เพลงฉ่อยชาววัง

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2567

รัฐพันลึกvs. สังคมพันลึก

 🌺🌺🌺🌺รัฐพันลึกvs. สังคมพันลึก

รัฐพันลึก vs. สังคมพันลึก” (ตอนต้น) โดย เกษียร เตชะพีระ

... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.matichon.co.th/uncategorized/news_156510



“รัฐพันลึก vs. สังคมพันลึก” ตอนต้น)

ข้อคิดเรื่อง Deep State หรือที่ อาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร แปลเป็นไทยอย่างแยบคายว่า “รัฐพันลึก” ซึ่ง อาจารย์เออเชนี เมริโอ นักนิติศาสตร์-รัฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศสประยุกต์ใช้มาวิเคราะห์การเมืองไทยสองทศวรรษหลังนี้ในบทความ “Thailand”s Deep State, royal power and the Constitutional Court (1997-2015)”, Journal of Contemporary Asia, 2016. ดูจะเป็นที่ถูกตาต้องใจนักวิชาการไทยไม่น้อยจนนำมาเขียนอธิบายขยายความสืบต่อกัน


แต่ก่อนอื่น ขออนุญาตแนะนำผู้เขียนบทความต้นน้ำ อาจารย์เออเชนี เมริโอ หรือ เจนนี่ เพิ่มเติมสักเล็กน้อย โดยอาศัยถ้อยคำของเธอเองที่เคยให้สัมภาษณ์นิตยสารสารคดีไว้เมื่อศกก่อนว่า :


“ตอนนี้เจนนี่ทำอะไรอยู่?


– ตอนนี้เป็นอาจารย์ที่ธรรมศาสตร์ สอนรัฐศาสตร์ที่ท่าพระจันทร์ หลักสูตรอินเตอร์เนชั่นแนลภาษาอังกฤษ สอนทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท สอนวิชาเกี่ยวกับกฎหมายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เจนนี่เรียนด้านรัฐศาสตร์ กฎหมาย แล้วก็ภาษาศาสตร์ด้วยที่ปารีส เรียนทั้งสามมหาวิทยาลัย มี SCIENCES PO, SORBONNE, INALCO มีปริญญาทางกฎหมาย ภาษาศาสตร์ และอีกตัวหนึ่งคือรัฐศาสตร์ เรียนปริญญาเอก อาจเป็นด๊อกเตอร์เร็วๆ นี้ รอมา 5 ปีแล้ว เจนนี่ลาออกจากงานที่สถาบันพระปกเกล้าเพื่อมาทำปริญญาเอก แล้วก็ไปทำงานกับองค์กรระหว่างประเทศ ก่อนที่จะไปเป็นอาจารย์ที่ฝรั่งเศสประมาณ 6-7 เดือน ตอนนี้ตัดสินใจมาอยู่เมืองไทย น่าจะยาวเลย ส่วนปริญญาเอกก็จะจบแล้ว หัวข้อตอนแรกเกี่ยวกับเรื่องตุลาการภิวัฒน์ แต่ตอนนี้ก็มาศึกษาให้ใหญ่ขึ้น ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมาย ศาสนา ภาษา และกษัตริย์”



ในบทความ “รัฐพันลึก” (มติชนรายวัน, 18 มี.ค. 2559, น.20) อาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร ช่วยนิยามและจับใจความสำคัญของรัฐพันลึกในบทวิเคราะห์ของเจนนี่ให้ว่า :


✿❛◡❛"*~🍊‿~*" .•☃ ✿❛◡❛"*~🍊‿



“ผู้เขียนขอแปล DEEP STATE เป็นไทยว่า รัฐพันลึก ในลักษณะรัฐซ้อนรัฐ


“(รัฐพันลึก) …เป็นอิสระ มีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับลำดับชั้นของตนเอง ขนานไปกับรัฐปกติ รัฐพันลึกมีกลไกรัฐทำงานด้านอุดมการณ์เพื่อสร้างวาทกรรมว่าด้วยประชาธิปไตยอันพึงปรารถนา ที่สอดคล้องกับความต้องการของรัฐพันลึก… ก่อนสร้างและจัดวางความคิดเห็น ทัศนคติสาธารณะ โดยใช้วิธีการต่างๆ รวมทั้งการสร้างสถานการณ์วิกฤต และภาวะฉุกเฉินเพื่อความมั่นคงของชาติ


“รัฐพันลึกเหมือนกับรัฐปกติ ที่ไม่ได้เป็นหนึ่งเดียว ภายในรัฐพันลึกก็มีมุ้งต่างๆ แก่งแย่งชิงอำนาจกันอยู่ แต่มีข้อต่างคือ รัฐปกติมองเห็นด้วยตา แต่รัฐพันลึกแฝงหลบอยู่ลึกก้นบึ้ง และไม่ต้องรับผิดชอบกับการกระทำใดๆ จึงเป็นกรอบโครงแบบไม่เป็นทางการ ในการรักษาหรือคงไว้ซึ่งผลประโยชน์ด้านสถาบันของกลุ่มบุคคล ที่มีเป้าประสงค์ร่วมกัน ทั้งผู้ที่อยู่ในรัฐปกติ และที่อยู่ในเครือข่ายนอกรัฐที่จะยึดโยงกันไว้ในการกระทำการ เพื่อเป้าประสงค์ในการรักษาผลประโยชน์ที่ว่านั้น


“แนวคิดรัฐพันลึก มักถูกใช้อธิบายกลุ่มอำนาจที่ร่วมกันต่อต้านขบวนการประชาธิปไตย หรือการเมืองเปิดที่ประชาชนในวงกว้างมีส่วนร่วมสูง มักประกอบด้วยกลุ่มทหาร ตำรวจ ตุลาการ ที่มีตำแหน่งหน้าที่บริหารราชการในรัฐปกติอยู่แล้ว แต่ยังร่วมทำกิจกรรมแอบแฝงที่มีอำนาจเหนือรัฐปกติ โดยกระทำการแบบไม่เปิดเผย หรือทำแบบลับๆ รัฐพันลึกสามารถสร้างสถานการณ์ เพื่อสั่นคลอนรัฐปกติ หรือเพื่อนำไปสู่การรัฐประหาร ล้มล้างรัฐปกติ


“แนวคิดรัฐพันลึกเคยถูกใช้อธิบายการเมืองสมัยสงครามเย็นในบางประเทศที่ CIA ของสหรัฐได้เข้าแทรกแซงเพื่อเปลี่ยนการเมืองด้วยความร่วมมือจากชนชั้นนำบางกลุ่มในพื้นที่ และใช้ในการอธิบายการเมืองที่ตุรกีเมื่อทศวรรษ 2460 สมัย มุสตาฟา เคมาล อาตาเติร์ก…”


ในเดือนถัดมา อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็หยิบยกแนวคิด “รัฐพันลึก” จากบทความของเจนนี่มาอภิปรายเชื่อมโยงกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในบทความ “รัฐพันลึกกับร่างรัฐธรรมนูญ” ลงเว็บออนไลน์ ประชาไท เมื่อ 6 เมษายน ศกนี้ (http://prachatai.com/journal/2016/04/65105


นิธิ เอียวศรีวงศ์: รัฐพันลึกกับร่างรัฐธรรมนูญ

อ่านที่นี่ https://docs.google.com/document/d/1zitmUsdt1W6DECVp2J8Zky5FCaqI9VE0iGyyRmiFrjg/edit



ก่อนอื่น อาจารย์นิธิแยกแยะแนวคิดหลักของบทความให้เห็นชัดถึงลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันของมัน ระหว่าง [รัฐพันลึก, รัฐทางการ และเครือข่ายไม่เป็นทางการ] ว่า :


– เทียบกับเครือข่ายไม่เป็นทางการ, รัฐพันลึกมีความเป็นสถาบันและการจัดองค์กรที่รัดกุมกว่า (INSTITUTIONALIZATION & ORGANIZATION) และดังนั้นจึงได้ขยายบทบาทเข้ามาทำงานแทนที่เครือข่ายไม่เป็นทางการแต่เดิมในระยะหลังนี้


– และหากเทียบกับรัฐทางการ, รัฐพันลึกไม่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมและไม่ต้องแสวงหาความชอบธรรม (ACCOUNTABILITY & LEGITIMACY) และดังนั้นการที่รัฐพันลึกโผล่พ้นผิวน้ำและปรับฐานะบทบาทมาเป็นรัฐทางการจึงเพิ่มภาระปัญหาทางการเมืองให้แก่ตัวมันเอง


อาจารย์นิธิได้อธิบายขยายความต่อโดยเชื่อมโยงกับร่างรัฐธรรมนูญและหน้าฉากประชาธิปไตยและการเลือกตั้งว่า :-


“ความต่างระหว่าง “เครือข่ายฯ” และรัฐพันลึกก็คือ รัฐพันลึกพยายามทำให้ความสัมพันธ์ในเชิง “เครือข่ายฯ” มีลักษณะเป็นสถาบันมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องอาศัยบารมีของบุคคลในการบริหารจัดการเพียงอย่างเดียว และการเมืองไทยกำลังแปรเปลี่ยนไปสู่การปกครองของเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนอีกอย่างหนึ่ง


ดังนั้น อุดมคติที่รัฐพันลึกมุ่งหวังก็คือ รัฐไทยที่อยู่ข้างบนและมองเห็นได้โดยคนทั่วไป มีลักษณะประชาธิปไตย เช่น มีการเลือกตั้ง, มีพรรคการเมือง, มีรัฐสภา, มีเสรีภาพของสื่อ, ฯลฯ แต่การชี้นำและกำกับควบคุมจะอยู่กับรัฐพันลึกซึ่งไม่ต้องปรากฏโฉมให้เห็น หากมีการกำกับควบคุมจากสถาบันที่รัฐธรรมนูญรองรับ ซึ่งที่จริงเป็นสถาบันหรือองค์กรในกำกับของรัฐพันลึกอีกทีหนึ่ง จนดูเหมือนเป็นการทำงานตามกลไกประชาธิปไตยโดยปรกติ การปกครองด้วยเสียงข้างมากจากการเลือกตั้งจึงไม่ได้อยู่ในกำกับควบคุมของเสียงข้างมาก แต่อยู่ในกำกับควบคุมของรัฐพันลึก โดยเสียงส่วนใหญ่ไม่ทันรู้ตัว หรือพอใจให้เป็นอย่างนั้น”


ทว่า รอบสิบปีที่ผ่านมา แผนการของรัฐพันลึกผ่านกลไกตุลาการภิวัฒน์ประสบความล้มเหลว ทำให้ต้องลงเอยด้วยการรัฐประหารถึงสองครั้ง ส่งผลให้รัฐพันลึกไม่อาจจะพันลึกอีกต่อไป “เพราะการรัฐประหารย่อมบังคับให้รัฐพันลึกต้องลอยขึ้นใกล้ผิวน้ำ ทำให้ใครๆ มองเห็นได้หมด”


ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น คปค. และ คสช. รวมทั้งบุคลากรพันลึกแห่งแม่น้ำทุกสายผู้ให้ความร่วมมือผลักดันโครงการอุดมคติแห่งรัฐพันลึกในประการต่างๆ จนอาจกล่าวบรรยายได้ว่า :


พันไม่ลึก


ใครต่อใครเป็นใครมีใครบ้าง ปรากฏร่างชุมนุมรุมยกโป้ง


ผุดซ้ายขวาหน้าหลังทั้งเชื่อมโยง รัฐพันลึกยกโรงโผล่ออกมา


อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์เรื่องรัฐพันลึกของอาจารย์เจนนี่, ผาสุก และนิธิ ทำให้ผมหวนมองมุมกลับของแนวคิดดังกล่าว และนึกถึงสิ่งที่ผมอยากลองเรียกว่า “สังคมพันลึก” (Deep Society) ที่คู่ขนานกันอยู่ในสังคมการเมืองไทยบ้าง


(ต่อสัปดาห์หน้า)... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.matichon.co.th/uncategorized/news_156510



คำสั่งและประกาศ คปค.กับการเมืองไทย

คำสั่งและประกาศ คปค.กับการเมืองไทย

คปค. หรือชื่อเต็มคือ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นคณะรัฐประหารที่นำโดยพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 การรัฐประหารครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ซึ่งผลกระทบต่อการเมืองไทยก็ยังคงมีอยู่ให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ แม้ในวันแรกของการยึดอำนาจรัฐได้จะมีประชาชนจำนวนมากออกมาสนับสนุนด้วยการนำดอกกุหลาบและสิ่งของต่างๆมาให้ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ก็ตาม รวมถึงสื่อมวลชน นักวิชาการหลายท่านที่แม้ไม่เห็นด้วยแต่ก็เข้าใจถึงเหตุผลของสภาพสถานการณ์ทางการเมืองที่ทำ เพราะเห็นว่าเป็นทางออกในการแก้ไขวิกฤตทางการเมือง เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ปะทะกันของประชาชนด้วยกันที่อาจจะเกิดขึ้นในวันรุ่งขึ้นที่มีการนัดชุมนุมกันของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร


แต่ทั้งนี้บทสรุปผลงานของคณะรัฐประหารในสายตาประชาชนอีกหนึ่งปีต่อมา ก็คือ ฉายาต่างๆที่แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของคณะรัฐประหารที่ใช้อำนาจไม่เด็ดขาด โดยไม่สามารถแก้ไขวิกฤตการเมืองได้จริง เช่น รัฐประหารหน่อมแน้ม รัฐประหารที่ฉี่ไม่สุด เป็นต้น ขณะที่มีบางภาคส่วนในสังคมไทยได้มีมุมมองว่าต้นเหตุของวิกฤตทางการเมืองปัจจุบันที่มีการแตกแยกทางความคิด ขัดแย้งรุนแรง ระหว่างผู้สนับสนุนในตัวอดีตนายกฯทักษิณ กับฝ่ายต่อต้าน ก็คือการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 นั่นเอง เพราะเชื่อว่าหากไม่มีการทำรัฐประหาร ถึงอย่างไรนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร คงไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้เพราะกระแสสังคมและประชาชนทั่วไปไม่ยอมรับอย่างกว้างขวาง พลังของภาคประชาชนจะเป็นผู้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้อย่างปรกติตามวิถีทางประชาธิปไตยได้ ซึ่งนับว่าเป็นการมองโลกอย่างสุขนิยมมากเพราะไม่เชื่อว่าจะเกิดเหตุการณ์ปะทะกันของประชาชนในวันที่ 20 กันยายน 2549 ขึ้น แต่ก็มีข้อเท็จจริงอีกทางหนึ่งที่ได้เปิดเผยให้สังคมทั่วไปได้รับทราบภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารว่ามีแนวโน้มความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพราะมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติของคนบางกลุ่ม


การรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้เกิดขึ้นและจบไปแล้ว แต่ข้อถกเถียงต่างๆและผลพ่วงจากการรัฐประหารครั้งนี้ก็ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อเนื่องมาถึงสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบันที่พัฒนาประเด็นปัญหาให้มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่เป็นปัญหาการเมืองในประเทศจากการเกิดขึ้นของกลุ่มนปช. หรือชื่อเต็มคือ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ซึ่งสังคมไทยรู้จักกันดีว่ากลุ่มเสื้อแดง ที่ได้เคลื่อนไหวเรียกร้องในประเด็นต่างๆ ทางการเมืองมาโดยซึ่งสังคมไทยก็ทราบดีว่าเป็นพลังมวลชนที่สนับสนุนอดีตนายกฯทักษิณที่ถูกรัฐประหาร ซึ่งหากเป็นการเคลื่อนไหวตามปรกติย่อมเป็นสิทธิที่มีการรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญและยอมรับในฐานเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประชาธิปไตย แต่สังคมไทยก็ทราบดีว่าการเคลื่อนไหวของคนกลุ่มนี้ได้ล้ำเส้นของการใช้สิทธิในวิถีทางประชาธิปไตยไปมากเพราะเป็นกลุ่มคนที่ก่อให้เกิดความวุ่ยวายจนทำให้การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนบวกสามที่พัทยาในช่วงเดือนเมษายน 2552 ต้องล้มเลิกกลางคันเพราะผู้ชุมนุมบุกรุกเข้าไปยังโรงแรมรอยัล คริฟ บีช ส่งผลเป็นการทำลายภาพพจน์ของประเทศและความเชื่อมั่นมหาศาล และกลายเป็นเหตุการณ์จลาจลในกรุงเทพมหานครในช่วงสงกรานต์ จากการใช้ความรุนแรงปิดถนน หลายสาย มีการเผาสิ่งของ รถโดยสารประจำทาง ตลอดจนมีการไล่ล่าทำร้ายบุคคลสำคัญในรัฐบาลที่กระทรวงมหาดไทย ปรากฏเป็นข่าวทั้งภาพและเสียงออกไปทั่วโลก จนในที่สุดได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ไขสถานการณ์โดยใช้กำลังทหารเข้าควบคุม และคลี่คลายได้ในที่สุด


ณ ขณะนี้ปัญหาการเมืองภายในประเทศได้พัฒนาไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านคือ กัมพูชา ซึ่งได้มีการแต่ตั้งให้อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเป็นผู้ต้องโทษหนีคดีของศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดีซื้อที่ดินรัชดา เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา โดยเมื่อรัฐบาลไทยขอตัวให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็ถูกรัฐบาลกัมพูชาปฏิเสธ และตอบโต้ว่าเป็นการตัดสินคดีที่ไม่ชอบเพราะผลจากการรัฐประหาร


บรรดาเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆที่เกิดขึ้นภายหลังจากการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 จึงเป็นครั้งแรกของการรัฐประหารที่อดีตผู้นำรัฐบาลที่ถูกรัฐประหารออกนอกประเทศ ไม่เคยหยุดความต้องการที่จะกลับมามีอำนาจทางการเมืองใหม่อีกครั้ง บทเรียนการรัฐประหารครั้งนี้จึงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะทำความเข้าใจถึงอนาคตการเมืองไทยนับจากนี้ไป


องค์ประกอบของคณะ คปค.

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีองค์ประกอบของคณะบุคคลอย่างเป็นทางการในครั้งแรก ภายหลังการทำรัฐประหารตามที่ปรากฎในประกาศ คณะคปค. ฉบับที่ 11 เรื่องแต่งตั้งบุคคลสำคัญดำรงตำแหน่งในคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 จำนวน 6 ท่าน ดังนี้


1.พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


2.พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


3.พลเรือเอก สถิรพันธ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 1


4.พลอากาศเอก ชลิต พุกพาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 2


5.พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นรองหัวหน้า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 3


6.พลเอก วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการสภาความั่นคงแห่งชาติ เป็นเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


แต่ทั้งนี้ ภายหลังไม่นานก็ได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะ คปค.ใหม่โดยมีการยกเลิกประกาศ คปค.ฉบับที่ 11 และประกาศใช้ ประกาศคปค.ฉบับที่ 24 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549 แทน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้


1.พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


2.พลอากาศเอก ชลิต พุกพาสุข เป็นสมาชิกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 2


3.พลเรือเอก สถิรพันธ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นสมาชิกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


4.พลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ เป็นสมาชิกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


5.พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ เป็นสมาชิกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


6.พลเอก วินัย ภัททิยกุล เป็นเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


7.พลโท สพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


8.พลโท อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


สำหรับสมาชิกของคณะรัฐประหาร ชุดนี้มีข้อสังเกตว่า หัวหน้าคณะและสมาชิกที่เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างก็เป็นเพื่อนเรียนรุ่นเดียวกันที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 คล้ายกับกรณีคณะรัฐประหาร รสช. ที่ระดับผู้บัญชาการกองทัพต่างก็เป็นเพื่อนรุ่นเดียวกันคือจ.ป.ร. 5


สมาชิกของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต่อมาเมื่อได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ตามบทบัญญัติมาตรา 34 คณะคปค. ก็ได้เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ประกอบด้วยบุคคลตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 24 ลงวันที่ 29 กันยายน พุทธศักราช 2549 โดยประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติอาจแต่งตั้งสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพิ่มขึ้นได้อีกไม่เกินสิบห้าคน โดยมีอำนาจตามความในวรรคท้ายของมาตรา 34 ในกรณีที่เห็นสมควรประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือนายกรัฐมนตรีอาจขอให้มีการประชุมร่วมกันของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เพื่อร่วมพิจารณาและแก้ไขปัญหาใดๆอันเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงแห่งชาติ รวมตลอดทั้งการปรึกษาหารือเป็นครั้งคราวในเรื่องอื่นใดก็ได้


เหตุแห่งการรัฐประหารโดย คณะคปค.

สาเหตุของการรัฐประหารครั้งนี้ปรากฏเป็นถ้อยแถลงอย่างเป็นทางการตามแถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เวลา 23.50 น. ลงนามโดยพลเอกสนธิ บุณยรัตกลิน หัวหน้าคณะรัฐประหารดังต่อไปนี้


ด้วยเป็นที่ปรากฏความแน่ชัดว่า การบริหารราชการแผ่นดิน โดยรัฐบาลรักษาการปัจจุบันได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง แบ่งฝ่ายสลายความรู้รักสามัคคีของชนในชาติ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนให้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ต่างฝ่ายต่างมุ่งหวังเอาชนะ ด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ และมีแนวโน้มนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยประชาชนส่วนใหญ่ เคลือบแคลงสงสัย การบริหารราชการแผ่นดิน อันส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง หน่วยงาน องค์กรอิสระถูกครอบงำทางการเมือง ไม่สามารถสนองตอบเจตนารมณ์ ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ตลอดจนหมิ่นเหม่ ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทยอยู่บ่อยครั้ง แม้หลายภาคส่วนของสังคม จะได้พยายามประนีประนอม คลี่คลายสถานการณ์มาโดยต่อเนื่องแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งยุติลงได้ ดังนั้นคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเหล่าทัพ และผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงมีความจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ขอยืนยันว่า ไม่มีเจตนาเข้ามาเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินเสียเอง แต่จะได้คืนอำนาจการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขกลับคืนสู่ปวงชนชาวไทยโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ เพื่อธำรงรักษาไว้ ซึ่งความสงบสุข และความมั่นคงของชาติ รวมทั้งเทิดทูนไว้ ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพยิ่งของปวงชนของชาวไทยทุกคน


การรัฐประหารครั้งนี้เป็นสิ่งที่สังคมไทยได้คาดเดามาก่อนว่า อาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เมื่อย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่เมื่อใดมีความขัดแย้งรุนแรง หากไม่สามารถหาทางออกได้ตามระบอบประชาธิปไตย แล้วการรัฐประหารก็จะเกิดขึ้น ถ้าจะสืบสาวราวเรื่องขึ้นไปถึงเหตุแห่งการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นปัญหาวิกฤตทางการเมืองที่เริ่มสะสมมาตั้งแต่ที่สังคมไทยมีผู้คนหลายฝ่ายทั้งนักวิชาการ พรรคฝ่ายค้าน สื่อสารมวลชนเริ่มต้นวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลทักษิณที่ผ่านมาซึ่งมีการบริหารประเทศอย่างไม่น่าไว้วางใจ มีข้อโจมตีในความบกพร่องหลายประการซึ่งรู้จักดี ภายใต้นิยามที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ”


ชนวนของการนำไปสู่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คงเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเชื่อหากย้อนกลับไปดูการขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศไทย ที่ได้รับคะแนนนิยมอย่างมากมายที่สนับสนุนเลือกพรรคไทยรักไทยเข้ามามากเป็นอันดับหนึ่งในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 ภายใต้คำขวัญว่า คิดใหม่ ทำใหม่ และนโยบายประชานิยมที่สามารถซื้อใจคนชนบทและคนเมืองที่เห็นประสบการณ์ความสำเร็จในทางธุรกิจมาก่อน แต่ภายหลังการหลุดพ้นจากคดีซุกหุ้นของอดีตนายกทักษิณ ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ไม่มีความผิด การบริหารงานของรัฐบาลในเรื่องต่างๆก็ดูเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมากยิ่งขึ้น อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ นับเป็นนักการตลาดการเมืองชั้นนำคนหนึ่ง ที่ได้สร้างภาพภาวะผู้นำและทำการสื่อสารตรงกับประชาชน ขณะเดียวกันก็ดำเนินการควบรวมพรรคการเมืองต่างๆที่ร่วมรัฐบาล จนทำให้พรรคไทยรักไทยถือครองเสียงข้างมากในรัฐสภา โดยพรรคฝ่ายค้านไม่มีโอกาสใช้กลไกรัฐสภาตรวจสอบได้ จนทำให้บรรยากาศการเมืองเป็นเผด็จการรัฐสภาไป ซึ่งส่วนหนึ่งนักวิชาการได้มีการวิเคราะห์ว่าเป็นผลจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่สร้างให้เกิดฝ่ายบริหารเข้มแข็ง เช่นการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ทำได้ยากขึ้น ขณะเดียวกันจากการแทรกแซงองค์การอิสระและสื่อมวลชนก็ทำให้ระบบตรวจสอบการใช้อำนาจพังทลายลง


อย่างไรก็ดีอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ก็สามารถบริหารประเทศได้ครบระยะเวลา 4 ปี นับจากวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 จนถึง 11 มีนาคม 2548 เป็นรัฐบาลพลเรือนไม่กี่ชุดที่สามารถอยู่ครบเทอมได้ตามวาระของสภาผู้แทนราษฎรที่ครบกำหนดในวันที่ 5 มกราคม 2548 และสามารถนำพรรคไทยรักไทยได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามามีคะแนนเสียงมากเป็นอันดับหนึ่งอีกครั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 แต่การบริหารงานประเทศในสมัยที่สองนี้ก็ไม่ง่ายเมื่อสมัยแรกอีกต่อไป “ระบอบทักษิณ” “เผด็จการรัฐสภา” “การไม่จงรักภักดี” ฯลฯ คือข้อกล่าวหาที่เป็นคำถามให้อดีตนายกรัฐมนตรีตอบ แต่กลับไม่มีการชี้แจงคำตอบให้ประชาชนได้หายสงสัยในตัวผผู้นำรัฐบาลแต่อย่างใดวิกฤตศรัทธาต่อรัฐบาลได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นๆ


ปัญหาของปรากฏการณ์ของระบอบทักษิณ ที่มีวิวัฒนาการจากวีรบุรุษขี่ม้าขาว หรืออัศวินควายดำที่สังคมไทยเชื่อว่าจะเป็นกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศภายหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งที่ประเทศไทยต้องเข้ารับการช่วยเหลือจาก IMF (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) แต่ก็กลับกลายเป็นเผด็จการรัฐสภาโดยอาศัยกลไกของรัฐธรรมนูญที่มุ่งสร้างฝ่ายบริหารที่เข้มแข็งมาใช้เป็นเกราะป้องกันตัวได้เป็นอย่างดี และกอดกติการัฐธรรมนูญไว้อยู่กับตัวโดยอ้างว่าตนทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกประการ และได้รับความชอบธรรมจากการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากที่ประชาชนเลือกเข้ามา 19 ล้านเสียง ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่ได้นำพาต่อเสียงคัดค้านของกลุ่มพลังประชาชนที่รวมตัวกันขับไล่ร้องตะโกนให้ “ทักษิณ .....ออกไป ๆๆ” และออกมาตอบโต้กล่าวหาว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ จนทำให้สังคมไทยในช่วงเวลาตั้งแต่ต้นปี 2549 เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เลือกข้างจากประเด็นทางการเมืองที่เป็นวิกฤติจริยธรรมของผู้นำ ซึ่งไม่สามารถมีกระบวนการตรวจสอบตามกลไกที่มีอยู่ได้ จนทำให้วิกฤติได้พัฒนาความร้ายแรงกลายเป็นการเผชิญหน้าในการจัดชุมนุมใหญ่หลายครั้งของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย


ท้ายที่สุดนายกฯทักษิณ ได้ตัดสินใจใช้อำนาจออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 และกำหนดให้มีวันเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2เมษายน 2549 ซึ่งว่ากันตามจารีตประเพณีในการปกครองของประเทศไทยในการใช้อำนาจยุบสภานั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ครั้งนี้เหตุผลที่ใช้กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น[1]


ผลจากพระราชกฤษฎีกายุบสภานี้ ผลักดันให้การเมืองถึงทางตันมากขึ้น จากการประกาศไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรครวมฝ่ายค้านประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ ชาติไทย และมหาชน ซึ่งสุดท้ายผลผลการเลือกตั้งก็ออกมาว่ามีคนมาลงคะแนนใช้สิทธิไม่ประสงค์จะลงคะแนน ถึง 9,051,706 หรือคิดเป็นร้อยละ 31.12 ในการลงคะแนนระบบบัญชีรายชื่อ และ การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตการเลือกตั้ง 9,610,874 คะแนน หรือร้อยละ 33.14 โดยภายหลังจากการเลือกตั้งก็ยังไม่สามารถประกาศผลคะแนนทั้งหมดครบ 500 คนได้ โดยต้องจัดให้มีการเลือกตั้งในหลายเขตใหม่เพราะมีผู้สมัครได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ร้อยละ 20ตามมาตรา 74 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 ในกรณีมีผู้สมัครคนเดียวในเขตเลือกตั้งนั้น และมีแนวโน้มว่าจะได้ไม่ครบและเปิดสภาได้ทันภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญ


ทางตันของการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 ได้ดึงเอาสถาบันต่างๆลงมาแก้ไขปัญหานับแต่สถาบันพระมหากษัตริย์ จากพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ที่มีต่อตุลาการศาลปกครองและผู้พิพากษาศาลยุติธรรม จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ตุลาการภิวัตน์” ที่สถาบันศาลได้รับใส่เกล้าฯ ใช้อำนาจตุลาการเข้าแก้ไขปัญหา เริ่มจากการคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่9/2549 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2549วินิจฉัยว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะ ตามมาด้วยคำพิพากษาของศาลอาญา วันที่ 25 กรกฎาคม 2549 ที่จำคุกกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน (พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายปริญญา นาคฉัตรีย์ และนายวีระชัย แนวบุญเนียร กกต. ) ที่ตกเป็นจำเลย ในความผิดฐานกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มาตรา 24, 42 และมาตรา 38 เป็นเวลาคนละ 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา และให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดคนละ 10 ปี จนนำไปสู่การสรรหา กกต.ชุดใหม่จากศาลฎีกา และกำลังประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ แต่ความขัดแย้งทางการเมืองบนเวทีท้องถนนก็ยังคงไม่ยุติเพราะประชาชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเชื่อว่าการเลือกตั้งถ้าจะเกิดขึ้นใหม่ ระบอบทักษิณก็จะสามารถกลับเข้ามาได้เสียงข้างมากเช่นเดิมจากเครือข่ายและอำนาจเงินที่มีอยู่ ดังนั้นจึงต้องชุมนุมกดดันทางการเมืองต่อไปให้รักษาการนายกรัฐมนตรี วางมือทางการเมืองโดยการลาออกจากตำแหน่ง โดยมีการประกาศชุมนุมใหญ่ในวันที่ 20 กันยายน 2549 เพื่อไม่ให้นายกฯทักษิณเดินทางกลับเข้าประเทศภายหลังจากการเดินทางไปร่วมประชุมสหประชาชาติที่นครนิวยอรค์แต่ก็เกิดรัฐประหารเสียก่อน


แถลงการณ์ ประกาศและคำสั่งของคณะ คปค.

เมื่อเปรียบกับคณะรัฐประหารในอดีต คณะ คปค. มีการออกแถลงการณ์ ประกาศและคำสั่งไม่มากนัก และได้ใช้อำนาจในฐานะที่เป็นรัฎฐาธิปัตย์ เพียงระยะเวลาประมาณแค่สองอาทิตย์ เมื่อถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ประเทศไทยก็มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 แต่หากพิจารณาถึงเนื้อหาสาระของแถลงการณ์ ประกาศและคำสั่งก็จะพบว่ามีความน่าสนใจอยู่ในที เพราะการรัฐประหารครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกภายหลังที่โครงสร้างการเมืองการปกครองไทยได้เปรียนโฉมหน้าไปอย่างมากภายหลังการปฏิรูปการเมืองที่ทำให้เกิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีสถาบันทางการเมืองที่เรียกว่าองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นหลายองค์กร ดังนั้นความยุ่งยากในการจัดการภายหลังการรัฐประหารจึงมีอยู่พอสมควร ประกอบกับสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาจากกระแสของประชาธิปไตยทั่วโลก และความเปลี่ยนแปลงในสภาพเศษฐกิจสังคม ที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์ การรัฐประหารในประเทศใดประเทศหนึ่ง ในทางระหว่างประเทศจะทำให้ประเทศนั้นไม่ค่อยได้รับการยอมรับในสังคมโลก ซึ่งประเด็นนี้ทำให้ คณะคปค.เลือกที่จะอยู่ในอำนาจด้วยระยะเวลาที่สั้น และรีบประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวโดยเร็ว


เมื่อพิจารณาถึงแถลงการณ์ ประกาศและคำสั่งของคณะ คปค. ทั้งหมดสามารถแบ่งได้เป็นแถลงการณ์ คปค. 2 ฉบับ ประกาศ คปค. จำนวน 36 ฉบับ คำสั่งหัวหน้าคณะคปค. จำนวน 20 ฉบับ และต่อมาเมื่อคณะคปค.เปลี่ยนสภาพเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติก็มีประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ จำนวน 7 ฉบับ[2] ในบรรดาแถลงการณ์ ประกาศ คำสั่งของคณะคปค. นั้น มีทั้งที่เป็นการชี้แจงทั่วไป การสั่งห้าม การสั่งให้ปฏิบัติดำเนินงาน การบังคับใช้เป็นกฎหมายทั้งแก้ไขเพิ่มเติม การยกเลิก และถือเป็นกฎหมายใหม่ โดยมีรายชื่อฉบับที่สำคัญ ดังนี้


1.แถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลงวันที่ 19 กันยายน 2549


2.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน 2549


3.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 11 เรื่องแต่งตั้งบุคคลสำคัญดำรงตำแหน่งในคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลงวันที่ 20 กันยายน 2549


4.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไป ลงวันที่ 20 กันยายน 2549


5.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 13 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไป ลงวันที่ 20 กันยายน 2549


6.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 14 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไป ลงวันที่ 21 กันยายน 2549


7.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 เรื่อง ห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจการอื่นใดทางการเมืองลงวันที่ 21 กันยายน 2549


8.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 18 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ลงวันที่ 22 กันยายน 2549


9.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไป ลงวันที่ 22 กันยายน 2549


10.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 21 เรื่อง ห้ามการดักฟังโทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารใด ลงวันที่ 24 กันยายน 2549


11.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 23 เรื่อง การตรวจสอบทรัพย์สิน ลงวันที่ 24 กันยายน 2549


12.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 24 เรื่อง แต่งตั้งบุคคลสำคัญดำรงตำแหน่งในคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลงวันที่ 29 กันยายน 2549


13.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 25 เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการยุติธรรมทางอาญา ลงวันที่ 29 กันยายน 2549


14.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 26 เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน 2549


15.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน 2549 ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2549


16.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 28 เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 และฉบับที่18 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2549


17.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 29 เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2549


18.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน 2549


19.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 31 เรื่อง การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ลงวันที่ 30 กันยายน 2549


20.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 32 เรื่อง อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ลงวันที่ 30 กันยายน 2549


21.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 35 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549


22.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 36 เรื่อง กฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยสถาบันพระมหากษัตริย์ ลงวันที่ 30 กันยายน 2549


ผลกระทบของแถลงการณ์ ประกาศและคำสั่งของคณะคปค. กับการเมืองไทย

หากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์การเมืองไทย คงไม่มีการรัฐประหารครั้งใด ที่ได้สร้างผลกระทบกระเทือนต่อสังคมไทยได้มากถึงขนาดนี้ และผลกระทบหลายส่วนก็ยังส่งผลต่อเนื่องมาถึงการเมืองไทยปัจจุบัน ถ้าพิจารณาภาพรวมผลกระทบส่วนใหญ่ได้เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงไปพร้อมกับการใช้อำนาจของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในช่วงเวลาตั้งแต่ 19 กันยายน 2549 จนถึง 30 กันยายน 2549 ก่อนหน้าที่จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ไม่ว่าเป็นการสิ้นสุดลงของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดฉบับหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นโดยเจตนารมณ์สำคัญในการเป็นเครื่องมือเพื่อการปฏิรูปการเมือง นอกจากนี้ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 3 ที่ให้รัฐธรรมนูญดังกล่าวสิ้นสุดลง ก็ยังมีวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ สำหรับสถาบันการเมืองที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องสิ้นสุดลงได้แก่ องคมนตรี และศาลทั้งหลายนอกจากศาลรัฐธรรมนูญ


สิ่งที่น่าสังเกตจากผลของการรัฐประหารครั้งนี้จะพบว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหลายฉบับที่ออกตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ไม่ได้สิ้นสุดลงไปด้วย และกฎหมายบางฉบับก็ได้รับการแก้ไขปรับปรุงโดยอำนาจของคณะคปค. ตามที่ปรากฏในประกาศคปค.ที่ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไป ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 (ประกาศคปค.ฉบับที่ 12)พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 (ประกาศคปค.ฉบับที่ 13) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. 2542 (ประกาศคปค.ฉบับที่ 14) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 (ประกาศคปค.ฉบับที่ 15) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 (ประกาศคปค.ฉบับที่ 19) [[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542]] (ประกาศคปค.ฉบับที่ 19)


บรรดาประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มีอยู่หลายฉบับและมีสถานเป็นกฎหมายนั้น จะพบว่ามีประกาศสำคัญบางฉบับที่ส่งผลต่อการเมืองไทยที่ทำให้เกิดปมประเด็นปัญหาของสถานการณ์ความขัดแย้งหลายเรื่องจากการใช้อำนาจของ คปค. สื่บเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีเรื่องที่สำคัญ 2 กรณี ได้แก่ประเด็นความชอบด้วยกฎหมายจากการตรากฎหมายให้มีผลย้อนหลังในเรื่องการลงโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ที่ศาลรัฐธรรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง (ประกาศคปค.ฉบับที่ 27) และ การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (ประกาศคปค.ฉบับที่ 30) ซึ่งจะได้พิจารณาเป็นลำดับ ดังนี้


1)ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 เรื่องการแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2549


ประเด็นสำคัญของการใช้อำนาจตามประกาศดังกล่าวอยู่ใน ข้อ 3 ที่กำหนดให้ ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใด เพราะเหตุกระทำการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรคการเมือง พ.ศ.2541 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น มีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง


โดยผลของประกาศคปค.ฉบับที่ 27 จึงทำให้เป็นการเพิ่มการกำหนดโทษให้มีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง ซึ่งแต่เดิมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรคการเมือง พ.ศ.2541 ไม่ได้บัญญัติไว้ และบทบัญญัตินี้ต่อมาในการตัดสินคดีที่อัยการสูงสุดขอให้มีคำสั่งยุบพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย คณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 มาตรา 35 ซึ่งทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้นำมาประกอบการวินิจฉัยในคำวินิจฉัยที่ 3-5 /2550 30 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2550


โดยได้มีคำสั่งให้ยุบพรรคไทยรักไทย ผู้ถูกร้องที่ 1 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 ประกอบมาตรา 66(1) และ(3) และให้ยุบพรรคพัฒนาชาติไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 และพรรคแผ่นดินไทย ผู้ถูกร้องที่ 3 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 ประกอบมาตรา 66(2) และ(3) กับให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 จำนวน 111 คน ตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ฉบับลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2549 เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 จำนวน 19 คน ตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคพัฒนาชาติไทย ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 จำนวน 3 คน ตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคแผ่นดินไทย ฉบับลงวันที่ 1 มีนาคม 2549 มีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549


สิ่งที่เป็นประเด็นถกเถียงมาจนถึงทุกวันนี้จากการวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่อ้างอิง ประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 ก็คือ ประกาศดังกล่าวเป็นการออกกฎหมายให้มีผลย้อนหลังในทางที่เป็นโทษหรือไม่ ซึ่งตามหลักกฎหมายทั่วไปในทางอาญาสากลนั้น มีข้อห้ามเช่นนี้อยู่ การไม่เห็นด้วยต่อการวินิจฉัยดังกล่าวเพราะประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 ฝ่าฝืนหลักกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง นั้นปรากฏอย่างเป็นทางการครั้งแรกในคำแถลงการณ์กลุ่มห้าอาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง บทวิเคราะห์คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ กรณีการยุบพรรคการเมือง ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2550 โดยมีรายชื่ออาจารย์ลงนามท้ายแถลงการณ์ ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ รองศาสตราจารย์ ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช อาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล อาจารย์ ปิยบุตร แสงกนกกุล และอาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร


แต่ทั้งนี้ก็ยังมีนักกฎหมายอีกกลุ่มหนึ่งที่สนับสนุนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวเพราะเห็นว่าการลงโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นสามารถทำได้ เนื่องจากไม่ได้เป็นโทษทางอาญา การใช้กฎหมายย้อนหลังในคดีนี้โดยใช้อำนาจประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 จึงไม่ขัดต่อหลักกฎหมายอาญาทั่วไป[3] ตามเหตุผลในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ได้ตัดสินในคดีนี้[4]


2)ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน 2549


ประกาศฉบับดังกล่าวได้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคณะหนึ่ง ประกอบด้วยกรรมการ 12 ท่าน ซึ่งได้กำหนดให้เลือกกันเองเป็นประธานกรรมการคนหนึ่ง คือ นายนาม ยิ้มแย้มมีหน่วยงานที่ดูแลงานด้านธุรการคือ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งรายชื่อกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตามประกาศฉบับดังกล่าว ได้แก่


1.นายกล้าณรงค์ จันทิก

2.นายแก้วสรร อติโพธิ

3.คุณหญิงจารุวรรณ เมณฆกา

4.นายจิรนิติ หะวานนท์

5.นายบรรรเจิด สิงคะเนติ

6.นายวิโรจน์ เลาหะพันธ์

7.นายสวัสดิ์ โชติพานิช

8.นายสัก กอแสงเรือง

9.นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์

10.นายอุดม เฟื่องฟุง

11.นายอำนวย ธันธรา


คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ 5 ของประกาศคปค.ฉบับที่ 30 ดังนี้


(1)ตรวจสอบการดำเนินงานหรือโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือหรือเห็นชอบโดยบุคคลในคณะรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นไปโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบ


(2)ตรวจสอบสัญญา สัญญาสัมปทานหรือการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานขอรัฐอื่น ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำที่เอื้อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบหรือมีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำที่ทุจริตหรือประพฤติมิชอบ


(3)ตรวจสอบการปฏิบัติราชการใดๆ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีการกระทำที่ทุจริตหรือประพฤติมิชอบ


(4)ตรวจสอบการกระทำของของบุคคลใดๆที่เห็นว่าเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือหลีกเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร อันเป็นการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ


นอกจากนี้ในกรณีที่เห็นว่าการดำเนินการในเรื่องที่ตรวจสอบมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ และมีพฤติการณ์ว่าบุคคลใดเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปรกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นปรกติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของผู้นั้น คู่สมรสและบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นไว้ก่อนก็ได้


การดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลารวม 1 ปี 9 เดือน ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2549 - 30 มิถุนายน 2551 มีผลงานสำคัญในการพิจารณาเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบของ คตส.จำนวน 13 เรื่อง ได้แก่[5]


1)เรื่องจัดซื้อชุดอุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด CTX

2)เรื่องท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินสนามบินสุวรรณภูมิ

3)เรื่องกรณีภาษีเงินได้เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้น

4)เรื่องเงินกู้ EXIM BANK

5)เรื่องการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัว

6)เรื่องการจัดซื้อต้นกล้ายางพารา

7)เรื่องการจ้างก่อสร้างและจัดซื้ออุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการกลางฯ (Central Lab)

8)เรื่องแอร์พอร์ต ลิงค์

9)เรื่องกล่าวหาธนาคารกรุงไทย

10)เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างเอกชนโดยการเคหะแห่งชาติ บ้านเอื้ออาทร

11)เรื่องกิจการโทรคมนาคมในส่วนภาษีสรรพสามิต

12)เรื่องการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงของกทม.

13)การจัดซื้อที่ดินของกองทุนฟื้นฟู (ที่ดินรัชดาภิเษก)

การดำเนินงานของคณะกรรมการ คตส.นี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นผลงานความสำเร็จของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่สามารถพิสูจน์ให้สาธารณชนและสังคมไทย เห็นว่าการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 มีเหตุผลรองรับถึงความจำเป็น ซึ่งแตกต่างจากการดำเนินงานของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติที่ไม่สามารถเอาผิดกับนักการเมืองที่ทุจริตได้ ปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของการใช้อำนาจของคณะคปค.นี้ คือการศึกษาบทเรียนความล้มเหลวของคณะ รสช. และพยายามดำเนินการตามกลไกต่างๆ ที่มีอยู่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองที่ได้วางไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ดังจะเห็นได้จากไม่ได้มีการประกาศยกเลิกกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 ดังนั้นจะเห็นว่ากระบวนการตัดสินทั้งหมดจะมีความชอบธรรม โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ และถึงแม้ว่าจะมีการฟ้องคดีให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถึงความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีการตัดสินยืนยันถึงความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 5/2551


ในบรรดาคดีซึ่ง คณะกรรมการ คตส. ได้เข้าไปตรวจสอบนั้น ณ เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2552 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้ตัดสินไปแล้วสองคดี คือ คดีทุจริตที่ดินรัชดาภิเษกจำนวน 33 ไร่ มูลค่า 772 ล้านบาทเศษ และคดีทุจริตกล้ายาง โดยผลของคดีทุจริตที่ดินรัชดาภิเษก ศาลได้ตัดสินเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2551 ว่า จำเลยที่ 1 อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร มีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100 (1) วรรค สาม และมาตรา 122 วรรคแรก ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี ส่วนความผิดฐานอื่นและคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก และยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 คุณหญิง พจมาน ชินวัตร


ส่วนคดีทุจริตกล้ายางนั้น ศาลได้ตัดสินเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2552 พิพากษายกฟ้องนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกฯ นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรมช.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ริเริ่มโครงการปลูกยางพารา ยกระดับรายได้และความมั่นคงให้เกษตรกร ในแหล่งปลูกยางใหม่ภาคอีสานและภาคเหนือ และพวกรวม 44 คน ซึ่งประกอบกลุ่มคณะกรรมการนโยบาย และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) กลุ่มคณะกรรมการบริหารโครงการและพิจารณาประกวดราคาการจัดซื้อต้นกล้ายางพารา 90 ล้านต้น ของกรมวิชาการเกษตร และบริษัทเอกชนในความผิดที่ปปช.ยื่นฟ้องว่าเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 และพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 กรณีที่มีการนำเงินของกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไปใช้ในการจัดซื้อต้นกล้ายางพาราคา 1,440 ล้านบาท ซึ่งศาลวิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวมีความเป็นมา จากการที่รัฐบาลในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องการที่จะพัฒนาการปลูกพืชผลด้านการเกษตร โดยการเสนอโครงการนั้นก็มิได้ เนินการโดยลำพังของนายเนวินจำเลยที่ 4 หรืออธิบดีกรมวิชาการเกษตรจำเลยที่ 19 แต่ยังได้มีหน่วยงานอื่น ร่วมดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในครั้งนั้นด้วย ส่วนการประกวดราคากลุ่มเอกชน ก็ไม่ได้ทำการฝ่าฝืน เกี่ยวกับระเบียบการประกวดราคา โดยมิชอบด้วยกฎหมาย แต่อย่างใด


สิ่งที่ต้องติดตามต่อไปถึงความสำเร็จในผลของการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่จะพิสูจน์ข้อกล่าวหาการทุจริจของอดีตรัฐบาลทักษิณ ก็คือการตัดสินคดียึดทรัพย์ของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร มูลค่า 7.6 หมื่นล้าน ที่คาดว่าการตัดสินจะออกมาในตอนต้นปี พ.ศ.2553 นั้นก็จะเป็นจุดเปลี่ยนของการเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง ว่าจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างไร ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างประชาชนที่ยังคงสนับสนุนในตัวอดีตนายกรัฐมนตรีอยู่มากพอสมควร และอีกฟากหนึ่งคือคนไทยที่รู้ทันทักษิณกันหมดแล้ว ผลกระทบจากการรัฐประการเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 คงเป็นภาพยนตร์เรื่องยาวที่แบ่งเป็นหลายภาคซึ่งต้องติดตามชมกันต่อไปอย่าได้กะพริบตา



คสช. คืออะไร?

เมื่อพูดถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เราจะนึกถึงอะไร? ภาพของ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. น่าจะเป็นภาพแรกที่เรานึกถึง หรืออาจจะเป็นภาพพี่ใหญ่อย่าง “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รวมทั้งบรรดานายพลต่างๆ 


นอกจากนี้มาตรา 44 จากรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ที่ถูกใช้ออกคำสั่งจำนวนมหาศาลก็เป็นอีกสิ่งที่ทำให้เรานึกถึง คสช. อีกเช่นกัน


นอกจาก พล.อ.ประยุทธ์ กองทัพ และประกาศกับคำสั่งจำนวนมหาศาล ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนจะเข้าสู่ปีที่สี่ เรารู้จักอะไรเกี่ยวกับ คสช. อีกบ้าง เช่น 

  1. คสช. เข้ามายึดอำนาจด้วยเหตุผลอะไร 

  2. มีอำนาจอย่างไร อยู่ในอำนาจยังไง 

  3. คสช.มีใครบ้าง มีโครงสร้างการทำงานอย่างไร ฯลฯ 

สิ่งนี้ยังคงเป็นสิ่งที่เรายังไม่รู้หรือมองข้ามไป


งานชิ้นนี้รวบรวมประกาศและคำสั่ง ที่จะแสดงให้เห็นว่า คสช. คืออะไร คือใคร และทำงานอย่างไร?


  • ยึดอำนาจเพื่อปฏิรูปประเทศ และสร้างความสามัคคีในชาติ

ย้อนกลับไป วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คสช. เข้ามาบริหารประเทศด้วยการยึดอำนาจจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย 

และออกประกาศ คสช. ฉบับที่ 1/2557 เรื่องควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ ซึ่งอธิบายการยึดอำนาจครั้งนี้ว่า

เพื่อให้สถานการณ์ดังกล่าวกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ประชาชนในชาติเกิดความรัก ความสามัคคีเช่นเดียวกับห้วงที่ผ่านมา ตลอดจนเพื่อเป็นการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความชอบธรรมกับทุกพวก ทุกฝ่าย”


โดยการยึดอำนาจครั้งนี้ คือ การรวมตัวกันของ

  1. กองทัพบก 

  2. กองบัญชาการกองทัพไทย 

  3. กองทัพเรือ 

  4. กองทัพอากาศ และ

  5. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทำในนามของ คสช. โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า

อำนาจเบ็ดเสร็จเหนือสภา รัฐบาล และศาล


หลังจากยึดอำนาจ คสช. ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 นับจากนั้นจนถึง 22 กรกฎาคม 2557 ที่มีรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เป็นเวลาประมาณสองเดือนที่ประเทศไทยไม่มีรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้อำนาจในทางบริหารที่เป็นของนายกรัฐมนตรี และอำนาจในทางนิติบัญญัติที่เป็นของรัฐสภา อยู่ในมือของหัวหน้า คสช. แต่เพียงผู้เดียว



หลังจากยึดอำนาจ คสช. ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550นับจากนั้น

จนถึง 22 กรกฎาคม 2557 ที่มีรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557

เป็นเวลาประมาณสองเดือนที่ประเทศไทยไม่มีรัฐธรรมนูญ

 ส่งผลให้อำนาจในทางบริหารที่เป็นของนายกรัฐมนตรี

 และอำนาจในทางนิติบัญญัติที่เป็นของรัฐสภา 

อยู่ในมือของหัวหน้า คสช. แต่เพียงผู้เดียว


สำหรับอำนาจในทางตุลาการ คสช. ก็สั่งให้ “ศาลทั้งหลาย คงมีอํานาจดําเนินการพิจารณาและพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ” แต่ในขณะเดียวกัน คสช. ก็ออกประกาศบังคับใช้ศาลทหารซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของกระทรวงกลาโหมกับพลเรือนที่ฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งคสช. หรือคดีที่เป็นภัยความมั่นคง เช่น การชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร นั้นทำให้อำนาจตุลาการบางส่วนถูกโอนย้ายมาอยู่ในมือคสช.


แม้จะมีรัฐธรรมนูญบังคับใช้แล้วก็ตามอำนาจเบ็ดเสร็จที่เรียกว่า “อำนาจรัฐฏาธิปัตย์” ของ คสช. ก็ยังคงอยู่โดยถูกสภาพให้เป็นลายลักษณ์อักษรในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว และยังคงอยู่ในมาตรา 265 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งอำนาจนี้จะหมดไปเมื่อมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่หลังการเลือกตั้ง


คสช. คือกองทัพไทย

ในช่วงต้นของการยึดอำนาจ วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คสช. คือ การรวมตัวกันของผู้บัญชาการทหารเหล่าทัพต่างๆ และผู้บัญชาการตำรวจ ในขณะนั้นซึ่งประกอบด้วย

๐ ผู้บัญชาการทหารบก คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น หัวหน้า คสช.

๐ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด คือ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร เป็น รองหัวหน้า คสช.

๐ ผู้บัญชาการทหารเรือ คือ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็น รองหัวหน้า คสช.

๐ ผู้บัญชาการทหารอากาศ คือ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เป็น รองหัวหน้า คสช.

๐ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คือ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็น รองหัวหน้า คสช.

๐ รองผู้บัญชาการทหารบก คือ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เป็น เลขาธิการคสช.

ต่อมาเมื่อ 15 กันยายน 2557 หัวหน้า คสช. จึงประกาศเพิ่มจำนวนสมาชิก คสช. อีกเก้าคน ซึ่งเป็นผลมาจากผู้บัญชาเหล่าทัพ และผู้บัญชาตำรวจชุดยึดอำนาจได้เกษียณอายุราชการลง ทำให้มีการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารและตำรวจชุดใหม่ และเพิ่มปลัดกระทรวงกลาโหมเข้ามาเป็นสมาชิก คสช. รวมทั้งมีรายชื่อพลเรือน คือ มีชัย ฤชุพันธ์ (มือกฎหมาย) และสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (มือเศรษฐกิจ) เพิ่มเข้ามาอีกสองคน

หลังจากนั้นทุกปีในเดือนกันยายนหลังฤดูการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ก็จะมีการประกาศรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งใน คสช. โดยมีจำนวน 6 คน ที่เป็น คสช.ชุดแรก ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องทุกปี รวมทั้งมีชัย ฤชุพันธ์ ที่ได้ถูกแต่งตั้งอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ในขณะที่ผู้บัญชาการทหารบกจะถูกแต่งตั้งเป็นเลขาธิการ คสช. โดยตำแหน่งทุกปี

จากการแต่งตั้งครั้งที่สองเป็นต้นมา ดูเหมือนว่าผู้ดำรงตำแหน่งใน คสช. จะลงตัวอยู่ที่ 15 คน โดยแบ่งสัดส่วนหลักสามส่วน ประกอบ ส่วนแรกคือ “อดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพและตำรวจที่ร่วมกันรัฐประหาร รวม  5 คน” “รัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รวม 2 คน” “ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ตำรวจ และปลัดกระทรวงกลาโหม รวม 6 คน” และ “มือกฎหมาย 1 คน”

– แต่งตั้งครั้งที่หนึ่ง

– แต่งตั้งครั้งที่สอง

– แต่งตั้งครั้งที่สาม

– แต่งตั้งครั้งที่สี่

– แต่งตั้งครั้งที่ห้า

– แต่งตั้งครั้งที่หก

มีข้อสังเกตว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งใน คสช. จะควบตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ทั้งนี้ อาจเพื่อคอยควบคุมทิศทางการบริหารประเทศทั้งในด้านนโยบาย การออกกฎหมาย และการร่างรัฐธรรมนูญ เช่น พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารและตำรวจ เป็นสมาชิก สนช. และ มีชัย เป็นประธาน กรธ. ทั้งนี้ผู้ดำรงตำแหน่งในคสช. มีเงินเดือนประจำตำแหน่ง และหากไปนั่งในตำแหน่งอื่นก็ยังมีเงินประจำตำแหน่งอีกเช่นกัน

ทีมงาน คสช. 

22 กรกฎาคม 2557 หนึ่งเดือนหลังการรัฐประหาร คสช.ได้กำหนดอัตราตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานใน คสช. จำนวน 43 ตำแหน่ง โดยมีเงินเดือนประจำเหมือนกับข้าราชการการเมือง สำหรับตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานใน คสช. อาจแบ่งง่ายๆ เป็นสองประเภท คือ

ประเภทที่แรก ที่ปรึกษาของผู้ดำรงตำแหน่งใน คสช. เช่น ตำแหน่งรองเลขาธิการประจำผู้ดำรงตำแหน่งใน คสช. กับที่ปรึกษาประจำผู้ดำรงตำแหน่งใน คสช. ในประเภทนี้เราอาจคุ้นเคยกับกรณีที่มีชัย ฤชุพันธ์ หนึ่งในสมาชิก คสช. และประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ซึ่งแต่งตั้ง มยุระ ช่วงโชติ บุตรสาวเป็น “รองเลขาธิการฯ”

ประเภทที่สอง ผู้ที่ปฏิบัติงานใน คสช. เช่น โฆษกประจำ คสช. กับ ประจำ คสช. ในกรณีนี้เราอาจคุ้นเคยกับชื่อของ พันเอก วินธัย สุวารี หรือ พลตรี ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ที่มีบทบาทในการประชาสัมพันธ์และตอบคำถามต่างๆ ในนามของ คสช. อยู่เป็นประจำตามหน้าสื่อต่างๆ

– แต่งตั้งครั้งที่หนึ่ง

– แต่งตั้งครั้งที่สอง

– แต่งตั้งครั้งที่สาม

– แต่งตั้งครั้งที่สี่

– แต่งตั้งครั้งที่ห้า

สำหรับตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานใน คสช. ส่วนใหญ่จะเป็นทหาร โดยหลายคนยังคงรับราชการอยู่ เช่น พันเอก วินธัย พันเอกหญิง ศิริจันทร์ งาทอง และ พลตรี ปิยพงศ์ ซึ่งทั้งหมดรับราชการที่กองทัพบก นอกจากบางคนก็มีตำแหน่งใน สนช. และ กรธ. เช่น พล.อ.วลิต โรจนภักดี (สมาชิก สนช.) ณัชฐานันท์ รูปขจร (ผู้ช่วยเลขานุการประธาน สนช.) และพลตรี วิระ โรจนวาศ (กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ)

โครงสร้างและหน้าที่ คสช.

หนึ่งวันหลังการรัฐประหาร วันที่ 23 พฤษภาคม 2557 คสช. ออก “ประกาศคสช. ฉบับ 22/2557 เรื่อง การจัดส่วนงาน การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ของคสช.” โดยแบ่งเป็นสามระดับ คือ

1. ระดับนโยบาย ประกอบด้วย

             1.1 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีหน้าที่กําหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนโยบายเฉพาะหน้า และนโยบายระยะยาว เพื่อให้ส่วนงานระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และระดับปฏิบัติ นําไปดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่กําหนดไว้

             1.2 คณะที่ปรึกษาและประสานงานด้านความมั่นคง มีหน้าที่ให้คําแนะนําต่อ คสช. ตามที่ คสช. ร้องขอ หรือที่ริเริ่มขึ้นเอง สำหรับคณะที่ปรึกษามี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดาเป็น รองประธาน

– แต่งตั้งครั้งที่หนึ่ง

– แต่งตั้งครั้งที่สอง

– แต่งตั้งครั้งที่สาม

– แต่งตั้งครั้งที่สี่

             1.3 สํานักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เลขาธิการ คสช. เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด รับผิดชอบหน่วยงาน/ส่วนราชการ ที่ขึ้นตรงต่อหัวหน้า คสช. และหน่วยงาน/ส่วนราชการที่มิได้กําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ รวมทั้งกํากับดูแลการปฏิบัติงานทั้งหมดของ คสช. ทั้งนี้สำหรับตำแหน่งเลขาธิการฯ จะปรับเปลี่ยนทุกครั้งมีเปลี่ยนผู้บัญชาการทหารบก

2. ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ แบ่งเป็นหกฝ่าย มีหน้าที่ อํานวยการ ควบคุม กํากับดูแลการปฏิบัติราชการของกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องตามความรับผิดชอบ ให้เป็นไปตามนโยบายที่ คสช.กําหนด โดยแต่ละฝ่ายจากมีรองหัวหน้า คสช. และสมาชิก คสช. คอยกำกับ ได้แก่

             2.1 ฝ่ายความมั่นคง มีหน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบ รวม สี่หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกระทรวงการต่างประเทศ

             2.2 ฝ่ายเศรษฐกิจ มีหน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบ รวม เจ็ดหน่วยงาน เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

           2.3 ฝ่ายสังคมจิตวิทยา มีหน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบรวม เจ็ดหน่วยงาน เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

           2.4 ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม มีหน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบ จํานวน สาม หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงยุติธรรม สํานักงานอัยการสูงสุด และสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

           2.5 ฝ่ายกิจการพิเศษ มีหน่วยงานและส่วนราชการ ในความรับผิดชอบจํานวน 20 หน่วยงาน เช่น  สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) สํานักพระราชวัง สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา

           2.6 ส่วนงานขึ้นตรง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบรวม ห้าหน่วยงาน กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สํานักข่าวกรองแห่งชาติ และสํานักงบประมาณ

3.ระดับปฏิบัติ มีหน้าที่ ปฏิบัติราชการ ตามนโยบายที่ คสช.กําหนด โดยแบ่งเป็นสองส่วน คือ

           3.1 กระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการ ที่ขึ้นตรงต่อ หัวหน้า คสช.

           3.2 กองกําลังรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ กอ.รส. มีแม่ทัพภาคที่ 1 เป็นผู้บัญชาการกองกําลังรักษาความสงบเรียบร้อย ทั้งนี้ กอ.รส. ถูกต้องขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ตามประกาศกองทัพบก ฉบับที่ 2 / 2557 โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้อำนวยการ กอ.รส. คำสั้งนี้ถูกประกาศหลังจากที่พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ  ทั้งนี้หลังจากยึดอำนาจ คสช. ก็ตั้ง กอ.รส. เป็นหน่วยงานดูแลความสงบเรียบร้อยภายในประเทศภายใต้การนำของกองทัพบก

ในช่วงต้นของการยึดอำนาจโครงสร้างเช่นนี้ทำให้สมาชิก คสช. แต่ละคนที่เข้าไปควบคุมกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ เปรียบเหมือนกับรัฐมนตรีในการจัดการกระทรวงนั้น อย่างไรก็ตามแม้จะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และตั้งคณะรัฐมนตรี แต่ประกาศ คสช. เรื่อง การจัดส่วนงาน การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ของ คสช. ก็ยังไม่ได้ถูกยกเลิก ทำให้ดูเหมือนรัฐมนตรีที่ควบคุมกระทรวงนั้น มี คสช.คุมอีกต่อหนึ่ง ซึ่ง คสช.และครม. มีผู้นำคนเดียวกันคือ พล.อ.ประยุทธ์ มีรองผู้นำคนเดียวกัน คือ พล.อ.ประวิตร และมีสมาชิกคนสำคัญร่วมกัน คือ พล.อ.อนุพงษ์ ทั้งนี้ประชุม ครม. และคสช. จะเกิดขึ้นในวันอังคารของทุกสัปดาห์




🌺🌺ภูมิพลถามว่า ข้าพเจ้าทำผิดอะไร

ก็ยกเลิก มาตรา112 สิครับ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง..

https://mycountrymyfreedom.blogspot.com/2021/10/blog-post.html



ไทกร พลสุวรรณ หรือ ทัยกร พลสุวรรณ[1] [2] เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวไทย ปัจจุบันเป็นแกนนำคณะหลอมรวมประชาชน

เคยเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ มาก่อน แต่ต่อมาได้ลาออกและได้จัดตั้งพรรคการเมืองของตนเองขึ้น ชื่อ "พรรคประชาชนไทย" จากนั้นหันมาก่อตั้งขบวนการอีสานกู้ชาติ ซึ่งวิจารณ์นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร


ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์และไทยรักไทย เขาเป็นผู้มีบทบาทอย่างมากในการสืบหาหลักฐานที่พรรคไทยรักไทยจ้างวานพรรคเล็กเพื่อให้ลงเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 แต่ทางพรรคไทยรักไทยโต้กลับมาว่า เป็นการใส่ความและเขาสนิทสนมกับสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการกระทำของเขาเป็นการกระทำส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับพรรค[ต้องการอ้างอิง]


ต่อมา เขายังคงดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ร่วมกับอธิวัฒน์ บุญชาติ แกนนำแนวร่วมอีสานกู้ชาติ ในช่วงการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 การชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม ปี พ.ศ. 2555 เขายังได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคมัชฌิมาธิปไตย และลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดขอนแก่น ปลายปี 2550 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และยังเป็นประธานชมรมไทยเป็นหนึ่งเดียว ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2554 ในนามพรรครักษ์สันติ และไม่ได้รับการเลือกตั้ง


ในปี พ.ศ 2553 ศาลล้มละลายมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด​ ต่อมา ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งยกเลิกคำฟ้องการล้มละลายเนื่องจากชำระหนี้ที่ค้างอยู่ทั้งหมด


ในปี พ.ศ. 2564 ไทกรกลับมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกครั้ง โดยเข้าร่วมกับคณะสามัคคีประชาชนเพื่อประเทศไทย(คณะไทยไม่ทน) ร่วมกับนายจตุพร พรหมพันธุ์


ไทกร วิพากษ์ รัฐพันลึก

https://www.facebook.com/watch/?v=1733890097364126



#นายวิษณุมันก็แค่หนึ่งในกลุ่มที่อยู่ใน #รัฐพันลึกหรือ deep state นั่นแหละ 

1.ทหารกลุ่มปฏิวัติ 

📌📌2. กลุ่มศาล นักกฏหมาย

3. กลุ่ม ตำรวจ

4. กลุ่มนักธุรกิจ

5. กลุ่มนักการเมือง


พวกเขาคงสรุปกันแล้วว่า
สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังวันที่ 14 คือ 

1 เศรษฐา ถูกให้ออก

จากนั้น หนุนอนุทินขึ้นแทน
แต่ อนุทินมีบาดแผล 3 แผล
ก็ต้องยอมให้เศรษฐาอยู่ต่อ


เศรษฐาผิดมาตรา 160 แต่งตั้งคนมี มลทิน เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ

รัฐพันลึกคืออะไร deep state

คือองค์ประกอบสำคัญในการรวมตัวกันของ กลุ่มทหาร(รัฐประหาร) ทหารกลุ่ม 0143 ที่มีมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ จอมพลสฤษดิ์ จอมพลถนอม จนถึงอมพลเอกเปรม ต่อมาจนถึงชาติชายชุณหะวัณก็ยังถือว่าเป็นกลุ่ม 0143 อยู่ 


อยู่มายังไม่รู้4รู้ 8 แบบนายทหารกลุ่มรสช ก็ลุกขึ้นมาปฏิวัติกลุ่มของพลเอกชาติชาย เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐพันลึกไปเลย ส่วนกลุ่มนักการเมือง อยู่ๆก็โผล่มามี กลุ่มนักการเมืองของไทยรักไทยอยู่ๆโผล่มา ปฏิวัติ +กลุ่ม ตำรวจ+กลุ่มนักธุรกิจ+ กลุ่มนักการเมือง สมัยนั้นคือปชป.

ต่อมามีโรคแทรกขึ้นมา ก็คือพรรคไทยรักไทย

การ กลั่นแกล้งพรรคก้าวไกล เห็นอยู่ตำตา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น