เพลงฉ่อยชาววัง

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

อดีตผู้นำสิงค์โปร์ ลีกวนยู ชี้ทักษิณ ชินวัตร พลิกโฉมการเมืองไทย

อดีตผู้นำสิงค์โปร์ ลีกวนยู ชี้ทักษิณ ชินวัตร พลิกโฉมการเมืองไทย ปลุกผู้คนตระหนักถึงอำนาจผูกขาดทรัพยากรของชนชั้นนำกรุงเทพ ถมช่องว่างคนรวย-คนจน ยกฐานะคนชั้นล่างเป็นคนชั้นกลาง

ในหนังสือเล่มใหม่ที่เพิ่งออกวางตลาดเมื่อเร็วๆนี้ ชื่อ "
อดีตนายกรัฐมนตรีเจ้าของสมยานาม "บิดาแห่งสิงค์โปร์สมัยใหม่" ลีกวนยู ได้แสดงทัศนะต่อความเป็นไปในโลกในหลายแง่มุม ในตอนหนึ่ง เขาได้กล่าวถึงอดีตนายกรัฐมนตรีไทย ทักษิณ ชินวัตร ในบทที่ชื่อ "Thailand : An Underclass Stirs"

ในบทความซึ่งเรียบเรียงจากคำให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์ The Strait Times ดังกล่าว ลีเริ่มต้นด้วยการชี้ว่า การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณได้พลิกโฉมการเมืองไทยไปอย่างถาวร ก่อนยุคทักษิณนั้น การประชันขันแข่งทางการเมืองจำกัดอยู่ในหมู่ชนชั้นนำกรุงเทพ และปกครองเพื่อผลประโยชน์ของนายทุนชาติ แต่ทักษิณได้เข้าไปเปลี่ยนสถานะเดิม ด้วยการผันทรัพยากรที่ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางกรุงเทพเคยตักตวงให้ไปสู่คนยากนจน ทำให้ชาวนาในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

ลีบอกในหนังสือซึ่งจัดพิมพ์โดย Strait Times Press เล่มนี้ว่า ก่อนหน้ายุคทักษิณ นโยบายเน้นความเติบโตของกรุงเทพของรัฐบาลต่างๆก่อนหน้าเขา ได้ทำให้เกิดช่องว่าง ทักษิณได้ทำให้ประชาชนตื่นรู้ถึงช่องว่างนี้ และความไม่เป็นธรรมของนโยบายดังกล่าว แล้วเสนอนโยบายที่จะถมช่องว่างนี้เสีย นโยบายของทักษิณได้มุ่งให้ประโยชน์แก่คนยากจนในชนบทอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน อาทิ กองทุนหมู่บ้าน, ทุนเรียนต่างประเทศสำหรับนักเรียนจากชนบท, บ้านเอื้ออาทร, และ 30 บาทรักษาทุกโรค

ฝ่ายที่ต่อต้านทักษิณมองว่า เขาได้สร้างความฉิUHายแก่ประเทศ ซึ่งไม่อาจยอมได้ คนเหล่านั้นบอกว่า เขาเป็นนักประชานิยม นโยบายของเขาจะทำให้ประเทศล้มละลาย แต่เมื่อคนพวกนั้นขึ้นครองอำนาจจากเดือนธันวาคม 2551 ถึงเดือนสิงหาคม 2554 พวกเขาก็ยังคงดำเนินนโยบายเหล่านี้ต่อไป คนพวกนี้กล่าวหาทักษิณว่า คอรัปชั่น ทำเพื่อธุรกิจของครอบครัว ไม่ชอบบริษัทของเขา โจมตีว่าเขาแทรกแซงสื่อ และไม่เห็นด้วยกับการปราบปรามยาเสพติดและการแก้ปัญหาภาคใต้ ซึ่งมองข้ามสิทธิมนุษยชน แม้กระนั้น บรรดาชาวนาซึ่งมีจำนวนมากมายมหาศาลยังคงเลือกเขาในปี 2548 แต่ท้ายที่สุด ชนชั้นนำกรุงเทพไม่อาจทนรับชายผู้นี้ได้ ทักษิณได้ถูกยึดอำนาจในการรัฐประหารในปี 2549

นับแต่นั้น เมืองหลวงของประเทศไทยได้เผชิญความโกลาหล มีการประท้วงของมวลชนเสื้อเหลืองซึ่งต่อต้านทักษิณในนามของการปกป้องสถาบันกษัตริย์ และการประท้วงของคนเสื้อแดงซึ่งสนับสนุนทักษิณ แต่ทว่าการเลือกตั้งครั้งหลังสุดเมื่อปี 2554 ได้ส่งน้องสาวของเขา ยิ่งลักษณ์ ขึ้นสู่เก้าอี้นายกรัฐมนตรี แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผู้ออกเสียงเลือกตั้งได้เลือกวิถีทางใหม่ที่ทักษิณได้เลือกให้แก่ประเทศไทย ชาวนาในภภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ลิ้มรสชาติของการเข้าถึงแหล่งทุน จะไม่ยอมปล่อยโอกาสให้หลุดมือไป จนถึงขณะนี้ ทักษิณและพันธมิตรของเขาได้ชนะเลือกตั้งมาแล้ว 5 ครั้งซ้อน ความพยายามของฝ่ายต่อต้านทักษิณนับว่าไร้ผล

แม้สังคมไทยได้เกิดความปั่นป่วน แต่มีแนวโน้มสดใสในระยะยาว คนเสื้อแดงจะยังคงมีมากกว่าคนเสื้อเหลืองไปอีกยาวนาน 
ลียังได้กล่าวถึงกองทัพไทยด้วยว่า มีบทบาทนำในการเมืองไทยมาช้านาน กองทัพไทยไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว กองทัพไม่อาจต้านทานเจตจำนงของผู้เลือกตั้งได้อย่างยืดเยื้อยาวนาน 

อดีตผู้นำสิงค์โปร์กล่าวต่อไปว่า พวกผู้นำเหล่าทัพจะยังคงยืนกรานรักษาอภิสิทธิ์ต่างๆ และจะไม่ยอมถูกลดสถานะเป็นเพียงกองทัพธรรมดา อย่างไรก็ดี พวกเขาจะเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับรัฐบาลที่เป็นพันธมิตรของทักษิณ และเป็นไปได้ว่า ในท้ายที่สุด กองทัพจะยอมรับการกลับสู่ประเทศไทยของทักษิณ หากเขาให้คำมั่นสัญญาที่จะไม่แก้แค้น

ลีกล่าวในที่สุดว่า ประเทศไทยไม่มีวันหวนกลับสู่การเมืองแบบเก่าแล้ว ซึ่งเป็นการเมืองที่ชนชั้นนำกรุงเทพผูกขาดอำนาจ ประเทศไทยจะก้าวเดินต่อไปตามแนวทางที่ทักษิณได้ขับเคลื่อนไว้ ช่องว่างในมาตรฐานการครองชีพของผู้คนทั้งประเทศจะหดแคบลง ชาวนาจำนวนมากจะได้รับการยกระดับเป็นชนชั้นกลาง และจะช่วยหนุนส่งการบริโภคภายในประเทศ ประเทศไทยจะมีอนาคตสดใส.


****************************************************************************************************
อดีตนายกรัฐมนตรี ลี กวนยิว ของสิงคโปร์ เขียนหนังสือเล่มใหม่ล่าสุด ชื่อ “One Man’s View of the World” ในวัย 90 - 

วิพากษ์หลายประเด็นเกี่ยวกับประเทศต่างๆ ทั้งจีน อเมริกา ยุโรป รวมถึงเพื่อนบ้านอีกหลายชาติ
ที่น่าสนใจสำหรับคนไทยเป็นพิเศษ คือ ตอน ถาม-ตอบ เกี่ยวกับความเห็นของแกเกี่ยวกับประเทศไทย โดยให้นักข่าวอาวุโสของหนังสือพิมพ์ Straits Times เป็นคนตั้งคำถาม และท่านผู้เฒ่าเป็นคนตอบ
ต้องชื่นชมว่า อดีตนายกฯ คนดังของเกาะเล็กๆ แห่งนี้ ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา และสะท้อนให้เราได้รู้ว่า นักการเมืองที่ผ่านโลกมาอย่างโชกโชนคนนี้ คิดอย่างไรกับเรา
ลี กวนยิว วิเคราะห์ไว้ตอนหนึ่งว่าการเมืองไทย หลังจาก คุณทักษิณ ชินวัตร ขึ้นมามีอำนาจจะเปลี่ยนไป ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนจะแคบลง ชาวนาจะถูกยกระดับเป็นชนชั้นกลาง และจะทำให้อำนาจซื้อในประเทศดีขึ้น ประเทศไทยจะก้าวหน้าพัฒนาต่อไป
คนข่าวคนนี้ถามว่าแต่นักวิเคราะห์บางคนไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดนี้ เพราะพวกเขาเชื่อว่าวิธีการของคุณทักษิณ เป็นประชานิยม ทำแต่เรื่องที่ได้ผลระยะสั้น ขณะที่ผู้นำไทยคนก่อนๆ พยายามจะพัฒนาประเทศด้วยมาตรการระยะยาวที่ยั่งยืนมากกว่า
ลี กวนยิว : ไม่ใช่ นั่นเป็นความเห็นด้านเดียว ทักษิณ เก่งและฉลาดกว่าคนที่วิจารณ์เขามากนัก ด้วยเหตุนี้แหละเขาจึงไปทำเรื่องนี้ที่ภาคอีสาน เพื่อเอาชนะการต่อต้านจากพวกเขา
ถาม : แต่มีความห่วงว่านั่นอาจจะเป็นการทำเพื่อหาเสียงเลือกตั้งเท่านั้น
ลี กวนยิว : คุณเอาเงินทั้งหมดเพื่อไปแจกประชาชนจากที่ไหนล่ะ?

ถาม : นั่นแหละคือปัญหา

ลี กวนยิว : ก่อนที่คุณจะแจกของ คุณต้องมีทรัพยากร และจะมาได้ก็ต้องมีรายได้ และหากคุณจะแจกเพิ่มอีก และหากรายได้เต็มที่แล้ว คุณก็ต้องขึ้นภาษี
ถาม : หรือต้องกู้เงิน
ลี กวนยิว : ใครจะให้ยืม? มีหลักทรัพย์หรือเปล่า?
ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านไม่คิดว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับอาการอัมพาตระยะยาว จากนโยบายประชานิยมใช่ไหม?
ลี กวนยิว : ผมไม่เชื่อว่าจะเป็นอย่างนั้น พวกเขาจะเอาอกเอาใจคนจนมากเกินเหตุทำไม?
ถาม : ท่านมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับทักษิณ?
ลี กวนยิว : เขาเป็นคนติดดิน ทำงานหนักเพื่อให้ได้ผลเร็ว เขาเชื่อมั่นในประสบการณ์และสัญชาตญาณทางธุรกิจของตัวเอง เขาเคยบอกผมว่าเคยนั่งรถโค้ชจากกรุงเทพฯ ถึงสิงคโปร์ และเขาเชื่อว่าเขาได้เรียนรู้ว่าสิงคโปร์ สำเร็จเพราะอะไร เขาบอกว่าจะกลับไปทำอย่างเดียวกันที่ประเทศไทย ผมไม่รู้ว่าแค่มาเที่ยวเดียวจะทำให้เขาเข้าใจเคล็ดลับจริงๆ ของเราหรือเปล่า เพราะว่ามันเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา ทักษะ การฝึกฝน และสังคม ที่มีความกลมเกลียวที่ทุกคนมีโอกาสเท่ากัน ต้องไม่ลืมว่าในภาคอีสานของไทยนั้น มีคนเชื้อสายลาวมากกว่าไทย
ถาม : ประมาณสิบปีมาแล้ว ผู้นำสิงคโปร์เคยพูดถึงไทยว่าจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของสิงคโปร์ในฐานะเป็นศูนย์กลาง (hub) ทางด้านขนส่ง การผลิต และ การท่องเที่ยว ผสมการรักษาพยาบาล...ทุกวันนี้ยังมีประเด็นนี้อยู่หรือไม่?
ลี กวนยิว : ก็ดูสภาพภูมิศาสตร์ของเขาซิ คุณสามารถหลีกกรุงเทพฯ ได้ แต่คุณเลี่ยงสิงคโปร์ทางเรือไม่ได้
ถาม : แล้วทางอากาศล่ะ?
ลี กวนยิว : ทักษะและการศึกษาของเขาสูงแค่ไหน? พวกเขาต้องเก่งกว่าเรานะ (จึงจะชนะสิงคโปร์ได้)
ถาม : แล้วพวกเขามีศักยภาพที่จะเก่งกว่าเราไหม?
ลี กวนยิว : ประการที่หนึ่ง เราได้เปรียบด้านภาษาอังกฤษ ประการที่สอง เรามีโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาที่สามารถผลิตผู้เรียนจบที่มีคุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นด้านโพลีเทคนิคหรือด้านอื่นใดๆ ใครไม่มีทักษะก็ไปไม่ถึงไหน พวกเขา (ไทย) สามารถพัฒนาสิ่งเหล่านี้ให้คน 60 ล้านคน ไปทั่วเขตชนบทหรือเปล่าล่ะ?
----------------------
อ่านถึงตรงนี้ เราก็พอจะเห็นว่าท่านผู้เฒ่าแห่งสิงคโปร์ มองไทยเราอย่างไร ไม่ต้องวิเคราะห์ให้มาก ก็พอจะรู้ว่าทำไมบ่อยครั้ง เราจึงได้ยินได้ฟังคนสิงคโปร์พูดถึงไทยอย่างเหยียดๆ เป็นนิจ
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/537179#sthash.rNSzlSzm.dpuf



1 ความคิดเห็น:

  1. ประเทศไทยไม่มีวันหวนกลับสู่การเมืองแบบเก่าแล้ว ซึ่งเป็นการเมืองที่ชนชั้นนำกรุงเทพผูกขาดอำนาจ ประเทศไทยจะก้าวเดินต่อไปตามแนวทางที่ทักษิณได้ขับเคลื่อนไว้ ช่องว่างในมาตรฐานการครองชีพของผู้คนทั้งประเทศจะหดแคบลง ชาวนาจำนวนมากจะได้รับการยกระดับเป็นชนชั้นกลาง และจะช่วยหนุนส่งการบริโภคภายในประเทศ ประเทศไทยจะมีอนาคตสดใส.
    *********ขอบคุณค่ะ มีกำลังใจขึ้นเยอะ *************************

    ตอบลบ