สรุปแถลงการณ์ 25 หน้า
ของ “นายคณากร เพียรชนะ”
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นศาลจังหวัดยะลา
ของ “นายคณากร เพียรชนะ”
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นศาลจังหวัดยะลา
—————
รายละเอียดคดีที่นายคณากรรับผิดชอบ
:
ชื่อคดี: ความผิดต่อชีวิต อั้งยี่ ซ่องโจร ความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ลหุโทษ
รายละเอียดคดีที่นายคณากรรับผิดชอบ
:
ชื่อคดี: ความผิดต่อชีวิต อั้งยี่ ซ่องโจร ความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ลหุโทษ
จำเลย: มี 5 คน เป็นผู้ชายทั้งหมด
คดีโดยสังเขป:
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1, 3 และ 4 ร่วมกันฆ่าคน 5 คน โดยใช้อาวุธปืนหลายชนิดยิง โดยมีจำเลยที่ 2 และ 5 เป็นผู้สนับสนุน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1, 3 และ 4 ร่วมกันฆ่าคน 5 คน โดยใช้อาวุธปืนหลายชนิดยิง โดยมีจำเลยที่ 2 และ 5 เป็นผู้สนับสนุน
ลักษณะคดี: คดีนี้เป็นคดีอุกฉกรรจ์ แต่ไม่ใช่คดีความมั่นคงหรือก่อการร้าย
—————
สรุปเนื้อหาแถลงการณ์
:
1- คดีนี้เดิมทีนัดอ่านคำพิพากษา 19 ส.ค. 62 แต่เนื่องจากเป็นคดีสำคัญจึงต้องรายงานคำพิพากษาให้ “อธิบดีผู้พิพากษาภาค 9” ทราบก่อน
สรุปเนื้อหาแถลงการณ์
:
1- คดีนี้เดิมทีนัดอ่านคำพิพากษา 19 ส.ค. 62 แต่เนื่องจากเป็นคดีสำคัญจึงต้องรายงานคำพิพากษาให้ “อธิบดีผู้พิพากษาภาค 9” ทราบก่อน
2- ตนได้ส่งร่างคำพิพากษาพร้อมสำนวนให้สำนักงานอธิบดีฯ ตามระเบียบ โดยคำพิพากษาของตนคือ “ยกฟ้อง ปล่อยจำเลยทั้งห้าไป”
3- จากนั้นมีบันทึกกลับมาว่าไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของตน และมีหนังสือประทับตรา “ลับ” ส่งกลับมาให้แก้คำพิพากษาใหม่ตามคำสั่งอธิบดี
4- คำพิพากษาที่อธิบดีต้องการ คือ
- สั่งประหารชีวิตจำเลยที่ 1, 3 และ 4
- จำคุกจำเลยที่ 2 และ 5 ตลอดชีวิต
.
ถ้าไม่ทำตามคำสั่งให้ทำบันทึกชี้แจง แล้วจะได้ดำเนินการต่อไป
- สั่งประหารชีวิตจำเลยที่ 1, 3 และ 4
- จำคุกจำเลยที่ 2 และ 5 ตลอดชีวิต
.
ถ้าไม่ทำตามคำสั่งให้ทำบันทึกชี้แจง แล้วจะได้ดำเนินการต่อไป
5- ตามหลักกฎหมาย หากอธิบดีไม่เห็นด้วยกับร่างคำพิพากษาก็ต้องทำความเห็นแย้งติดสำนวนมา แต่อธิบดีไม่ยอมทำตามกระบวนการ กลับใช้วิธีออกคำสั่งผ่านหนังสือลับ
6- ตนไม่ทราบว่า ความหมายของคำว่า “ถ้าไม่ทำตามจะดำเนินการต่อไป” คืออะไร ในเมื่ออธิบดีดำเนินการอย่างผิดกฎหมาย แล้วจะเอาอำนาจที่ไหนมาลงโทษตน
7- หากตนแก้คำพิพากษาตามคำสั่งอธิบดีแล้ว ตนและองค์คณะก็จะมีตราบาปในชีวิต
8- หนังสือลับบอกว่า ถ้าตนไม่ทำตามคำสั่งก็ให้ทำบันทึกชี้แจง ซึ่งตนไม่ทำ เพราะคำพิพากษาเขียนอย่างละเอียด ครบถ้วน เป็นเหตุเป็นผลในตัวมันเองแล้ว
9- ดังนั้น แทนที่จะเขียนบันทึกชี้แจงอธิบดี ตนจึงเลือกที่จะเขียนแถลงการณ์ชี้แจงมายังคนไทยที่รักความยุติธรรมให้ได้ทราบความจริงแทน
10- เหตุผลที่ตนพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งห้า เพราะพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะเอาผิดจำเลยได้
11- ตนไม่ได้บอกว่าจำเลยทั้งห้าไม่ใช่คนร้าย แต่ต้องทำให้ถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรม คือตัดสินไปตามพยานหลักฐาน
12- โดยปกติแล้วในคดีความมั่นคงหรือก่อการร้าย กฎอัยการศึกอนุญาตให้คุมตัวผู้ต้องหาได้ 7 วัน และขยายเวลาได้ครั้งละ 7 วัน รวมแล้วไม่เกิน 30 วัน แต่ตำรวจกลับนำกฎนี้มาใช้กับคดีนี้ซึ่งเป็นคดีฆาตกรรมทั่วไป
13- จากนั้นพบว่า พยานหลักฐานทั้งหมดของคดีนี้ “เกิดขึ้น” ในตอนที่จำเลยทั้งห้าถูกคุมตัว จึงถือเป็นพยานหลักฐานที่ไม่ควรรับฟัง
14- กฎหมายบัญญัติชัดเจนว่า อย่าพิพากษาลงโทษใคร จนกว่าจะแน่ใจว่าเขาทำความผิดจริง
15- ตนจะไม่ตัดสินด้วยอคติ
ไม่ตัดสินด้วยความรู้สึกส่วนตัว
ไม่ตัดสินตามคำสั่งใคร
ไม่ตัดสินเพราะอยากได้หน้า
ไม่ตัดสินเพราะอยากให้คนรู้ว่าเรามีอำนาจควบคุมผู้พิพากษาและคำพิพากษาได้
ไม่ตัดสินด้วยความรู้สึกส่วนตัว
ไม่ตัดสินตามคำสั่งใคร
ไม่ตัดสินเพราะอยากได้หน้า
ไม่ตัดสินเพราะอยากให้คนรู้ว่าเรามีอำนาจควบคุมผู้พิพากษาและคำพิพากษาได้
16- ในหนังสือลับยังระบุด้วยว่า ถ้าตนยกฟ้องก็ให้ขังจำเลยทั้งห้าไว้ระหว่างอุทธรณ์ ซึ่งตนไม่เห็นด้วย เพราะเมื่อข้อเท็จจริงในคดีรับฟังไม่ได้ว่าเขาทำความผิด แล้วจะขังเขาไว้ทำไม
17- จากนั้นนายคณากรได้วินิจฉัยการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคดีนี้ ดังนี้...
:
- ในคืนเกิดเหตุ ตำรวจไม่ได้มาตรวจเก็บวัตถุพยานในทันที แต่มีอาสาสมัครกู้ภัยซึ่งไม่มีอำนาจหน้าที่เข้าไปเก็บปลอกกระสุน หัวกระสุน เอาไปให้ตำรวจที่โรงพยาบาล ถือเป็นการทำคดีที่ไม่รัดกุมและมีพิรุธ
:
- ในคืนเกิดเหตุ ตำรวจไม่ได้มาตรวจเก็บวัตถุพยานในทันที แต่มีอาสาสมัครกู้ภัยซึ่งไม่มีอำนาจหน้าที่เข้าไปเก็บปลอกกระสุน หัวกระสุน เอาไปให้ตำรวจที่โรงพยาบาล ถือเป็นการทำคดีที่ไม่รัดกุมและมีพิรุธ
- จากนั้นตำรวจได้ไปปิดล้อมจับกุมตัว “นายมะรอฟี” โดยตำรวจบอกไม่ได้ว่าทำไมจึงสงสัยนายมะรอฟี ซึ่งนายมะรอฟีก็สารภาพและซัดทอดจำเลยทั้ง 5 แต่กลับไม่ปรากฏชื่อนายมะรอฟีเป็นจำเลย
- หลักฐานชิ้นหนึ่งในคดี ก็คือโทรศัพท์มือถือที่ตำรวจอ้างว่านายมะรอฟีใช้ติดต่อกับจำเลยทั้ง 5 โดยตำรวจไปพบบริเวณเล้าไก่ แต่กลับตรวจไม่พบดีเอ็นเอของนายมะรอฟีที่โทรศัพท์ แล้วยังลงทะเบียนซิมการ์ดเป็นชื่อคนอื่นอีก
- นายมะรอฟีบอกว่าใช้ปืนหลายชนิดกระหน่ำยิงผู้เสียชีวิตทั้งห้า แต่กลับตรวจไม่พบกระสุนปืนชนิดที่นายมะรอฟีอ้าง
- ตำรวจอ้างว่าจำเลยที่ 2 และ 5 พาไปชี้ที่ซ่อนอาวุธปืน พบอาวุธปืนสั้น 9 มม. แต่กลับไม่ตรงกับอาวุธปืนที่ใช้ก่อเหตุ ที่ซ่อนปืนเป็นที่โล่งแจ้ง ใครก็สามารถเข้าถึงและเอาปืนไปวางได้ อีกทั้งตรวจไม่พบดีเอ็นเอของจำเลยที่อาวุธปืน
- ต่อมาจำเลยทั้งสองอ้างว่า ที่รับสารภาพเพราะถูกบังคับขู่เข็ญขณะถูกควบคุมตัว
18- การกระทำของอธิบดีเป็นการแทรกแซงอำนาจตุลาการและขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่รู้ว่าทำแบบนี้มากี่ครั้งกี่หน กี่คดีแล้ว ลดตำแหน่งผู้พิพากษาให้เป็น “นิติบริการ” คอยรับใช้คำสั่งอธิบดี
19- และนี่ไม่ใช่ครั้งแรก ย้อนกลับไปในเดือน มี.ค. 62 ขณะตนรับราชการอยู่ที่ศาลจังหวัดปัตตานี ตนรับผิดชอบคดีทหาร 3 นายยิงชาวบ้านตาย ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในขณะนั้นโน้มน้าวให้ตนตัดสินว่าทหารทำไปด้วยความจำเป็น แต่ตนไม่เห็นด้วย
20- ต่อมามีคำสั่งให้ตนไปพบอธิบดีที่สงขลาทันที ถ้าไม่ไปจะถูกย้าย เมื่อไปถึงอธิบดีได้สั่งให้ตนแก้ไขคำพิพากษาทำนองว่า “ทหารคาดว่าผู้ตายมีของผิดกฎหมาย เช่น ปืนหรือระเบิด แต่ผู้ตายไม่ยอมให้ตรวจค้น และทำร้ายเจ้าหน้าที่ ทั้งถีบและต่อย”
21- ความจริงในคดีนี้ก็คือ ผู้ตายนุ่งโสร่งขับมอเตอร์ไซค์มาเจอด่านลอยของทหารและมีปากเสียงกัน ผู้ตายขับรถหนี ทหาร 2 คนใช้ปืนยิงจากด้านหลัง กระสุนทะลุออกปาก และผลตรวจที่เกิดเหตุไม่พบปืนหรือระเบิดแต่อย่างใด เรื่องนี้ทหารไม่จำเป็นต้องฆ่าชาวบ้านเลย
22- ต่อมาอธิบดีสั่งให้ตนแก้คำพิพากษาลดโทษให้จำเลย โดยเขียนกำกับมาว่า “ให้เห็นใจเจ้าหน้าที่ด้วย” ในครั้งนั้นตนและองค์คณะเกิดความกลัวจึงยอมแก้ไขตามนั้น ทั้งที่ในใจคิดว่า “แล้วไม่เห็นใจผู้ตายและครอบครัวบ้างหรือ”
23- เหตุการณ์นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ผู้พิพากษาอีกหลายคนทั่วประเทศก็ถูกกระทำไม่ต่างจากตน และสิ่งที่ตนทำในวันนี้อาจทำให้ถูกตั้งกรรมการสอบ และคงถูกไล่ออกโดยไม่ได้รับเงินบำเหน็จ
24- จากนั้นนายคณากรได้เรียกร้อง 2 ข้อ คือ
:
- ให้ออกกฎหมายเพิ่มเติม ห้ามตรวจร่างคำพิพากษาก่อนอ่านให้โจทก์-จำเลยฟัง และห้ามแทรกแซงผลคำพิพากษา
:
- ให้ออกกฎหมายเพิ่มเติม ห้ามตรวจร่างคำพิพากษาก่อนอ่านให้โจทก์-จำเลยฟัง และห้ามแทรกแซงผลคำพิพากษา
- ให้ความเป็นธรรมทางการเงินแก่ผู้พิพากษาทั่วประเทศ เพราะทุกวันนี้ผู้พิพากษาถูกสั่งห้ามประกอบอาชีพอื่นเสริม เมื่อขาดความมั่นคงทางการเงินก็ทำให้ถูกชักจูงและเกิดการแทรกแซงได้ง่าย
25- นายคณากรทิ้งท้ายแถลงการณ์ว่า...
:
“คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา
คืนความยุติธรรมให้ประชาชน”
:
“คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา
คืนความยุติธรรมให้ประชาชน”
และ
“คำแถลงของผม
อาจมีน้ำหนักเบาบางเหมือนขนนก
แต่หัวใจผู้พิพากษาหนักแน่นปานขุนเขา
จึงมอบหัวใจชั่งบนตราชูยืนยันคำแถลง
ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน”
อาจมีน้ำหนักเบาบางเหมือนขนนก
แต่หัวใจผู้พิพากษาหนักแน่นปานขุนเขา
จึงมอบหัวใจชั่งบนตราชูยืนยันคำแถลง
ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน”
—————
อัพเดทเหตุการณ์หลังจากนั้น
:
26- วันที่ 4 ต.ค. เวลา 12.30 น. นายคณากรขึ้นบัลลังก์อ่านคำพิพากษา ตัดสินยกฟ้องจำเลยทั้งห้า
อัพเดทเหตุการณ์หลังจากนั้น
:
26- วันที่ 4 ต.ค. เวลา 12.30 น. นายคณากรขึ้นบัลลังก์อ่านคำพิพากษา ตัดสินยกฟ้องจำเลยทั้งห้า
27- จากนั้นนายคณากรได้ใช้อาวุธปืนพกสั้นประจำตัว จ่อยิงหน้าอกด้านซ้ายของตัวเองจำนวน 1 นัด ในห้องพิจารณาของศาล
28- พบว่าก่อนขึ้นบัลลังก์ นายคณากรได้โพสต์แถลงการณ์ทั้ง 25 หน้า และโพสต์ว่าจะไลฟ์สดเพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบว่า อธิบดีแทรกแซงการพิพากษาคดี แต่ตนไม่ยอมทำตาม เชื่อว่าตนคงถูกไล่ออกโดยไม่ได้รับบำเหน็จ ใครต้องการเยียวยาให้ภรรยากับบุตรของตน สามารถบริจาคได้ที่...
:
ธนาคารออมสิน
เลขที่บัญชี 020152308985
ด.ญ.ขวัญชนก เพียรชนะ
:
ธนาคารออมสิน
เลขที่บัญชี 020152308985
ด.ญ.ขวัญชนก เพียรชนะ
29- ต่อมาโพสต์ทั้งหมดถูกลบไปในขณะที่นายคณากรอยู่ที่โรงพยาบาล
30- เวลา 15.27 น. ของวันเดียวกัน โฆษกศาลยุติธรรมแถลงว่า นายคณากรอาการปลอดภัยแล้ว สอบถามเบื้องต้นว่า “ยิงตัวเองเพราะความเครียดส่วนตัว”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น