เพลงฉ่อยชาววัง

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561

"สำหรับผม ต่อให้รวยแค่ไหน ถ้าไม่มีอำนาจเหนือคนทั่วไปก็คือไพร่" นายธนาธรกล่าวกับบีบีซีไทย

“จึงรุ่งเรืองกิจ” รวยเพิ่มเกือบ 2 เท่าใน 5 ปี หลัง ธนาธร ช่วย แม่ สร้างอาณาจักร

สมพร กับธนาธรImage copyrightBBC THAI/FACEBOOK/THANATHORN JUANGROONGRUANGKIT
คำบรรยายภาพคืนก่อนวันแถลงเปิดตัวพรรคอนาคตใหม่เมื่อ 15 มี.ค. นางสมพรได้มอบ "ส้มมงคล" ให้แก่นายธนาธร แทนคำอวยพรให้บุตรชายโชคดีกับบทบาทใหม่
ไม่ใช่ครั้งแรกที่นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท มีชื่ออยู่ใน "ทำเนียบ 50 มหาเศรษฐีของไทย" ตามการจัดอันดับโดยนิตยสารฟอร์บส์
ทว่าการติดอันดับ 28 ในปี 2561 ของนางสมพร ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 4.11 หมื่นล้านบาท ถูกจับจ้องเป็นพิเศษ แม้อันดับจะลดลงจากสถิติดีที่สุดในปี 2556 ที่อันดับ 25 แต่ความมั่งคั่งกลับเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า (ปี 2556 ครอบครองทรัพย์สินมูลค่า 2.34 หมื่นล้านบาท)
ที่สำคัญ "มหาเศรษฐินี" วัย 67 ปีรายนี้ เป็นมารดาของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ และประกาศตัว "พร้อมเป็นนายกฯ"
แกนนำก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่หลายคนระบุตรงกันว่าหนึ่งในนโยบายสำคัญของพรรคคือการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้งทางชนชั้น
ทว่าความมั่งคั่งของตระกูล "จึงรุ่งเรืองกิจ" ซึ่งนายธนาธร บุตรชายคนโตของนางสมพรกับนายพัฒนามีส่วนร่วมสร้าง-สั่งสม ในฐานะรองประธานกรรมการไทยซัมมิท กรุ๊ป ย่อมทำให้เขาถูกตั้งคำถาม
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายธนาธรเคยอธิบายกับบีบีซีไทยไว้ว่าธุรกิจของเขาแข่งขันในตลาดเสรี จึงอยู่ใน "โลกแห่งประสิทธิภาพ" ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานการผูกขาด ระบบสัมปทาน หรือต้องรอรับการอุปถัมภ์ใด ๆ จากรัฐ
ธนาธร ปิยบุตรImage copyrightJIRAPORN KUHAKAN/BBC THAI
คำบรรยายภาพกกต. ได้รับรองการขอจดแจ้งพรรคอนาคตใหม่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะมีการประชุมพรรคครั้งแรก 27 พ.ค. นี้
อย่างไรก็ตามความร่ำรวยระดับ "หลายหมื่นล้าน" ทำให้คนในตระกูล "จึงรุ่งเรืองกิจ" ถูกจัดวางให้เป็น "ชนชั้นนำ" หรือ "คนระดับยอดปิรามิด" ของสังคมไทย แต่ตัวนายธนาธรกลับเห็นว่าตนเป็น "คนข้างล่าง" เพราะนิยาม "อำมาตย์" ของเขาคือคนที่มีอำนาจ แต่ไม่ยึดโยงกับประชาชน
"สำหรับผม ต่อให้รวยแค่ไหน ถ้าไม่มีอำนาจเหนือคนทั่วไปก็คือไพร่" นายธนาธรเจ้าของฉายา "ไพร่หมื่นล้าน" กล่าวกับบีบีซีไทย
สถานะเจ้าของธุรกิจหลายหมื่นล้าน ยังทำให้นายใจ อึ้งภากรณ์ นักวิชาการจากต่างแดน ตั้งข้อสังเกตต่อจุดยืนของพรรคอนาคตใหม่ในเรื่องชนชั้นแรงงาน พร้อมขุดประวัติการปราบปรามสหภาพแรงงานของเครือไทยซัมมิทมาเล่าย้อนให้สังคมเห็นภาพ ในกรณีการเลิกจ้างพนักงานบริษัทไทยซัมมิท อีสเทิร์น ซีบอร์ด ออโต้พาร์ท อินดัสตรี จำกัด อย่างไม่เป็นธรรมในปี 2549 ร้อนถึงนายธนาธรต้องออกยืนยันผ่านเดอะ สแตนดาร์ด ว่า "มั่นใจว่าไม่มีกรณีอย่างนั้น"
เขาชี้แจงว่า เหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะทางสหภาพฯ ได้เรียกร้องขอโบนัสเท่ากับสำนักงานใหญ่ แต่ตนคิดว่าต้องเติบโตตามกำลังของบริษัท แนวทางแก้ปัญหาขณะนั้นจึงอยู่ที่การปิดบริษัทชั่วคราวเพื่อไม่ให้อุตสาหกรรมหยุดชะงัก และเจรจาจ่ายโบนัสให้พนักงานสี่เดือน หากใครเห็นด้วยก็กลับเข้ามาทำงาน และเมื่อบริษัททำกำไรได้ก็จ่ายโบนัสให้พนักงานเจ็ดเดือน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์
ส่วนการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมและไม่ให้ทำงานล่วงเวลา (โอที) นั้น เป็นเรื่องของบริษัทเครือซัมมิท ซึ่งนายธนาธรย้ำว่าเป็น "คนละผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร และสหภาพแรงงาน ซึ่งผมไม่รู้ด้วยเพราะไม่เกี่ยวข้อง"
ไทยซัมมิท vs ซัมมิท และ จึงรุ่งเรืองกิจ-จุฬางกูร
เครือซัมมิท และไทยซัมมิท ล้วนมีที่มาจากต้นตระกูลเดียวกันจากมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน โดยเครือซัมมิท เป็นของตระกูลจุฬางกูร ส่วนไทยซัมมิท เป็นของครอบครัวจึงรุ่งเรืองกิจ
สาแหรกจึงรุ่งเรืองกิจ
ผู้ก่อตั้งตระกูลจุฬางกูรคือ นายสรรเสริญ (เดิมชื่อ ฮังตง แซ่จึง) ลุงแท้ ๆ ของนายธนาธร แปลงชื่อสกุลเป็น "จุฬางกูร" ส่วนนายพัฒนา (เดิมชื่อ ฮั้งฮ้อ แซ่จึง) บิดาของธนาธร และน้อง ๆ อีกสี่คนรวมถึงนายสุริยะ อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ผู้มีศักดิ์เป็นอาของนายธนาธร ใช้ชื่อสกุลว่า "จึงรุ่งเรืองกิจ"
สองพี่น้องจากเมืองจีนโพ้นทะเลอย่างนายสรรเสริญกับนายพัฒนาเริ่มก่อร่างสร้างตัวจากการเป็นลูกจ้างร้านซ่อมเบาะรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ก่อนออกมาตั้งหน้าร้านเองใช้ชื่อว่าบริษัทสามมิตร แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Summit Auto Industry ในปี 2515
ตระกูลจุฬางกูร บริหารอาณาจักรซัมมิท มาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนตระกูลจึงรุ่งเรืองกิจ ภายใต้การนำของนายพัฒนาและนางสมพรแยกตัวจากพี่ชายในปี 2520 มาเปิดบริษัทใหม่และเติมคำว่า "ไทย"ลงไปในชื่อเพื่อป้องกันความสับสน กลายเป็นจุดกำเนิดอาณาจักรไทยซัมมิท
ปัจจุบันสองตระกูลนี้กินส่วนแบ่งทางการตลาดในอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยไปร้อยละ 80

5 เรื่องน่ารู้ของ “ไพร่หมื่นล้าน”

  • 39 ปี อายุในปัจจุบัน
  • 3 สาขา ป.โท กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ, การเงินระหว่างประเทศ, เศรษฐศาสตร์การเมือง
  • 3 ตำแหน่ง รองประธานไทยซัมมิทกรุ๊ป, กรรมการ บมจ.มติชน, กรรมการ สอท.
  • 4 ฉบับ นสพ. ที่ขาดไม่ได้ทุกวัน – นิวยอร์ก ไทมส์, ไฟแนนเชียล ไทมส์, กรุงเทพธุรกิจ, มติชน
  • 25 อันดับความมั่งคั่งที่ดีที่สุดของตระกูล “จึงรุ่งเรืองกิจ” ตามการจัดอันดับของฟอร์บส์
ฺBBC Thai
ต่อมาในปี 2545 นายพัฒนาเสียชีวิตด้วยมะเร็งตับ นางสมพรจึงกลายเป็นหัวหอกหลักของครอบครัวและคนงาน ในช่วงนั้นเองที่นายธนาธรถูกตามตัวกลับช่วยมาบริหารธุรกิจของทางบ้าน นางสมพรเคยกล่าวกับฟอร์บส์ฉบับเดือน พ.ย. 2556 ว่า "ลูกชายคนโตคือผู้ดูแลการขยายธุรกิจในต่างประเทศในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ด้วยความคิดที่ว่าอีกไม่นานตลาดชิ้นส่วนในไทยอาจจะถึงจุดอิ่มตัว" ทำให้ปัจจุบันไทยซัมมิท กรุ๊ป มีฐานการผลิตอยู่ใน 7 ประเทศทั่วโลก
ผลงานชิ้นสำคัญของนักธุรกิจหนุ่มรายนี้คือการ "ปิดดีลประวัติศาสตร์" อย่างน้อยสองดีล
  • ปี 2552 เข้าซื้อกิจการบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น โอกิฮารา ผู้ผลิตแม่พิมพ์ยักษ์ใหญ่ของโลก
  • ปี 2560 ทำสัญญาผลิตตัวถังรถยนต์ 5 แสนคัน/ปี ป้อนบริษัทเทสลา ผู้ผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ จนไทยซัมมิท กรุ๊ป บุกไปตั้งโรงงานในสหรัฐฯ ได้
การปิดดีลกับเทสลาช่วยเปิด "สถิติใหม่" ให้กับไทยซัมมิท กรุ๊ป เมื่อปีก่อน ด้วยยอดขายรวม 7.98 หมื่นล้านบาท กำไร 5.98 พันล้านบาท (ประชาชาติธุรกิจ, 9 ต.ค. 2560) และยังตั้งเป้านำรายได้ทะยานแตะแสนล้านในอีกสี่ปีข้างหน้า
นายสกุลธร น.ส.ชนาพรรณ และนายบดินทร์ธร (จากซ้ายไปขวา)Image copyrightISARIN NOOMUANG
คำบรรยายภาพนายสกุลธร น.ส.ชนาพรรณ และนายบดินทร์ธร (จากซ้ายไปขวา) ร่วมแสดงความยินดีของนายธนาธรในวันแถลงเปิดพรรคการเมือง
ปัจจุบันไทยซัมมิท กรุ๊ป แตกหน่อ-ต่อยอดออกไปเป็นบริษัทย่อยราว 40 บริษัท โดยมีลูก ๆ ซึ่งเป็น "รุ่นสอง" ของตระกูลช่วยกันบริหาร และเสริมความมั่งคั่งให้มารดาทะยานสู่ทำเนียบอภิมหาเศรษฐีของไทย
ขณะที่นายธนาธรผู้เตรียมถอยฉากจากโลกธุรกิจระบุว่าการเป็น "นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ" คือหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เขาจำเป็นต้องก้าวเข้าสู่โลกการเมือง เพราะมองไม่เห็นอนาคตและความหวังจากระบบที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน
วางมือธุรกิจ เดินหน้าการเมือง
ภายหลังเปิดตัวพรรคอนาคตใหม่อย่างเป็นทางการเมื่อ 15 มี.ค. นายธนาธรเปิดอนาคตตัวเองว่าเตรียมวางมือจากธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ที่ร่วมบริหารมา 17 ปี แล้วเข้าสู่การการเมืองอย่างเต็มตัวทันทีที่มีพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป โดยทุนที่ใช้ขับเคลื่อนพรรค จะไม่ใช้เงินของตระกูล "จึงรุ่งเรืองกิจ" เพราะไม่ต้องการให้เกิดภาพลักษณ์ "พรรคนายทุน" แต่ตั้งเป้าระดมทุนจากสมาชิกพรรคและประชาชนให้ได้ 350 ล้านบาท เพื่อสู้ศึกเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ จึงจัดกิจกรรม "ธนาธรออนทัวร์" ไปพบปะประชาชนตามจังหวัดต่าง ๆ
ส่วนอนาคตของอาณาจักรไทยซัมมิท จะผ่องถ่ายไปอยู่ในความดูแลของพี่น้อง เพื่อแยกภาพการเมืองกับภาพธุรกิจออกจากกันให้ชัดเจน
"เราก็เตรียมจัดทัพครอบครัวหลังจากนายธนาธรลาออก จากนั้นจะให้น้องชายคนกลาง (นายสกุลธร) เข้ามาทำหน้าที่รับไม้ต่อ คาดว่าทุกอย่างจะเป็นช่วงปลายปีนี้"น.ส.ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานกรรมการบริษัทไทยซัมมิท โอโต พาร์ท อินดัสตรี จำกัด พี่สาวของนายธนาธร กล่าวกับประชาชาติธุรกิจในวันเปิดตัวพรรคอนาคตใหม่
เธอบอกด้วยว่า "เราเชื่อมั่นว่าทุกคนในครอบครัวมีศักยภาพในการบริหารธุรกิจ"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น