คำแถลงนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เรื่อง 20 เหตุผลที่การเคลื่อนไหวของนายสุเทพจะไม่ประสบความสำเร็จ
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงว่ามีอย่างน้อย 20 เหตุผลที่นายสุเทพและ กปปส. จะไม่ประสบความสำเร็จในการแช่แข็งประเทศไทย ดังนี้
1. การต่อสู้ของนายสุเทพ ขัดกับหลักการประชาธิปไตย. ยุบสภาก็ไม่เอา ลาออกก็ไม่เอา ทำให้ประชาชนเห็นว่า นายสุเทพไม่เอาวิถีทางประชาธิปไตย จะเอาแต่สภาประชาชนที่พวกตนเป็นคนตั้ง
2. ข้อเรียกร้องของ กปปส. ที่ให้นายกฯลาออกจากการรักษาการทำไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญ
3. คนเห็นว่าการใช้ความรุนแรง ปิดยึดสถานที่ราชการ คุกคามสื่อมวลชน ปิดถนนตามอำเภอใจ เป่านกหวีดใส่คนไม่เลือกหน้า สร้างความหวาดกลัว และความแตกแยกในสังคมมากเกินไป
4. ผู้ชุมนุมบางส่วนเห็นว่าข้อเรียกร้องของกลุ่ม กปปส.เกินเลยจากที่มาชุมนุมต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมในตอนแรก ในทำนองได้คืบจะเอาศอก และสงสัยว่า กปปส.ทำเพื่อให้ตนเองได้อำนาจ
5. บทบาทที่สร้างสรรค์ของกองทัพ ที่จะไม่ปฏิวัติและขอให้แก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีตามกรอบรัฐธรรมนูญ ทำให้นายสุเทพไปไม่เป็น
6. นักวิชาการอิสระมากมายออกมาคัดค้านการแช่แข็งประเทศไทยของนายสุเทพ จนทำให้มติที่ประชุม ทปอ.ที่ให้มีรัฐบาลรักษาการขาดน้ำหนัก
7. องค์กรธุรกิจชั้นนำ 7 องค์กร สนับสนุนการเลือกตั้ง ควบคู่ไปกับการปฏิรูปประเทศ
8. นายสุเทพอ้างมวลมหาประชาชนที่ราชดำเนิน แต่ความเป็นจริง เหนือกว่ามวลมหาประชาชน คือปวงชนชาวไทย 65 ล้านคน ที่ต้องการเลือกตั้ง
9. กระแสโลกไม่เอาด้วยกับข้อเสนอของนายสุเทพที่จะให้แช่แข็งประเทศไทย มหาอำนาจและพันธมิตรต่างๆ ทั่วโลก สนับสนุนการเลือกตั้ง 2 ก.พ.
10. ภาพลักษณ์และประวัติของผู้นำไม่เป็นที่ไว้วางใจ และต้องตอบคำถามในเรื่องต่างๆ มากมายในอดีตเช่น เรื่อง สปก.4-01ข้อกล่าวหาเรื่องเขาแพง ข้อกล่าวหาเรื่องทุจริตการสร้างโรงพัก 396ที่นายสุเทพต้องไปต่อสู้
11. ความน่าเชื่อถือนายสุเทพเสียหาย จากกรณีที่มีหมายจับคดีกบฎ และข้อหาฆ่าคนตายจากการสลายการชุมนุม
12. การนำประเด็นเรื่องสถาบันมาโจมตีฝ่ายตรงข้าม ก็ไม่ได้ผล เพราะคนไทยล้วนจงรักภักดีต่อสถาบัน
13. เมื่อมีพระบรมราชโองการเป็นพระราชกฤษฎีกายุบสภา คนไทยจึงนำใส่เกล้าไปปฏิบัติและมุ่งสู่การเลือกตั้ง ทำให้ข้อเรียกร้องของนายสุเทพขาดน้ำหนัก
14. ความพยายามสร้างภาพความเกลียดชังให้ระบอบทักษิณ แต่ระบอบนี้ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงสิ่งที่นายสุเทพและพวก เล่าให้คนกลัว คนฟังบ่อยๆ จนหายกลัว เพราะไม่เห็นจริง
15 คนไทยไม่ชอบวาทกรรมสร้างความเกลียดชัง แตกแยก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม
16. วาทกรรมขับไล่ตระกูลชินวัตรออกนอกประเทศ ขัดรัฐธรรมนูญเพราะห้ามเนรเทศคนไทย และคนเห็นว่าทำกันเกินไป
17. ไทยอดทน เบื่อความขัดแย้งทางการเมือง จึงอยากหาทางออกจากความขัดแย้ง
18. นายสุเทพเลื่อนวันเผด็จศึกไปเรื่อยๆ ทำให้ขวัญและกำลังใจผู้ชุมนุมถดถอย
18. ผู้สนับสนุนทางการเงิน เห็นว่าโอกาสในชัยชนะของม็อบสุเทพมีน้อย จึงเริ่มปิดก๊อก
19. ปวงชนชาวไทยเห็นว่าการเลือกตั้งคือการหาทางออกโดยสันติวิธี
20. คนต่างจังหวัดไม่พอใจการดูแคลนจากนักวิชาการ กปปส.บางคนที่บอกว่าเสียงคนกรุงสามแสนเสียงมีคุณภาพกว่าเสียงคนต่างจังหวัด 15 ล้านเสียง
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงว่ามีอย่างน้อย 20 เหตุผลที่นายสุเทพและ กปปส. จะไม่ประสบความสำเร็จในการแช่แข็งประเทศไทย ดังนี้
1. การต่อสู้ของนายสุเทพ ขัดกับหลักการประชาธิปไตย. ยุบสภาก็ไม่เอา ลาออกก็ไม่เอา ทำให้ประชาชนเห็นว่า นายสุเทพไม่เอาวิถีทางประชาธิปไตย จะเอาแต่สภาประชาชนที่พวกตนเป็นคนตั้ง
2. ข้อเรียกร้องของ กปปส. ที่ให้นายกฯลาออกจากการรักษาการทำไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญ
3. คนเห็นว่าการใช้ความรุนแรง ปิดยึดสถานที่ราชการ คุกคามสื่อมวลชน ปิดถนนตามอำเภอใจ เป่านกหวีดใส่คนไม่เลือกหน้า สร้างความหวาดกลัว และความแตกแยกในสังคมมากเกินไป
4. ผู้ชุมนุมบางส่วนเห็นว่าข้อเรียกร้องของกลุ่ม กปปส.เกินเลยจากที่มาชุมนุมต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมในตอนแรก ในทำนองได้คืบจะเอาศอก และสงสัยว่า กปปส.ทำเพื่อให้ตนเองได้อำนาจ
5. บทบาทที่สร้างสรรค์ของกองทัพ ที่จะไม่ปฏิวัติและขอให้แก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีตามกรอบรัฐธรรมนูญ ทำให้นายสุเทพไปไม่เป็น
6. นักวิชาการอิสระมากมายออกมาคัดค้านการแช่แข็งประเทศไทยของนายสุเทพ จนทำให้มติที่ประชุม ทปอ.ที่ให้มีรัฐบาลรักษาการขาดน้ำหนัก
7. องค์กรธุรกิจชั้นนำ 7 องค์กร สนับสนุนการเลือกตั้ง ควบคู่ไปกับการปฏิรูปประเทศ
8. นายสุเทพอ้างมวลมหาประชาชนที่ราชดำเนิน แต่ความเป็นจริง เหนือกว่ามวลมหาประชาชน คือปวงชนชาวไทย 65 ล้านคน ที่ต้องการเลือกตั้ง
9. กระแสโลกไม่เอาด้วยกับข้อเสนอของนายสุเทพที่จะให้แช่แข็งประเทศไทย มหาอำนาจและพันธมิตรต่างๆ ทั่วโลก สนับสนุนการเลือกตั้ง 2 ก.พ.
10. ภาพลักษณ์และประวัติของผู้นำไม่เป็นที่ไว้วางใจ และต้องตอบคำถามในเรื่องต่างๆ มากมายในอดีตเช่น เรื่อง สปก.4-01ข้อกล่าวหาเรื่องเขาแพง ข้อกล่าวหาเรื่องทุจริตการสร้างโรงพัก 396ที่นายสุเทพต้องไปต่อสู้
11. ความน่าเชื่อถือนายสุเทพเสียหาย จากกรณีที่มีหมายจับคดีกบฎ และข้อหาฆ่าคนตายจากการสลายการชุมนุม
12. การนำประเด็นเรื่องสถาบันมาโจมตีฝ่ายตรงข้าม ก็ไม่ได้ผล เพราะคนไทยล้วนจงรักภักดีต่อสถาบัน
13. เมื่อมีพระบรมราชโองการเป็นพระราชกฤษฎีกายุบสภา คนไทยจึงนำใส่เกล้าไปปฏิบัติและมุ่งสู่การเลือกตั้ง ทำให้ข้อเรียกร้องของนายสุเทพขาดน้ำหนัก
14. ความพยายามสร้างภาพความเกลียดชังให้ระบอบทักษิณ แต่ระบอบนี้ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงสิ่งที่นายสุเทพและพวก เล่าให้คนกลัว คนฟังบ่อยๆ จนหายกลัว เพราะไม่เห็นจริง
15 คนไทยไม่ชอบวาทกรรมสร้างความเกลียดชัง แตกแยก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม
16. วาทกรรมขับไล่ตระกูลชินวัตรออกนอกประเทศ ขัดรัฐธรรมนูญเพราะห้ามเนรเทศคนไทย และคนเห็นว่าทำกันเกินไป
17. ไทยอดทน เบื่อความขัดแย้งทางการเมือง จึงอยากหาทางออกจากความขัดแย้ง
18. นายสุเทพเลื่อนวันเผด็จศึกไปเรื่อยๆ ทำให้ขวัญและกำลังใจผู้ชุมนุมถดถอย
18. ผู้สนับสนุนทางการเงิน เห็นว่าโอกาสในชัยชนะของม็อบสุเทพมีน้อย จึงเริ่มปิดก๊อก
19. ปวงชนชาวไทยเห็นว่าการเลือกตั้งคือการหาทางออกโดยสันติวิธี
20. คนต่างจังหวัดไม่พอใจการดูแคลนจากนักวิชาการ กปปส.บางคนที่บอกว่าเสียงคนกรุงสามแสนเสียงมีคุณภาพกว่าเสียงคนต่างจังหวัด 15 ล้านเสียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น