เพลงฉ่อยชาววัง

วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ปฏิบัติการวันชาติของ..เอกชัย หงส์กังวาน


ข่าวเกี่ยวข้อง

เกิดอะไรขึ้นเมื่อ ‘เอกชัย หงส์กังวาน’ ไปยื่นเรื่องเปลี่ยน “วันชาติ” เป็นวันที่ 24 มิ.ย.

                     

สรุปเหตุผล และเหตุการณ์ เมื่อเอกชัย หงส์กังวาน ต้องการไปยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาล ขอเปลี่ยนวันชาติกลับไปเป็นวันที่ 24 มิถุนายน แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจพาไปกักตัวไว้ที่สำนักงานเขตบางกะปิ ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารขู่ทนายความว่าถ้าเรื่องนี้เป็นข่าว จะพาตัวเอกชัย ไป มทบ. 11
ย้อนกลับไปช่วงหลังจากวันครบรอบ 85 ปีเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีแคมเปญรณรงค์เรื่องหนึ่งผุดขึ้นมาที่เว็บไซต์ Chang.org เป็นเรื่องร้องเรียนไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี โดยขอให้กำหนดวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติไทย โดยผู้ที่เป็นผู้ริเริ่มแคมเปญดังกล่าวมีชื่อว่า เอกชัย หงส์กังวาน
เขาให้รายละเอียดในแคมเปญดังกล่าว โดยสรุปใจความได้ว่า วันชาติถือเป็นวันสัญลักษณ์สำคัญของความเป็นชาติ เกือบทุกประเทศในโลกกำหนดให้วันสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น วันประกาศเอกราช และวันก่อตั้งรัฐเป็นวันชาติ ขณะที่ประเทศไทยเองก็ได้ผ่านเหตุการณ์ที่กลายเป็นหมุดหมายสำคัญของชาติ ซึ่งคือการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนั้นนำมาซึ่ง พรบ.ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ซึ่งมีหลักใหญ่ใจความสำคัญที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนคือ การกำหนดให้อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นราษฎร

-------------------------------------------------------

คุมตัว 'เอกชัย' เข้ามทบ.11 เหตุจะนำหมุดคณะราษฎรจำลองกลับไปติดที่เดิม

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเผยตำรวจคุมตัว 'เอกชัย หงส์กังวาน' เข้า มทบ.11 ทั้งวันเมื่อ 24 มิ.ย. เหตุจะนำหมุดคณะราษฎรจำลองกลับไปติดที่เดิม ก่อนพาส่งบ้าน

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2560 ที่ผ่านมาว่านายเอกชัย หงส์กังวาน นักกิจกรรมและอดีตนักโทษการเมือง ถูกนำตัวส่งถึงบ้านในเวลา 19.45 น. หลังถูกตำรวจจับกุมจากบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าไปที่ มทบ.11 ตั้งแต่ช่วงเช้า จากเหตุที่เอกชัยจะเดินทางเข้าไปในบริเวณดังกล่าว เพื่อจะนำหมุดคณะราษฎรจำลองที่เตรียมมาไปติดตั้งกลับคืนที่จุดที่อยู่เดิมของหมุดคณะราษฎร
พ.ต.อ.อรรถวิทย์ สายสืบ รองผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 ได้เป็นผู้นำตัวนายเอกชัยมาส่งถึงบ้าน จากนั้นได้เข้าตรวจค้นบ้าน เพื่อหากล่องพัสดุที่ใส่หมุดคณะราษฎรจำลอง ทั้งนี้การตรวจค้นได้รับการยินยอมจากนายเอกชัยแล้ว แต่จากการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ไม่พบกล่องดังกล่าว จึงได้ทำบันทึกตรวจค้น และให้นายเอกชัยเซ็นชื่อ จากนั้นเจ้าหน้าที่จึงเดินทางกลับ
นายเอกชัย เล่าถึงช่วงที่ถูกจับกุมว่าเมื่อลงจากแท็กซี่ในช่วงเช้า ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นสิบนายเข้าล้อม และบอกว่า “อย่าทำอะไรนะ” และจะพาไปส่งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่จากนั้นตำรวจก็บอกว่าจะนำตัวไปมณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) ก่อนนำตัวเขาขึ้นรถตู้ของกองปราบฯ หากเมื่อไปถึงมทบ.11 ได้ราวครึ่งชั่วโมงยังไม่ทันได้ทำอะไร ก็ถูกนำตัวไปสน.ดุสิต แต่พอไปถึงเจ้าหน้าที่ก็แจ้งว่า “นาย” ได้สั่งให้พาตัวกลับไปที่ มทบ.11 อีกครั้ง
นายเอกชัยได้ถูกคุมตัวอยู่ในมทบ.11ตั้งแต่ช่วงประมาณ 10 โมงเช้า ระหว่างการถูกควบคุมตัวมีตำรวจเข้ามาซักถามเกี่ยวกับหมุดคณะราษฎรจำลองว่าเขาได้มาอย่างไร ใครเป็นคนส่งมาให้ ที่หน้ากล่องพัสดุจ่าหน้าผู้ส่งเป็นใคร แต่เอกชัยจำไม่ได้แล้ว เพราะส่งมาตั้งแต่เดือนที่แล้ว การซักถามมีการใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจถึง 3 ชุดเวียนกัน ส่วนหมุดคณะราษฎรจำลองที่นายเอกชัยเตรียมมาเพื่อติดตั้งใหม่อีกครั้ง ก็ได้ถูกเจ้าหน้าที่ยึดเอาไป จากนั้นในช่วงเย็นเจ้าหน้าที่ทหารจึงได้ให้นำตัวไปส่งที่สน.ดุสิต
เมื่อถึงสน.ดุสิต เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับตัวไว้ ก่อนทำบันทึกยอมรับเงื่อนไขว่าจะยอมให้เจ้าหน้าที่ยึดหมุดจำลองเอาไว้ แต่ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาใดๆ กับเอกชัย เมื่อทำบันทึกเสร็จจึงนำตัวนายเอกชัยไปส่งที่บ้านพักของเขา
ทั้งนี้ นายเอกชัยถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวในเวลาประมาณ 8.40 น. โดยก่อนที่จะเดินทางออกจากบ้านนายเอกชัยได้โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวตั้งแต่เช้าตรู่ว่าจะนำหมุดเลียนแบบหมุดคณะราษฎรไปติดตั้งใหม่ในตำแหน่งเดิมตอน 9.00น. ของวันนี้ ซึ่งเป็นวันครบรอบ 85 ปี การอภิวัฒน์สยาม
หลังนายเอกชัยถูกควบคุมตัวยังสามารถติดต่อกับนายเอกชัยทางโทรศัพท์ได้ จึงทราบว่านายเอกชัยถูกนำตัวถึง มทบ.11 ในเวลาประมาณ 9.05 น. และจากการรายงานข่าวของประชาไท จึงทราบว่ายังสามารถติดต่อนายเอกชัยได้จนถึงเวลาประมาณ 10.35 น. นอกจากนั้นนายเอกชัยยังถูกนำตัวจาก มทบ.11 ไปที่สน.ดุสิตก่อนหนึ่งครั้งก่อนมีคำสั่งจากทางฝ่ายทหารให้คุมตัวนายเอกชัยกลับไปที่ มทบ.11อีกครั้ง ก่อนขาดการติดต่อไปจนกระทั่งถูกนำตัวไปส่งที่บ้าน รวมเวลาถูกควบคุมตัวกว่า 10 ชั่วโมง และไม่แน่ชัดว่าเจ้าหน้าที่อ้างอำนาจตามกฎหมายใดๆ ในการควบคุมตัวเอกชัยไปในครั้งนี้

ปฏิบัติการวันชาติ
โดย....
.เอกชัย หงส์กังวาน




ปฏิบัติการวันชาติ (1)
พระยาพหลพลพยุหเสนากำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายนซึ่งตรงกับวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตยเป็นวันชาติในปี พ.ศ. 2481
ต่อมา สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เปลี่ยนแปลงวันชาติเป็นวันที่ 5 ธันวาคมซึ่งตรงกับเกิดของ ร.9 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 หลายรัฐบาลที่ผ่านมายังคงใช้วันดังกล่าวเป็นวันชาติ
การสิ้นพระชนม์ของ ร.9 ในปีที่ผ่านมามีผลให้วันชาติถูกยกเลิก ปีนี้ไทยจึงไม่มีวันชาติ ผมจึงเห็นไทยควรกลับไปใช้วันที่ 24 มิถุนายนเป็นวันชาติดังเดิม
ด้วยเหตุนี้ผมจึงจัดการรณรงค์ใน Change.org เพื่อระดมรายชื่อของผู้ที่เห็นด้วยกับแนวคิดของผมตั้งแต่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560 จนถึงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ผมกำหนดที่จะยื่นแคมเปญนี้ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เวลา 10.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ผมจึงโพสท์แจ้งกำหนดการนี้ลงใน FB เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ต่อมาเวลา 15.15 น. ของวันที่ 3 กรกฎาคม รถตู้คันหนึ่งมีตราสัญลักษณ์กรุงเทพมหานครอยู่ที่ประตูรถตู้จอดฝั่งตรงข้ามบ้านของผม ชายกลุ่มหนึ่งเดินลงจากรถตู้เพื่อมาที่หน้าบ้านของผม
ชาย 1 คนสวมเครื่องแบบสีกากี ขณะที่ชายอีก 5 คนสวมเสื้อผ้าธรรมดา ผมเดินมาหาชายกลุ่มนี้ที่หน้าประตู
"มีธุระอะไรหรอ ?" ผมถามพวกเขา
ชายที่สวมเสื้อเชิ้ตดำคนหนึ่งแนะนำตนเองเป็นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเขตบางกะปิ
ประสบการณ์สอนผมห้ามเปิดประตูต้อนรับบุคคลที่ไม่รู้จัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่ิอ้างตนเองเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ
"พวกเราจะมารับเรื่องร้องเรียนของคุณนะครับ"
"ผมร้องเรียนเรื่องอะไร ?"
"ก็ที่คุณแจ้งจะยื่นเรื่องร้องเรียน"
"ผมไม่ได้ต้องการร้องเรียนอะไร"
"อ้าว! คุณต้องการร้องเรียนไม่ใช่หรอ ?"
"ผมต้องการยื่นหนังสือการรณรงค์ของผม ผมไม่ได้ร้องเรียนซักหน่อย"
พวกเขาคงได้รับคำสั่งจากหัวหน้าของพวกเขาให้มารับหนังสือของผมโดยไม่ทราบแม้แต่สิ่งที่ผมต้องการ
"เราจะรับหนังสือของคุณ"
"เดี๋ยวนี้มีบริการมารับหนังสือถึงบ้านเลยหรอ ?"
ผมหยิบโทรศัพท์มือถือจากโต๊ะมาถ่ายรูปของพวกเขา ชายในชุดสีกากี-ชายที่สวมเสื้อเชิ้ตดำรู้สึกตกใจที่เห็นผมถ่ายรูปพวกเขา
ชายที่สวมเสื้อเชิ้ตดำยิ้มให้กับผม ผมสังเกตเห็นชายคนหนึ่งผมสั้นเกรียน เขากำลังถือแฟ้มเอกสาร ผมจึงชี้นิ้วไปที่เขา
"คนนี้เป็นทหารใช่ไหม ? เขาสั่งให้พวกคุณมาใช่ไหม ?"
ชายที่สวมเสื้อเชิ้ตดำหันมองไปที่เขา ชายผมสั้นเกรียนเดินมาหาผม เขาเปิดแฟ้มเอกสารเพื่อเขียนบางอย่าง ท่าทางของเขาเหมือนต้องการจะข่มผม แต่ผมไม่สนใจ
"พรุ่งนี้ผมไปยื่นที่ทำเนียบรัฐบาลเอง"
ชายที่สวมเสื้อเชิ้ตดำแสดงสีหน้าผิดหวัง ผมกลับเข้ามาภายในบ้านโดยไม่สนใจพวกเขาอีก รถตู้ของพวกเขายังคงจอดอยู่ที่เดิม
เวลา 16.00 น. แม่ของผมโทรศัพท์หาผม ผมสังหรณ์ใจอาจมีเจ้าหน้าที่รัฐมาเยี่ยมแม่ของผม
"มีคนมาหาที่บ้าน บอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่"
ลางสังหรณ์ของผมกลายเป็นจริง พวกเขามาเยี่ยมแม่ของผม พวกเขาสัมภาษณ์แม่ของผม ผมรู้สึกไม่พอใจที่พวกเขามาหาแม่ของผม
"ไล่ๆพวกเขาไป"
"เขาบอกมาเยี่ยมม๊า"
"เออ นั่นแหละ พวกเขามาหาอั๊ว ไม่ใช่ม๊า ไล่ๆพวกเขาไป"
แม่ของผมวางสายโทรศัพท์ พวกเขาคงผิดหวังที่ไม่ได้ข้อมูลใดจากแม่ของผม สักพักรถตู้ของพวกเขาจึงขับออกไป

--------------------------------------------
ปฏิบัติการวันชาติ (2)
วันรุ่งขึ้น เวลา 5.10 น. ผมเดินทางออกจากบ้านของผมเพื่อเตรียมยื่นหนังสือแคมเปญที่ทำเนียบรัฐบาล รถกระบะสีบรอนซ์ทองคันหนึ่งจอดอยู่ตรงข้ามบ้านของผม
ผมเดินไปออกจากบ้านเพียง 20 เมตร ชายในชุดเสื้อผ้าธรรมดา 4 คนออกมารถกระบะนี้ และวิ่งเข้ามาหาผมทางด้านหลัง ผมจึงหันไปมองพวกเขา
"พี่มากับผมหน่อย" ชายคนหนึ่งบอกกับผม
พวกเขาไม่ถามชื่อของผม และไม่แสดงตัวเป็นตำรวจ แผนการนี้ถูกตระเตรียมมาเพื่อผมโดยเฉพาะ
ผมมั่นใจพวกเขาต้องการควบคุมตัวของผม ผมพยายามขัดขืนพวกเขา พวกเขายึดโทรศัพท์มือถือจากผม
รถกระบะนี้แล่นมาจอดด้านข้างของผม ชายคนหนึ่งเปิดประตูรถ และพยายามลากผมขึ้นรถกระบะนี้จนผมได้รับบาดเจ็บที่มือหลายแห่ง
ผมนั่งอยู่ที่เก้าอี้ด้านหลัง ชาย 2 คนนั่งประกบด้านซ้าย-ขวาของผม ขณะที่ชาย 1 คนนั่งที่เก้าอี้ด้านหน้าข้างคนขับรถ
"จะพาผมไปไหน ?"
"สน.ลาดพร้าว"
สักพักรถกระบะนี้พาผมมาถึงด้านหน้าของ สน.ลาดพร้าว ผมลงจากรถกระบะนี้ และยืนรอที่ด้านหน้าของสถานีตำรวจนี้ โดยมีพวกเขาคอยคุมเชิง ก่อนที่พวกเขาจะพาผมเดินมาที่ด้านหลังของสถานตำรวจนี้
เวลา 5.30 น. พวกเขาพาผมเข้ามาในห้องที่อยู่ด้านหลังสถานีตำรวจ ห้องนี้มีขนาด 8 X 6 เมตร ภายในมีโต๊ะทำงาน 2 ตัว ตู้เตี้ยติดกำแพง 1 ใบ เก้าอี้หลายตัว เครื่องปรับอากาศ และโทรทัศน์
"ทานข้าวหรือยัง ?" ชายคนหนึ่งถามผม
"ผมทานเรียบร้อยแล้ว พาผมมาที่นี่ทำไม ?"
"เดี๋ยวจะพาไปยื่นหนังสือที่สำนักงานเขตบางกะปิ"
"ผมจะไปยื่นที่ทำเนียบรัฐบาล"
"ไม่ได้ ต้องยื่นที่นี่"
"ทำไมต้องให้ผมยื่นที่นี่ ? ผมจะยื่นที่ไหนก็เรื่องของผม"
"เดี๋ยวจะพาไปยื่นตรงนี้ใกล้ๆ"
"ตอนนี้เพิ่งกี่โมง ? ยังไม่เปิดซักหน่อย"
"เดี๋ยวมีคนรับเรื่อง"
ผมพยายามต่อรองเพื่อขอโทรศัพท์หาบุคคลภายนอก แต่พวกเขาปฏิเสธ การกระทำนี้เป็นการละเมิดสิทธิของผม
นี่คือเหตุผลที่ผมต้องโพสท์กำหนดการใน FB ของผม หากเวลา 10.00 น. ผมยังเดินทางไม่ถึงทำเนียบรัฐบาล เพื่อนของผมจะทราบถึงการหายตัวไปของผม
โทรทัศน์กำลังฉายรายการ "มองโลกแบบวิกรม" พวกเขาพยายามชวนผมสนทนาเกี่ยวกับ วิกรม กรมดิษฐ์ เพื่อฆ่าเวลา
พวกเขาพยายามโน้มน้าวให้ผมยืนหนังสือแคมเปญนี้ที่สำนักงานเขตบางกะปิ แต่ผมยืนกรานที่จะยื่นที่ทำเนียบรัฐบาล
ตำรวจนอกเครื่องแบบเดินเข้าออกห้องนี้ตลอดเวลากว่า 10 คน พวกเขาผลัดเปลี่ยนมาสนทนากับผม แต่ผมพยายามชมรายการโทรทัศน์มากกว่าที่จะสนใจคำพูดของพวกเขา
เวลา 6.00 น. ชาย 4 คนพาผมออกจากห้องนี้ ผมเดินมาถึงด้านหน้าของสถานีตำรวจนี้อีกครั้ง พวกเขาพาผมมาที่รถกระบะสีดำ
"อยู่ตรงข้ามแค่นี้เองเดินไปก็ได้"
"ไม่ได้ ต้องขึ้นรถไป"
ผมถูกพาขึ้นรถกระบะสีดำ รถกระบะนี้เดินทางถึงสำนักงานเขตบางกะปิ ลานจอดรถมีที่ว่างอย่างเหลือเฟือ แต่ชายคนหนึ่งลงจากรถกระบะนี้เพื่อยกกรวยยางที่วางจองที่จอดรถออกเพื่อจอดรถกระบะนี้
--------------------------------------
ปฏิบัติการวันชาติ (3)
เวลา 6.10 น. ผมถูกพาตัวขึ้นชั้น 2 ของอาคารด้านขวาของสำนักงานเขตบางกะปิ สิ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับผมคือ เจ้าหน้าที่รัฐหลายคนมาทำงานตั้งแต่เช้า
พวกเขาพาผมเข้ามาในห้องประชุม ห้องประชุมนี้มีขนาด 6 X 18 เมตร ประตูกระจกบานเลื่อน กลางห้องมีโต๊ะประชุมยาว เก้าอี้ 15 ตัว ไมโครโฟน 13 ตัว และเครื่องปรับอากาศ
ด้านหน้ามีตู้โชว์-นาฬิกา ในตู้โชว์มีรางวัลหลายอัน ด้านหลังห้องมีตู้เอกสารหลายใบวางเรียงเป็นกำแพงแบ่งห้อง ด้านข้างมีโต๊ะวางกระติกน้ำร้อน-กาแฟ
ผมนั่งเก้าอี้กลางห้อง แม่บ้านเสริฟน้ำดื่มให้กับผม พวกเขาแจ้งจะติดต่อทหาร-เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตมารับหนังสือแคมเปญของผม
"เช้าขนาดนี้มีคนรับเรื่องหรอ ?"
"มีซิ"
สักพักเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตเดินเข้ามาในห้องประชุมนี้ ตำรวจนอกเครื่องแบบสนทนากับเขา ท่าทางของเขาเหมือนไม่รู้ถึงการมาของผม ก่อนที่เขาเดินออกจากห้องประชุมนี้
เวลาผ่านไปอย่างเชื่องช้า ตำรวจนอกเครื่องแบบ 3-4 ผลัดเปลี่ยนเข้ามาในห้องประชุมนี้หลายครั้ง
พวกเขาชวนผมคุยถึงเรื่องราวต่างๆระหว่างการรอทหารเพื่อฆ่าเวลา ช่างเป็นการรอคอยที่น่าเบื่อหน่าย ผมจึงถามถึงสิ่งที่ผมสงสัย
"พวกคุณมาดักรอผมตั้งแต่กี่โมง ?"
"ตี 4"
ไม่รู้เป็นความคิดของผู้ใดที่สั่งให้พวกเขามาดักรอที่หน้าบ้านของผมเวลานี้ ผมรู้สึกสมเพชที่ตำรวจหลายคนต้องเสียเวลาเฝ้าคนที่ไม่ได้ทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย
สักพักตำรวจคนหนึ่งนำกล่องพลาสติกบรรจุอาหารใบหนึ่งเข้ามาในห้องประชุมนี้ ภายในมีอินทผาลัมบรรจุเต็มกล่อง เขาหยิบอินทผาลัมใส่จาน และยื่นให้กับผม-ตำรวจคนอื่น
ผมทานอินทผาลัมอย่างไม่ลังเล รสชาดของมันค่อนข้างหวานจนผมต้องดื่มน้ำตาม ตำรวจคนอื่นทานมันอย่างเอร็ดอร่อย
เวลาเกือบ 8.00 น. ทหารในเครื่องแบบคนหนึ่งเดินเข้ามาในห้องประชุมนี้ เขานั่งฝั่งตรงข้ามผม เขาเป็นคนเดียวกับที่มาหาที่บ้านของผม-บ้านแม่ของผมเมื่อวานนี้
เขาเล่าถึงการเยี่ยมเยียนแม่ของผม เขาสนทนากับแม่ของผมถึงเรื่องสุขภาพ ตำรวจยังคงนั่งร่วมห้องหลายคน
"คุณจบจากที่ไหน ?"
"มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ"
"ผมรู้จักที่นี่ ปีที่แล้วผมไปที่นี่ คุณรู้ใช่ไหมที่มหาลัยนี้มีปัญหา"
ช่วงปลายปี พ.ศ. 2558 เกิดกรณีอื้อฉาวใน ม.อัสสัมชัญ ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งของคณะผู้บริหารจนต้องปิดประตู ม.อัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก
"ผมรู้ แต่ผมสงสัยว่า มันเกี่ยวอะไรกับคุณ ?"
"อ้าว ผมก็ต้องเข้าไปช่วยเจรจาไง"
ผมอธิบายถึงการไม่รู้จักหน้าที่ของทหาร ทหารกำลังก้าวก่ายหน้าที่ที่ไม่ใช่ของตนเอง ปัญหานี้เป็นหน้าที่ของตำรวจ แต่ทหารเข้ามาแทรกแซงจนทำให้วุ่นวายมากขึ้น
ทหารมีหน้าที่รักษาความสงบที่ชายแดนเป็นหลัก ส่วนเรื่องภายในประเทศเป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่น แต่ คสช. พยายามให้ทหารแทรกแซงทุกหน่วยงาน
"อีกหน่อยคงต้องยุบทุกกระทรวงมาสังกัดกระทรวงกลาโหม มีกรมคลัง กรมพาณิชย์" ผมพยายามประชด
เขายิ้มอย่างเจื่อนๆให้กับผม
เขานำเอกสารวางบนโต๊ะ มันคือ หนังสือแคมเปญ-หนังสือถึง UN (ภาษาอังกฤษ) ที่พิมพ์มาจากเฟสบุ๊คของผม
"ผมลองใช้กูเกิ้ลแปลหนังสือของคุณนะ แต่อ่านไม่ค่อยเข้าใจ ผมถามคุณแล้วกัน ทำไมถึงต้องการให้วันที่ 24 มิถุนายนเป็นวันชาติ"
ผมอธิบายถึงประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎรจนเป็นที่มาของการกำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายนเป็นวันชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 ก่อนที่ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จะเปลี่ยนมาเป็นวันเกิดของ ร.9 ในปี พ.ศ. 2503
เขาแสดงสีหน้าถึงการไม่รู้ถึงประวัติศาสตร์นี้ ผมไม่แปลกใจที่เขาไม่รู้ ทหารคงถูกสอนให้เทิดทูนสถาบันกษัตริย์ ประวัติศาสตร์นี้จึงถูกหยิบออกจากตำราของทหาร
"ตอนนี้ไม่มีวันชาติแล้ว รัฐบาลก็สมควรที่จะกลับไปใช้วันที่ 24 มิถุนายนเหมือนเดิม"
"ผมว่าควรใช้วันพระราชสมภพของ ร.10 เป็นวันชาติแทน"
ผมไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ ผมอธิบายถึงวันชาติในประเทศที่มีกษัตริย์ ประเทศเหล่านี้แยกวันชาติ-วันกษัตริย์ออกมาอย่างชัดเจน เนื่องจากแต่ละวันมีคุณค่าของมันเอง
"วันที่ 5 ธันวาคมเป็นวันเฉลิมฯ วันชาติ วันพ่อ คุณเอา 3 วันมารวมเป็นวันเดียว ผมถามหน่อย เวลาพวกคุณจัดงานจะจัดเป็นวันอะไร ?"
เขานิ่งเงียบ และยิ้มให้กับผม ผมจึงอธิบายถึงการจัดงานของรัฐบาลที่ผ่านมา พวกเขาเลือกจัดงานวันเฉลิมฯอย่างเดียว ท้องถนนจึงมีแต่ภาพของ ร.9 และราชวงศ์ แต่ไม่มีสัญลักษณ์ใดที่แสดงถึงวันชาติ
"ประเทศใหญ่อย่างอเมริกาจัดงานวันชาติอย่างยิ่งใหญ่ มีการเดินพาเหรด มีการประดับประดาด้วยธงชาติ แต่ไทยไม่มีอะไรเลย"
ผมพยายามชี้ให้เห็นถึงวันชาติที่ถูกกลืนด้วยวันเกิดของ ร.9 เขาแสดงสีหน้าเข้าใจในสิ่งที่ผมอธิบาย
"อือ ผมไม่เคยคิดถึงประเด็นนี้มาก่อนเลย"
"ผมถึงต้องทำแคมเปญนี้เพื่อเรียกร้องไงล่ะ"

--------------------------------
ปฏิบัติการวันชาติ (4)
ผมยังคงสนทนากับทหาร เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตคนเดิมเดินเข้ามานั่งเก้าอี้ด้านข้างของเขา
"ผมต้องการไปยื่นหนังสือที่ทำเนียบ แล้วทำไมพวกเขาถึงหิ้วผมมาที่นี่ ?"
"ผมอยากให้คุณยื่นที่นี่ ที่นี่มีศูนย์ดำรงธรรม เดี๋ยวเขาจะรับเรื่องให้" ทหารพยายามอธิบาย
"รับเรื่องของผมแล้วไปส่งที่ไหน ?"
เขาถามเจ้าหน้าที่สำนักงานเขต
"ทำเนียบรัฐบาล" เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตตอบ
"กี่วัน ?"
"ประมาณ 1 สัปดาห์"
"ส่งที่นี่ต้องรอ 1 สัปดาห์ถึงจะส่งถึงทำเนียบฯ แบบนี้ผมไปส่งที่นั่นไม่ดีกว่าหรอ ไม่ต้องเสียเวลา"
"นั่นแหละ ผมอยากให้คุณส่งที่นี่ มันสะดวกกว่า" ทหารพยายามแก้ตัว
"ผมจะไปส่งที่ไหนมันก็เรื่องของผม ยุ่งอะไรด้วยละ ต่อให้ผมไปส่งที่เชียงใหม่ มันก็เรื่องของผม"
"คุณชอบโพสท์นัดคน ผมไม่อยากให้เป็นการชุมนุมทางการเมือง"
"ผมโพสท์กำหนดการ เพราะผมไปไหนมาไหนคนเดียว หากผมถูกอุ้ม เพื่อนในเฟสจะได้รู้ว่าผมทำอะไรมา"
"นั่นแหละ เดี๋ยวมีคนมาชุมนุม"
ผมรู้สึกระอากับข้ออ้างปัญญาอ่อนเหล่านี้ ความงี่เง่านี้มีต้นกำเนิดมาจากหัวหน้าของพวกเขา
"ช่วยฝากบอกหัวหน้าคุณได้ไหม ไม่ต้องมาไล่จับผม ไม่มีประโยชน์"
เขาพยักหน้ารับรู้
"หัวหน้าของคุณโง่กว่าลูกน้อง มีหัวหน้าโง่ทำให้ลูกน้องลำบาก ฝากเตือนเขาด้วย ผมสงสารพวกคุณ"
ผมรู้สึกเห็นใจคนทำงานที่ต้องลำบากจากความโง่ของหัวหน้า
สักพักเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตเดินออกจากห้องประชุมนี้ ทหารถามถึงสิ่งที่ผมต้องการจาก คสช. ผมจึงเล่าถึงความไม่พอใจต่อการซื้ออาวุธมากมายในยามที่เศรษฐกิจไม่ดี โดยเฉพาะเรือดำน้ำ
"ซื้อเถอะ ให้พวกผมได้ฝึกบ้าง"
"50 ปีที่ผ่านมาไทยไม่มีสงครามใหญ่ อีก 50 ปีข้างหน้าก็ไม่มีสงครามใหญ่ แล้วจะซื้อไปทำไม ?"
ผมพยายามชี้ให้เห็นถึงความโง่เขลา-ไม่ทันเกมของรัฐบาลทหารในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจนทำให้ไทยต้องเสียเปรียบเอกชน โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง
"ทหารไม่มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจ แถมยังไม่มีกุนซือด้านเศรษฐกิจ ไปฟังแต่พวกพ่อค้า พวกนี้เจ้าเล่ห์ รัฐบาลจึงมีแต่เสียเปรียบ"
เขาแสดงสีหน้าสนใจในสิ่งที่ผมอธิบาย
"รถไฟความเร็วสูงใช้เงินลงทุนหลายล้านล้านบาท แต่เก็บค่าตั๋วไม่กี่ร้อยบาท ไม่มีทางคุ้มทุน รัฐบาลที่ฉลาดจะเลือกลงทุนในที่ดินรอบเส้นทางรถไฟนี้ มูลค่าที่ดินจะเพิ่มหลายสิบเท่า รายได้ตรงนี้สามารถชดเชยการลงทุนได้ แต่รัฐบาลนี้โง่เกินกว่าจะคิดได้ ไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมพ่อค้า ป่านนี้พวกเขากว้านซื้อที่ดินรอล่วงหน้า เงินลงทุนเป็นของรัฐ แต่กำไรไปตกอยู่ที่เอกชนที่แถบไม่ลงทุน"
สักพักชายคนหนึ่งในชุดธรรมดาเดินเข้ามาในห้องประชุุมนี้ และนั่งด้านข้างของทหาร
"ให้เขายื่นหนังสือที่นี่ ไม่อย่างนั้นจะพาไป มทบ.11"
ชายคนนี้แกล้งคุยเสียงดังกับทหารเพื่อข่มขู่ผม เขาคงไม่รู้ว่าผมใช้บริการ มทบ.11 มาหลายครั้ง วิธีหลอกเด็กนี้ใช้ได้เฉพาะผู้ที่จิตใจไม่เข้มแข็งพอ

-------------------------------------
              


ปฏิบัติการวันชาติ (5)
ทหารสนทนากับหัวหน้าของเขาทางโทรศัพท์ หัวหน้าของเขาสั่งการให้เขารับหนังสือแคมเปญ-หนังสือถึง UN
"คุณยื่นหนังสือแคมเปญที่นี่ ส่วนหนังสือถึง UN เดี๋ยวผมจะพาคุณไปยื่นที่ UN"
"จะเอาหนังสือถึง UN ทำไม ? เกี่ยวอะไรกับ คสช. ?"
เขาลังเลกับคำสั่งของหัวหน้าหน้าของเขา
เขาพยายามโน้มน้าวให้ผมเปลี่ยนใจ แต่ผมยังคงยืนกรานแบบเดิม เขาเริ่มมีท่าทีอ่อนลงต่อหนังสือถึง UN
"งั้นยื่นเฉพาะหนังสือแคมเปญ"
ผมยังคงปฏิเสธ
"ไม่ยื่นก็ไม่ปล่อย"
"ไม่เป็นไร นั่งทั้งวันจนกว่าสำนักงานเขตจะปิดเลยก็ได้"
ผมเบื่อหน่ายที่จะต้องฟังคำพูดหว่านล้อมของเขา ผมจึงเปลี่ยนไปพูดถึงการอ่อนด้อยในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวที่กำลังไหลกลับประเทศบ้านเกิดของพวกเขา
"ไทยเคยถูกจัดอันดับอยู่ใน TIER 3 ก่อนที่จะปรับระดับขึ้นเป็น TIER 2 Watch List คสช. พยายามยกฐานะตนเองให้ขึ้นไปอยู่ในระดับ TIER 1
แต่ คสช. ไม่ได้ดูความเป็นจริง ไทยไม่เหมือนประเทศที่พัฒนา พวกเขาผลิตสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง เขามีเทคโนโลยีที่ทำงานแทนมนุษย์จึงไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าวราคาถูก แต่สินค้าไทยส่วนใหญ่ยังเป็นแบบเก่าที่ยังต้องพึงพาแรงงานต่างด้าวราคาถูก หากเรายังไม่สามารถยกระดับการผลิตสินค้าของเรา เราไม่มีทางปฏิเสธแรงงานต่างด้าว"
เขาฟังอย่างตั้งใจ
"ไม่ใช่ผมไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ แต่ไทยยังไม่พร้อมกับกฎหมายนี้ การที่คสช. จะควบคุมแรงงานต่างด้าวอย่างเข้มงวด เราจำเป็นต้องเปลี่ยนภาคการผลิตของไทยไปสู่การผลิตสินค้าเทคโนโลยีระดับสูงที่ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าวราคาถูก"
เขาฟังผมบ่นอย่างยาวนาน เขาหยิบโทรศัพท์มือถือของเขาวางบนโต๊ะ
"ผมขอบันทึกเสียงคำพูดของคุณได้ไหม ? ผมจะส่งบันทึกนี้ให้กับหัวหน้าของผม"
"หัวหน้าของคุณเป็นใคร ?"
เขาปฏิเสธที่จะตอบคำถามของผม
"เอาเป็นว่า คำพูดของคุณถึงหัวหน้าแน่นอน แต่เขาจะฟังคุณหรือไม่ผมไม่รู้"
ผมไม่รู้ผู้ใดเป็นหัวหน้าที่เขาจะต้องรายงาน และไม่เชื่อหัวหน้าคนนี้จะสนใจคำพูดของผม ผมจึงทวนคำพูดของผมอย่างรวบยอด
เวลา 10.30 น. ทหารคนนี้เดินออกจากห้องประชุมนี้ โต๊ะที่เขาใช้ยังคงวางเอกสารของเขา
ตำรวจนอกเครื่องแบบหลายคนยังคงเฝ้าผม ผมร้องขอการโทรศัพท์ติดต่อบุคคลภายนอก แต่พวกเขาปฏิเสธ
เวลาผ่านไปอย่างเชื่องช้า ตำรวจนอกเครื่องแบบพยายามโน้มน้าวให้ผมยื่นหนังสือแคมเปญที่นี่ และขอดูเอกสารของผม แต่ผมปฏิเสธ
"ห้องนี้ไม่ต้องใช้ประชุมหรอ ? นั่งนานขนาดนี้ เดี๋ยวเขาก็ว่าหรอก"
"ไม่หรอก วันนี้ไม่มีประชุม"
ผมได้แต่นั่งรออย่างไร้ความหวัง พวกเขาพยายามชวนผมคุยเพื่อฆ่าเวลา ภายในห้องประชุมนี้ไม่มีโทรทัศน์ ผมจึงนั่งหลับพิงโต๊ะเป็นพักๆ
ตำรวจนอกเครืองแบบยังคงเสิร์ฟอินทผาลัมให้กับผม แต่ผมไม่ทานต่อ ผมยังคงนั่งรอจนถึงเวลาเกือบ 12.00 น. พวกเขาถามถึงอาหารเที่ยงของผม
สักพักตำรวจนอกเครื่องแบบคนหนึ่งจะเดินออกจากห้องประชุมนี้ เขากลับมาพร้อมกับกล่องโฟมขนาดใหญ่ ภายในเป็นข้าวสวย-ไก่ทอด 2 ชิ้น
ข้าวสวย-ไก่ทอดรสชาดค่อนข้างจืด หลังจากทานเสร็จผมยังคงนั่งรอต่อไป พวกเขาไม่ยอมให้ผมกลับจนกว่าผมจะยอมยื่นหนังสือแคมเปญที่นี่

ปฏิบัติการวันชาติ (6)
หลังทานอาหารเที่ยงผมยังคงนั่งรอต่อไป ตำรวจนอกเครื่องแบบคนหนึ่งวางโทรศัพท์มือถือของเขาบนโต๊ะ ผมร้องขอโทรศัพท์หาบุคคลภายนอก
"พี่จะโทรหาใคร ?"
"โทรหาเพื่อนของผมซิ"
"ให้โทรไม่ได้เดี๋ยวหัวหน้าว่า"
"งั่นเอาโทรศัพท์ของผมคืนมา"
"อยู่ที่ไหนแล้วไม่รู้"
ผมมองหน้าของเขาอย่างไม่พอใจ
"อ้าว ได้ยังไง ถ้าโทรศัพท์ผมหายต้องชดใช้ผมเป็น Samsung S8"
"เออๆ เดี๋ยวตามหาให้"
นี่เป็นเพียงข้ออ้างที่จะไม่ยอมคืนโทรศัพท์ให้กับผมตอนนี้
"ทำไมถึงไม่ให้ผมโทร ?"
"หัวหน้าสั่งไม่ให้โทร"
"นึกว่าขังผมที่นี่แล้วคนอื่นจะไม่รู้หรอ ผมแจ้งกำหนดการผมล่วงหน้าแล้ว ผมมีคนโทรศัพท์หาผมเป็นระยะ ถ้าพวกเขาติดต่อผมไม่ได้ พวกเขาจะรู้ทันทีว่า ผมโดนหิ้ว"
ตำรวจนอกเครื่องแบบนิ่งเฉย เขาอาจไม่เชื่อในคำพูดของผม
เวลาผ่านไปอย่างเชื่องช้า ที่นั่งของทหารยังคงว่างเปล่า ผมยังต้องรอการกลับมาของเขาอีกครั้ง
ผมยังคงยืนกรานไม่ยื่นหนังสือแคมเปญที่นี่ และขอโทรศัพท์หาเพื่อนของผมตลอดเวลา
เวลา 13.30 น. ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน 2 คนเดินเข้ามาในห้องประชุมนี้ ผมรู้สึกดีใจอย่างมาก ขณะที่ตำรวจนอกเครื่องแบบมองพวกเขาอย่างงุนงง
"นี่ไง คนที่ผมอยากโทรศัพท์หา ตอนนี้พวกเขามาแล้ว ผมไม่ต้องโทรอีกแล้ว"
ตำรวจนอกเครื่องแบบประหลาดใจที่มีคนมาหาผมถึงห้องประชุมนี้
"พวกคุณเป็นใคร ?" ตำรวจนอกเครื่องแบบคนหนึ่งถามทนายความเหล่านี้
"เราเป็นทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน"
"คุณรู้ได้ยังไงเขาอยู่ที่นี่ ?"
"พวกเราได้รับแจ้งมา"
ผมสะใจที่การควบคุมตัวผมไม่เป็นความลับอีกต่อไป ขณะที่ตำรวจนอกเครื่องแบบแสดงสีหน้าผิดหวังอย่างมาก พวกเขาแจ้งให้ทนายความเหล่านี้รอพบกับทหาร
สักพักทนายความเหล่านี้เดินออกจากห้องประชุมนี้เพื่อทานอาหารเที่ยง เป้าหมายของผมบรรลุแล้ว ผมจึงไม่ต้องกังวลอีกต่อไป
"บอกแล้วไง เดี๋ยวพวกเขาก็ต้องหาผมเจอ"
ตำรวจนอกเครื่องแบบยังคงงุนงงกับการมาถึงของทนายความ


------------------------------------------------------------------------------------------------------

Thai dissident's lonely fight to keep history alive


Jerome TAYLOR
Carrying a bucket of cement and a heavy bronze plaque, Ekachai Hongkangwan set out across Bangkok's heavily-policed Royal Plaza in late June to perform a solo act of DIY dissent.
But the 42-year-old was quickly bundled into a police van before he could lay down the metal disc -- an exact replica of a monument that was mysteriously removed in April, sparking fears officials were trying to whitewash history.
The 15 inch (38 cm) plaque, which had lain undisturbed for decades, marked the bloodless 1932 Siamese Revolution that ended absolute monarchy.
But it was suddenly replaced with a new plaque espousing loyalty to Thailand's royal family, an institution whose influence has roared back into prominence in recent decades as democracy has faltered.
The date Ekachai chose for his one man protest was 24 June, the anniversary of that revolution.
"I wanted to dig the new one out but I think (knew) it will be very difficult for me," he told AFP from his house in eastern Bangkok, a wry smile across his face.
The attempted restoration was a dangerous and rare act of subversion in a country smothered by an arch-royalist military and where criticism of the monarchy is being purged at an unprecedented rate.
More than 100 people have been charged with Thailand's notorious lese majeste law since the junta's 2014 coup, threatened with up to 15-years in jail for each slight to the country's royals.
- Unprecedented purge -
Record-breaking, decades-long sentences have been handed down and many of those advocating for reform of the law or pushing for greater scrutiny of the royals have gone to ground, fled or been imprisoned.
Ekachai, a former lottery ticket seller, served nearly three years for the offence in 2011.
His crime was selling Thai translations of State Department cables and international press reports that were unflattering of the then Crown Prince and now King Maha Vajiralongkorn.
Since his release Ekachai stayed away from protest, choosing instead to set up a small foundation to help those charged with lese majeste.
But the disappearance of the plaque reignited his defiance.
"This is a democracy symbol," he said, proudly retrieving the replica plaque from the back of his house, which authorities returned after he was released without charge for his stunt.
"They try to make it a hidden history."
Junta officials and police have said they do not know what happened to the original plaque, a position that stretches credulity given it lay outside a palace in a heavily policed area of the city.
CCTV cameras were not working when the plaque vanished and authorities have warned against further protests or enquiries over the mystery.
Thitinan Pongsudhirak, a politics expert at Chulalongkorn University, described the plaque as "a bump on the road of Thailand's royalist narrative".
Until its removal few knew it existed "even those who live in Bangkok."
"But now its controversial disappearance has led to a kind of rebirth of the June 1932 political change from absolutism to constitutional rule," he told AFP.
- A history lesson -
So far Ekachai has managed to avoid being charged over the plaque and he steers clear of any direct criticism of Thailand's royals.
Instead he focuses on trying to reform the lese majeste law, which makes scrutiny of the family impossible and forces media to self-censor.
It was during the last few decades of King Bhumibol's 70-year reign that the law was increasingly wielded, despite an address the late monarch gave in 2005 saying he was not above criticism.
Since Bhumibol's death in October little has changed under Vajiralongkorn, who has yet to attain his father's widespread popularity.
At least eight people are known to have been charged with lese majeste charges since his succession.
One case expected to hit the courts soon involves a man charged for liking a sarcastic Facebook post about Bhumibol's favourite dog.
"I'm not opposed to the monarchy," Ekachai said, a portrait of the recently departed King Bhumibol Adulyadej hanging behind him.
"But that doesn't mean we should be unable to criticise them at all," he said.
While Ekachai admits his plaque replacement stunt was never going to succeed, he dismisses those who say such acts are futile.
Following his detention he discovered his military interrogator was unaware that the date he had chosen marked the anniversary of the 1932 revolution.
"In school they teach them nothing about this, they try to erase it from history," he said.

Breaking into a chuckle, Ekachai said he was delighted to get a chance to give the officer a brief lesson.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น