เพลงฉ่อยชาววัง

วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560

บทสนทนากับคุณอุทัย พิมพ์ใจชน และคุณวีระกานต์ มุสิกพงษ์ ในวันที่ประเทศโดนทหารกากปล้น

ผมเรียกท่านทั้ง 2 ว่า“พี่“เสมอมา

“พี่“ที่กล่าวหมายถึง
ท่านอุทัย พิมพ์ใจชน
ท่านวีระกานต์ มุสิกพงศ์

2วันก่อน ท่านอุทัย พิมพ์ใจชน ได้ถามไถ่มาว่าได้ข่าว วีระ ไม่ค่อยสบายหรือ นัดกินข้าวกันสักมื้อเป็นห่วงด้านสุขภาพของท่านวีระ
       นักการเมืองรุ่นนี้นอกจากเคารพแนวคิดทางการเมืองของกันและกันแล้ว(มึงคิดอย่างไรทางการเมืองก็เรื่องของมึง)เขาจะยังมีความสัมพันธ์และรักกันในทางส่วนตัวดูแลสารทุกข์สุกดิบและให้เกียรติกันเสมอมา

      ผมและเพื่อนนักธุรกิจใหญ่ทางด้าน Lojesticsที่ทำงานด้านการขนส่งต่างประเทศจึงได้นัดหมายให้ท่านมาทานอาหารมื้อเที่ยงที่ห้องอาหาร ีจีนในโรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนศรีอยุธยา

เที่ยงตามนัดหมาย ท่านอุทัย ท่านวีระมานั่งอยู่ก่อนแล้ว ดูไม่ออกเลยว่า ท่านอุทัย อยู่ในวัย 80 ปีแล้ว ส่วนท่านวีระเพิ่งไปไหว้พระครบ 70 บริบูรณ์เมื่อเดือนที่แล้ว

เจอหน้ากับท่านทั้ง 2ก็ดีใจ เพราะท่านให้ความอบอุ่นกับผมมาตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา





เริ่มการสนทนาท่านอุทัยก็บอกว่า
“นัดมาแถวนี้เพราะเสร็จจากอาหารเที่ยงวันนี้ผมนัดกับหมอไว้ว่าจะไปตรวจสุขภาพฟันต่ออีก เลยนัดมาใกล้ๆแถวนี้“

อายุ 80 ปี ผมเห็นด้วยที่จะดูแลสุขภาพฟันบ้าง
ท่านวีระก็บอกว่าท่านก็ฟันไม่ค่อยจะดี ปวดฟันบ่อยๆ แต่ช่วงนี้ไปทำการรักษาไม่ได้

ท่านอุทัย. ถามว่าเพราะอะไร
ท่านวีระบอกว่า ทาง “คสช“ใช้ มาตรา.44 บังคับห้ามไม่ให้อ้าปากเลยทำฟันไม่ได้“ วงอาหารเลยหัวเราะกันครืน55555555

ผมเริ่มคำถามท่านอุทัย เป็นคำถามแรกพร้อมออเดิฟเริ่มทยอยมา

1 พี่คิดเห็นอย่างไรกับการยึดอำนาจของ คสช.
(ตั้งแต่ทหารยึดอำนาจมาผมก็ไม่เคยได้นั่งคุยเป็นเรื่องเป็นราวที่ใช้เวลานานๆกับท่าน)

ท่านอุทัยตอบผมว่า.เราเป็นนักประชาธิปไตยแน่นอน เราคัดค้านการรัฐประหาร คัดค้านการปกครองด้วยรัฐบาลทหาร
ผมเคยฟ้องคณะรัฐประหารและต้องถูกจับติดคุกมาแล้วเมื่อปี 2514 แต่สังคมไทยเราต้องยอมรับความเป็นจริงอย่างหนึ่งว่าทหารยังมีอำนาจการต่อรองของตัวเองและยังผูกพันทางการเมืองระดับหนึ่ง เราจะมองผ่านพวกเขาไปไม่ได้ เมื่อเขามากันแล้วและ เขาก็เคยส่งคนมาปรึกษากับผม ผมก็แนะนำเขาไปว่า

ในสถานะการณ์ความขัดแย้งเช่นนี้ เมื่อทหารเข้ามาแล้วก็ควรทำหน้าที่แค่เป็นกรรมการและวางกติกาใหม่ให้พวกเขา(ประชานชน)กลับมาเล่นกันต่อ อย่าอยู่นาน เพราะถ้าอยู่นานและทหารบริหารประเทศไม่ได้เพราะไม่เก่งด้่านเศรษฐกิจและสังคมจะทำให้ขาดความเชื่อถือ.  อีกทั้งต่างประเทศก็ไม่ยอมรับด้วยจะแย่กันหนัก

3 ปีที่ผ่านมาก็เป็นความจริงดังว่าคือทหารล้มเหลวในการนำพาประเทศ ต่อไปประเทศเจอวิกฤตอีก ประชาชนก็ไม่เชื่อมั่นทหารแล้ว เพราะเข้ามาแล้วจะอยู่นานและไม่มีความสามารถในการบริหาร
ขณะนี้ทหารกำลังขับรถนำพาประเทศไปลงเหวลึกเสียแล้ว

ผมคิดถึงเหตุผลของ Fisher ames สมาชิกรัฐสภาอเมริกันที่พูดถึงการปฏิวัติในฝรั่งเศสว่าชัยชนะของประชาธิปไตยไม่ได้หมายความว่ามันจะถาวรเสียทีเดียวโอกาสที่จะถูกตีคืนกลับก็ยังมีอีก เช่นเดียวกับการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อสิ้นยุคของนโปเลียนกลุ่มอำนาจเก่าทั่วยุโรปก็เดินทางมาปารีสและทำการยึดอำนาจด้วยหลักทฤษฏีสมคบคิดและทำลายการปกครองแบบรัฐธรรมนูญ.  นักรัฐธรรมนูญนิยมทั้งหลายถูกกวาดล้างไปและสถา่ปนาระบอบเก่าขึ้นได้ด้วย. โดยอ้างสิทธิว่าในสถานะการณ์ฉุกเฉินเฉพาะหน้า

ผมก็เลยคิดว่าชั่งเหมือนของไทยเราทีเดียว

2. ผมถามคำถามอีก ในฐานะที่“พี่“เคยอยู่พรรคประชาธิปัตย์คิดเห็นอย่างไรที่กลุ่มแกนนำ กปปส.กลับเข้าพรรค ปชป.

     เมื่อใกล้เวลาการเลือกตั้งพวกเขาต้องกลับไปหาพรรคการเมือง ที่มีฐานเสียงและความพร้อมในการเลือกตั้ง ไม่มีพรรคไหนที่สะดวกเท่าพรรคเดิมที่เขาอยู่ และเขาจะเข้ากุมอำนาจแย่งชิงฐานของพรรคเพื่อสนับสนุนคนนอกให้เป็นนายกรัฐมนตรี

   สุเทพและ8แกนนำต้องการให้ คสช.อยู่ในอำนาจต่อ และอภิสิทธิ์ก็จำต้องลาออกจากพรรคและหัวหน้าพรรค เพราะคุณอภิสิทธิ์ต้องประกาศตัวหาเสียงเป็นนายกเองตามหลักการ

เมื่อพรรคไปสนับสนุนคนนอก ตนก็ต้องออกจากหัวหน้าพรรค

   เหมือนที่เคยเกิดกับ ท่านอุทัย สมัยปี 2523 ที่พรรคไปหนุน พล.เอก เปรม บุคคลนอกพรรคขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ท่านเลยลาออกจากพรรคเพราะถือว่าพรรคได้เสียหลักการของนักประชาธิปไตย

   ท่านยังเอ่ยกับผมว่า ถามวีระดู ท่านวีระก็พยักหน้าน้อยๆ

3. ผมเลยถามท่านต่อว่าที่ออกจากพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าเพราะท่านแพ้การลงสมัครเลือกหัวหน้าพรรค ปชป ต่อท่าน  ดร.ถนัด คอมันต์ไม่ใช่หรือ

ท่านเลยตอบให้ผมกระจ่างว่า ท่านเป็นนักประชาธิปไตย เมื่อแพ้ก็ยอมรับ แต่ก็ยังอยู่ภายในพรรคต่อมาเพราะถือเป็นเรื่องธรรมดามาก
แต่เมื่อพรรคหนุนคนนอกพรรคเป็นนายกรัฐมนตรี(เปรม)ถือว่าขัดหลักการในระบอบประชาธิปไตยที่ทางพรรคประกาศไว้ ผมเลยลาออกไป สำหรับเหตุการณ์เลือกหัวห้าพรรคเกิดขึ้นก่อนหน้านั้นนาน

คราสิ้นสมัยหัวหน้าพรรคของ มรว.เสนีย์ ปราโมช ท่านอุทัย พิมพ์ใจชนได้ปรึกษาท่านชวน หลีกภัย ขณะที่เดินทางไปทำงานการเมืองด้วยกันที่เชียงรายว่า ถึงเวลาที่คนหนุ่มของพรรคจะนำการเมืองภายในพรรคแล้ว

ผม(อุทัย)จะสนับสนุนท่านชวน หลีกภัย ให้เป็นหัวหน้าพรรค ท่านชวนปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งนี้โดยให้เหตุผลว่าท่าน(ชวน)บารมีไม่มากพอและผู้ใหญ่ในพรรคยังมีอีกหลายคน ท่านชวนปฏิเสธอย่างแข็งขัน

     ต่อมาท่านอุทัย ยังได้ปรึกษ่กับท่านพิชัยว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่จะให้นายชวนเป็นหัวหน้าพรรค ท่านพิชัยยังบอกว่าหากเป็นท่านชวนผม(พิชัย)ขอเอาท่านอุทัยเป็นดีกว่า เรื่องก็จบไป

    คุณอุทัย คุณวีระ ดรไตรรงคก็์เข้าปรึกษากับท่านเล็ก นานาอีกเพราะพรรคพึ่งพิงเงินทุนจากท่านมากพอสมควร บอกว่าจะให้คนหนุ่มอย่างชวน หลีกภัยเป็นหัวหน้าพรรค ปรากฏว่าคุณเล็ก นานา อุทาน “อัลเลาะห์“ จะเหมาะหรือ?

   ส่วนท่านชวน หลีกภัยก็ประกาศอย่างชัดเจนว่าจะไม่ลงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอย่างแน่นอน

    อุทัย พิมพ์ใจชน จึงประกาศตัวชัดเจนว่าเมื่อนายชวนไม่ประสงค์จะลงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ท่านอุทัย จึงมุ่งมั่นลงชิงตำแหน่งนี้ ท่านพิชัยเองก็บายไปอีกคน ส.ส.พรรคจำนวนมากสนับสนุน อุทัย พิมพ์ใจชน

    แต่ดำรงค์ ลัทธพิพัฒน์ เขยมหาวิทยาลัยหอการค้า อยู่ในพรรคไม่เห็นด้วยและได้ติดต่อ ดร.ถนัด คอมันต์ บุคลลคลนอกพรรคเจ้ามาเพื่อต่อสู้เป็นหัวหนาพรรค รนรงค์หาเสียงกัน

คะแนนอุทัยนำ ดร.ถนัด พอสมควรทุกคนในพรรครู้ล่วงหน้าว่า อุทัยเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แน่ๆ

   อยู่ๆก่อนหน้าการเลือกตั้ง ประมาณ 7วันท่านชวน หลีกภัย มาบอกกับอุทัยว่า จะลงสมัครด้วยอีกคนขอให้ท่านอุทัยถอนตัว

   ท่านอุทัยจึงบอกว่า ชวน ผมถามท่านแล้วว่าจะลงหรือไม่จะสนับสนุนเต็มที่ท่านชวนก็ปฏิเสธ มาวันนี้ท่านจะให้ผม(อุทัย)ถอนตัวสมาชิกที่หนุนผมจำนวนมาก ภายในพรรคจะคิดอย่างไรในความเป็นผู้นำทางการเมืองของผม คนอื่นจะเชื่อถือผมได้อย่างไร

     ชวน หลีกภัย ต้องการคะแนนเสียงจากภาคใต้เพื่อตัดคะแนนของอุทัย เพราะคะแนนนี้เดิมก็หนุนอุทัยอยู่

   ท่านชวนให้เหตุผลที่ลงสมัครในคราแถลงต่อที่ประชุมพรรคว่า ที่ลงสมัครเพราะต้องการให้คุณอุทัยมีเพื่อนร่วมแพ้ด้วยกันจะได้ไม่เสียใจมากนัก คุณอุทัยพูดถึงตอนนี้หัวเราะ5555555

     ในที่สุด ถนัด คอมันต์ ได้เป็นหัวหน้าพรรค ชนะอุทัย 5 คะแนน. แต่อุทัยเองชนะนายชวน 12 คะแนน ถ้านายชวนไม่ลงสมัคร นายอุทัยชนะขาดแน่นอน

      ท่านอุทัยบอกผมว่า ท่านก็ยังคงอยู่ในพรรคและยอมรับในเกมส์การเมืองของพรรคไม่ได้ติดใจสงสัยอะไีร และไม่คิดจะลาออกเพราะแพ้การเลือกตำแหน่งหัวหน้าพรรคแต่อย่างใด แต่มีบางคนพยายามจะทำลายเครดิตการเมืองผู้อื่นซึ่งไม่มีโอกาสจะพูดแก้ตัว

แต่ท่านอุทัยมาลาออกจากพรรค หลังจากที่พรรคลงมตินำคนนอกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี(เปรม)ี ซึ่งท่านอุทัยเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ไดทำลายจิตวิญญานของประชาธิปไตยไปแล้ว

เราคุยกันอย่างออกรสออกชาติหลายๆเรื่องมากกว่าที่ผมเล่าและเป็นเวลานานจนท่านอุทัยเลยเวลานัดหมาย ทางหมอก็โทรมาตามหลายครั้ง

ในที่สุดเราตบท้ายด้วยกาแฟคนละแก้วแล้วแยกย้ายกันไป

ในชีวิตผมแนวคิดทางการเมืองทำให้ผมพบปะผู้คนจำนวนมากที่มาจากทั่วทุกสารทิศ มาอยู่ด้วยกัน มาเป็นกำลังซึ่งกันและกันและเราก็จากกันไปล้วนบนเส้นทางแห่งการเมืองทั้งสิ้น

เรื่องเล่าเย็นวันศุกร์
ขุนจัน พันนา
CR: Bugbunny/ Prachatalk

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น