เพลงฉ่อยชาววัง

วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557

25องค์กรเอกชน"เสนอยุติขัดแย้ง ตั้ง"องค์กรเพื่อการปฏิรูปประเทศ"


เมื่อวันที่ 9 มกราคม ที่โรงแรมดุสิตธานี ตัวแทน 7 องค์กรภาคเอกชน ประกอบด้วย
1.        สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
2.        สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
3.        สมาคมธนาคารไทย
4.        สภาธุรกิจตลาดทุนไทย
5.        ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
6.        สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย
7.        สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
8.        และ 18 องค์กรเอกชน


18 องค์กรเอกชน ได้แก่
·        1.องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น
·        2.สมัชชาปฏิรูป
·        3.ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
·        4.คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
·        5.มูลนิธิการส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย
·        6.สถาบันพระปกเกล้า
·        7.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
·        8.มวลมหาประชาคุย
·        9.สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
·        10.สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
·        11.ขบวนองค์กรชุมชนและภาคประชาสังคมเพื่อการปฏิรูป
·        12.มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค
·        13.มูลนิธิชีววิถี
·        14.โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
·        15.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
·        16.เครือข่ายจังหวัดจัดการตนเอง
·        17.สสส. และ
·        18.Center for Humanitarian Dialogue

รวม 25 องค์กร เพื่อสรุปแนวทางการปฏิรูปประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยหารือกว่า 3 ชั่วโมง
นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะโฆษก 7 องค์กรภาคเอกชน กล่าวว่า การหารือครั้งนี้เพื่อให้การปฏิรูปเกิดความชัดเจนขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมา 7 องค์กรภาคเอกชนมีข้อเสนอปฏิรูปประเทศแล้ว แต่ปัจจุบันแนวทางดังกล่าวยังไม่เป็นรูปธรรม ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง



ที่ประชุมจึงมีข้อเสนอเบื้องต้นให้จัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย มีเงื่อนไขรองรับ 3 ส่วน คือ
·        มีกฎหมายรองรับคือ พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เพื่อให้สามารถบังคับใช้ได้ ออกโดยรัฐบาลรักษาการ
·       ต้องได้รับการยอมรับจากคู่ขัดแย้งและฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดย 7 องค์กรภาคเอกชนจะเร่งประสานกับทุกฝ่ายเพื่อขอความเห็นชอบก่อนวันที่ 13 มกราคม และ
·       บุคคลที่จะเข้าร่วมที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนจริง 

ทั้งนี้ เนื้อหาในการปฏิรูปจะแบ่งเป็น 8 ประเด็น โดย
·       6 ประเด็นแรก มาจากขัอเสนอที่ 7 องค์กรภาคเอกชนเคยเสนอไว้ คือ
1.       การกำหนดกติกาการเข้าสู่อำนาจรัฐที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ร่วมกัน เช่น ระบบการเลือกตั้งที่ปราศจากการซื้อเสียงและใช้อิทธิพลใดๆ และความโปร่งใสของกระบวนการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต่างๆ
2.       การตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐของผู้แทนประชาชน องค์กรอิสระและสถาบันทางการเมืองต่างๆ เช่น เรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ
3.       ขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ภาคเอกชน ตลอดจนในภาคส่วนต่างๆ ของสังคม
4.       โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่เอื้อต่อการสร้างความเป็นธรรมในการจัดสรรและเข้าถึงทรัพยากร และลดความเหลื่อมล้ำโดยส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพของประชาชนให้พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
5.       โครงการที่จะมีผลกระทบต่อประชาชน ระบบเศรษฐกิจ และวินัยการคลัง ควรต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยถือผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก และ

6.       กระบวนการยุติธรรมที่สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนว่าจะได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน และอีกประเด็น คือ การปฏิรูปการศึกษา และการปฏิรูปด้านการจัดสรรทรัพยากร 

นายวิชัยกล่าวว่า ในการตั้งองค์กรดังกล่าวจะมีตัวแทน 30-50 คน เป็นตัวแทนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับ 8 ประเด็น จากนั้นจะเปิดให้มีการเสนอแนวคิดเพื่อการปฏิรูป อาจแบ่งเป็น 100 วงเสวนา เพื่อให้เกิดการหารือ อาทิ วงการหารือเรื่องคอร์รัปชั่น อาจมีองค์กรที่เข้าร่วม คือ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นักการเมือง วงการหารือเรื่องปัญหาการโยกย้ายข้าราชการ อาจมีข้าราชการ นักการเมืองเข้าร่วม จากนั้นแต่ละกลุ่มจะนำข้อเสนอมาพิจารณา หากมีความเห็นต่างอาจใช้วิธีลงประชามติเพื่อสรุปแนวทางดำเนินการ

"ที่ประชุมอยากเห็นองค์กรดังกล่าวเกิดขึ้นโดยเร็ว สัปดาห์หน้ายิ่งดี เพื่อเดินหน้าปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรมจริง ส่วนการประสานกับคู่ขัดแย้งต่างๆ จากสัญญาณที่ผ่านมาพบว่าเห็นด้วย เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี ทั้งนี้ การเสนอองค์กรภายใต้ พ.ร.ก.นั้น หากได้รัฐบาลใหม่ อาจผลักดันให้เป็น พ.ร.บ.เพื่อให้เป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป" นายวิชัยกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น