อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ เคิร์ต แคมพ์เบล เชิญชวนโลกหนุนประชาธิปไตยในไทย ชี้พรรคประชาธิปัตย์ออกหน้าแทนชนชั้นนำ สร้างวิกฤตการเมือง
หวังให้กลุ่มปฏิกิริยาครองอำนาจใน 'สภาประชาชน'
แคมพ์เบล ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวในรัฐบาลบารัก
โอบามา ระหว่างเดือนมิถุนายน 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2556 บอกว่า บรรดานักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎร ได้ทำพันธมิตรกับกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลของยิ่งลักษณ์
ชินวัตร โดยอ้างว่าตนได้รับ "การสนับสนุนจากมวลมหาประชาชน" ทั้งๆที่พรรคเพื่อไทยของยิ่งลักษณ์ขึ้นครองอำนาจด้วยคะแนนเสียงถล่มทลายใน
การเลือกตั้งเมื่อปี 2554 ซึ่งนักสังเกตการณ์เห็นพ้องกันว่า เป็นการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม
"
ตลอดเวลาเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา
ชนชั้นนำกรุงเทพ ซึ่งประกอบด้วยมหาเศรษฐีนักธุรกิจ , พวกรอยัลลิสต์
และนายทหารระดับสูงบางส่วน
ไม่ยอมรับว่า กงล้อประวัติศาสตร์ได้หมุนเคลื่อนไปข้างหน้าแล้ว" แคมพ์เบล
ซึ่งปัจจุบันเป็นกรรมการของศูนย์ความมั่นคงใหม่อเมริกัน
หน่วยงานคลังสมองในสหรัฐ กล่าว
เขาบอกว่า พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งแพ้เลือกตั้งทุกครั้งนับแต่ปี
2535 เป็นต้นมา กำลังใช้กลยุทธ์ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
กลุ่มพลังที่ต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ในศาล , ในกองทัพ
และบรรดาผู้เพ็ดทูล ได้ขับรัฐบาลจากการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตยไปแล้ว 3 ชุดนับแต่ปี
2549 แม้มีการเปลี่ยนนามเรียกขานมาหลายชื่อ แต่โดยเนื้อแท้ก็คือ
"พลพรรคเสื้อเหลือง"
แคมพ์เบลเขียนว่า
ยิ่งลักษณ์ปฏิบัติตนอย่างน่าชื่นชมทั้งภายในประเทศและนอกประเทศนับแต่เธอได้
รับเลือกตั้ง เธอได้รับความนับถืออย่างกว้างขวางในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และเดินงานการทูตด้วยท่าทีอ่อนน้อมถ่อมตนตามแบบฉบับคนไทย ภายในประเทศนั้น
เธอพยายามทอดไมตรีกับฝ่ายต่อต้าน
"จริงอยู่ รัฐบาลได้จุดชนวนวิกฤตด้วยการผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรม
ซึ่งจะยกเลิกข้อกล่าวหาทางอาญาต่อพ.ต.ท.ทักษิณ และเปิดทางให้เขากลับบ้าน
แต่เมื่อถูกคัดค้านอย่างหนักในสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ถอนร่างดังกล่าว
แต่ต่อมาได้รับคะแนนไว้วางใจในสภาผู้แทนราษฎร นี่คือ
การทำงานตามระบอบรัฐสภา" เขากล่าว
"จริงอยู่ รัฐบาลได้จุดชนวนวิกฤตด้วยการผล

แคมพ์เบล เรียกร้องให้สหรัฐและประเทศอื่นๆสนับสนุนประชาธิปไตยในไทย
"ประชาคมระหว่างประเทศควรเน้นว่า ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านต้องยึดมั่นในวิถีทางการเลือกตั้ง
และขื่อแปกฎหมาย เพื่อแก้ไขข้อพิพาท และไม่หันไปใช้ 'สภาประชาชน' ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
อันเป็นสิ่งที่แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ต้องการให้มีอำนาจปกครองประเทศ".
ที่มา : Financial Times
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น