เพลงฉ่อยชาววัง

วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560

เมื่อผู้เขียนถูกคำสั่งของคณะรัฐประหาร บังคับให้เป็นตุลาการศาลทหาร

ยกฟ้อง - พวกกู
จัดเต็ม - พวกมัน
--------------------------------
พวกเขาก็ทำกันแบบทื่อๆนี่แหละ..ไม่เห็นเขาอายใครเลย
-------------------------------------------
โลกที่ไหนจะมาสนใจ
ประเทศไหนๆก็อยู่ด้วยผลประโยชน์
จีน ซาอุ ละเมิดสิทธิฯ ลงโทษจับกุมคู่แข่งทางการเมืองแบบเด็ดขาด
แต่พี่กันก็ยังทำค้าขาย เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศษก็ยังขนเงินไปลงทุน
เสื้อแดงนี้น่าสงสาร หมดจากทักษิณคงยากที่จะมีใครมาเสี่ยงเป็นตู้เอทีเอ็มให้
ค่อยๆเฉาตาย
-------------------------------------------


=============================
บทความที่เขียนโดยอดีตผู้พิพากษาท่านหนึ่ง

คือ คุณนคร พจนวรพงษ์ ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ‘มติ
ชน’ รายวัน ฉบับประจำ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ใช้ชื่อบทความว่า
เมื่อผู้เขียนถูกคำสั่งของคณะรัฐประหาร บังคับให้เป็นตุลาการศาลทหาร
น่าจะได้รับความสนใจจากผู้คน เพราะนอกจากลงตีพิมพ์แล้ว ยังได้ถูกนำมาพูดถึง และอ่านออกวิทยุบางสถานีด้วย

ผู้เขียนบทความเล่าว่า เคยเป็นทนายความมาก่อน แล้วไปสอบเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาได้ภายหลัง ระหว่างที่เป็นทนายความ ท่านแสดงทีท่าต่อต้านการรัฐประหาร โดยบอกว่า

...ในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่รังเกียจและต่อต้านการยึดอำนาจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่เห็นด้วยกับประกาศหรือคำสั่งใดๆ ของคณะรัฐประหาร...

ด้วยเหตุนี้เอง ระหว่างเป็นทนายความ คุณนครฯจึงไม่สนใจไม่ศึกษา และไม่ยอมที่จะปฏิบัติตามตำสั่งของคณะปฏิวัติ แต่ในฐานะทนายความ ต้องว่าความให้ลูกความที่ศาล ได้ทราบว่าประกาศต่างๆ ของคณะรัฐประหาร ผู้พิพากษาศาลไทยท่านยอมรับและปฏิบัติตามเสียแล้ว
ตัวท่านเอง จะทำอย่างไรได้!?

ท่านให้ความเห็นสำคัญ ว่า ผู้พิพากษาไม่ควรไปยอมรับอำนาจคณะรัฐประหาร และยังมีความเห็นเพิ่มเติมอีกคือ...
...บรรดานักกฎมายที่เข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร น่าจะกระทำไปเพราะผลประโยชน์ของตัวเอง โดยสร้างกฎหมายออกมากดหัวกบาลประชาชน เพื่อสืบทอดอำนาจที่ชั่วร้ายต่อไป...
คนเหล่านี้ใครเป็นใครบ้าง คุณนครฯบอกให้ไปดูหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่มีบันทึกเอาไว้แล้วทั้งนั้น!

ผู้เขียนบทความยังเล่าต่อไปอีกว่า ต่อมาตัวท่านสอบเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาได้ และเมื่อเป็นผู้พิพากษาเต็มตัวแล้ว ได้ย้ายไปรับราชการที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่
ระหว่างอยู่ที่เชียงใหม่ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ แม่ทัพเรือและผู้บัญชาการทหารสูงสุด ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินฉีกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร

ออกคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 1 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 24 และฉบับที่ 29 ออกคำสั่งให้ คดีความผิดต่อความมั่นคงของรัฐและความผิดที่มีโทษทางอาญาบางประเภท ให้ขึ้นต่อศาลทหาร และออกคำสั่งให้ผู้พิพากษาศาลอาญาและศาลจังหวัดทุกคนเป็น ตุลาการศาลทหาร ให้พนักงานอัยการเป็นอัยการทหาร ให้ใช้สถานที่ทำการศาลอาญาและสถานที่ทำการศาลจังหวัดทุกศาล เป็นที่ทำการศาลทหาร ให้คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร เป็นคดีที่ห้ามอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหาร
คุณนคร พจนวรพงษ์ ผู้เขียนบทความเลยต้องตกกระได พลอยเป็นโจร เพราะคำสั่งดังกล่าว แต่ท่านได้สรุปบทความว่า
ผู้พิพากษายุคใหม่สมัยใหม่ ที่ไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ สามารถต่อต้านด้วยสันติวิธี ด้วยการไม่ออกคำสั่งหรือวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ตามประกาศหรือคำสั่งใดๆ ของคณะรัฐประหารที่ประกาศใช้มาแล้ว และ/หรือจะพึงมีหรือเกิดขึ้นต่อไปอีกในอนาคต
‘วาทตะวัน’ อยากให้เป็นอย่างนั้นจริงๆ!

ผมเห็นว่า บทความของคุณนคร พจนวรพงษ์ น่าจะเป็นประโยชน์ เพราะมีวัตถุประสงค์สนับสนุนผู้พิพากษารุ่นหลังจากท่าน ให้บังเกิดความกล้าหาญ ลุกขึ้นมาต่อสู้ กับกลุ่มบุคคลที่ยึดอำนาจไปจากประชาชนด้วยอย่างไม่เป็นธรรม
แต่...
ตัวคุณนครฯเอง ไม่เคยลุกขึ้นมาต่อสู้ และยอมเป็นตุลาการศาลของฝ่ายรัฐประหาร มาแล้วอีกด้วย!
ตรงนี้เอง ผมอยากจะบอกกับคุณนคร ว่า

เป็นเรื่องน่าเสียดาย ที่ไม่ใช่เฉพาะคุณนครฯเท่านั้น แม้บรรดา ‘ท่านเปา’ คนอื่นๆ ในบ้านเมืองของเรา ก็ไม่เคยมีประวัติในการลุกขึ้นต่อสู้กับฝ่ายทหาร ที่ยึดอำนาจบ้านเมืองของเรา โดยปราศจากความชอบธรรม แม้แต่ครั้งเดียว ตราบจนกระทั่งเกิดปรากฏการณ์ของท่านผู้พิพากษาศาลฎีกา กีรติ กาญจนรินทร์! อย่างที่ผมเคยเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังไปแล้ว
(ดูคอลัมน์ จดหมายฟ้องโลก!!! ท้ายบทความนี้)

อยากจะเล่าให้คุณนครฯ ฟังเพิ่มเติมด้วยว่า หลังการปฏิวัติรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ผมได้เขียนบทความยุยงผู้พิพากษาทั้งหลาย ให้ท่านแข็งข้อต่อการรัฐประหาร หลายบทความ ลงในเว็บไซด์ผู้จัดการ เช่น “ผู้พิพากษาต้องเป็น ‘ธงนำ’ ในการต่อต้านรัฐประหาร” ซึ่งท่านหาอ่านได้ได้หนังสือ
“รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ” 
ส่วนบรรดาบทความอื่นๆ ที่มีทิศทางเดียวกัน ผมได้ให้รายละเอียด สำหรับผู้ที่สนใจจะทำการศึกษาค้นคว้า ไว้ท้ายบทความนี้แล้ว

บทความ “ผู้พิพากษาต้องเป็น ‘ธงนำ’ ในการต่อต้านรัฐประหาร” ที่ผมเขียนนั้น ได้บรรยายถึงความเลวทราม ในการทำรัฐประหารยึดบ้านยึดเมือง แล้วในที่สุดหัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งเป็น ผบ.ทบ.ทั้งนั้น ล้วนแต่ต้องประสบชะตากรรมร้ายแรงต่างๆกันไป บ้างไปเสียชีวิตในต่างแดน เช่น จอมพล ป.พิบูลสงคราม ส่วนที่ถูกยึดทรัพย์ก็มีตัวอย่าง เช่น จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร แต่ที่อื้อฉาวมากที่สุด คือเจ้าของฉายา “จอมพลสะดือแตก” หรือ “จอมพลพันเมีย” เพราะมีเมียมากมายเหลือเกิน คนนั้นคือ 
“จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์” 

สำหรับบทความของ คุณนคร พจนวรพงษ์ น่าสนใจก็จริง แต่ผมว่ามันก็เป็นการยาก ที่จะให้ผู้พิพากษารุ่นน้องหรือรุ่นหลัง เชื่อตามคำแนะนำของคุณนครฯ เพราะต่างคนก็ล้วนแต่รักตัว กลัวภัยที่จะมาถึงตัวด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น แม้ตามหลักอินทภาษ ซึ่งวางวางหลักธรรมในการดำรงตน และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาตุลาการว่า
จะต้องพิจารณาตัดสินอรรถคดี ด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใด อันเกิดจากอคติ 4 ประการ ได้แก่ ฉันทาคติ คือ ลำเอียงเพราะรักชอบ เห็นแก่อามิสสินบน โทษาคติ คือ ลำเอียงเพราะโกรธ ภยาคติ คือ ลำเอียงเพราะกลัว และ โมหาคติ คือลำเอียงเพราะหลง
‘ภยาคติ’ หรือความกลัวภัยนั้น เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ ที่เลือกทางเอาตัวรอดไว้ก่อนดีกว่า ซึ่งไม่เว้นแม้แต่คนที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษา
ดังนั้น การที่จะให้ผู้พิพากษาไทยเรา มีความกล้าหาญรักษาระบบประชาธิปไตย
ไม่ใช่เรื่องง่าย!

อย่างไรก็ดี มี ‘ท่านเปา’ บางประเทศ เช่น ผู้พิพากษาปากีสถาน ซึ่งมีความกล้าหาญเพียงพอ ที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้กับอำนาจไม่เป็นธรรม อย่างกล้าหาญชาญชัยยิ่งนัก
‘ท่านเปา’ ปากีสถานนั้น ได้ลุกขึ้นต่อต้าน อำนาจเถื่อนของทหาร จนต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง บางท่านถูกจับกุม คุมขัง แต่การต่อสู้ของท่านเหล่านั้น ก็ได้รับชัยชนะในที่สุด และได้กลับเข้ารับตำแหน่งเดิมทุกคน จนชาติต่างๆเขา พากันยกย่องในความความกล้าหาญ ของบรรดาท่านเปาปากีสถาน เป็นอย่างมาก
สำหรับประเทศไทยนั้น ผู้ใหญ่ที่ผมเคารพนับถือ บอกว่าการที่จะให้ผู้พิพากษาบ้านเรา เป็น ‘ธงนำ’ ประชาชนชาวไทย ในการต่อสู้กับคณะรัฐประหาร อย่างที่ผมเขียนยุยงนั้น คงจะยากเย็นพอๆกับการ...
บังคับผู้หญิง ให้ออกลูก...ทางตูด!

คุณนครฯ คงจะทราบดีว่า บรรดาผู้พิพากษาก่อนท่าน ได้ยึดมั่นในคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 45/2496 และ 1663/2505 ซึ่งวางหลักเกณฑ์ว่า ทหารผู้ทำปฏิวัติสำเร็จเป็น
“รัฐาธิปัตย์” 
ทำให้ฝ่ายทหารผู้ก่อการ บังเกิดความฮึกเหิม ได้ใจว่าการทำระยำ ด้วยการยึดอำนาจการปกครองบ้านเมือง เป็นความชอบธรรม เพราะ...
ศาลฎีกาท่าน ‘ตีตรา’ รับรองให้แล้ว!
ด้วยคำพิพากษาของศาลฎีกาอย่างนี้เอง ที่บรรดา ‘ท่านเปา’ รุ่นหลังๆจึง ‘ไม่หือ-ไม่อือ’ กับการรัฐประหาร จนมีสภาพเป็นศาลใต้อำนาจเถื่อนอย่างแท้จริง ถึงกับออกคำพิพากษาศาลฎีกา โดยใช้คำว่า “รัฐาธิปัตย์” อย่างเต็มปากเต็มคำ ทั้งๆที่คำๆนี้ ไม่ใช่ภาษาไทย และไม่มีอยู่ในพจนานุกรมฉบับใดๆของประเทศนี้ด้วย ซึ่งผมได้เขียนบทความ ตั้งข้อสงสัยว่า
ในเมื่อกฎหมายบอกว่า คำพิพากษาต้องทำเป็นภาษาไทย
ก็แล้วคำๆนี้ มันไม่มีอยู่ในภาษาของเรา แล้วเหตุไฉนผู้พิพากษาศาลฎีกาในอดีต
ดันยกคำๆนี้ ขึ้นมากล่าวอ้างในคำพิพากษา ได้อย่างไรกัน!?

เมื่อผมตั้งข้อสงสัยในเรื่องนี้ไป ก็มีเว็บไซด์พุทธธรรมสาร ได้นำไปวิพากษ์วิจารณ์ (แต่ไม่ปรากฏนามผู้เขียน)

ประวัติศาสตร์การยึดอำนาจและการก้าวเดินสู่การเลือกตั้ง : โดย นคร พจนวรพงษ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น