มีความรู้พื้นฐานไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
การพ้นสภาพการเป็นตำรวจชุมชน
1. ขาดคุณสมบัติตามเกณฑ์การเป็นตำรวจชุมชน
2. ตาย
3. ครบวาระตามเงื่อนไขเวลาที่คณะกรรมการจัดตั้งตำรวจชุมชน
4. ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากคณะกรรมการจัดตั้งตำรวจชุมชน
5. บกพร่องในความประพฤติหรือความสามารถไม่เหมาะสม
กำหนดหน้าที่และการปฎิบัติงานของตำรวจชุมชน
ตำรวจชุมชน มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
1. ตำรวจชุมชน มีเขตอำนาจการรับผิดชอบเฉพาะเขตพื้นที่ภายในหมู่บ้าน/ตำบลที่ได้รับแต่งตั้ง
2. มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและรักษาความสงบเรียบร้อย
3. มีหน้าที่ประนีประนอม ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้น และเป็นกรณีที่ความสามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่ของตำรวจ
4. มีหน้าที่ให้บริการประชาชนตามอำนาจหน้าที่ของตำรวจ
5. มีหน้าที่ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาท้องถิ่นอื่นๆ โดยเข้าร่วมประชุมหรือวิธีการอื่นๆ เพื่อรับทราบสภาพปัญหา ข้อเสนอแนะ แนะแนวนโยบายในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน ชุมชน
6. ประสานและปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ในการประกอบกำลังเพื่อการปฏิบัติงานหรือแนวนโยบายในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน ชุมชน
7 . งานอื่นๆ ที่หัวหน้าสถานีตำรวจหรือผู้แทนมอบหมาย
ระบบวิธีปฏิบัติงานของตำรวจชุมชน ดังนี้
1. การควบคุมกำกับดูแล ให้สถานีตำรวจภูธรรับผิดชอบ มอบหมายให้ตำรวจชั้นสัญญาบัตรอย่างน้อย 1 นาย ควบคุมดูแลตรวจสอบและให้คำแนะนำในการปฎิบัติหน้าที่ตำรวจชุมชน
2. การดำเนินการทางธุรการ จัดให้มีสมุดประจำวัน ประจำการที่ทำการตำรวจชุมชน เพื่อบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันไว้เป็นหลักฐาน และให้มีการควบคุมตรวจสอบเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
3. การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการรักษาความสงบเรียบร้อย
3.1 จัดราษฎรอาสาสมัครร่วมปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจวันละ 2 คน โดยสับเปลี่ยนหมุนเวียน
3.2 จัดทำแผนที่ของพื้นที่ตลอดจนข้อมูลสำคัญ หรือจำเป็นต่อการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมไว้ประจำที่ทำการ
1) เก็บรวบรวมสถิติข้อมูลท้องถิ่นปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงและเป็นปัจจุบันเสมอ
2) จัดทำข้อมูลรายละเอียดที่จำเป็นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนป้องกันปราบปรามระงับเหตุ เช่น สถานที่สำคัญ สถิติการเกิดอาชญากรรม ช่วงเวลาเกิดเหตุ สาเหตุที่เกิดความถี่ ตลอดจนการจัดวางกำลังเจ้าหน้าที่สายตรวจ ใช้แผนที่ให้เป็นประโยชน์ในการวางแผนป้องกันปราบปรามและควบคุมอาชญากรรม
3) ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งเป็นหัวหน้าหรือพี่เลี้ยงตำรวจชุมชน รวบรวมและตรวจความถูกต้องของข้อมูลท้องถิ่น และเหตุเบื้องต้นของความผิดอาญาส่งให้นายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบตรวจและสรุป เสนอหัวหน้างานป้องกันปราบปรามเพื่อทราบและดำเนินการต่อไป
3.3 การป้องกัน
1) ให้ออกตรวจพื้นที่หมู่บ้าน ชุมชนที่รับผิดชอบตามแผนสายตรวจ
2) ให้ตำรวจชุมชนที่ออกปฎิบัติหน้าที่บันทึกผลการตรวจไว้ในสมุดตรวจของตำรวจชุมชนโดยให้จัดทำสมุดบันทึกการตรวจที่บ้านกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน
3) สังเกตบุคคล สถานที่ เหตุการณ์และอื่นๆ เพื่อป้องกันและทำการตรวจสอบ ตรวจค้น เมื่อจำเป็นและเห็นสมควรหรือตามที่ได้รับมอบหมายสั่งการจากหัวหน้าสถานีตำรวจหรือผู้แทน
4) ให้บริการประชาชนหรือสาธารณะชนตามที่เห็นสมควร เช่น การให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่ประชาชนผู้สัญจรไปมา และช่วยเหลือประชาชนเมื่อประสบภัยต่างๆ
5) ออกเยี่ยมประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ อาทิเช่น ผู้เสียหายในคดีต่างๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนหรือชุมชนในพื้นที่ด้วยการสอบถามและให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่ตำรวจและอื่นๆ เท่าที่จะสามารถทำได้ และรับฟังความเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
6) แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลจากสถานีตำรวจหรือสายตรวจที่เกี่ยวข้อง
3.4 การระงับหรือปราบปราม
1) เมื่อมีเหตุที่ต้องระงับหรือปราบปราม ให้รายงานหรือขอความร่วมมือช่วยเหลือจากสถานีตำรวจหลัก สายตรวจที่ใกล้เคียง หรือกำนัน ผู้ใหญ่บ้านพื้นที่นั้นๆ
2) ในกรณีที่จำเป็นต้องรักษาสถานที่เกิดเหตุเพื่อเก็บรักษาร่องรอยพยานหลักฐานก็ให้ทำการรักษาสถานที่เกิดเหตุไว้จนกว่าผู้ที่เกี่ยวข้องจะมาดำเนินการต่อไป รวมตลอดทั้งให้การช่วยเหลือพนักงานสอบสวนในที่เกิดเหตุ
3) ศึกษาแผนระงับหรือปราบปรามที่กำหนดไว้และปฏิบัติตามแผนเมื่อเกิดเหตุหรือเมื่อได้รับคำสั่ง เช่น แผนสกัดจับคนร้าย เป็นต้น
4) สังเกตบุคคล สถานที่เหตุการณ์และอื่นๆ ที่ได้รับคำสั่งเมื่อทราบข่าว เช่น เมื่อได้ข่างทางวิทยุติดต่อว่ามีการกระทำความผิดในพื้นที่หรือพื้นที่ข้างเคียงและคนร้ายหลบหนี แม้มิได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติการใด โดยเฉพาะต้องให้ความสนใจสังเกตบุคคล ยานพาหนะ เพื่อปราบปรามในกรณีนั้นๆ
5) สร้างความสัมพันธ์กับประชาชนและหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการป้องกันปราบปราม
4. ประสานการปฏิบัติกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่
4.1 เข้าร่วมประชุมหารือกับสภาบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
4.2 ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อย่างใกล้ชิดเพื่อรับทราบสภาพปัญหาข้อเสนอแนะ และแนวนโยบายในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในชุมชน
4.3 ประสานและปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ในการประกอบกำลัง เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ ตามแผนหรือนโยบายในการรักษาความสงบเรียบร้อยของหมู่บ้าน ชุมชน
1. ตำรวจชุมชน มีเขตอำนาจการรับผิดชอบเฉพาะเขตพื้นที่ภายในหมู่บ้าน/ตำบลที่ได้รับแต่งตั้ง
2. มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและรักษาความสงบเรียบร้อย
3. มีหน้าที่ประนีประนอม ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้น และเป็นกรณีที่ความสามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่ของตำรวจ
4. มีหน้าที่ให้บริการประชาชนตามอำนาจหน้าที่ของตำรวจ
5. มีหน้าที่ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาท้องถิ่นอื่นๆ โดยเข้าร่วมประชุมหรือวิธีการอื่นๆ เพื่อรับทราบสภาพปัญหา ข้อเสนอแนะ แนะแนวนโยบายในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน ชุมชน
6. ประสานและปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ในการประกอบกำลังเพื่อการปฏิบัติงานหรือแนวนโยบายในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน ชุมชน
7 . งานอื่นๆ ที่หัวหน้าสถานีตำรวจหรือผู้แทนมอบหมาย
ระบบวิธีปฏิบัติงานของตำรวจชุมชน ดังนี้
1. การควบคุมกำกับดูแล ให้สถานีตำรวจภูธรรับผิดชอบ มอบหมายให้ตำรวจชั้นสัญญาบัตรอย่างน้อย 1 นาย ควบคุมดูแลตรวจสอบและให้คำแนะนำในการปฎิบัติหน้าที่ตำรวจชุมชน
2. การดำเนินการทางธุรการ จัดให้มีสมุดประจำวัน ประจำการที่ทำการตำรวจชุมชน เพื่อบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันไว้เป็นหลักฐาน และให้มีการควบคุมตรวจสอบเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
3. การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการรักษาความสงบเรียบร้อย
3.1 จัดราษฎรอาสาสมัครร่วมปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจวันละ 2 คน โดยสับเปลี่ยนหมุนเวียน
3.2 จัดทำแผนที่ของพื้นที่ตลอดจนข้อมูลสำคัญ หรือจำเป็นต่อการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมไว้ประจำที่ทำการ
1) เก็บรวบรวมสถิติข้อมูลท้องถิ่นปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงและเป็นปัจจุบันเสมอ
2) จัดทำข้อมูลรายละเอียดที่จำเป็นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนป้องกันปราบปรามระงับเหตุ เช่น สถานที่สำคัญ สถิติการเกิดอาชญากรรม ช่วงเวลาเกิดเหตุ สาเหตุที่เกิดความถี่ ตลอดจนการจัดวางกำลังเจ้าหน้าที่สายตรวจ ใช้แผนที่ให้เป็นประโยชน์ในการวางแผนป้องกันปราบปรามและควบคุมอาชญากรรม
3) ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งเป็นหัวหน้าหรือพี่เลี้ยงตำรวจชุมชน รวบรวมและตรวจความถูกต้องของข้อมูลท้องถิ่น และเหตุเบื้องต้นของความผิดอาญาส่งให้นายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบตรวจและสรุป เสนอหัวหน้างานป้องกันปราบปรามเพื่อทราบและดำเนินการต่อไป
3.3 การป้องกัน
1) ให้ออกตรวจพื้นที่หมู่บ้าน ชุมชนที่รับผิดชอบตามแผนสายตรวจ
2) ให้ตำรวจชุมชนที่ออกปฎิบัติหน้าที่บันทึกผลการตรวจไว้ในสมุดตรวจของตำรวจชุมชนโดยให้จัดทำสมุดบันทึกการตรวจที่บ้านกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน
3) สังเกตบุคคล สถานที่ เหตุการณ์และอื่นๆ เพื่อป้องกันและทำการตรวจสอบ ตรวจค้น เมื่อจำเป็นและเห็นสมควรหรือตามที่ได้รับมอบหมายสั่งการจากหัวหน้าสถานีตำรวจหรือผู้แทน
4) ให้บริการประชาชนหรือสาธารณะชนตามที่เห็นสมควร เช่น การให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่ประชาชนผู้สัญจรไปมา และช่วยเหลือประชาชนเมื่อประสบภัยต่างๆ
5) ออกเยี่ยมประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ อาทิเช่น ผู้เสียหายในคดีต่างๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนหรือชุมชนในพื้นที่ด้วยการสอบถามและให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่ตำรวจและอื่นๆ เท่าที่จะสามารถทำได้ และรับฟังความเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
6) แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลจากสถานีตำรวจหรือสายตรวจที่เกี่ยวข้อง
3.4 การระงับหรือปราบปราม
1) เมื่อมีเหตุที่ต้องระงับหรือปราบปราม ให้รายงานหรือขอความร่วมมือช่วยเหลือจากสถานีตำรวจหลัก สายตรวจที่ใกล้เคียง หรือกำนัน ผู้ใหญ่บ้านพื้นที่นั้นๆ
2) ในกรณีที่จำเป็นต้องรักษาสถานที่เกิดเหตุเพื่อเก็บรักษาร่องรอยพยานหลักฐานก็ให้ทำการรักษาสถานที่เกิดเหตุไว้จนกว่าผู้ที่เกี่ยวข้องจะมาดำเนินการต่อไป รวมตลอดทั้งให้การช่วยเหลือพนักงานสอบสวนในที่เกิดเหตุ
3) ศึกษาแผนระงับหรือปราบปรามที่กำหนดไว้และปฏิบัติตามแผนเมื่อเกิดเหตุหรือเมื่อได้รับคำสั่ง เช่น แผนสกัดจับคนร้าย เป็นต้น
4) สังเกตบุคคล สถานที่เหตุการณ์และอื่นๆ ที่ได้รับคำสั่งเมื่อทราบข่าว เช่น เมื่อได้ข่างทางวิทยุติดต่อว่ามีการกระทำความผิดในพื้นที่หรือพื้นที่ข้างเคียงและคนร้ายหลบหนี แม้มิได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติการใด โดยเฉพาะต้องให้ความสนใจสังเกตบุคคล ยานพาหนะ เพื่อปราบปรามในกรณีนั้นๆ
5) สร้างความสัมพันธ์กับประชาชนและหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการป้องกันปราบปราม
4. ประสานการปฏิบัติกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่
4.1 เข้าร่วมประชุมหารือกับสภาบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
4.2 ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อย่างใกล้ชิดเพื่อรับทราบสภาพปัญหาข้อเสนอแนะ และแนวนโยบายในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในชุมชน
4.3 ประสานและปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ในการประกอบกำลัง เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ ตามแผนหรือนโยบายในการรักษาความสงบเรียบร้อยของหมู่บ้าน ชุมชน
สิทธิประโยชน์และการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฎิบัติงานของตำรวจชุมชน
สิทธิประโยชน์และการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฎิบัติงานของตำรวจชุมชน
1)ได้รับค่าตอบแทนหรือสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ตามคณะกรรมการอำนวยการจัดตั้งตำรวจชุมชนสถานีตำรวจกำหนด
2) การแต่งกายตามที่คณะกรรมการอำนวยการตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์กำหนด
3) เมื่อประสบภัยอันเกิดจากการช่วยเหลือราชการ เป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัย เนื่องจากช่วยราชการ การปฎิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2497
4.) ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลในระดับอันเป็นที่น่าพอใจของทางราชการหรือของสังคมชุมชน ถือว่าเป็นผู้ที่มีความชอบ จะได้รับบำเหน็จความชอบ ซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือรางวัล ตามควรแก่กรณี
1)ได้รับค่าตอบแทนหรือสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ตามคณะกรรมการอำนวยการจัดตั้งตำรวจชุมชนสถานีตำรวจกำหนด
2) การแต่งกายตามที่คณะกรรมการอำนวยการตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์กำหนด
3) เมื่อประสบภัยอันเกิดจากการช่วยเหลือราชการ เป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัย เนื่องจากช่วยราชการ การปฎิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2497
4.) ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลในระดับอันเป็นที่น่าพอใจของทางราชการหรือของสังคมชุมชน ถือว่าเป็นผู้ที่มีความชอบ จะได้รับบำเหน็จความชอบ ซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือรางวัล ตามควรแก่กรณี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น